จีนพัฒนาดาวเทียมควอนตัมดวงแรกของโลก และส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อเวลา 1:40 นาฬิกา ตามเวลาท้องถิ่นจาก Jiuquan Satellite Center เพื่อทดสอบและวางรากฐานสำหรับการสื่อสารที่ปลอดภัยผ่าน Quantum Encryption และทดลองภาคปฎิบัติกับทฤษฎี Quantum Entanglement ระหว่างอวกาศและพื้นโลก
ดาวเทียม Quantum Science Satellite (QUESS) หรือที่ตอนหลังถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น Mozi เป็นดาวเทียมสื่อสารควอนตัมดวงแรกของโลกที่ถูกส่งขึ้นไปปฏิบัติการจริงบนอวกาศ ดาวเทียมดังกล่าวถูกพัฒนาโดยทีมงานจาก University of Science and Technology of China ใน Hefei และจะต้องอยู่ในขั้นตอนการทดสอบอีก 3 เดือน ก่อนการเริ่มปฏิบัติภารกิจจริง
ภารกิจแรกของดาวเทียมดวงนี้คือการทดลองการพัวพันเชิงควอนตัม ( Quantum Entanglement ) จากระยะทางไกลที่สุดเท่าที่เคยมีมาที่ 1,200 กิโลเมตร (ระหว่างพื้นโลกและอวกาศ) โดยใช้อนุภาคโฟตอนในการทดลอง สำหรับ Quantum Entanglement คือทฤษฎีที่ว่าถึงคุณสมบัติทางกลศาสตร์ควอนตัมที่ว่าด้วยอนุภาคคู่หนึ่งๆ เมื่อมีความเชื่อมโยงกันทางควอนตัม เมื่อมีการวัดค่าสถานะจากอนุภาคแรก เราจะทราบถึงสถานะของอนุภาคที่สองได้ทันทีไม่ว่าระยะทางจะห่างไกลกันเพียงใดก็ตาม ( Quantum Teleportation ) จึงถูกมองว่าเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับการสื่อสารในอนาคต
อีกภารกิจหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันสำหรับดาวเทียมดวงนี้คือการทดลองการเข้ารหัสควอนตัม ( Quantum Cryptography ) ที่จะช่วยให้สามารถยืนยันและตรวจสอบได้ทันทีว่าช่องทางการสื่อสารที่ใช้อยู่ปลอดภัยและไร้จากการถูกดังฟัง (Eavesdropping) ด้วยคุณสมบัติทางกลศาสตร์ควอนตัม (อีกแล้ว) ที่ว่าเมื่ออนุภาคถูกอ่านค่าแล้ว จะไม่สามารถอ่านค่าจากมันได้อีก หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่ามีฟีเจอร์ในการทำลายตัวเองหลังจากถูกเปิดอ่านแล้ว (นึกถึงภาพยนตร์ที่เคยดูสมัยยังเด็ก) คุณสมบัตินี้จึงถูกนำมาใช้ในการแจกจ่ายกุญแจรหัสลับควอนตัม ( Quantum Key Distribution ) เมื่อนำกุญแจดังกล่าวไปใช้ในการสื่อสารแล้วเกิดการดักฟังเกิดขึ้น ผู้สนทนาก็จะทราบได้ทันทีว่าถูกดักฟังแล้ว เพราะว่ากุญแจที่ถูกแจกจ่ายอยู่ถูกทำลายไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถถอดรหัสข้อมูลกลับมาได้
เป็นประเด็นที่น่าสนใจที่จีนเร่งวิจัยด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก อาจจะเกิดจากการสอดแนมจากประเทศเรืองอำนาจที่แอบเข้ามาเก็บข้อมูลจากนานาประเทศทั่วโลกไปสะสมเอาไว้ ซึ่งว่ากันไปแล้วถึงแม้วันนี้วิธีการเข้ารหัสที่ใช้จะยังปลอดภัยอยู่มากต่อการถอดรหัสถ้าไม่รู้กุญแจลับ แต่เมื่อถึงวันหนึ่งที่ควอนตัมคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาจนสำเร็จใช้งานได้จริง ข้อมูลดังกล่าวก็จะไม่มีความปลอดภัยอีกต่อไปและสามารถถูกถอดรหัสไปอย่างง่ายดายในที่สุด ประเทศจีนมองเห็นความสำคัญของความปลอดภัยของการสื่อสารและคงไม่อยากให้เป็นภัยต่อความมั่นคงซ้ำรอยบางประเทศสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ที่มา Physics World , New Scientist , Bangkokpost
Comments
อีกภารกิจหนึ่งที่สำหรับไม่แพ้กัน => อีกภารกิจหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันวิธีการเข้ารหัสที่ใช้จะยังปลอดภัยยากมาก => วิธีการเข้ารหัสที่ใช้ยังค่อนข้างปลอดภัย
ควอนตัว => ควอนตัม
ควอนตั้ม => ควอนตัม
แก้ไขเรียบร้อยแล้วครับ ขอบคุณทั้งสองท่านมากครับ
SPICYDOG's Blog
นานาประเทศต่างทั่วโลก?
The Dream hacker..
ขอบคุณครับ :)
SPICYDOG's Blog
อาวกาศ => อวกาศ
เจ๋งอ่ะ ใบรับรองที่ทำลายตัวเองได้เมื่อถูกอ่าน (ปกติข้อมูล Digital ไม่สามารถทำแบบนี้ได้)
อีกหน่อยถ้า Quantum Entanglement พัฒนาจนเอามาใช้ในระดับผู้บริโภคทั่วไปได้นี่..... จะได้มี Ansible ใช้สักที
คิดถึงตอนสมัยเรียนเลยว่าวิธีนี้ถ้าสำเร็จจะเป็นวิธีการสื่อสารที่สุดยอดมาก แม้มนุษย์จะอยู่คนละดวงดาว แต่ก็สื่อสารได้ไร้ซึ่งการดีเลย์
อันนี้ผมไม่รู้นะ เลยอยากถาม แล้วถ้ารู้ตัวสองจะรู้ตัวสามไหม มันจะ chain reaction หรือเปล่า หรือมันได้แค่ตัวที่สอง เท่ากับว่าลดการใช้ data ลงครึ่งหนึ่งหรือเปล่าครับ?
นึกถึงผู้ใหญ่บางท่านที่ตกอยู่ในภวังค์หวาดกลัวโปเกม่อน 3
my blog
When bunch of idiots sitting in parliament and take control on us, yep.. unsurprisingly.
Get ready to work from now on.
หมายถึงพวกผู้ใหญ่ใน Pentagon สินะครับhttp://www.washingtontimes.com/news/2016/aug/11/pentagon-bans-pokemon-go-over-spying-fears/
ไม่เข้าใจพารากราฟสุดท้ายที่ว่าซ้ำรอยบางประเทศ นี่คืออะไร ตอนนั้นเขามีเรื่องข้อมูลรั่วไหลหรืออย่างไรครับ
อาจจะหมายถึงการถอดรหัส เครื่อง Enigma ของเยอรมันที่โด่งดังจนเอาไปสร้างเป็นหนังก็ได้ครับ ตอนนั้นข้อมูลทางการทหารที่สำคัญของฝั่งเยอรมันจะส่งผ่านเครื่องนี้ เมื่อสัมพันธมิตรถอดรหัสได้จึงรู้ความเคลื่อนไหวของอีกฝ่ายได้สบายๆ
10 คะแนน!
SPICYDOG's Blog
โอ้ว ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
1 สงสัยว่ามันจะพัวพันกันยังไงในเมื่อมันอยู่ห่างกัน หรือ ยิงลงมา2 ถ้าอ่านแล้วหายแล้วข้อแรกจะมีความหมายอะไร
ตามที่ผมเข้าใจนะครับ (ผิดบ่อยด้วยสิ)
ทำให้มันพัวพันกันยังไงครับ
"Entanglement occurs when a pair of particles, such as photons, interact physically. A laser beam fired through a certain type of crystal can cause individual photons to be split into pairs of entangled photons.The photons can be separated by a large distance, hundreds of miles or even more."
และมีการทดลองในปีที่แล้วที่ ทำให้อะตอม 3,000 อะตอมพัวพันกันในครั้งเดียว ด้วยครับ ซึ่งอันนี้อธิบายแล้วฟังดูเข้าใจยากกว่า คือเขาบอกว่า การตรวจวัดค่าสถานะควอนตัมของอะตอมคือสิ่งที่ทำให้อะตอมพัวพันกันครับ
จะให้ชัวร์ต้องถามนักควอนตัมฟิสิกส์แล้วล่ะ....
สงสัยว่า พอเอานิวตรอนไปอยู่ในอวกาศ จะทำยังไงให้ควันตัมเสถียรพอจะอ่านค่าได้แม่นยำครับ