จากงานแถลง Let's talk iPhone บริษัทแอปเปิลเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่หลายต่อหลายตัว ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Siri บางคนอาจสงสัยว่า คืออะไร? ทำอะไรได้? มาจากไหน? หรือแม้แต่ชื่อนี้มาจากภาษาไทยรีเปล่า? วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกันครับ
แนะนำให้รู้จัก
Siri แจ้งเกิดอย่างเต็มตัวภายหลังงาน Let's talk iPhone โดยถูกนำเสนออย่างคร่าวๆ ภายในงาน แต่เพียงแค่นั้นก็ทำให้เข้าใจได้ว่า มันคือแอพพลิเคชันที่จะมาเป็น “ผู้ช่วย” ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้นหา หรือใช้ความสามารถอื่นๆ ที่มีอยู่ภายในเครื่อง เช่น ใช้งานปฏิทิน หรือส่งข้อความ
ความโดดเด่นอยู่ที่การใช้งาน กล่าวคือ แอพพลิเคชันทำงานผ่านการ “คุย” ระหว่างผู้ใช้และอุปกรณ์ (iPhone) ซึ่งความพิเศษไม่ใช่แค่การสั่งการด้วยเสียง แต่เป็นความฉลาดของระบบ ที่สามารถรู้และโต้ตอบในสิ่งที่เราต้องการได้ ตามคำโปรยของแอปเปิลที่ว่า
Ask Siri to do things just by talking the way you talk. Siri understands what you say, knows what you mean, and even talks back. Siri is so easy to use and does so much, you’ll keep finding more and more ways to use it.
ประวัติและที่มา
เดิมที Siri มาจากงานวิจัยในชื่อ CALO project (Cognitive Assistant that Learns and Organizes) โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง SRI International (หน่วยงานวิจัยโดยไม่หวังผลกำไร เกิดจากความร่วมมือจากหลายๆ มหาวิทยาลัย อาทิเช่น stanford) และ DARPA ซึ่งมีงบประมาณวิจัย 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เริ่มโครงการในปี 2003
โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อประยุกต์ระบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) และเทคโนโลยีการรู้จำมาใช้ในงานด้านการจัดการในหน่วยงานทางทหารสหรัฐฯ เช่น จัดวาระและนัดหมายการประชุม, เรียงลำดับความสำคัญอีเมล์, จัดลำดับความสำคัญของสารสนเทศ รวมถึงงานด้านการตัดสินใจ และการประสานงานภายในหน่วยงาน ( อ่านเพิ่มเติมใน Wikipedia )
ต่อมาในปี 2007 จึงมีการจัดตั้งบริษัท Siri ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Morgenthaler Ventures, Menlo Ventures, SRI International และ Li Ka-shing เป็นเงินทั้งสิ้น 24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งใช้ทีมเดิมที่ทำ CALO project มาเป็นผู้บริหารของบริษัท มีผลิตภัณฑ์หลักคือ Siri นั่นเอง
และตอนนี้ผมขอเฉลยว่า คำว่า Siri นั้นมาจากภาษาสแกนดิเนเวียน ซึ่งแปลว่า "ชัยชนะอันงดงาม"
คลิปทำความรู้จัก CALO project ตาม ลิงค์ ครับ
ฟีเจอร์ดั้งเดิม
Siri นั้นถูกวางตัวมาเพื่อเป็นแอปพลิเคชันที่ทำหน้าที่เป็น "ผู้ช่วยส่วนตัว" กล่าวคือเป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมบริการของผู้ให้บริการรายอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วเข้าด้วยกัน เช่น จองตั๋วผ่าน StubHub, จองโต๊ะร้านอาหารผ่าน OpenTable โดยทั้งหมดจะถูกสั่งการด้วยเสียง ในส่วนการวิเคราะห์เสียงจะใช้บริการของ Nuance และจากอดีตถึงปัจจุบัน Siri มีเฉพาะบนแพลตฟอร์ม iOS เท่านั้น
ทำให้วิเคราะห์ได้ว่า Siri เองมีหน้าที่เชื่อมต่อบริการต่างๆ และประมวลผลผ่าน engine ของตัวเองเท่านั้น โดยบริษัทในความร่วมมือได้แก่ WeatherBug, Citisearch, OpenTable, Taxi Magic, Rotten Tomatoes, Yahoo Local, Yelp และ Nuance (ชื่อนี้ขอให้จำดีๆ)
และเพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการ ขอสรุปฟีเจอร์ดั้งเดิมไว้ดังนี้ครับ
- จองตั๋วภาพยนตร์, กีฬา, คอนเสิร์ต
- จองโต๊ะอาหาร
- ถามพยากรณ์อากาศ (แน่นอนว่าตอบเป็นเสียง)
- สร้างบันทึกเตือนความจำ
- ค้นหาสถานที่ พร้อมแนะนำเส้นทางและการเดินทาง
- ถามเรื่องทั่วๆ ไป เช่น อยากรู้ชื่อตึกที่สูงที่สุดในโลก, รอบภาพยนตร์ หรือรอบการแสดงในแถบที่อยู่ของเรา
- เรียกแท็กซี
- อื่นๆ
ที่ต้องรวมอื่นๆ มาด้วยเพราะแอพพลิเคชันมีความสามารถหลากหลายมาก เหตุผลคือ Siri เป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ที่บูรณาการตัวเองเข้ากับบริการอื่นๆ รวมทั้งบริการค้นหาด้วย ทำให้มีความยืดหยุ่นต่อการใช้งานสูง
คลิปแสดงความสามารถเดิมของ Siri
สู่อ้อมกอดแอปเปิล
แอปเปิลเองได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสั่งการด้วยเสียงมาเป็นเวลาอย่างน้อยสองถึงสามปี จะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หลายตัวภายหลังงาน WWDC 2011 ที่ได้มีการแถลงข่าวของ OSX Lion และ iOS 5 ไปหมาดๆ โดยมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าทั้งสองแพลตฟอร์มมีการรองรับการสั่งการด้วยเสียงเข้ามา โดยเป็นความร่วมมือระหว่างแอปเปิลและ Nuance (จำได้รึเปล่าเอ่ย) อ้างอิง 1 , 2 และอันที่จริงฟีเจอร์รับคำสั่งจากเสียงมีให้เห็นตั้งแต่ iOS 4 แล้ว
แอพพลิเคชันแห่งอนาคตอย่าง Siri ย่อมไม่รอดสายตาของบริษัทไอทียักษ์ใหญ่เช่นแอปเปิลไปได้ ทางเลือกของแอปเปิลจึงมีเพียงสองทางคือ จะสร้างขึ้นเองหรือซื้อกิจการเข้ามา จากการคาดการณ์ของหลายแหล่งข่าวก็ได้คาดว่า Siri จะต้องโดนซื้ออย่างแน่นอน
ในที่สุด ช่วงเดือนเมษายน ปี 2010 แอปเปิลตัดสินใจเข้าซื้อ Siri อย่างเงียบๆ โดยไม่ได้ประกาศราคาเข้าซื้อ แต่มีรายงานออกมาว่าเป็นเงินประมาณ 150 ถึง 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งในช่วงนั้นยังไม่ค่อยเป็นที่เข้าใจว่าแอปเปิลตัดสินใจซื้อด้วยเหตุใด เพราะโดยวิสัยของแอปเปิลเองก็ไม่ค่อยเข้าซื้อกิจการของบริษัทใดอยู่แล้ว (ไม่เหมือนอีกราย :D) แต่ถ้าสังเกตจากแนวโน้มของแอปเปิลเองก็ไม่น่าแปลกใจที่ตัดสินใจเช่นนี้ เพราะด้วยราคาเท่านี้ กับผลิตภัณฑ์ที่ต้นทุนสูงแบบนี้ มองมุมไหนก็คุ้มค่า
คลิปแสดงเบื้องลึกเบื้องหลังการลงทุนครั้งนี้
Part 1
Part 2
ฟีเจอร์คาดการณ์
ในวันนี้ความสามารถของ Siri ยังคลุมเครืออยู่มาก เพราะแอปเปิลเองก็ไม่ได้พูดถึงมากนัก อีกทั้งยังอยู่ในสถานะทดสอบ (Beta) ซึ่งหมายความว่าจะมีความสามารถอื่นๆ เพิ่มเติมในภายหลัง
ตรงนี้ผมจะขอสรุปฟีเจอร์เท่าที่ทราบครับ (ทั้งหมดสั่งการด้วยเสียง)
- รองรับ 3 ภาษา คือ อังกฤษ, เยอรมัน, ฝรั่งเศส
- พิมพ์ข้อความ
- สร้างบันทึกข้อความ
- เขียนอีเมล์
- ค้นหาเส้นทาง
- ถามเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป (รองรับ Yelp และ WolframAlpha)
- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งที่ใกล้เคียง
- สอบถามสภาพอากาศ
- จัดวาระการประชุม
- ถามหมายเลขโทรศัพท์ของรายชื่อในเครื่อง
- ตั้งเวลาปลุก
- ติดตามสถานการณ์หุ้น
- ตั้งเวลาแจ้งเตือน
ซึ่งความสามารถหลักๆ ก็คล้ายๆ กับช่วงก่อนถูกซื้อเข้ามา อย่างไรก็ตามเมื่อเข้ามาอยู่ใต้เงาแอปเปิล สิ่งที่เปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัดคือ "ดีไซน์" ที่เหล่าสาวกคงเรียกได้ว่า "เป็นแอปเปิล" มากขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับจริงๆ ว่าโดยรวมนั้นช่วยเพิ่มประสบการณ์ผู้ใช้ได้จริง ไม่ว่าจะเป็นความง่ายในการใช้งาน อนิเมชันที่สวยงาม หรือแม้แต่เสียงเย็นๆ ของแม่สาวที่คอยโต้ตอบกับเรา ราวกับอยู่บนยานอวกาศ
คลิปแถลงเกี่ยวกับ Siri จากงาน Let's talk iPhone
วันนี้และอนาคต
สำหรับผม การเปิดตัวเล็กๆ ของ Siri กลับเป็นอีกเรื่องใหญ่ของวงการไอที เพราะนี่หมายถึงการเปิดแนวรบที่ “มองไม่เห็น” ให้ทุกคนได้มองเห็น กล่าวคือ แอปเปิลได้รุกคืบเข้ามาในตลาดของการค้นหามากขึ้น ซึ่งผู้ครองส่วนแบ่งใหญ่ก็คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจากกูเกิล ที่มีบริการทำนองนี้มาก่อน เช่น voice search
แม้ขณะนี้แอปเปิลยังไม่ได้ลงเล่นในตลาดการค้นหาเต็มตัว แต่การเปิดตัวครั้งนี้ และผลิตภัณฑ์ที่ผ่านๆ มา ก็แสดงนัยยะบางอย่างไม่น้อยทีเดียว คำถามต่อไปคือกูเกิลจะมีแผนรับมืออย่างไร? แพลตฟอร์ม Windows Phone จากก๊กไมโครซอฟท์จะตอบรับต่อเทคโนโลยีนี้หรือไม่? การสั่งการด้วยเสียงจะเป็นอนาคตจริงหรือ? ซึ่งแน่นอนว่าสามก๊กไอทีจะต้องเข้มข้นมากขึ้น
แหล่งอ้างอิง
USAtoday
, PCmag
, CNN
, SEOchat
,
Gigaom
,
Techcrunch 1
/ 2
,
informationweek
programmableweb
,
newyorktimes
WSJ
,
businessinsider
,
scobleizer
,
ecommercetimes
,
apple 1
/ 2
/ 3
,
thenextweb
,
geek
,
fiercemobilecontent
,
imaicafe
,
Wikipedia 1
/ 2
,
9to5mac
,
SRI 1
/ 2
/ 3
,
crunchbase
,
engadget
,
Stanford University
,
Dailytech
,
xconomy
,
macrumors
Comments
แก้ไขนิดนึงนะครับ
@TonsTweetings
ตามนั้นครับ...Thumbnail ของ Siri นี่ใส่มาตั้งแต่แรกแล้วครับ (มีให้เลือกเลย) แต่ไม่ทราบทำไมเมื่อกี้ไม่ขึ้นนะสำหรับที่เหลือเรียบร้อยครับ
ขอบคุณสำหรับบทความครับ :D
@TonsTweetings
เรื่อง ภาษาสแกนดิเนเวีย vs สแกนดิเนเวียน ผมว่าใช้แบบแรกก็ไม่ผิดนะครับ เพราะตามหลักภาษาไทยไม่มีการผันคุณศัพท์ในลักษณะนี้
ผมก็คิดแบบนี้ครับ แต่พอลองคิดกลับ ๆ ดูบางภาษามันได้บางภาษามันใช้ไม่ได้อ่ะครับ เช่น ภาษาเยอรมนี (เยอรมัน) ภาษาเนเธอร์แลนด์ (ดัช) ภาษาไอร์แลนด์ (ไอริช) มุมมองของผมคือแยกคำที่ใช้พูดถึงตัว "ภาษา" ออกจาก "ประเทศ/อาณาเขต" ไปเลย (มองกันเป็นคนละคำกัน) ไม่ได้มองจากมุมมองการผันภาษาครับ
แต่อื่น ๆ มันก็ใช้ได้จริงครับ เช่น ภาษาอิตาลี อันนี้คือผมคิดว่าไหน ๆ แก้แล้วก็เอาไปเลยดีกว่า
@TonsTweetings
มุมของผมคือ ในภาษาไทย โดย default แล้ว มันใช้คำเดียวกันนะครับ (อย่างคำที่เป็นภาษาไทยแล้วอย่าง ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ก็ไม่ได้เรียกแบบอื่น) ซึ่งผมก็ไม่รู้สึกว่า มีเหตุผลอะไรที่จะต้องอิงตามภาษาอังกฤษ (คือถามว่า เรียกภาษาสวีเดนว่าสวีดิชมันถูกมั้ย มันก็ถูก แต่ก็ถูกในภาษาอังกฤษ ไม่ได้ถูกตามภาษาสวีเดน ภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ ที่ก็จะมีคำของตัวเองเหมือนกัน)
ถ้าอิงตามราชบัณฑิตฯ ก็คือ มีเกณฑ์ว่าใช้คำแบบเดียวกับประเทศ ยกเว้นคำที่ใช้กันมานานแล้วอย่างอเมริกัน กรีก (ไม่แน่ใจว่าเหมือนกันว่าเขามีเกณฑ์ชัดๆ หรือเปล่าว่าอันไหนได้ไม่ได้)
ตัวอย่างที่ยกมาจริงๆ จะเรียกภาษาเยอรมนีก็ได้นี่ครับ เพียงแต่เสียงมันจะยาว คนไทยเลยชอบทอนเสียงให้สั้นลงมากกว่า และจริงๆ ตามหลักภาษาไทยคือไม่มีการผันใดๆ ก็ควรเรียกตามชื่อประเทศกำเนิด
กรณีนี้ก็เหมือนคำพหูพจน์ เช่น ฟุต-ฟีต ก็ควรใช้คำว่าฟุตเสมอ หรือหน่วยเงินลีร์-ลีรา ก็ใช้หน่วยเอกพจน์เสมอ เพราะภาษาไทยไม่แบ่งหน่วยเอกพจน์ และพหูพจน์
จากบทความนี้ แสดงให้เห็นว่า Apple ได้สร้างสนามรบใหม่มาอีกแห่งหนึ่งแล้ว และ(คาดว่าจะ)ได้นำชัยมาสู่ Apple แล้ว
ต้องรอดูอีกสองก๊กจะตอบโต้อย่างไรต่อไป
To be continued
แอปเปิลเองก็ไม่ค่อยเข้าซื้อกิจการของบริษัทใดอยู่แล้ว (ไม่เหมือนอีกราย :D)
แอปเปิลมีบริษัทลูกยิบย่อยเพื่อซื้อบริษัท/สิทธิบัตรอื่นโดยเฉพาะนะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
มือปืนรับจ้าง ?
เหมือนหนังไทยเลยแฮะ
ถึงซื้อก็ไม่ให้เป็นข่าว อิอิ
รู้สึกเหมือนคล้ายๆที่หลายๆค่ายมือถือดูถูกระบบทัชสกีนว่าไม่เวิกร์แน่นอนแต่ปัจจุบัน apple ก็ทำให้มันเป้นที่แพร่หลายได้
ส่วนการสั่งงานด้วยเสียง ผมเชื่อว่า apple ทำได้แน่นอน
iFail จริงๆ
คนไทยมีสักกี่คนกันที่กล้าที่จะ ออกเสียงสำเนียง eng ถูกต้องเพื่อจะ search อะไรซักอย่าง
แล้ว ที่หลักๆเลยคือ ไม่เคยมีระบบ voice recognition ของไทยที่มันใช้ได้จริง (ถ้าapple จะช่วยก็คงเป้นพระคุณ แต่คง ไม่มีทาง เรามันแค่ประเทศโลกที่ 3)
ขนาด MS bing มาก่อน apple ยังไล่ไม่ทัน google แล้ว siri ก็คง เป็นแค่ siri มงคลเล็กๆของเครื่องต่อไป
เพราะตัวเองไม่กล้าเลยบอกว่าคนอื่น fail ?
โลกไม่ได้มีแค่ประเทศไทยนะครับ ยังมีอีกหลายประเทศที่การออกเสียงคำสั่งภาษาอังกฤษเป็นเรื่องธรรมดามาก ๆ ครับ
That is the way things are.
ยังไงๆก็มีคนใช้ไม่ถึง 5% หรอกครับ คงมีแต่คนลองเทสเล่นๆ อย่าเอาตัวเองเป็นที่ตั้งสิครับ ที่นี่เมืองไทย ไม่ได้เป้นเมืองขึ้นนะครับ มีตัวหนังสือมีภาษาไทยเป็นภาษาหลัก ไม่ใช่ มาเล ฟิลิปปินส์ นะครับที่ใช้ตัวอักษรละติน
555+ และผมไม่ขอดริฟด้วยนะครับ ขอหยุดไว้ตรงนี้ (อ่อขอถอนคำว่า ifail เพราะมันคงแรงไป ต้องเรียกว่า ไอเฟล เพราะมันคงไม่ work ไทยในระยะเวลา 4-5 ปีนี้แน่นอน)
เออ เอาตัวเองเป็นที่ตั้งมากไปหรือเปล่าครับ? ผมขับรถผมยังใช้สั่งด้วยเสียงเลยทุกวันนี้ ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนในไทยก็ใช้ได้นะครับ
@TonsTweetings
ประเทศเราไม่ได้เป็นลูกค้าหลักเขาครับถ้าเรามีงานวิจัยแบบนี้ ถ้า apple สนใจเขาก็เอาไปเองล่ะครับ
I need healing.
เฟลเพราะคนไทยไม่ได้ใช้ประโยชน์? อืม คนไทยก็อดใช้ต่อไปละกันเนอะ ง่ายดี - -'
เค้าไม่สนประเทศโลกที่3อย่างเรา จริงเหรอครับ?
Voice Speech อันนี้ไม่เถียงเลย แต่ Voice Recog. นี่ไม่เคยเห็นใช้ได้จริงเลย เอา แบบว่า สั่งงานภาษาไทย นะครับ
--
ก็ไม่ได้อยากจำพิมพ์น่ะครับ แต่อีกไม่กี่ปีก็จะรวม ASIAN แล้ว ถ้ายังไม่กล้าที่จะออกเสียงมัวแต่กลัวสำเสียงตัวเองในอนาคตก็คงจะไม่มีอะไรกินหรอกครับ อีกอย่างสำเนียงแปลกยังไงฝรั่งเค้าก็ไม่สนใจเลยครับ เป็นเรื่องปกติผมเรียนหมอผมยังกลัวตกงานเลยครับ
Text to Speech "ภาษาไทย" ใน OS X มีแล้วนะครับ แถมอ่านได้ฉลาดพอตัวทีเดียว แม้ว่าจะมี error อยู่บ้าง
แสดงว่าน่าจะเริ่มทำอะไรบางอย่างเดี่ยวกับภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาหลักเหมือนกัน
เป๊ะเลยไง เคยอ่านบทความนึงไว้ว่า คนคนนึงส่วนมากจะคิดว่าทุกทุกคนเป็นเหมือนตัวเอง พูดง่ายๆ คิดไปเอง ..
+1 คนๆนึงไม่สามารถคิดแทนคนอื่นได้ การคิดเองเออเองแล้วทึกทักเข้าใจไปเองนั้นไม่ใช่สิ่งดี
ก็เค้าไม่ได้ทำมาขายประเทศไทยประเทศเดียวนี่ครับ
ไม่เข้าใจที่ต้องการจะสื่อ จะบอกว่าระบบนี้มันเฟล เพราะไม่รองรับภาษาไทย ?
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
จริงๆแล้วสมัยนี้การสื่อสารนั้นก้าวไกลไปมากครับ
การจะออกเสียงให้เหมือนเจ้าของภาษานั้นไม่ใช้เรื่องยากเหมือนสมัยก่อนแล้ว
(จะสังเกตได้ว่านักแสดงฮอลลีวูดรุ่นใหม่สามารถพูดได้หลายสำเนียง ต่างจากนักแสดงรุ่นเก่า)
ปัญหาที่สำคัญก็คือ คนบ้านเราจะฝึกออกเสียงให้ชัดหรือเปล่า
อาจจะต้องใช้เวลาฝึกกันหน่อย ค่อยๆขัดเกลากันไป แต่ไม่ไกลจากจุดหมายอย่างที่คิดหรอกครับ
อย่าดูถูกคนไทยด้วยกันซิ คนไทยพูดภาษาอังกฤษได้ดีมีเยอะเเยะไปค่ะ
ข้อมูลแน่นมาก วิเคราะห์เยี่ยมครับ เป็นบทความที่ดีมากจริงๆป.ล.เพิ่งรู้ว่าไม่ได้มาจาก ศิริ
Voice Control น่าจะมีใน iOS 3.0 นะครับ ส่วน OS X มีมาก่อนหน้านั้นแล้ว
ใช้ใน androin ก็โอเคนะครับ จะโทรหาใคร ก็กด call .............. แล้วก็ต่อให้เลย ตอนใช้ iphone มันค่อนข้างเพี้ยนแฮะ สำเนียงผมไม่ค่อยดีล่ะมั้ง ใช้ใน nexus s นี่ไม่ค่อยพลาด
ทีแรกเก็งไว้ว่าจะมาจากอินเดียซะอีก (เพราะโปรแกรมเมอร์เยอะ) มาจากแสกนดิเนเวียซะงั้น เข็มขัดสั้นเลยทีเดียว
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ฉากที่คนเราพูดคุยกับเลขาส่วนตัวที่เป็นคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ที่เคยเห็นแต่ในภาพยนตร์เริ่มกลายเป็นความจริงแล้วสินะ
สุดยอดจริง ๆ ค่ะ ^^
จริง ๆ ผมคิดถึง Bob (ของ Microsoft) แฮะ
ใช่ครับ Bob รูปหมาใช่ปะ อยู่ในบ้านด้วย แต่มันคงเกินความจำเป็นของสมัยนั้นเพราะคอมพิวเตอร์ มันมีแต่แบบตั้งโต๊ะ ตอนนี้ Mobile ก็ไวพอที่จะประมวลผลเสียงแล้ว
สมัยนั้นผมว่าดังนะครับ แค่ชื่อก็มีคนบ่นแล้ว (ว่าแต่บอกอายุมากเลยนะเนี่ย)
นึกถึงสมัย Moto นานมากๆ ตอนนั้นผมก็ใช้บ่อยนะครับกดโทรออกค้างไว้และพูดชื่อคนที่อยากโทรหา สะดวกดี
แต่สมัยนี้มันไฮโซโอเวอร์มาก ชอบอะ เหมือนในหนังไซไฟ
ถ้าเป็นแบบนี้ เคยใช้เหมือนกันครับตอนนั้นใช้ Ericsson T28s
นี่ล่ะจะเป็นนวัตกรรมแห่งอนาคตอยากให้มี Open Source ดีๆ สำหรับเรื่องนี้จริงๆ (ไม่มีปัญญาพัฒนาเอง :P)
นึกถึงเวลาขับรถตอนตีสองถ้ามีคนโต้ตอบกับเราแทนแฟนที่หลับไปแล้วก็คงสนุกดีระบบปัญญาประดิษฐ์กำลังจะมาซินะ ลุงJobไม่มีวันตายจริงๆ
ลุงจ้อบกลายเป็นเวด้า ที่ออกมาหลอกหลอนเราในรูปแบบ ศิริ สินะ
ชาบู
เรียบเรียงได้ดีมากเลยครับ
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ นะครับ ^^
จำได้ว่า บิล เกตส์ เคยให้ สัมภาษณ์เรื่องวิสัยทัศน์ต่อเทคโนโลยีในอนาคตว่า เป็นเทคโนโลยีด้านการรู้จำเสียงพูดนะครับ
ใช่เลยครับ ดูแล้วทุกอย่างกำลังเป็นไปตามทิศทางที้ บิล เกตส์ แสดงวิสัยทัศน์ไว้เลยแต่ตอนนั้นเหมือนคนจะไม่เชื่อกันเยอะนะครับ
เป็นบทความที่เจ๋งมากๆ ครับ ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ
By @iPoohs
Visit My blog
"Stay hungry.Stay foolish" -Steve Jobs
ตกลงจะใช้ภาษาไทยเป็นอะไรดีละครับ สิริ หรือ ศิริ
iPad 2 ที่ลง iOS 5 จะใช้ Siri ได้มั้ยครับ
http://youtu.be/NMtEHDrMdH4
เป็นบทความที่เจ๋งมาก เห็นแหล่งอ้างอิงแล้วต้องร้องเบาๆ ว่า "อู้ววววว!"
น่าสนใจมากครับ ขอบคุณสำหรับบทความ
เห็นอ้างอิงแล้วถึงกับตะลึง เยอะจนผมนึกว่าอ่านเปเปอร์อยู่ O__o"
twitter.com/exfictz
ประมวลด้านเสียง ทำจากในเครื่องเราเลยหรอครับ
ศิริเอ้ย ถามได้ตอบได้ เดี๋ยว HTC จะทำ Abdul มาแข่งครับ อิอิ
Apple - Introducing Siri on iPhone 4S -> http://youtu.be/rNsrl86inpo
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
Microsoft คงแก้เกี้ยวโดยการใส่ Kinect ในมือถือ เพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวพร้อมสั่งงานด้วยเสียง 55
ทำไม Microsoft ต้องแก้เกี้ยวครับ WP7 สั่งงานด้วยเสียงได้ตั้งแต่รุ่นแรกแล้วครับ - -"
ถ้าประเทศญี่ปุ่นญี่ปุ่นสามารถพัฒนาระบบนี้จนใช้งานได้ แทนที่จะเห็นใช้กับมือถืออาจจะเป็น....
เกมจีบสาวที่เราสามารถคุยโต้ตอบกับสาวในเกมได้เลย,
เกมเลี้ยงสัตว์ที่เราสามารถพูดคุยกับสัตว์เลี้ยงได้,Miku สามารถพูดคุยโต้ตอบกับคนได้ สามารถ request เพลงให้ Miku ร้องได้,
หุ่นยนต์หรือของเล่นที่สามารถรับรู้คำสั่งจากเสียงได้
คงหนักไปทางอุตสาหกรรมบันเทิง
จินตนาการล้ำลึก
เคยใช้โทรออกด้วยเสียงกับเครื่อง Alcatel 525