ศาสตราจารย์กิติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตผู้เชี่ยวชาญภาษาและวรรณคดีไทยให้ความเห็นว่าปัจจุบันการใช้ภาษาไทยของคนไทยอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง มีการใช้คำตามกระแสนิยม ใช้ไทยคำอังกฤษคำ โดยเฉพาะคำศัพท์ที่เกิดขึ้นในสังคมอินเทอร์เน็ต ที่มักเป็นคำง่ายๆ กะทัดรัด และไม่ถูกอักขระภาษา ทั้งนี้ราชบัณฑิตก็กำลังรวบรวมคำใหม่ที่คนไทยนิยมใช้กันในปัจจุบันเพื่อให้นำมาใช้แทนได้ โดยจะพิจารณาตามความเหมาะสม
ในส่วนของคำศัพท์ทางเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตนั้น ทางราชบัณฑิตได้รวบรวมคำต่างมาจัดพิมพ์เป็นหนังสือศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศไว้สำหรับอ้างอิงแล้ว โดยมีตัวอย่างคำที่แนะนำอย่าง อาทิ อีเมล ให้ใช้ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, ส่งอีเมล ให้ใช้ ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, เน็ตเวิร์ค ให้ใช้ เครือข่าย โครงข่าย, เสิร์ช ให้ใช้ ค้นหา, แล็ปท็อป ให้ใช้ คอมพิวเตอร์วางตัก เป็นต้น
ราชบัณฑิตแนะว่าสื่อมวลชนและบุคคลสาธารณะควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
ที่มา: MCOT News
Comments
"ราชบัณฑิตแนะว่าสื่อมวลชนและบุคคลสาธารณะควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง"
ควรจะมีใครแนะนำให้ราชบัณฑิตหัดใช้ทับศัพท์บ้าง
โดยเฉพาะ "คำ" ที่แปลเป็นภาษาไทยแล้วได้ "ประโยค" กลับมาแทน
+infinity
^
^
that's just my two cents.
+1ครับ เยิ่นเย้อ มาก
ผมไม่เข้าใจว่าจะแปลทำไม แค่หยิบเอามาแล้วบัญญัติเป็นศัพท์ใหม่ไปเลยจะดีกว่า พยายามจะเข้าคำเก่าๆมาผสมกันจนเป็นคำใหม่ให้ได้ทั้งๆที่ คำใหม่ๆในโลกนี้เกิดขึ้นแทบทุกวัน
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
บรรทัดสุดท้ายโดนมากก
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
+1
เรื่องใช้ภาษาให้ถูกเห็นด้วย
ภาษาวัยรุ้น เดียวมันก้อหมายไปเอง
เรื่องบางเรือง มัน ไร้สาระ ซะจริงๆ โดยเฉพาะ คำ ทับศัพท์เนี่ย เข้าใจว่า ดีอยู่แล้ว ใช้ตรงตามผู้คิดค้น ดีอยู่แล้ว
TCP/IP protocol จะแปลว่าไรเนี่ย
Physic Quantum จะให้แปลว่าไรอีกโอ๊ยเยอะ
นิวตรอน โปรตรอน อิเล็คตรอน ทำไม ไม่แปลซะด้วยเลยหละ
โถโถ คณิตกรณ์วางตัก
+1 บรรทัดสุดท้ายครับ
หลายอย่างแล้วน่ะ ราชบัณฑิต นี่หละเผลอๆจะเป็นตัวการทำให้ภาษาวิบัติ
มันวิบัติตรงไหน?
อืม เป็นคำถามที่น่าสนใจ
สำหรับผม ผมคิดว่าศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตบางคำอาจจะวิบัติจริง เพราะว่ามันขัดกับวัตถุประสงค์ของภาษาที่ว่าต้องสื่อสารให้รู้เรื่อง เข้าใจได้ง่าย แต่พอแปลเป็นไทยแล้วปรากฏว่าไม่รู้เรื่องยิ่งกว่าเดิมหรือเยิ่นเย้อยึดยาดเกินไปก็น่าคิดเหมือนกันว่าจะเข้าข่ายภาษาวิบัติหรือเปล่า เช่น ถ้าจะใช้คำว่าไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แทนคำว่าอีเมล์มันดูยาวจนสื่อสารไม่คล่อง เป็นต้น ศัพท์บัญญัติจำพวกนี้ทำให้ความสามารถในการสื่อสารลดลง
โดยส่วนตัวผมคิดว่าราชบัณฑิตไม่ผิดแต่ควรจะไตร่ตรองเรื่องความคล่องตัวของภาษาให้มากขึ้น เพราะไม่มีใครอยากได้ภาษาที่ยืดยาดสื่อสารไม่คล่อง ถ้าคำที่บัญญัติขึ้นมามันมีความกะทัดรัดเทียบเท่ากัน เช่น เน็ตเวิร์ก กับ เครือข่าย อันนี้ผมว่าจะได้รับการยอมรับจากคนใช้ภาษาได้ง่าย
ถ้าคำแปลไทยมันยาวเกินไปก็ควรจะใช้ทับศัพท์ และการใช้ทับศัพท์ในที่ที่เหมาะสมก็ไม่น่าจะผิดเพราะภาษาไทยก็ใช้ทับศัพท์จากบาลีและสันสกฤตรวมถึงภาษาอังกฤษอยู่หลายคำ อันไหนที่หาคำไทยดี ๆ ไม่ได้ก็ใช้ทับศัพท์ ถ้าหาคำไทยดี ๆ มาได้ก็ใช้คำไทย ผมคิดว่าราชบัณฑิตก็ดำเนินตามแนวทางนี้มาหลายครั้ง แต่บางครั้งก็ดูเหมือนจะผลักดันการใช้คำศัพท์ยืดยาวมากจนเกินไป ก็เลยได้รับการต่อต้านจากคนทั่วไปอยู่บ่อย ๆ
ผมเข้าใจว่า เพราะ คำว่า "คอมพิวเตอร์วางตัก" นี่แหละครับวิบัติ เพราะมันคือคำ "ไทยคำอังกฤษคำ" โดยแท้
สมองกลวางตัก อิ อิรึจะเอาสมองกลบนตักก็ดูคล้องจองดีนะ อิอิอิ
อืม..ผมเห็นด้วยกับหลายๆ คนนะ..ว่าหลายๆ คำที่ราชบัณฑิตแปลแล้ว มันทำให้ความหมาย หรืออะไรมันไม่ตรงกับคำต้นฉบับ...จะเรียกว่า วิบัติกลายๆ ก็น่าจะได้มั้ง
ไม่วิบัติครับ
แต่แปลแบบนี้ผมเรียกว่า ถอยหลัง / ไร้กึ๋น / ไร้ความเข้าใจในภาษา
ผมนับถือพวกที่แปลหนังมากกว่านะครับ แปลแล้วเป็นภาษาพูดดี
เห้อ นี่ก็อนุรักษ์นิยมเกินไป
+๑
เล็กนุ่ม เปิดตัว ละมุนภัณฑ์ หน้าต่าง 8
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
คำพวกนี้ไม่จริงนะครับ
+1
คำพวกนี้เป็นแค่เรื่องตลกนะครับ ยังมีคนเชื่ออยู่อีกเหรอ
หน้าต่าง8 "เป็นระบบปฏิบัติการณ์" ครับ ซึ่งระบบปฏิบัติการณ์เป็น "ส่วนชุดคำสั่ง"
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ระบบปฏิบัติการ (ไม่มี ณ์) นะครับ
ละมุนภัณฑ์ บรรชร ๘
ฮาาาา +1
รอดูเจาะข่าวตื้นตอนใหม่ผ่านท่อเธอ
5555+1
+1 ด้วย! 555 (หัวเราะแบบนี้ก็วิบัติเหมือนกันสินะ)
5555+ lol ขำจนตัวงอเลย ก๊ากกกกกกกกก
เฮ้อ...
ว่างมาก? อันไหนทับศัพท์ได้ก็ทับศัพท์ไปเถอะ เซ็งตั้งแต่ จอยเกมส์แล้ว แท่งหรรษา ใช่ม่ะถ้าจำไม่ผิด
รู้สึกจะไม่ใช่นะครับ
เวลาดูสาวชอบดูสาวขาวๆ Sex Sex เวลาดู Notebook ชอบแบบ"ถึกๆดำๆ"
Twitter : @Zerntrino
G+ : Zerntrino Plus
ก้านควบคุม นะครับ
^
^
that's just my two cents.
แท่งหรรษาจะเห็นในหนังชมพูญี่ปุ่นซะส่วนมาก ไม่ใช่จอยสติกนะครับ
ฮาๆๆๆๆ ขำกลิ้งเลย ความเห็นนี้
คำนี้ก็เป็นเรื่องตลกนี้เค้าล้อเลียนกันนะครับ
เยิ่นเย้อ เยอะแยะ ยาวเหยียด
^
^
that's just my two cents.
น่าจะแปลคำว่าคอมพิวเตอร์ด้วย
สมาร์ทการ์ด = บัตรสมาร์ท
คอมพิวเตอร์ = คณิตกรณ์
แฮกเกอร์ = นักเลงคอมพิวเตอร์ ทำไมไม่ = นักเลงคณิตกรณ์ ?
แล้ว แล็ปท็อป ทำไมไม่ = คณิตกรณ์วางตัก ?
แล้วเค้าจะรู้ไหมนั่น ว่าวางบนตักมันร้อน ?
เวลาดูสาวชอบดูสาวขาวๆ Sex Sex เวลาดู Notebook ชอบแบบ"ถึกๆดำๆ"
Twitter : @Zerntrino
G+ : Zerntrino Plus
เค้าหมายถึงเอา Laptop วางก่อน แล้วค่อยไปตักข้าวมากินหรือเปล่า
แถด้านมั้ยครัฟ
ผมข้องใจมาก ตกลง computer แปลว่า คณิตกรณ์ แล้ว smart card แปลว่า บัตรสมาร์ท จริงเหรอ
ทำไมสมาร์ท ถึงไม่แปลว่า อัจฉริยะ, laptop ทำไมไม่แปลว่า คณิตกรณ์วางตัก ทีงี้ใช้ทับศัพท์ทำไม
e-mail คำต้นฉบับแค่สองพยางค์ แปลเป็นไทยล่อไปซะหก ใครมันจะใช้
จริงๆผมนับถือคนแปล mobile ว่า มือถือ ถ้าให้เดาคงไม่ใช่ราชบัณฑิตแน่ เสียดายชื่อ
เข้าใจว่า มือถือ คงแปลมาจาก Handy-Phone ละมั้งครับ - -a
^
^
that's just my two cents.
คณิตกรณ์ของจริงครับ ที่เหลือไม่รู้ ผมเดาว่าไม่ใช่
May the Force Close be with you. || @nuttyi
บัตรสมาร์ทก็ของจริงครับส่วนแฮกเกอร์ใช้คำว่า "เซียนคอมพิวเตอร์" =_=
Blog | Twitter
เซียนคอมพิวเตอร์ หรือ นักเลงคอมพิวเตอร์ ก้ได้ครับ
เวลาดูสาวชอบดูสาวขาวๆ Sex Sex เวลาดู Notebook ชอบแบบ"ถึกๆดำๆ"
Twitter : @Zerntrino
G+ : Zerntrino Plus
ของจริงทั้งหมดครับ
เวลาดูสาวชอบดูสาวขาวๆ Sex Sex เวลาดู Notebook ชอบแบบ"ถึกๆดำๆ"
Twitter : @Zerntrino
G+ : Zerntrino Plus
คงต้องให้แปล ต่ออีกที
เค้าคงลืมไปแล้วครับว่าเคยแปลคอมพิวเตอร์ว่าคณิตกรณ์ lol
ใช่ มาตรฐานตัวเอง ยังไม่มีเลย ความจำสั่น แต่จะให้คนอื่นจำ
computer บัญญัติให้ใช้ทับศัพท์ว่า "คอมพิวเตอร์" ก็ได้ครับ
ลองดู ที่นี่ พิมพ์ว่า computer
ราชบัณฑิตยสถาน มีการบัญญัติ ทั้งแบบคำทับศัพท์ และแบบคำภาษาไทยแท้ครับ เช่น คณิตกรณ์ กับ คอมพิวเตอร์ ก็มีทั้ง 2 แบบ ถ้าใช้คณิตกรณ์ก็ได้ไม่มีปัญหาอะไรก็ถูกต้องเป็นภาษาไทย ทั้งนี้ถึงไม่มีคนใช่คณิตกรณ์ แต่มันก็ยังมีประโยชน์ในอนาคต เพื่อใช้ในการอ้างอิง และจะได้รู้ความหมาย ที่คนไทยในสมัยนั้นๆพูดกัน เนื่องจากเป็นคำไทยแท้สื่อความหมายชัดเจน เป็นหน้าที่ของราชบัณฑิตยสถานครับ คำแบบคณิตกรณ์นี้เราอาจจะไม่เห็นประโยชน์ แต่ถ้ามองไปที่อนาคตแล้วมันเกิดประโยชน์ครับ 'ราชบัณฑิตยสถานก็เหมือนผู้ใหญ่จะบอกความจริงกับเด็กแต่ไม่บอกตรงๆ' ทำให้เด็กๆไม่เข้าใจและเกิดความเข้าใจผิด
"คณิตกรณ์" ไม่ใช่คำไทยครับ
อา...จริงๆก็รากศัพท์เขมรนี่เนาะ...
ถ้าแปลไทยจริงๆก็ต้อง เครื่องคำนวน
ไม่ก็ เครื่องคิดเลข
Smart Card = บัตรเอนกประสงค์ ครับ ย่อ บอป.
Laptop = คอมพิวเตอร์วางตัก (สมัยนี้คงไม่มีแล้วมั้ง) ย่อ คต.
Portable computer = คอมพิวเตอร์พกพา ย่อ คพ.
Notebook computer = คอมพิวเตอร์ขนาดสมุด ย่อ คส.
Tablet Personal Computer = คอมพิวเตอร์บังคับมือ ย่อ คม.
Smart Phone = โทรศัพท์อเนกประสงค์ ย่อ ทอป.
E-Book Reader = เครื่องอ่านหนังสือแบบอิเล็กทรอนิกส์ ย่อ คนอ.
ถ้าได้แบบนี้คงสนุกดีแฮะ
วางตักเป็นการใช้งานที่ไม่ถูกต้องอีกด้วย ... ไปอาวมาจากไหนฟระ
คอมฯพกพาก็ดีอยู่แล้ว ... smart ใช้คำว่า ยุกใหม่แทนก็คงไม่มีใครว่า ... ฮากันเข้าไป
laptop = วางตักฮ่าๆ แปลซะตรงตัว
แต่ผมเรียก desktop ว่า เครื่องตั้งโต๊ะ นะ
คราวหน้าจะเอาไปถามลูกค้า "ตั้งโต๊ะหรือวางตักครับ"
ฟังๆ ดูแล้วเหมือนตัวละครสามก๊ก
+1
+1
http://fail.in.th/2011/07/royal-institute/
ทำให้นึกถึงคำว่า พบ+ปะ น่าจะเป็นคำซ้อนจากภาษาถิ่นแล้วเปลี่ยนเสียงตามภาษาถิ่น คำลักษณะนี้อยู่มาก คล้ายคำอื่นๆเช่นคำว่า ยุค+สมัย
อยากให้บอกรากที่มาที่ไปของคำในภาษาไทยเองด้วย
ก็เช่นกัน
ด้วยความเคารพ ผมว่า ดร.กาญจนา เนี่ยแหละที่ทำให้ภาษาเราน่าเป็นห่วง ><
เวลาดูสาวชอบดูสาวขาวๆ Sex Sex เวลาดู Notebook ชอบแบบ"ถึกๆดำๆ"
Twitter : @Zerntrino
G+ : Zerntrino Plus
ดร. รู้หรือเปล่าครับ ไข่ของผู้ชายมันสุกได้เพราะวางบนตักนะยิ่งรุ่นมีการ์ดจอแยก คนใช้มีหวังได้กินไข่มะตูม
แล้วการใช้ laptop วางบนตักทำให้สุขภาพคอมันเสียทุกวันนี้จึงต้องใช้งานบนโต๊ะแทนและหาหนังสือหรือกล่องมาวางเสริมให้ตรงระดับสายตา
คำบางคำใช้ทับศัพท์ไปเถอะ อย่างน้อยถือเป็นการให้เกียรติภาษาต้นทางแปลมาปลายทางแล้วรับไม่ได้ครับ
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
laptop วางตักเสียสุขภาพ แต่ lap = ตัก laptop มันก็บนตักก็ถูกแล้วครับ ไม่ให้เกียรติภาษาต้นทางตรงไหน
laptop เป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นผมว่ามันมี 2 กรณีที่ควรทำโดยขึ้นอยู่กับว่าเหมาะกับข้อไหน
เรียกทับศัพท์ตามเสียงที่ออกมาเลย (แล็ปท็อป)
บัญญัติศัพท์ใหม่ไปเลยแล้วบอกว่าคำนี้คือแปลอังกฤษว่า laptop
แต่ส่วนตัวข้อ 2 ไม่เหมาะแน่ๆ เพราะไม่งั้นคงออกมาเป็น คณิตกรณ์พกพา 555+
จริงๆ คือทำไมต้อง lap = ตัก แล้วจำเป็นว่าต้อง laptop เลยต้องมีคำว่า ตัก อยู่ในความหมายด้วย ทีคำว่า rainbow ทำไมแปลว่ารุ้ง ทำไมไม่แปลว่า ธนูฝน พอเข้าใจที่ผมจะสื่อไหมครับ?
ยังมี Compound Noun อีกหลายตัวเช่น cocktail อันนี้เรียกหางไก่ตัวผู้ดีไหม? ทำไมคนมักใช้คำว่า ค็อกเทล แทน นี้แหละครับที่อยากชี้ให้เห็น
ปล. ผมไม่แถนะครับ แต่ผมรับไม่ได้ที่จะใช้คำว่า ตัก อยู่ในความหมายด้วย ใช้คำว่า แล็ปท็อป ไม่ได้หรืออย่างไร?
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
ผมว่าแถ เพราะฝรั่งเค้าก็ไม่ได้เข้าใจว่าไอ้ที่กินอยู่คือหางไก่จริงๆ หรืออย่างรุ้ง มันเป็นคำที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ได้แปลเอามานับรวมไม่ได้ แต่แลปทอปคือเค้าคิดขึ้นมาแล้วว่ามันวางตักเลยใช้ชื่อนี้ เหมือนๆ กับ desktop ที่เปรียบเสมือนพื้นโต๊ะ ที่เอาไว้ใช้วางของ
แต่ผมเห็นด้วยกับการบัญญัติศัพท์ใหม่มากกว่ามาแปลตรงตัว เช่น desktop ฝรั่งเค้าคิดถึงพื้นโต๊ะ แต่เราในแบบไทยๆ อาจจะนึกถึงกระดาน ก็ใช้คำว่ากระดาน(สมมติ)
หรือ กรณี mobile นี่ผมก็ชอบนะ ที่แปลว่า มือถือ ไปเลยแถมใช้ตามความหมายได้ทันสมัย เพราะเมื่อก่อน mobile มันแปลว่า โทรศัพท์มือถือ แต่เดี๋ยวนี้มันกลายเป็น คอมพิวเตอร์มือถือ แต่ไม่ว่ายังไงเรียกว่า มือถือก็เข้าใจได้เลยเหมือนคำว่า mobile
May the Force Close be with you. || @nuttyi
มันก็เหมือนแถจริงๆ นั้นแหละ ^^" เพราะผมพยายามหาสิ่งใกล้เคียงมาเปรียบเทียบเพื่อสนับสนุนความคิดตัวเองว่าเป็นสิ่งถูก ในแง่หนึ่งคือผมไม่อยากสูญเสียจุดยืนทางความคิดของผม ก็หวังว่าจะมีคนเคารพการแสดงความคิดของผม พอๆ กับที่ผมเคารพการแสดงความคิดของทุกท่านบ้างนะครับ ผมก็แค่อยากแสดงความคิดเห็นบ้างก็แค่นั้น
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
อ่า ผมก็ไม่ได้สนับสนุนคำว่าคอมพิวเตอร์วางตักนะครับ แค่สงสัยว่าการทำแบบนี้มันเป็นการไม่ให้เกียรติภาษาต้นทางตรงไหนน่ะครับ - -" แล้วผมก็ไม่ได้ลบหลู่ดูหมิ่นการแสดงความคิดเห็นของคุณด้วยนะครับ ผมแค่แย้งในสิ่งที่ผมสงสัยเฉย ๆ เพราะผมยังไม่เข้าใจแค่นั้นเอง บางทีผมอาจจะใช้คำที่สื่อความหมายผิดจากที่ตั้งใจไปเองก็ต้องขอโทษไว้ตรงนี้ด้วยแล้วกันครับ
ผมก็เช่นกันครับ
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
เดิมทีพวก Laptop มันก็เอาไว้ทำงานบนตักมาก่อนนี่ครับ เลยเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า "Laptop" ผมเลยคิดว่า ทางคนคิดชื่อแปลเป็นไทย เลยคงถึงการใช้งานแบบเดิมด้วยหรือเปล่า
ฝรั่งเป็นเมืองหนาว การใช้แบบ lap-top จริงๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกครับ
ก็เห็นด้วยกับท่านนะครับ ควรจะรณรงค์ตอนที่คำออกมราใช้ใหม่ๆ เช่น tablet , social network หรืออะไรก็ตามแต่
แปลได้แบบนี้อย่าแปลดีกว่า แต่ผมว่าเขาคงอิงมาจาก
PC - คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะLaptop - คอมพิวเตอร์วางตัก
จะได้ไปในทางเดียวกัน แต่ฟังแล้วก็เฮ้อภาษาไทยเยิ่นเย้อได้อีก
That is the way things are.
วันก่อน
1
2
3
วันนี้
ฟื้นฝอยหาตะเข็บ
ตรรกวิบัติอย่างรุนแรง
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
แค้นฝังหุ่น
อีกหน่อยซื้อ Laptop คงมีโปรโมชั่นแถมช้อน........ เอาไว้ตัก!!!
ดร. กันเลยทีเดียว อะไรที่มันมาจากฝรั่งเรียกแล้วเข้าใจกันตรงกัน ก็ทับศัพท์ไปเลยสิ
กาก ลองเอารุ่น dv3000 วางใส่ตักดิ ถ้าไข่ไม่สุกซะก่อนล่ะ บัญญัติศัพท์มาแต่ละทีนี่ทำซะน่าเป็นห่วง
ของผม v3000 เปิดเครื่องก็ร้อยองศาแล้ว ดูหนังปาไปร้อยกว่าๆ กลัวไหม้สุดๆ
ใช่ครับ DV3000 กาก เมพขิงต้องแรงแต่ไม่ร้อน
ไม่ต้องรุ่นเก่าหรอกครับ notebook ใหม่ๆ ก็ร้อนแทบทุกรุ่นเวลาจัดหนักๆ จัดเบาๆ ยังอุ่นๆ เลย
ที่จริงผมด่าราชบัณฑิตต่างหากล่ะ บัญญัติศัพท์ออกมาให้แปลไทยเป็นไทยอีกรอบ แถมยังแปลเป็นอังกฤษอีกถึงจะบางอ้อ
"พ่อกูชื่สรีอินทราทีตย แม่กูชื่นางเสือง พี่กูชื่บานเมือง
ตูมีพี่น๋องท๋องดยวห๋าคน ผู๋ชายสาม ผู๋หญิงโสง พี่เผือผู๋อ้ายตายจากเผือตยมแต่ญงงเลก เมื่อกูขึ๋นใหญ่ได๋
สิบเก๋าเข๋า ขุนสามชนเจ๋าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบ"
ภาษาแบบนี้คงถูกใจดร.กาญจนา
จากศิลาจารึกหลักที่ ๑ ( ลิงก์ )
มันขึ้นอยู่กับโอกาสและความเหมาะสมครับ แต่ยังไงผมก็เห็นด้วยกับราชบัณฑิต ยังไงๆขึ้นอยู่กับความเหมาะสมที่จะใช้ครับ
สงสัยมานานแล้ว ว่าทำไมไดโนเสาร์ถึงสูญพันธุ์ เพราะมันไม่ปรับตัวนี่เอง
แร๊งส์!! 55555
วางตัก มันร้อนไม่เอา เสียววางโต๊ะเก้าอี้ดีกว่า
แล้วที่แปลมามันไม่ใช่ไทยคำอังกฤษคำหรือนี่ = ="น่าจะเรียก "กล่องประมวลผลวางตัก" ไปเลยนะ
ส่วนตัวผมว่าเรียก แล็ปท็อป ก็ไม่ได้วิบัติอะไรนะ พวก "ยูต้องไฟท์" อะไรพวกนี้มากกว่าที่จะวิบัติ
กำลังติดตามว่า Blognone จะเอาคำไหนเข้า Glossary บ้าง
ส่วนตัวผมว่าแต่ละคำมัน "โอเค" นะ (อันนี้เข้าข่ายวิบัติมั้ยคำนี้ 555)
Blognone มีนโยบาย "ยอมรับ" ศัพท์ราชบัณฑิตอยู่แล้วครับ ดังนั้นใช้งานได้ทันทีที่ประกาศเป็นทางการ ส่วน Glossary นั้นเป็นคำที่ เขียนกันผิดบ่อย หรือเรามีการตกลงเป็นอย่างอื่นนอกเหนือจากราชบัณฑิตประกาศไว้ หรือราชบัณฑิตยังไม่มีประกาศ กรณีที่ Blognone ระบุไว้ไม่เหมือนกับราชบัณฑิต ให้ถือว่าใช้ได้ทั้งสองอย่าง
แต่โดยปรกติเราแนะนำให้เขียนตาม Glossary มากกว่าครับ
lewcpe.com , @wasonliw
ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (หรือจดหมายเฉย ๆ) ก็ได้มั้ง - - คำนี้ยาวเกิ้น (ไม่สื่อด้วย)
อีเมล ให้ใช้คำว่า แมวส่งอีเมล ให้ใช้คำว่า ส่งแมว
ส่วนคำว่าแมว ก็ให้ใช้คำว่าแมวตามเดิม
ยื่นหมูยื่นแมว แปลว่า ยื่นหมูยื่นอีเมล
ใช้ตามผมสิครับ!
พยายามจะหลีกเลี่ยงการใช้คำภาษาอังกฤษ แต่คำที่ออกมา ยังไงมันก็มีคำภาษาอังกฤษอยู่ดี แถมยาวเฟื้อย -"- ใครจะใช้ครับท่าน คิดถึงความเป็นจริงบ้าง
ราชบัณฑิตเคยบัญญัติเป็นคำทับศัพท์ว่า อีเมล อยู่แล้ว และเหมาะสมดี ผมก็ยังยืนยันว่าจะใช้ทับศัพท์สำหรับคำๆ นี้ต่อไป
อีเมล = จดหมายไฟฟ้า
คุ้น ๆ ว่าในภาษาญี่ปุ่นใช้คำนี้จริง ๆ นะ (นอกเหนือจากใช้คำทับศัพท์)
แต่ผมไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นอ่ะ ... เคยเรียนมานิดเดียวเอง
ภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า 電子メール ครับ อ่านว่า でんしメール (den shi me- ru) คำหลังทับศัพท์คำว่าเมลตรง ๆ (ซะงั้น ที่จริงคำนี้น่าจะโดนแปลเนอะ) ส่วนคำหน้าแปลว่าอิเล็กตรอนหรืออิเล็กทรอนิกครับ
แต่ที่เห็นชาวญี่ปุ่นใช้ในชีวิตประจำวันกันจริงๆ ก็ย่อจนเหลือแค่ "เมรุ" หนิครับ
แรกๆผมงงมากว่า meiru มันแปลว่าอะไร เพราะมันแปลได้ทั้ง1. E-mail 2. SMS 3. Post
พอแปลกลับให้ฝรั่งมันคงงงว่าทำไมแปลภาษาออกมาได้แปลกสุดยอด
ภาษาควรมีการวิวัฒน์ที่เสรี คำใดที่ไม่นิยมก็ตายไป คำใดที่นิยมถูกเลือกใช้อาจจะตลอดไปหรือแค่ช่วงเวลาหนึ่งแต่มีคนคลั่งบางจำพวก ที่ตอนเด็กอาจมีปม ทำให้ชื่นชมชอบในการบังคับควบคุม กระทั่งสิ่งที่ตนเองไม่ยอมเรียนรู้ ย่อมเป็นที่ขบขันของมหาชน
ด้วยความเคารพที่อาจารย์ท่านคงออกมาทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายไว้
แต่ทำไมการบัญญัติศัพท์มันไปขึ้นกับคนกลุ่มเดียวอ่ะ ทำไมไม่ทำสำรวจ หรือโหวต หรือประชาพิจารณ์อะไรก็แล้วแต่ ให้คนทั่วไปเขายินยอมหรือได้แชร์ความคิดหน่อย ไม่ใช่จู่ๆ ก็ออกมาบอกว่า "ควรใช้คำนี้นะ"
เข้าข่ายไม่สนใจเขา สนใจแต่ฉันนะเนี่ย
ผมเข้าใจว่าการสำรวจความคิดเห็นทำได้ยากและสิ้นเปลืองครับ อย่าบอกนะครับว่า "ก็ถามทางอินเตอร์เน็ตสิ" แล้วชาวบ้านที่เข้าถึงได้ไม่สะดวกล่ะครับจะมาออกความเห็นยังไง ถ้าอยากให้เคารพสิทธิการตัดสินใจของพวก geek ก็ควรจะฟังตาสีตาสายายมายายมีด้วย
หลักการบัญญัติศัพท์บ้านเราคือ แปลจาก Germanic (อังกฤษ) ไปเป็น Indo-Iranian (บาลี-สันสฤต) ซึ่งก็เป็นภาษา Indo-European เหมือนเดิม
ถ้าคิดไปแล้ว ผมว่าศัพท์อังกฤษจำนวนมากที่เอามาบัญญัติ น่าจะมีที่มาจากสาย Romance มากกว่าสาย Germanic นะ
อันนี้ใช่ครับ พูดถึงการสร้างศัพท์ในอังกฤษ ก็เหมือนบ้านเราครับ เวลาสร้างศัพท์ใหม่ จะเอามาจากภาษาคลาสสิก ส่วนมากศัพท์ใหม่ๆ จะมาจากละติน และฝรั่งเศส ^^
รอดูว่านักข่าว นักแสดง พิธีกร จะใช้คำนี้ไหม? ที่แน่ๆ คนฟังคงงงว่า "มันคืออะไรฟ๊ะ" หุหุ
Computer แบบ Tablet จะเรียกยังไงดี?
ป.ล. จะคอยดูว่าคนที่ให้ความหมายจะใช้มันมั๊ย
กระดานชนวน..
คอมพิวเตอร์แผ่นกระดาน (พอได้มะ)
ผมว่าแนวทางนี้ไปได้ครับ
การจะแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยที่ดี มันควรจะแปลอย่างมีความเข้าใจ แล้วก็เอามาแปลงเป็นภาษาไทยอีกที
ที่ผมไม่สนับสนุนราชบัณฑิตฯ ในคราวนี้เพราะเฮียแกเล่นแปลแบบตรงตัวเป๊ะๆ ซึ่งการแปลแบบนั้นจะให้ใครแปลก็ได้
ตัวอย่างในการแปลอย่างมีคุณภาพคือ "คอมพิวเตอร์แผ่นกระดาน" ของคุณนี่แหละครับ คือมันเห็นภาพเลย แม้จะไม่ได้แปลตรงตัวจากภาษาอังกฤษก็ตาม
ที่จริงผมแปลตรงเป๊ะเลยนะ Tablet = แผ่นจารึก, อะไรที่เป็นแผ่นๆ และมีความหนา, ยาเม็ด
ยาเม็ด
555
คอมพิวเตอร์แผ่นเหล็ก - -"
SPICYDOG's Blog
เรียนแบบราชบัณฑิต
คอมพิวเตอร์แป้นสาส์น
หรือ
คอมพิวเตอร์แบบแป้น
พอดีไม่รู้รากศัพท์ที่มาของ let หวังว่าเป็น letter ประกอบกับดูจากลักษณะทางกายภาพ ^^'
ปล่อยเขาไปเถอะครับ ถ้าคำไหนเหมาะสมคนใช้ก็จะเป็นคนเลือกเอง อย่างในสื่อต่างๆถ้าอ่านข่าวตรงตามที่ราชบัณฑิตกำหนดไว้ ปีๆนึงคงเสียเวลาไปหลายชั่วโมงเลยทีเดียว
อ่านจากข่าว เค้าบอกว่า "แนะนำ" ครับ ซึ่งผมไม่ทำตาม :closedeyes:
^
^
that's just my two cents.
ดื้อ :3
ขอบอกอย่างหยาบๆว่า โคตรงี่เง่า
ญี่ปุ่นเค้าบ้าเรื่องชาติมากๆยังอุส่าสร้าง katakana มาใช้กับภาษา ต่างประเทศเลย จะได้ใช้ง่ายๆ
แล้วนี่มันอารายวะเนี่ย ผลที่ได้รับคือ ทั้งพวกคู่มือ และ software version แปล รวมไปถึงระบบแปลภาษา
เลย "ล้าหลัง" ตามแนวความคิดของคนพวกนี้ ไม่น่าได้เป็น ดร. เล้ย
ปรกติมีใครเอา notebook วางตักด้วยเหรอ ถ้าผมเอา notebook
ทำอยู่เลยครับ ประจำ บนเตียง
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ผมทำครับ โดยเฉพาะเวลาอยู่บนเตียง วางทั้งบนท้องและตัก
แต่ มีหมอนรองพื้น Laptop อีกใบนึง.. เป็นห่วงสุขภาพลูกๆ
ผมมีสองเครื่อง เครื่อแรกผมวางได้ Thinkpad มันไม่ค่อยร้อน แต่ผมก็วางทีเดียว จากนั้นไม่ใช้แบบนั้นเลย เครื่องสอง Fujitsu มีการ์ดจอแยก ผมต่อคีย์บอร์ดแยกใช้เลยครับเพราะคีย์บอร์ดตัวมันเองร้อนนะ ไม่ต้องนึกว่าวางตักผมจะเป็นยังไง
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
ผมมี Aspire One (ถึงจะเป็นแค่ netbook แต่ก็คล้ายๆ กันนะ) เคยลองวางมาแล้วทุกแบบที่นึกออกครับ บนตัก บนหน้าขา บนมือข้างเดียว จับที่จอห้อย นอนเล่นวางตะแคง
ถ้าคุณใช้มันอย่างที่มันถูกออกแบบมา (พกพา) คุณจะมีโอกาสได้วางมันบนตักครับ
สมัยเรียน ตอนผมใช้โน๊ตบุ๊คบนรถเมล์ ผมวางตักตลอดนะ เพราะมันวางที่อื่นไม่ได้ (Centrino สมัยนั้นก็ไม่ถึงกับเย็นะ แต่ก็ไม่ได้ร้อนอะไร) ระหว่างรอรถเมล์ก็ทำนะ อะไรอีกล่ะ ??
แล้วอิเล็กทรอนิกส์ มันภาษาไทยหรอ ไม่แปลต่อละ
มันแปลได้ความหมายประมาณนี้ครับ
= การกระทำทางไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กบนอุปกรณ์ที่สื่อหรือแสดงผลหรือเป็นพาหะ
คุณจะเอามั้ยล่ะ
IBM's policy was to call their ThinkPad notebooks rather than laptops because they expressly did not want customers to place them in their laps. Since I use ThinkPads, I have a tendency to think of them as notebooks, and all other such devices as laptops. source
IBM เริ่มใช้คำว่า Notebook แทนคำว่า Laptop เพราะไม่อยากให้ผู้ใช้วาง Notebook ไว้บนตัก
ผมว่าราชบัณฑิตต้องหาข้อมูลและเหตุผลประกอบการแปลนิด ไม่ใช่สักว่าจะแปลอย่างเดียว
"Labtop ให้ใช้ คอมพิวเตอร์วางตัก"
นี่ขนาดแปลมาแล้วนะ ยังทับศัพท์อยู่เลย แถมยาวกว่าเดิมอีก
ปล.คำใหนที่ไม่ได้เป็นคำไทย ควรจะใช้แบบทับศัพท์ไปเลยครับ
ถ้าจะแปลจริงๆ Laptop = วางตัก เฉยๆ ครับไม่ได้ยาวขึ้นเลย 2 พยางค์เหมือนเดิมคอมพิวเตอร์วางตัก ต้องแปลมาจาก Laptop Computer
เหมือน application ที่แปลว่าโปรแกรมประยุกต์ ไหงแปลมาแค่ครึ่งเดียวล่ะ-*-
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ระวังเด็กรุ่นใหม่จะเข้าใจว่า คอมพวิเตอร์วางตัก สามารถใช้งานบนตักได้ไม่มีปัญหานะครับ แล้วชายไทยก็จะเป็นหมันกันไปหมดLol
Blog: https://medium.com/@tanakritsai
+1 ฮ่าๆ เสียวเลยแบบนี้ ต้องระวัง
เอาเวลาไปทำอย่างอื่นที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเถอะครับ
positivity
เห็นด้วย ที่ สื่อควรใช้อย่างระมัดระวัง เพราะปัจจุบัน ละเลย มามากแล้ว
โดยเฉพาะคำภาษาไทยแต่ในกรณีที่เป็น คำทับศัพท์ โดยเฉพาะ ศัพท์คอมพิวเตอร์และไอที รวมไปถึงโทรคมนาคม มีความเห็นว่า ควรใช้ "คำทับศัพท์" มากกว่า เพราะ คำศัพท์คอมพิวเตอร์ มีความหมายในตัวมันเองอยู่แล้ว และมีคำที่เกิดใหม่ อยู่ตลอดเวลา
หากมานั่งรอให้ ราชบัณฑิตยสถาน มาบัญญัติศัพท์ ก็ไม่ต้องทำมาหากินกัน (อีกอย่าง ราชบัณฑิตฯ ก็ไม่ได้ทำตัวอย่างที่ดี ให้น่าเชื่อถือเท่าไร โดยเฉพาะ คำศัพท์ ไอที) และถ้าใช้ตามราชบัณฑิตฯ บางที ต้องแปลไทยหรือบาลี-สันสกฤต เป็น ไทยอีก (หากต้องแปลคำ ที่เป็นที่ยอมรับกันอยู่แล้ว เช่น โปรแกรม ไอที คงจะยาวแล้ว อาจไม่รู้เรื่องทีเดียว)
ตัวอย่าง
iconศัพท์บัญญัติในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ว่า สัญรูป
ศัพท์บัญญัติในสาขาวิชาศิลปะ ว่า รูปเคารพ
และที่น่าสังเกต ถ้าอยากให้ใช้เหมือนๆ กัน ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตฯ จะออกมาทำไม เพราะบางคำ ก็เป็น คำทับศัพท์ ไม่ได้แปลเป็นคำไทย
ในที่นี้ หากเป็น คำทั่วๆ ไป อันนี้ เห็นด้วย เพราะไม่ต้องแปล เช่น
- สนธิกำลัง ราชบัณฑิตฯ แนะนำให้ใช้ ผนึกกำลัง- poll โพล ราชบัณฑิตฯ แนะนำให้ใช้ สำรวจประชามติ
ซึ่งคำเหล่านี้ ส่วนใหญ่ ก็มาจากสื่อมวลชน ที่พยายามสรรหาคำที่ฟังแล้วดูดี มาทั้งนั้น (แต่ไม่รับผิดชอบต่อสังคมเท่าไร)
อีกคำหนึ่ง เช่น พ่อหลวง ที่มักใช้แทน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งๆ ที่มีคำว่า ในหลวง ให้ใช้อยู่แล้ว (ถ้าอยู่ในบทกวี ใช้แทนความหมาย แทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็อีกเรื่อง) พเราะ คำว่า พ่อหลวงในภาษาเหนือ รู้กันดีอยู่แล้วว่า หมายถึง ผู้ใหญ่บ้าน แท้ๆ
และการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะ การใช้ลักษณนาม นี่ ก็ต้องระมัดระวัง เช่น คนไทย 3 คน สื่อมวลชนต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์ มักใช้ว่า 3 คนไทย (เหมือนภาษาอังกฤษ) นี่ก็พบเจอกันประจำ แล้วก็มาอ้างว่า ใช้ให้กระชับ (อ้างไปได้เรื่อย)
เล่นกันยาววววว เลย แค่คอมพิวเตอร์ว่างตัก
กลุ้ม
แปลออกมาแต่ละอย่างเล่นเอามึนหัวตึ๊บ อย่าง Desktop แปลว่า พื้นโต๊ะ นี่ยังรับไม่ไหวเลยนะ ครั้งแรกที่เจอไอค่อนนี้เล่นเอางง คิดไปว่ามันให้ดูอะไรที่โต๊ะของเรา ใช้โอเพ่นออฟฟิศเมนูไทยนี่ไปไม่ถูกเลย
ขนาดคุณท่านกูเกิลยังแปล circle เป็น แวด"วง" เล้ย
เอาเวลาไปใส่ใจกับภาษาวิบัติ ตัวอื่น ดีกว่ามาใส่ใจกับ คำศัพท์ ดีกว่ามั้ยครับ
ที่เห็นเยอะๆ เลยเดี๋ยวนี้เช่น
เมพ ขิง ๆ (เทพจริงๆ )
สวดยอด (สุดยอด)
เมพคอดๆ (เทพโคตรๆ )
มาม่า (ดราม่า)
หรอ (เหรอ)
และอีกมากมาย ผมว่าพวกนี้มากกว่าที่ทำให้การเขียนเพี้ยนไปจากมาตรฐานเดิม (ผมก็ยอมรับว่าก็ใช้เองบ้าง เพื่อตามกระแส แฮ่ะๆ เด่วตกสมัย)
แต่ที่พูดเนี่ยะ หมายถึง คนในราชบัณฑิตยสถาน หน่ะแหล่ะครับ ว่า หากจะเอาคำศัพท์ที่เค้าเรียกกัน หรือคำทับศัพท์ ที่ใช้แล้วเรียกยากกว่าเดิม หรือ ยาวขึ้น และขัดความรู้สึกของผู้พูดคงไม่ไหวอ่ะครับ สู้ ไปสำรวจ การใช้คำที่เพี้ยนไป ดั่งคำตัวอย่างข้างต้นที่เกริ่นมา ไม่ดีกว่าเหรอ..
ใช้คำว่า "เทพ" ก็วิบัติแล้วครับ
เรื่องการย่อคำต่างๆจากวงการบันเทิงผมเห็ยว่าควรจะระมัดระวังอย่างยิ่ง ผมได้ยินคำว่าซุปตาร์ ออกทางรายการทีวี ครั้งแรกแล้วงงเลยว่ามันคืออะไรแต่ในเรื่องเทคโนโลยี วิทยาการ วิชาการต่างๆ ใช้คำทับศัพย์ก็ดีอยู่แล้ว อย่าได้ตามเขาเลย เพราะคงจะสื่อสารกันได้ยากกว่าเดิม ฟังแล้วมันไม่"เก็ท"!!
ในหลวงทรงเป็นห่วงเรื่องภาษาไทยนะ
ผมว่า ผมเห็นด้วยกับการบัญญัติ แต่จะใช้หรือไม่ใช้ ก็เรื่องของพวกท่าน
เพราะอย่างน้อย เราก็มีคำศัพท์ที่เป็นคำภาษาของเราเองนะ
แค่จะพูดว่า "กิน" ยังเปลี่ยนเป็น "ทาน"ทั้งที่ "ทาน" ไม่ได้แปลว่า "กิน" ถ้าไม่อยากพูดว่า "รับประทาน" ก็ไม่น่า ดจร. พูดแค่ "ทาน"
เห็นในสื่อแขนงหลักทั้งวิทยุ และ โทรทัศน์
ใส่คำว่า "ขอ" นำหน้าด้วยครับ แล้วจะพบว่ากลับมาใช้คำว่า "กิน" ดีไหม?
วันนี้เห็นขอทานมานั่งขอเงิน
วันนี้ขอทานข่าวเที่ยงก่อนนะ
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
ผมว่าอันนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเลยนะ
เพราะ คำว่า ทาน ใน "ขอทาน" ไม่ได้แปลว่า กิน
มันมาจากคำว่าทาน แบบเดียวกับในคำว่า "ทำบุญทำทาน"
edit : ผมไม่รู้ว่าคำถามของคุณมีคำตอบอยู่แล้วหรือเปล่านะครับแต่คำตอบของผมยืนยันว่า "กิน" = "รับประทาน" ≠ "ทาน"
คำว่า ทาน มันจัดว่าเป็นคำพ้องเสียงนะครับ ใช้ได้หลายความหมาย ทำให้คำว่า ทาน พูดปุ๊บยังไม่ได้หมายถึงอาหารซะทีเดียว
ต่างกับคำว่า กิน ที่ผมว่าไม่ใช่คำพ้องเสียง มันไม่น่ามีความหมายเป็นอย่างอื่น ถ้าเกิดไม่ใช้คำว่า กิน เดี๋ยวมันจะกลายเป็นคำที่ไม่มีความหมายไปซะก่อน
อีกตัวอย่าง เอาเป็นคำว่า "ให้" มีให้เทียบ 2 ตัวอย่าง
ถ้าวันนี้ลูกทำการบ้านเสร็จไว พ่อจะให้ทานขนมได้นะ
มงคลที่ 15 จากมงคล 38 ประการ การให้ทาน คือการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทนโดยหมายให้ผู้ได้รับได้พ้นจากทุกข์ ...
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
มันไม่ใช่คำพ้องเสียงแน่ๆ อะครับ เพราะถ้าจะหมายถึงกิน มัน "ผิด" ความหมาย
edit : สั้นๆ เลยว่า ประโยคแรกมัน ผิด
เพิ่ม : ทาน เป็น คำพ้องรูป เพราะมันเขียนแบบเดียวกัน แต่ความหมายต่างกัน ซึ่ง "ทาน" มันไม่ได้แปลว่า "กิน" เลย ซักความหมายเดียว ที่คุณเข้าใจผิดก็เพราะ คนทั่วไปเลี่ยงจะพูดคำว่า กิน ไปเป็น รับประทาน แต่ดันขี้เกียจพูดยาวจึงตัดเหลือคำเดียว
นี่แหละ จุดเริ่มต้นของความเพี้ยน ซึ่งมันอาจจะเปลี่ยนไปตลอดก็ได้ ถ้ายังมีคนเข้าใจผิดอยู่มากขนาดนี้
เอ ผมว่าจริงๆ เรียกว่าคำเดียวกันเลยดีกว่า คำพ้องเสียงก็เสียงเหมือนรูปไม่เหมือน ส่วนคำพ้องรูปก็รูปเหมือนเสียงไม่เหมือน แต่นี้เหมือนทั้งรูปทั้งเสียง ใช้เป็นคำเดียวกันเลย
ส่วนเรื่องการใช้คำผมว่ามีคนใช้คำหลายแบบมากกว่า แล้วพอใช้กันต่อๆ มามันก็ทำให้เกิดการเพี้ยนการย่อเกิดขึ้น แต่สุดท้ายคำว่า กิน อาจกลายเป็นลูกเมียน้อยได้ละมั้ง 55+
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
ทาน ๑, ทาน- [ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน
วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คนให้แก่คนยากจน,
เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม).
(ป., ส.).
ทาน ๒ ก. ยันหรือรับไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา ต้าน เป็น ต้านทาน.
ทาน ๓ ก. สอบหนังสือให้ตรงกับต้นฉบับ.
ราชบัณฑิตยสถาน ไม่ได้แปลว่า "กิน"ครับ
ชัดนะ
แบบราชบัณฑิต = แบบที่ถูกต้อง ....เข้าคำถามเดิม ความถูกต้องคืออะไร ? มันเป็นเรื่องของการยอมรับจากสังคมว่าเหมาะสมหรือไม่เสียมากกว่า ถูกผิดเป็นเรื่องที่มนุษย์คิดกันมาเอง จึงเถียงกันไม่จบ
บางคนคงคิดว่าคำว่า Laptop เป็นคำเฉพาะสินะ ไม่ได้คิดว่ามันแปลว่า บนตัก
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
แล้วก็ไม่รู้ว่า บางคนเข้าใจคำว่า ตัก เป็นได้แค่กิริยาเท่านั้นด้วยรึเปล่าหรือแค่เล่นมุก lap น่ะรู้จักมั้ย lap, not laddle นะ
ใครจะว่าไงก็เถอะ ผมเชื่อภาษามันต้องเปลี่ยนไปตามกาล
เอาเป็นว่าสือสารแล้วเข้าใจกันพอ อย่าตึงเกินไป หย่อนเกินไป
+1 ที่จริงแล้วภาษาวิบัติเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงของภาษาเท่านั้นครับ ลองย้อนดู อดีตเมื่อหกสิบกว่าปีที่แล้ว สิครับ
+1
60 ปีก่อนเท่านั้นเอง!
จริงๆแล้วมันมีที่มาจากการ ปฏิวัติวัฒนธรรม ในสมัย จอมพลแปลก พิบูลสงคราม สุดท้ายแล้วสังคมก็ไม่ได้ยอมรับ จึงต้องยกเลิกไปในที่สุด ไม่ได้เป็นการเขียนภาษาไทยในลักษณะปกติแต่อย่างใด
ก็ไม่แน่ครับ บางคำอาจใช้อยู่แต่แรก
อย่างหลังมันเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลากว่า 150 ปี แต่ไอ้ 60 ปีก่อนมันเกิดจากคำสั่งของคนกลุ่มหนึ่ง ใช้กันอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ มันเป็นการเปลี่ยนแปลงของนโยบายรัฐมากกว่าตัวภาษาเอง
ผมหมายถึงว่า เราเองก็คงพิสูจน์ยาก ว่า 60 ปีก่อน คำไหนที่ตกค้างมาจาก 150 ปี ก่อน และคำไหนที่เปลี่ยนไปแล้วเปลี่ยนกลับ
อาจจะต้องไปขุดเอกสารหรือข่าวช่วง 80 ปีก่อนมาเทียบ
ขอโทษทีครับ แต่ตามที่คุณ Thaina บอกครับว่าบางคำอาจใช้มาก่อนแล้ว ต้องลองหาเอกสารสมัยรัชกาลที่ 5 มาดูอีกทีครับ
+1 ครับ
ผมวางบนโต๊ะอ่ะ ทำใจเรียกไม่ลง
+1เห็นด้วยอย่างแรง
ภาษาอังกฤษเค้าก็เรียกกัน laptop แม้วางบนโต๊ะ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
อยากให้ราชบัณฑิตตั้งชื่อเว็บดังๆ หน่อย เดี๋ยวเด็กไทยชอบใช้ทำศัพท์ พวก เฟสบุ๊ก ยูทูป ทวิสเตอร์ กูเกิ้ล อะไรพวกนี้ เอาเท่ห์ๆ แบบ Software คือ ละมุนภัณฑ์ เลยนะ
ละมุนภัณฑ์ ไม่มีใช้จริงครับ อย่าเข้าใจผิด
ซ้ำ
ทำไมไม่แปล "Desktop" เป็นคอมพิวเตอร์วางโต๊ะด้วยล่ะ?
ปล. ไม่เข้าใจครับในทางปฎิบัติใครเค้าจะมาเรียกอะไรยาวๆแบบที่บัญญัติแบบนี้กัน
ที่รับไม่ได้มากที่สุดคงเป็น email --> ไปรษณีย์อีเลคทรอนิกส์...2 พยางค์ไปเป็น 7 พยางค์ ขนาดฝรั่งเค้ายังย่อ electronic เหลือ e-.... เลย เฮ้อออ
งั้นเราก็ย่อมั่งซิครับ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ --> จม.อ.ดีมั้ย
Tablet = ????
SPICYDOG's Blog
เราท์เตอร์ เครื่องจ่ายกระแสข้อมูลไฟฟ้าอิเล็คทรอนิคความเร็วสูง
ทรัมไดรฟ์ ข้อมูลขนาดย่อแบบพกพา
เมาส์ เครื่องควบคุมตัวลูกศรเลื่อนไปมา
วินโดวส์ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ยี่ห้อหน้าต่าง
แครก การฉ้อราษฏ์บังหลวงระบบปฏิบัติการละมุนพันธ์
รีเฟรช ทำซ้ำๆเพื่อความสดชื่น
จอ แอล อี ดี โทรภาพแบบแสงสว่างเจิดจ้า
สายแลน สายส่งสัญญานมูลไฟฟ้าอิเล็คทรอนิคความเร็วสูง
ซีดี แผ่นอ่านข้อมูลแบบกลม
เบราเซอร์ ระบบเล่นเว็บ
ไฟร์ฟอก์ ระบบเล่นเว็บ หมาป่า
โครม ระบบเล่นเว็บเสียงดัง(โครม)
โอเปร่า ระบบเล่นเว็บนิเทศศาสตร์
กูเกิล กูก็รู้
Google + กูรู้มากกว่ามึง -*-
เห็นยาวๆ ออกแนวประชดเกือบไม่อ่านแล้ว แต่เหลือบไปเห็น...+555 บรรทัดสุดท้าย [Good job!]
+555
{$user} was not an Imposter
ผมอยากเรียนสอบถามท่าน ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตผู้เชี่ยวชาญภาษาและวรรณคดีไทย ว่าท่านผิดผลาดแบบไม่น่าให้อภัยแบบนี้ได้ยังไงกันครับ เป็นถึงราชบัณทิต แต่กลับใช้ภาษาผิดน่าละอายและน่าประนามยิ่งนักเสียนี้กะไร
คอมพิวเตอร์ ภาษาไทยหรือเปล่าท่าน คอมพิวเตอร์ภาษาไทยต้องเรัียกว่า "คณิตกรณ์" จึงจะถูกต้องท่าน ดร. กลับเรัียกคอมพิวเตอร์หวนๆ เสียจรรยายิ่งนัก
ดังนั้นควรเรียก แลปท๊อปให้ถูกต้องว่า คณิตกรณ์วางตัก ครับท่าน ดร.ผมผิดหวังในราชบัณฑิตไทยจริงๆที่ ใช้คำพูดไม่เป็นไทยเยียงนี้ ที่หลังอย่าใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ อีกนะท่าน ให้เรียกว่า "คณิตกรณ์"
สามารถใช้ได้ทั้ง 2 ครับ คณิตกรณ์ เป็นคำไทยแท้ที่บัญญัติขึ้น ส่วนคอมพิวเตอร์เป็นคำทับศัพท์ครับ ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ทั้ง 2 แบบครับ ทั้งนี้แบบไทยแท้มีเพื่อใช้สื่อความหมาย หรือเพื่อให้รู้ว่าคนในสมัยนั้นๆใช้คำอะไรแบบไหนเพื่อคนในอนาคตจะได้เข้าใจภาษาไทยนอดีต คำไทยแท้นอกจากจะบัญญัติไว้ให้ใช้แล้วยังมีประโยชน์อย่างอื่นแอบแฝงไว้อีกหลายอย่างครับ ราชบัณฑิตยสถานมีหน้าที่บัญญัติคำต่างๆครับถึงจะไม่ใช่แต่ทุกคำที่มีออกมามีประโยชน์ครับ แม้บางทีเราอาจไม่รู้
คำไทยแท้ไม่ใช้การันต์ ตัวสะกดตรงตามมาตรา ไม่มี "ณ" "คณิตกรณ์" ไม่ใช่คำไทยแท้อย่างแน่นอน
+1 ก่อนจะประนามใครหาข้อมูลดี ๆ ก่อนนะครับ ถ้าว่าเบา ๆ อันนั้นคงไม่มีปัญหา
แล้วทำไม แลปท็อป ไม่ใช่คำทับศัพท์ครับ?
ทำไมไม่จัดเป็นคำทับศัพท์ จะบัญญัติว่า คอมพิวเตอร์วางตัก เข้ามาทำไม
ราชบัณฑิตบัญญัติว่าคำไหนทับศัพท์ ก็จบ คำนั้นไทยแท้ หลักการมีแค่นี้เหรอครับ?
อย่างงี้เรียกว่าเผด็จการทางภาษานะครับ ไม่ใช่คนมีการศึกษาสมชื่อบัณฑิต
แล้วประโยชน์ของคำที่คนไม่ใช้คืออะไรครับ?
เราไม่รู้ หรือ มันไม่มีอยู่แล้ว
แล้วขอโทษ ในเมื่อ "คนเขาไม่ใช้กัน" แล้วมันจะแสดงให้เห็นว่า "คนในสมัยนั้นๆ ใช้คำอะไรแบบไหน" ได้ยังไง?
ก็ในเมื่อไม่มีคนสมัยไหนที่เขาใช้คำว่า คณิตกรณ์ ราชบัณฑิตอยู่ๆก็เกิดบัญญัติขึ้นมาเอง แล้วมันแสดงถึงอะไรได้ ?
มันมีประโยชน์แบบไหน นอกจากสร้างหลักฐานเท็จทางประวัติศาสตร์ ให้คนรุ่นหลังเชื่อไปว่ามีบางยุคบางสมัยที่ "คนไทยเคยใช้คำว่า คณิตกรณ์ แปลว่าคอมพิวเตอร์" ทั้งที่จริงๆไม่เคยมีใครใช้ แม้แต่ราชบัณฑิตที่คิดคำนี้ขึ้นมาเอง
ประทานโทษนะครับ
คอมพิวเตอร์วางตัก <<< อังกฤษคำไทยสองคำ
แลปท็อป <<< อังกฤษคำเดียว
ทำไมผมไม่เห็นใครออกมาช่วยแถเหมือนครั้งที่แล้วเลย ว่าราชบัณฑิตมีความรู้สูง มากกว่าพวกเราๆท่านๆที่เป็นแค่กี๊คอยู่หน้าจอ พวกเรามั่นใจในตัวเองมากเกินไป ราชบัณฑิตคิดดีแล้วถึงความเหมาะสม ถูกเสมอ มาจากเสียงส่วนใหญ่ พวกเราต้องยอมรับ และ ฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯลฯ
ที่เถียงผมได้เป็นวรรคเป็นเวรกันเป็นหน้าๆ
ไม่เห็นจำเป็นนี่ครับ จุดประสงค์คือเพื่อให้ใช้คำไทยแท้และสื่อความหมายชัดเจน
/ต่อไปมันอาจจะกลายเป็นเหมือน โทรศัพท์มือถือ ที่เราเรียกกันจนชินติดปากว่า "มือถือ"
คอมพิวเตอร์วางตัก เราอาจจะเรียกกันว่า "วางตัก" ก็ได้นะ ฮา
สังเกตได้ว่าคำที่คงทนมักจะเป็นคำที่คนใช้ ใช้กันเอง บัญญัติกันเอง ไม่ใช่คำที่มี "คุณพ่อรู้ดี" มาบัญญัติให้
ส่วนตัวผมเชื่อว่า คำว่า "คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ" ไม่ได้บัญญัติจากราชบัณฑิต แต่มันสื่อง่าย
"คณิตกรณ์วางตัก" ก็จบเรืองไปครับไทยแท้หมด....
คอมพิวเคอร์วางตัก ยังไงก็ดูเป็น ฟรั่งปนไทยครับ ตามหลักราชบัณฑิตจะเน้นให้เป็นคำไทยแท้หมดอยู่แล้วไม่ใช่หรือครับ
ผมเกียรติ เคารพสถาบัณราชบัณฑิต นะครับ
ส่วนตัวผมมองว่าคำว่า Laptop เป็นสแลง ของวิธิการใช้งาน
ไม่ควรแปลเป็นคำนามครับ เพระเป็นคำกริยา
ผมมองจาก personal computer = คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
แล้วจึงมี desktop computer = คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
ต่อมาก็มี Notebook (Laptop computer, lap = พับ)
ปัจจุบันเป็น Tap, Tablet และ Pad
อนาคต air pad, virtual pad
ร่วนแล้วแต่เป็นคำกริยาทั้งสิน
ราชบัณฑิตควรจะทำงานกับหลายๆ หน่วยงานเช่น ICT
และนี้คือที่ผมมองเห็นจุดบอดของหน่วยงานราชการไทยครับ
สุดท้ายเชื่อว่าต้องเปลี่ยนครับ
จริง ๆ คำศัพท์ต้นทางมันก็ทำเจ้าของภาษาเวียนหัวเช่นกันครับ เช่น Plug-in เพราะบางครั้งมันบัญญัติโดยคนในแวดวงไอที หรือ สิ่งประดิษฐ์จากวิศวกร เลยไม่ได้ถูกต้องตรงการบัญญัติศัพท์แท้ ๆ เท่าไร
WWW = เครือข่ายโยงใยจักรวาล
พลาดแล้ว! World แปลว่า โลก ครับ แก้ให้ "เครือข่ายกว้างไกลทั่วโลก" (ไม่ใช่สโลแกนผู้ให้บริการโทรศัพท์นะครับ)
โวย วาย เว็บ
{$user} was not an Imposter
งี้ Wii Remote หรือ Nunchuck ให้เรียกว่าไรอ่ะครับ "แท่งเล่นสบัดอศจรรย์"
Kinect ล้ะ "กล้องส่องบุคคลเพื่อควบคุมอุปกรณ์คล้ายเครื่องคณิตกรณ์ที่สามารถเล่นได้"
และความจิง คอมพิวเตอร์ เค้าให้เป็น คณิตกรณ์ นี่ครับ
แล้ว สมมติว่าถ้าเขียนใน webboard ว่า "กระผมเพิ่งซื้อคณิตกรณ์วางตักมา แต่ไม่ทราบว่าจะส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เช่นไร" คงจะรู้เรื่องกันอยู่นะครับ
BITCH!!!!
บังเอิญผมรู้เรื่องครับ อย่างน้อยมันก็ไม่ปวดหัวเหมือนภาษาพิมพ์ของเด็กแนวมั่วๆ เดี๋ยวนี้
นุนจัก ก็แปลว่า กระบองสองท่อนไงครับ ฮ่า ฮ่า ฮ่า
เผื่อใครคิดว่าผมเล่นมุก: นินเทนโดตั้งชื่อเจ้า Nunchuck ตาม Nunchaku ซึ่งเป็นอาวุธอย่างนึง
เจ้า Nunchaku นี่ก็คือกระบองสองท่อนนี่แหละครับ
+1
เขาย่อจาก Electronic mail เป็น e-mail แล้วจะไปยืดเป็น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ให้เยินเย้อทำไม
แล้ว เสิร์ช ให้ใช้ ค้นหา ซึ่งเมื่อแปลกลับมาก็จะได้ทั้ง Find, Seek, Discover ถ้าใช้คำว่า สืบค้น น่าจะเข้าท่ามากกว่า
ส่วน Free(ฟรี) ส่วนใหญ่จะไม่ใช้โดดๆ มักจะใช่้คู่กับคำนาม หรือไม่ก็กับ คำคุณศัพท์ หรือคำวิเศษณ์ ความหมายจะต่างกันออกไป
คำว่า แล็ปท็อป ให้ใช้ คอมพิวเตอร์วางตัก ผมว่าอย่าเลย คอมพิวเตอร์พกพา ก็ดีอยู่แล้ว ถ้านิยามเพื่อสร้างควาามเข้าใจจะดีกว่า
ป.ล. เรื่องอักขระผมก็งง ถูกหลักทางภาษาของทางราชบัณฑิตหมายความว่าอย่างไร ยกตัวอย่างตัว t เป็น ต บ้าง ท บ้าง
ส่วนตัวใช้ อินเทอร์เน็ท เพราะออกเสียง คล้าย Internet
ส่วนตัวใช้ คอมพิวเตอร์ ด้วยความเคยชิน
ส่วนตัวใช้ อิเล็คทรอนิคส์ เพราะตัว c ออกเสียงคล้ายได้ทั้ง ซ และ ค ในภาษาเยอรมัน g ออกเสียงคล้าย ก ซึ่งไม่ขัดกับภาษาอังกฤษ
และยังมีตัวอื่นอีกมาก ที่ไม่เข้าใจ หวังว่าราชบัณฑิต น่าจะให้ความสำคัญ เรื่องการสร้างเสริมความเข้าใจที่มาที่ไปของคำนั้น มากกว่าจะกำหนดมาเลย
ส่วนตัวบางครั้งไม่ใช้ตามหลักที่ถูกตั้งขึ้นมา เพราะที่มาที่ไปในการกำหนดไม่ชัดเจน อาศัยว่าสามารถทำความเข้าใจในการเปลี่ยนไป และกลับระหว่าง ภาษาไทยกับภาษาต่างประเทศ เจตนารมณ์ก็เขาใจว่าบางคำต้องการถอดเสียง ก็ไม่ควรจะไปยึดหลักภาษาสันสกฤตมากเกินไป ส่วนอันไหนที่ยึดหลักภาษาสันสกฤตก็ควรทำความเข้าใจ บางครั้งผมก็เลยอาศัยพิมพ์ภาษาต่างประเทศนั้นๆแล้วตามด้วยวงเล็บภาษาไทยจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องรากทางภาษา พิมพ์ภาษานั้นทับไปซะเลย อย่าง Tri(ละติน ลาติน - -?) Three(อังกฤษ) Drei(เยอรมัน) รากมาจากไหนกรณีไหนจะอ่านเป็น ตรี หรือ ไตร ก็ยังงงๆ ที่มาคงไม่ต่างจาก (สาม, 三, さん) แถวๆนี้
คำคุณศัพท์ หรือคำวิเศษณ์(สองตัวนี้ผมยังงงว่ามันต่างกันอย่างไรตอนเรียนภาษาไทยก็ไม่แปลคำว่า วิเศษณ์ ให้เข้าใจง่ายๆ เรียนภาษาอังกฤษเจอ adverb งงเข้าไปอีกสองคำนี้ไม่บรรจบกันในตำรา เพิ่งจะพอเข้าใจตอนเรียนภาษาญี่ปุ่นจากคำว่า คำคุณศัพท์ แล้วมาเปิดพจนานุกรม)
แล้วก็ยังไม่ถกถึงว่าทำไม Tripiṭaka จึงอ่านเป็น ไตรปิฎก มีอะไรบ่งบอกถึงรากเหตุใดเสียงถึงเพียน แล้วหลักการตามหลักราชบัณฑิตยสถานเป็นเช่นไร (ไม่ถึงขั้นพิมพ์อักษรเทวนาครี त्रिपिटक) แบบญี่ปุ่นนำอักษรฮั่น หรืออักษรจีน มาแล้วแยกการอ่านเป็น on'yomi(เสียง อง) ด้วยข้อจำกัดในการออกเสียง
ขออภัยที่ยาวเพราะย่อหน้าลำบาก
ลองดู หลักการทับศัพท์ภาษาอังกฤษ อธิบายคำว่า "อินเทอร์เน็ต" และ "คอมพิวเตอร์" ส่วน "อิเล็กทรอนิกส์" ดูหน้า 10 ประกอบด้วยครับ
ขอบคุณครับ
"หมายเหตุ sc sk sp และ st ที่ถอดเป็น สก, สก, สป, และ สต ตามลำดับ ถ้า s อยู่กลางศัพท์ และเป็นตัวสะกดของพยางค์หน้า ให้ถอด c k p และ t นั้น เป็น ค ค พ และ ท" ?
"หมายเหตุ t เมื่อเป็นพยัญชนะต้น ใช้ ท โดยตลอด ยกเว้นกลุ่มพยัญชนะบางกลุ่มที่ไทยเรานิยมใช้เสียง ต ให้ใช้ ต ดังนี้ anti-, auto-, inter-, multi-, photo-; ta, -ter, -ti, -tic, -ting, -tis, -to, -ton, - tor, -tre, - tum, -tus และ -ty" ?
"หมายเหตุ คำที่พยางค์สุดท้ายเป็น ca, co และ cer (ที่ออกเสียงเกอร์) ซึ่งไทยเรานิยมใช้เสียง ก ให้ใช้ ก" ?
จากที่อ่านแบบคร่าวๆ ก็พยายามจะถอดเสียงให้ใกล้เคียงโดยบัญญัติเป็นตาราง แต่มีหมายเหตุค่อน บางอันก็ใช้ความนิยมเป็นที่ตั้ง ไม่ไปแปลเลย ไม่แปลกใจละทำไม "Commercial" ถึงได้เคยอ่านเป็น "กัมมาจล" แต่อยากทราบสาเหตุ มากกว่า "Commercial" ถึงอ่านเป็น "คอมเมอร์เชียล" ได้ในปัจจุบัน และบางกรณี ถอดความหมายโดยประมาณเป็น "การค้า" หรือ"พาณิชย์" อันนี้ก็พอเข้าใจ แปลเป็นไทยกับเกือบไทยที่มักใช้เป็นภาษาทางราชการ หรือหน่วยงานต่างๆที่ใช้กันมายาวนาน ที่ไม่ต่างกับการใช้คำว่า
"คณิต" หรือ "เลข" และ
"ศาสตร์" หรือ"วิชา" แต่ความชัดเจนน้อยกว่าเนื่องจาก Science (from Latin: scientia meaning "knowledge") เป็นที่ยอมรับ ซึ่งทำให้น่าคิดไปถึงว่าการเชื่อม ราก(ละติน หรือลาติน) กับ ราก(สันสกฤต) ด้วย
คิดไปคิดมาสงสัยคงจะตั้งใจให้เกินมาตรฐานเดียวกับคำว่า "e-Commercial" เป็น "การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" (แต่ทั่วไปที่ไม่ใช่หน่วยงานก็ใช้ "อี-คอมเมิร์ซ") แต่ไม่แปลเป็น "การค้าขายบนอินเทอร์เน็ต" ก็ดี "การค้าขายบน(เครือ)ข่ายสากล" ความให้สามารถทำความเข้าใจตามความเป็นของการกระทำของคำนั้นๆ ด้วยคำอธิบาย แต่ใช้หลักทางภาษาอย่างเดียว (ไทยแบบสันสกฤตคำอังกฤษคำ)
ป.ล. "ละติน" กับ "ลาติน" ค้นหาในพจนานุกรม http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp ไม่พบ จริงๆแล้วควรจะมี มีขั้นตอนอะไรบ้างที่จะให้ปรับปรุง เป็นชื่อรากแท้ๆแต่ไม่มีความหมาย หรือคำอธิบายในพจนานุกรม
แล้วคำว่า "การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" หรือ "พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" ทำไมไม่ใส่ใน http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp ทั้งๆที่ใช้เป็นทางการแล้ว
ต้อง "อินเตอร์เน็ต" ไม่ใช่เหรอครับ ตามในหมายเหตุ และในตัวอย่างคำ อินเตอร์คอม (intercom)
Happiness only real when shared.
สั้นๆ"งี่เง่า"
Thailand Only อ๊าคคคคค!!! !
ท่านดร. คงเหมาะกับของแบบนี้ครับ
ใช้อ้างอิงก็พอไหว ส่วนภาษาที่ใช้สื่อสารทางการพูดให้ใช้แบบนี้คงจะไม่ไหว
+1 ผมไม่มีปัญหานะ ถ้าใช้เขียน/ พูดทั่ว ๆ ไปผมก็ใช้ตามที่ถนัด แต่ตอนเขียนงานนิพนธ์ก็อ้างอิงการเขียนจากราชบัณฑิตนี่แหละจะได้เข้าใจได้ตรงกันไม่ผิดเพี้ยน เอกสารวิชาการไทยจะให้คล้าย text เลยมันก็ยังไง
คนเขาก็ใช้คำว่า "คอมพิวเตอร์พกพา" อยู่แล้วไม่ใช่หรือไงรู้เรื่องกว่าวางตักตั้งเยอะ
คำนี้มันกว้างเกินไปมั้งครับ มันครอบคลุมหมดตั้งแต่โน๊ตบุ๊ค แท๊บเบล๊ต เอาจริง ๆ มันยาวไปถึงทอล์กกิ้งดิกท์ได้เลยนะ 555
จริงด้วย O_o!
Tablet ก็วางตักได้นะคะเอ๊ะ! หรือจะออกมาใหม่ ให้เรียก Tablet ว่าแผ่นกระดานวางตัก 5555
ภาษาอังกฤษยังไม่มีใครเรียก electronic mail เลย งั้นเรียก email ว่า "อไปรษณีย์" ได้มะ หรือให้น่าเกลียดกว่านั้นคือ "ไปรษณีย์อิ"
คล้ายๆ วรนุช หรือเปล่าหนิเหตุการณ์แบบนี้
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ขอแค่ google traslate อย่าเอาไปอ้างอิงในการแปลแล้วกัน
ไม่มีใครว่าหรอกครับGG Translate กับภาษาไทย มันกลายเป็นตัวตลกไปแล้ว ถ้าแปลดีมันก็ไม่มันอะดิ
ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นวางตักกันนะครับ เพราะไข่จะสุกที่เห็น มักจะเอาวางบนแท่นพัดลม ให้ตั้งชื่อใหม่ คอมพิวเตอร์วางแท่น แทนครับ #เกรียน
=___-
เอาไงก็เอาเหอะ !! แต่อย่ามาบังให้ใช้ในชีวิตประจำวันก็พอ
ไม่บังคับครับ เหมือนกฏหมายให้เด็ก 7ขวบมีบัตรประชาชนนั่นแหละมีกฏหมายแต่ไม่บังคับ
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับนะครับ
กฎหมายมักมีสภาพบังคับ แต่หลายอย่างให้ฮู้(รู้)ซาบ(ทราบ) แต่ไม่ให้ความเข้าใจ มักบอกว่า"ต้องรู้"อย่างเดียวโดยเฉพาะข้าราชการ(ทั้งทางการเมือง และประจำบางส่วน)ที่ไม่ใช้้ความคิด(หัว)ตอบแต่ใช้ความจำตอบ จากที่ยกมือตามกับไปกับทำไปอย่างเดียว บนลงล่าง(ล่างไม่ขึ้นบน)
แต่เดี๋ยวถ้าติดไว้ในพจนานุกรม ข้าราชการก็มักโดนสั่งให้เขียนให้ถูกต้องตามพจนานุกรม
พอข้าราชการต้องทำแบบนั้น เวลาเอกชนต้องการติดต่อ ก็ต้องใช้ภาษาข้าราชการตามไปด้วย
ทั้งที่ตัวคำมันไม่ควรมีไว้แต่แรก บัญญัติเองเออเอง ไม่ได้เกิดจากการมีใครใช้มาก่อน และไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง เป็นการควบคุมการใช้ภาษาที่ลับลวงพรางอย่างน่าเกลียด
ปรับเงินเดือนขั้นตำ่ 15000 ปุ๊ป ฉลาดปั๊ป
ด้วยความเคารพครับ ผมคิดว่าภาษามีวิวัฒนาการ ไม่อย่างนั่นทำไมเราถึงไม่เขียนอักษรแบบ หลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อยากให้ทางราชบัณฑิต ลองฟังความเห็นของคนในวงการอื่นๆที่เค้าใช้งานกันจริงๆบ้างครับ
ถึงคุณ arjin ครับ อาจจะช้าไปหน่อยเพราะเพิ่งเห็น แต่รบกวนช่วยแก้คำแรกของข่าวเป็น ศาสตราจารย์กิ ตติคุณ หน่อยครับ (ถึงแม้ว่าต้นฉบับจะสะกดผิดด้วยก็ตาม - -")