ตัวแทนอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เสนอบทเรียนจากการรวมกลุ่มของภาคอุตสาหกรรมเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนของลูกค้า ระหว่าง "การประชุมโต๊ะกลมสำหรับกลุ่มผู้จัดการประชุมหัวข้อความเชื่อใจทางดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตและสิทธิมนุษยชน" ในวันสุดท้ายของการประชุมการอภิบาลอินเทอร์เน็ตครั้งที่ 9
Yves Nissim รองประธานบริษัทออเรนจ์และประธานกลุ่มหารืออุตสาหกรรมโทรคมนาคม (Telecommunications Industry Dialogue) กล่าวถึงการรวมตัวกันในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงการปฏิวัติอาหรับในปี พ.ศ. 2556 ที่บริษัทต่างๆ ถูกร้องขอจากรัฐบาลให้ทำในสิ่งที่บริษัทไม่อยากทำ เช่น ขอให้เครือข่ายยกเลิกบริการข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถือในช่วงที่มีการต่อต้านจากประชาชน
"เราตัดสินใจว่าเราจะสู้ และเรารวมกลุ่มกันเพื่อเผชิญหน้ากับคำสั่งเหล่านี้ มันมีพลังมากกว่าการเผชิญหน้าเพียงลำพัง ดังนั้นเราจึงสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เราทำงานกันภายใต้หลักการขององค์การสหประชาชาติ และตอนนี้เรากำลังจะเผยแพร่บทเรียนของเรา
"การทำงานตามแนวทางของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติทำให้เรารู้สึกมั่นคง เพราะว่ามันพุ่งประเด็นไปที่องค์ประกอบต่างๆ ของปัญหาที่เราต้องพบเจอในแต่ละวัน นั่นก็คือ การรักษาจุดยืนของเราพร้อมกับเคารพจุดยืนของรัฐบาลด้วย ดังนั้นเราตัดสินใจว่าจะเขียนความคิดเห็นและข้อเสนอเป็นเอกสารออกมา
"ในแง่ของความโปร่งใส ซึ่งในงานประชุมนี้ก็มีการพูดถึงรายงานความโปร่งใสของบริษัทต่างๆ ในบางประเทศเรามีรัฐบาลที่พยายามแทรกแซงเครือข่ายการสื่อสารของเรา เราจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก เราจะปกป้องเครือข่ายของเราและตอบโต้อย่างเป็นทางการ และมีกระบวนการที่โปร่งใสเพื่อช่วยให้รัฐบาลทำงานได้โดยรัฐบาลไม่ต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายเราโดยตรง-เพราะเราไม่รู้ว่าเขาจะทำอะไรกับเครือข่ายของเราบ้าง
"เราจะเปิดเผยกระบวนการที่โปร่งใสเกี่ยวกับการสอดส่องการสื่อสารในทุกประเทศ รวมทั้งบทเรียนจากประเทศต่างๆ นอกจากนี้เรายังจัดทำรายงานความโปร่งใสของบริษัทโทรคมนาคม ซึ่งโวดาโฟนได้เผยแพร่การร้องขอข้อมูลของรัฐบาลออกมาแล้วเมื่อหลายเดือนก่อน อย่างไรก็ดี เราเรียกร้องให้รัฐบาลจัดทำรายงานความโปร่งใสของตัวเองด้วย ไม่ใช่เพียงแค่กลุ่มโทรคมนาคมเท่านั้น"
ปัจจุบันกลุ่ม Telecommunications Industry Dialogue ( @IndustryDialog ) ประกอบด้วย อัลคาเทล-ลูเซนต์ เอทีแอนด์ที มิลลิคอม โนเกีย ออเรนจ์ เทเลโฟนิกา เทเลนอร์ เทเลียโซเนรา และโวดาโฟน โดยสมาชิกทั้งหมดประกอบธุรกิจโดยยึดหลักปฏิบัติที่เดินตามแนวทางของ หลักปฏิบัติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) ซึ่งวางอยู่บนกรอบ "คุ้มครอง เคารพ และเยียวยา"
ผู้ประกอบการโทรคมนาคมในประเทศไทยที่ถือว่าอยู่ในกลุ่ม Telecommunications Industry Dialogue คือ ดีแทค ซึ่งดำเนินกิจการโดยเทเลนอร์ โดยก่อนหน้านี้ ผู้บริหารเทเลนอร์ได้เปิดเผยว่ากสทช.ได้ติดต่อให้ดีแทคปิดกั้นการเข้าถึงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2557
สำหรับข้อสรุปจากการประชุมโต๊ะกลมนี้ จะถูกนำเสนอในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยประชุมที่ 27 ซึ่งจะเริ่มในวันจันทร์ที่ 8 ก.ย. ที่จะถึงนี้ ซึ่งในที่ประชุมครั้งนี้จะมีการพิจารณารายงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรื่อง "สิทธิความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิทัล" ด้วย
Comments
ผมรู้สึกตังแต่เปิดเบอร์ปุ๊บความเป็นส่วนตัวไม่มี้เลยSmsมาตลอดโทรไปถามมันก็บอกสงสัยคนใข้เบอร์เก่าสมัครแล้วเราไม่ได้ลบเลยส่งมาให้ เหอะๆ แก้ตัวได้น่าเกลียดมาก แถมค่ายมือถือก็ไม่สนใจจะรักษาความเป็นส่วนตัวของเราด้วยซ้ำไป
SMS ขยะก็ว่าเกลียดแล้ว ของ dtac ผมเจอโทรเข้ามาเป็นเทปโฆษณา แทบขว้างโทรศัพท์ทิ้ง
ผมมีเบอร์ AIS, dtac, True เจ้า dtac นี่แหละโทรมาเป็นโฆษณาได้น่าเกลียดมากๆ
+1 ใช้ดีแตกมาหลายปีแล้ว นี่เป็นสิ่งเดียวที่รับไม่ได้ และไม่รู้จะทำยังไงกะมันดี
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
Dtac น่าเกลียดสุดตรงที่เป็นสายตรงโทรมาโฆษณาแล้วใช้บอทคุยอ่ะ ตรงนี้ทำให้คนใช้มือถือรู้สึกอารมณ์เสียมาก
True เจ้านี้ส่งข้อความโฆษณามาเยอะมาก แต่ยังดีที่ขอยกเลิกได้ แต่คนที่ไม่รู้คงไม่เกลียด True ไปอีกนาน
AIS เจ้านี้ส่งข้อความมาบ้าง แต่น้อยกว่า True มาก
จากประสบการณ์ใช้ทั้ง 3เจ้าของผมเองนะครับ กับไปอ่านข้อความของคนในครอบครัว(เพื่อช่วยบล็อคข้อความนั่นล่ะ) :-)
สร้างภาพ สุดริด
ปกป้องสิทธิลูกค้า? ดีแทค?นี่ผมอ่านไม่ผิดใช่มั้ย?
กลายเป็นโดนด่าซะนี่ 5555
ผมเองก็หนี dtacมา my CAT เช็คเมลล์ฟรี โทรหาแฟนฟรี ไม่มีโฆษณากวนเลย
ไอ้ที่โทรมาเปิดเทปให้ฟังนี่ รำคาญจริงๆนะ ด่าไปหลายรอบก็ยังมาอีก
"โทรคม"?