เมืองไทยอินเทอร์เน็ตแบบไฟเบอร์ออฟติกส์เริ่มได้รับความนิยมอย่างสูงในไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ต้นกำเนิดการสื่อสารผ่านสายไฟเบอร์ออฟติกส์นั้นเพิ่งเริ่มมาเมื่อ 50 ปีที่แล้วเท่านั้น โดยงานวิจัย "Dielectric-fibre surface waveguides for optical frequencies" ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the Institution of Electrical Engineers เมื่อเดือนกรกฎาคม 1966 เป็นจุดกำเนิดของการใช้สายไฟเบอร์ออฟติกส์เพื่อการสื่อสาร
รายงานนี้เป็นการเปิดโลกว่าสายไฟเบอร์ออฟติกส์ที่มีความบริสุทธิ์เพียงพอสามารถใช้ในงานสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากดัชนีความหักเห (refractive index) ของแกนไฟเบอร์มีค่าสูงกว่าวัสดุโดยรอบก็จะสามารถนำทางแสงไปตามสายได้ พร้อมกับระบุถึงข้อจำกัดต่างๆ ที่เราเจอเป็นปกติทุกวันนี้ เช่น การสูญเสียพลังงานเพื่อสายโค้งงอ และคลื่นความถี่ที่เหมาะสม
Charles K. Kao นักวิจัยผู้ตีพิมพ์งานวิจัยนี้ ได้รับรางวัลโนเบลในปี 2009
คงต้องเรียก Kao ว่าเป็นบิดาแห่งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากที่เข้าถึงทุกบ้านของเราทุกวันนี้
ที่มา - The Register
Comments
ออฟติกส์ >> ออปติก
1996 -> 1966
ประมาณนี้สินะ ขนาด50ปี บ้านผมอยู่ลาดพร้าวสายยังเข้าไม่ถึง
แบบนี้เทคโนโลยีเก็ย data by dna ไม่ต้องใช้ชาติหน้ารึ
The Last Wizard Of Century.
ผมขอแสดงความขอบคุณต่อคุณ Charles K. Kao ครับ
ไฟเบอร์ 50 ปีแล้ว บ้านผมยังใช้สายทองแดงอยู่เบย :(