ศาสตราจารย์ Danielle George ซึ่งเป็นหนึ่งในราชบัณฑิตของราชบัณฑิตยสถาน (Royal Institution) ของอังกฤษในสาขาวิศวกรรมคลื่นวิทยุ ออกมาให้สัมภาษณ์กับทางหนังสือพิมพ์ The Telegraph โดยระบุว่า คนรุ่นใหม่ของอังกฤษในปัจจุบันอยู่ในยุคที่ซ่อมของไม่เป็น เพราะเติบโตมาอยู่ในยุคที่ทุกอย่าง "ใช้แล้วทิ้ง"
เธอกล่าวว่า ผู้คนในยุคปัจจุบันนั้นไม่ได้สนใจว่าอุปกรณ์เหล่านี้ทำงานอย่างไร เพียงแต่สนใจว่าทำงานได้เท่านั้นก็พอ เมื่อถึงจุดที่เสียก็ทิ้งมันไปแล้วก็ซื้อใหม่ ซึ่งต่างจากคนสมัยก่อนมาก ที่พยายามสร้างมันขึ้นมาและซ่อมมันตลอดเวลา ซึ่งเธอเองอยากให้คนรุ่นใหม่ที่มีโอกาสอย่างมากทางเทคโนโลยี ได้ตระหนักถึงความสามารถในการเป็น "นักประดิษฐ์" จากสิ่งรอบตัว และเธอตระหนักดีกว่ากระแสอย่าง Maker Movement และชุมชนของ maker ทั้งหลาย กำลังมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเกี่ยวกับสิ่งของต่างๆ อย่างมาก
ทั้งนี้ ทางราชบัณฑิตยสถานของอังกฤษ จะออกอากาศการบรรยายพิเศษในหัวข้อ "Sparks will fly: How to hack your home." ในวันที่ 29 - 31 ธันวาคมนี้ ทางสถานีโทรทัศน์ BBC Four เพื่อส่งเสริมให้คนอังกฤษหันกลับมาหวนพิจารณาว่าจะทำอะไรกับของพื้นๆ ในบ้านได้บ้าง โดยราชบัณฑิตยสถานของอังกฤษเริ่มการบรรยายต่อสาธารณะในช่วงวันคริสต์มาสลักษณะนี้ มาตั้งแต่ปี 1825
ที่มา - The Telegraph
Comments
คำนี้ต้องเป็น ราชบัณฑิตยสถาน หรือเปล่าครับ?
บอกช้าไปนะครับ :P
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
พยายามเช็คอยู่ว่ามันมีความหมายทั้งสองคำรึเปล่าเลยพลาดครับ (T^T)
ออกอากาศการบรรยายในช่วงวันคริสต์มาสลักษณะนี้มาตั้งแต่ปี 1825 น่าจะใช้คำว่า บรรยายต่อสาธารณชนในช่วงวันคริสต์มาสลักษณะนี้มาตั้งแต่ปี 1825 มากกว่านะครับ วิทยุเพิ่งจะออกอากาศครั้งแรกก็เมื่อ 1910 ไปแล้ว
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
เห็นด้วยครับ ดำเนินการตามที่แนะนำครับ
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
เห็นด้วยกับแนวคิดนี้นะครับ เด็กรุ่นใหม่ๆ ส่วนมากที่เจอจะแทบไม่เคยแปลกใจว่าของชิ้นไหนๆ ทำงานได้ยังไง ไม่ตื่นเต้นกับการทำงาน แต่ตื่นเต้นว่ามันทำอะไรได้ แค่นั้น เวลามันเสียก็ไม่คิดว่ามันเป็นของที่ซ่อมได้ไปด้วย
เพื่อเป็นการกระตุ้น ต้องอยู่ในภาวะสงครามครับถึงจะเห็นผล
ผมเองก็ซ่อมเป็นบางชิ้น แต่ถ้าเป็น Apple เสียก็เคลมครับ มีเท่าไหร่ก็จ่าย :P
บ่อยครั้ง ที่ ซื้อใหม่ ถูกกว่า ซ่อม
ผลพวงจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการผลิต...
อย่างมือถือเนี่ย แค่เปลี่ยนแบตเองได้ก็พอแล้วมั้ง...
สมัยเด็กตามประสาเด็กผู้ชายของในบ้านนี้ผมแกะหมดทุกชิ้น โตมาหน่อยได้มอไซค์มาคันถอดประออกมาเป็นชิ้นๆ ได้ทั้งคัน พอโตซื้อบ้านตัวเองงานต่อเติม ไฟฟ้า ประปา ถ้าไม่ใช้งานใหญ่มากก็ลงมือทำเองหมด แต่สมัยนี้เรื่องใช้แล้วทิ้งซ่อมของไม่เป็นเหมือนจะกลายเป็นเรื่องปรกติ เพราะบางทีเราก็ตั้งใจจะซ่อมนั้นแหละแต่ไปหาอะไหล่รวมๆ แล้วซื้อใหม่มันยังจะถูกกว่าอีก
ก็น่าจะแล้วแต่คนด้วยหรือเปล่าครับ
ผมเชื่อว่าต่อให้เป็นยุคก่อน ถ้าเป็นคนที่ไม่ได้ชอบพวกนี้ ก็ใช้แล้วทิ้งอยู่ดี
ต่อให้เป็นยุคนี้ ถ้าเป็นคนที่ชอบ ผมก็เห็น DIY อยู่บ่อยๆ
ไม่ครับ คนยุคก่อนถ้าซ่อมเองไม่ได้ก็ส่งเข้าร้านซ่อมครับ (ในไทยนะ ต่างประเทศผมไม่รู้)
ของบางอย่างก็ซ่อมไม่คุ้มนะ โดยเฉพาะพวกอีเล็กโทรนิค
ซื้อใหม่ถูกกว่า
สมัยนี้อะไรๆ ก็อยู่ในชิพตัวเดียว บางทีเสีย หาแทนไม่ได้ก็มี แล้วอีกหลายๆ ส่วนมันก็ไม่สามารถเปลี่ยนได้ตัวเครื่องมือทั่วๆ ไป อย่าง R หรือ C ตัวเล็กๆ ถ้าไม่มีที่เป่าลมร้อน ก็เปลี่ยนแทบจะไม่ได้แล้ว ลืม R แบบปกติ (ที่มีแถบสี) หรือ C แบบ electrolytic กับอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ ไปได้เลย
ผมเห็นด้วยนะ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายอย่างไม่ได้เอื้อมาให้ซ่อมเองแล้ว
เรื่องซ่อมนึกถีง Rick's Restorations
เฮียแก อะไรๆ ก็พ่นทราย พ่นสีสดๆ ชุบโครเมียม
ผมไม่รู้ว่าซ่อมอะไรนะ เสื้อผ้า รองเท้า โต๊ะ ตู้ เก้าอี้ พวกนี้ซ่อม ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าสมัยนี้มันพัฒนาแบบก้าวกระโดดจนมันซับซ้อนเกินกว่าจะซ่อมเองแล้ว ดังนั้นอย่าไปเชื่อข่าวนี้มากนัก มันแล้วแต่สถานการณ์
ขนาดโทรทัศน์ที่เมื่อก่อนนี่น่าจะเป็นอุปกรณ์ถูกซ่อมยอดนิยม มาตอนนี้ยังน่าจะเกินเยียวยาไปแล้ว orz
ส่วนพวกพัดลม-เตารีดนี่เค้ายังซ่อมกันอยู่รึเปล่าผมไม่แน่ใจแฮะ ไม่ได้เข้าร้านซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้ามานานมาก
ผมว่าช่วงแรก เค้าบ่นเฉยๆครับจุดมุ่งหมายหลัก ที่ผมเห็น รัฐบาล UK บ่นมาตั้งกะปี 2008 อยู่บรรทัดท้ายๆ
Our aim is to bring to life the incredible ingenuity, innovation and creativity of engineering
เป้าหมายหลักที่เราเล็งไว้ คือ การสร้างการสร้างคนให้ ... เหมือนเมื่อตอนยุครุ่งเรืองนะครับแปลไม่ตรงครับ ไม่รู้จะแปลเป็นไทย ยังไงเหมือนกันครับ ?
สงสัย ผมเป็นพวกนิยมต่างชาติรึเปล่า อ่านแล้วมันเรื่องไม่ค่อยเป็นเรื่องใหญ่อะไรของฝรั่งแท้ๆแต่ผมรู้สึกว่ามันมีสาระมากกว่าการรณรงค์ ค่านิยม หลายๆอย่างในบ้านเรา
ส่วนนึง เพราะสมัยนี้ของส่วนใหญ่มาจากจีน ซื้อใหม่มันถูกกว่าซ่อม หรือมันออกแบบให้อายุการใช้งานไม่นานอยู่แล้ว ผลิตมาไม่เผื่อให้ซ่อมเลยหรือไปซื้อเลเซอร์ อันละ20บาท แบตหมด ซื้อแบต3ก้อน ก็30บาทละ
ขาแว่นหักครึ่ง คุณจะเปลี่ยนชิ้นใหม่ หรือจะเอาเทปกาวพันบางๆเพื่อประหยัดเงิน...
ซื้อกาวช้างมาซ่อมสิครับ
เอาไปเคลมครับ เดี๋ยวนี้สินค้าอะไรๆ ก็มีประกันมากขึ้นครับ ถึงขนาดคนขายบอกว่า "หัก พัง เบี้ยว ห้ามซ่อมเอง เพราะประกันจะ Void" ครับ
เชื่อมด้วยอาร์กอน หรือเอาผ้าคาร์บอนไฟเบอร์หุ้มเสริมความแข็งแรง
ตามยุคสมัยและส่วนหนึ่งก็อยู่ที่กำลังทรัพย์ความคุ้มค่าในการซ่อมด้วยครับ ไปปีนเขาหลายครั้งเห็นสภาพรองเท้าลูกหาบมาหลากหลายแบบ บางคู่ดูแล้วน่าจะผ่านการซ่อมมาอย่างโชกโชน บางคู่ก็ซ่อมจนน่าจะเรียกว่าเป็น DIY ไปแล้วเสียมากกว่า เพราะใช้อะไหล่จากหลายแหล่งมารวมอยู่ในรองเท้า
เจอ SMD ไปก็หมดปัญญา...
สมัยเริ่มทำงานใหม่ๆ (นานมาก) Service Manual จะมีรายการอะไหล่ทุกตัวเลย เวลาซ่อม เช็คกันสนุกดีครับ ตอนนี้น้องๆรุ่นหลังนี่อะไหล่มาเป็น Unit part เสียก็เปลี่ยนทั้งส่วนเลย ไขควงอันเดียวยกทั้งชุด ตัวระบบการซ่อม แผงวงจรและกลไก ถูกออกแบบให้เป็นแบบนี้หมดเล้ว เราก็คงต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยครับ
คาดว่าน่าจะเป็นการกระตุ้นให้คนสนใจศึกษาทาง STEM มากขึ้นหลังจากแนวโน้มต้องนำเข้าจากโซนเอเชียมากขึ้นในแต่ละปีเงินไหลออกมากขึ้นเรื่อย ๆ
บางทีมันก็ไม่คุ้มค่าซ่อมนะ อย่าง Surface Pro เป็นต้น
อะไรซ่อมได้ก็ซ่อม ฮ่าๆ
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
ทำสติกเกอร์ไลน์กระตุ้นให้คนหันมาซ่อมของกันสิครับ