นอกจาก การใช้ ม.44 ระงับการสรรหา กสทช. คนใหม่ วันนี้ คสช. ยังออกคำสั่งอีกฉบับที่อาศัยอำนาจตาม ม.44 เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล-หน่วยงานรัฐที่ถือครองคลื่นความถี่ โดยแบ่งเป็นประเด็นใหญ่ๆ ดังนี้
- ยืดเวลาชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทีวีดิจิตอล โดยเปลี่ยนงวดการเงินก้อนที่เหลือใหม่เป็น 8 งวด (2 งวดสำหรับค่าประมูลขั้นต่ำ และ 6 งวดสำหรับส่วนที่เกินค่าประมูลขั้นต่ำ) รวมแล้วยืดระยะเวลาทั้งหมดจาก 6 ปีเป็น 9 ปี แต่คิดดอกเบี้ยเพิ่มจากระยะเวลาที่ยืดด้วย
- ให้ กสทช. สนับสนุนค่าส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านเครือข่ายดาวเทียมให้กับผู้ประกอบการเป็นเวลา 3 ปี โดยใช้เงินจากกองทุนวิจัย (กทปส.)
- ให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ ที่ได้รับความเห็นชอบให้ถือครองคลื่นความถี่ที่มีอยู่เดิม ยังถือครองคลื่นต่อไปตามสิทธิเดิมอีก 5 ปี ยังไม่ต้องคืนคลื่นให้ กสทช. มาจัดสรร ตามแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ที่ กสทช. เคยวางแผนไว้
ที่มา - ราชกิจจานุเบกษา
น.ส. สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในกรรมการ กสทช. ทวีตแสดงความเห็นในประเด็นเหล่านี้ไว้ดังนี้
- ประเด็นยืดเวลาจ่ายค่างวดเห็นด้วยเพราะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการ จากสภาพเศรษฐกิจ
- ประเด็นให้ กสทช. ช่วยจ่ายค่าดาวเทียมให้ระวังตัวเลขที่ต้องจ่าย อาจเอื้อประโยชน์ผู้ประกอบการดาวเทียม (ในที่นี้คือไทยคม)
- ประเด็นต่ออายุคลื่นความถี่ของรัฐไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการยืดเวลาการปฏิรูปสื่อของรัฐต่อไปอีก
1.เรื่องการยืดเวลาจ่ายค่างวดประมูลคลื่นทีวีดิจิตอล จาก6เป็น9ปี แบบคิดดอกเบี้ยคหสต.เห็นด้วย เพราะที่ผ่านมารัฐใช้งานฟรีทีวีมากและสภาพเศรษฐกิจ
— Supinya Klangnarong (@supinya) December 20, 2016
2. ม.44 ให้เงินสนับสนุนค่าสัญญาณดาวเทียมMustCarry คหสต.ตัวเลขดูจะแพงกว่าต้นทุนจริง อาจเอื้อผู้ให้บริการวงโคจรดาวเทียม ขอให้ตรวจสอบต้นทุน
— Supinya Klangnarong (@supinya) December 20, 2016
อย่าให้การช่วยค่าดาวเทียมครั้งนี้มีข้อครหาภายหลังว่า เอื้อประโยชน์บางกลุ่ม รัฐจ่ายเงินแพงเกินไป หรือ ไม่โปร่งใส เป็นต้น cc @armypr_news
— Supinya Klangnarong (@supinya) December 20, 2016
3. เรื่อง ม.44 ต่ออายุการถือครองคลื่นวิทยุของรัฐไปอีก 5 ปี ดิฉันขอแสดงความไม่เห็นด้วยกับ คสช. อย่างยิ่ง เพราะกระทบการปฏิรูปสื่อของรัฐ
— Supinya Klangnarong (@supinya) December 20, 2016
ดิฉันไม่เห็นด้วยกับ คสช.ในการต่ออายุ สิทธิการถือครองคลื่นวิทยุของรัฐทุกรายไปอีก5ปี เพราะเป็นการเอื้อเอกชนที่อยู่ภายใต้ระบบเช่าช่วง อุปถัมภ์
— Supinya Klangnarong (@supinya) December 20, 2016
การที่ คสช.ใช้ ม.44 หักล้างแผนแม่บท กสทช. เรื่องคืนคลื่นวิทยุของรัฐ แต่ก่อนนี้เร่งให้ประมูลคลื่นโทรคมนาคม มันต้องมีเหตุผลที่อธิบายได้ ขอฟัง
— Supinya Klangnarong (@supinya) December 20, 2016
Comments
ยึดคลื่นไปประมูลไอ้หน่วยงานที่หากินแต่กับคลื่นก็ตายสิ เขาไม่ได้อุปถัมป์แค่เอกชนหรอกเขาช่วยพวกหน่วยงานพวกนี้ด้วย มีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วเจ้านึงเอาไปบริหารเองจะมาแข่งกับเอกชนสุดท้ายเจ๊งต้องกลับไปให้เขาเช่าต่อ ก็นะ กม.ครอบจักรวาล ไม่ต้องถามใคร ใช้ง่ายขนาดนี้เลยใช้ถี่ๆ เลย
ไม่ควรปล่อยเจ๊งเหรอครับ? ถ้าอยู่เองไม่ได้ แสดงว่าเราเอาภาษีไปอุ้มอยู่
คลื่น 700 โดนมั้ยเนี่ยอยากให้เอามาประมูลไวๆ ไม่อยากให้โดนต่ออายุไปด้วย
หึหึหึ คลื่นวิทยุนี่หวงกันมากเลยสินะ กอดไว้แน่นเลย เชื่อแล้วว่าผลประโยชน์จากธุรกิจวิทยุนี่มันสุดยอดมากจริงๆ
สำหรับใครที่ยังนึกเชื่อมโยงข่าวนี้ไม่ออก ลองนึกดูดีๆ ว่าวิทยุคลื่นที่คุณฟังอยู่นั้น แม้จะเป็นสัมปทานของเอกชน แต่พอตัดเข้าช่วงข่าวแล้ว จะมีบอกว่าเจ้าของคลื่นนั้นคือหน่วยงานใด และถ้าประมวลสถานีวิทยุต่างๆ จากทุกจังหวัดทั่วประเทศแล้ว ท่านว่าภาคส่วนใด ถือครองคลื่นวิทยุไว้มากที่สุดในประเทศ? (อย่า reply ตอบนะครับ โปรดคิดในใจก็พอ)
และพอจะจินตนาการกันได้ไหมว่าผลประโยชน์เม็ดเงินมันจะมากมายเพียงใดจากการที่หน่วยงานเหล่านี้ถือครองคลื่นวิทยุ และให้เอกชนมาเช่าช่วงต่อ บางคลื่นที่ดังๆ นี่ค่าโฆษณาก็ไม่น้อยเลย อู่ข้าวอู่น้ำกันเลยทีเดียว (อย่างของทีวี กว่าจะเปลี่ยนผ่านได้ก็ลุ้นกันแทบแย่ จน กสทช. ต้องมีผลประโยชน์แลกเปลี่ยนยื่นให้ เราถึงมีทีวีดิจิทัลกันได้)
ช่างเหมาะเจาะกับการใช้ ม.44 จริงๆ (ยิ้มอ่อน)
ปล. จริงๆ คุณสุภิญญาแกก็รู้เหตุผลอยู่แล้วแหละ แต่แกล้งถามไปงั้น เพราะเชื่อเถอะไม่มีหน้าไหนโผล่ออกมาอธิบายเหตุผลหรอก รู้ๆ กันอยู่ว่าประเทศนี้เป็นยังไง
ฟังจาก FM100.5 หนึ่งทุ่มวันที่ 20 ค่าโฆษณาทั้งหมดในวงการวิทยุไทย รวมกันอยู่ประมาณ 5000 ล้านบาทครับ นับเฉพาะ 537 สถานีที่ขออนุญาตกันอย่างเป็นทางการ ไม่รวมวิทยุชุมชน
ปล. ตามแผนแม่บทของ กสทช. FM/AM เขาก็ไม่ได้จะปิดนะครับ แต่จะเปิดวิทยุดิจิตอลควบคู่ไปด้วย แต่อาจจะมีบางคลื่นต้องย้ายเลขสลับเลขใหม่เพราะความถี่มันจะไม่ได้ละ
ใช่ครับผม ตามแผนแม่บท วิทยุก็จะเปลี่ยนผ่านไปสู่วิทยุดิจิทัลเช่นกัน ทีวีเปลี่ยนได้แล้ว ก็ต้องมาลุ้นวิทยุกันนี่แหละว่าจะสำเร็จหรือไม
ประเด็นสำคัญคือ รัฐธรรมนูญกำหนดให้คลื่นเป็นสมบัติสาธารณะ หน่วยงานไม่มีสิทธิ์ครอบครองคลื่น โดย กสทช เป็นผู้ดูแลและจัดสรรคลื่นแต่เพียงผู้เดียว เพราะแบบนี้หน่วยงานที่เคยถือครองคลื่นวิทยุไว้เลยแทบไม่มีใครอยากส่งคืน สมัยตอนทีวีนี่วิ่งเต้นกันสารพัดจน กสช ในสมัยนั้นจะไม่ได้เกิดเอา มาตอนนี้ก็เหมือนหนังม้วนเดิมๆ เพิ่มเติมคืออำนาจมากขึ้นครับ :(
-44
ทักษิณเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
อำนาจมันหอมหวนจริงๆ
เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน ...
แบบนี้ไม่เรียกว่าโกงหรือ ??
That is the way things are.
ทำตามกฎหมาย (ที่เขียนขึ้นเอง) ครับ ไม่โกงครับ ตามกติกาเป๊ะๆ ครับ
คสช.บอกเศรษฐกิจไม่ดี ไปพูดแบบนั้นเดี๋ยวท่านนายกโกรธเดี๋ยวยุบคณะทิ้งนะครับ :)
ก็คือ ไม่มี ประมูลคลื่น 2600 1800 850 แล้วสินะ จบๆ แยกย้ายๆ กลับบ้านนอน ทำมาหากิน
ประมูล 1800/850 ยังมีครับ อันนี้ยืดเฉพาะคลื่น FM
ขอบคุณครับ
5555555+ โตไปไมโกงไหมล่ะ
คลื่นวิทยุทุกวันนี้ เจ้าของคลื่นส่วนใหญ่ก็นะ... อันนี้ไม่ค่อยเห็นด้วยเลยแฮะ
..: เรื่อยไป
งวดการเงิน ?
"คุณอย่าคิดอะไรมาก ประเทศนี้ไม่ใช่ของคุณ อยู่ๆไปเถอะ คิดซะว่าเช่าเค้า ทำงานหาเงิน ใช้ชีวิตให้มันมีความสุขไป สิ้นเดือนรับตังค์ แดกข้าว อยากไปเที่ยวไหนก็ไป ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก อยู่ๆไปเหอะ"
ธเนศ วงศ์ยานนาวา, 20 ต.ค. 57
ไม่คืนคลื่น ก็ไม่มีคลื่นให้เอกชนประมูลใช้ เอกชนเจ้าเก่าที่ถือครองคลื่นเยอะๆ ก็ไม่ต้องกังวลคู่แข่งหน้าใหม่ ฯลฯ
ผมว่าตีโจทย์ผิดหรือเปล่า ตอนนี้คลื่นมันยังพอมีราคาน่าจะเอาออกมาหารายได้ให้รัฐ แต่ถ้าวันนึงพวก live streamming บูมขึ้นมา กลุ่มตลาดวัยรุ่นก็จะย้ายไปทางนั้นหมด แล้วส่วนใหญ่ก็เป็นของต่างชาติ ควบคุมใบอนุญาติอย่างไร ? ส่วนตลาดต่างจังหวัดผมว่าอีกไม่เกิน 10 ปี เด็ก Gen ใหม่ขึ้นมาก็ฟังวิทยุน้อยลงแล้ว เมื่อจำนวนผู้ฟังลด ผู้ซื้อโฆษณาก็หนีมาหาสื่ออื่น ที่เข้าถึงผู้บริโภคได้มากกว่า ก็จะเกิดหน่วยงานที่สร้างภาระทางการคลังเพิ่มขึ้นอีก
+1 ผมเห็นด้วยกับท่านนะ ดู youtube facebook สิ ตอนนี้มี facebook audio อีก ไม่รู้ได้คิดทบทวนวางแผนรับือ กันไว้บ้างรึเปล่า บอกตรงๆ ถ้าผมเป็นคนบริหารผมก็คงปสดหัวกับการวางแผนเรื่องนี้
แบบไหนก็ ทำไปเถอะดีทั้งนั้น เงินเข้ารัฐแต่ กลับคืนสู่ประชาชน ไม่ใช่เข้ากระเป๋าพอ