บทความใน IEEE Spectrum ที่วิเคราะห์ว่า ไมโครซอฟท์ "ลอก" โค้ดมาจาก CP/M หรือไม่ เป็นบทความที่ได้รับการพูดถึงไปทั่วโลก แต่ปรากฎว่าผู้เขียน คือ Bob Zeidman นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เป็นพยานฝั่งไมโครซอฟท์ในคดีระหว่างไมโครซอฟท์และโมโตโรล่า
ทาง IEEE ได้แก้ หัวบทความ เพื่อขอโทษที่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลนี้ในการตีพิมพ์บทความครั้งแรก อย่างไรก็ดีไม่มีหลักฐานอื่นว่าไมโครซอฟท์มีส่วนชี้น้ำบทความนี้โดยตรงหรือไม่
ทาง The Register ตั้งข้อสังเกตในบทความเพิ่มเติมว่าค่อนข้างหนักไปทางลบกับ CP/M เช่น ตัวบทความพูดถึงข่าวลือว่า Gary Kildall นั้นฆ่าตัวตายทั้งที่ข้อมูลที่เปิดเผยนั้นมีเพียงว่าเขาล้มในบาร์และเสียชีวิตในโรงพยาบาลสามวันต่อมา
ที่มา - The Register
Comments
เอาแล้ว...ส่วนดำมืดค่อยๆเปิดออกมาช้า
ก็ถ้าถึงขนาดมีการเปรียบเทียบโค็ดกันแล้วนี่ก็ช่างมันเถอะ
เจ้าตัว ถึงจะเข้าข้าง หรือเชียร์ไมโครซอฟต์ยังไงแต่ความจริง ก็คือความจริงแหละ
บทความที่พูดเอาฝ่ายเดียวอีกฝ่ายตายไปแล้ว = ความจริง?
ฝากแก้ด้วยครับ คำว่า สังเกต ตะ ไม่ ตุครับ
อีกคำหนึ่งครับคือคำว่า ส่วนชี้น้ำ
แล้วบทความอันนี้หรือเรื่องนี้มันมีผลกับคดีระหว่าง ไมโครซอฟท์กับโมโตมั้ยครับ หรือแค่คนที่เขียนบทความนี้เคยเป็นพยานฝ่ายไมโครซอฟท์ เลยทำให้คนคิดว่าจะเขียนเข้าข้างไมโครซอฟท์เฉย ๆ
ไปอ่านได้ครับ ว่าดีหรือเสีย
ปัญหาคือโดยมารยาทแล้ว การเขียนบทความถึงหน่วยงาน โดยตัวเองมีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น เป็นพนักงานบริษัท จะต้องเปิดเผยข้อมูลเหล่านั้น
ถ้าเราไปดูบอร์ดต่างประเทศ เช่น Slashdot หรือ Reddit เราจะเห็น disclaimer เรื่อยๆ ว่าคนตอบเป็นพนักงาน เป็นลูกจ้าง บางคนถึงกับบอกว่าเคยทำงานในบริษัทที่กำลังพูดถึง
กรณีนี้การไม่เปิดเผยข้อมูลแบบนี้ในวารสารที่เป็นหน่วยงานกลางอย่าง IEEE เป็นการผิดมารยาทในตัวเอง และทาง IEEE ในฐานะบรรณาธิการก็มีส่วนผิดเลยต้องออกมาขอโทษ
lewcpe.com , @wasonliw
พริ้วไปแบบสีข้างถลอก...
อืม ๆ คนในเอาความในมาออก
Coder | Designer | Thinker | Blogger