ข่าวสั้นนี้เป็นข่าวต่อเนื่องจากข่าว "ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งระงับการแลกเปลี่ยน Bitcoin ภายในประเทศไทย" ครับ
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ชี้แจงประเด็นที่ฝ่ายนโยบายและกำกับการแลกเปลี่ยนเงินของ ธปท. มีมติห้ามทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin (รายละเอียดอ่านได้จากข่าวเก่า) เนื่องจาก ธปท. มีความกังวลว่าอาจมีการใช้ Bitcoin เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรค่าเงินบาทได้ โดยให้เหตุผลว่า Bitcoin มีลักษณะเหมือนธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยน มากกว่าการแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยขณะนี้ ธปท. ได้ขอให้ กระทรวงไอซีที กระทรวงการคลัง และ ก.ล.ต. เข้าตรวจสอบในเรื่องนี้แล้วครับ
"ในช่วงนี้ ธปท.จึงขอให้บิทคอยน์ อย่าเพิ่งเข้ามายุ่งกับเงินบาท เพราะสิ่งที่บริษัทดังกล่าวทำมีช่องที่ส่อไปทางเก็งกำไรค่าเงินบาทได้ ดังนั้นขอเวลาให้ ธปท.ทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียดก่อน" นายประสาร กล่าว
ทั้งนี้ สาเหตุหลักส่วนหนึ่งมาจากการที่ค่าเงิน Bitcoin มีความผันผวนมาก โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงถึงกว่า 1000% ภายในช่วงเวลา 10 เดือน (จาก 10 USD/Bitcoin ในเดือน ส.ค. 2555 เป็น 115 USD/Bitcoin ในเดือน พ.ค. 2556) และยังอาจมีมูลค่าขึ้นลงระหว่างวันสูงมาก เช่นเคยมีมูลค่าสูงสุดที่ 266 USD/Bitcoin และตกลงเหลือ 105 USD/Bitcoin ภายในวันเดียวครับ
ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 31 กรกฎาคม 2556
ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนข่าว: ผมเห็นด้วยเรื่องการห้ามเพื่อป้องกันการเก็งกำไร แต่จากเนื้อหาแปลว่าธปท. ยังไม่ได้มองว่า Bitcoin เป็นเงินตราสกุลหนึ่งหรือเปล่า?
Comments
ผมว่าธนาคารแห่งประเทศไทยเขาไตร่ตรองแล้วล่ะ คนข้างในระดับหัวกะทิทั้งนั้น
ความเห็นส่วนตัว : ส่วนเรื่อง Bitcoin เป็นเงินตราสกุลหนึ่งหรือเปล่า ? จะเป็นหรือไม่ ไม่สำคัญ ถ้าหากเงินสกุลไหนๆผันผวนขนาดนี้ มันก็เหมือนสินทรัพย์เอาไว้เก็งได้ทั้งนั้น แต่ว่า Bitcoin มันไม่ใช่เงินทั่วๆไป มันไม่มีอะไรรองรับแบบเงินทั่วๆไป เงินทั่วๆไปเขามี ทอง เอาไว้รองรับ ส่วน bitcoin มีอะไรตอบทีครับ รบกวนขอความรู้ด้วยครับ ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วย
เงินสกุลไหนที่มีทองรองรับ และสกุลไหนที่ไม่มีทองรองรับบ้างครับ
เอาเฉพาะสกุลหลักๆ ที่ใช้แพร่หลาย เป็นสากล หรือใช้ในปริมาณมากๆ
เช่น ดอลล่าร์ สหรัฐฯ
USA เป็นประเทศเดียวที่ไม่ต้องใช้ทองมารอบรับการพิมพ์เงินเข้าระบบ
แต่เคยได้ยินข่าวว่าทางญี่ปุ่นทำ QE เหมือนกัน อันนี้ก็แปลว่าญี่ปุ่นก็พิมพ์เงินไม่ต้องใช้ทองเหมือนกันหรือเปล่าครับ?
เงินบาทมีทองและเงินตราต่างประเทศรองรับครับ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
แต่บางประเทศใหญ่ๆ อาจจะพิมพ์เงินเพิ่มได้โดยไม่จำเป็นต้องมีสินทรัพย์รองรับเท่ากับเงินที่พิมพ์เพิ่ม เช่น USA อัดฉีดเงินเพิ่มตอน QE ครับ
ไม่มีครับ มาตรฐานทองคำเลิกกันไปนานแล้วครับ
lewcpe.com , @wasonliw
หมายถึงของไทยหรือทั่วโลกครับ ถ้าทั่วโลกผมอาจจะเข้าใจผิดเอง แต่ถ้าของไทยผมเข้าใจว่าบัญชีทุนสำรองเงินตรายังมีรายการทองคำเป็นส่วนของสินทรัพย์อยู่ ไม่ทราบว่ามีรายละเอียดเพิ่มเติมมั้ยครับ
สำรองทองประเทศไหนๆ ก็สำรองครับ สหรัฐฯ ก็ยังมีทองอยู่เยอะ แต่ไม่มีประเทศไหนผูกค่าเงินของตัวเองกับทองแล้ว
lewcpe.com , @wasonliw
มาตรฐานทองคำเป็นระบบวิธีแลกเปลี่ยนอย่างหนึ่ง ซึ่งบัจจุบัน ประเทศต่าง ๆ ได้ยกเลิกไป เนื่องจากสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศใช้ค่าเงินของตัวเองไปผูกกับทองคำในอัตราคงที่ และให้ประเทศอื่นปรับเทียบอัตราแลกเปลี่ยนตามสภาพการค้า แต่ปรากฏว่าสหรัฐขาดดุลการค้าอย่างรุนแรงในช่วง ค.ศ. 196x-197x ทำให้ค่าเงินสหรัฐอเมริกาอ่อนค่าลงอย่างมาก ประเทศอื่นจึง (รุม) แลกเอาทองคำแทน ทำให้ทองคำของสหรัฐอเมริกาขาดแหลน (มีขึ้นขั้นต้องเรียกคืนจากประชาชน) สหรัฐอเมริกาจึงขอเปลี่ยนระบบใหม่ที่ทำให้ค่าเงินไม่ผูกกับทองคำ
ทั้งนี้ ผมก็ไม่มั่นใจว่าทำไมถึงมีคนเข้าใจว่าสหรัฐอเมริกายังคงใช้มาตรฐานทองคำเป็นระบบในปัจจุบัน
ส่วนที่ผมงงจริงๆ คือ ผมไม่ได้เขียนว่าค่าเงินผูกติดกับทองเลย ซึ่งผมก็พยายามอธิบายว่าปัจจุบันประเทศไทยใช้เงินตราต่างประเทศร่วมกับทองเป็นเงินสำรอง ยกเว้นบางประเทศใหญ่ๆ ที่อยากพิมพ์ก็พิมพ์ ใช้ความเชื่อมั่นในเครดิตมารองรับ อันนี้ผมเข้าใจผิดเหรอครับ?
ผมคงเข้าใจประเด็นผิดตามที่คุณ Holy ทักท้วง แต่ผมไม่มีรายละเอียดที่ว่าประเทศไหนมีข้อกำหนดพิมพ์ธนบัตรเพิ่มอย่างไรครับ
อันนี้ของประเทศไทย แปะไว้เผื่อใครต้องการข้อมูลhttp://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/BMD/Pages/issue_note.aspx
ญี่ปุ่นก็พึ่งมี QE ไปเองนี่ครับไม่เห็นต้องผูกกับค่าทอง
ผมว่าธนาคารแห่งประเทศไทยเขาไตร่ตรองแล้วล่ะ คนข้างในระดับหัวกะทิทั้งนั้น ---> ทันยุคต้มยำกุ้งไหมครับ คนฉลาดๆ ทั่งนั้นแหละครับเป็นคนทำให้ประเทศเสียเงินหลายหมืนล้าน
คนหัวกะทิก็ทำงานผิดพลาดได้ครับ
แต่คนหัวกะทิก็สามารถเรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอดีตได้เช่นกันครับ
ผมว่าคราวนี้เค้าต้องไตร่ตรองให้ดีถึงที่สุดก่อนครับ ส่วนตัวผมว่าเป็นเรื่องดีนะ
แต่มีคนฉลาดบางคนรอดมาได้เฉยเลยนะครับ แปลกนะว่ามั้ย
ทันครับ แต่ผมยังเด็ก รู้แต่ว่ามันทำให้ครอบครัวผมจากมีฐานะ กลายไปธรรมดาไป
ฉลาดๆอย่างคนตะวันตก ยังพุงแตกจากแฮมเบอร์เกอร์ ความผิดพลาดย่อมเกิดกับคนทุกระดับถ้าความโลภครอบงำ
ที่บ้านเมืองฉิบหายกันก็เพราะหัวกะทิทั้งนั้น ไม่ใช่แต่เมืองไทย อเมริกายุคsub prime
เรื่องหัวกะทิน่ะยอมรับ แต่ใช่ว่าผลงานจะดีไปทั้งหมดน่ะซี
-สู้ค่าเงินบาทช่วงปี40-มาตรการกันเงินสำรองตอนรบ.ทหาร(อันนี้นโยบายจากรบ.นั้นจริง แต่คนตัดสินใจคือธปท.)
-ล่าสุดก็สู้ค่าเงินบาทอีกรอบ ก่อนที่จะยอมลดดบ.
เราเลยมาถกกันว่าเราได้-เสียอะไรจากนโยบายต่างๆ ไม่ใช่เพราะเชื่อมือเขาอย่างเดียว
ถูกต้องนะคร้าบ หัวกะทิ เป็นหลักประกันว่าเขามีความรอบรู้ในเรื่องนั้นๆ ส่วนเรื่องทำผลงานเข้าตาหรือไม่ ต้องคอยดู
ที่ผมคอมเม้นไปก็เพราะ หลายๆกระทู้มักดูแคลนความสามารถของข้าราชการ หรือ หน่วยงานกลางมันแทบจะชินตากับคอมเม้นที่ว่า ข้าราชการในงานนั้นๆ ไม่มีความรู้อะไรเลย
ระบบราชการส่วนใหญ่ คนทำไม่ได้พูด คนพูดไม่ได้ทำ
รอบหลังสุดไม่ได้เกี่ยวอะไรกับสู้ค่าเงินเลยนะครับ นโยบายมันอิงกับดอกเบี้ยไม่ใช่อัตราแลกเปลี่ยน ทุกวันนี้แบงก์แข่งกันปล่อยสินเชื่อ แย่งเงินฝากกันรุนแรงมากแล้วครับ ถ้าลดดอกเบี้ยช่วยผู้ส่งออก แต่เงินเฟ้อพุ่งกระทบทุกคนก็ไม่คุ้มนะ
รอบหลังสุด ผมพูดผิดไปจริงๆครับ ไม่ได้เอาเงินไปสู้ค่าเงิน แต่เพราะแข็งขืนไม่ยอมลดดอกเบี้ย ทำให้ธปท.ทำขาดทุนไปแสนล้าน จากเงินบาทแข็งค่า
ทั้งๆที่รัฐส่งสัญญาณนโยบายบาทอ่อน ด้วยการให้ลดดอกเบี้ยตั้งเป็นปี แต่ไม่ยอมลด (อย่างอ้างว่า คนกำหนดดอกเบี้ยนโยบายคือกนง.นะ เพราะตัวแทนหลักมาจากสายธปท.ทั้งนั้น)
จนส่งออกเกือบตายเป็นแถบๆตอน 29บาทต่อ1 USD ส่วนเม่าหุ้นยิ้มร่า เพราะฝรั่งขนเงินมาเล่นหุ้นกับซื้อพันธบัตรในไทยเยอะ ธุรกิจอื่นรายได้ลด แต่สายbank ขึ้นกันตลอด
ไม่อยากมองอย่างแง่ร้าย ว่าคนแต่งตั้งสายนี้ ก็มาจากสายนายแบ๊งค์ เลยเน้นผลประโยชน์ของธนาคาร มากกว่าอย่างอื่น(จริงๆมันก็การเมือง สืบเนื่องมาตั้งแค่ยุครบ.ทหารแล้วนั่นแหละ)
เปิดงบการเงินธปท.ปี55 ขาดทุน1.08แสนล.http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20130531/508571
ธปท.โล่งบาทอ่อนลดตัวเลขขาดทุนหายไปกว่าแสนล้านhttp://www.thairath.co.th/content/eco/353246
เรื่องส่งออก อย่างที่บอกครับ มันก็ต้องแลกกับการคุมเงินเฟ้อไป
แต่เรื่องขาดทุนนี่ ด้วยความเคารพครับ ผมไม่เข้าใจว่าทำไมคนทั่วไปถึงต้องห่วงมากมายด้วย แบงก์ชาติไม่ได้ใช้ภาษีของประชาชนในการดำเนินงานนะครับ ส่วนขาดทุนก็เป็นการรับรู้ทางบัญชี ถ้าจะมีปัญหาก็ต้องขาดทุนจนส่วนทุนติดลบเลยแหละ ที่สำคัญ แบงก์ชาติมีหน้าที่ดูแลเสถียรภาพการเงิน ไม่ได้มีหน้าที่ทำกำไรครับ
อ้าวคราวนี้บอกว่ามีหน้าที่ปกป้องเสถียรภาพของค่าเงิน แต่ช่วงที่ผ่านมาค่าเงินผันผวนแข็งแบบพรวดๆนับสิบ%ในช่วงเวลาครึ่งปี ไม่โทษกนง.แล้วเหรอครับ เรื่องดอกเบี้ย :P
ดอกเบี้ยนโยบายเราสูงเป็นอันดับต้นๆของภูมิภาคมาตั้งนาน ผมว่าไม่ใช่กลัวเงินเฟ้อแล้วนา อีกอย่างอย่าลืมว่าบ้านเราพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักด้วย
ส่วนเรื่องขาดทุน ตอนปี40 เอาเงินไปสู้ค่าเงินจนขาดทุนเยอะแยะ ทำไมเขาไม่ตอบแบบนี้บ้างหว่า แค่ขาดทุนทางตัวเลข เงินสำรองหายช่างมัน ไม่มีผลกับเศรษฐกิจในประเทศ?
นอกประเด็นbitcoinไปไกลแล้ว พอดีกว่า
เงินบาทอ่อนค่าเพราะลดดอกเบี้ย ไม่จริงครับ
เงินในกลุ่ม TIP แข็งค่ามาซักพักหละครับเพราะเงินใหลมาเทมายังตลาดใหม่
ส่วนเงินบาทมันเริ่มอ่อนค่าลงมาก่อนหน้านั่นแล้วครับ ด้วยเหตุผลว่าเงินทุนเริ่มใหลออกเพราะ QE เอาจริงๆ วันนั้นต่อให้ไม่ประกาศลด มันก็ยังลง เพราะเงินทุนใหลออกจาก TIP พอประกาศลดค่าเงินก็พอดีกับลุงเบนก็ประกาศว่าจะค่อยๆลด QE คราวนี้ฮวบกันทั่วเอเชีย
ดอกเบี้ยเราสูงกว่าเพื่อนบ้าน ? ไม่จริงครับ มีประเทศแถวๆ นี้หลายประเทศสูงกว่าเรา เงินตราที่ใหลเข้ามา ส่วนมากไม่ได้ใหลเข้ามากิยนดอกหรอกครับ เพราะว่าถ้ากินดดอก มันควรจะไปประเทศเพื่อนบ้านที่สูงๆ มากแต่ผมดูกราฟเทียบกับไทยกับกลุ่มเพื่อนบ้านแล้ว ช่วงก่อนที่เงินบาทจะอ่อนมันแข็งค่าอย่างรวดเร็ว เป็นไปได้ว่ามันใหลเข้ามาเก็งกำไรอะไรซักอย่าง น่าจะเป็นค่าเงินกระมัง
เรื่องขาดทุนปี 40 ผมเห็นด้วยมากครับว่าตอนนั้นแบงก์ชาติดำเนินนโยบายผิด
ที่จริงแล้วเกือบทุกประเด็นที่คุณถามเรื่องแบงก์ชาติ ทั้งเรื่องขาดทุน เรื่องดอกเบี้ยสูง เค้ามีประกาศชี้แจงไว้แล้วครับ ซึ่งก็เหมือนที่ผมเขียนไปน่ะแหละ แต่อ่านแล้วจะเห็นด้วยหรือไม่ก็แล้วแต่ครับ
http://www.bot.or.th/Thai/PressAndSpeeches/Press/News2556/n2256t.pdf
ปล. เสถียรภาพ "การเงิน" ครับ ไม่ใช่เสถียรภาพ "ค่าเงิน"ปล2. เห็นด้วยเช่นกันครับว่าออกนอกเรื่อง Bitcoin ไปไกลแล้ว....
วันนี้ผมพึ่งไปฟัง ธปท. คุยกับ KTB ในงานเสวนาเลยครับ
ทางผู้บริหาร KTB ยังบอกเลยว่าดีแล้วที่ ธปท. ไม่ลดดอกเบี้ยมากเท่าที่กระทรวงการคลังบอก (1%) เพราะถ้าลดจริง
เงินบาทจะอ่อนเร็วมากจนน่าตกใจ (เพราะ Policy Rate ลดลง ->discount Rate ลด-> Bond Yield เพิ่ม->ราคา Bond ปรับสู่ Equilibrium -> Bond ราคาสูงขึ้น->ต่างชาติเทขาย Bond -> เอาเงินออก)
เพราะเงินที่เข้ามาอยู่ในตลาดตราสารหนี้เป็นมูลค่าสูงมากครับ นี่เค้าบอกว่าขนาดลด 0.25% ยังทำให้เงินบาทอ่อนค่าเร็วขนาดนี้
ผมเข้าใจว่าแต่ละคนอาจจะมีมุมมองต่างกันแต่อย่างไร เราก็น่าจะดูเหตุผลที่ใช้ในการตัดสินใจของแต่ละฝ่ายแล้วค่อยพูดคุยกันโดยอิงกับข้อมูลตรงนั้นมากกว่า ที่จะรับฟังข้อมูลฝ่ายเดียวครับ
ปล.ตัวเลขขาดทุนดังกล่าวก็เนื่องจากเรามี USD Reserve สูงถ้าบาทแข็งก็ต้องบันทึก Unrealized Lose ทั้งที่ควาจริงเรามี USD reserve เท่าเดิมครับ คือมีปัญหากับต่างประเทศเราก็ยังมีกำลังจ่ายเงินเท่าเดิมเพียงแต่ถ้าเอาเงินตรงนี้มาใช้ในประเทศ ก็จะเหมือนเรามีเงินน้อยลง แต่เนื่องจากปกติ USD Reserve ไม่ได้เก็บไว้เพื่อใช้จ่ายในประเทศอยู่แล้วครับ
น่าจะศึกษา bitcoin มาก่อนหน้านี่ตั้งนานแล้วนะครับ ไปทำอะไรอยู่?
ผมศึกษามาแล้ว แต่ไม่แตกฉาน เลยสงสัยแบบนี้ไงละครับ ผมมันโง่ครับ หลายๆแห่งอธิบายเกี่ยวกับ bitcoin ผมก็ยังงงอยู่ดี
ผมจึงอยากรบกวนท่านชี้ทางสว่างให้หน่อยครับ ความผันผวนของ bitcoin อะไรเป็นปัจจัยหลักที่แท้จริงครับ เผื่อผมจะได้เก็งมั่งถ้ามีโอกาส
ผมหมายถึง ธปท ครับ ขออภัยถ้าทำให้เข้าใจผิด
ประโยคแรกเป็น Appeal to Authority Fallacy นะครับ ถ้าระวังได้จะดี
ส่วนเรื่องความมั่นคงของ Bitcoin สกุลเงินหลักที่ใช้แลกเปลี่ยนเดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้หนุนกับปริมาณทองแล้วนะครับ (ของ US เลิกหนุนตั้งแต่ปี 1934 แล้ว)
สิ่งที่ Bitcoin ไม่มีคือ องค์กรรัฐที่ออกมายินยันว่ามันมีตัวตน ซึ่งในยุคที่เงินเป็นแค่ตัวเลขบนบัญชี ไอเทมในเกมสามารถแลกเป็นเงินจริงได้ และ สกุลเงินบางตัวที่รัฐรับรองแต่คนทั่วไปไม่ใช้ .... มันไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับคนใช้ครับ
ปล. สนใจเรื่องนี้เหมือนกันครับ แต่ยังไม่แน่น ผิดถูกแลกเปลี่ยนได้ครับ :)
การพิจารณาว่า Bitcoin เป็นเงินตราหรือไม่ เป็นประเด็นสำคัญในทางกฎหมายมหาชนที่จะชี้ว่าในที่สุดแล้วธปท. มีอำนาจออกคำสั่งหรือไม่ และถ้ามีอำนาจจะต้องอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติใดในการออกคำสั่งค่ะ เพราะตามหลักกฎหมายมหาชน องค์กรต่างๆ ของรัฐจะกระทำการใดๆ ได้ กฎหมายต้องให้อำนาจ เพื่อประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยค่ะ
สะดุดกับ comment นี้แฮะ ปรกติเจอแต่ "ครับ" ไม่ค่อยได้เจอ "ค่ะ"
BitCoin ใช้การอ้างมูลค่าอ้างอิงจาก Hash SHA256 ที่ประมวลผลได้และตรงตามที่ข้อตกลงครับ โดยในระบบเชือว่าการได้ซึ่ง Hash มานั้นเป็นการยาก (เหมือนการขุดทอง)
ระงับ Bitcoin เพราะห่วงเก็งกำไรค่าบาท >>> ระงับ Bitcoin เพราะห่วงเก็งกำไรค่าเงินบาท
แบบนี้จะดีกว่ามั้ยครับลองแนะดู
ผมว่าน่าเป็นห่วงน้อยกว่าเรื่องฟอกเงินอีก
อยากรู้ว่า ธนาคารชาติประเทศอื่นๆ เขามีนโยบายอย่างไรกับbitcoin ห้ามทำธุรกรรมไปเลย เหมือนสมัยwikileaks ไหม?
ยังงงว่า ห้ามทำธุรกรรมนี่ห้ามระดับไหน ห้ามตั้งบ.รับแลกbitcoin เป็นเงินบาทในไทย หรือว่าตั้งได้แต่ต้องแลกเป็นเงินสกุลอื่น
แล้วถ้าตั้งบ.ที่อื่นเช่นสิงคโปร์แล้วรับแลกเป็นเงินบาท ธปท.มีสิทธิ์ห้ามไหม โดยใช้การแลกเปลี่ยนเป็นเงินผ่านระบบอื่นๆเช่นpaypal หรือบัตรเติมเงิน หรือแม้แต่ส่งผ่าน True money?
เพราะอ่านจากกระทู้ข่าวอันเก่า แล้วเหมือนจะห้ามแบบห้ามซื้อขาย ส่งรับไปเลย แล้วจะมาจับนักขุดเหมืองที่อยู่ในประเทศไทย โดยใช้อำนาจหรือกฎหมายข้อไหน?
เห็นเว็บต่างประเทศก็ลงบอกว่า ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่แบนBitcoin!
แต่ผมคิดว่าน่าจะดีและหละครับ แบนไว้ก่อนเพราะเรื่องเงินๆทองๆนี่อ่อนไหวมากและปัญหามักจะเกิดจากเงินทั้งนั้นแหละ
ขอบคุณครับ อ่านข่าวอีกที เหมือนจะแค่ห้าม"ให้บริการ" แต่ถ้าทำเอง ส่งเงินเอง ซื้อขาย ผ่านเวบที่ตปท.เองไม่น่าผิด
ตอนแรกกังวลว่า จะพาลมาถึงนักขุดเหมืองในไทย ว่ากลายเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายด้วยหรือเปล่า เดี๋ยวจะโดนข้อหาฟอกเงินโดยไม่รู้ตัวกัน
ไม่ใช่ห้ามให้บริการค่ะ ห้ามทำธุรกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวกับ Bitcoin ค่ะ หมายความว่าถ้ามี Bitcoin อยู่กับตัวไม่ผิดกฎหมาย แต่ถ้ากระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามนี้จะผิดกฎหมายค่ะ
ถ้าอย่างนี้ การใช้bitcoin ถือว่าผิดกฎหมายด้วยน่ะสิครับ
เพราะการใช้ ย่อมมีการส่งให้ผู้อื่น โดยอาจจะจงใจส่งให้ฟรีๆ หรือแลกเปลี่ยนเป็นเงินจากเวบนอกราชอาณาจักร
น่ากลัวนะครับ ถ้านั่งขุดbitcoin อยู่ในบ้านแล้วผิดกฎหมายดื้อๆ เพราะคงไม่มีใครขุดสะสมไปเฉยๆ
ว่าแต่ผิดกฎหมายอะไร มาตราไหน จะโยงไปถึงฟอกเงินได้หรือไม่? ขอบคุณครับ
เข้าใจว่าห้ามแลกเปลี่ยนแบบ Bitcoin <-> บาทไทยครับ
ใช่ครับ ถ้าเราซื้อขายผ่านเงินสกุลอื่น (เช่น ซื้อในอัตรา usd ที่แปลงจากค่าเงินบาทอีกที) น่าจะไม่ผิดครับ ซึ่งนั่นทำให้ไม่สามารถเก็งกำไรเงินบาทโดยซื้อ bitcoin ได้ครับ
ตั้งที่ต่างประเทศไม่มีสิทธิ์ห้ามครับ แต่คาดว่าน่าจะเข้ามาทำธุรกรรมในไทยไม่ได้เช่น ใช้บัญชีธนาคารในประเทศไทย , ใช้บริการทรูมันนี่
ผมว่าต่างประเทศพอมีข่าวเรื่อง Bitcoin ออกมาเขาก็น่าจะเริ่มศึกษากันแล้วล่ะครับว่าควรจะทำยังไง ไม่งั้นประเทศใหญ่ๆ ของคงไม่ใช้ Bticoin แทนเงินจริงในการซื้อของตามได้ร้านทั่วไปและร้านออนไลน์หรอกครับ น่าแปลกที่ประเทศเราเพิ่งจะมาศึกษาเอาตอนนี้
จำ Liberty Reserve ได้ไหมครับ ที่นิยมใช้รับชำระค่าบริการ รวมถึงในตลาด Forex มาหลายปี
แต่อยู่ๆโดน FBI บุกจับไปโดยไม่มีใครรู้ล่วงหน้า Bitcoin จะน่ากลัวตรงที่ การไม่รู้เจ้าของบัญชีที่แท้จริง
และไม่สามารถยกเลิกรายการได้ จะเป็นช่องทางหลักที่ใช้ในการทำความผิด เช่น ใช้ในการหลอกลวงผู้อื่น และไม่สามารถดำเนินคดีกับใครได้
"ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า"
เสียดายที่ BitCoin ไม่ได้เกิดในเพลานั้นเจ้าค่ะ
T-T
มูลค่า BitCoin ไม่ได้เกิดง่ายๆ แบบขุดทองนะครับ ธปท. กว่าจะได้ Hash หนึ่งเนี่ย กิน GPU กินไฟไปเท่าไหร่
ทองเป็นทรัพย์สินของชาติ BitCoin ไม่ใช่และอยู่นอกเหนือการควบคุมของ ธปท. ด้วยเลยสั่งห้ามไว้ก่อนเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมก่อน?
BitCoin ไม่มีใครเป็นผู้รับประกัน ไม่มีใครเป็นผู้ดูแล หรือไม่มีอะไรที่จะบ่งบอกว่ามันเป็นเงินตราสกุลหนึ่งที่เชื่อถือได้นะครับ อย่างข้างบนที่พูดคุย (หรือเถียง) กัน ก็ด้วยข้อว่า บางประเทศมิได้มีการผูกค่าเงินกับทองคำ บางประเทศพิมพ์เงินได้โดยไม่มีขอบเขต ข้อนั้นเห็นจะจริง แต่อย่าลืมนะครับว่าตราบใดก็ตามที่คนบนโลกนี้โดยส่วนใหญ่ "เชื่อ" ในเงินกระดาษ ทั้งดอลลาร์สหรัฐ หรือยูโรก็ตาม เงินกระดาษก็ยังคงมีค่าด้วยตัวของมันเอง
อย่างดอลลาร์สหรัฐ เรามี เรายังซื้อน้ำมัน ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับหลายๆประเทศได้ ใช้เพื่อการลงทุนก็ได้ เพราะมันเป็น "เงินตราที่ได้รับความเชื่อถือ" โดยมี "ธนาคารกลางสหรัฐ" และ "รัฐบาลสหรัฐ" เป็นผู้ผลิต และให้ความเชื่อถือว่าตัวมันเองนั้นมีค่า ในขณะที่ BitCoin ไม่มีผู้ใดให้ความเชื่อถือได้เลย ไม่มีใครเป็นผู้รับประกันได้เลยว่าเงินตราชนิดนี้มีความน่าเชื่อถือเช่นใด แต่ถึงอย่างไรก็ตาม บางร้านค้า บางสินค้าก็ยินดียอมรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วย BitCoin
ส่วนตัวผมมองว่ามันเป็น "ผลิตภัณฑ์ทางการเงินชนิดหนึ่ง" ไม่ใช่ "เงินตรา" เหมือนกับทองคำ ที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (โลหะมีค่า) มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน ราคามีความผันผวน ใช้แลกเปลี่ยนเป็นเงินตราสกุลหลักได้ (ขายทอง) แต่ไม่ใช่เงินตราสกุลหนึ่งที่มีการรับรองจากรัฐบาลกลาง หรือธนาคารกลางประเทศเหล่านั้น
ส่วนกรณี QE นั้น มันก็เป็นเงิน "สมมติ" ที่พิมพ์ขึ้นมาครับ ไม่ใช่พิมพ์ลอยออกมาแล้วก็ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ถ้าให้เปรียบเป็นกลไกง่ายๆ เหมือนว่า (สมมติ) ธนาคารประเทศ ABC พิมพ์เงินดอลลาร์ออกมา ด้วยวงเงิน 10,000 ล้านเหรียญ เป็นเวลาติดต่อกัน 12 เดือน รวมแล้วโครงการนี้พิมพ์เงินออกมา 120,000 ล้านเหรียญ เงินจำนวนนี้พิมพ์ออกมาเพื่อนำไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลประเทศ ABC เพื่อกดให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (ดอกเบี้ย) ลดต่ำลง เมื่อผลตอบแทนพันธบัตรอยู่ในระดับต่ำ ก็จะช่วยให้คนส่วนหนึ่งต้องขายพันธบัตรออก เพราะผลตอบแทนไม่คุ้มค่า คนเหล่านั้นก็นำเงินไปลงทุนอย่างอื่น ที่อาจมีความเสี่ยงมากขึ้น หรือเอาไปดำเนินธุรกิจ และเมื่อจบโครงการ ธนาคารกลางที่พิมพ์เงินดังกล่าวออกมา ก็ขายพันธบัตรที่ตนเองถืออยู่ออก (อาจจะทะยอยขายน้อยๆ ไปเรื่อยๆ) และนำเงินกลับไป ก็ทำลายแค่นั้น (เหมือนเสกเงินออกมา ท้ายที่สุดหมดโครงการก็เอามันไปทำลาย) ไม่ใช่ว่าพิมพ์แล้วพิมพ์เลย
ส่วนจุดประสงค์ของ QE นั้นคือการพยายามกระตุ้นสภาพคล่องในตลาดเงินให้เกิดมาขึ้น โดยนโยบายนี้มีใช้ครั้งแรกที่ญี่ปุ่น เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราความฝืดเคืองของเงินในระดับสูงมาก คนญี่ปุ่นนิยมออมเงินกันอย่างมาก ดังนั้นเงินจึงไม่ถูกนำมาหมุนเวียนในระบบ (เหมือนมีเงินเท่าไหร่ ยิ่งหาเงินได้มาก ก็ยิ่งเก็บมาก) ถึงขั้นว่าบางคนมีอัตราการออมต่อรายรับสูงถึง 60-70% เลยก็มี ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นประสบภาวะเงินฝืดมาอย่างยาวนานมาก (นานกว่า 12 ปี) จนกระทั่งรัฐบาลชุดปัจจุบันใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน (QE) เป็นจำนวนเงินที่สูงมาก เพื่อลดผลตอบแทนพันธบัตร, เพิ่มสภาพคล่อง ปัจจุบันญี่ปุ่นจึงมีอัตราเงินเฟ้อที่ค่อยๆทะยานขึ้นมาที่แถวๆ 1-2% แล้ว เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่เงินเยน "เฟ้อ"
ผลกระทบต่อการทำ QE คือจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง ซึ่งนั่นจะช่วยกระตุ้นบรรยากาศของธุรกิจประเภทส่งออกด้วย เนื่องจากการพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนเงินมากๆ จะส่งผลให้ค่าเงินสกุลนั้นอ่อนค่าลง เมื่อคนเห็นโอกาสว่าเงินมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ก็จะพยายามเน้นการส่งออกมากขึ้น การจ้างงาน ธุรกิจก็มีโอกาสฟื้นตัวตามไปด้วย ส่วนผู้นำเข้าก็มักจะรู้อยู่แล้วว่า การใช้นโยบายนี้เงินจะอ่อนค่าลง พวกเขาอาจได้รับผลกระทบ แต่โดยส่วนใหญ่ก็มักมีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินกันอยู่แล้ว เพราะเป็นนโยบายที่เป็นสาธารณะ ดังนั้นการเคลื่อนไหวค่าเงินมักจะอ่อนค่าลงเป็นทางเดียว ผู้ประกอบการนำเข้าจึงเป็นที่รู้กันและทำการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินอยู่แล้ว
ทางด้านประเทศไทยเชิงทฤษฎีให้เราทำ QE ก็ย่อมทำได้ครับ เพราะเป็นกลไกหนึ่งที่ธนาคารกลางทั่วโลกใครๆก็ทำได้ แต่ประเทศไทยทำคงไม่มีประโยชน์นัก เพราะเงินเฟ้อเราอยู่ในระดับสูงมาก การขยายตัวทางเศรษฐกิจยังคงอยู่ในระดับดีปานกลาง ซึ่งถ้าเราทำออกมา เงินเฟ้อพุ่งทะยาน คงไม่ส่งผลดีต่อการบริโภคภายในประเทศแน่ๆ
ส่วนประเทศอื่นๆที่ยังยอมรับการใช้ BitCoin ในการทำธุรกรรมบางประเภทเช่นซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าบางชนิดได้นั้นอาจเป็นผลในข้อที่ว่า ประเทศดังกล่าวมีข้อกำหนดเรื่องการเคลื่อนไหวของเงินทุนเสรี จึงไม่มีการเข้าไปควบคุมตลาดการเงินเหล่านี้มากนัก ส่วนประเทศไทยเรายังเป็นประเทศในอันดับต้นๆ ที่ยังมีการควบคุมเงินตราอย่างเข้มงวดมาโดยตลอด นับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งเป็นประเทศมา มีเพียงกฎข้อบังคับบางชนิดที่ถูกยกเลิกไป (น้อยมากๆ) และส่วนใหญ่ยังคงควบคุมเช่นนั้นมาโดยตลอด บางกฎพึ่งเริ่มผ่อนคลายระเบียบความเข้มงวดไปเมื่อไม่นาน เช่นการออกไปลงทุนนอกประเทศ หรือการลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศเป็นต้น แม้แต่เครื่องมือทางการเงินบางชนิด เช่นตราสารอนุพันธ์ของหุ้นต่างประเทศ ธปท. ยังคงมีระเบียบให้ใช้เพื่อการป้องกันความเสี่ยงเท่านั้น (ในขณะที่ปกติมันควรใช้เพื่อเก็งกำไรได้ด้วย) เพื่อสร้างความสมดุลของระบบการลงทุน
ดังนั้นเราจึงเห็นนักลงทุนไทย ถ้าจะลงทุนต่างประเทศมักไม่เปิดพอร์ทในไทย เพราะระเบียบที่ "เข้มงวดเกินไป" ทำให้การดำเนินงานและกิจกรรมการลงทุนเป็นไปอย่างไม่มีความสะดวกเลย แต่ในอนาคตช่วงเปิดเสรีอาเซียน ประเทศไทยคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบนี้กันอีกมาก เพราะความเป็นเสรีทางการเงินมันจะมาพร้อมกับการเปิดเสรีในด้านอื่นๆด้วย