
กูเกิลเปิดเผยว่า Chrome เริ่มนำเอาโมเดล Gemini Nano มาช่วยตรวจสอบเว็บปลอม-เว็บหลอกลวง (scam) แบบ on-device เพิ่มเติมจากการตรวจสอบ Safe Browsing ที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์อย่างเดียว
ฟีเจอร์นี้ไม่ได้ใช้ Gemini Nano ทำงานแบบ on-device ล้วนๆ แต่เป็นการผสมผสานกันกับฝั่งเซิร์ฟเวอร์ โดย Gemini Nano จะอ่านข้อมูลหน้าเว็บแล้วส่งสัญญาณไปยังเซิร์ฟเวอร์ Safe Browsing เพื่อช่วยประเมินเว็บหลอกหลวงให้แม่นยำมากขึ้น
กูเกิลบอกว่าเว็บหลอกลวงรุ่นใหม่ๆ มักเปิดมาเป็นเวลาสั้นๆ น้อยกว่า 10 นาที แถมยังเรนเดอร์หน้าเพจให้ผู้ใช้แต่ละคนต่างกันเพื่อเลี่ยงการตรวจจับ ดังนั้นการนำโมเดล LLM มาช่วยประเมินความเสี่ยงแบบ on-device ของเว็บแบบเดียวกับที่ผู้ใช้มองเห็น จึงช่วยบล็อคเว็บประสงค์ร้ายเหล่านี้ได้แม่นยำขึ้น

Parisa Tabriz ผู้จัดการธุรกิจ Chrome ของกูเกิล ให้การในชั้นศาลในคดีกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ฟ้องกูเกิลผูกขาด Search และ เสนอให้แยก Chrome เป็นบริษัทใหม่ ซึ่ง มีผู้สนใจซื้อหลายราย
ข้อโต้แย้งของ Tabriz คือ Chrome ไม่ได้มีแต่ตัวเบราว์เซอร์ แต่ยังผูกกับบริการอื่นของกูเกิล เช่น Safe Browsing, ระบบแจ้งเตือนหากพบว่ารหัสผ่านถูกเจาะ ฯลฯ ซึ่ง Tabriz บอกว่ามีแต่กูเกิลเท่านั้นที่สามารถสร้างบริการในระดับนี้ได้

ประเด็นน่าสนใจจากห้องไต่สวน คดี Google Search ผูกขาดตลาด ที่ กระทรวงยุติธรรมเสนอให้แยก Chrome เป็นบริษัทใหม่
ก่อนหน้านี้เราเห็นข่าวว่าคู่แข่งทั้ง OpenAI และ Perplexity บอกว่าถ้าแยกจริงก็ยินดีเสนอซื้อ แต่ไม่บอกว่าราคาเท่าไร

Perplexity เป็นอีกบริษัทที่เข้าร่วมการไต่สวนเรื่องมาตรการเยียวยา ที่กูเกิล แพ้คดีผูกขาดธุรกิจ Search ซึ่งกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ โจทก์ยื่นฟ้อง และ ได้เสนอให้ศาลสั่งกูเกิลแยกธุรกิจ Chrome ออกมา
Dmitry Shevelenko บอกว่ามีความเสี่ยงหากมีคำสั่งให้แยก Chrome ออกจากกูเกิล โดยมองว่าอาจส่งผลกระทบต่อโครงการโอเพนซอร์ส Chromium ที่เจ้าของใหม่อาจหารายได้จากตรงนี้ ส่งผลเสียต่อวงการพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ โดย Perplexity ต้องการให้ศาลห้ามกูเกิลทำข้อตกลงผูกขาดบริการค้นหาข้อมูลกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนมากกว่า

กูเกิลประกาศยอมแพ้กับ Privacy Sandbox ที่หวังมาใช้แทน Third Party Cookies โดย Chrome จะยังคงใช้ Third Party Cookies เหมือนเดิม
กูเกิลเปิดตัว Privacy Sandbox ครั้งแรกในปี 2019 เพื่อหวังเป็นโซลูชันสำหรับการยิงโฆษณาบนเว็บตามความสนใจของผู้ชม ที่เคารพความเป็นส่วนตัวมากกว่าคุกกี้ (หลักการคือยิงโฆษณาตามความสนใจแบบกลุ่ม ไม่ถึงกับเจาะรายตัว)

การไต่สวนพิจารณามาตรการเยียวยาที่เริ่มต้นสัปดาห์นี้ จากคดีกูเกิลผูกขาดธุรกิจ Search ที่ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เป็นโจทก์ฟ้อง และ กูเกิลถูกตัดสินแพ้ ไปตั้งแต่สิงหาคมปีที่แล้ว มีประเด็นน่าสนใจเมื่อตัวแทนของ OpenAI ได้ให้การต่อศาล
Nick Turley หัวหน้าฝ่าย ChatGPT ของ OpenAI บอกว่าบริษัทไม่ได้ต้องการสร้างแชทบอตอย่าง ChatGPT แต่ต้องการสร้างผู้ช่วยความสามารถสูงที่ทำงานได้หลากหลายและซับซ้อน เพื่อเสริมส่วนนี้บริษัทจึงต้องมีเทคโนโลยีระบบค้นหาหรือ Search ที่ทำให้ AI ได้ข้อมูลปัจจุบันที่สุด

ตอนนี้กูเกิลโดนคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องข้อหาผูกขาดอยู่ 2 คดี ซึ่งศาลชั้นต้นตัดสินใจให้กูเกิลแพ้ทั้งคู่ ได้แก่ คดีผูกขาด search ที่ตัดสินในเดือนสิงหาคม 2024 และ คดีผูกขาดในธุรกิจเทคโนโลยีโฆษณาออนไลน์ ศาลเพิ่งตัดสินเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

Chrome 135 ประกาศรองรับ มาตรฐาน Customizable Select Element
เป็นรายแรก เปิดทางให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขตัวเลือกในแท็ก <select>
ทำให้สามารถแก้ไขตัวเลือกได้อย่างซับซ้อน เช่น การใส่ภาพในตัวเลือก หรือกำหนดสีพื้นหลังของตัวเลือกแต่ละตัว
ก่อนหน้านี้กระบวนการแก้ไขการแสดงผลแท็ก <select>
ต้องอาศัยจาวาสคริปต์เป็นหลัก การปรับปรุงมาตรฐานในรอบนี้ทำให้ใช้เพียง HTML และ CSS เท่านั้น และยังคาดเดาการแสดงผลได้ หากเปิดเว็บในเบราว์เซอร์ที่ไม่รองรับมาตรฐานใหม่

Chrome Web Store เปลี่ยนนโยบายการแทรก affiliate ใหม่ หลังจากเกิดเหตุการณ์ Honey บริการค้นหาคูปองของ PayPal นำโค้ด affiliate ของตัวเองไปทับลิงก์ที่ผู้ใช้กดผ่านช่องทางของเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังจำนวนมาก
เนื่องจากช่องทางใช้งานหลักของ Honey คือส่วนขยาย (extension) ของ Chrome ทำให้มันสามารถติดตามการเบราว์เว็บของผู้ใช้ได้ และเมื่อผู้ใช้กำลัง Checkout ตัว Honey ก็จะพยายามค้นหาคูปองพร้อมกับเปลี่ยน cookie สำหรับแสดงตัวผู้แนะนำสินค้า affiliate เป็นของตัวเอง

เมื่อปีที่แล้วหลังศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ ตัดสินคดี กูเกิลผูกขาดบริการระบบค้นหา (Search Engine) ว่ามีการผูกขาดจริง ทำให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐยื่นเรื่องให้ ศาลมีคำสั่งแยก Chrome ออกมาจาก Google เป็นอีกบริษัท โดยตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนพิจารณา อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในยุคประธานาธิบดี Joe Biden จึงเกิดประเด็นว่าทิศทางจะเปลี่ยนหรือไม่ในยุค Donald Trump
ล่าสุดกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ปรับปรุงข้อเสนอต่อศาลรัฐบาลกลางเรื่องนี้ แต่ยกเลิกเฉพาะส่วนที่ระบุว่า Google และ Alphabet บริษัทแม่ ต้องขายเงินลงทุนในบริษัท AI คู่แข่งอื่น เช่น Anthropic โดยมองว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมการผูกขาดบริการค้นหาข้อมูล ส่วนประเด็นที่ต้องแยก Chrome ออกมาเป็นอีกบริษัทนั้นยังอยู่ในข้อเสนอต่อไป

กูเกิลปรับหน้าตาของ Chrome Enterprise โปรไฟล์สำหรับบัญชีองค์กร ให้ดูแตกต่างจากบัญชีส่วนตัวมากขึ้น (ใช้ Chrome ตัวเดียวกันล็อกอิน 2 บัญชี) โดยบัญชีองค์กรสามารถมีชื่อบริษัทแปะป้ายอยู่หลังชื่อผู้ใช้งาน แยกให้เห็นชัดๆ ว่าเป็นบัญชีทำงาน (ตัวอย่างในภาพเป็นชื่อ บริษัทสมมติ Acme ) แม้องค์กรไม่ได้ตั้งค่านี้ไว้ ก็จะแสดงคำว่า Work แทนอยู่ดี
กูเกิลยังปรับหน้าจอตอนล็อกอินโปรไฟล์ Chrome ขององค์กรให้เห็นชัดๆ ว่านี่คือบัญชีองค์กรนะ เป็นบัญชีที่ถูกจัดการโดยแอดมินขององค์กร และแอดมินสามารถควบคุมการใช้งานบัญชีนี้ได้

ข่าวเล็กๆ ที่อาจไม่ต้องรู้ก็ได้แต่น่าสนใจคือ Chrome for Android จะปรับพื้นที่แสดงผลหน้าเว็บ (viewport) เพิ่มอีกเล็กน้อย ในพื้นที่ส่วนล่างของหน้าจอ ที่เดิมทีเว้นระยะไว้สำหรับ gesture navigation bar ด้านล่าง (สำหรับคนใช้ UI แบบ gesture) จะเปลี่ยนเป็นการแสดงผลหน้าเว็บไปจนสุดขอบล่างของจอ แล้ววาง gesture navigation bar ทับบนหน้าเว็บอีกที (ดูภาพประกอบ)
กูเกิลเรียกการแสดงผลแบบนี้ว่า edge-to-edge คือชนขอบล่าง การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มใน Chrome 135 เป็นต้นไป

กูเกิลเพิ่มความสามารถ Circle to Search ที่ให้ผู้ใช้งานค้นหาข้อมูลจากสิ่งที่อยู่บนหน้าจอได้ สำหรับผู้ใช้ iOS ผ่านการใช้งาน Chrome หรือแอป Google แล้ว
ในการเรียกใช้งานบน Chrome ให้กดปุ่ม 3 จุดแล้วเลือก Search Screen with Google Lens จากนั้นวงหรือแตะส่วนที่สนใจเพื่อค้นหาข้อมูล โดยกูเกิลจะเพิ่มปุ่ม Lens แบบเดียวกับ Chrome บนเดสก์ท็อปเร็ว ๆ นี้ ส่วนการใช้งานในแอป Google ให้เรียกใช้งานจาก Search this Screen
อัปเดตนี้จะทยอยให้กับผู้ใช้งาน Chrome และ Google iOS ในสัปดาห์นี้ มีผลทั่วโลก

Chrome for Android เวอร์ชัน 133 เพิ่มฟีเจอร์ด้านการจัดการแท็บ 2 อย่าง
- ซิงก์ Tab Groups กับอุปกรณ์อื่นได้แล้ว (เช่น Tab Groups ที่เปิดบนพีซี) จากเดิมที่ซิงก์ได้เฉพาะแท็บอย่างเดียว
- Tab Search ค้นหาแท็บที่เปิดอยู่ในเครื่อง ในกรณีแท็บเยอะๆ หาไม่เจอว่าเปิดอะไรไว้ ก็พิมพ์หาได้เลย
สองฟีเจอร์นี้ทยอยเปิดใช้งานให้ผู้ใช้ทีละกลุ่ม เท่าที่ลองเครื่องตัวเองพบว่า Tab Groups Sync มาแล้ว แต่ Tab Search ยังไม่มาครับ
ที่มา - 9to5Google

เมื่อปี 2021 ไมโครซอฟท์ปรับวิธีเรนเดอร์ฟอนต์ของ Microsoft Edge บนวินโดวส์ให้คมชัดมากขึ้น และประกาศว่าจะส่งแพตช์เข้าโครงการ Chromium
เวลาผ่านมาเกือบ 4 ปี แพตช์ตัวนี้ถูกผนวกเข้ากับโครงการ Chromium เรียบร้อยแล้ว และ Chrome 132 ที่ออกรุ่นเสถียรเมื่อกลางเดือนมกราคม ถือเป็น Chrome รุ่นแรกที่ได้ใช้ฟีเจอร์นี้ แพตช์ตัวนี้ยังจะมีผลกับเบราว์เซอร์ตัวอื่นๆ ที่ใช้ Chromium ด้วย (เช่น Opera, Vivaldi, Brave)

เว็บไซต์ 9to5google อ้างบันทึกภายในของกูเกิล ที่เขียนโดย Rick Osterloh รองประธานอาวุโสฝ่าย Platforms and Devices เสนอแพ็กเกจให้พนักงานในฝ่ายสามารถสมัครใจลาออกเองได้
นโยบายนี้มาจาก การปรับปรับโครงสร้างองค์กรในปี 2024 ที่รวมเอาฝ่ายฮาร์ดแวร์ Pixel และฝ่ายซอฟต์แวร์ Android/Chrome เข้าด้วยกันเป็น Platforms and Devices Group ทำให้ต้องออกแพ็กเกจสมัครใจลาออกเพื่อลดพนักงานที่อาจซ้ำซ้อนหรือมีมากเกินไป รวมถึงมีเสียงเรียกร้องจากพนักงานที่อาจหาตำแหน่งได้ไม่ถูกใจตัวเองมากนักหลังการรวมฝ่าย

กูเกิลประกาศว่า Chrome Sync ฟีเจอร์ซิงก์ข้อมูลข้ามอุปกรณ์ผ่าน Google Account จะหยุดการทำงาน มีผลกับ Chrome เวอร์ชันที่เก่ากว่า 4 ปี ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2025 นี้
คำแนะนำของกูเกิลหากยังต้องการใช้งาน Chrome Sync ต่อก็ตรงไปตรงมานั่นคือ อัปเดต Chrome ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด ซึ่งกูเกิลจะแสดงข้อความเตือนเรื่องนี้ด้วยบน Chrome เวอร์ชันที่เก่ากว่า 4 ปี
ที่มา: กูเกิล

จากข่าว ซัมซุงเปิดตัว Eclipsa Audio ระบบเสียง 3D ที่พัฒนาร่วมกับกูเกิล ใช้ในทีวีปี 2025 ในช่วงปีใหม่ ตอนนี้เริ่มมีข้อมูลของ Eclipsa Audio ออกมาดังนี้

กูเกิลยื่นข้อเสนอแผนเยียวยาตามขั้นตอนทางกฎหมาย หลังจากศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ ตัดสินคดี ว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดธุรกิจค้นหาข้อมูล (Search) จริง ตามที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเป็นฝ่ายฟ้องร้อง และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้เสนอ แผนเยียวยา เมื่อเดือนที่แล้ว ให้ศาลสั่งกูเกิลแยก Chrome ออกมาเป็นอีกบริษัท รวมทั้งให้กูเกิลเปิดไลเซนส์ข้อมูล อัลกอริทึม การแสดงผลการค้นหา ให้คู่แข่งสามารถนำไปปรับปรุงบริการได้

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ยื่นเรื่องไปยังศาลอย่างเป็นทางการ ให้มีคำสั่งแยก Chrome ออกจาก Google มาเป็นอีกบริษัท หลังศาลมีคำตัดสินว่า Google มีพฤติกรรมผูกขาด Search
กระทรวงยุติธรรมอ้างอิงคำอธิบายของผู้พิพากษา Amit Mehta ที่ระบุในคำตัดสินว่า เบราเซอร์ Chrome มีส่วนช่วยในการผูกขาด Search ซึ่งนอกจากการแยกบริษัทแล้ว กระทรวงยังเสนอให้ Google เปิดไลเซนส์เรื่องข้อมูล อัลกอริทึม การแสดงผลการค้นหา ให้คู่แข่งนำไปใช้ปรับปรุงบริการของตัวเอง ไปจนถึงเรื่องความโปร่งใสในการแสดงผลโฆษณาและต้อยอมให้เว็บไซต์ opt-out การนำข้อมูลไปใช้เทรน AI

Bloomberg อ้างแหล่งข่าวจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ว่าทางกระทรวงจะเดินหน้าขอให้ผู้พิพากษา สั่งให้กูเกิลขายธุรกิจ Chrome ออกไป ใน คดีที่ศาลตัดสินแล้วว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาด search engine
คดีนี้เพิ่งตัดสินในศาลชั้นต้นไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2024 ว่ากูเกิลมีความผิดจริง ซึ่งกระทรวงยุติธรรมในฐานะผู้ฟ้องจะต้องเสนอมาตรการเยียวยาตลาดเพื่อลดผลจากการผูกขาดของกูเกิลลง ซึ่งขึ้นกับผู้พิพากษาในคดีว่าจะรับข้อเสนอนี้หรือไม่ แต่กูเกิลประกาศแล้วว่าจะยื่นอุทธรณ์

Chrome บน iOS ออกอัปเดตเวอร์ชัน 131 โดยมาพร้อมฟีเจอร์เด่นเพื่อให้ทำหลายอย่างแบบข้ามอุปกรณ์ได้ดีขึ้น (ถึงแม้จะมีใน Android นานแล้ว) รายละเอียดดังนี้
- ค้นหาผ่าน Google Lens โดยป้อนข้อความพร้อมกันในการค้นหาได้
- เลือก Save คอนเทนต์ลง Google Drive ได้โดยตรง ไม่ต้องผ่าน Files ของ iOS เช่นเดียวกับการ Save รูปภาพ สามารถกดค้างรูปภาพและเลือกบันทึกลง Google Photos ได้
- เพิ่มปุ่ม Shopping Insights สำหรับค้นหาเทียบราคาสินค้า (เฉพาะผู้ใช้ในอเมริกา)
- กดเรียก Google Maps จากการคลิ้กที่อยู่ในเว็บไซต์ได้ ฟีเจอร์นี้กำลังทยอยอัปเดตให้ผู้ใช้งานทั่วโลก
ที่มา: กูเกิล

Chrome เพิ่มฟีเจอร์แจ้งเตือนแท็บที่กินทรัพยากรสูงๆ (Performance Detection) โดยจะขึ้นรายชื่อแท็บทั้งหมดที่มีปัญหา เพื่อให้ผู้ใช้กดปุ่ม Fix now เพื่อจัดการแท็บเหล่านี้ ซึ่งเป็นการปิดการทำงานของแท็บนั้นชั่วคราว (deactivate) หากคลิกกลับไปที่แท็บนั้นก็ค่อยโหลดหน้าเว็บเพจเดิมขึ้นมาให้ใหม่
Chrome ยังเพิ่มตัวเลือกของ Memory Saver ให้กำหนดค่าของการประหยัดหน่วยความจำได้ 3 ระดับคือ

กูเกิลเพิ่มเครื่องมือใหม่สำหรับ Chrome บนเดสก์ท็อป เพื่อให้ผู้ใช้งานตรวจสอบประสิทธิภาพและการใช้ทรัพยากรบนเครื่องได้ดีขึ้น
เครื่องมือใหม่มีชื่อว่า Performance Detection โดยเป็นไอคอนเตือนที่แถบเมนูด้านบน เมื่อพบปัญหาประสิทธิภาพการทำงาน เช่น แท็บนั้นมีการใช้ทรัพยากรของเครื่องมากกว่าปกติ โดยมีปุ่ม Fix now เพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหา ผู้ใช้งานสามารถเลือกปิดการทำงานของ Performance Detection ได้ใน Settings

The Information รายงานความคืบหน้าของโครงการพัฒนา Gemini ที่ทำงานบน Chrome ซึ่งกูเกิลเปิดตัวไปในงาน I/O เดือนพฤษภาคม โดยบอกว่ากูเกิลน่าจะพรีวิวรุ่นทดสอบในเดือนธันวาคมนี้
AI ผู้ช่วยบน Chrome นี้จะทำงานด้วยโมเดล Gemini 2.0 ที่เพิ่งมีรายงานออกมา โดยมีชื่อโครงการว่า Project Jarvis ซึ่งก็อ้างอิงมาจาก Iron Man เป้าหมายคือเป็นผู้ช่วยที่ทำงานต่าง ๆ ผ่านเว็บได้
ยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าอะไรที่ Jarvis บน Chrome จะทำได้บ้าง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งช่วยคลิก กรอกแบบฟอร์มของเว็บต่าง ๆ ไปจนถึงการตอบคำถามต่าง ๆ แบบแชทบอต