Veeam ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลระดับองค์กร ประกาศรองรับ Promox VE อย่างเป็นทางการ หลังเริ่มทดลองเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ตามเสียงเรียกร้องของผู้ใช้ นับเป็นระบบ virtualization ตัวที่สองที่เพิ่มขึ้นมา ต่อจาก Oracle Linux KVM อย่างไรก็ดีตอนนี้การซัพพอร์ต Promox ยังเป็นแค่ตัวทดสอบ โดยน่าจะเข้าสถานะ GA พร้อมใช้งานจริงภายในไตรมาสสาม
ทาง Veeam ระบุว่าแพลตฟอร์มข้อมูลตนนั้นออกแบบเพื่อให้เข้ากับซอฟต์แวร์ virtualization, ระบบสตอเรจ, หรือคลาวด์ ได้หลายเจ้าอยู่แล้ว เพื่อให้ลูกค้าย้ายระบบไปมาได้ ไม่ว่าจะเพื่อประหยัดงบประมาณหรือต้องการฟีเจอร์ใหม่ก็ตาม
Anton Gostev Chief Product Officer ของ Veeam ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลระดับองค์กรรายใหญ่เปิดเผยว่าบริษัทกำลังทดสอบการทำงานร่วมกับ Proxmox ซอฟต์แวร์ virtualization ที่ได้รับความนิยมในหมู่ SME อยู่ หลังจาก VMware ที่ครองตลาดระดับองค์กร เลิกขายซอฟต์แวร์แบบขายขาดเหลือเฉพาะแบบสมัครสมาชิกรายปี
แม้จะทดสอบอยู่แต่ Gostev ก็ระบุว่า Proxmox นั้นดูจะเป็นตลาดธุรกิจขนาดเล็ก (SMB) เกินไปสำหรับ Veeam ที่มักเป็นลูกค้าระดับองค์กรที่ต้องการการสำรองข้อมูลที่น่าเชื่อถือสูงๆ
สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้พนักงานในองค์กรทั้งรัฐบาลและเอกชน ต้องทำงานที่บ้านเพื่อความปลอดภัย แพลตฟอร์มหลักๆ ที่ใช้กันก็หนีไม่พ้น Microsoft 365 บริการคลาวด์ของ Microsoft เพราะรวมเครื่องมือการทำงานที่จะช่วยให้พนักงานทำงานประสานกันได้อย่างราบรื่นแม้ไม่ได้เข้าไปทำงานที่สำนักงาน เครื่องมือของ Microsoft 365 มี หลากหลายตั้งแต่ อีเมล การประชุมออนไลน์ผ่าน Microsoft Teams หรือการเก็บข้อมูลบนOneDive และ อื่นๆเห็นได้จากสถิติผู้ใช้ที่เติบโตขึ้นถึงร้อยละ 22 ในปีที่ผ่านมา และในตอนนี้มีผู้ใช้ทั่วโลกเกิน 50 ล้านคน
Veeam ผู้ผลิตซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลประกาศตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่ามีแผนจะเลิกขายไลเซนส์แบบคิดราคาตามซีพียู (per socket) แล้วหันไปคิดราคาตามจำนวนเครื่องที่สำรองข้อมูลแทน
Anton Gostev รองประธานอาวุโสฝ่าย product management ระบุว่าลูกค้าเดิมยังคงซื้อไลเซนส์แบบคิดราคาต่อซีพียูได้ต่อไป แต่จะอาศัยแรงจูงใจให้ลูกค้าหันไปใช้ Veeam Universal License (VUL) ที่นับจำนวนเครื่องที่สำรองข้อมูลแทน แต่ยังยืนยันว่าบริษัทจะยังขายไลเซนส์แบบถาวร (perpetual license) ต่อไป แม้จะมีแบบสมัครสมาชิกให้เลือก
Veeam บริษัทด้านโซลูชันแบ็คอัพและสำรองข้อมูลผ่านคลาวด์ เปลี่ยนเจ้าของโดยขายให้บริษัทลงทุน Insight Partners ด้วยมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์
Veeam ก่อตั้งในปี 2006 โดยมีสำนักงานใหญ่ในสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนหน้านี้ถือหุ้นโดยกลุ่มผู้ก่อตั้งและนักลงทุน แต่ยังไม่ได้ขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ ตอนนี้ Insight Partners เข้ามาถือหุ้นทั้งหมด 100% โดยสองผู้ก่อตั้ง Ratmir Timashev และ Andrei Baronov จะลาออกจากบอร์ด แต่ทีมบริหารของบริษัทยังเป็นชุดเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
Insight Partners ให้เหตุผลของการซื้อ Veeam ว่าเป็นบริษัทผู้นำตลาดด้านแบ็คอัพมาตลอด 10 กว่าปี มีลูกค้ามากกว่า 3.6 แสนราย และต้องการยกระดับ Veeam เข้าสู่ยุคที่สอง (Act II) ในยุคของไฮบริดคลาวด์