Jonathan Rosenberg อดีตผู้บริหารระดับสูงของกูเกิล เล่าประสบการณ์การทำงานกับ Larry Page ในช่วงแรกๆ ที่เขาเริ่มงานกับกูเกิลในปี 2002
Rosenberg จบการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ (MBA) โดยตรง และเคยเป็นผู้บริหารบริษัทไอทีชื่อดังอย่าง palmOne และ Excite มาก่อน เขาอธิบายว่าวิธีคิดแบบ MBA จะบริหารโครงการด้วยการ "เขียนแผน" และวางตารางเวลาแบบ Gantt chart
เมื่อ Rosenberg ต้องทำงานกับ Larry Page เขาก็นำเสนอ "แผน" ให้เจ้านายดู Page พลิกแผนดูหน้าแรกๆ แล้วประทับใจ แต่เมื่อเปิดไปอีกสักพัก Page ก็ร้องว่า "Nooooo" แล้วถามว่าคุณเคยมีประสบการณ์เจอวิศวกรแทรกฟีเจอร์ที่ไม่ได้อยู่ในแผนหรือไม่ ซึ่ง Rosenberg ตอบว่าไม่ จากนั้น Page ถามต่อว่าเคยเขียนตาราง Gantt chart แล้วโครงการทำเสร็จก่อนแผนที่กำหนดหรือไม่ คำตอบคือไม่
Page บอกว่าถ้าแบบนั้นแผนของคุณก็ใช้ไม่ได้แล้ว เลิกทำแบบนี้ได้แล้ว (Then your plans are stupid. Please stop doing them.) ทำให้ Rosenberg ถามว่าถ้าอย่างนั้นผมมาทำอะไรที่นี่ คำตอบของ Page คือคุณก็ต้องไปนั่งทำงานกับทีมวิศวกรสิ
Rosenberg เล่าว่าเขาเรียนรู้วิธีทำงานของกูเกิลที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน และร่วมคลุกคลีทำงานกับวิศวกรโดยใช้แนวทางปรับปรุงผลงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ (iterative) ดังนั้นถ้าผู้จัดการไม่เคยเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ก็ต้องเผชิญกับปัญหาแทรกเข้ามาบ่อยๆ
ที่มา - VentureBeat
Comments
รู้สึกกระทบกระเทือนใจ เพราะชอบแทรกฟีเจอร์เข้าโปรแกรมที่เขียน
ผมกลับรู้สึกดี อย่างน้อยก็ไม่ได้มีผมคนเดียวล่ะ (เย้)
Jusci - Google Plus - Twitter
รู้ไหมครับ พฤติกรรมนั่นทำให้เสียหายทางธุรกิจเป็นอย่างมาก ผมมีประสบการณ์ตรงกับตัวเองเลย เมื่อยี่สิบกว่าปีมาแล้วก่อนที่จะเปิดบริษัทของตนเอง (ทำคนอื่นเสียหายมาแล้วนั่นเอง)งานนั้นไปนั่งเขียนอยู่ที่ Indianapolis อยู่ 6 เดือน ด้วยความคิด" หวังดี" แต่ท้ายที่สุด "เสียหาย" ทางธุรกิจจริงๆ ครับ เสียหายข้ามชาติเลย ประเทศชาติเสียหาย คนไทยเสียหาย และยังเสียใจไม่หาย
วันนี้ว่างพิมพ์แค่นี้ ถ้ามีใครอยากทราบต่อ วันหลังจะมาเล่าให้อ่านกันแบบละเอียดๆ ครับ เรื่องนี้เล่าได้ ไม่มีคนอื่นเสียหายมากไปกว่าที่เสียหายมาแล้วนอกจากตัวผมเอง
เข้าใจดี และไม่เถียงเลยครับ
มันคงเแล้วแต่ธุรกิจ เพราะการแทรกฟีเจอร์เหมือนเป็นเรื่องปกติที่ google
รอฟังอยู่ครับ อยากรู้ว่ามันคืออะไร น่าจะเป็นบทเรียนที่ดีนะ
เสียหายขนาดนั้นเลยหรอครับ ผมอยากรู้แล้วสิว่า "แทรก" ที่ว่านี่เป็นยังไง
ถ้า "แทรก" = เพิ่มและไม่ได้เปลี่ยนหรือลดก็ไม่น่าจะเสียหายอะไรมากนี่ครับ แค่ปิดมันไปก็น่าจะจบ
แสดงว่า SA กับ Programmer ไม่ได้ทำงานด้วยกันหรือป่าวครับ
สูงสุดกลับสู่สามัญสินะ อย่างว่าแหล่ะ ไปเน้นทางใหนสุดโต่งก็ไม่ดีทั้งนั้นต้องสมดุล
เอ...ผมว่าไม่ใช่สูงสุดกลับสู่สามัญ แต่เป็นการดำเนินงานที่วางแผนล่วงหน้าไม่เหมาะสมกับแนวทางการพัฒนาของบริษัทที่อาจจะพบสิ่งที่ไม่คาดคิดบ่อย ๆ นะครับ
สมัยก่อนมันไม่มีอะไรเลยไงครับ เริ่มจากลองผิดลงถูกล้วนๆ หลังๆก็เริ่มมีเก็บข้อมูลจากการลองผิดลองถูกนั่นแหล่ะ แล้วรวบรวมมาเป็นวิชาพวกนี้เอามาสอนคนรุ่นหลัง เพื่อเอาไปใช้ลดความเสี่ยงในอนาคต หากมีเหตุการณ์เกิดขึ้นมาแล้วมันมีอยู่ในข้อมูลที่เรียนมาก็แก้ได้เลย แต่คนพวกนี้จะไม่ได้ถูกฝึกให้เรียนรู้การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ซ้ำๆในตำรา พอมาเจอทีก็ไปไม่เป็นแล้วครับ ถ้าไม่ใช่คนพลิกแพลงเก่งๆ แล้วเข้าใจแก่นแท้ของ สายนั้นๆ
สำหรับผมสูงสุดคือ การใช้ข้อมูลของปัญหาและวิธีแก้ปัญหาในอดีตมาจัดการกับปัจจุบัน ก็ข้อมูลที่รวมรวมมาตั้งแต่ในอดีตนั่นหล่ะส่วนสามัญคือ การใช้ความสามารถการตัดสินใจ การแก้สถานการณ์เฉพาะหน้านั่นหล่ะครับ พวกนี้ใช้ประสบการณ์ที่เจอกับตัวอย่างเดียว เจ็บตัวก็เยอะ
มันก็ไม่มีแบบใหนดีที่สุดหรอกนะครับแต่มันก็วนไปวนมาอยู่ 2 ตัวเนี่ยแหล่ะ
อ๋อ คุณใช้ความหมายแบบนั้น ผมก็ไม่ขัดแย้งนะ
____//\____ สวดยอดเลยครับบบบบ
บริษัทในเมืองไทยชอบให้คนไปเรียนMBA จะว่าไปพวกฝรั่งไม่ได้บ้าเรียนซะหน่อย เขาชอบเรียนรู้ด้วนประสบการณ์จริงมากกว่า
สังคมบ้านเรายังประเมินคนที่แผ่นกระดาษครับ.
เรื่องการประเมินคนที่ส่วนมากจะได้ยินมาว่าฝรั่งดูจาก portfolio ส่วนคนไทยจะดูจากกระดาษ
อันนี้(เดาเอานะ)น่าจะเป็นเพราะในสังคมฝรั่งพ่อแม่ส่งให้เรียนถึงแค่จบมัธยมแต่พอมหาวิทยาลัยก็ต้องหาเงินเรียนเองแล้ว แล้วนักศึกษาที่กำลังเรียนมหาวิทยาลัยจะหาเงินจากไหน แน่นอนก็ต้องทำงาน
ทีนี้ตอนสมัครงานอาจจะสมัครฝึกงานก็ได้หรืองาน part time ก็แล้วแต่ จะเอาอะไรไปยื่น แน่นอนก็เป็นใบจบระดับมัธยม แต่ที่ทำงานจะพิจารณาจากอะไรล่ะในเมื่อจบแค่มัธยม สิ่งที่โรงเรียนสอนก็ไม่มีสอนอะไรเกี่ยวกับงานเท่าไหร่ ก็ต้องมาดูสิ่งที่เค้าเคยทำมาแทน
และก็คงเคยได้ยินเหมือนกันว่าฝรั่งบางคนก็ไม่ได้เรียนต่อมหาวิทยาลัยก็เพราะเห็นว่าจบแค่มัธยมก็สามารถหางานทำได้นั่นแหล่ะ พอย้ายที่ก็เอาประวัติงานที่เคยทำไปยื่นที่ใหม่ และถ้าได้ทำงานบริษัทใหญ่ๆ มาก่อนก็ได้เปรียบเพราะเหมือนว่าบริษัทใหญ่ๆ เค้าก็ต้องมีการคัดคนมาดีอยู่แล้วก็เหมือนเป็นการการันตีส่วนนึงว่าคนนี้ทำงานใช้ได้
จุดนี้ก็เป็นจุดนึงที่ทำให้บริษัทฝรั่งชินกับการพิจาณาบุคคลตามผลงานมากกว่า
ส่วนบ้านเรา เรามีการส่งลูกเรียนจนจบมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องธรรมดา และมีการ"คาดหวัง"ว่าคนที่จบมหาวิทยาลัยมาแล้วก็ต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนจนถึงขั้นลงมือทำงานได้ หรือพอรู้เรื่องบ้าง จึงทำให้คิดว่าผลการเรียนจากมหาวิทยาลัยจะการันตีถึงคุณภาพได้
ส่วนอีกเรื่อง(อันนี้ไม่เกี่ยวล่ะแต่อยากแชร์) คือเรื่องเที่ยวหาประสบการณ์ก่อนเรียนมหาวิทยาลัย ทำไมฝรั่งถึงทำอย่างนี้ เค้าไม่เสียดายเวลาเหรอ อันนี้ถ้าลองเทียบกับการเรียนต่อป.โทบ้านเราน่าจะได้ คือป.ตรีเงินพ่อแม่ ป.โทเงินเราเอง เราออกเงินเองก็เสียดายถ้าเรียนไปแล้วไม่ได้ใช้ ฝรั่งก็น่าจะเหมือนกัน ออกเงินเรียนมหาวิทยาลัยเอง ก็เสียดายเงินถ้าเรียนไปแล้วไม่ได้ใช้ ฝรั่งก็เลยต้องมีช่วงค้นหาตัวเองก่อนว่าอยากเรียนอะไรกันแน่อาจจะท่องเที่ยวหรือลองหางานทำไปเรื่อยๆ ก่อน(โดยใช้วุฒิมัธยมนั่นแหล่ะ โชคดีที่บ้านเค้าทำได้) ก็เหมือนเราน่ะแหล่ะจะเรียนป.ทั้งทีก็ต้องค้นหาตัวเองก่อนว่าอยากไปด้านไหนกัน
ที่สัมผัสมา...เด็กรุ่นใหม่จำนวนมากขอตังค์พ่อแม่เรียนโทเพราะไม่อยากทำงานครับ. แต่ที่ท่านว่ามันเป็นแบบนั้นแหละ เมื่อสักสิบกว่าปีก่อนนะ
โหหหหห ทำให้ผมเลิกคิดที่จะเรียนป.โท เลยครับบ ฮ่ะๆๆๆ
มีคนถามผมว่า เรียนโทไปทำไม ถ้าเรียนแล้วไม่ได้เอาไปใช้
ผมมองว่า ในสายงานราชการ การเรียนโท ก็เป็นการลงทุน เพื่อให้ได้ขั้นเงินเดือนส่วนในสายงานอื่น ๆ การเรียนโท ก็เป็นแค่การเชิดหน้า ชูตาในสังคม แค่นั้น
ผมคิดว่า ฝรั่งที่เขาเรียนโท เรียนเอก อาจเพราะเค้าแค่อยากรู้ ชอบที่จะเรียน ชอบที่จะวิจัยในสิ่งที่ตัวเองสนใจ ก็คงแค่นั้น (ความคิดส่วนตัวล้วน ๆ)
ตามนั้นครับ
ตามชื่อ degree จริงๆ แล้วมันก็บอกไว้เลยนะครับ ผมเดาเองว่าเป็นจุดมุ่งหมายของการเรียนในยุคเริ่มแรก
ของไทย
ในความรู้สึกผม คนจะเรียนปริญญาโทควรมีประสบการณ์ทำงานในระดับนึง แล้วเรียนเพื่อเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้กับงานโดยอิงจากประสบการณ์ของเรา
ผมเตี้ยครับ คงรีบาวด์ไม่ไหว ดั๊งค์ก็อย่าหวังเลย
NBA ??
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
ใจเย็นๆ นะครับ ฮ่า ฮ่า ฮ่า
บ้านเราไม่เหมาะกับ MBA ครับ เพราะเน้นเล่นเกมส์ ควรไป MBP กันเลยมากกว่า
#ถึงแป้กก็จะเล่น
โลกแห่งความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้นครับ ฝรั่งมันก็เหมือนเรานี่แหละ
ให้ทำงานแบบหลงจู๊สินะครับ 555
บริษัทไอทีของฝรั่งก็เป็นประมาณนี้เป็นส่วนใหญ่ครับ บริษัทที่ผมทำอยู่ก็เป็น
ทำงานแบบกูเกิลคือไม่(ค่อย)แคร์เจ้าของลิขสิทธิ์นอก US, เอาออฟฟิตมาตั้งทื่อๆโดยไม่มีฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ และขายทุกอย่างแต่พอจะขอ Support หรือร้องเรียนก็มีแค่ไม่กี่แผนก
เอาแนวคิดจากจ็อบมาแต่ลืมเอา Service Mind มาใส่หัว มันใช่การบริหารที่ควรจะเป็นเหรอ?
"เอาแนวคิดจากจ็อบมาแต่ลืมเอา Service Mind มาใส่หัว" << Service Mind ของทั่นศาสดาเลยรึครับ แหม่
พลังสาวกช่างรุนแรงยิ่งนัก !!! อย่างน้อยการทำงานแบบกูเกิลก็เป็นบริษัทที่คนอยากเข้าไปอยู่มากกว่า apple หละครีบฮ่าๆ
ใครสาวกครับ? ผมใช้ทุกค่ายก็ด่ามันทุกค่าย
ผมซื้อของจากใครผมก็ต้องรับ Service ผมซื้อ Mac แต่บริษัททะลึ่งไม่ลงทะเบียน Product ผมก็ด่าไม่เลี้ยง ซื้อของ MS แต่ให้ข้อมูลไม่ครบก็โดนด่าอีก(และเป็นค่ายที่โดนผมด่าบ่อยที่สุด และมูลค่าเยอะสุดในบรรดาสินค้าที่ซื้อมา) เขาก็ Service ให้อย่างดีจนจบเคสไป
แต่พอผมซื้อ Service จาก Google พอเกิดปัญหาผมติดต่อหาเบอร์โทรไม่ได้ มีแอพละเมิดลิขสิทธิ์บริษัทของผม ผมติดต่อไม่ได้ ไม่ใช่บริษัทใหญ่ แล้วจะขายไปทำไม?
แล้วหัดดูวันที่ด้วยนะครับว่าผมสมัคร account มากี่ปี แถวนี้ทราบดีว่าถ้าค่ายไหนใช้แล้วบริการห่วยผมด่าไม่เลิกแน่ๆ
ค่อนข้างเห็นด้วยนะ Google ดีทุกอย่างยกเว้นเรื่อง Service ผู้ใช้นี่แหละ จะติดต่อแต่ละครั้งลำบากเหลือเกิน เวลามีปัญหา(โดยเฉพาะพวกบริการออนไลน์)แถบจะติดต่อเพื่อขอคำตอบอะไรไม่ได้เลย ไม่รู้ว่าจะต้องติดต่อทางไหน
บริษัท G นอกจากไม่มี Service Mind แล้วยังมีกรณีพวก Sale พี่แก แย่งงาน Partner เอาดื้อๆ นี่ก็ออกบ่อยครับ -__-")
มีพนักงานท่านหนึ่งออกมาอ้างเหตุผลตามนี้ (แน่นอนว่าโดนความเห็นในนั้นสวดยับ)
https://www.seroundtable.com/google-support-staff-limits-13916.html
"คุณก็ต้องไปนั่งทำงานกับทีมวิศวกรสิ" โดนใจ!
เห็น MBA ทีไรนึกว่่าข่าว Apple
ไม่ลองสนใจทำงานกับ แอปเปิล ดูหน่อยเหรอ
ไทยเราทำมานานแล้วนิ่คับ ไม่มีแผน
ของผมประชุมทีไรเลื่อนแผนเป็นว่าเล่น
ตอนทำแผนยังเตือนเลยว่าจะทันเหรอครับ เค้าบอกใส่ๆไปเหอะน้องเลื่อนแผนได้
OK
สิ่งนี้แหละครับที่ประเทศไทยยังเป็นอยู่ ไม่มีการวางแผน แต่ต้องรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าให้ได้
ถ้าใครทำได้นี่ถือว่าเทพมากๆ
แต่ก็ยังชอบออกกฏกำกวม ถ้ารายละเอียดไปก็มั่กจะบอกว่าเป็นความลับทางบริษัท บอกเจาะลึกไม่ได้ว่าทำผิดอะไร ไปมโนกันเอาเอง ฮ่าๆ
ระหว่างรอข้อมูล ก็เอางานของเฟส 2 มาทำก่อนจนเสร็จทั้งเฟส กลับโดนหัวหน้าด่า บอกข้ามหน้าข้ามตา
ถ้าเสร็จก่อนแล้วบอกลูกค้าโดยตรงเลยก็น่าโดนครับ เป็นปัญหาด้วยเหตุผลทางธุรกิจแต่ถ้าเสร็จแล้วกั๊กให้รู้กันแค่ภายในแต่หัวหน้าก็ยังด่านี่ เป็นปัญหาที่วัฒนธรรมในองค์กรณ์แล้วครับ
เขาเรียกว่าอไจล์ครับ
สุดยอดของวิทยายุทธ์คือไร้กระบวนท่า
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
สุดของของการไร้กระบวนท่าคือไม่เป็นท่า
จะเรียกว่าไม่สนใจก็ไม่เชิงมั้งครับ
เข้าใจว่า (เพราะไม่มีข้อมูลอื่นๆประกอบ) ที่ Rosenberg ทำคงเป็น Detailed plan เช่น Activity A เริ่ม 02/02/2015 ใช้ 7.25 md เสร็จวันที่ 11/02/2015 แล้วต่อ Activity B อีก 10.5 mdแต่สิ่งที่ Page บอกนั้นบอกว่ามันใช้ไม่ได้ เจอแทรกงานนิดเดียวผังนี้ก็ล่มแล้ว
ซึ่งในยุคปัจจุบัน อะไรๆมันเปลี่ยนเร็วตามพลวัตรของโลก วันนึงเจอ product คู่แข่งออกฟีเจอร์ใหม่ ก็ต้องปรับตามให้ทัน ไม่ใช่ตะบี้ตะบันทำของเดิมจนเสร็จโดยไม่สนของใหม่การทำ Project timeline ในช่วงประเมินควรจะวางแค่ High level เพื่อให้เห็นภาพรวมของ project และ estimation หยาบๆก่อนเพื่อตัดสินใจในระดับใหญ่ พอถึงเวลาทำงานจริงค่อย break เป็น detailed ไปทีละนิดๆ เช่น iteration 1 เป็นอย่างไร แล้วใกล้เสร็จ iteration 1 ค่อยเริ่มตี iteration 2 ไม่ใช่ทำทุก iteration รวดเดียว เพราะถ้าตัวหนึ่งเลื่อนปุ๊บ ที่ทำมาทั้งหมดก็พังทันที
AGILEhttp://agilemanifesto.org/