เว็บเบราเซอร์ Firefox จะรองรับการเล่นไฟล์เสียงแบบ Opus Audio ในเวอร์ชัน 15 (เวอร์ชันปัจจุบันของ Firefox คือ 14 ส่วนถ้าใครที่ใช้รุ่น Beta ล่าสุดจะเป็นเวอร์ชัน 15 แล้ว)
สำหรับไฟล์เสียงแบบ Opus Audio เป็นมาตรฐานเปิดที่ได้รับการยอมรับจาก IETF (สถานะยังเป็นร่างอยู่) สามารถเอาไปใช้ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่า royalty โดยมีทั้ง Mozilla, Microsoft, Broadcom, Xiph.org ให้การสนับสนุน ตัวฟอร์แมตอาจจะยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก แต่ดูจากความสามารถแล้วค่อนข้างน่าสนใจ เช่น
- มีการบีบอัดที่ดีกว่าไฟล์แบบ Mp3, Ogg หรือ AAC
- เหมาะสำหรับใช้ทั้งเสียงเพลงและอัดเสียงพูด
- ใช้ฟังจากเครื่องตัวเองหรือสตรีมผ่านเครือข่ายก็ได้
โปรแกรมอื่นนอกจาก Firefox ที่รองรับ Opus Audio ก็มีเช่น foobar2000, GStream, Icecast
Mozilla จะใช้ Opus Audio ในเทคโนโลยี WebRTC ของตัวเองด้วย
ที่มา : Mozilla Hacks
Comments
Chrome ล่ะ หรือจะเป็น WebA
น่าจะ WebM ครับ เห็นว่าระบบนี้รวมทุกอย่างหมดเลย
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ดีกว่า AAC อีกหรือนี่! เดี่ยวลองริบแผ่นดูเล่นๆสักหน่อย
มี Microsoft สนับสนุน น่าจะพออนาคตอยู่(บ้าง)
I need healing.
คงไม่ลงเอยที่ Google, Apple ไม่เอาอีกนะ - -" เหมือนมาตรฐานนี้จะน่าหนุนเลย ค่ายนี้มีฝั่งวีดีโอด้วยมั้ยครับ
ไม่ไช้ Google apple ไม่เอาครับ Firefox - Opera ไม่เอา mp4 เพราะไม่อยากเสียเงิน ส่วน apple ไม่เอา ogm เพราะมีหุ้นอยู่กับ mpeg la ส่วน Google เอาทั้งหมด เล่นใด้ทั้งหมด และเติม WebM ลงไปเป็นของแถม
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
Google น่าจะเอาอยู่แล้วครับ หลักๆคือต้องการผลักดันเว็บด้วยการใช้เทคโนโลยีเปิด
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
มี format ไหนที่ foobar ฟังไม่ได้มั่ง lol
เอ... ทำผมไม่ค่อยเห็นประโชยน์แฮะ
เพราะที่ 128kbps เนี่ย แยกระกว่าง Vorbis, AAC, MP3 ยังยากมากเลย (เดี่ยวนี้เอ็นโค้ดเดอร์มันเก่ง) ปกติเดี๋ยวนี้แข่งกันที่ 64kbps ซึ่งโดยทั่วไปก็ไม่ได้ใช้ต่ำขนาดนี้หรอก เพราะ streaming ปกติก็ 96-128kbps ทั้งนั้น
ส่วนถ้าจะเอามาทำ low-latency video call ก็เจอ network latency หนักกว่าหลาย magnitude ก็คงไม่ช่วยอะไรเท่าไร + กับโคเดควิดีโอที่มี latency น้อยที่สุดตอนนี้คือ x264...
ถ้าจำไม่ผิด opus บีบที่ต่ำกว่า 64 k อีกนะครับ
มีผลทดสอบที่ 64 kbps เมื่อปีที่แล้ว ระบุว่า opus ประสิทธิภาพเหนือ apple HE-AAC แถม latacy ต่ำด้วยมั้งhttp://listening-tests.hydrogenaudio.org/igorc/results.html
ตามนั้นครับ ลองดู ผลกราฟเบนมาร์ค ที่เขาเทียบไว้ แล้ว AAC(LC),opus @64kbit เท่ากันเลย แต่ต่ำกว่านี้ opus ทำได้ดี เสียดายไม่มี AAC 128kbit เทียบ..
จิงๆแข่งกันที่ระดับ 96kbit ลงมา ซึ่งผมว่ามันไม่เหมาะกับคนที่ต้องการเก็บไฟล์ lossy คุณภาพไว้ฟังเพลงเลย เพราะฟังยังไงมันก็เหมือนดนตรีปรุงแต่งแห้งๆ แคบๆ(ย่านความถี่สูงๆ)ไม่ไพเราะเลย เหมาะกับไฟล์ Online Stream มากกว่า ตอนนี้ lossy@128kbit ขึ้นไปคงยกให้ AAC ดีสุดละสำหรับผม
ประเด็นของผมคือนั่นแหละครับ
สตรีมมิ่งเดี๋ยวนี้ส่วนใหญ่ก็ 96-128k หมดแล้ว ต่ำกว่านั้นโดยมาก็ไม่ได้ใช่เก็บ ผมเลยนึกประโชน์จริงๆ ไม่ออก
มันไม่ได้ออกแบบสำหรับงาน steaming ครับ เน้นงาน low latency โดยที่คุณภาพยังดีอยู่ เช่นงาน โทรศัพท์ video conference VOIP งานส่งเสียงไปยังลำโพง wireless หลายช่องสัญญาน หรือ งานเล่นดนตรีจากคนละที่พร้อมๆ กัน
อันนี้ผมไม่ทราบจริงๆ นะครับ
latency มาจากไหนหรอครับ ถ้าไม่ใช่จาก network อะครับ ขั้นตอน encode หรอครับ
ก็ network ไงครับ
ปัจจุบันเน็ตคนไทยปกติมีขา upload อยู่ที่ 512kbps ถ้าคุณใช้ 64kbps ก็จะมี latency ของข้อมูลเอง 125ms ยังไม่รวม header, latency จากระยะทางอีก
ถ้าคุณใช้ codec สำหรับการสนทนาโดยเพฉาะเช่น G.729(8kbps) ก็จะมี latency ของข้อมูลเพียง 16ms (ไม่รวม header, latency จากระยะทาง) ถามว่า 100ms ต่างกันมากแค่ไหน ผมคิดว่าต่างกันมากนะในการสื่อสารข้อมูลสองทาง
Opus ไม่ได้ทำมาให้เป็น codec สื่อสารสองทางเพียงอย่างเดียว(เหมือน G.729) หรือ codec multimedia เพียงอย่างเดียว(เหมือน AAC,MP3) แต่มันใช้ได้ดีกับทั้งสองแบบครับ คือจะ low bitrate ก็ใช้ดี จะ high bitrate ก็ใช้ดี
ดีไหมที่อนาคตเราจะเลือกใช้เพียง codec เดียวเป็นมาตรฐาน ไม่ว่าจะใช้งานแบบไหน แถมฟรีใครๆก็ใช้ได้อีก ผมว่าดีนะ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
latency จากการรอข้อมูลมา encode ครับ, เนื่องจาก codec พวกนี้จะบีบอัดข้อมูลเป็นแพ็คๆ เรียกว่าเฟรม ในหนึ่งเฟรมก็จะมีข้อมูล (แซมเปิ้ล) หลายๆ ตัว ข้อมูลเสียงปกติ 44kHz หมายถึงในหนึ่งวิมีแซมเปิ้ลสี่หมื่นค่า ซึ่งใน codec ที่ latency สูงๆ จะแบ่งแซมเปิ้ลพวกนี้เป็นชิ้นใหญ่ๆ เช่น เฟรมละสองพันค่า ผลคือ บีบอัดข้อมูลได้ซับซ้อนขึ้น แต่ถ้าเอามาใช้กับข้อมูลสด จะมี latency สูง เสียงจะดีเลย์ เพราะต้องรอข้อมูลแซมเปิ้ลมาให้ครบเฟรมก่อนถึงจะเริ่มบีบอัดได้ ในขณะที่ codec ที่ขนาดเฟรมน้อยๆ ไม่กี่แซมเปิ้ล จะบีบอัดได้ก่อนเพราะเฟรมเต็มก่อน
iPAtS
ขอบคุณทุกท่านครับ ที่ช่วยตอบคำถาม :-D
นอกจาก latency จาก network แล้ว มันมี latency จากการแปลงไปแปลงกลับ (encode decode) codec อื่นๆ เช่น mp3 aac ใช้เวลาเยอะกว่ามากครับส่วนตัวผมคิดว่ามันเยี่ยมกว่า codec อื่นหลายๆด้าน เนื่องจากออกทีหลัง แต่จะไ้รับความนิยมแค่ไหนต้องคอยดูครับ
ได้ความรู้เรื่อง codec latency ก็จากข่าวนี้ มันซับซ้อนกว่าที่คนปกติรู้เยอะเลย :D
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.