กลุ่มหน่วยงานไซเบอร์สิงคโปร์ทั้งในด้านความปลอดภัยไซเบอร์หลักอย่าง Cyber Security Agency of Singapore (CSA), คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ Personal Data Protection Commission (PDPC) และกองกำลังตำรวจสิงคโปร์ร่วมออกคำแนะนำสำหรับการรับมือกลุ่มแฮกเกอร์ ALTDOS
หากยังจำกันได้ กลุ่มแฮกเกอร์ ALTDOS คือผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีบริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด, Mono Group และ 3BB เมื่อ ช่วงต้นปีที่ผ่านมา กลุ่ม ALTDOS เริ่มกลับมีความเคลื่อนไหวอีกครั้งหลังจากมีการโจมตีฝั่งเอกชนกว่า 3 แห่งในสิงคโปร์ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
กลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่ BlackMatter ประกาศการโจมตีระบบของบริษัท G-Able ส่งผลให้ข้อมูลในระบบถูกเข้ารหัสเพื่อเรียกค่าไถ่ และมีการนำข้อมูลออกมาจากระบบเพื่อเรียกค่าไถ่เพิ่มเติมอีกด้วย
จากการตรวจสอบที่เว็บไซต์ของกลุ่ม BlackMatter เบื้องต้น กลุ่ม BlackMatter อ้างว่าได้นำไฟล์ข้อมูลออกมาจากระบบ G-Able มากกว่า 100 GB รวมไปถึงได้มีการปล่อยไฟล์จำนวน 650 MB ออกมาก่อนเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่า BlackMatter มีการครอบครองไฟล์ข้อมูลอยู่จริง
ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ Bob Diachenko เปิดเผยการค้นพบคลัสเตอร์ของ Elasticsearch ที่สามารถเข้าถึงได้จากอินเตอร์เน็ต โดยภายในมีข้อมูลของหนังสือเดินทางของผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทยกว่า 106 ล้านรายการ
อ้างอิงจากการตรวจสอบโดยผู้ค้นพบ ข้อมูลดังกล่าวประกอบไปด้วยข้อมูลที่พบได้ในหนังสือเดินทาง การตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าข้อมูลโดยส่วนใหญ่นั้นเป็นข้อมูลของชาวไทยและอาจมีขอบเขตของข้อมูลครอบคลุมการเดินทางเข้าประเทศย้อนหลังถึง 10 ปี
Instagram ได้มีการออกประกาศเตือนผู้ใช้งานในกรณีที่มีกลุ่มแฮกเกอร์ได้โจมตีช่องโหว่บน API ทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว อาทิ อีเมลที่ใช้ในการสมัครสมาชิกและเบอร์โทรศัพท์ได้ โดยทาง Instagram ได้ดำเนินการแจ้งผู้ใช้งานที่ได้รับผลกระทบแล้ว และยืนยันว่าการโจมตีช่องโหว่ดังกล่าวนั้นไม่ได้ส่งผลให้ข้อมูลที่เป็นชื่อบัญชีผู้ใช้งานหรือรหัสผ่านรั่วไหล
ต่อมานักวิจัยด้านความปลอดภัยได้มีการค้นพบเว็บไซต์ซึ่งประกาศขายข้อมูลดังกล่าว โดยเปิดให้ผู้ที่ต้องการซื้อสามารถทำการค้นหาโดยใช้ชื่อบัญชีที่ต้องการและซื้อข้อมูลที่มีในราคา 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบัญชีผู้ใช้ได้
กลุ่มแฮ็กเกอร์ CyberLeaks ได้มีการประกาศความสำเร็จในการโจมตีและขโมยข้อมูลจาก เว็บไซต์ตำรวจภูธรภาค 5 โดยมีการอ้างหลักฐานการโจมตีเป็นฐานข้อมูลที่แสดงให้เห็นรายละเอียด อาทิ รายการผู้ใช้งานและรายการพาหนะที่ถูกยึด เป็นต้น
ข้อมูลที่ถูกนำออกมานั้นในเวลานี้ถูกอัพโหลดลงบนเว็บไซต์ Pastebin ทั้งหมด 3 ชุด ลักษณะของข้อมูลแสดงให้เห็นว่าผู้โจมตีสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลของเว็บไซต์ได้และสามารถส่งออกฐานข้อมูลทั้งหมดออกมาในลักษณะไฟล์ได้ แม้ว่ารหัสผ่านของผู้ใช้งานบางส่วนจะถูกเก็บเป็นค่าแฮชไว้ แต่ก็มีรายการของผู้ใช้งานอีกส่วนหนึ่งที่เก็บรหัสผ่านโดยไม่มีมาตรการป้องกันไว้เช่นเดียวกัน
นักวิจัยด้านความปลอดภัย Kevin Beaumont ได้ค้นพบว่าที่หน้าเว็บไซต์ Docs.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ใช้แสดงตัวอย่างของฟีเจอร์และการใช้งานบริการ Office 365 มีฟังก์ชันค้นหาที่เมื่อทำการค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดเฉพาะบางอย่างแล้ว จะทำให้เขาสามารถเข้าถึงไฟล์เอกสารของผู้ใช้งานอื่นได้
TeslaCrypt ซึ่งรู้จักกันว่าเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ยังคงมีการแพร่กระจายและสร้างความเสียหายต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลาหลายปีได้ประกาศปิดโครงการและหยุดการแพร่กระจายแล้ว อ้างอิงจากการค้นพบโดยนักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก ESET โดยยังมีการเผยแพร่กุญแจลับสำหรับถอดรหัสไฟล์ออกมาด้วย
บริษัท Emsisoft ได้เปิดเผยการค้นพบมัลแวร์เรียกค่าไถ่ตัวใหม่ซึ่งถูกพัฒนาอยู่บนพื้นฐานของภาษาจาวาสคริปต์ภายใต้ชื่อว่า Ransom32 ซึ่งใช้การติดต่อถึงเซิร์ฟเวอร์ออกคำสั่งและควบคุม (C&C server) บนเครือข่าย Tor และใช้ช่องทางการโอนเงินค่าไถ่ผ่านบิทคอยน์เป็นหลัก
สืบเนื่องจาก การวิเคราะห์เฟิร์มแวร์ที่มีการฝังช่องทางลับไว้ซึ่งนำไปสู่การค้นพบและเป็นช่องโหว่ด้านความปลอดภัย และยังนำไปสู่การค้นพบรหัสผ่านสำหรับการเข้าถึงช่องทางลับดังกล่าว ผลจากการสแกนด้วยเครื่องมือต่าง ๆ อาทิ SHODAN และ Censys พบว่ามีอุปกรณ์ที่มีการใช้งาน Juniper ScreenOS กว่า 200 รายการในไทยที่อาจถูกโจมตีได้ผ่านทางการใช้รหัสผ่านและช่องโหว่ดังกล่าว ซึ่งส่วนมากเป็นอุปกรณ์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตและเครือข่าย รวมไปถึง ไอพีของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ก็อาจตกเป็นเป้าหมายด้วย
จาก กรณีของการติดตั้งกล้องแอบถ่ายในบ้านเช่าซึ่งใช้บริการของ Airbnb
โปรแกรมเมอร์ชาวนิวซีแลนด์ Julian Oliver ได้เสนอไอเดียง่ายๆ ในการตรวจจับกล้องไร้สายที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันโดยใช้เพียงแค่คอมพิวเตอร์ทั่วไปในการหาร่วมกับสคริปต์ที่เขาพัฒนาขึ้นซึ่งมีชื่อว่า dropkick.sh
ฟีเจอร์ Security Panel จะเป็นฟีเจอร์ใหม่ที่กำลังจะถูกเพิ่มใน Chrome รุ่น 48 ซึ่งจะช่วยในการแสดงรายละเอียดของการเชื่อมต่อบนโปรโตคอล HTTPS และปัญหาที่อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ให้สามารถเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น
ในการตรวจสอบรายละเอียดของการเชื่อมต่อบนโปรโตคอล HTTPS นั้น มีปัญหาในเรื่องของความไม่ชัดเจนในบางกรณี เช่น การเรียกวัตถุทรัพยากรใดๆ ผ่านโปรโตคอล HTTP ซึ่งไม่ได้มีการระบุอย่างชัดเจนถึงวัตถุหรือทรัพยากรนั้นว่าคืออะไร หรือในเรื่องของการให้ข้อมูลซึ่งยากต่อการทำความเข้าใจต่อผู้ใช้งานทั่วไป
เมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมานับตั้งแต่ข่าวนี้เริ่มเขียน กลุ่มแฮกเกอร์ซึ่งใช้ชื่อว่า GhostShell ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลการโจมตีโดยมีเป้าหมายส่วนหนึ่งเป็นเว็บไซต์สถาบันการศึกษาและบริษัทห้างร้านในไทย โดยในข้อมูลที่เผยแพร่ออกมานั้นได้มีการบอกถึงช่องโหว่ที่ใช้ในการโจมตี และข้อมูลบางส่วนที่ถูกขโมยมาจากฐานข้อมูลด้วย
ในตอนนี้ถือได้ว่าเว็บไซต์เหล่านี้ได้ถูกโจมตีแล้วและไม่สามารถทราบความเสียหายได้อย่างแน่ชัดจนกว่าจะมีการตรวจสอบ ขอความร่วมมือผู้ดูแลระบบและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนช่วยตรวจสอบ แก้ไขเบื้องต้นและป้องกันโดยด่วนที่สุดรายชื่อเว็บไซต์ที่ถูกแฮกทั้งหมดมีอยู่ในส่วนท้ายของข่าวครับ
Tavis Ormandy หนึ่งในสมาชิกของ Google Project Zero ได้รายงานช่องโหว่ของผลิตภัณฑ์ ESET วันนี้ โดยช่องโหว่ดังกล่าวส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถส่งคำสั่งเพื่อควบคุมเครื่องเป้าหมายได้จากระยะไกลในสิทธิ์ root/SYSTEM ช่องโหว่นี้ถูกจัดความสำคัญอยู่ในระดับ critical หรือร้ายแรงที่สุด
รายละเอียดของช่องโหว่เบื้องต้นนั้น เกิดจากวิธีการที่ซอฟต์แวร์แอนติไวรัสใช้ในการจำลองโค้ด โดยใน ESET NOD32 จะมีการดักจับข้อมูลที่ได้จาก I/O ของดิสก์เพื่อเอาไปตรวจสอบและจำลองเมื่อพบส่วนของโค้ดที่สามารถเอ็กซีคิวต์ได้
เมื่อวานนี้ (2 มิ.ย. 2558) มีการเผยแพร่ช่องโหว่ ที่อ้างว่าเป็นของเว็บแอพพลิเคชันซึ่งถูกพัฒนาและใช้กันมากในหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่นๆ โดยเป็นช่องโหว่ประเภท SQL injection และกลุ่มแฮกเกอร์ชาวอินเดียเป็นผู้ประกาศช่องโหว่และวิธีการโจมตี
ช่องโหว่นี้จะเป็นการสร้างคำสั่ง SQL ไปยังพารามิเตอร์ &id_sub_menu=
ในไฟล์ /core_main/module/web/blog/blog.php
ซึ่งส่งผลให้ผู้โจมตีเข้าถึงข้อมูลในระบบได้โดยไม่ได้รับอนุญาต และในกรณีที่เว็บไซต์นั้นมีความปลอดภัยอยู่ในระดับต่ำ ความเสียหายของการโจมตีจะยิ่งร้ายแรงมากขึ้น จากการตรวจสอบพบว่ามีเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่นี้อยู่ถึง 53,100 ราย ทางที่ดีที่สุดคือควรหยุดใช้งานในทันทีครับ
ในช่วงเมื่อวานนี้ เว็บไซต์กระจายข่าวที่สนับสนุนกลุ่ม Anonymous ได้มีการเผยแพร่ปฏิบัติการโจมตีเว็บไซต์ทางราชการของไทย โดยมีเว็บที่ถูกโจมตีและมีข้อมูลรั่วไหลออกไปแล้วคือเว็บไซต์ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาและเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งผู้โจมตีเป็นกลุ่ม OpIsrael ที่พุ่งเป้าไปที่ประเด็นของสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเรื่องของประเด็นการค้ามนุษย์ที่มีชาวโรฮีนจาตกเป็นเหยื่อที่ผ่านมา
นักวิจัยด้านความปลอดภัยจากกูเกิล James Forshaw ได้ประกาศการค้นพบช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยบน Windows 8.1 ซึ่งอนุญาตให้ผู้โจมตีสามารถยกระดับสิทธิ์ของผู้ใช้เพื่อแก้ไขและควบคุมระบบได้ ช่องโหว่นี้ได้รับการค้นพบตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนและมีการเผยแพร่โค้ดที่ใช้ในการโจมตี (PoC — Proof of Concept program) ในวันพุธที่ผ่านมา
สำหรับ PoC ที่ใช้ในการทดสอบกับช่องโหว่ดังกล่าวได้มีการทดสอบทั้งบน Windows 8.1 แบบ 32-bit และ 64-bit ซึ่งพบว่าสามารถทำงานได้ในทั้งสองรุ่น ส่วน Windows 7 และเวอร์ชันก่อนหน้านี้นั้นยังไม่มีการยืนยันว่าสามารถโจมตีได้หรือไม่
สื่อเยอรมัน ARD ได้มีการ เผยแพร่รายงานการวิเคราะห์และซอร์สโค้ด ที่เชื่อกันว่าเป็นโครงการ XKeyscore ของ NSA ที่บ่งชี้ถึงความพยายามในการที่จะสะกดรอยผู้ใช้งานเครือข่ายนิรนาม Tor และบริการเพิ่มความเป็นส่วนตัวอื่นๆ
XKeyscore เป็นหนึ่งในโครงการของ NSA ที่ถูกเปิดเผยโดย Edward Snowden มีจุดประสงค์เพื่อค้นหาและจัดเก็บกิจกรรมของเป้าหมายที่ต้องการสะกดรอย จากการวิเคราะห์ซอร์สโค้ดพบว่า XKeyscore ถูกพัฒนาด้วย C++ ส่วนหนึ่งและมีรายละเอียดการทำงาน, รูปแบบจัดเก็บข้อมูลหรือแม้กระทั่งเป้าหมายในการสะกดรอยอย่างชัดเจน
Mohamed Ramadan ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยได้ทำการเปิดเผยปัญหาด้านความปลอดภัยของ Dropbox ซึ่งกระทบต่อทั้งผู้ใช้งานบนเว็บและแอพบน iOS ในขณะที่ Dropbox ปฏิเสธว่าเป็น "ช่องโหว่" ด้านความปลอดภัย
ปัญหานี้คือการยินยอมให้มีการเอ็กซีคิวต์จาวาสคริปต์ที่ถูกฝังอยู่ในไฟล์ประเภท HTML และ SWF ได้เมื่อมีการอัพโหลดและแชร์ไปยังผู้ใช้งานอื่น การโจมตีอย่าง XSS มักจะใช้วิธีเดียวกันนี้ในการโจมตีและขโมยข้อมูลของผู้ใช้งาน
มีการค้นพบช่องโหว่ใหม่บนแอพ TweetDeck ซึ่งส่งผลให้แฮ็กเกอร์หรือผู้ไม่หวังดีสามารถสั่งรันสคริปต์อันตรายจากระยะไกลได้ผ่านทางช่องโหว่ประเภท XSS เพื่อขโมยข้อมูลผู้ใช้งานได้ มีการยืนยันแล้วว่าช่องโหว่นี้มีผลกระทบต่อทั้งเว็บแอพพลิเคชันและแอพบนวินโดวส์
ในขณะนี้ แม้ทาง TweetDeck จะมีการประกาศว่ามีการแพตซ์ช่องโหว่นี้แล้ว แต่ยังมีผู้ใช้งานบางส่วนได้รับผลกระทบอยู่ ขอให้ผู้ใช้งานทำการออกจากระบบก่อนและงดใช้แอพ TweetDeck ก่อนชั่วคราวเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีความกังวลเรื่องความปลอดภัย ขอให้ทำการ ยกเลิกการเข้าถึงจากแอพ และเปลี่ยนรหัสผ่านครับ
Marcus Meissner ได้ค้นพบบั๊กที่ส่งผลให้ผู้ใช้งานสามารถทำการ DoS และขโมยสิทธิ์ของผู้ดูแลระบบในระบบปฏิบัติการบนพื้นฐานของลินุกซ์เคอร์เนลได้ โดยเชื่อกันว่านี่นับเป็นอีกหนึ่งช่องโหว่ที่อยู่ในระดับอันตรายนับตั้งแต่ช่องโหว่ perf_events
(CVE-2013-2049) เป็นต้นมา
GDG Thailand ขอเชิญเหล่านักพัฒนาร่วมงาน Android Party พร้อมพบปะพูดคุยและอัพเดตข่าวสารล่าสุดไม่ว่าจะในเรื่องของ Android Wear, ช่องทางการพัฒนาและจำหน่ายแอพบน Google Play และช่องทางในการหารายได้กับ VSERV ไปกับทีมนักพัฒนา Android ส่งตรงจากกูเกิลและผู้เชี่ยวชาญจาก VSERV พบกันได้ในวันพฤหัสบดีที่ 8 พ.ค. นี้ที่ร้าน A Journey Cafe BTS พระโขนง ทางออก 1 เดินออกจากสถานีมา 200 ม. ปาร์ตี้เริ่มตั้งแต่เวลา 18.00 - 21.00 น.
ทีมนักวิจัยจาก FireEye ได้ประกาศการค้นพบช่องโหว่ใหม่ของ IE ในรหัส CVE-2014-1776 ซึ่งส่งผลกระทบในทุกๆ เวอร์ชันของ IE โดยช่องโหว่นี้สามารถทำให้แฮกเกอร์สามารถโจมตีผู้ใช้โดยการสั่งรันคำสั่งอันตรายได้จากระยะไกล ยกระดับสิทธิ์ และควบคุมเครื่องของเหยื่อได้อย่างสมบูรณ์
แฮกเกอร์จะใช้วิธีในการสร้างหน้าเว็บไซต์ปลอมที่ฝังโค้ดสำหรับโจมตีช่องโหว่ไว้ เมื่อผู้ใช้งานคลิกเข้าไปดูก็จะถูกโจมตีในทันที ดังนั้นขอให้ผู้ใช้งานระวังการคลิกลิงก์แปลกๆ ที่อาจส่งมาทางเครือข่ายสังคมออนไลน์หรืออีเมลด้วย
ย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นปี 2012 กลุ่มแฮกเกอร์ LulzSec ได้ถูกจับกุมโดย FBI และมีการเปิดเผยว่า สาเหตุของการจับกุมในครั้งนั้นเกิดจากการทรยศของ Hector Xavier Monsegur หรือ Sabu ซึ่งเป็นผู้นำของ LulzSec เอง ล่าสุดทาง New York Times ได้รับเอกสารซึ่งอ้างว่า FBI มีส่วนรู้เห็นกับการโจมตีบางปฏิบัติการของ Sabu และ LulzSec มาตั้งแต่ต้น
ตัวสร้างเลขสุ่มเทียม Dual_EC_DRBG ที่ตกเป็นประเด็นร้อนว่าถูก NSA แฮกให้ง่ายต่อการถูกแฮกมากขึ้นตั้งแต่ปี 2008 ได้ถูกถอดออกจากมาตรฐานโดย NIST แล้ววันนี้ตามประกาศ NIST SP 800-90A, REV. 1
- Read more about ลาก่อน! NIST สั่งถอด Dual_EC_DRBG แล้ว
- 1 comment
- Log in or register to post comments
TrueCrypt ซึ่งรู้จักกันในฐานะโปรแกรมโอเพนซอร์สที่ใช้ในการสร้างไดรฟ์เข้ารหัสเสมือนจริง, เข้ารหัสพาร์ติชัน และเข้ารหัสอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเริ่มเข้ารับการตรวจสอบซอร์สโค้ดแล้ว หลังจากมีการเปิดโครงการ The TrueCrypt Audit Project ขึ้นเพื่อระดมทุนในปี 2013