Tags:
Node Thumbnail

คณะกรรมการกำกับการซื้อขายหลักทรัพย์สหรัฐฯ (เทียบเท่ากลต. ของไทย) ออกรายงานการระดมทุนในองค์กรเสมือน เช่น การขายโทเค็น, การทำ initial coin offering (ICO) ต่างๆ เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจจริง

เมื่อเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ ทำให้ผู้ที่เปิดขายหลักทรัพย์เหล่านี้ต้องมาลงทะเบียนกับกลต. และถูกกำกับดูแล พร้อมให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนแบบเดียวกับหลักทรัพย์อื่นๆ

ICO เป็นเครื่องมือระดมทุนสำหรับบริษัทต่างๆ โดยขายโทเค็นที่เป็นสัญญาการมีส่วนในบริษัทเหมือนกันหุ้น เช่น Pillar Project (PLR) ที่ประกาศระดมทุนตั้งเป้า 50 ล้านดอลลาร์เพื่อสร้างกระเป๋าเงินที่เกบข้อมูลส่วนตัวและเชื่อมต่อกับบริการอื่นๆ เช่น เว็บ และบริการแชตต่างๆ ได้ ตอนนี้ PLR มีมูลค่ารวม 38 ล้านดอลลาร์ จากการปล่อยระดมทุนออกมา 560 ล้าน PLR จากทั้งหมด 800 ล้าน PLR

กลต. สหรัฐฯ ยัง ออกบทความเตือนถึงการหลอกลวงให้ลงทุนในโทเค็นต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทที่ระดมทุนโดยอ้างว่ารับประกันผลตอบแทน, เร่งเร้าให้รีบลงทุนทันที และยอมรับว่าไม่สามารถไปกำกับบริษัทนอกสหรัฐฯ การลงทุนเช่นนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะหาตัวผู้ดำเนินการไม่พบ เช่น Pillary Project เองเป็นโครงการของบริษัท Twenty Thirty AG ในสวิสเซอร์แลนด์

ที่มา - SEC.gov

Get latest news from Blognone

Comments

By: akebin on 26 July 2017 - 12:47 #999738
akebin's picture

เงินที่เกบข้อมูล --> เงินที่เก็บข้อมูล

By: LuvStry
Contributor Android
on 26 July 2017 - 13:22 #999747
LuvStry's picture

คุ้มครอง ? 5555


Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ

By: lew
Founder Jusci's WriterMEconomics Android
on 26 July 2017 - 15:17 #999767 Reply to:999747
lew's picture

อันนี้ผมก็งงๆ ระบบ ICO เหมือนกันครับ ว่าถ้าไม่มีการบังคับทางกฎหมายแล้วจะเชื่อกันได้ยังไง อย่างพวกหุ้นยังมีระบบระดมทุน ยังต้องทำเรื่องโหวต ทำบัญชี (ซึ่งก็ยังมีปัญหาโกงเรื่อยๆ)

อย่าง Pillar Project นี่ไม่มีสถานะเป็นบริษัทด้วยซ้ำ ทำมามีรายได้จะคิดกันยังไง?


lewcpe.com , @wasonliw