วันนี้การประชุม Asia Pacific Regional Internet Governance Forum (APrIGF) ถูกจัดขึ้นโดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพ และเมื่อช่วงเช้ามีการจัดเสวนาหัวข้อ "พินิจอินเทอร์เน็ตไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0 (?)"
วิทยากรที่เข้าร่วมได้แก่ ศ.ดร.กาญจนา กาญจนสุตรองประธานมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย, ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ประธาน TDRI, คุณมรกต กุลธรรมโยธินกรรมการผู้จัดการบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน), ผศ.ดร.พัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และ คุณยิ่งชีพ อัชฌานนท์ผู้จัดการโครงการ iLaw
สาระสำคัญของการเสวนาครั้งนี้ วิทยากรหลายท่านได้พูดถึงองค์ประกอบและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของยุทธศาสตร์ ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเกิดจากฝั่งรัฐบาลเอง
เมื่อกฎหมายปิดกั้นการสร้างนวัตกรรม
ดร.สมเกียรติ ระบุว่าถึงแม้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจแบบดิจิทัลจะน่าสนใจ แต่ปัญหาและอุปสรรคสำคัญคือตัวบทกฎหมายและความพยายามในการควบคุมอินเทอร์เน็ตของรัฐเอง
ยกตัวอย่างง่ายๆ Uber, Grab ในไทยยังผิดกฎหมาย ขณะที่ GoJek สตาร์ทอัพเรียกมอเตอร์ไซค์รับจ้างของอินโดนีเซีย ที่เคยประสบปัญหาคล้าย Uber, Grab Bike แบบบ้านเรา กลับได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประธานาธิบดีโจโกวี และสามารถให้บริการภายใต้กฎหมายแล้วในปัจจุบัน
ขณะที่สตาร์ทอัพบ้านเราถึงแม้แนวทางจะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ อย่างการจุดประกายให้คนไทยสร้างนวัตกรรม แต่ปัญหาคือคนไทยจะสร้างนวัตกรรมยังไง ถ้ายังติดกฎหมายอยู่เช่นกัน ตัวอย่างหนึ่งคือกฎหมายควบคุมโดรน ที่การขออนุญาตค่อนข้างยาก มีเงื่อนไขและข้อห้ามเยอะ ไปจนถึง กฎเกณฑ์การนำเข้าปริ๊นเตอร์ 3 มิติ ซึ่งกฎหมายในลักษณะนี้ที่ออกแนวห้าม ต่างๆ นานาจะเป็นตัวปิดกั้นไอเดียต่างๆ ของสตาร์ทอัพ
ดังนั้นปัญหาสตาร์ทอัพของไทยไม่ใช่ขาดการสนับสนุนไม่ว่าจะภาครัฐหรือเอกชน แต่คือไม่มีเวที ไม่มีพื้นที่ให้ได้คิด ให้ได้ลองมากเท่าที่ควร
อยากให้ต่างชาติมาลงทุน แต่รัฐกลับพยายามปิดกั้นการสื่อสาร
นอกเหนือจากสตาร์ทอัพแล้ว หนึ่งในแผนการภายใต้ยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 คือการดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติมาลงทุน แต่ทว่านโยบายของรัฐกลับพยายามควบคุมและปิดกั้นการสื่อสาร (อย่างแนวคิด OTT, Single Gateway เป็นต้น) ซึ่งส่งผลให้บริษัทด้านดิจิทัลต่างชาติ กลัวที่จะมาลงทุนในไทย ไม่เว้นแม้แต่บริษัทสัญชาติเอเชีย ทีระยะหลังก็ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิเสรีภาพไม่แพ้บริษัทตะวันตก
หากมองไปที่จีนที่ปิดกั้นสื่อเหมือนกันแล้วเอามาเป็นโมเดล ความ niche ของตลาดจีนคือใหญ่และประชากรมากพอที่จะไม่ต้องง้อนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งใช้ไม่ได้แน่นอนกับบ้านเรา
อย่างไรก็ตามประเด็น OTT, Single Gateway หรือความพยายามปิดกั้นสื่อของรัฐบาลอื่นๆ อย่าง พ.ร.บ. คอมชุดใหม่นี้ ทาง iLaw มองว่าเป็นเพียงการใช้จิตวิทยาของทหาร ในการขู่ให้ประชาชนกลัวเท่านั้นเอง เพราะรัฐไม่คิดจะทำจริงหรือทำไม่ได้จริง แต่ก็ส่งผลเป็นลูกโซ่กับการลงทุนของต่างชาติ
อย่างกรณีของ Single Gateway ปัญหาคือต้องออกกฎหมายเวนคืนเกตเวย์จากเอกชน ซึ่งเป็นนายทุนใหญ่, กรณีของ OTT ที่ไม่มีประเด็นหรือสาระสำคัญ อีกทั้ง กสทช. เองก็ไม่มีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. โดยคุณยิ่งชีพระบุว่าได้อ่าน พ.ร.บ. ที่ระบุอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ทั้ง 23 อนุแล้วก็ไม่พบที่เข้าข่าย , หรือแม้แต่ ข้อเสนอของ สปท. ที่ว่าด้วยการเก็บข้อมูลลงทะเบียนซิม ฯลฯ ก็ไม่มีอำนาจ ครั้นจะบอกว่าแนะนำ กสทช. ทาง กสทช. เองก็ไม่มีอำนาจเช่นกัน
คุณยิ่งชีพมองว่า กรณี OTT ของกสทช. และข้อเสนอของ สปท. นั้นเป็นเพียงละคร ที่ทั้งสองฝ่ายต้องการออกมามีบทบาท ก่อนจะหมดวาระ เพื่อหวังจะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่อ
ข้อมูลภาครัฐยังไม่เปิด ผูกขาดกับเอกชน
อีกปัจจัยที่เป็นอุปสรรคคือข้อมูลภาครัฐ อาทิ ข้อมูลครัวเรือนและการสำรวจทางสถิติต่างๆ ที่สามารถนำไปวิจัยหรือต่อยอดให้กับสตาร์ทอัพได้ ยังไม่เป็น Public Data กล่าวคือการจะเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ต้องเสียเงิน บางครั้งหลักหมื่นบางครั้งหลักแสน ขณะที่รัฐกลับยกข้อมูลเหล่านี้ให้เอกชนผูกขาดอยู่เจ้าเดียว
ภาพจาก Pexel
และถึงแม้ข้อมูลบางส่วนจะมีการเปิดเผย แต่ก็เข้าถึงยาก อาทิ ข้อมูลการครองที่ดิน หรือแม้แต่อยู่ใน format ที่นำไปประมวลผลหรือใช้ต่อได้ยากอย่าง PDF เป็นต้น
อินเทอร์เน็ตประชารัฐ แก้ปัญหาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
ด้วยความพยายามในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ ข้อมูลจาก กสทช. ชี้ว่าปัจจุบันประชากรมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตประมาณ 60% แต่ทว่าค่อนข้างกระจุกตัวอยู่ในเมือง ยังมีช่องว่างทางโอกาสของกลุ่มคนามพื้นที่ตามชนบทและชายขอบ ซึ่งถึงแม้รัฐจะพยายามแก้ปัญหานี้ด้วยโครงการอินเทอร์เน็ตประชารัฐ แต่คำถามคือเป็นการเกาถูกที่คันหรือไม่
ปัจจุบันการครอบคลุมของโครงข่ายโทรคมนาคมของเอกชนมีมากถึง 98% จากการแข่งขัน ในขณะที่นโยบายเน็ตประชารัฐก็วางโครงข่ายไร้สายตามหมู่บ้านต่างๆ ซึ่งเป็นการลงทุนซำ้ซ้อนกับเอกชน ยังไม่นับความด้อยของคุณภาพในการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานที่ปลายทาง กล่าวคือภาครัฐแค่ลากสายไฟเบอร์ไปติดไว้ที่ Access Point หมู่บ้านต่างๆ โดยไม่มีการคำนึงถึงการครอบคลุมของสัญญาณทั้งหมู่บ้าน
ภาพจาก Pixel
อยากให้ Thailand 4.0 เป็นจริง รัฐต้องเปลี่ยนนโยบาย
ด้วยปัญหาข้างต้น สิ่งที่รัฐควรจะทำเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ คือการปรับตัวของรัฐเอง ที่ผ่านมาเทคโนโลยีพัฒนาอย่างก้าวกระโดดตามกฎของ Moore ขณะที่ภาคธุรกิจก็ปรับตัวอย่างต่อเนืองเป็นเส้นตรง แต่ถ้าหากรัฐเดินหน้าไปเดินหน้าไปด้วยข้อจำกัดข้างต้น โอกาสของ Thailand 4.0 ก็คงเป็นไปได้ยาก
ขณะที่ตัวกฎหมายเองก็ต้องมีการแก้ไข ปรับปรุง รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายต้องรัดกุม มีกระบวนการที่ชัดเจน (Due Process) และมีหลักนิติธรรม (Rule of Law)
Comments
เรื่อง Uber ก็เห็นครูหยุยเอาไปพูดในที่ประชุมสนช. แต่ก็โดนกลุ่มอำนาจเก่าต่อต้านแล้วหลายๆประเทศก็ผิดกฏหมาย ไม่ใช่ประเทศไทยประเทศเดียวสักหน่อย
ถูกจัดขึ้นโดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพ
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ => ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
SIngle Gateway => Single Gateway
ที => ที่
พรบ. => พ.ร.บ.
อินเทอร์เน็ตประชารัฐ => เน็ตประชารัฐ
คนาม ?
ซำ้ซ้อน => ซ้ำซ้อน
ต่อเนือง => ต่อเนื่อง
เดินหน้าไปเดินหน้าไป ?
Pixel => Pexels
แนวคิดของรัฐมาถูกทางแล้วครับ แทนที่จะหากินกับการเป็นปลิงเกาะ platform ต่างประเทศ .
การจะก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 ไทยต้องเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเอง ไม่ใช่การไปเป็นดาวไลน์ของบริษัทต่างชาติ . ไม่เช่นนั้นก็วนลูบเข้าสู้ยุคเดิมๆ .เครื่องพิมพ์สามมิติ ต้องเป็นสินค้าควบคุมอยู่แล้ว โดยเฉพาะพวกประเภท SLA / SLS พวกนี้ใช้เลเซอร์คลาส 2+ เป็นอุปกรณ์อันตราย . วัสดุก็โคตรมลภาวะ .
การพัฒนาแบบโง่ๆ คือการพัฒนาแบบคาดหวังการ monopoly และสุดท้ายการพัฒนาและควบคุมพัฒนาแบบกระจุกเดียว .คนพวกนี้ไม่ได้กลัวอะไร แค่กลัวว่าตนเองจะสูญเสียโอกาสในการผูกขาด ในการสร้าง monopoly
กราฟโง่ๆที่เขาเอามาให้ดูน่ะ ผมเห็นแล้วขำกลิ้งเลย เล่นแร่แปรวาทกรรมคำพูด .การสร้าง ความเหลื่อมล้ำ คือสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่นี่แหละ . ทุกวันนี้เกิดขึ้นมาซ้ำซาก
ตามเมืองต่างๆที่ใหนมี 7-11 เปิดปุ๊ป ร้านค้าที่ขายมาเกิน 20-30 ปีต่างก็เดือดร้อน คนขายไข่ปิ้งก็กลายเป็นซาเล้งเก็บขยะ
เมืองใหนมี se-ed เปิด ร้านหนังสือเก่าแก่ เจ๊งเรียบ ปิดราบ .
เมืองใหนมี lotus เปิดใหม่ คนขายพืชผักต้อง เข็นรอบเมือง หลังตลาดวาย
ในขณะที่รัฐทำในสิ่งที่ควรทำ พัฒนาแบบมั่นคงไปทีละก้าว สองก้าว . ไม่ใช้เอาแต่โอ้โลมนายทุน ฉาบฉวยรวดเร็ว และบิดเบี้ยว .
วัฒนธรรมของคนไทยโดยเฉพาะพวกเรียนสูง เป็นสิ่งมีชีวิตในห้าง . พวกนี้จะเห่อหมอยเทคโนโลยี
คนกลุ่มนี้ขังตัวเองไว้ในห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารชื่อดัง , ตัดขาดจากโลกที่เป็นอยู่
เป็นทาสเทคโนโลยี ไม่ได้เป็นผู้ผลิตที่ดี . พวกนี้จะทำลายชาติซ้ำๆซากๆ ด้วยการชักศึกเข้าบ้าน
ญี่ปุ่นเองก็เพิ่งจะเข้าสู่ยุคสมาร์ทโฟน - ไม่นานนี้เอง เรียกว่าช้ากว่าไทยหลายเท่า ,เพราะเขาให้เวลาภาคอื่นๆปรับตัว . ไม่ให้เกิดปัญหาต่อชีวิตมนุษย์
คนฉลาด คือคนรู้จักเลือกที่จะปฎิเสธเทคโนโลยี
ครับ... กองทัพไม่เป็นตัวอย่างละครับ เครื่องรถถังเรือดำน้ำผลิตเองเลย... หมดยุคบ่นของต่างชาติได้แล้วมั่งครับเทคโนโลยีที่คุณใช้เมนต์ด่าฝรั่งตอนนี้ก็ขอฝรั่งครับ แต่ตอนนี้ไทยกำลังเอาของเขาแล้วพัฒนาต่อไม่ได้เพราะมันผิดกฏหมายครับขัดกับสิ่งที่คุณพูดอยู่ครับ
ครับ เรือดำน้ำน่ะมีการได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีในสัญญาด้วย .
แค่เทคโนโลยีเครื่องยนต์เสตอลิงอย่างเดียวก็สามารถนำไป :) ผลิตเครื่องจักรซับซ้อนได้อีกหลายต่อหลายอย่าง .เหล็กที่ทำผิวเรือดำน้ำก็ต้องเป็นเหล็กชนิดพิเศษ ทนแรงอัดมหาศาลของมหาสมุทรได้ .
ดังนั้นการซื้อเรือดำน้ำเรียกว่าคุ้มเกินคุ้ม และไม่มีอะไรดีกว่านี้อีกแล้ว :)
ตัวอย่างที่คุณยก มานั่นแหละคือ "ตัวอย่าง" ที่สมบูรณ์แบบที่สุด :) LOL
คุณไปมุดหัวอยู่ใหนมาผมไม่ทราบ . แต่ไทยมีโครงการต่อเรือฟริเกตเองแล้ว :) (ตั้งเป็นปี)รถทหารของไทยปัจจุบันบริษัทชัยเสรีก็ผลิตอยู่
ผมบอกไปแล้ว สิ่งมีชีวิตในห้าง มักจะเป็นสิ่งมีชีวิตในห้าง
อะไรคือการพัฒนาต่อไม่ได้ละครับ ? รัฐเราห้ามนำเข้าหนังสือ IT รึไง ???แค่ข้ออ้างของกลุ่มปอปปลิง หากินกับแพลตฟอร์ม
สมบูรณ์ครับกินกันสมบูรณ์? ไม่ใช่ว่าไทยเราเคยมีเรือดำน้ำหลวงมัจฉาณุ สั่งประกอบจากญี่ปุ่น 4 ลำตั้งแต่ 2481 แล้วความรู้ความเข้าใจเรามันหายไปไหนตั้งเกือบ 80 ปีละครับ มันอาจจะไม่ได้ล้ำสมัยแต่วิทยาการทางกองทัพไม่ได้พัฒนาไปมากกว่าต้องซื้อจากต่างประเทศแบบ 80 ปีที่แล้วเลยรึ? ส่วนห้างนะผมไม่มีเวลาไปเที่ยวห้างเท่าไหร่หรอกครับเพราะผมเป็นมดงานเล็กๆคนหนึ่งทำโปรเจคพัฒนาระบบไอทีให้ประเทศอยู่ แล้วอย่าพูดแค่หนังสือไอทีจะทำให้ประเทศพัฒนาได้ครับถ้ารัฐยังไดโนเสาร์ไม่พัฒนากฏหมายให้สอดคล้องกับการพัฒนา แค่หมึกในอักษรไม่ทำให้มนุษย์ขึ้นอวกาศได้ครับมันต้องมีโอกาสให้ลงมือทำ
อวยทหารมากไปมั้งครับ เขายังแก้วัฒนธรรมองกรตนเองไม่ได้เลย
เรือดำน้ำนี่ไม่มีอะไรมากไปกว่าคอมมิชชั่น
ถ้าเขาส่งเสริมจริงเขาส่งเสริมตั้งแต่ทำกระสุนยางใช้เองแล้วล่ะ
นี่ผมพูดจากประสบการณ์ที่เคยทำงานนะ
คนเรียนสูงทุกคนไม่ใช่ว่าจะไปหมกในห้างนะครับ คนที่เขาทำงานจริงๆก็มี ผมเองก็ไม่เที่ยวห้างเพราะสมัยนี้อะไรมันก็สั่งออนไลน์ออนไลน์กันหมด
ส่วนหนังสือไอทีสมัยนี้มันมีแบบอ่านออนไลน์หรือแบบดิจิตอลแล้ว
ถ้าต้องนำเข้าหนังสือจะเรียนสายนี้ไม่หลังแอ่นเหรอครับบางเล่ม 600 กว่าหน้า text ล้วนๆ
เท่าที่ผมอ่านความคิดเห็นของคุณผมก็พอเดาได้ว่าคุณมโนไปเองเสียส่วนใหญ่
se-ed นี่ทุกวันนี้ก็จะไม่รอดแล้วนะครับ
ความคิดของคุณมันใช้ได้ในกรณีที่ 'คนไม่ต้องการสิ่งที่ดีที่สุดให้ตนเองครับ' มันเอาไว้ใช้ในการบริหารหุ่นยนต์มากกว่าคนหรือประเทศ
ธุรกิจไม่มีอะไรยืนยาวครับ มีสร้างขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นเรื่องปกติ เรื่องแบบนี้เกิดมานานแล้วครับ ไม่ใช่แค่พึ่งมีตอนระบบทุนนิยม เช่นร้านลูกชิ้นเนื้อร้านหนึ่งขายดีมากคนต่อคิวยาวเหยียด ซักพักมีร้านอื่นอร่อยกว่าคนก็ไปเข้าร้านอื่นลูกค้าลดลง ซักพักคนเลิกกินเนื้อก็ขายไม่ออกเป็นต้น
กรณีมือถือในญี่ปุ่นนี่ชัดเจนครับ ประเทศเค้าไม่ใช่ว่าให้เวลาภาคอื่นๆปรับตัวครับ แต่สมาร์ทโฟนในยุคนั้นมันแค่'ดีสู้มือถือญี่ปุ่นไม่ได้'ครับ
คนฉลาด ไม่ใช่คนเลือกที่จะปฏิเสธเทคโนโลยีครับ คนฉลาด คือคนที่เอาเทคโนโลยีมาให้ตนเองเกิดประโยชน์ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมงดให้ราคากับคอมเมนท์คุณมานานแล้วครับ ดังนั้นขออนุญาติทำเป็นไม่เห็นนะครับ :D
ตามสบายครับ เพราะผมจะถือว่าความเห็นผมนี่ดีจนคุณโต้ไม่ได้ละกัน :))
เรื่องที่ตลกเรื่องนึงคือคุณเคยถามตนเองไหมครับ ว่าคนอื่นเค้าให้ค่าความเห็นของคุณแค่ไหน?
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ดูจากน้ำหนักของแต่ละข้อ ผมเข้าใจว่าประชดนะ 555
คนฉลาดในความคิดของผมคือ คนที่ปรับตัวตามกระแสโลกครับ เพราะคนฉลาดหาโอกาสจากเทคโนโลยี หากินกับเทคโนโลยี ถ้าไม่ปรับตัวใหญ่แค่ไหนก็ตายนะ
ผมเห็นด้วยกับคุณ TaishoEra ในเรื่องการจำกัดตลาดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราเองนะ
ปัญหาการพัฒนาบ้านเราที่ผ่านมาส่วนนึงเกิดจากการ "เปิดให้ต่างชาติเข้าถึงตลาดบ้านเรา" ง่ายเกินไป
จนทำให้ผู้ประกอบการบ้านเรา ที่มีความด้อยกว่าทั้งด้านเทคโนโลยีและเงินทุน
ไม่สามารถต่อสู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วทยอยตายไปในที่สุด
ในขณะที่ จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น
ถ้าดูอดีตที่ผ่านมา หรือแม้แต่จนถึงปัจจุบัน
ต่างก็มีห้วงเวลาการจำกัดการเข้าถึงตลาดจากต่างชาติ ไม่ว่าทางตรงทางอ้อมผ่าน กฎเกณฑ์ต่างๆ สำนึกชาตินิยม ฯลฯ
เพื่อให้ธุรกิจในประเทศ อยู่รอดได้ มีเงินหมุน ไม่รั่วไหลออกนอก
จนธุรกิจในประเทศอยู่รอดได้และพัฒนา และ ไล่ตามเทคโนโลยีได้ทัน หรือถึงขั้นแซงได้ในบางอย่าง
นิยามความเจริญ จริงๆแล้ว คือ "สามารถผลิตอะไรเจ๋งๆได้" ไม่ใช่ "มีอะไรเจ๋งๆบริโภค"ต่อให้ทุกคนในประเทศมี iPhone คนละเครื่อง แต่ไม่สามารถผลิตอะไรได้เอง เขาก็ไม่เรียกว่าเจริญ
การพยายามชูว่า
ถ้าขวางต่างชาติแล้วเราจะไม่มีสินค้าเจ๋งๆบริโภค = ด้อยพัฒนา
เป็นชุดความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก
การจำกัดตลาดมันจะส่งผลดีต่อเราในกรณีที่การค้าขายของเราไม่ต้องพึ่งต่างชาติจำนวนมากนะครับ ในปัจจุบันที่ไทยได้ดุลการค้าจากประเทศต่างๆ(ยกเว้นจีน)อยู่เนี่ย ในกรณีนี้หากต่างชาติกีดกันเราบ้างจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีครับ
ไต้หวันกับเกาหลีใต้จริงๆผมว่าสองประเทศนี้ไม่ได้กีดกันเทคโนโลยีด้วยซ้ำครับ นำเข้าหมดแล้วก็ก็อปจนผลิตเองได้และได้ดีกว่าด้วยเช่นไต้หวันที่เป็นเจ้าแห่ง semiconductor หรือ เกาหลีใต้ ที่ก็อปแหลก(เกาหลีใต้มี LTE ใช้เป็นเจ้าแรกๆนะครับ)
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
อ่านแล้วงงๆ กับนิยามแฮะ
1) การพึ่งพาต่างชาติ คือ ผลิตไม่ได้จนต้องนำเข้า หรือ ผลิตเกินจนต้องพึ่งให้เค้านำเข้าของๆเรา?2) ผมพูดเรื่องจำกัดการเข้าถึงตลาด เพื่อเราจะได้มีเวลานำเข้า/พัฒนาเทคโนโลยีของเรา
ไม่ใช่พูดว่าจะให้จำกัด/กีดกันเทคโนโลยี เลยนะ??
พูดง่ายๆคือ ที่เค้าเจริญได้เพราะ
นำเข้า"เทคโนโลยี" และ "ตัวเอง"เป็นเจ้าตลาดในประเทศไม่ใช่ นำเข้า"สินค้า" และ "ต่างชาติ"เป็นเจ้าตลาดในประเทศ แล้วหวังว่าประเทศจะเจริญ
ครับ
แบบที่คุณพูดนั้้นใช่แล้วครับ ซึ่งในเรื่องนี้ต้องพึ่งภาครัฐให้ส่งเสริม อุดหนุนภาคเทคโนโลยีและการผลิตครับ
ไม่ใช่บอกว่าสู้ไม่ได้แล้ว ไม่สู้ละ ปิดมันเลยแล้วกัน แบบนี้ชาติหน้าก็สู้ไม่ได้ครับสุดท้ายก็หลายเป็นเกาหลีเหนือสอง
ผมพูดรวมๆเลยครับการจำกัดเกี่ยวเนี่ยงกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศอยู่แล้ว อย่างเกาหลีใต้นี่ก็ไม่เคยจำกัดการตลาดครับ โดนญี่ปุ่นกับอเมริกาครองตลาดเบ็ดเสร็จมานานแล้ว
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ใช่ครับ ที่ผมชี้คือ ควรมีเวลาปิดในช่วงที่เราไม่พร้อม และรีบพัฒนาของเราขึ้นมา
อย่างเกาหลีใต้ ก็มียุคที่ปิดตลาดอยู่นะครับ และ สำนึกชาตินิยมเกาหลีใต้ก็ไม่ได้น้อยกว่าญี่ปุ่นซักเท่าไหร่จน บ.ในประเทศเค้าแข็งแกร่ง ถึงได้กล้าเปิดตลาดอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
ขณะที่บ้านเราเปิดตลาดโดยที่ยังไม่พร้อม แถม มีค่านิยมใช้ของนอกแล้ว มันแพง มันดี มันเท่ห์ มันเหนือกว่าใช้ของในประเทศ
เรียกว่าไม่ต้องบ่นเลยที่ประเทศไม่พัฒนาเพราะเราไม่สนับสนุนคนไทยกันเอง จนคนพัฒนาที่มีฝันสูงและไฟแรง ต้องตายไปไม่รู้กี่รายต่อกี่ราย ก่อนจะมีโอกาสได้ทำอะไรเจ๋งๆ
ผมเห็นด้วยนะเรื่องจำกัด 7eleven โลตัส บิ๊กซีไม่มีประเทศไหนหรอกมีเซเว่นทุกป้ายรถเมล์ แบบนี้ประชาชนที่ทำอาชีพค้าขายเดือดร้อนแน่ยิ่งมีข่าวขายข้าวไข่เจียวด้วยจะกินรวบมากไป
โทษทีครับกดreplyติดกัน
ผมค่อนข้างแปลกใจที่ความคิดเห็นแบบนี้ยังไม่ถูกแบนนะ ทั้งกล่าวหาผลงานคนอื่นว่าโง่ โดยที่ตัวเองก็ไม่ได้แสดงความฉลาดออกมาแต่อย่างใด ไม่ได้บอกด้วยซ้ำว่ากราฟโง่ ๆ ที่ว่านั่นมันโง่อย่างไร ใช้ไม่ได้ตรงไหน ควรปรับปรุงอย่างไร ด่าได้อย่างเดียวเอาสนุกปาก
แล้วไหนจะเรียกคนอื่นด้วยถ้อยคำที่ไม่สุภาพอีก (ผมเดาว่าคงไม่มีใครอยากโดนคนอื่นเรียกว่าพวก "เห่อหมอย" กระมัง) ไปเรียกเขาเสีย ๆ หาย ๆ แบบนั้น กล่าวหาว่าเป็นทาสเทคโนโลยี ไม่ได้เป็นผู้ผลิตที่ดี แล้วถามหน่อยคุณทำอะไรให้ประเทศบ้าง เป็นผู้ผลิตที่ดีหรือ ??
ช่วยบอกทีคุณผลิตอะไรบ้าง
Google, Gmail, Youtube, Facebook, Instagram, LinkedIn, Steam, Blizzard ใช้ไหม ?? ไปใช้ของต่างชาติทำไม
Firefox, Chrome, IE, Windows, Linux, OSX, iOS, Android ใช้ไหม ?? ไปใช้ของต่างชาติทำไม
ทีวี ตู้เย็น เตารีด เครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ ใช้ไหม ?? ของพวกนี้มียี่ห้อไหนที่เป็นของคนไทยบ้าง รับจ้างเขาผลิตมาเป็นกี่สิบปีแล้วทำไมยังไม่มี brand เป็นของตัวเอง ??
จากตัวอย่างที่ยกมาข้างบนทั้งหมด ผมสรุปจากนิยามของคุณเลยได้ไหมว่าคุณก็เป็นพวกทำลายชาติซ้ำ ๆ ซาก ๆ ชักศึกเข้าบ้านเหมือนกัน
อยากรู้เหลือเกินว่าตัวคุณปฏิเสธเทคโนโลยีอะไรบ้าง ?? กล้ามาตอบบ้างไหม ?
That is the way things are.
อาจจะเพราะเป็นความเห็นที่ไม่มีใครให้ราคา...เลยยังไม่โดนแบน
เหมือนจะพิมพ์มีความรู้...แต่ไม่ถกเถียงด้วยความรู้พอเจอคนจริงคุยด้วยเหตุและผล...ก็บอกงดให้ราคา
แล้วก็ได้แต่พิมพ์ด่าประชดไปมา...บอกตามตรงว่าผมอ่านยังเบื่อ
+1 ตอนนี้เจอคือข้ามเลย ไม่อ่าน อ่านไปก็เสียเวลา 555
การจะก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 ไทยต้องเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเอง ไม่ใช่การไปเป็นดาวไลน์ของบริษัทต่างชาติ . ไม่เช่นนั้นก็วนลูบเข้าสู้ยุคเดิมๆ- ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมอะไรบ้างครับ
เครื่องพิมพ์สามมิติ ต้องเป็นสินค้าควบคุมอยู่แล้ว โดยเฉพาะพวกประเภท SLA / SLS พวกนี้ใช้เลเซอร์คลาส 2+ เป็นอุปกรณ์อันตราย . วัสดุก็โคตรมลภาวะ
- จริงเหรอ .... ทำไมประกาศกระทรวงพาณิชย์ หรือแม้กระทั่ง Meeting minute ไม่พูดถึงเรื่องนี้เลยครับ
มีแต่บอกว่า คสช.มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณา เพราะกลัวว่าจะมีคนเอาไปใช้ในทางไม่เหมาะสม
การพัฒนาแบบโง่ๆ คือการพัฒนาแบบคาดหวังการ monopoly และสุดท้ายการพัฒนาและควบคุมพัฒนาแบบกระจุกเดียว
- ถูกครับ อย่างเรื่องเครื่องพิมพ์ 3 มิตินี่แหละเป็นตัวอย่างที่ดีเลย
สุดท้ายแล้วเราๆท่านๆ อยากจะซื้อมาทำอะไรเล่นเองก็ทำได้ลำบาก ...ง่ายสุดก็ต้องซื้อหรือเช่าผ่านผู้นำเข้ารายใหญ่
กราฟโง่ๆที่เขาเอามาให้ดูน่ะ ผมเห็นแล้วขำกลิ้งเลย เล่นแร่แปรวาทกรรมคำพูด .
การสร้าง ความเหลื่อมล้ำ คือสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่นี่แหละ . ทุกวันนี้เกิดขึ้นมาซ้ำซาก
- รู้ไหมว่ากราฟโง่ๆที่คุณว่ามัน มันถูกใช้ด้วยหน่วยงานไหนบ้าง
อย่างรูปประเทศแล้วมีวงๆเยอะๆ .... ข้อมูลลักษณะแบบนี้ถูกใช้ในหน่วยงานที่วางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศด้วยนะ
อย่าว่าแต่ความเหลื่อมล้ำทางดิจิตัลเลย .... ความเหลื่อมล้ำด้านอื่น ก็ใช้กราฟลักษณะมาแสดงกัน
อีกอย่างนึง ที่คุณว่าการพัฒนาแบบกระจุกเดียว มันก็คือไอ้กราฟโง่ๆอันนี้แหละครับ
7-11 se-ed lotus
- มันก็เป็นตามเทรนการค้าถ้าคุณไม่ปรับตัว หาอะไรมาแข่ง หรือ มีอะไรมาขวางให้แข่งลำบาก ก็ควรไปปรับปรุงตัวเอง หรือปรับสิ่งที่มาขวาง
(บ้านผมเป็นร้านค้าในตลาด ห่าง 7-11 ไม่ถึง 100 เมตร ห่าง lotus ประมาณ 700 เมตร แถมในตลาดก็ไม่ได้เป็นแบบที่คุณบอกด้วย ร้านค้าก็ยังขายเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือมีของเยอะขึ้น)
ในขณะที่รัฐทำในสิ่งที่ควรทำ พัฒนาแบบมั่นคงไปทีละก้าว สองก้าว- ลองดูกราฟสุดท้ายดูครับ นั่นแหละคือคำตอบ
วัฒนธรรมของคนไทยโดยเฉพาะพวกเรียนสูง เป็นสิ่งมีชีวิตในห้าง บลาๆๆ- จำนวนประชากรที่คุณอ้างมามันเยอะขนาดไหน หรือคิดเป็นกี่ % ของคนเรียนสูงครับ
ญี่ปุ่นเองก็เพิ่งจะเข้าสู่ยุคสมาร์ทโฟน - ไม่นานนี้เอง เรียกว่าช้ากว่าไทยหลายเท่า ,
เพราะเขาให้เวลาภาคอื่นๆปรับตัว . ไม่ให้เกิดปัญหาต่อชีวิตมนุษย์- ช้ากว่ายังไงหว่า ตอนนี้ประเทศไทยผลิตสมาร์ทโฟนได้แล้วเหรอ
สมัยก่อนขึ้นรถไฟที ก้มหน้าก้มตาส่งเมล์กันรัวๆ .... พวกพนักงานก็ใช้มือถือทำงานกันได้ตั้งแต่สมัยสมาร์ทโฟนยังไม่มี
คุณเคยขอข้อมูลภาครัฐ เอามาใช้ทำงานบ้างไหม
เคยเจอปัญหาในการดึงข้อมูลพื้นฐานบ้างไหม ..... ในบทความนี้ยังดีนะครับที่ได้ออกมาเป็น pdfเพื่อนร่วมงานผมเคยขอไป ....พี่แกจะส่งมาเป็นกระดาษ -*-
นั่งแจกกล้วยให้หน่วยงานรัฐไปพลางหาข้อมูลจากที่อื่นไปพลาง สุดท้ายไปได้ข้อมูลจากเอกชน บ.อื่นช่วยชีวิตไว้
TaishoEra = 1912-1926ปีนี้ 2017 แล้ว
เขียม Se ed เปิด นี่มโนเอาหรืออยู่คนละประเทศกับผมเนี่ย
ผมก็นึกว่าร้านหนังสือเจ๊งเพราะ ebook กะ หนังสือ load เถือนซะอีก ที่แท้เพราะดอกหญ้านี่เอง
ดร.สมเกียรติ ยังเป็น ผอ. TDRI อยู่เลยสินะครับเนี่ย แกอยู่นานจริงๆครับ สงสัยฝีมือดี