Bloomberg รายงานว่า Nothing เตรียมเพิ่มทุนรอบใหม่ในซีรีส์ C อย่างน้อย 100 ล้านดอลลาร์ โดยมีแผนนำเงินลงทุนนี้มาใช้ขยายธุรกิจในประเทศต่าง ๆ เพิ่มเติม
รายงานบอกว่า Nothing มีการเติบโตสูง ในปี 2024 ที่ผ่านมา รายได้จากการขายสมาร์ทโฟน หูฟัง และสมาร์ทวอทช์รวมมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์ เมื่อรวมยอดขายสะสมนับตั้งแต่ เปิดบริษัทในปี 2021 รวมทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์แล้ว
ตลาดที่ใหญ่ที่สุดของ Nothing คืออินเดีย ตามด้วยเยอรมนี และสหราชอาณาจักร บริษัทยังมีการทำตลาดในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งมีแผนจะทำการตลาดให้มากขึ้นด้วย
ตัวแทน Nothing ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อรายงานข่าวนี้
KoBold Metals สตาร์ทอัปจากแคลิฟอร์เนีย ซึ่งพัฒนาเครื่องมือสำรวจแหล่งเหมืองแร่ด้วย AI ประกาศรับเงินเพิ่มทุนซีรีส์ C เพิ่ม 537 ล้านดอลลาร์ โดยผู้ลงทุนหลักในรอบนี้คือ T Rowe Price ร่วมด้วย Durable Capital Partners ทำให้มูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นเป็น 2.96 พันล้านดอลลาร์
KoBold Metals ก่อตั้งในปี 2018 มีเป้าหมายในการนำ AI มาช่วยประมวลผลข้อมูลธรณีวิทยาขนาดใหญ่ เพื่อปรับปรุงให้มีโอกาสสำเร็จมากขึ้นในการสำรวจพื้นที่เหมืองแร่ ซึ่งเป็นความท้าทายที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมนี้ เพราะพื้นที่ซึ่งค้นพบแหล่งแร่ปัจจุบัน มีอยู่ประมาณ 0.3% ที่สามารถพัฒนาให้คุ้มการลงทุน
Databricks บริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับจัดการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ ประกาศรับเงินจากนักลงทุนในซีรีส์ J จำนวน 10,000 ล้านดอลลาร์ ที่มูลค่ากิจการ 62,000 ล้านดอลลาร์ เงินลงทุนรองนี้เป็นการเพิ่มทุนขนาดใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในกลุ่มสตาร์ทอัปที่ยังไม่เข้าตลาดหุ้น โดยมี Thrive Capital เป็นผู้ลงทุนรายหลัก ร่วมด้วย Andreessen Horowitz, DST Global, GIC, Insight Partners, WCM Investment Management และอื่น ๆ
บริษัทบอกว่าเงินลงทุนที่ได้รับรอบนี้ จะนำมาใช้ขยายธุรกิจรองรับการเติบโต ผ่านการออกตลาดต่างประเทศ และซื้อกิจการเพิ่มเติม รวมทั้งรองรับการซื้อหุ้นคืนจากพนักงานอดีตและปัจจุบัน
The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวภายใน ByteDance รายงานว่ามูลค่ากิจการล่าสุดของ ByteDance เพิ่มขึ้นเป็น 3 แสนล้านดอลลาร์ สูงที่สุดของบริษัท จากการที่บริษัทรับซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นเดิมรอบล่าสุด
ช่วงที่ผ่านมา ByteDance มีมูลค่ากิจการที่เพิ่มขึ้นผ่านการซื้อหุ้นคืน โดยก่อนหน้านี้ในเดือนตุลาคม 2023 ได้ซื้อหุ้นคืนจากพนักงานที่มูลค่ากิจการ 2.25 แสนล้านดอลลาร์ และซื้อหุ้นคืนอีกรอบในเดือนธันวาคมที่ 2.68 แสนล้านดอลลาร์ การซื้อหุ้นคืนเป็นวิธีการจัดการสภาพคล่องให้กับผู้ถือหุ้น ที่ต้องการขายหุ้นเป็นเงินสดในสภาะที่บริษัทยังไม่ชัดเจนว่าจะไอพีโอเข้าตลาดหุ้นได้เมื่อใดแบบในกรณีของ ByteDance นี้
Bolt แอปเรียกรถแท็กซี่และส่งอาหารเดลิเวอรี เปิดเผยว่าบริษัทมีรายได้ย้อนหลัง 12 เดือน มากกว่า 2 พันล้านยูโรแล้ว
Bolt เป็นสตาร์ทอัปจากเอสโตเนีย ปัจจุบันให้บริการมากกว่า 50 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย โดยส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปและแอฟริกา
Markus Villig ซีอีโอของ Bolt บอกว่ามากกว่า 20 ประเทศ ที่บริษัทดำเนินการมีส่วนแบ่งตลาดมากเป็นอันดับ 1 โดยปัจจุบันมีบริการทั้ง รถแท็กซี่, สกูตเตอร์, เช่าจักรยานไฟฟ้า, เดลิเวอรีทั้งอาหารและสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ต เขายังให้ความเห็นของเทรนด์รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติแบบไม่มีคนขับ ว่าเป็นโอกาสสำคัญของแอปเรียกรถแท็กซี่ เนื่องจากมีความเข้าใจในอุตสาหกรรมและการนำมาใช้งานมากกว่าคนอื่น
ความร้อนแรงในการลงทุนของสตาร์ทอัป AI ยังมีรายงานออกมาต่อเนื่อง โดย Perplexity AI เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายของการรับเงินทุนเพิ่ม 500 ล้านดอลลาร์ ที่มูลค่ากิจการ 9 พันล้านดอลลาร์ สูงกว่า รายงานที่ออกมาเมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งอยู่ที่ 8 พันล้านดอลลาร์
มูลค่ากิจการของ Perplexity AI ทำให้เป็นหนึ่งบริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อต้นปีบริษัทมีมูลค่าประมาณ 520 ล้านดอลลาร์
ความร้อนแรงของการลงทุนในบริษัทด้านปัญญาประดิษฐ์ยังมีมาต่อเนื่อง ล่าสุด The Wall Street Journal รายงานว่า Perplexity กำลังเจรจาขอรับเงินจากนักลงทุน ที่มูลค่ากิจการประมาณ 8 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากมูลค่าปัจจุบัน
วงเงินที่ Perplexity ต้องการอยู่ที่ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งหากการรับเพิ่มทุนรอบนี้สำเร็จตามแผน จะเป็นการเพิ่มทุนรอบที่สามของ Perplexity เฉพาะในปีนี้ ซึ่งปกติสตาร์ทอัปในอเมริกาจะไม่ปรับมูลค่ากิจการเพิ่มบ่อยแบบนี้ (มกราคมมูลค่า 520 ล้านดอลลาร์, กลางปี 3 พันล้านดอลลาร์)
Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า Mira Murati อดีตซีทีโอ OpenAI กำลังเจรจากับนักลงทุน เพื่อขอรับเงินสนับสนุนในการตั้งสตาร์ทอัปด้านปัญญาประดิษฐ์ใหม่ โดยจะเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์บนโมเดล AI ที่เทรนขึ้นเอง
รายงานบอกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ Murati ต้องการจากนักลงทุนอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่นำไปใช้กับทรัพยากรการเทรนโมเดล นอกจากนี้ Barret Zoph อดีตนักวิจัยที่ลาออกจาก OpenAI วันเดียวกับ Murati ก็จะเข้าร่วมเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทใหม่นี้ด้วย
ทั้ง Murati และ Zoph ยังไม่ได้ให้ความเห็นต่อรายงานข่าวนี้
หลังจาก OpenAI ประกาศรับเงินจากนักลงทุนรอบล่าสุด 6,600 ล้านดอลลาร์ ที่มูลค่ากิจการ 157,000 ล้านดอลลาร์ ทำให้ OpenAI ขยับอันดับขึ้นมาเป็นบริษัทสตาร์ทอัป (มี Venture Capital ลงทุน และยังไม่เข้าตลาดหุ้น) ที่มีมูลค่ากิจการสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก
อ้างอิงข้อมูล จาก CBInsights มีสองบริษัทที่มูลค่ากิจการสูงกว่า OpenAI ได้แก่ ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok 225,000 ล้านดอลลาร์ และ SpaceX บริษัทด้านอวกาศของ Elon Musk มูลค่ากิจการ 200,000 ล้านดอลลาร์
OpenAI ประกาศรายละเอียดเพิ่มทุนรอบใหม่ตามที่ มีข่าว ก่อนหน้านี้ โดยได้เงินจากนักลงทุนรวม 6.7 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.2 แสนล้านบาท ที่มูลค่ากิจการ 1.57 แสนล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 5.16 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มทุนรอบล่าสุดที่ 8.6 หมื่นล้านดอลลาร์ เกือบเท่าตัว
OpenAI บอกว่าเงินทุนก้อนใหม่นี้ จะนำมาใช้เพิ่มจำนวนพลังการประมวลผล และสร้างเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อช่วยผู้คนแก้ปัญหาที่มีความยาก ทำให้บริษัทยังคงความเป็นผู้นำด้านงานวิจัย AI
- Read more about [ซ้ำ] OpenAI ประกาศรับเงินเพิ่มทุนรอบใหม่ 2.2 แสนล้านบาท
- Log in or register to post comments
Carl Pei ซีอีโอของ Nothing ส่งอีเมลแจ้งพนักงานทุกคน และเขานำข้อความนี้มาเผยแพร่ ใน LinkedIn ด้วย เกี่ยวกับการเข้ามาทำงานในสำนักงาน โดยบอกว่าพนักงานทั้งหมดประมาณ 450 คน จะต้องเข้ามาทำงานในสำนักงานที่ลอนดอน 5 วันต่อสัปดาห์ หากใครไม่สามารถรับเงื่อนไขนี้ได้ ก็ให้ลาออกไปหางานที่อื่น
Financial Times รายงานข่าวว่า World Labs บริษัทของ Fei-Fei Li นักวิจัยด้าน AI ชื่อดัง ระดมทุนก้อนใหญ่จากบริษัทลงทุนหลายราย เช่น Andreessen Horowitz และ Radical Ventures ตอนนี้มีมูลค่าเกิน 1 พันล้านดอลลาร์เรียบร้อยแล้ว
Fei-Fei Li เป็นนักวิจัยอเมริกันเชื้อสายจีน สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และเคยทำงานกับกูเกิลอยู่ช่วงสั้นๆ เธอเป็นผู้บุกเบิกงานวิจัยสาย computer vision และมีชื่อเสียงจากการก่อตั้งโครงการ ImageNet ที่กลายเป็นชุดทดสอบมาตรฐานของ AI สาย vision และการใช้จีพียูช่วยประมวลผล deep learning ในช่วงทศวรรษ 2010s ซึ่งในวงการได้ขนานนามให้เธอเป็น Godmother of AI
Anthropic ประกาศความร่วมมือกับ Menlo Ventures จัดตั้งกองทุน Anthology Fund เพื่อให้ทุนส่งเสริมผลักดันสตาร์ทอัปผู้พัฒนาแอพพลิเคชันด้าน AI ที่ทำงานบนพื้นฐานเทคโนโลยีของ Anthropic โดยกองทุนมีเงินลงทุนเริ่มต้นรวม 100 ล้านดอลลาร์
Anthology Fund จะลงทุนในบริษัทโดยเน้น 5 หัวข้อสำคัญได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานปัญญาประดิษฐ์, แอพพลิเคชันปัญญาประดิษฐ์แบบใหม่ สำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะ เช่น สุขภาพ การศึกษา การวิจัยทางวิทยาศาสตร์, โซลูชันปัญญาประดิษฐ์สำหรับลูกค้าทั่วไป, เครื่องมือด้านปัญญาประดิษฐ์ที่น่าเชื่อถือและปลอดภัย, เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างประโยชน์สูงสุดกับสังคม
OpenAI Startup Fund หน่วยงานการลงทุนของ OpenAI ประกาศความร่วมมือกับ Thrive Global กองทุนที่มีเป้าหมายการลงทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของ Arianna Huffington ผู้ก่อตั้ง Huffington Post ตั้งบริษัทใหม่ Thrive AI Healthมีเป้าหมายสร้าง AI ให้คำแนะนำด้านสุขภาพโดยเฉพาะ
Sam Altman ซีอีโอ OpenAI และ Arianna Huffington กล่าวว่าปัจจุบันมีการพูดถึง AI จะเข้ามาช่วยลดเวลางานของผู้คน เพิ่มประสิทธิภาพด้านต่าง ๆ จึงนำมาสู่แนวคิดพื้นฐานคือนำ AI มาปรับปรุงด้านสุขภาพและทำให้คนมีอายุยืนมากขึ้น สิ่งที่บริษัทเปรียบเหมือนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพ ที่ทำงานอยู่บน AI
มีรายงานว่า Oyo สตาร์ทอัปโรงแรมราคาประหยัดของอินเดีย ได้ปิดดีลเพิ่มทุนรอบล่าสุด รับเงินประมาณ 100-125 ล้านดอลลาร์ ที่มูลค่ากิจการ 2,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งลดลงจากที่เคยได้มูลค่าถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2019
ที่ปรึกษาทางการเงินของ Oyo บอกว่า มูลค่าที่ลดลงของ Oyo นั้นสมเหตุสมผลมากขึ้น เพราะลดลงมาจากมูลค่าเดิมราว 70% ขณะเดียวกันธุรกิจก็เริ่มทำกำไรได้แล้ว ตามแผนนั้นคาดว่าจะนำ Oyo เข้าตลาดหุ้นได้ภายใน 18-24 เดือนข้างหน้า
Byju's สตาร์ทอัปแพลตฟอร์มการศึกษา EdTech ที่เคยมีมูลค่ากิจการสูงถึง 22,000 ล้านดอลลาร์ จากการเพิ่มทุน และเคยเป็นสตาร์ทอัปที่มีมูลค่ากิจการสูงที่สุดในอินเดีย ถูกบริษัทการลงทุน BlackRock ที่ถือหุ้นใน Byju's ด้วย รายงานพอร์ตโฟลิโอการลงทุนล่าสุด โดยระบุว่ามูลค่าหุ้น Byju's ที่ถือครองมีมูลค่าเป็นศูนย์แล้ว
BlackRock เคยให้มูลค่ากิจการ Byju's ที่ 22,000 ล้านดอลลาร์ ช่วงต้นปี 2022 แต่หลังจากนั้นบริษัทประสบปัญหาหลายอย่าง เมื่อปลายปีที่แล้ว BlackRock จึงปรับมูลค่าเหลือ 1,000 ล้านดอลลาร์ และล่าสุดคือศูนย์
สมาคม Thai Startup เปิดตัว ฐานข้อมูลสตาร์ตอัพไทย เพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลของสตาร์ตอัพในประเทศไทย เพื่อเปิดให้ค้นหาข้อมูลบริการ และข้อมูลบริษัทเพื่อการระดมทุนได้ง่ายขึ้น
บริษัทสตาร์ตอัพในไทยสามารถสมัครและกรอกข้อมูลของบริษัทตัวเองได้ และทางสมาคมฯ จะมีกิจกรรมเชื่อมต่อระหว่างสตาร์ตอัพกับแหล่งทุนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศต่อไป
The Wall Street Journal มีรายงานพิเศษเกี่ยวกับ 2Uแพลตฟอร์มจัดการคอร์สเรียนออนไลน์ โดยมีจุดขายคือมีหลักสูตรของคณะหรือสาขาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แบบเต็มหลักสูตร ได้รับปริญญา (Degree) มูลค่ากิจการเคยสูงถึง 5,000 ล้านดอลลาร์ แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 30 ล้านดอลลาร์
2U ก่อตั้งในปี 2008 เป็นสตาร์ทอัปสายเทคโนโลยีการศึกษาหรือ EdTech โดย Christopher Paucek ซึ่งเป็นซีอีโอในเวลานั้นและ John Katzman ซึ่งเคยทำงานที่ Princeton Review แผนธุรกิจของ 2U คือออกแบบ จัดหานักศึกษา และให้บริการคอร์สออนไลน์ของมหาวิทยาลัยชื่อดัง โดยมหาวิทยาลัยเข้ามาดูแลส่วนการคัดเลือกและใช้ทรัพยากรออนไลน์ได้ ส่วน 2U ได้ส่วนแบ่งเป็น 60% ของค่าเล่าเรียนตามตกลงในสัญญา
Groq สตาร์ตอัพผู้สร้างชิปเร่งการประมวลผล AI (คนละบริษัทกับ Grok ที่เป็นของ Twitter/X ) สามารถรัน โมเดล Llama 3 ตัวใหม่ล่าสุดของ Meta ด้วยความเร็วสูงถึง 800 token ต่อวินาที
ถ้าดูจากสถิติเดิมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ Groq สามารถรัน Llama 2 70B ด้วยความเร็ว 240 token ต่อวินาที ซึ่งถือว่าเร็วมากๆ แล้ว เมื่อเทียบกับตัวเลขของ GPT-4 หรือ Claude Opus ที่ทำได้ไม่ถึง 40 token ต่อวินาที
Marissa Mayer อดีตซีอีโอยาฮูและผู้บริหารกูเกิล ซึ่งปัจจุบันเป็น ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ ชื่อ Sunshine เมื่อ 6 ปีที่แล้ว โดยมีแอปหลักคือแอปจัดการรายชื่อผู้ติดต่อ Sunshine ชื่อเดียวกับบริษัท ล่าสุด Mayer แอปใหม่ที่หน้าตาอาจทำให้รำลึกความหลังกันได้
แอปนี้ชื่อว่า Shine by Sunshineตอนนี้มี เฉพาะบน iOS การทำงานของแอปคือไว้อัปโหลดและแชร์รูปถ่ายให้กับเพื่อนหรือกลุ่ม โดยสร้างเป็นอัลบั้มที่ระบุเวลาและสถานที่ เพื่อแก้ pain point ที่รูปตามงานเลี้ยงหรือพบปะกลุ่ม มักถูกแชร์ให้กันลำบากหรือไม่ครบ ซึ่ง Shine จะเข้ามาแก้ปัญหานี้
Uzum สตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซที่ให้บริการครบวงจรทั้ง แพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์, บริการส่งอาหารเดลิเวอรี และบริการทางการเงินฟินเทค ในประเทศอุซเบกิสถาน เป็นสตาร์ทอัพรายแรกของประเทศที่มีสถานะยูนิคอร์น หรือมีมูลค่ากิจการมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ โดยบริษัทรับเงินทุน 114 ล้านดอลลาร์ จากการเพิ่มทุนรอบล่าสุด มูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นเป็น 1,160 ล้านดอลลาร์
Uzum บอกว่าแพลตฟอร์มทั้งหมดมีผู้ใช้งานรวมเฉลี่ย 10 ล้านคนต่อเดือน (อุซเบกิสถานมีประชากรประมาณ 36 ล้านคน) และมีแผนการระดมทุนเพิ่มเติมอีกในปีนี้ รวมในซีรีส์ B ประมาณ 200 ล้านดอลลาร์
แผนงานในปี 2024 ของ Uzum คือการลงทุนในธุรกิจขนส่งสินค้า เพื่อรองรับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ขณะเดียวก็ขยายธุรกิจฟินเทคเพื่อเชื่อมต่อธุรกิจและลูกค้าเข้าด้วยกัน
Y Combinator โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพชื่อดัง อัพเดตหมวดของสตาร์ทอัพที่พาร์ตเนอร์มีความสนใจร่วมลงทุน ซึ่ง Y Combinator เรียกรายการนี้ว่า Request for Startups (RFS) โดยใช้หมวดเหล่านี้ในการพิจารณามาตั้งแต่ปี 2009 และปรับหมวดที่สนใจเป็นระยะ
รายการ RFS นี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ปี 2018 โดยเพิ่งประกาศ 20 หมวดล่าสุดในปีนี้ ซึ่งมีหัวข้อใหม่เพิ่มเข้ามาที่น่าสนใจและตามกระแส โดยเฉพาะกลุ่ม AI ขณะเดียวกันก็มีหมวดอย่างเทคโนโลยีสภาพอากาศ (Climate Tech) หรือแม้แต่สตาร์ทอัพที่ทำให้ภาคการผลิตกลับสู่อเมริกา
20 หมวดของสตาร์ทอัพใน RFS ปัจจุบันของ Y Combinator มีดังนี้
Microsoft for Startups เปิดรับสมัครสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการ Founders Hub ล่าสุดขยายการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม เปิดให้ใช้คลัสเตอร์ VM และ GPU ที่ปรับแต่งสำหรับใช้ในการเทรนโมเดล LLM และ Deep Learning ฟรี
Founders Hub เป็นโครงการช่วยให้สตาร์ทอัพเร่งสร้างนวัตกรรมอย่างรวดเร็ว ด้วยการให้สิทธิ์เข้าถึงบริการ AI ชั้นนำในอุตสาหกรรม คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เครดิต Microsoft Azure มูลค่าสูงสุด 150,000 เหรียญ เครดิต OpenAI มูลค่า 2,500 เหรียญ รวมถึงสิทธิ์ในการใช้งาน Microsoft 365, GitHub Enterprise และ Visual Studio Enterprise
Parag Agrawal อดีตซีอีโอเชื้อสายอินเดียของ Twitter ที่ลงจากตำแหน่ง หลัง Elon Musk ซื้อกิจการแล้วปลดออกเป็นคนแรก หลังจากนั้นเขาก็เงียบหายไปเลย (โพสต์สุดท้ายใน บัญชีทวิตเตอร์ @paraga เมื่อเดือนตุลาคม 2022)
ล่าสุดเว็บไซต์ Information รายงานว่า Parag กำลังตั้งบริษัทสตาร์ตอัพด้าน AI โดยหาเงินทุนก้อนแรกมูลค่า 30 ล้านดอลลาร์ได้แล้ว จากกลุ่มนักลงทุนที่มี Khosla Ventures เป็นนักลงทุนหลัก
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลชื่อบริษัทใหม่ของ Parag ว่าชื่ออะไร รู้แค่ว่าเป็นบริษัททำเกี่ยวกับ large language model (LLM)
เมื่อปี 2017 พนักงานของกูเกิลจำนวน 8 คน ร่วมกันเขียนเปเปอร์ชื่อ Attention Is All You Need เสนออัลกอริทึม Transformer ที่กลายเป็นรากฐานของโมเดล AI ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน
ปัจจุบันพนักงานทั้ง 8 คนไม่มีใครอยู่กับกูเกิลแล้ว แต่ละคนแยกย้ายกันไปเปิดบริษัทของตัวเอง บริษัทที่ดังที่สุดน่าจะเป็น Character.ai ที่ก่อตั้งโดย Noam Shazeer ที่มีชื่ออยู่ลำดับสองในเปเปอร์ และเป็นหนึ่งในทีมพัฒนา TensorFlow
ล่าสุด Ashish Vaswani ผู้เขียนเปเปอร์ที่มีชื่ออยู่อันดับแรก และ Niki Parmar ชื่ออันดับสาม เปิดตัวบริษัทใหม่ชื่อ Essential AIซึ่งมีนักลงทุนชื่อดัง (รวมถึงกูเกิลเองด้วย) ร่วมลงทุนซีรีส์ A อย่างล้นหลาม 56.5 ล้านดอลลาร์