Bloomberg รายงานว่าแอปเปิลกำลังหาทางที่จะผลิตหน่วยประมวลผลบนแมคด้วยตัวเอง และจะเลิกใช้หน่วยประมวลผลจากอินเทล ลักษณะเดียวกับที่แอปเปิลเลือกที่จะผลิตหน่วยประมวลผลด้วยตัวเองบนอุปกรณ์ iOS โดยวิศวกรที่ทำงานในแอปเปิลเองเชื่อว่าซักวันชิปที่ถูกออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์พกพาจะแรงพอที่จะนำมาใช้งานบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะได้
สำหรับอินเทล นี่อาจจะเป็นข่าวร้าย เพราะทุกวันนี้ยอดขายของตัวเองก็ได้รับผลกระทบจากการที่อุปกรณ์พกพาเริ่มเป็นที่นิยม และกำลังกินส่วนแบ่งของพีซี สำหรับแอปเปิล ถ้าแอปเปิลต้องการที่จะมอบประสบการณ์การใช้งานใน ecosystem ของตัวเองที่เสมอต้นเสมอปลาย มันจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อสินค้าทุกอย่างของตัวเองใช้ชิปสถาปัตยกรรมเดียวกัน รายงานฉบับนี้เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารครั้งล่าสุด ที่มีการก่อตั้งหน่วย "เทคโนโลยี" ใหม่ขึ้นมาที่นำทีมโดย Bob Mansfield (ที่เมื่อก่อนเป็นรองประธานฝ่ายฮาร์ดแวร์แมค) น่าจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนา semiconductor ใหม่นี้ด้วย
แหล่งข่าวของ Bloomberg รายนี้ ยังกล่าวอีกว่า Mansfield เองมีความสนใจที่จะเอา iOS มารวมเข้ากับแมคมาโดยตลอด ส่วน Craig Federighi ที่ตอนนี้กลายเป็นหัวหน้าทีมซอฟต์แวร์ทั้งหมดของแอปเปิลไปแล้วก็น่าจะรับหน้าที่ในการทำให้ประสบการณ์การใช้งานอุปกรณ์สองชนิดนี้ให้ใกล้เคียงกันกว่าเดิม (เช่น Siri ไม่สามารถใช้งานบนแมคได้) และยังจะทำให้แอปเปิลสามารถสร้างสินค้าที่มีขนาดเล็กกว่าเดิม และบางกว่าเดิมได้อีกด้วย
ในเรื่องของการเดินสายการผลิตชิปใหม่ แอปเปิลก็สามารถที่จะใช้วิธีเดิม น่ันก็คือการให้บริษัทอื่นรับช่วงต่อไปผลิต แอปเปิลสามารถที่จะเลือกใช้ TSMC หรือซัมซุงในการผลิตชิปดังกล่าวได้
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้านี้ แอปเปิลน่าจะเลือกอยู่กับอินเทลต่อไป เพราะแอปเปิลได้เรียนรู้มากกว่าใครในเรื่องความเสี่ยงในการเลือกใช้ชิปที่มีอนาคตที่ไม่แน่นอน (สมัยแอปเปิลจำเป็นต้องเปลี่ยนจาก PowerPC มาเป็นอินเทล) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อแมคยังเป็นที่ต้องการสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการนำมันไปใช้เขียนซอฟต์แวร์ ประมวลผลต่าง ๆ หรือผลิตกราฟฟิคคุณภาพสูง
ที่มา - Bloomberg
Comments
Apple จะบรรลุแล้ว
โดยเฉพาะการเปลี่ยนมาใช้ Cortex-A50 หรือ ARM 64 Bit ซึ่งมีความสามารถสูงกว่า i3-5-7 ครับ
Arm ไม่ได้ประสิทธิภาพสูงกว่า x86 นะครับ แต่จัดการเรื่องพลังงานได้ดีกว่า
แสดงว่า ยังไม่รู้จัก RISC กับ CISC ครับ
ผมรู้พอที่จะรู้ว่าอะไรคืออะไรครับ
Architecture แต่ละตัวมีข้อดีข้อเสีย แตกต่างกันไปครับ ขึ้นกับรูปแบบการดีไซน์เพื่อใช้งานและลักษณะการใช้งาน
ARM เป็น CPU นี่เน้นการจัดการพลังงานเพื่อใช้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ ต่างจากx86 ของ Intel ที่เน้นเรื่องการประมวลผลบนเครื่อง Desktop และ Server
ขนาดตัว Atom Medfiled คอร์เดียวของ Intel ยังแพ้ quad-core Tegra 3 ไม่เท่าไหร่เลย อีกนานครับกว่า Arm จะไปเทียบชั้น Core i
http://www.tomshardware.com/news/Intel-Medfield-Phone-Santa-Clara-Benchmarks,14970.html
แล้วในโลกของ Server เอง RISC ก็แพ้ CISC ไปแล้วนะครับ
RISC เหนือชั้นกว่า CISC
เห็นได้จาก Apple A6 & Cortex-A15 สามารถ Optimize ได้ง่ายกว่า ในการออกแบบให้ CPU ทำงานได้เร็วกว่าเดิม 2X
แม้แต่ Intel ก็ต้องการยกเลิก R&D ตระกูล x86 เพราะแทบจะพัฒนา Optimize เพิ่มความเร็ว ให้มันไม่ได้แล้ว อยากไปทำ RISC หรือ Itanium เต็ม ๆ ตัว แต่เพราะ AMD ผลิด x86-64 Bit ทำให้มันยังคงอยู่มาได้ถึงทุกวันนี้ เพราะขณะนั้นโลกยังไม่พร้อมในการเปลี่ยน Software ใหม่ทั้งหมด
ที่เป็นแบบนั้นเพราะก่อนหน้านี้ ARM เน็นการไช้ไฟน้อยและราคาถูกโดยไม่เน็น performance ต่างหาก พอโลกต้องการ performance ความเร็ว ARM เลยกระโดด
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
เดี๋ยวนี้ไม่มี x86 ที่แท้จริงแล้วล่ะครับ
ไอ้ที่ว่า x86 มันจบไปแล้วนี่มีเห็นในบทความในนิตยสารคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่สมัย pentium 2 แล้วมั้ง พอมี MMX SSE ฯลฯ ก็ไม่มีกระแสนี้อีก
ไอ้เรื่อง Itanium ผมว่ามันเป็นการกรจายความเสี่ยงมากกว่า
I need healing.
แต่ปัจจุบันการจะบอกว่า Processor ของ Intel เป็น CISC ก็ไม่ถูกต้องนัก
เพราะ Intel ได้ออกแบบ Processor ของตัวเองให้ทำงานลักษณะที่เรียกว่าเป็น RISC เช่นกัน
โดยคงความเข้ากันได้กับ x86 เอาไว้ เรื่อง Performance
Cortex-A50 ตอนนี้ยังตามพวก Ivy Bridge ไม่ทันหรอกครับ
แต่อนาคตนั้นไม่แน่ เพราะพัฒนากันเร็วเหลือเกิน (อีกนานแค่ไหนนะ)
CPU แบ่งตามประเภทของชุดคำสั่งมันได้ 2 ประเภทครับ CISC และ RISC
CPU ตัวนึงมันมีสองประเภทในตัวเดียวไม่ได้ครับ ไม่งั้นชุดคำสั่งมันก็ซ้ำซ้อนกันสิครับ
ทุกวันนี้มันเป็น x86 Complatible กันหมดแล้วครับ เอา x86 มาแปลเป็นคำสั่งที่ทำงานได้เร็วกว่ามีคำสั่งพิเศษเพิ่มด้วยอะไรก็ว่าไป
I need healing.
ครับที่คุณว่ามาก็ไม่ผิด เพียงแต่ผมจะบอกว่า x86 ของ Intel เป็น CISC ก็จริงอยู่ไม่ผิดเพี้ยน แต่แกนของ Processor ของ Intel นั้น
ทำงานแบบ RISC มาช้านานแล้วครับ ด้วย Intel เองตระหนักมานานแล้วว่า x86 มาวัดกับ CPU RISC ยุคนั้นไม่มีทางชนะได้ ตัวเอง
เลยทำ Processor ที่เปลือกเป็น x86 (ก็คือ CISC) ส่วนแกนนั้นทำงานแบบ RISC โดยมีการหั่นหรือแปลงชุดคำสั่ง x86 ให้กลายเป็น
คำสั่งสั้นๆ ง่ายๆ แบบที่ RISC ใช้แล้วค่อยประมวลผล ซึ่ง Intel ก็ฝ่าฟันมานานจน x86 ครองโลกมาแล้ว
มีการนำเทคนิตของ RISC มาใช้ใน Processor ของ Intel เองหลายอย่าง เช่น Pipeline ที่เริ่มใช้ตั้งแต่ P5 หรือ Pentium Classic,
Superscalar ที่เริ่มใช้ใน P6 หรือ Pentium Pro, PII และ PIII เป็นต้น
แต่ตอนนี้ ARM มาแรงจริงๆ ครับ ขืน Intel ไม่ขยับอาจจะกลายเป็นเหมือน Kodak ก็เป็นได้
เห็นตอนนี้ก็พยายามพัฒนา ATOM มาสู้ มีการทำ Binary Tranlate เอา APP ของ ARM มารันบน ATOM ได้แล้ว
ด้วย Performance ที่ดีด้วยครับ
CPU มีชุดคำสั่งได้ นับไม่ถ้วนครับ ขึ้นกับผู้ผลิตออกแบบ มันไม่มี CISC/RISC มาประมาณสิบปีแล้ว ซีพียูรุ่นใหม่ๆ ทั้งหมดมีชุดคำสั่งที่ "ซับซ้อน" ทั้งหมด ไม่มีใครออกแบบซีพียูมาให้โปรแกรมเมอร์เขียนภาษา Assembly เหมือนสมัย 20 ปีก่อนอีกแล้ว และไม่มีใครลดคำสั่งซีพียูเพื่อให้ออปติไมซ์คอมไพล์เลอร์ได้ง่ายอีกแล้วเช่นกัน
คอมไพล์เลอร์สมัยใหม่เข้าใจความซับซ้อนของซีพียูได้เป็นอย่างดี สามารถเลือกใช้คำสั่งจากคำสั่งจำนวนมากอย่างเหมาะสม สามารถคำนึงถึงสถาปัตยกรรมภายในของชิปที่กำลังจะทำโค้ดไปรัน
ซีพียูรุ่นใหม่ๆ ทุกรุ่นเลยมีการออกชุดสำสั่งเฉพาะสำหรับงานแต่ละอย่างตามสมัยนิยมมาเรื่อยๆ นับแต่ MMX, SSE, จนถึงรุ่นใหม่ๆ อย่าง AES-NI ชุดคำสั่งพวกนี้ ARM ก็เพิ่มไม่หยุดในแต่ละรุ่นเหมือนกัน
CPU หนึ่งตัวสามารถรันได้หลายชุดคำสั่งไม่ใช่เรื่องแปลกครับ Transmeta ทำมาเกือบสิบปีแล้ว แต่แพ้ในตลาดแล้วเจ๊งไป
lewcpe.com , @wasonliw
คำว่าคำสั่งซ้ำซ้อนของผมหมายถึง
CPU ตัวนึงมี register C ที่ทำงาน A+B หรือ A, B อย่างใดอย่างหนึ่ง
แล้วก็มี register A กับ register B ที่ทำงาน A และ B ตามลำดับ อันนี้คือคำสั่งซ้ำซ้อนของผมน่ะ
ถ้าคุณเข้าใจประมาณนี้แสดงว่าเข้าใจตรงกันครับ
ที่ผมคิดคือผู้ออกแบบ CPU ไม่น่าจะใส่ register ที่มันซ้ำซ้อนลงใน CPU เพราะผมดูแล้วมันออกแนวสิ้นเปลืองยังไงไม่รู้
ไม่ซ้ำซ้อนแบบนั้นครับ
ได้เวลาบอกลา Microprocessor แบบ CISC กันแล้วหรือ ? - electoday.com
อ่านเสริมกันเข้าไปอีก (เว็บชาวอิเล็กฯ โดยเฉพาะเลยล่ะ)
มีอะไรอ้างอิงที่ว่า RISC เหนือชั้นกว่า CISC ละเนี้ย?
CPU ARM ตอนนี้ยังตามหลังทาง x86 อยู่เยอะนะเรื่องความเร็ว
แล้ว Intel มีไม้เด็ดอะไรๆเก็บไว้เยอะ แต่ค่อยๆปล่อยออกมามากกว่า
ถ้า Intel ผลิต CPU ที่กินไฟต่ำ เปิด Windows แล้วอยู่ได้ทั้งวันแบบ iPad ก็คงมีคนสนใจแน่ๆ
@ fb.me/frozenology @
เขาเรียนกันมาในมหาลัย เป็นแบบนั้นครับตามทฤษฏี (แต่เรื่องตลาด ที่บอก intel มีอะไรอีกเยอะ ถึงตอนนี้ คงต้องโชว์แล้วนะครับ ถ้า intel ยังทำอะไรออกมาโชว์ไม่ได้ผมว่า ปีหน้า intel มีขาดทุน ปลดคนงาน แน่ครับ เพราะงบปีนี้ ใช่ว่าจะสวยมีแต่ออกไปทาง ร่อแร่)
รายได้ 13,500 ล้านดอลลาร์ กำไร 3,000 ล้านดอลลาร์ ใน "ไตรมาส" เดียวที่ผ่านมา ( ข่าวเก่า )
เป็นอาการ ร่อแร่ที่เยี่่ยมที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมาเลยครัับ
lewcpe.com , @wasonliw
จากข่าวเดียวกันนั่นแหละครับ ผมประเมินว่า ร่อแร่ รายได้จาก PC ลดลง 8% รายได้จาก Server เพิ่มขึ้น 6% (คำถามคือ PC ปีหน้าหดตัวต่อเนื่องหรือเปล่า และแรงแค่ไหน จากการประเมิน หดตัวต่อเนื่องครับ แต่ไม่รู้ความรุนแรง) ทีนี้ต้องเจาะไปดูสัดส่วนรายได้ 13 ล้าน มาจาก PC 8 ล้าน Server 2 ล้าน นอกนั้นเป็นรายได้อื่น ๆ (เราจะเห็นว่า รายได้ส่วน Server และอื่น ๆ ไม่สามารถชดเชย รายได้ที่มาจาก PC ได้ครับ ถ้ามันหดตัวรุนแรง) ถ้าผมถือหุ้น intel อยู่ตอนนี้ บอกคำเดียวครับ ขายทิ้งทั้งหมด !!
จริงๆ ประเด็นเรื่อง RISC vs CISC น่าจะถูกกลบไปได้ตั้งนานแล้วน่ะครับ เพราะปัจจุบัน CPU ที่เราใช้ๆ กันอยู่ต้องเรียกว่าเป็นลูกผสมซะมากกว่า
ARM เองก็มีชุดคำสั่งแบบ SIMD อย่าง NEON อยู่
x86 โครงสร้างหลักเป็น CISC แต่กลไกภายในก็ใช้แนวคิดของ RISC มาช่วยหลายอย่าง เช่น Pipeline, Superscalar และมี Micro-op ที่เป็นการแตกคำสั่งซับซ้อนให้กลายเป็นคำสั่งย่อยหลายคำสั่ง
เหนือชั้นกว่าจริงๆนะเธอว์
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
คุณคิดถูกบางส่วนครับ แต่เรื่องประสิทธิภาพของ CPU นั้นมันขึ้นอยู่กับงานด้วยครับ
ตัวอย่าง
ให้พลังงานที่ใช้ = เวลานะครับ
CPU RISC มี function A ใช้เวลา 2 วิ และ มี function B ใช้เวลา 2 วิ
CPU CISC มี function C ซึ่งผลลัพธ์ออกมาเหมือน function A หรือ B หรือ A+B ก็ได้ ใช้เวลา 3 วิ
ทำงาน X ซึ่งต้องใช้ function A ถ้าใช้ RISC ใช้เวลา 2 วิถ้าใช้ CISC 3 วิ
ทำงาน Y ซึ่งต้องใช้ function A+B ถ้าใช้ RISC ใช้เวลา 4 วิ ถ้าใช้ CISC 3 วิ
เท่านี้ล่ะครับความแตกต่าง
ไม่งั้นเราจะมี GPU ไว้เพื่องาน Graphic โดยเฉพาะไปทำไมล่ะครับ
ARM เนี่ยนะ ความสามารถสูงกว่า i3 i5 i7 เหอะๆ
เอาชนะ Atom ให้ได้ก่อนนะ (จริง ๆ ก็ได้แล้วแหละใน A15 เทียบกับ Atom รุ่นเก่า)
คิดว่า apple จะไช้ cpu ตัวเดียวกับมือถือมากกว่า เพราะทำให้สามารถสั้งซื้อใด้ในปริมาณมาก ทำให้ราคาถูกมากขึ้น เอาไว้ชนกับ windows rt
ซึ่งตัวสินค้าก็คงจะคล้าย transformers ไม่ก็ surface คือ tablet ติด keyboard
... น่าสนใจว่าเจ้าอื่นจะเลือกยังไง ทิ้ง ms แล้วไปเกาะ Android (ต้นทุนสู้ใด้ รองรับ cpu หลายแบบ แต่ยังไม่มี office ที่เหมาะสม) หรือทิ้ง Android แล้วไปเกาะ windows rt (ต้นทุนสู้ไม่ใด้ รองรับ cpu น้อยแบบ แต่มี ms office)
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ยังไม่ใช่ใน 5 ปีนี้แน่ครับ ยังไม่ต้องคิดมาก :)
Cortex-A50 : ยังไม่มีสินค้าจริง, ยังไม่มีผลการทดสอบประสิทธิภาพ, และกว่าจะได้เห็นวางตลาดจะใช้เวลาอีก 15 เดือนครับ
lewcpe.com , @wasonliw
และอีก 15 เดือนต่อไปเราอาจจะเห็น Core i เจนถัดไป Nancy Bridge (ชื่อสมมติ) ออกมาแล้ว
ตามนี้ครับ
หากเทียบ RISC กับ CISC
ให้เข้าใจกันง่าย ๆ ต้องเทียบปรัชญาการพัฒนาโปรแกรมแบบ ภาษา C และ C++
ภาษา C++ ตามปรัชญาจริง ๆ มองจาก เล็ก ...ไป ใหญ่ ต้องแบ่ง Object หรือ Instruction ย่อย ๆ เป็นเรื่อง ๆ แล้วค่อยมารวมเป็น Module ( RISC : โดย Compiler ในการแปลง Source Code ลงมาเป็น Instruction ย่อย ๆ ทำให้ RISC ได้ขนาด Execute File ใหญ่กว่า CISC ) ตามที่ต้องการ มีข้อดี คือ การ Optimize เป็นส่วน ๆ ง่ายต่อ ...การปรับปรุงพัฒนาเพิ่มความสามารถไปเรื่อย ๆ
ภาษา C ตามปรัชญาจริง ๆ มองจาก ใหญ่ ...ลงมา เล็ก มุ่งพัฒนา Module ตามที่ต้องการ หรือ CISC เน้นสร้าง Instruction ซึ่งหลากหลาย ให้ตรงตามความต้องการเฉพาะ เป็นเรื่อง ๆ ทำให้มี Hardware ขนาดใหญ่ จำนวนมาก
แม้ปัจจุบัน CISC จะแก้ปัญหา โดยมอง Internal เป็น RISC แล้วสร้าง Microcode ไปเรียก Internal ซึ่งพยายามพัฒนาให้เป็น RISC แต่มันมี Instruction เฉพาะ ทำให้ทำได้เป็นบางส่วน ไม่ใช่ทั้งหมด ทำให้เราเห็น จำนวน Transistor ของ CISC โดยเฉพาะของ Intel ต่อ Core ลดลง ...ไม่ได้มากนัก
ปล. Hardware & Software ก็เหมือนกัน ในการประมวลผลตาม Logic เพียงแต่ว่า อะไรที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงแล้ว เราก็ทำลง Hardware จะมี Performance สูงกว่า
หลาย ๆ คน ...ลืม ข่าว Intel เลิกผลิต x86 กันแล้ว
ช่วงนั้น Intel ทุ่มงบวิจัยไปกับ RISC หรือ Itanium จน AMD x86 64-BIT นำหน้า Intel ไปเกือบ 2 ปี แม้แต่ Microsoft Windows x86 64-BIT ใน Module ต่าง ๆ เรียกย่อ ๆ ว่า AMD 64 BIT เพราะเป็นครั้งแรกที่ Intel เดินตาม AMD โดยใช้ Instruction 64 BIT เลียนแบบ AMD
โดยเฉพาะ Microsoft Windows 64 BIT
ช่วงนั้น ทุ่มไปกับ AMD 64 BIT เพราะไม่มีใครกล้า ย้ายไป RISC หรือ Itanium
แต่ขณะนี้ โลกพร้อมแล้ว สำหรับ RISC โดยเฉพาะฝั่ง Server ต้องการย่อยขนาดมาเป็น ARM โดยเป็น Multi-server เพราะปัญหาคอขวดของ Data Bus ( RAM & Storage ) ซึ่งการเพิ่มจำนวน Core ไม่ได้ช่วยให้การประมวลผลเร็วขึ้น โดยเฉพาะงานด้าน DataBase Engine
ARM ไม่ได้เป็น pure RISC มานานแล้ว x86 ก็ไม่ได้เป็น pure CISC มานานแล้ว
CPU ทั้งสองอย่างใช้ชุดคำสั่งที่มีความซับซ้อน (CISC) แต่การทำงานภายในมันไม่ได้ซับซ้อน Intel x86 ใช้วิธี micro-ops มาตั้งแต่ยุค Pentium MMX AMD ก็ใช้เทคนิคเดียวกันแถมยังตั้งชื่อให้ว่า RISC86 (แน่นอนปัจจุบัน ARM ก็ใช้เทคนิคนี้) แตกคำสั่งให้เป็นคำสั่งย่อยๆ
แนะนำให้ศึกษาเรื่อง micro-ops, instruction pipeline, SIMD เพิ่มเติมครับ
OH, and by the way, I don't believe the magic that make a week work come to 2 minutes work. It's BS.
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ขอบคุณครับ
Intel ไม่ได้เลียนแบบ AMD แต่ซื้อสิทธิการใช้งาน AMD64 มาเลยครับ (แลกกับอะไรสักอย่างผมลืมไปละ)
ผมว่ามันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ RISC vs CISC เลยนะ เป็นคนละเรื่องเดียวกัน ประเด็นปัจจุบันตอนนี้มีแค่ ARM ได้เปรียบเรื่องประหยัดพลังงาน (เนื่องจากออกแบบมาให้มีชิ้นส่วนน้อย มีความซับซ้อนต่ำตั้งแต่ต้น) ในขณะที่ x86/x86-64 ยังคงได้เปรียบเรื่อง performance มากกว่า
ถ้าเกิดเอาชิป x86 ที่มีจำนวนทรานซิสเตอร์พอ ๆ กัน มีคล๊อกพอ ๆ กัน ผมว่าก็ทำความเร็วได้ไม่หนีกันเท่าไหร่ แล้วก็ไม่น่าจะกินไฟมากเท่าด้วย แต่ทั้งนี้สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตและรายละเอียดปลีกย่อยอีก
ARM กำลังจะบุกตลาด Server โดยใช้ข้อได้เปรียบด้านการจัดการพลังงานมาเป็นจุดเด่น ซึ่งเหมาะกับงานขนาดเล็กจำนวนมาก ๆ อย่างเช่น Host เวปไซท์เล็ก ๆ ที่มียอดเข้าชมไม่มากนัก ความซับซ้อนต่ำ ๆ จำนวนมาก โดยแต่ละเวปเองก็อาจจะได้หน่วยประมวลผลนึงไปเลยแทนที่จะใช้แชร์กันระหว่างเวป ทำให้เวลามีระบบล่มปัญหาจะไม่ลามไปเวปอื่น ถ้าเกิดมีเวปที่เริ่มมียอดเข้าชมมากขึ้นก็อาจจะต้องย้ายไปทำงานบน Server ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า อะไรแบบนี้
ในทางกลับ ถ้าคุณเอา ARM ไปรัน Server ที่มีโหลดสูง ๆ (เช่น Facebook) ผมว่าซีพียูคง overheat พังไปก่อน 555 (ผมล้อเล่นนะ ปรกติ CPU จะมี overhead เผื่อไว้รับความร้อนเวลารัน full-load ติด ๆ กันนาน ๆ ) ถึงแม้จะมีการทำ Load Balancing ก็เหอะ คืองานที่มีความซับซ้อนมาก ๆ มันก็ต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็วสูงพอที่จะประมวลผลได้เร็วพอ ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาทำงานไม่ทันจนถึงขั้นระบบล่มหมดเลยก็ได้
ถ้าเราออกแบบโดยคิดแค่ว่า A ดีกว่า B โดยที่ไม่ได้มองความเหมาะสมและจุดมุ่งหมายของงานเลย ผลลัพท์ก็มีแต่ความล้มเหลวน่ะครับ
Thank you.
"ถ้า" ผมจำไม่ผิด แลกกับเทคโนโลยีของ hyper-threading นะ ใช่ปะ
คุ้นๆว้่าเป็น SSE สักตัวนะ
คุ้นๆว่าเป็น SSE ด้วยคน
อืมดีเหมือนกันผมว่า มาเป็น ARM กันเถอะ
เข้าสู่ยุคเดิมที่ใช้ CPU ของตัวเองแล้วก็โดนคนอื่นแซงไป รอคนที่ถูกไล่ออก กลับมาฟื้นฟู งุงิ คุ้นๆ แหะ
Texion Business Solutions
สงสัยอยากให้คอนเทนต์ใน iOS มาใช้ใน OS X ได้สินะ เพราะว่าถ้าแมคมีจำนวนแอพเยอะขนาดนั้นอาจจะโค่น Windows ได้เลยทีเดียว และหากรวมกันได้จริงก็คงต้องผลักดันให้นักพัฒนาปรับแอพให้มีคุณภาพขึ้นอีกมาก
ผมสนใจรันแมคใน ipad มากๆ ถ้าทำได้เมื่อไหร่ ลาก่อน surface และ android
เดี๋ยวประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ต้องไปจุดธูปเรียก จ๊อบมาอีกล่ะ
ให้มืออาชีพเค๊าทำดีกว่า คนเราไม่ได้เก่งไปซะทุกเรื่อง
ตลาดกลุ่มใหนหล่ะ
Home Use หรือ Power User
อย่างน้อยพวก Power User นี่ต้องการของแรงๆ นะ
เรื่องมันชักคุ้นๆ แหะ เหมือนเดจาวูเบาๆ เลย
นึกถึงโฆษณาอันนี้ขึ้นมาเลย https://www.youtube.com/watch?v=-ExNQ3iFhXc
pittaya.com
สงสัยต้องยัดมา สัก ร้อยคอร์ เลยเปล่าเนี่ย ถึงจะแรงสู้ไหว
"History always repeat itself."
มิตรสหายท่านหนึ่งเคยได้กล่าวเอาไว้
"Don't call me when your company is in trouble, I'm already dead."
มิตรสหายท่านหนึ่งที่เสียชีวิตไปแล้วไม่เคยได้กล่าวไว้
Technology is so fast!
ผมว่าในไม่ช้าอินเทลก็งานเข้าแน่นอน ไม่ใช่เพราะแอปเปิ้ลหรอกแต่เป็นเพราะมีคู่แข่งที่ราคาถูกกว่าและพัฒนาไปเร็วมาก
ดีละ intel มันผูกขาดมานาน ต้องหาเจ้าอื่นมาถ่วงดุล AMD ก็คงจะทานไม่ไหว
ส่วนจะดีหรือไม่แอปเปิ้ลเค้ามีแนวคิดจะรวมทุกอย่างมานานแล้ว หลายชิ้นก็ประสบความสำเร็จ อย่าเพิ่งด่วนสรุปนะ :)
Mac จะลง windows ได้มั้ยเนี่ย
ลง Windows RT แทนครับ ถ้าเขาขายแยกนะ ฮ่าๆ
เป็นไปได้นะ เพราะดูท่าแล้วช่วงนี้เป็นช่วงที่เปลี่ยนผ่านก็ได้
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ฝันไปเหอะเพื่อน อีกนาน
เมื่อเช้าเพิ่งจะคุยกับเพื่อนเรื่องว่าต่อไป Apple น่าจะใช้ซีพียูตระกูล Arm บน Desktop อยู่เลย ผมว่ามีความเป็นไปได้สูงมากเลย เพราะทุกวันนี้ CPU มันล้ำกว่าความต้องการพื้นฐานไปมากแล้ว คนจำนวนมากใช้คอมฯ เล่น facebok ทำงานเอกสาร เข้าเว็บ เล่นเกมพื้นๆ จะแปลกอะไรถ้า arm จะเข้ามากินตลาดส่วนนี้ไป ซึ่งที่จริงมันก็ทับซ้อนกับตลาดของ tablet อยู่เหมือนกันนะ แต่ PC ที่เน้น performance ก็อาจจะยังใช้ x86 ต่อไปก็ได้ สำหรับงานที่ต้องการความแรงพวกเกม หรือตัดต่อไฟล์วีดีโอ
ง่ายจะตาย Intel ลดราคาก็จบเรื่อง 555
ยังอีกนานครับ เพราะ Mac เจ็บกับการมี CPU แบบ proprietary เป็นของตัวเองแล้วครับ ต้นทุนต่อหน่วยสูงมาก ๆ จนถึงขั้นที่ไม่สามารถแข่งขันได้ จนกระทั่งต้องโละทิ้งทั้งหมด แล้วไปใช้ Intel X86 แทนไง
ผมว่า Intel X86 มันถูก เพราะมันผลิตเยอะมาก หากไปทำ chip เอง หรือจ้างคนอื่นทำ chip เหมือนเดิม ผลลัพธ์ก็จะเดิม ๆ อีกคือ ควบคุมต้นทุนไม่ได้
และอีกอย่าง Intel X86 มันก็ไม่ได้ขี้เหล่อะไรเลย เร็วจะตาย อย่างน้อยก็เร็วกว่าพวก CPU RISC ที่ใช้อยู่ในมือถือเป็นไหน ๆ
ตอนนี้ AMD กดดัน intel ไม่ไหวแล้ว ต่อไปก็คงต้องรอ apple arm มากดดัน intel แทนสินะครับแต่ผมเชื่ออย่างว่าไม่ใช้ใน 5- 6 ปีนี้แน่นนอน เพราะ ประสิทธิภาพ ของ arm ยั่งสู้ intel ไม่ได้ ประสิทธิภาพ / วัตต์ก็ยั่งสู้ไม่ได้