ในยุคที่การใช้นิ้วเพื่อปลดล็อกมือถือ หรือยืนยันตัวตนเริ่มจะตกเทรนด์ไปตั้งแต่การมาของระบบสแกนหน้า วิเคราะห์เสียง และญาติใกล้นิ้วอย่างลายนิ้วมือ กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายคนอาจคิดว่าจะมีอะไรอีกบ้างที่สามารถนำมาปลดล็อกมือถือได้อีก
วันนี้เองโลกก็ได้พบกับโซลูชันใหม่สำหรับการยืนยันตัวตนด้วยหูของผู้ใช้ จากผลงานวิจัยของ NEC บริษัทไอทีสัญชาติญี่ปุ่นที่พัฒนาหูฟังพิเศษพร้อมไมโครโฟนในตัวที่สามารถส่งเสียงเบาๆ เข้าไปยังหู และวิเคราะห์เสียงสะท้อนกลับมาว่าใช่เจ้าของหรือไม่ โดย NEC ยืนยันความแม่นยำว่าสูงถึง 99% ด้วยกัน
สำหรับคนที่คิดว่าการยืนยันตัวตนด้วยหูดูจะแปลกไป และจะนำไปใช้กับอะไรได้ ทาง NEC ยกตัวอย่างเคสการใช้งานนี้กับการสื่อสารทางไกล โดยผู้ที่ติดต่อผ่านโทรศัพท์กับลูกค้าที่ใช้โซลูชันดังกล่าว จะสามารถยืนยันตัวตนของผู้ที่กำลังสนทนาอยู่ได้โดยไม่ต้องเห็นหน้า
NEC วางแผนจะบรรจุเทคโนโลยีนี้เข้าไปในอุปกรณ์พกพาในอนาคต ตั้งเป้าไว้ภายในปี 2018 นี้
ที่มา - Digital Trends
Comments
ขี้หูจะส่งผลต่อความแม่นยำรึเปล่าเนี้ย
+1
เรามีลูกค้าดูดขี้หูเพิ่มแล้ว \0/
ไม่แน่ใจว่าคุณ pawinpawin เป็นแพทย์รึเปล่า เห็นใช้คำว่าดูดขี้หูแต่ถ้าเป็นแพทย์คงไม่เรียกผู้ป่วยเป็นลูกค้า
และคำแนะนำของนายแพทย์ทัตเทพ บุณอำนวยสุข ดังนี้ "ขี้หูมันออกเองได้ครับ การแคะหูเป็นสาเหตุสำคัญของหูชั้นนอกอักเสบนะครับ ถ้ามันอัดแน่นจริง ๆ ควรให้แพทย์เอาออกให้ครับ"
ใครอยากปรึกษาเรื่องหูเพิ่มเติมคุณหมอคอยตอบประจำที่ มั่นคง
@pawinpawin นี่แหละครับคนที่บอกไม่ให้แคะเลย :D
ผมล้อเล่นน่ะครับ
มีจริงผมตายแน่วันๆ ไม่ต้องตรวจอย่างอื่นเอาแต่แคะขี้หูปล. ผมไม่ได้ตั้งใจจะเรียกเป็นลูกค้าคิดตังค์นะ เพราะปกติผมทำงานรพ รัฐไม่ได้คิดตังค์
ยังไงก็ขอโทษน่ะครับที่ใช้คำพูดไม่ดีไปหน่อย
คิดเหมือนผมเลย
ทดลองติดตั้ง 3 OS | Windows Ubuntu Android
แอบเอาโทรศัพท์แนบหูตอนหลับก็แอบดูบัญชีได้แล้วสิ
ต้องแคะขี้หูทุกวัน รวมถึงเส้นขน ความดัน และความชื้นในหูด้วยดูเหมือนจะมีหลายตัวแปรที่เปลี่ยนไป แต่ทำไมถึงบอกว่า 99% เลยหว่า
ที่คุณว่ามานั้นส่งผลกระทบน้อยมากต่อคลื่นเสียงสะท้อนครับ
คนคิดเขาคงไม่รู้เนอะ
ที่สำคัญเขาเป็นคนญี่ปุ่นนะครับ คงไม่ทำอะไรชุ่ยๆ เปลือกๆ ออกมาง่ายๆ
หรือคนญี่ปุ่นเค้าแคะหูสะอาดจนไม่เจอปัญหานี้... -. .-
โชว์โซลูชันยืนยันตัวตนด้วย ห
ต่อไปจะโทรไปโอนเงินจากแบงค์ที่สวิตคงไม่ต้องใช้ Password เป็นคำพูดอีกแล้วสินะ
น่าจะใช้หลักการเดียวกับ sonar เพื่อดูสภาพพื้นผิวของเยื่อแก้วหู เพราะเท่าที่ดูมีจุดเดียวที่จะบอกอัตลักษณ์ได้ก็สภาพพื้นผิวเยื่อบุแก้วหูนี่แหละ เพราะถ้าใช้วิธีอื่นขี้หูจะเป็นตัวแปรจนไม่น่าจะบอกว่าได้ผลทดสอบ 99 %
ขอสอบถามเป็นความรู้ครับ ทำไมบทความนี้ถึงติดแท็ก bioinformatics ด้วยครับ
น่าสนใจแฮะ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
วิธีในการยืนยันตัวตนที่ดีที่สุดไม่ใช่วิธีการทำให้ข้อมูลนั้นปลอดภัยแต่ต้องทำให้ตัวเราเองนั้นปลอดภัยด้วย