Hyperloop Transportation Technologies (ที่ไม่ใช่ Virgin Hyperloop One แค่พัฒนาเทคโนโลยีการเดินทางความเร็วสูงด้วยแคปซูลเหมือนกัน) ได้เผยโฉมแคปซูลโดยสารของจริงเป็นครั้งแรกในประเทศสเปน ลักษณะคล้ายรถไฟหัวกระสุน ยาว 32 เมตร หนักราว 5 ตัน
ตัวแคปซูลชื่อว่า Quintero One จุคนได้ราว 30-40 คน วัสดุเป็นคาร์บอนไฟเบอร์ผสม โดย Quintero One จะถูกส่งไปยังเมืองตูลูสของฝรั่งเศสเพื่อประกอบส่วนอื่นๆ เพิ่มเติม ก่อนจะเริ่มทดสอบวิ่งในปีหน้า
Hyperloop TT ตั้งเป้าว่าจะเริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์ในจีนและเมืองอาบูดาบีเป็นสองที่แรกภายใน 2-3 ปีข้างหน้า โดยล่าสุดบริษัทก็มีแนวคิดจะสร้างเส้นทางระหว่างกรุงอัมสเตอร์ดัมของฮอลแลนด์ไปยังเมืองแฟรงก์เฟิร์ตของเยอรมนี ที่จะใช้เวลาในการเดินทางเพียง 50 นาที จากปัจจุบันที่ใช้เวลาราว 4 ชั่วโมงบนรถไฟ
ที่มา - Telegraph
ภาพจาก Hyperloop TT
Comments
มาดูงานการรถไฟ บ้านเรา ได้นะครับ ที่เราใช้ทุกอย่างได้ คุ้ม ทนทานมาก ไม่จำเป้นต้องเปลี่ยนอะไรเลย มานานแล้ว
แคนดิเดทนายกเราคนหนึ่ง(คุณธนาธร พลังอนาคตใหม่) ไปดูงานมาเรียบร้อยครับ(ดูสามเจ้าด้วยไม่ใช่แค่เจ้านี้) เห็นทางนั้นบอกว่าถูกกว่ารถไฟความเร็วสูงเยอะมาก เพราะท่อใช้เทคโนโลยีเดียวกับท่อก๊าซซึ่งผลิตได้ในประเทศที่จะสร้าง แถมคุยเรื่องสูญกาศมันอันตรายไหม เอนจิเนียร์เขาบอกว่าการความดันตกก็แค่ปล่อยอากาศกลับเข้าท่อใช้เวลาจนอากาศเต็มท่อ 15 วินาที หรือถ้ามีอากศรั่วเขาท่อก็เหมือนตกหลุดอากาศกระชากนิดนึงเพราะเจอแรงเสียดทาน แต่รถก็ยังวิ่งต่อได้แค่ช้าลงเพราะมีแรงเสียดทานเท่านั้นเอง
ปล.เจ้านี้เขาป๋าถึงขนาดอยากได้ก็ซื้อแปลนเขาไปทำเองเลยเขาขายแค่เทคโนโลยี แต่ Hyperloop one เขาขายส่วนขับเคลื่อนที่เหลือไปสร้างเอง
ปล2.ผิดกับนายกคนหนึ่งที่มาดูบูธเทคโนโลยีคนไทยทำเองท้ๆ มาถามหาใครจะเป็นคนทำ ใครจะเป็นคนจ่ายเงินอยู่นั้นแหละ แทนที่จะชื่นชมให้กำลังใจฝีมือคนไทย
เทคโนโลยีมันถูกกว่าแถมดีกว่าก็จริง แต่กลัวสภาพภูมิประเทศของเราจะไม่เหมาะอะสิ
สมัยเริ่มจะทำรถไฟฟ้าใต้ดินก็มีคนค้านทำนองเดียวกันครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอำนาจและวิสัยทัศน์ผู้นำ
สงสัยตอนขึ้นรถ ผู้โดยสารเดินเข้าอุโมงเพื่อขึ้นตัวรถ แล้วปิดอุโมงเพื่อแล้วดูดอากาศออก ให้เป็นสูญญากาศหรือใกล้เคียง แล้วเปิดประตูเชื่อมอุโมงของสถานีไปอุโมงของเส้นทาง ใช่เปล่าเนี่ย แบบต้องมี Airlock ไรงี้
แล้วขั้นตอนตอนดูดอากาศออกมันไม่นานหรอ
ประตูสถานีเป็นตัวดูดครอบประตูรถไฟอะไรแบบนี้หรือเปล่า?
ส่วนสถานีน่าจะแยกเป็นสองส่วนนะครับ คือส่วนที่เป็นสุญญากาศ สำหรับขับเคลื่อนตัวรถ กับส่วนที่ไม่เป็นสุญญากาศสำหรับคนขึ้นลง โดยมีประตูกั้นระบบสองส่วน เหมือนประตูในออฟฟิศอ่ะครับ จะได้ไม่ต้องดูดอากาศปริมาณมากออก
ชาตินี้จะได้นั่งไหม
ถัาจะทำจริงๆ คนที่พร้อมที่สุดน่าจะเป็นญี่ปุ่นเพราะมีเทคโนโลยี maglev ที่ก้าวหน้าที่สุด แค่ใส่ท่อสุญญากาศเพิ่มเข้าไป
ยาว 32 เมตร หนักราว 5 ตัน..หนักมากไปเทียบกับความยาว..และคงต้องทดสอบจริงอีกครั้ง
ปัญหาคือตอนเข้าทางโค้งหรือตรงที่ท่อโค้งตามเส้นทาง ตัวยานจะจัดการยังไงหว่า
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
อันนี้ก็สงสัยเหมือนกันครับ เลยคิดว่าที่เขาลองสร้างที่ดูไบที่แรกเพราะมีพื้นที่โล่งกว้างเยอะ ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องทางเลี้ยว แต่ถ้ามาทำในไทยผมว่าก็ต้องเจาะทะลุภูเขาเอาละมั้ง
เส้นทางโค้งก็น่าจะตีวงเหมืแนรถไฟฟ้านี่แหละ
รถไฟธรรมดายังพอเลี้ยวได้ เพรามีล้อแยกจากตัวรถต่างหาก และสามารถหมุนตามรางได้ แต่ Hyperloop ตัวนี้เป็นตอนเดียว แค่เจอท่อโค้งเล็กน้อยมันก็เสียดสีแล้วครับ ยังไม่นับโค้งหักศอก ทำยานทะลุจากท่อพังเสียหายได้เลยนะครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
หักศอกคงไม่มีครับ รถไฟวิ่งเร็วๆ ความเร็วสูง ชินคันเซ็น เวลาออกแบบรางก็จะโค้งน้อยๆ โค้งกว้างๆ เส้นตรงยาวๆ
ถ้า Hyperloop ทำจริงก็เส้นตรงยาวๆ ละครับ ส่วนการเลี้ยว ผมไม่เห็นโครงสร้างฐานล้ออาจจะตอบไม่ได้เลี้ยวได้ไง แต่รถไฟมันยังเลี้ยวตามโค้งได้ก็ไม่ต่างกัน อันนี้ก็เหมือนรถไฟแต่แค่ตู้เดียว
มองไกล ๆ นึกว่าฮอนด้า
ในท่อ น่าจะแค่เกือบสูญญากาศรึเปล่า หน้ารถจึงยังต้องทำทรงเรียวๆ แบบนี้ถ้าสูญญากาศสัมบูณย์ (เขียนถูกมั้ยเนี่ย) น่าจะทรงอะไรก้ได้ เอาแบบ function เต็มๆ ก้ได้