ข่าวใหญ่ตามสื่อกระแสหลักในรอบ 1-2 วันที่ผ่านมาคือ แม่ช็อก! ลูกซื้อเพชรคุกกี้รัน เจอบิล2แสน! ซึ่งอธิบายแบบสั้นๆ คือลูกเล่นเกม Cookie Run แล้วกดซื้อไอเทมในเกมซึ่งหักเงินผ่าน Google Play Carrier Billing ของ AIS ทำให้ไม่รู้ตัวว่าโดนหักเงินจนกระทั่งเห็นบิล
กรณีแบบนี้เกิดได้กับเกมทุกประเภท (ไม่จำกัดเฉพาะ Cookie Run) และเครือข่ายโทรศัพท์ทุกรายที่รองรับ carrier billing (ไม่จำกัดเฉพาะ AIS) ในต่างประเทศเองเราก็เห็นข่าวลักษณะเดียวกันแต่เป็นการกดซื้อโดยหักผ่านบัตรเครดิตโดยไม่ทราบหรือบังเอิญอยู่บ่อยครั้ง
Ask Blognone ตอนนี้จึงอยากถามความเห็นของสมาชิกว่า ถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ควรวางมาตรการแก้ไขอย่างไรดีครับ
Comments
จำกัดยอดเงิน และต้องโทรไปยืนยันการซื้อนอกวงเงินเป็นครั้งๆ ไป
ปล.น่าจะมีซื้อฉลากกินแบ่งรัฐบาล online ผ่าน xxx store บ้างเนอะ
น่าจะทำเหมือนกับยอดเงินรายเดือนที่จำกัดวงเงินให้ใช้เงินได้เท่านี้ๆ ไม่น่าจะเปิดวงเงินแบบไม่จำกัด ซึงตอนนี้วงเงินผมก็อยู่แค่ไม่กี่พันเอง พอเงินเริ่มเกินวงเงิน ก็จะมีการแจ้งแล้วระงับการใช้วงเงินจนกว่าจะจ่ายคืน
ควรมีลิมิตในการซื้อ ซื้อที 2 แสนบาท นี่ก็ไม่ไหว
ผมสนใจประเด็นเรื่องฟ้องร้องหลังจากนี้มากกว่า?
1 ใส่ password ก่อนซื้อทุกครั้ง2 จำกัดวงเงินอันนี้ต้องให้ carrier ช่วยเหลือด้วย
ส่วนตัวผมไม่เคยใช้ carrier billing ครับ (ผูกบัตรเครดิตปกติ)แต่ถ้าการจ่ายวิธีนี้ต้องใช้ผ่าน play store/app store แสดงว่าน่าจะสามารถตั้งค่า password ที่ google account/apple id ที่ผูกอยู่กับเครื่องได้นะครับ?
เรื่องpassword คงแก้ไม่ได้ เพราะในข่าว ลูกเป็นคนสมัครเอง ตั้งpass เองไม่ใช่แอบเอาpassแม่ไปใช้
เรื่องจำกัดวงเงิน ถ้าทำได้จริงก็ดี แต่ในทางปฎิบัติอาจจะยาก เหมือนเรื่องเนทโรมมิ่ง ที่ทางเครือข่ายไม่มีทางรู้ จนกว่าผู้ให้บริการ(ในที่นี้คือNaver)จะส่งบิลเรียกเก็บมาอีกที เพราะการซื้อin-app purchase มันไม่ได้link กับระบบของคนอื่นโดยตรง (อย่างพวกบัตรเครดิต อย่างน้อยก็มีการlink ผ่านเจ้าของสื่อกลางเช่น VISA เพื่อเช็คสถานะของบัตรและยอดเงินคงเหลือว่าพอในการใช้งานไหม) ถ้าจะทำระบบให้เช็คได้แบบบัตรเครดิต ก็คงต้องลงทุนสูงน่าดู
ทางแก้ อาจต้องทำให้การสมัครยากขึ้น เช่นต้องโทรไปเปิดกับcall centerโดยต้องยืนยันตัวว่าเป็นเจ้าของเบอร์จริงๆ ไม่ใช่ลูกสวมรอยไปแอบสมัครเอง ถ้าแม่ไปสมัครเองแล้วลูกกดเพลิน ก็โทษใครไม่ได้แล้ว เพราะไม่ต่างจากการที่แม่ให้บัตรATMลูกพร้อมรหัส ให้ไปกดเงินเอง ลูกจะกดเงินสดไปซื้ออะไรมั่วตามใจชอบคงโทษคนขายไม่ได้แล้วล่ะครับ
:: DigiKin8 ::
มันก็ปิดเป็น default อยู่แล้วไม่ใช่เหรอครับ ใครจะใช้ก็ต้องไปสมัครเพิ่มเอาเอง (ในเว็บมั๊ง)
ขอบคุณครับที่ช่วยแก้ผมก็พึ่งอ่านเจอว่าต้องขอเปิด เพราะผมไม่เคยเปิด แต่เคยเห็น Option นี้ เลยคิดว่าสามารถใช้ได้เลยโดยไม่ต้องทำอะไร
:: DigiKin8 ::
เข้าใจว่าปิดเป็น default นะครับ แต่เปิดง่ายโคตร
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ส่งเอสเอมเอสเข้าเบอร์ที่เราเลือกได้ทุกครั้งที่มีการกดซื้อคอนเทนท์ก็พอละมั้ง
แม่จะได้โทรไปด่าไอ้ลูกเวรได้ทันที ฮ่าฮ่าฮ่าฮ่าฮ่า
น่าจะมีการกำหนดวงเงินที่สามารถใช้ซื้อได้โดย default เป็น วงเงินเดียวกับค่าโทร หากต้องการขยายวงเงินก็ทำได้
จริงๆทำแบบ K-Bank ก็ดีนะครับที่มีการเคลื่อนไหวยอดเงินในบัญชีก็ส่ง SMS เตือนเลย แต่อันนี้ต้องปรับให้เข้ากับ AIS billing แทน
AIS ก็คงจะช่วยเคลียร์กับ Naver ละ ไม่งั้นพลอยเสียชื่อไปด้วยน่าจะมีการขอ void ลับๆแล้วก็ขอแบน account ไปแบบเงียบๆ
งานนี้ไม่ใช้แค่ Naver AIS และคุณลูกค้านะ Google เองก็มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย อยากรู้ทางออกเหมือนกัน ผมว่า งานนี้ ไม่มีแค่นี้แน่ คงมีโผล่มาอีกเป็นร้อยราย แค่แต่ละคนยังไม่เห็นบิล ของลูกตัวเอง
ต้องมีการทำรหัสยืนยัน 3 ชั้น แล้วระบบนี้ต้องเปิดเป็นรายบุกคลไม่ควรเปิดแบบเหมายกแขงแบบนี้ใครอยากใช้ก็เปิดไม่ใช้เปิดให้ทุกคนใช้แล้วเหตุการณ์ครั้งนี้ทาง ais ต้องเป็นผู้รับผิดชอบเพราะระบบนี้ทาง. ais เป็นผู้เปิดโดยผู้ใช้บริการไม่ทราบ
เห็นๆ อยู่แล้วว่ามันเกิด bill shock กันได้บ่อยๆ ตั้งแต่ข่าวก่อนโน้นไปเปิดโรมมิ่งดาต้าที่เกาหลี ก็โดนเป็นแสน, โรงเรียนนึงเปิด 3G ให้ใช้เน็ตในโรงเรียนแล้วโดนค่าดาต้าส่วนเกินจากโปรมโมชั่นก็มีอีกเป็นแสน นี่มาอีกเป็นค่าสินค้าและบริการ
สำหรับผู้ปกครอง
- ควบคุมการใช้โทรศัพท์ของบุตรหลาน หากผู้ปกครองไม่ได้มีฐานะและมีความเข้าใจเรื่องการใช้งานสมาร์ทโฟนดีเท่าใดนัก ก็ควรมองทางเลือกเป็นฟีเจอร์โฟนให้เด็กใช้งานแทนก็ได้- ควรใช้ระบบเติมเงิน เพราะคุมค่าใช้จ่ายง่ายกว่า พลาดยังไงก็หมดเท่าที่เติมเงินไว้ (แต่ถ้าดันไปสมัครบริการให้ยืม นู่นนี่นั่นอีก ก็ไม่รู้ด้วยแล้ว)
- ศึกษาเรื่องการใช้งานอุปกรณ์, ระบบ เงื่อนไขการให้บริการต่างๆ (ซื้อรถมายังต้องรู้จักวิธีขับวิธีรักษา ซื้อโทรศัพท์มาก็ต้องศึกษาไว้บ้างเหมือนกัน)
สำหรับเด็กๆ- อย่าคิดว่ามันจะมี bug หรือ glitch ให้โกงอะไรได้ง่ายๆ ฟรีๆ โลกนี้มีหลุมพรางเต็มไปหมด ไม่เว้นแม้แต่เกมที่เอาไอเทมมาหลอกขาย หรือแม้แต่คลิปที่ "หลอกว่าโกงอะไรได้ฟรี"
สำหรับผู้ให้บริการ
- "ไม่จำกัดวงเงิน" มันควรถูกยกเลิกได้แล้ว ธนาคารจะปล่อยกู้ เขายังให้วงเงินจำกัดโดยดูจากเครดิตและของค้ำประกัน แล้วนี่ให้บริการมือถือรายเดือน เข้าทำนอง "ใช้ก่อน-จ่ายทีหลัง" ก็น่าจะรู้ว่าควรประเมินความเสียหายด้วย แบบเคสนี้เขาจะเอาตังค์ที่ไหนไปจ่ายยังไม่รู้เลย
- ส่งข้อความเตือน, โทรสอบถามกรณีพบยอดค่าใช้จ่ายมากเกินปกติ อยู่ในวิสัยที่น่าจะทำได้ (เห็นโฆษณาโชว์ CSR กับ CRM ออกทีวีมาหลายชุด กรุณาทำแบบจริงๆ จังๆ ดีกว่า)
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ข้อแรกก็ไม่ผ่านแล้วครับ ฟีเจอร์โฟนมันเล่น Cookie Run ไม่ได้นี่นา เด็กมันจะเอาน่ะ พ่อแม่ผิดเองที่ไปตามใจลูกเหมือนตามต่างจังหวัด ลูกขอมอไซค์พ่อแม่ก็ซื้อให้ทั้งๆ ที่รถเมล์จากบ้านไปโรงเรียนก็มี... แต่มันไม่เท่ห์
+1 เหมือนไปบังคับสิทธิ์กันครับ ทั้งที่เราก็ไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบโดยตรงด้วย คงไปห้ามไม่ได้
คงไม่มีการห้ามหรือบังคับจากฝ่ายใดหรอกครับ ผมแค่คิดว่าถ้าผู้ปกครองซื้อของดีให้ลูกใช้แล้วดูแลไม่ทั่วถึง รู้ไม่เท่าทันเทคโนโลยี ทางเลือกในการเลี้ยงลูกก็อาจให้ใช้งานของเท่าที่มีฟังก์ชันจำเป็นก็น่าจะดีนะ (อย่าสปอยล์เด็กให้มากนั่นเอง)
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
บังคับใส่ Password
จำกัดวงเงิน
มี sms เตือนทุกครั้งที่มี transaction
นึกออกประมาณนี้
เอาจากปัญหาเป็นหลักนะครับ ถ้าทำ carrier billing ไปแล้ว แต่เราอยากแก้ที่ปลายเหตุ
1.จำกัดวงเงิน อันนี้ทำได้แน่นอน
2.การส่ง sms เตือนการใช้จ่ายในบัตร ถ้าทุกธนาคารทำได้จะเยี่ยมมาก3.การล็อค ถ้าใครเคยใช้ของ Kasikorn จะมีการขอรหัสเพื่อยืนยันในการทำธุรกรรมนั้น ถือว่าค่อนข้างปลอดภัยพอสมควร
4.การดูแลบุตรหลานของท่าน เตือนเรื่องการเล่นเกม และการใช้งานให้ถูกต้อง
สิ่งที่ไม่เห็นด้วยคือการล็อคอะไรซ้ำซาก หรือถามอะไรมากไป เพราะเด๋วนี้โทรศัพท์ต้องการให้เราสามารถทำอะไรได้สะดวกและรวดเร็ว ไม่งั้นโทรศัพท์จะมี app นั่นนี่มาทำไม
จากที่ใช้ระบบต่างๆ มาผมว่าไม่มีปัญหานะกับการต้องคอยกรอกพาสเวิร์ดอะไรบ่อยๆ ถ้ามันจำเป็น(จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ใช้ OSX iOS) ตอนแรกก็รำคาญแต่พอใช้นานๆ ก็ถือว่าโอเคเพราะมันป้องกันเราจากการทำอะไรที่เสี่ยงต่อความเสียหายได้ดี
ตามข่าว เด็กเป็นคนกดสมัครเอง password อะไรก็คงตั้งเองด้วย จะตั้งกี่ชั้นก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าผู้ปกครองปล่อยให้ลูกทำเองหมดครับ
จริงๆผิดตั้งแต่เอามือถือจดทะเบียนให้ลูกใช้แล้ว เพราะถ้าอ้างอิงตามพรบ.คอมฯและคดีอากง มือถือนับเป็นของสำคัญที่ต้องดูแลด้วยตัวเอง จะอ้างว่าวางทิ้งไว้แล้วคนอื่นเอาไปใช้ทำความผิดไม่ได้ :X
ผมคิดถึงในกรณีที่เตือนว่ากำลังจะทำอะไรอยู่ครับ เหมือนกับว่าเด้งมาบอกว่ากำลังจะเสียเงินซื้ออันนี้ๆ หรือเปลี่ยนค่าเครื่องแบบนี้ๆ นะ คืออย่างน้อยมันจะได้เตือนสติตัวเองและไม่ทำให้เผลอทำอะไรไปโดยไม่ตั้งใจด้วย เรื่องที่ว่าเด็กจะตั้งพาสเวิร์ดอะไรนั้นมันดูเหมือนอยู่นอกการควบคุม จะเอาให้ใครไปใช้หรือให้สิทธิ์ขนาดไหน ตรงนี้ก็คงต้องดูแลกันเอง แต่การแก้ปัญหาพื้นฐานที่ควรจะทำมากที่สุดก็คือการกำหนดวงเงินมาเป็นค่าเริ่มต้นเวลาเปิดบริการอะไรทุกอย่างนะครับตามความเห็นของผม
อย่างน้อยเวลามีการหักเงินนอกช่องทางปกติ (เน็ต,โทร,ข้อความ) ก็น่าจะมีส่งมาบอกด้วยว่ามีการเรียกเก็บ - -
ผมยังไม่ได้ลองใช้วิธีนี้ แต่คิดว่าน่าจะส่งemail แจ้งนะครับ
ต้องจำกัดวงเงินครับ แล้วถ้าเกินวงเงินก็ระงับการใช้งานการใช้งานชั่วคราวไปเลย จะยกเลิกการระงับได้ต้องบังคับโทรไปแจ้ง call center วิธีนี้จะคล้ายๆกับที่ Broker หุ้นหลายๆ เจ้าระงับการใช้งานชั่วคราวเวลาบัญชีหุ้นไม่มีการเคลื่อนไหว ผมว่าวิธีนี้น่าจะได้ผลในระดับนึง เพราะเพิ่มความลำบากให้เด็กที่ไม่รู้เรื่อง ต้องให้ผู้ปกครองทำเรื่องให้ ผู้ปกครองก็จะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ถ้าจะห้ามเด็กก็ห้ามได้ตอนนี้แหละ
ผมยืนยันว่ากรณีแบบนี้คือลูกค้า (พ่อแม่) ถูกละเมิดนะครับ
คำว่า "ทำไม่ได้" ของค่ายมือถือที่บอกว่าค่านั่นค่านี่ไม่สามารถรวมในวงเงินได้คือ คำโกหกหาเรื่องขยายวงเงินให้ลูกค้าแบบเนียนๆ โดยไม่รู้ตัว แบบเดียวกับที่ชอบอยู่ดีๆ ขยายวงเงินให้ลูกค้าโดยลูกค้าไม่ได้ร้องขอแล้วส่ง SMS ไปให้ลูกค้าเอง ลำบากลูกค้าต้องมาลดวงเงินเอง
สำหรับพ่อแม่และการแก้ไขในตอนนี้ ผมแนะนำให้ พ่อแม่ซื้อซิมเติมเงินให้ลูกใช้เท่านั้นโดยเติมเงินเป็นระยะ
lewcpe.com , @wasonliw
ผมเห็นด้วยครับ. ผมคิดว่าหน่วยงานรัฐ ควรจะมากำกับดูแลด้วย จริงๆ ผมว่า Bill shock มันก็คล้ายๆ กับ Data Roaming ที่เป็นปัญหามาก่อนหน้า
Warun.in.th
+1 เรื่องเติมเงินครับ เพราะสุดท้ายแล้ว เมื่อใช้รายเดือนแล้วควบคุมยอดไม่ได้ ก็ต้องใช้เติมเงินสถานเดียวครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
เห็นด้วยกับการใช้ซิมเติมเงินครับ สำหรับผู้ใช้ทั่วไป อันนี้ปลอดภัยที่สุด ถ้าต้องใช้รายเดือนจริงๆคงต้องใช้วิทยายุทธตั้ง parental ต่างๆนาๆกันเอง
ส่วนฝั่งผู้ให้บริการ ผมว่าสามารถเช็คและป้องกันได้ทุกเจ้า อยู่ที่ว่าจะทำมั้ย
สุดท้ายแล้ว ผมมองว่ามันเป็นเหมือนมิจฉาชีพที่หลอกให้โอนเงินทาง ATM ดังนั้นการป้องกันควรเริ่มที่ผู้ใช้ และผู้ให้บริการควรกำหนด limit ให้เหมาะสม (ซึ่งเอาจริงๆก็ไม่พ้นหรอก ถ้าโดนหลอก)
ในมุมมองผม รายเดือนแล้วตั้งเพดานค่าบริการแล้วความปลอดภัยต้องไม่ต่างจากบริการเติมเงินครับ (เพราะเขาตั้งไปแล้วว่าจะให้ลูกจ่ายได้เท่าใด) การที่ผู้ให้บริการไปบอกว่าบริการไหนไม่รวมในวงเงินเป็นความผิดของผู้ให้บริการ ไม่ใช่ความผิดของลูกค้า (พ่อแม่) เขาจะเลือกซื้อบัตรเติมเงินเดือนละพัน หรือจะสมัครรายเดือนวงเงินหนึ่งพัน มันต้องไม่ต่างกัน ต่างกันเพียงจ่ายก่อนหรือจ่ายหลังใช้บริการเท่านั้น
แต่ที่ผมแนะนำให้ใช้ซิมเติมเงินเพราะผู้ให้บริการมีแนวโน้มจะ "ละเมิด" ลูกค้ารายเดือนสูงกว่ามาก ด้วยการไม่รวมค่าบริการประเภทต่างๆ สารพัดเข้าไว้ในวงเงิน ทั้งบริการแบบเติมเงินสามารถให้บริการได้ และจำกัดค่าใช้จ่ายตามเงินที่ลูกค้าเติมได้ มีข้อจำกัดบ้างก็เพียงแต่ต้องให้ลูกค้าเติมเงินเผื่อๆ โดยบอกลูกค้าล่วงหน้าเท่านั้น แสดงว่าไม่ใช่ข้อจำกัดทางเทคนิคใดๆ ผู้ให้บริการเลือกจะไม่ทำเอง (และยอมทำเมื่อเกิดเรื่อง)
lewcpe.com , @wasonliw
ตอนอยู่ไทยจำได้ว่าแบบเติมเงินจะไม่มีแพลนที่ใช้อินเทอร์เน็ตได้ในราคาถูกเลย
รายเดือนก็มีแบบ 50MB, 300MB, 500MB,1GB, 2GBราคาก็เรียงกันไป 350,500,700,800
อะไรทำนองนี้
แต่แบบเติมเงินนี่มีแต่ต้องซื้อเป็นรอบๆ 10 MB /200, 50MB/350
อะไรทำนองนี้แหละครับ ตอนนั้นก็รู้สึกหงุดหงิดเหมือนกันว่าถูกบังคับให้สมัครแบบรายเดือน
ไม่น่าจะเห็นยอดทันทีนะครับ เพราะมันต้องส่งจาก AIS ----> Google -----> Naver พอ Naver ทำรายการเสร็จก็ยังต้องส่งยืนยันย้อนกลับมาทางเดิม ยังไงก็มี Gap Time ช่วงนี้แน่ๆหนึ่งจุด
จุดที่สองคือ Play store มีนโยบายให้คืนเงินได้ภายใน.....ผมจำไม่ได้ 15 นาทีรึเปล่า? ดังนั้นกว่าจะตัดยอดจริงๆก็น่าจะต้องเผื่อเวลาตรงนี้ด้วย
ในกรณีที่ยอดยังไม่ถูกคิด โดยระบบปกติน่าจะยังไม่เกิด CDR นะครับ
แต่เห็นด้วยว่า AIS ควรจำกัดวงเงินบริการตั้งแต่แรก
บริษัทบัตรเครดิตยังทราบได้เกือบจะทันที ไม่น่าจะต่างกันมากนี่ครับ
ที่สงสัยยิ่งกว่าคือ ถ้าผมใช้ซิมเติมเงินแต่เงินไม่พอ ระบบจะยอมให้ซื้อเพชรได้รึเปล่าครับ?
ระบบบัตรเครดิตใหญ่และต้นทุนสูงครับ ค่าใช้จ่ายก็สูงเช่นกัน 2.5-3% จากยอดใช้จ่าย(แต่เขาไปคิดที่ร้านขาย ซึ่งเขาก็บวกในราคาขายของแล้วนั่นแหละ) ถ้าคิดค่าบริการเท่าๆกันก็ต้องจ่ายแพงเพิ่มขึ้นอีก?
ส่วนเติมเงินเช็คยอดเงินก่อนทุกครั้งโดยระบบ IN แต่เป็นการเช็คแค่ภายในเครือข่ายเดียวกัน เพียงแต่จะไปทำให้เชื่อมกับระบบจากภายนอก อันนี้ยากและมีต้นทุนแน่นอน
ในกรณีเติมเงิน น่าจะมีการตรวจสอบยอดเงินคงเหลือก่อนแน่นอนครับ จะเห็นได้ว่าปัจจุบัน AISกยังไม่ปิดการใช้งานจากฝั่งเติมเงินเลย
แต่กรณีรายเดือนที่ไม่มียอดคงเหลือ(มีแต่เพดานเครดิต ซึ่งกรณีนี้ดันไม่มีอีก)ระบบไม่จำเป็นต้องตรวจสอบยอดคงเหลือก่อนส่งตัดเงิน ก็ส่งยิกๆแน่นอนละครับ
15 นาทีนั้นเฉพาะซื้อแอพมั้งครับ ไม่รวม in-app purchase
^
^
that's just my two cents.
ตัวระบบไม่น่าจะมีทางรู้เลยครับว่ามาจากซื้อแอพ หรือ in-app purchase เพราะเรากดผ่าน Play store
นอกจากตัว play store จะส่งอะไรมาบอกว่าเป็นการตัดเงินคนละแบบ(ซึ่งไม่น่ามี) ดังนั้นถ้าต้องทำแบบเดียว ยังไงก็ต้องเผื่อเวลานานสุดของการขอคืนเงินแน่ๆ ผมว่างั้นนะ
ให้คุณแม่เปลี่ยนมือถือมาใช้ iOS แทนครับ อิอิ
ล้อเล่นขำๆ น้าา >//<
เป็นทางออกที่ไม่ตอบคำถาม
แต่ได้ผล 100%
@TonsTweetings
ทำไมถึงได้ผลเหรอคับ?
รู้สึก iOS จะไม่มี Carrier Billing
และต่อไปยังจะมี Family Sharing มาให้ใช้ด้วย
เดี๋ยวก่อนนะ ประเด็นนี้ไม่มีใครพูดถึงเหรอ?
ตกลง Carrier Billing มันตัดเงิน online (ซื้อปั๊บตัดปุ๊บ) หรือเป็น Batch (Naver ส่งยอดมา Charge Carrierทุกๆ 2-3 วัน)กรณีแรก ถ้าตัด online อันนี้เป็นหน้าที่ Carrier ที่ต้องจำกัดวงเงินเอาเอง ซึ่งตรงนี้เป็นการรักษาผลประโยชน์ของ carrier อยู่แล้ว เพราะรู้ทั้งรู้ คดีแบบนี้ สุดท้ายมันจะจบลงที่การปรับลดหนี้ ในบางกรณีเช่น การ roaming มันมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น (ระหว่างผู้ให้บริการ) แต่คุณเก็บกับลูกค้าไม่ได้ (โวยวาย ทำให้เสียชื่อ เลยต้องยอมเก็บในยอดที่ต่ำลง) ตรงนี้คุณก้โดนเต็มๆ
กรณีที่ 2 ถ้าส่งแบบเป็น batch ตรงนี้ทำได้ 2 อย่าง
1. Naver ต้องทำการจำกัดวงเงิน
2. Carrier ทำการจำกัดวงเงิน โดยส่ง batch กลับไปหา Naver ว่าลูกค้ารายนี้ใช้เกินวงเงินแล้ว กรณีนี้อาจจะแก้ไม่ได้ 100% แต่ก็จำกัดความเสียหายได้บ้าง (ยกเว้นว่ายอดเงินแสนนั่นคือ ซื้อไปใน 1 วัน)
มันอาจมีกรณีที่เงินไม่สูงขณะนี้ และบังเอิญผู้ใช้จ่ายได้ (อาจเจอลูกคนรวย) ซึ่งก็น่าจะคุ้มค่ากับผู้ให้บริการ ดังนั้น ข้อนี้ผมคิดว่าทาง Naver/Carrier คงไม่ยอมทำ และปัญหานี้มันเอียงความผิดไปทางผู้ใช้ ทางผู้ให้บริการไม่ได้เสียชื่อเสียงไปทั้งหมด
แนวทางแบบอยากได้ต้องทำเอง คือบังคับผู้ให้บริการไม่ได้ ก็ให้ลูกหลานใช้ซิมเติมเงินเอา
ผู้ให้บริการ ทำหนังสือถึงผู้ใช้บริการและผู้ใช้บริการเซ็นต์รับทราบว่ามี Carrier Billing แล้วหรือยัง?
กรณีนี้ถ้า AIS ไม่จัดการอะไรซักอย่างจะต้องเสียชื่อมากแน่ๆครับ
เพราะ คำ โฆษณาของ AIS คือจ่ายแบบนี้ปลอดภัย น่าจะหมายถึงปลอดภัยกว่าบัตรเครดิต ที่อาจจะโดนขโมย?ปลอดภัยตรงไหน?? จะมีซักกี่คนมีวงเงินถึงแสน แถมเด็กทำเองก็ไม่ได้ถ้าเป็นบัตร
แถมขั้นตอนการแอดบัตรก็ยุ่งยากกว่าเยอะ โดนขโมยเบอร์บัตร ยังเสียไม่ถึงแสนเลยครับ สำหรับคนส่วนใหญ่
แบบนี้ใครใช้มือถือ AIS ทำเครื่องหาย หรือว่าวางทิ้งไว้ที่โต๊ะ
โดนใครแกล้งหรือแค้น กดๆ ไม่เยอะก็โดนเรียกเก็บเงินจากเกมได้แล้ว
เพราะใครๆก็กดใช้บริการได้
ง่ายสุดคือตั้งพาสการซื้อหรือ/และ เลิกใช้ AIS
ถึงคราวที่ประเทศไทยต้องใส่ใจรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เหมือนต่างชาติแล้วมั๊งเนี่ย เพราะต่อไป ธุรกิจใช้ก่อนจ่ายทีหลังน่าจะมาเรื่อยๆ อีกอย่างน่าเห็นใจนะครับเป็นครอบครัวชาวนาซะด้วยคงหาทางจ่ายเงินลำบาก อีกอย่างบางเงื่อนไขของผู้ประกอบการมือถือยังไม่ละเอียดมากครับ เช่น unlimited => 199 พอซื้อมาใช้จริง ใช้ได้แค่ 30 นาที T-Tผมว่าวิธีป้องกัน ผู้ประกอบการณ์มือถือควรจะมีเอกสารให้ยืนยันก่อนว่าจะเปิดใช้งานส่วนไหนบ้างทำเป็น check list ไปเลยเหมือนเมนูอาหาร ว่าจะเปิดใช้ส่วนไหนบ้าง ให้ลูกค้าได้มีโอกาสอ่านรายละเอียดเพิ่มขึ้นครับ (แต่ก็น่ะส่วนมากก็จะถูกลัดขั้นตอน.. "เซ็นตรงนี้ตรงนั้นก็ใช้งานแล้วแล้วค่ะ" ไม่ทันได้อ่านรายละเอียดกันมากหรอก
จำกัดวงเงินของของทุกบริการให้ไม่เกินยอดรายเดือนที่จ่ายไป นอกเหนือจากนั้น ให้ทำเรื่องขอเป็นรายๆ ไป ห้ามไม่ให้เครือยข่ายเพิ่มวงเงินให้ลูกค้าโดยอัตโนมัติ ถ้าจะขยายต้องจำกัดว่าเป็นกี่เท่า ไม่ใช้ปล่อยไม่จำกัดแบบนี้
ตามไปอ่านในลิงค์ที่ให้ ผมมองว่ามันเป็นกรณีที่น่าศึกษานะครับ
ประเด็นคือเปิดรายเดือนให้ลูกใช้โดยใช้ชื่อตัวเอง - -* ผมว่าเป็นวิธีที่ไม่ค่อยดีเท่าไร จำกัดรายจ่ายไม่ได้ เป็นผมคงใช้แบบเติมเงิน แล้วใส่ไว้ 300 บ. 30 วัน เดือนหน้าว่ากันใหม่ แต่ตามข่าวคือแม่เค้าไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้เลย
ประเด้นต่อมาคือเด็กอยากโกงเพชรในเกม เลยเปิดยูทูปดูแล้วทำตาม(น่าจะหลอก แต่จริงๆเป็นการเปิด Carrier Billing ใครมีลิงค์เอามาดูหน่อยนะครับ)
งานนี้จะไปโทษผู้ให้บริการฝ่ายเดียวก็ไม่ได้ ตัวเด็กก็ผิดด้วยส่วนนึง
แต่ผู้ให้บริการไม่ผิดเลยก็ไม่ใช่ การจำกัดวงเงินก็เป็นเรื่องสำคัญที่บริษัทควรทำ เหมือนโรมม่งต่างประเทศแหละครับ ถึงจะไม่ทันที แต่ก็มีวงว่าในวันนั้นๆหรือ 3 - 7 วันก็ว่ากันไป ไม่ใช่ปล่อยเลยตามเลย
เด็กปกปิดความจริงมากกว่า รู้ว่าซื้อของต้องเสียเงินแต่อ้างว่าเปิดyoutubeว่าฟรี เวลากดจะเอาไอเท็มมันต้องมีราคาบอกอยู่แล้ว เด็กอายุขนาดนี้เขาก็รู้แล้วว่าต้องเสียเงิน แต่กลัวแม่ด่าเลยโกหก ที่จริง ผู้ปกครองเองก็ควรจัะศึกษารายละเอียดด้วย
ผมทดลองซื้อเพชรดูบน android เออมันง่ายจังเลย พอจิ้มปุ๊บมันขึ้นให้เลือกเลยว่า จะใช้บัตรเครดิต หรือ AIS 3G Billing จากก็ Next ไปเรื่อยๆใส่ที่อยู่เก็บเงินแล้วก็สุดท้ายรอว่าจะ Cancel หรือ Acceptทางป้องกันก็ไปตั้งค่า Require password for Purchase ให้เป็น For all purchase ซึ่งปกติมันจะตั้งไว้ที่ Never (เป็น Default) ถามว่าใครจะเข้ามาตั้ง ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ใช่ประเภท Expert ตอนซื้อเครื่องที่แต่ละค่ายทำโปรโมชันประเภทจ่ายถูกแต่ละเดือน ก็ไม่มีพนักงานมาคอยแนะนำให้ตั้งค่าพวกนี้ให้เลยด้วยซ้ำ
ไม่รู้ว่าบน Apple จะเป็นเหมือนกันหรือปล่าว เห็น Apple โดนฟ้องเรื่อง In-App Purchase เรื่องนี้อยู่เหมือนกัน
ถ้าลูกเป็นคนตั้งpassword เองแต่แรก จะป้องกันอะไรได้?
ผมเตือนน้องชายผมให้ตังพาสด้วย เพราะลูกเล่น Tablet ตอนแรกไม่ได้ตั้ง
ตอนหลังโดนไปสองครั้ง ครั้งละ 100
ทีนี้มีกี่เครื่องตั้งหมดเลย
อาจไม่ใช่วิธีแก้ของคำถาม แต่ได้ผล คือ ลงทุนซื้อ Tablet Wifi ให้ลูกใช้ครับ เป็นการจำกัดการใช้งานของลูกด้วย จะเติมเงินเกมให้ลูกก็ใช้จาก Line Store เอาครับ จำกัดวงเงินง่าย จ่ายก่อนเติมแถมได้โบนัสด้วย
ถ้าต่างจังหวัดอาจจะไม่มีเนตบ้านนะครับ...
OTP
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ควรจะตั้งรหัสผ่านไว้ สำหรับจ่ายเงินคล้ายๆ กับการใช้งานบัตร ATM
มีการตั้งวงเงินจำกัดในการใช้งานบริการ
มี SMS เตือนทุกครั้งก่อนการจ่ายเงิน ว่าจะต้องเสียค่าบริการนะ ถ้ากด
ผู้ให้บริการต้องกำหนดวงเงินที่สามารถใช้งานได้จะดีกว่าครับ ถือว่าป้องกันปลายเหตุไว้ก่อน
อาจจะเริ่มต้นที่จำนวนน้อยๆก่อน ถ้าหากมันเกินที่กำหนด ผู้ใช้ต้องดำเนินการขอเพิ่มเอง โดยถือว่าการดำเนินการถือว่ายินยอมที่่จะรับในสิ่งที่เกิดขึ้นครับ
ถ้าหากกำหนดแล้ว ผู้ใช้งานขอแล้ว แล้วเกิดเหตุการณ์นี้ ผมว่าผู้ใหญ่บริการถือว่ารอดตัวไปครับ แล้วก็หาทางเยียวยาเอาอีกที
อ่านๆ จาก Comment ทางที่น่าจะแก้ปัญหาได้ดีคือ ถ้าต้องการใช้ Carrier Billing ต้องไปเปิดใช้บริการที่ศูนย์บริการเอง และยอมรับเงื่อนไขต่างๆ
แต่จำกัดวงเงินได้ ท่าทางจะง่ายกว่า
ทางแก้ผมแบ่งเป็น 3-4 ส่วนนะครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
จำกัดยอดเงินสัก 1 แสนพอ //ผิด
เอามือตบบ่าเบาๆ แล้วยื่น Windows Phone ให้ใช้ซะ
แล้วก็พบว่า มันไม่มี Cookie Run...
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ทำไมขำแบบน้ำตาไหลครับ
วางมือบนบ่าน้ำตาก็ไหลเลยนะครับ แหม่
ขอตั้งข้อสังเกตหน่อย คือ แทบจะไม่มีใครพูดถึง Google ในเรื่องนี้เลย ว่าควรจะมีมาตรการป้องกันหรือจัดการอย่างไร เพราะเงินมันไม่ได้ไหลจาก AIS ไป Naver โดยตรง แต่มันผ่าน broker อย่าง Google ซึ่งก็ได้รับส่วนแบ่งไปเหมือนกัน
เจ้าของ store อย่าง Google/Apple อาจจะต้องมี policy ลิมิต in-app ต่อแอปต่อแอดเคาท์ไหม หรือมีจำกัดการใช้เงิน เช่นใน paypal ที่สมัครแล้วจะใช้ได้แค่ $10 แล้วลิมิตจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อมีการ verify จากบิลอะไรทำนองนี้ไหม
คือที่ผมมองถึงเจ้าของ store เพราะเค้าน่าจะบริหารจัดการง่ายกว่า และจริงๆ แล้ว มันก็มีกรณีแบบนี้มาอยู่เรื่อยๆ ทาง Google/Apple ก็น่าจะมี policy ที่ชัดเจนและแก้ปัญหานี้ได้ทีเดียวทั้งระบบ
iPAtS
PayPal ถ้าใช้เกินวงเงินในธนาคารมันยังระงับการจ่ายได้ ไม่มีปัญหา แต่กรณีนี้เป็นเรื่องของ API ทั้งสามฝ่ายที่จะต้องคุยกันครับ จะปล่อยเงินไหลแบบไร้ลิมิตเหมือนเมื่อก่อนไม่ได้ละ
การที่ใช้เกินวงเงินแล้วระงับการจ่าย (ขา AIS) อันนี้ก็เรื่องนึงครับ หลายคนพูดถึงไปแล้ว
แต่ที่ผมพูดถึง และยังไม่มีคนพูดถึงคือขาตัวกลาง (Google/Apple) ที่ควรจะมีลิมิตด้วยไหม ตัว Google Wallet ผมไม่แน่ใจว่าสามารถเพิ่มช่องทางการจ่ายเงินมากกว่า 1 ช่องได้ไหม ถ้าเพิ่มได้แบบ paypal วิธีแรกไม่ผ่าน มันก็จะให้เราใช้วิธีต่อไปได้เรื่อยๆ ถ้าตัวกลางไม่ลิมิต มันก็ไหลไปเรื่อยๆ อยู่ดีครับ
แล้วในกรณีต่างประเทศก็มี กรณีที่ใช้บัตรเครดิต แล้วบัตรก็ยังไม่เต็มวงเงิน มันก็ตัดเงินได้ไปเรื่อยๆ ซึ่งถ้าบัตรเครดิตวงเงินสามแสน โดนตัดไปสองแสนก็ช็อคแล้ว ไม่ต้องรอวงเงินเต็มจนธนาคารปฏิเสธทรานแซกชั่น เพราะงั้นผมถึงคิดว่า การลิมิตที่ตัวกลางก็จำเป็นครับ ให้กำหนดไปเลย สโตร์นี้ซื้อของได้เดือนละหมื่นสองหมื่นก็ว่ากันไป อยากซื้อมากกว่านั้นต้องส่ง ID ไปยืนยัน ก็จะได้เดือนละแสน จะมากกว่านั้น ต้องเซ็น agreement ส่งเป็นลักลักษณ์อักษรอะไรงี้ก็ว่าไป
iPAtS
อย่าให้เด็กใช้รายเดือน กับ เชื่อมบัตรเครดิตครับ -..- วิธีนี้ป้องกันได้ดีที่สุด เว้นแต่เด็กไปเอาบัตรมาใส่เอง
นี่ไม่มีการยุ่งกับบัตรเครดิตเลยนะครับ
ความคิดเห็นส่วนตัวก็คงแบบ...
น่าจะแก้ไขได้ระดับนึงนะ
alert แจ้งหรือจำกัดวงเงินครับ เหมือนบัตรเครดิต ที่ถ้ารูดเยอะแล้วมีพนักงานโทรสอบถาม
ผมว่าทางแก้ง่ายสุดคือ ให้ลูกใช้แบบเติมเงิน ส่วนวิธีอื่นๆที่มันยุ่งยากกว่าการอ่านหนังสือสามสี่บรรทัดคงใช้ไม่ได้ผลหรอกมั้งครับ
มีรหัสผ่านก่อนการทำธุรกรรม ถ้าขี้เกียจก็ยอมเสียตังค่าขี้เกียจเถอะ
ปัญหาไม่ได้อยู่แค่ตัว operator/Google/LINE นะครับ ผมกลับมองว่ามันเป็นความผิดพลาดของผู้ใช้มากกว่า
อนึ่ง ถ้าจะแก้ที่ปลายเหตุกันจริงๆ ผมว่าทำ Banner ตัวแดงๆ ใหญ่ๆ เป็นภาษาท้องถิ่น (ในที่นี้ก็ภาษาไทย) ไว้ที่ตรง Checkout page ว่า "คุณกำลังจะจ่ายเงินจริง XXX บาท โดยยอดเงินนี้จะถูกตัดผ่านค่าโทรศัพท์" แล้วทำปุ่ม "ฉันไม่ต้องการจ่ายเงินจริงๆ" ใหญ่กว่าปุ่ม "ตกลง ฉันต้องการจ่ายเงิน" ก็ดีนะครับ
แต่ใน case นี้เห็นว่าน้องเค้าบอกว่าทำตาม YouTube ที่อ้างว่าไม่เสียเงิน เอาเข้าจริงมันไม่ควรมีวิธี bypass แบบนี้นะครับ เชื่อว่าน้องคงอ้างเรื่องขึ้นมา ดังนั้นผมเลยเชื่อว่าเรื่องนี้เป็นความผิดของทางน้องครับ
อ่อ เห็นข่าว AIS3G ปิด carrier billing ผมว่าแปลกๆ นะครับ ในเมื่อทำระบบมาให้อำนวยความสะดวก แต่มาเจอข่าวนี้ถึงต้องปิดระบบไปก่อน ค่อนข้างแปลกใจกับการแก้ปัญหาครับ ชั่วคราวก็เถอะ
Blog | Twitter
ปิดระบบไปก่อนถูกต้องแล้วครับ เพราะต้องเพิ่มเติมส่วนของการกำหนดเพดานขั้นสูง ถ้ายังเปิดต่อไปเป็นไปได้สูงที่จะมีรายที่ 2 3 4... เกิดตามมาติดๆ กดรัวๆ ไปเลย ยังไงก็ไม่ต้องจ่าย อาศัยช่วงชุลมุน 555
ในสถานการณ์ที่ควรจะเป็นจริงๆ การที่ user ต้องการจะกดเพื่อซื้อแอพซื้อเกม นั่นหมายถึง ณ ช่วงเวลานั้นเค้าต้องการจะทำธุรกรรมบางอย่าง ดังนั้นถ้าต้องแลกกับการเสียเวลาเพิ่มขึ้นอีกนิดหรือเพิ่มสเต็ปอะไรเข้าไปบางอย่าง user ก็น่าจะรับได้อยู่แล้ว
สอนลูกครับ
ผมว่านี่เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ต้นเหตุสุดๆครับ
เดี๋ยวนะครับ
ถ้าได้อ่านข่าวจะรู้ว่าแม่ของเด็กเป็นชาวนาครับ ... ไม่รู็ว่าใครจะสอนใครดี
จำกัดวงเงินมันคือวิธีกันปัญหา แก้ที่ลิงดีกว่าไหม
อยากแรกพอข่าวนี้ออก ผู้ใหญ่ก็คงเห็นความสำคัญข้อดีข้อเสียของ SmartPhone และ carrier billing มากขึ้น จำกัดโดยให้ลูกตัวเองใช้ระบบเติมเงิน และให้คำแนะนำลูกให้มากน่าจะดีกว่า ถ้าผู้ปกครองควบคุมไม่ได้ก็น่าจะใช้ระบบเติมเงินด้วยเช่นกัน ลูกเอาไปเล่นแต่ไม่รู้ว่าลูกทำอะไรแบบนี้ก็ไม่ไหว
ผมคิดว่าเป็นแบบนี้ให้มากๆ สักพักคนมันก็เห็นความสำคัญเองตอนนี้เหมือนลิงถือรีโมท เจออะไรจิ้มๆ ไว้ก่อน ไม่อ่านไม่แปล อย่าว่าแต่ลูกเลย ผู้ปกครองที่ใช้งานก็เช่นกันจิ้มไว้ก่อนคุณพ่อสอนไว้
การจำกัดวงเงินไม่ใช่ "วิธีกัน" ปัญหานะครับ การที่ผู้ให้บริการ "เปิดบริการใหม่" (เพิ่มเริ่มมาไม่กี่เดือน) แล้วบอกว่าไม่นับรวมในวงเงิน "คือปัญหา" โดยตัวมันเอง
พ่อแม่อยากซื้อโทรศัพท์ให้ลูกใช้ รับรู้ว่าลูกอาจจะนำมือถือไปใช้บริการที่เกิดค่าใช้จ่ายได้ก็จำกัดวงเงิน วันดีคืนดีค่ายมือถือเปิดบริการใหม่บอกว่าบริการนี้ไม่นับในวงเงิน จ่ายได้เรื่อยๆ ไม่มีอั้น ค่ายมือถือสามารถบอกเองได้เลยว่าอันนี้ไม่นับ จำกัดยังไงก็ไม่ได้ เราจะทวงหนี้
อนาคตค่ายมือถือจะบอกอีกไหมว่าจริงๆ แล้วแบบเติมเงินเราก็ปล่อยให้จ่ายเงินเกินได้ เราจะไปไล่สืบว่าลูกค้าเป็นใครและตามไปทวงหนี้ทีหลัง
ลูกค้าแจ้งความจำนงค์ไปแล้ว่าต้องการจำกัดค่าบริการ ผู้ให้บริการก็มีหน้าที่ทำตามที่ลูกค้าบอกครับ
lewcpe.com , @wasonliw
ผมมองว่าอันนี้เป็นวิธีควบคุมปัญหามากกว่าครับ แต่วิธีแก้จริงๆ ควรจะแก้ที่คนมากกว่าสมมติถ้ามือถือผูกติดกับบัตรเครดิตไว้ ลูกรู้พาสเวิร์ดแล้วพ่อให้นำมือถือไปเล่น โดยที่ไม่เฉลียวใจถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น ลูกกดรัวๆ ต้องแก้ที่บัตรเครดิตด้วยหรือเปล่า ตัวปัญหาจริงๆ ผมว่าอยู่ที่คนมากกว่า ผมไม่ได้หมายความว่าจำกัดวงเงินมันไม่ดี มันก็ต้องทำหลายอย่างพร้อมกันแหละ แต่ถ้าจะให้ตรงจุดจริงๆ ควรจะให้ความรู้ความเข้าใจทั้งพ่อแม่ที่ใช้งานและลูกด้วย
บัตรเครดิตมันมีวงเงินจำกัด ใช่ครับ แต่ปัญหาหลักจริงๆ คืออะไร ผมว่าไม่เกี่ยวกับเรื่องวงเงินนะ เกี่ยวกับความรู้ของคนมากกว่า
ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ "ลูกไปกดซื้อของในเกม" ไงครับ ข่าวที่เกิดขึ้นไม่ได้มีพ่อแม่มาร้องเรียนว่าลูกไปซื้อของในเกมโดยไม่รู้เรื่อง ปัญหาคือลูกซื้อไปนับแสน ทั้งที่พ่อแม่จำกัดวงเงินไปแล้ว
lewcpe.com , @wasonliw
งงครับ จากข่าวผมคิดว่ายังไม่มีการจำกัดวงเงิน และตัวคุณแม่ไม่รู้เรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้วยซ้ำ
ความเห็นส่วนตัว ถ้าไม่อยากได้อะไรฟรีๆ ปัญหาหลายอย่างมันก็จะไม่เกิด ผู้ใหญ่หลายท่านยังโดนเลย (ที่ออกข่าวเกี่ยวกับโกงการพนันแล้วโดนโกงไปหลายล้าน)
ใน เดลินิวส์ระบุว่ามีการจำกัดวงเงิน 1000 บาทนะครับ
lewcpe.com , @wasonliw
ต้องขอโทษด้วยครับ ผมอ่าน กสทช. เรียกผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเข้าพบด่วน เพื่อหารือเรื่องการควบคุมค่าใช้จ่าย นึกว่ายังไม่มีการจำกัดวงเงินของระบบนี้
อย่างนั้นไม่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการแต่เกิดจาก "ความผิดพลาดของระบบ"
นั่นคือปัญหาที่ผมชี้ไงครับ คือพ่อแม่เปิดเบอร์ เห็นวงเงินค่าเบอร์ที่เปิดให้ลูกมีวงเงินเท่าไหร่ วันดีคืนดีมีบริการใหม่ แล้วไม่มี "การจำกัดวงเงิน"
ผมจึงบอกว่าปัญหาอยู่ที่ตัวบริการเอง ซึ่งทาง AIS ปิดบริการกลับไปทำเพดานค่าบริการใหม่ ก็ถูกต้องแล้ว
lewcpe.com , @wasonliw
ส่งทนายไปบอกล้างโมฆียะกรรมครับ ><
A smooth sea never made a skillful sailor.
แล้วก็เอาของคืนไปให้หมด (จริง ๆ มันก็เป็นแค่ขยะดิจิตอลทั้งนั้น ไม่กระเทือนอะไรหรอก)
เรื่องแก้ปัญหาพูดกันเยอะแล้วและผมก็มีความเห็นตรงกับหลายท่าน
ส่วนตัวคิดว่าถ้าพ่อแม่พอจะจ่ายไหว (ไม่นับกรณีที่บ้านยากจนเหมือนที่เป็นข่าว) พ่อแม่น่าจะลองใช้โอกาสนี้สอนลูกไปด้วยเลย โดยพ่อแม่ก็ควักเงินจ่ายจริง ๆ ไปเลย แล้วไปเก็บเงินกับลูกคืน เดือนละร้อยสองร้อย ยิ่งโตก็ยิ่งหักเยอะ แล้วก็ให้ลูกจ่ายเงินคืนเรื่อย ๆ จนกว่าจะหมด ซึ่งกว่าจะหมดก็คงถึงช่วงที่ได้งานทำแล้วโน่นแหละ (สองแสนก็เงินเดือนรวม ๆ กันเกือบสองปี ก็คงต้องให้เขากินอยู่กับพ่อแม่ไปก่อนในช่วงนั้น)
ระหว่างนั้นก็เอาเงินส่วนที่ว่าเนี่ยไปฝากธนาคาร หรือเอาไปลงทุน อะไรก็ได้ให้มีผลตอบแทน
นอกจากนั้นก็ต้องเอาใจใส่สอนลูกเรื่องการใช้เงินให้ดี ให้เขารู้ถึงคุณค่าของเงิน ไม่ใช่เงินสุ่มสี่สุ่มห้า และใช้โอกาสโกงเงินคนอื่นเข้ากระเป๋าตัวเอง (อย่างกรณีนี้ที่ลูกพูดเองว่าไปดูยูทูปเห็นวิธีโกงเงินมาก็เลยมาลอง แต่คงลองสนุกไปหน่อย)
พอลูกจ่ายเงินงวดสุดท้ายหมดก็เอาเงินตรงนี้พร้อมผลตอบแทนมอบให้ลูกเป็นของขวัญสำหรับวาระอะไรสักอย่างก็ได้ เช่น เรียนจบ แต่งงาน มีลูก หรืออะไรก็ว่ากันไป
+1 ครับ วิธีนี้ดีสุด ๆ ได้สอนลูกไปในตัว พอลูกโตขึ้นก็จะเห็นคุณค่าของเงินเองว่า ที่เราจ่ายไปตอนเด็กมันมหาศาลขนาดไหน
A smooth sea never made a skillful sailor.
ความเห็นส่วนตัวของผมต่อวิธีของ mr_tawan นะครับ
บทเรียนสอนลูกที่กินเวลาราว 1/3 ถึง 2/5 ของชีวิตลูกกว่าจะถึงเวลาบรรลุบทเรียน เป็นบทเรียนที่ยาวนานเกินไปครับ
ณ จุดเห็นผลของบทเรียน ผลที่เห็นจะแก้ไข "นิสัย" ที่กลายเป็น "สันดาน" ของลูกที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้วได้ไม่ทันครับ
วิธีการที่ดี ต้องทันท่วงทีต่อเวลาด้วยครับ
ผมคิดว่าการสอนเนี่ยมันจบลงหลังจากที่เริ่มทำไม่นานครับ ส่วนที่เหลือเนี่ยเป็นแค่การเติมเต็มในหน้าที่ที่ต้องกระทำ คิดว่าแค่ปีสองปีก็ติดเป็นนิสัยแล้ว ไม่จำเป็นต้องรอถึงคืนเงินหมดหรอก (แต่ต้องคืนให้หมดนะ ถือว่าเป็นหนี้สินกับพ่อแม่)
ทั้งนี้ถ้าทำแค่ที่ผมบอกก็คงยังไม่ติดเป็นนิสัย ต้องมีการสอนอย่างอื่นประกอบด้วยครับ บทบาทของพ่อแม่สำคัญมากครับ
-1 ผมตกใจ+ทึ่ง+ปละหลาดใจกับความคิดแบบนี้มากๆ เลยครับ ด้วยความเคารพ ^^"
แต่อาจคงเป็นที่ระดับการพัฒนาทางความคิดของผม มันคงก้าวไปไม่ถึงจุดนั้นเองก็ได้ มันเป็นความคิดที่ก้าวล้ำนำโลกไปมากๆ เลย ผมยอมรับว่าเข้าไม่ถึงจริงๆ
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ผมทราบแต่เพียงว่า เคสในประเทศที่ว่ากันว่ามีความคิดหลากหลายก้าวหน้า และเหมือนจะมีระดับคุณธรรมสูงอย่างอเมริกัน พอมีเคสแบบนี้ พ่อแม่ยังหงายเงิบ เรียกร้องเอาเงินคืน และผู้ให้บริการก็ยอมจ่ายคืนให้โดยดีด้วยเลย เพราะเคสแบบนี้มันไม่ใช่กรณีปกติแน่นอน การซื้อขายของแบบนี้ด้วยมูลค่าเป็นแสนมันไม่ใช่เรื่องปกติและยอมรับได้แน่ เงินแสนไม่ว่าจะเป็นใครในโลกนี้มันก็ถือว่าเยอะมาก (หลักเงินที่สามารถซื้อทรัพย์สินระดับรถยนต์ได้) และไม่อาจยอมรับได้กับธุรกรรมแบบนี้แน่นอน ไม่ว่าใครหรือรวยแค่ไหน ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้ "จริง" เอาเข้าจริงโดนด้วยตัวเองก็ไม่มีใครยอมจ่ายแน่ ผมมั่นใจ ขนาดหน่วยงานของรัฐอย่าง กสทช. ยังบอกว่าไม่ต้องจ่ายและอย่ายอมรับหนี้นั้นเลย แสดงว่ามันเป็นกรณีผิดปกติจริงๆ
ขนาดเป็นข่าวใหญ่โตไปทั่วโลก ตอนกรณีของ apple app store ตอนนั้น ก็น่าจะยืนยันได้ว่ามันเป็นกรณีผิดปกติที่ไม่อาจจะยอมรับกันได้
ผมว่าโลกเราไม่สวย มนุษย์ "ทุกคน" ย่อมต้องปกป้องตนเองถือเป็นสันดานมนุษย์อยู่แล้ว (ส่วนการแสดงออกเพื่อสร้างภาพต่อสังคมจะออกมาเป็นแบบไหน นั่นอีกเรื่องหนึ่ง) เงินเหล่านี้มันจำนวนมาก และถ้าจะสอนลูกด้วยมูลค่าเงินเท่านี้ มันเป็นการลงทุนที่แพงเกินไป ไม่คุ้มค่า ไม่เป็นความคิดที่คนจะชมในความคิดนักถ้าจะมีใครทำจริง ต่อให้พ่อแม่ที่รวยในระดับร้อยล้าน ฐานะระดับนี้แสดงว่าลงทุนเป็น ใช้เงินเป็น เงินแสนก็มีความหมาย คงไม่มีใครยอมจ่ายจริงๆ กับเคสแบบนี้ เรียกร้องกับผู้ให้บริการ แล้วสอนลูกทางอื่นที่สร้างสรรค์และเป็นผลดีกับทุกฝ่ายน่าจะสมเหตุผลกว่า (และเป็นการสอนลูกให้อยู่กับโลกแห่งความเป็นจริงด้วย ถ้าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็ต้องรู้จักเรียกร้องเสียบ้าง สอนลูกเรื่องสิทธิผู้บริโภค และการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ดีมาก ถ้าเทียบกับการสอนแบบโลกสวยให้ลูก มันเสี่ยงเกินไปที่ลูกจะติดนิสัยจ่ายเงินง่ายโดยไม่คิด (เพราะพ่อแม่ก็เป็น) มากกว่าจะเห็นคุณค่าของเงิน
เอาจริงๆ ประเด็นนี้ที่พูดกันยืดยาว มันไม่มีอะไรเลยนอกจากเรื่องที่ว่า AIS ปล่อยให้คิดค่าบริการเกินวงเงินที่ตั้งไว้ได้ไง (คุณ lew ย้ำหลายครั้งมาก แต่ คห.ออกอ่าวไปเรื่องสั่งสอนลูกกันเป็นแถบๆ) ตั้งไว้ 1000 ก็ต้องไม่เกิน 1000 ลูกค้า "ต้อง" มีสิทธิ์จ่ายไม่เกินนี้ ตกลงกันไว้แล้วว่าวงเงินเท่านี้ ก็ต้องเท่านี้ ส่วนปัญหาหลังบ้านอะไรนั่นเป็นเรื่องของคุณ คุณต้องแก้ไขปัญหาให้ได้ ลูกค้าไม่ต้องรับรู้ ถ้าแก้ไขไม่ได้ก็อย่าเปิด หรือถ้าเปิดแล้วมีช่องโหว่ เมื่อเกิดเหตุผิดพลาดขึ้น ผู้ให้บริการต้องรับผิดชอบจากช่องโหว่นั้นเอง ลูกค้าไม่ต้องรับรู้อะไรนอกจากจ่ายค่าบริการไม่เกินวงเงินเท่านั้น แพงกว่าวงเงินอย่าจ่าย ต่อให้ฟ้องร้องกัน เคสแบบนี้ลูกค้าก็ชนะ เรื่องมันมีเท่านี้จริงๆ
ที่ผมอยากให้ทำ คือออกกฏไปเลย ว่าถ้าบิลลูกค้าออกมาเกินวงเงินที่กำหนด ลูกค้าไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ในส่วนที่เกินนั้น เพราะตกลงสัญญากันไว้แล้วว่าวงเงินแค่ไหนก็ต้องแค่นั้น ฟ้องไปก็แพ้ แบบนี้ผู้ให้บริการวิ่งแก้ไขระบบหลังบ้านกันตับแลบแน่ๆ อะไรที่เคยบอกว่าทำไม่ได้ เจอไม้แข็งแบบนี้ไปรับรองทำกันได้ทุกราย หึๆๆ
ผมว่าคนไทยหลายคนอ่อนเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคไปหน่อย สังคมไทยโดนกระทำจนเรียกร้องสิทธิ์กันไม่ค่อยเป็น ยอมก้มหัวให้กับผู้ให้บริการมาโดยตลอด หน้าบาง ไม่ค่อยอยากสู้ (เจอมาเยอะมากกกก) ผมอยากให้คนไทยหน้าด้านในเรื่องนี้มากขึ้นแบบพวกอเมริกัน เพราะถึงจะเยอะไปบ้าง แต่หลายๆ เคสมันก็ช่วยเปิดประเด็นจนพัฒนาไปสู่ความเป็นธรรมในสังคมและสิ่งที่ดีขึ้นได้ ผู้ให้บริการก็ไปสู่หนทางของการพัฒนา เช่นกรณีของ Mc ที่เราได้แก้วร้อนที่จับดีขึ้นพร้อมคำเตือน แม้มันจะมาจากการฟ้องที่ดูเหมือนงี่เง่าก็ตาม แต่กลับสร้างบรรทัดฐานใหม่ในสังคมได้อย่างไม่น่าเชื่อ
แต่อย่างว่า เรื่องนี้รัดับความคิดและคุณธรรมผมอาจจะต่ำไปและไม่ก้าวหน้าก็ได้ครับ ขอเคลมตัวเองไว้ตรงนี้เลย ^^"
อุดมคติเป็นสิ่งที่จะไม่เกิดขึ้นจริง แต่ถ้าคนเราไม่มีอุดมคติเป็นเป้าหมาย สุดท้ายแล้วการพัฒนาก็จะไม่เกิดครับ
นี่เป็นแนวความคิดของผมน่ะ
เขียนยาวจนเกือบจะไม่อ่าน...แต่ อ่านแล้ว ผมชอบวิธีคิดแบบนี้ครับ
ปัญหาอีกด้านหนึ่งคือผู้ให้บริการคอนเทนท์ ผมเห็นใจที่ทุกวันนี้ทำขึ้นมาถ้าไม่ฟรีก็ไม่มีคนโหลด โดยเฉพาะแคชวลเกมที่แทบจะฆ่ากันตายเพื่อหาเงิน ก็ต้องหาโมเดลหารายได้ ซึ่งการขายของประเภท virtual goods เองก็เป็นวิธีที่ได้รับความนิยม ก็เอาของในเกมนั่นแหละขายๆ ไป
แต่มองอีกแง่นึง สินค้าที่ขายเนี่ยมันราคาเท่าไหร่ ผมนึกไม่ออกจริง ๆ นะว่าสินค้ามันต้องราคาเท่าไหร่ถึงซื้อกันเป็นแสน ๆ แบบนี้ (คิดดูว่า สมมติสินค้าชิ้นละพัน ต้องซื้อเป็นร้อยชิ้นเลยนะกว่าจะเป็นแสน ชิ้นละพันนี่แพงกว่า DLC หรือเกมเต็ม ๆ เกมนึงอีกนะเนี่ย)
เห็นมีนักพัฒนาเกมออกมาบ่นแล้วว่าเคยโดน carrier บีบให้คืนเงิน น่าจะเป็นสมัยตั้งแต่ J2ME ที่ carrier มีอำนาจมาก (สมัยนี้แทบไม่มีอำนาจอะไรเท่าไหร่) ล่ะมั้ง
คนเล่นเองก็ต้องคิดดู ซื้อมาชิ้นนึง มันจะอยู่กับเรานานแค่ไหน ทุกวันนี้คนซื้อ ebook, music, movie และอื่น ๆ บนบริการออนไลน์กันมาก ไฟล์ก็ไม่ได้อยู่กับเรา ถ้าวันหนึ่งบริการปิดลงก็เท่ากับสูญหมด ยิ่งเกมยิ่งแล้วใหญ่ เกมเกมนึงมันจะดังอยู่สักกี่ปีกัน cookie run มันจะดังกี่ปี และถ้าตอนมันหมดยุคแล้วของที่อยู่ในเกมมันจะมีค่าอะไร ?
ถ้าจะจ่ายเงินซื้อ DLC ผมเห็นด้วยนะ แต่พวก goods พวก item ทั้งหลายนี่อย่าเลยดีกว่าไหม ?
พวกคุณแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
ของแบบนี้ง่ายนิดเดียว
สั่งสอนลูกให้ดีๆ รู้จักอดทน เกมพวกนี้ ถ้ารู้จักอดทน เทพได้ไม่แพ้เติมเงิน แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกมหากินกับความใจร้อน ด้อยประสบการณ์ ของเด็กน้อย และ ผู้ใหญ่ (บางท่าน)
ไม่ต้องไปโทษนั้น โทษนี่หรอกครับ
ในข่าวแม่เป็นชาวนา ผมว่าเค้าไม่รู็ด้วยซ้ำว่ามันมีการซื้อขายไอเท็มครับ
ตรรกะของคุณตลกดีนะครับ
แสดงว่ากฎหมายคือการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
สั่งสอนให้คนในประเทศเป็นคนดี แทนละกัน
ไม่ต้องไปโทษนั้น โทษนี่หรอกครับ
อ่านข่าวแล้วรู้สึกว่าหลายๆ คนนี่จ้องจะด่าผู้ปกครอง/ด่าเด็กกันอย่างเดียวเลยครับ
อยากให้จ้องด่าใครละครับ จะได้ตามใจได้ถูก
คือผมว่า ในเมื่อผู้ปกครองก็แจ้งทางเครือข่ายไว้แล้วว่า ขอจำกัดวงเงินไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน มันก็ควรจะเป็นแบบนั้นครับ
เด็กก็สมควรโดนระดับนึง ผู้ปกครองก็ควรโดนบ้างอีกเล็กน้อย
ครับ พวกนี้ผมอ่านเรียบร้อยแล้ว
ที่ผมสื่อคือ คุณเสกบอกว่าคนอื่นจ้องด่าเด็กกับแม่เด็กอย่างเดียว
เหมือนมันยังไม่ถูกใจในมุมมองคุณเสก (แต่คุณเสกไม่ยักบอกว่าต้องด่าใครเพิ่มเติมอีก) ซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนความเห็นในพันทิป ประเภทด่าก่อนแล้วแบกความหล่อเข้ากลีบเมฆ
เลยต้องถามต่อว่าต้องจ้องด่าใครด้วยตามมาตรฐานบล็อกนัน :)
ไม่ถึงขนาดกับว่าอยากให้ด่าใครหรอกครับ ผมมองว่ามันเป็นความผิด ความบกพร่องของทุกฝ่ายครับ
แม่ก็ตามใจลูก ลูกก็อยากโกงจนตัวสั่น ทั้งสองคนนี้ไม่ศึกษาเทคโนโลยี เอาเสพอย่างเดียวโดยไม่เข้าใจว่ามันก็มีข้อควรระวังต่างๆ นาๆ
ค่ายมือมือเองก็ตัวดี หลายๆ ครั้งที่ผมเจอข่าวแนวนี้ + คนใกล้ตัวก็เคยโดนกรณีที่ตั้ง credit limit ไว้แต่ค่ายไม่นำมาใช้จริงจนยอดใช้งานทะลุล้นทะลักจนแบบข่าวแบบที่เห็น แต่มันต่างกันนิดหน่อยที่คนใกล้ตัวผมโดนเป็นค่าโรมมิ่งที่ตั้งเครดิตไว้ที่ 3,000 แต่ทะลุไปแสนกว่าบาทครับ เจรจาแล้วเหลือ 50,000 บาท
ผมมองแบบคุณ lew ครับ คือในความรู้สึกของผมเนี่ย เราเป็นผู้ถูกละเมิดฯ โดยผู้ให้บริการอ่ะ แบบนี้ตีกินเนียนๆ สบายเลย
แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่ผมโพสต์ครั้งแรกผม G+ ตอนเห็นข่าวเลยก่อนข่าวนี้ประมาณ 1 วัน ( หลักฐาน ) ผมตำหนิที่ผู้ใช้นะ ไม่เรียนรู้เทคโนโลยี ไม่อ่านข้อความเตือน ถ้าเป็นบน Windows ก็แนว กดปุ่ม next รัวๆ ครับ
ผมมองว่าปัญหามันแก้แค่จุดใดใจนึงไม่ได้หรอก
ถ้าคุณมองแบบคุณลิ่ว อย่างน้อยก็ควรอธิบายแบบคุณลิ่ว
การที่คุณต้องมาตอบยาวๆ จนตัวคุณเองถึงกับบอกว่าไม่ไหวจะตอบ นั่นเป็นรูปแบบการโต้แย้งแรกเริ่มมันมีปัญหาครับ คือการไล่บอกคนอื่นว่าความคิดเห็นเขาผิด แต่ไม่บอกว่าผิดยังไง เน้นโชว์ว่ารู้กว่าแล้วจากไป
พบได้บ่อยตามกระทู้ดราม่าในพันทิป
ส่วนการยกลิงค์นอกกระทู้มาเพื่อแสดงว่าตัวเองเป็นธรรมเป็นกลางแล้ว สำหรับผมมันไม่ใช่ประเด็นครับ เป็นแค่ความพยายามหาความชอบธรรมใก้ตัวเอง แต่ไม่ตรงประเด็น
ผมชอบตอบยาวๆ น่ะครับ แบบที่ได้เล่าความคิดของตัวเอง
คือผมรู้สึกว่าเวลาใครที่ตอบยาวๆ แล้วไม่มีน้ำ แบบความเห็นของคุณ sunback ก็ค่อนข้างยาว cแต่ผมอ่านแล้วรู้สึกว่าคุณ sunback มีความตั้งใจที่จะคุยกันครับ
ส่วนตัวผมไม่ได้คิดจะกลางอะไรมาก แล้วผมก็ไม่ได้แสดงว่าผมเป็นกลางอะไรเลยนะ ผมแค่มองว่าปัญหา และความเห็นแนวๆ อคติแบบเทไปด้านใดด้านนึงมันแก้อะไรไม่ได้ครับ แล้วเวลาผมแสดงความเห็น ผมก็ต้องจำลองว่าถ้าเป็นตัวเองจะรู้สึกอย่างไร หรือคุณ sunback คิดว่ามันต้องอคติเท่านั้น ต้องด่าใครคนใดคนนึงแล้วปัญหาจะเรียบร้อยสมบูรณ์ครับ?
ผมไม่ค่อยเข้าใจนะ ว่าทำไมคนที่ตัวเองมีอคติหรือชอบใช้อคติ แล้วต้องคอยมา discredit คนที่แสดงความเห็นไม่เหมือนตัวเอง ว่าเสียเวลา โชว์แมน หล่อๆ อะไรแบบนี้ แบบพวกเสื้อแดง เสื้อเหลืองอะไรนั่นด้วย ชอบแซะว่ากลางกลวงบ้าง อะไรบ้าง
อันนี้ถามนิดนึง วันนี้ไปกินรังแตนอะไรมาหรือครับเห็นจ้องจะจับผิดผมทุกประเด็น ทุกมุม ทุกแง่ ทุกประโยคเลย
ปล. ผมตั้งใจพิมพ์เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นกับทุกท่านครับ แต่บางอย่างที่คิดว่าไม่น่าจะต้องอธิบายก็บอกไปว่าไม่อยากอธิบายเพราะน่าจะเข้าใจกัน มันเป็นประเด็นอะไรยังไงหรือครับ?
ปล 2. แล้วทำไมผมต้องทำแบบคุณ lew อ่ะ บางทีก็แค่อยากพิมพ์แสดงความเห็น แล้วก็ค่อนข้างตั้งใจเลยนะ ว่าไม่ไป reply ใครจะได้ไม่ต้องเป็นประเด็น ที่สำคัญคือผมไม่ใช่พวกสรุปประเด็น รวบคำเก่งๆ ด้วย
ปล 3. แก้เพิ่มอีกรอบ ไอ้แนวๆ โชว์ว่าข้ารู้กว่า ข้ารู้ว่าเอ็งเป็นแบบนั้น ข้ารู้ว่าเอ็งคิดแบบนี้นี่มันแบบที่คุณ sunback กำลังทำกับผมหรือเปล่าครับ ข้ารู้ว่าเอ็งอยากแสดงความเป็นกลาง ข้ารู้ว่าเอ็งอยากหล่อ ข้ารู้ว่าเอ็งอยากโชว์ภูมิ
ให้ผมช่วยอะไรได้บ้างครับ ดูแล้วผมทำอะไรก็ผิดหมดเลย แสดงความเห็นชอบ/ไม่ชอบก็ต้องให้ทำแบบคนนั้นคนนี้ ผมยังนึกอยู่นะ ว่าผมต้องถามกลับไหม ว่าจะให้ผมแสดงความเห็นยังไง อย่างไร จะได้ถูกใจคุณ sunback อ่ะครับ หรือไม่ก็ทิ้งเบอร์ไว้ก็ได้ ก่อนผมโพสต์ความเห็นอะไรจะได้โทรไปปรึกษาก่อนว่าแบบไหนจะถูกใจคุณ sunback
-*- งงอีกรอบ
อีกนิด ... เป็นอะไรกับพันทิปมากมั้ยครับ?
อ่านย่อหน้าสุดท้าย ปล.3 มันเป็นคำตอบของคำถามของคุณเสกเองถ้าคุณเสกเริ่มรู้สึกอย่างนั้น ก็จะมีคนรู้สึกอย่างนั้นกับความเห็นแรกของคุณเสกเมื่อเขาอาจมองคนละมุมกับคุณเสก ดูประโยคที่เขาตอบความเห็นคุณสิครับ ดุเด็ดดีมั้ย
ไม่ต้องเอาใจผมหรือใครๆ ครับ แต่เมื่อจะแสดงความเห็นแย้งใครในกระดานสาธารณะ ก็ต้องพร้อมรับสถานการณ์แบบนี้ การตัดพ้อเป็นเรื่องของคนจนประเด็น เลยงัดบทดราม่ามาแจมซะเลย
อ้อ ผมไม่ได้เจาะจงหรือจับผิดใครเป็นพิเศษ ผมตอบกับความเห็นที่ผมอยากตอบครับ บังเอิญวันนี้เป็นคุณเท่านั้น และโต้ตอบกับประเด็นต่างๆ ที่คุณยกมาก่อนเท่านั้น ไม่ได้ให้ความสัำคัญใครเป็นครับ
ส่วนรังแตนไม่ได้กินมาครับ ผมไม่ชอบกินสัตว์พวกแมลงแต่ถึงไม่กินแมลงผมก็เป็นแนวดราม่าแบบนี้ครับ และไม่ใช่พวกคนดีคนเก่งอะไร แค่ชอบการโต้เถียงครับ
เครจ้า แต่คห.นี้ดูแล้วอารมณ์เบาลงเยอะนะ อ่านแล้วไม่รู้สึกว่าคนเขียนกำลังหงุดหงิดอย่างหนัก
ปล. เดี๋ยวนี้ผมไม่ค่อยออกแนวบู๊แล้วครับ พยายามอธิบายๆ เอามากกว่า เพราะ founder เค้าบอกว่าต้องหัดที่จะไม่หงุดหงิดครับ
Sex Ranger ?
ไม่ดีมั้งครับ ผู้จัดการฝรั่งที่ทำงานก็ชอบเรียกว่า Sexysan (ผมชื่อเสกสรร)
ผมน่าจะแต่งหน้า ทาปากบ่อยเกินไป
ถ้าไม่ด่าเด็กแล้วจะให้ด่าใครล่ะครับ?
เด็กไม่ใช่ไม่รู้นะครับว่า In-App Purchase มันต้องเสียตังค์เพียงแต่ว่าเด็กเค้าไปเจอวิธีการโกง Server ที่จะทำให้สามารถซื้อ In-App ได้โดยไม่ต้องจ่าย
เค้าก็เลยซื้อแบบไม่ยั้ง...โดยไม่รู้ว่า สูตรการโกง Server ของเค้ามันใช้งานไม่ได้แล้ว
ผมมองว่า เด็กเค้ามีเจตนาทุจริตตั้งแต่ต้นอยู่แล้วนะครับ
การลอง Hack เล่นๆ เอาวิชาเนี่ย...พอเข้าใจได้
แต่ 200,000 บาทเนี่ย...มันไม่ใช่แค่ลอง Hack เล่นๆเอาวิชาแล้วล่ะครับ
+1 เจตนาโกงเค้าแต่แรก พอถึงเวลาต้องจ่ายจริงทำเป็นรับไม่ได้. ประเทศนี้สอนให้คนขาดความรับผิดชอบกันจนเคยตัวแล้ว //พักชำระหนี้ชาวนานั่นก็ใช่
+1 เห็นด้วยครับประเด็นที่ว่า เด็กมีเจตนาโกงแต่แรกแล้ว แต่ไม่มีใครพูดถึงประเด็นนี้
แต่คิดว่าถ้าพูดไป สุดท้ายก็ต้องงัด "อายุ" มาเป็นไม้ตายสุดท้ายทีทำให้ทุกอย่างจากผิดเป็นถูกได้หมด
ไม่ว่าจะเป็นเคสอายุมาก(มนุษย์ป้า/ลุง) หรืออายุน้อย(มนุษย์เด็ก/เกรียน)
แต่ ในแง่ของผู้ให้บริการแล้วก็ควรมีมาตรการการป้องการในเคสแบบนี้แต่นี้คงเป็นเคสแรกไว้เป็นกรณีศึกษาให้สำหรับเหล่าผู้ให้บริการ
ผมมองว่าการแก้ปัญหากรณีแบบนี้ มันไม่จบที่ว่าเด็กโกงหรือไม่โกงนะครับ
การที่ผู้ให้บริการละเมิดข้อตกลงนั้น ต่อให้ผู้ใช้โกงหรือไม่โกง ผู้ใช้ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ก็ยังถือว่าผู้ให้บริการเป็นผู้ละเมิดอยู่ดี ซึ่งควรจะแก้ที่ตัวผู้ให้บริการนะครับ
ใช้เครดิตครบปุ๊บ ตัดปั๊บ ไม่งั้นจะมีตั้งยอดไว้ทำไมถ้ามีแล้วผู้ให้บริการไม่ทำตาม แกล้งปล่อยเนียนๆ ไปแล้วก็เรียกเก็บเงิน
มันไม่ได้มีแค่กรณีคุกกี้รันอย่างเดียว มันมีอีกหลายกรณีเช่น โรมมิ่ง ค่าโทร ฯลฯ ที่ผู้ให้บริการละเมิดข้อตกลงแล้วหายนะก็ไปตกอยู่กับผู้ใช้บริการครับ
เข้าใจว่าที่ไม่มีใครพูดถึงประเด็นว่าโกง/ไม่โกง เพราะมันไม่ใช่การแก้ปัญหาของประเด็นที่ว่าผู้ให้บริการละเมิดข้อตกลงนะครับ ผมคิดว่าผมไม่ต้องไล่ตรรกะให้ดูเป็นข้อๆ เนอะ
แต่ถ้ามีรีเควสท์มาก็จะไล่ให้ครับ
ขอโทษด้วยนะครับ พอดีว่าพิมพ์อะไรคล้ายๆ กันไปในหลายความเห็น ทำให้เกิดอาการขี้เกียจพิมพ์กะทันหันครับ ขออภัยอีกครั้ง
ผมว่าคุณเข้าใจอะไรผิดนะ
เด็กผิดเนี่ยแน่นอน ไม่มีใครในที่นี้บอกสักคำเลยนะว่าเด็กถูก ไม่ต้องแก้ไข ปล่อยไป ไม่ต้องทำอะไร
ประเด็นคือ "ในเมื่อมีการจำกัดวงเงินไว้แล้ว ทำไมผู้ให้บริการถึงปล่อยให้เกิดการใช้จ่ายเกินวงเงินได้"
ลองอ่าน comment อันนี้ดูนะครับ
จริงๆแล้ว ถ้าคุณ BLiNDiNG ลอง Scroll ขึ้นไปนิดนึง ก็จะเห็นนะครับว่าสิ่งที่ผมเขียน เป็นการเขียนตอบคุณ PaPaSEK ซึ่งมันคนละส่วนกันกับ Original Topic ครับ
หลายๆคนอาจจะมองว่า เด็กผิด ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์...ว่าซื้อ In-App แล้วต้องเสียเงิน
แต่ผมมองว่า สิ่งที่เด็กเค้าไม่รู้..คือ ไม่รู้ว่าวิธีการโกงที่เค้าพยายามใช้ มันใช้ไม่ได้แล้วต่างหาก
ซึ่ง สองอย่างนี้...มันต่างกันเยอะนะครับ
ในส่วนของ "จำกัดวงเงิน" เนื่องจากผมไม่ได้ใช้ AIS อ่ะนะครับ
เลยไม่รู้ว่า Contract เค้าเขียนไว้ว่ายังไงเหมือนกัน
แต่ปกติแล้ว มันน่าจะหมายถึง ค่าโทร+SMS+3G เท่านั้นครับ
External Service ที่เป็น Top-up เข้าไป มันไม่น่ารวมกับส่วนนี้
อย่างสมัยก่อนนี้ ถ้าเราไปสมัคร SMS ผลบอล, ดูดวง, โหลด Ring Tone, เสียงรอสาย, etc
มันก็จะ Charge เพิ่มเข้าไป โดยไม่ถูก Limit โดยวงเงินครับ
lewcpe.com , @wasonliw
เห็นด้วยครับ ส่วนนี้ผู้ให้บริการตีกินเนียนๆ ได้ โดยเฉพาะกรณีตั้งวงเงินเอาไว้แล้วผู้ให้บริการไม่ดำเนินการตามที่ตกลงเอาไว้
แล้วมันก็มีปัญหาเกิดขึ้นอีกหลายๆ กรณีจากสาเหตุดังกล่าว ในขณะที่ In-App purchase ก็เป็นแค่ 1 ในปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการที่ไม่ซื่อตรงของผู้ให้บริการครับ
ผมอ่านแต่แรกแล้วครับที่คุณตอบคุณ Papasek แต่ผมอยากให้คุณอ่านรายละเอียดทั้งเนื้อข่าวและ comments ทั้งหมด มากกว่าแค่จะพยายามโฟกัสที่จุดเดียวแล้วหลุดจากเรื่องสำคัญในเนื้อหาไป
ถ้าคุณไม่รู้เรื่อง contract ของ AIS คุณก็ไปอ่านสิครับ เหมือนที่คุณบอกว่าเด็กไม่รู้ว่าโกงไม่ได้ เด็กผิด ผมไม่ได้มองในส่วนว่าเด็กรู้เท่าไม่ถึงการณ์อะไรอย่างที่คุณคิดเลยครับ แต่ผมมองว่ามันคือการเอาเปรียบผู้บริโภคซึ่งก็คือผู้ปกครองที่เป็นคนทำ contract ด้วย
ยิ่งคุณอ้างว่าไม่มีใน contract ดังนั้นเลยทำได้ยิ่งไปกันใหญ่เลยครับ แบบนั้นอาจจะมีบริการใหม่มาแบบสมัครให้อัตโนมัติแล้วบังคับให้จ่ายเงินโดยไม่มีวงเงินก็ได้เหรอครับ คุณลองอ่านสิ่งที่คุณเขียนให้ดีๆอีกรอบดีกว่าครับ ว่ามันมีช่องโหว่ยังไง แล้วอะไรจะเกิดกับคุณได้บ้าง อยากให้ลองคิดในแง่การรักษาสิทธิ์ผู้บริโภคของตัวเองมากกว่าแค่ การด่าคนอื่นไปวันๆนะครับ
ก็ไม่ถึงขนาดกับห้ามด่านะครับ
แต่ส่วนตัวผมมองว่ามันไม่ใช่ว่าแก้ที่ผู้ปกครอง + ตัวลูกๆ แล้วปัญหาจะจบ เพราะตัวปัญหาอีกตัวก็คือการที่เราตั้ง credit limit เอาไว้ แล้วผู้ให้บริการไม่ปฏิบัติตามนั้นครับ
อย่างกรณีนี้มันเป็นกรณีที่ตั้งใจโกง แต่มันก็มีกรณีอื่นๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจเช่น ตั้งเครดิตลิมิทโรมมิ่งเอาไว้แล้วก็ใช้อยู่ในต่างประเทศ ตัวผู้ใช้ก็นึกว่าพอครบลิมิทแล้วมันจะตัดก็ใช้ไป
กลับมาเจอบิลไปแสนกว่าบาทครับ ญาติผมนี่แหละครับที่โดน จะด่าญาติผมก็ได้นะครับ แต่ถามว่าไม่มีใครมองมุมที่ผู้ให้บริการละเมิดข้อตกลงเลยหรือ?
อันนี้ยกมาให้อ่านอีกครั้ง ผมไม่ได้บอกเลยนะว่าห้ามด่าเด็กห้ามด่าผู้ปกครอง ผมแค่มองว่าปัญหามันมีองค์ประกอบหลายอย่างครับ อะไรมันผิดก็ควรแก้ทุกๆ ด้านถึงจะเป็นการแก้ปัญหาแบบบูรณาการครับ
เหมือนพวกขับย้อนศรแล้วเจอตำรวจรีดไถ ด่าตำรวจอย่างเดียวก็ไม่ได้ ด่าคนที่ย้อนศรอย่างเดียวก็ไม่ได้ครับ แก้ปัญหาที่ฝั่งใดฝั่งนึงไม่ได้ครับ
แยกยอดค่าโทรกับ ค่าแอปเกมออกจากกันแล้วจำกัดยอดค่าแอปเกม ถ้าเกิดมีการใช้เกินวงเงินเกิน ให้มีการส่งSMSเตือนก่อน และถ้าจำเป็นหากต้องเพิ่มให้โทรไปแจ้งผู้ให้บริการ เพื่อขอใช้เพิมยอด(ถ้าขอเพิ่มยอดซื้อแอป 200,000 บาทแล้วผู้ให้บริการยอมให้เพิ่มนะ ผมจะขอคนแรกเลย บัตรเครดิตยังไม่ได้เท่านี้เลย)
โผล่อีกราย! เหยื่อคุกกี้รัน คราวนี้เป็นหนูน้อยชาวเพชรบุรี กดซื้อไอเท็มในเกมไป 163,405 บาท
แต่ละราย ยอดสูงๆทั้งนั้น - -*
+ + + สถิติมีไว้ทำลาย:โผล่อีก เหยื่อ?ขนม.อบวิ่ง เหยียบ 600,000 + + +
ทฤษฎีสมคบคิด : หรือคนปล่อยคลิปจะเป็นคนของบริษัท naver.... :P หวังว่าคนจะลองคนละร้อยสองร้อยหยั่งเชิง
คนหลังนี้อายุ 8 ขวบเอง ในเกมส์มันกดซื้อไอเท็มได้ง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ ผมเองกว่าจะกดซื้อได้ต้องกรอกรายละเอียดและกดยืนยันอีกหลายหน้าเลยนะ
ผมว่าเด็ก ให้ใช้ sim แบบเติมเงินน่าจะจบนะ ไม่ควรให้ใช้แบบรายเดือน
ทุกวันนี้บางค่ายให้ยืมเงินได้นะครับ แม้เป็นระบบเติมเงิน
อนาคตจะมีใครล่วงรู้มั๊ยครับว่าค่ายบริการใหม่จะขยายวงเงินให้ยืมเป็นเท่าไหร่ จะมีระบบให้ยืมอัตโนมัติอีกไหม จะมารู้ดีอีกรึเปล่าว่าบริการใหม่ให้ยืมเงินได้ไม่จำกัดอีกเหมือนวงเงินในข่าวนี้
lewcpe.com , @wasonliw
ให้ยืมผมว่ามันเป็นความเสี่ยงของ operator นะครับ คือแบบเติมเงิน ถ้าเราจะชักดาบคือ หักซิมทิ้งซื้อซิมใหม่ (ช่วงนี้ วิธีนี้น่าจะแก้ได้ ไม่ได้สอนให้ชักดาบนะครับ แต่นี่คือทางเลือกของผู้บริโภค) ตอนนี้ถ้าสังเกต operator มีสถานะไม่ต่างจากธนาคารเท่าไร เรื่องเครดิต ควรจะต้องมีการควบคุมอยู่แล้วครับ รอเขาจัดการกันไป
กรณีที่เกิดขึ้น เป็นเครื่องยืนยันไงครับว่า "ไม่มีการควบคุม"
lewcpe.com , @wasonliw
อย่างน้อยก็ควรให้เขาจ่ายตามในวงเงินที่กำหนดไว้มั้ยครับ หรืออาจจะให้จ่ายซัก 10% ของยอดผมว่ายังไงเด็กก็ควรมีส่วนรับผิดชอบกับเรื่องนี้ด้วย เพราะเขาเจตนาที่จะโกงตั้งแต่แรกอ่ะ
ปล. ยอดวิววิธีโกงในยูทูปนี่หลักหมื่นเลยนะครับ ถ้าเกิดมีเคสแบบนี้ออกมามากๆ นี่น่าเห็นใจ AIS นะครับ
ทำลายบริษัท AIS ทิ้งชะ
เค้าก็ยกเลิกบิลแล้วน่ะครับ แถมเป็นคนไกล่เกลี่ยกับ Naver เอง โดยที่ผู้ปกครองไม่ต้องทำอะไรอีกนอกจากโทรหา call center นี้ครับ ต้องไปทำลายเค้าด้วยเหรอครับ
Google ==> ป้องกันยังไงไม่ให้เด็กสมัครบริการเอง? คิดไม่ออกแฮะ -_-
AIS ==> ป้องกันเรื่องวงเงิน ก็สมควรอยู่แล้ว
Line ==>ป้องกันไม่ให้ซื้อของเยอะ มันก็จะกระเทือน user ที่พร้อมจ่าย รายได้บริษัทหาย
เอากรณีของต่างประเทศมาให้ดูกันนะครับ เป็นกรณีการซื้อทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะกรณี carrier billing
เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้มีผู้ปกครองรวมตัวกันฟ้อง Google - ( เอกสารฟ้อง ) เนื่องจากปล่อยให้มีการจ่ายเงินผ่านระบบ in app โดยไม่มีการลิมิต
ซึ่ง Apple ก็เคย โดนในกรณีคล้ายๆ กัน มาเมื่อต้นปีเหมือนกัน สุดท้ายคุยกับ FTC ต้องยอมคืนเงินไป $32 ล้าน
iPAtS
ผมว่าเรื่องที่เกิดนี้ทำร้ายทำลายชื่อเสียง Naver มากจนไม่คุ้มกับกำไรที่ได้จาก in app purchase น่ะครับ ถ้าทิ้งไว้ไม่แก้ไขตัวบริษัทเองจะเสื่อมถอยด้วยเพราะขาดธรรมาภิบาล บริษัทควรบังคับให้นักพัฒนาแอพลิเคชั่นจำกัดการทำเงินของ in app purchase ของแอพตนเองไม่ให้ใช้เงินปลดล็อกได้ทุกอย่างในเวลาสั้น ๆ อย่างนี้
จริง ๆ อยากเขียนยาวกว่านี้ แต่จะดูบอลแล้วครับ ;D
พวกของเติมไอเท็มน่าจะผูกกับบัตรเครดิตเท่านั้น แล้วเด็กจะซื้อก็แจ้งยืนยันไปยังผู้ปกครอง ให้ผู้ปกตรองกดยอมรับ
หรือเป็นบัตรเติมเงินในเกมขายตามเซเว่นเอา แต่เข้าใจว่าต้นทุน บ ตรงนี้จะสูงขึ้น
หรือถ้าทำระบบแบบ AIS ควรมี Activate การซื้อของผ่านอีเมล์ก่อน ตาสีตาสาอยากซื้อให้ลูกหลานก็เข้าไปกดยืนยันซะ แต่ถ้าเช็คเมล์ไม่เป็น ผมว่าอย่ายื่นมือถือให้ลูกหลานเล่นเลยครับ
อุทาหรณ์นี้สอนผู้ใหญ่ที่ไม่สนใจเทคโนโลยีที่มีในมือได้ดีเลยครับ
น่าจะถามว่า "ทำอย่างไรถึงจะให้ คนเลิกเล่น Cookie Run?"ผมอุตส่าห์ หาวิธี block Cookie Run ได้แล้ว ก็ยังตามมาหลอกหลอน เป็น Headline ใน Blocknone ได้อีก
การทำให้คนเลิกเล่น Cookie Run มีประโยชน์ยังไงครับ?
ขอโทษครับ ผมตั้งใจจะแซวเล่นเฉยๆเพราะ บางที ผมชอบได้รับข้อความชวนให้มาเล่นเกมส์ Cookie Run บ่อยมาก จนรู้สึกว่า มันรบกวนความเป็นส่วนตัวของผม (และ/ หรือ คนอื่นๆ ที่น่าจะได้รับเหมือนกัน)
ไม่ได้ตั้งใจจะ ว่า คนเล่น Cookie Run แต่อย่างใดครับ...
อ่า ไม่ครับ ผมก็ไม่ใช่คนเล่น Cookie Run เพราะ Windows Phone ไม่มี :p
แค่สงสัยว่าถ้าทำให้คนเลิกเล่นได้มันจะช่วยแก้ปัญหาอะไรได้บ้างเท่านั้นเอง
จำกัดวงเงินน้อยๆไว้ก่อน ถ้าใครที่พร้อมจะจ่ายเยอะจริงๆ ค่อยโทรไปขอเพิ่มวงเงิน แบบนี้น่าจะเซฟที่สุดแล้ว
ผมว่า ถ้าเป็นรายเดือนควรจะมีการจำกัดวงเงินคล้าย ๆ บัตร ATM นะครับเช่นกำหนดวงเงินไว้ไม่เกิน 2000 บาท ต่อ วัน และสามารถเพิ่มวงเงินถาวรหรือชั่วคราวได้แต่ต้องมีการยืนยันตัวบุคคล
ถ้าคนใช้งานปกติผมว่าเราคงไม่ซื้อวันเดียวรวดหรอกครับ แบบนี้ไม่กระทบคนใช้งานทั่วไปมากนัก
นอกจากนี้อาจจะมีการจำกัดจำนวน Transaction ด้วยครับ เช่นใน 10 นาทีไม่ควรเกิน 20 transaction กรณีนี้น่าจะกันไวรัสหรือแอพที่ประสงค์ร้ายได้อีกด้วย
และถ้ามีการใช้จ่ายผ่าน Carrier Billing จะต้องมี SMS ส่งมาทุกครั้ง แต่สามารถปิดได้โดยโทรไปที่ Call Center และยืนยันตัวบุคคลวิธีนี้ก็ช่วยป้องกันในกรณีที่เราไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเสียเงิน พอเสียเงินเราจะได้รู้ว่ามันเสียแล้วก็จะได้หยุดทำต่อครับ
โดยส่วนตัวผมไม่อยากให้มันสร้างความยุ่งยากแก่คนที่เค้าพร้อมจะจ่ายอยู่แล้วน่ะครับ
อย่างผมจะให้ไปที่ศูนย์เพื่อเปิดอีกบางทีก็ขี้เกียจนะ แล้วผมก็ไม่ได้มีส่วนได้กับคนเหล่านั้น แต่ดันมีส่วนเสียร่วมด้วยแต่ถ้าจำกัดแบบข้างต้นผมก็รับได้ครับ เพราะวัน ๆ นึงผมซื้อไม่เกิน 200 บาทด้วยซ้ำไป
แล้วก็รู้สึกว่าปลอดภัยดีด้วย