เมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมาในงานประชุมวิทยาลัยแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาประจำปีนี้ (American College of Cardiology 2019) มีการแถลงผลการวิจัยเกี่ยวกับความแม่นยำในการตรวจหาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิด AF (Atrial Fibrillation) ซึ่งพบว่ามีความแม่นยำสูง 1 เมื่อเทียบกับ เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพาที่เรียกว่า ECG patch ในคนจำนวน 2,161 คน
งานวิจัยดังกล่าวเรียกกันว่า The Apple Heart Study เป็นความร่วมมือในการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัย Stanford บริษัท American Well และ บริษัท Apple ดำเนินงานวิจัยผ่านระบบ Telemedicine
เจ้าของ Apple Watch Series 1 - 3 ที่มี watchOS version 4.0 ขึ้นไป และใช้มือถือ iPhone 5s ที่ใช้ iOS version 11.0 หรือใหม่กว่า สามารถเข้าร่วมงานวิจัยนี้ได้โดยง่ายเพียงแค่ ดาวโหลด App ชื่อ Apple Heart Studyหลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว ถ้า Apple Watch ตรวจพบความผิดปกติในการเต้นของหัวใจจะแจ้งเตือนผู้ใช้และให้ติดต่อกับทางทีมแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการนี้ หลังจากนั้นทีมวิจัยจะจัดส่ง ECG patch สำหรับวัดค่า ECG ต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 7 วันและนำผลที่ได้ไปใช้เทียบผลกับ Apple Watch
เนื่องจาก AF นั้นเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเพียงสั้นๆ ชั่วขณะหนึ่งแล้วส่วนใหญ่สามารถหายไปได้เองและเกิดขึ้นในคนจำนวนน้อย งานวิจัยนี้จึงต้องรวบรวมคนเข้าในงานวิจัยเป็นจำนวนมากถึง 419,297 คน ตลอดระยะเวลาเก็บข้อมูล มีคนที่ Apple Watch แจ้งเตือนการเต้นหัวใจผิดปกติเพียง 0.52% ผลวิเคราะห์ทางสถิติจึงคิดจากจำนวนคนที่ติด ECG patch จำนวน 2,161 เท่านั้น
ผลการวิจัยจึงเปรียบเทียบใน 2 ลักษณะ คือ
- เทียบหลังจากได้รับแจ้งเตือนจาก Apple Watch แล้วจึงมาติด ECG patch ภายใน 13 วันหลังการแจ้งเตือน ซึ่งกรณีนี้ พบว่ามี 34% เมื่อรวมผลของทุกกลุ่มอายุ
(แปลว่าถ้า AF ที่เกิดขึ้นนั้นยังคงอยู่หรือเกิดขึ้นซ้ำในช่วงเวลาที่ติด ECG patch ตอนหลังพอดีถึงจะนับ ทำให้ตัวเลขนี้ไม่ควรจะสูงเพราะ AF ส่วนใหญ่หายไปได้เอง) - Apple Watch แจ้งเตือน AF ได้ต่างจาก ECG patch หรือไม่ในช่วงที่ติดเครื่อง 7 วัน
ผู้วิจัยใช้ค่า Positive predictive value หรือ PPV ในการเคลมความแม่นยำของ Apple Watch 1 ซึ่งในข้อนี้แบ่งเป็น 2 กรณี
2.1. ผิดปกติเทียบจากกราฟ Tachograms เพียงอย่างเดียวพบว่า Apple Watch มี PPV ที่ 71% เมื่อคิดรวมทุกกลุ่มอายุ
2.2. ผิดปกติเทียบจากระบบแจ้งเตือน (Irregular Pulse Notification Algorithm) ของ Apple Watch(ซึ่ง Apple Watch ใช้ข้อมูลอย่างอื่นเพิ่มเติมนอกจาก Tachograms เพื่อให้มีความแม่นยำสูงขึ้น) พบว่ามี PPV เพิ่มขึ้นเป็น 84% เมื่อคิดรวมทุกกลุ่มอายุ ซึ่งจัดว่าสูง
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการศึกษานี้ทำในคนสี่แสนกว่าคน แต่มีคนที่ระบบแจ้งเตือนเพียง 0.52% ของทั้งหมด และมีแค่ 2,161 คนเท่านั้นที่ได้ติด ECG patch เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมงานวิจัยจำนวนมากไม่ติดต่อกลับทีมวิจัยของ Stanford หลังจากได้รับการแจ้งเตือนจาก Apple Watch
ที่มา - FB:Wipat Phanthawimol , Conference website , Apple Heart Study , American Well
Comments
lewcpe.com , @wasonliw
จริงๆ อธิบายค่อนข้างยากครับสำหรับข้อสุดท้าย เพราะรูปแบบงานวิจัยนั้นจะส่ง ECG patch ตามไปทีหลังราวๆ 13 วัน AF ที่ Apple Watch ตรวจจับได้นั้นอาจจะไม่อยู่แล้วก็ได้ครับ ซึ่งผลที่ได้ในข้อนี้เป็น primary outcome งานวิจัยนี้ครับ ผมเข้าใจว่ามันสะท้อนภาพการตรวจเจอในชีวิตจริงของเราที่ต้องให้นาฬิกาเตือนก่อนถึงไปตรวจซ้ำที่ รพ.
ส่วนที่ทีมวิจัยเคลมว่าตรวจได้แม่นยำ (acuuracy) คือ ในกลุ่มที่ติด ECG patch อยู่ในระหว่าง 7 วันนั้น แล้วมีเกิด AF ซ้ำ Apple Watch ตรวจจับได้ 71% / 84% จะลองปรับเนื้อหาอีกทีนะครับ
ผมลบคำว่า "อย่างแม่นยำ" ออกนะครับ เพราะเป็นการไปแสดงประสิทธิภาพ (ทั้งที่ outcome ไม่ได้ยืนยันขนาดนั้น)
lewcpe.com , @wasonliw
ดาวโหลด => ดาวน์โหลด
สูง1 ?
Apple Watch1 ?
Positive Predictive Value หมายถึงถ้า Apple watch บอก Positive แล้ว โอกาสที่จะ Positive จริงๆ จากอุปกรณ์ที่เปรียบเทียบเป็นจำนวนเท่าไหร่
พอดีผลยังไม่ได้เขียนชัดๆ ส่วนตัวผมเลยไม่อยากฟันธงว่ามันแม่นจริงหรือไม่แม่น น่าจะต้องรอดูเปเปอร์ฉบับเต็มก่อนดีกว่า
แต่สิ่งที่ได้จากงานวิจัยนี้คือ การ Recruit คนผ่านทางแอพมือถือ ไม่สามารถ retain คนให้อยู่ในงานวิจัยได้เลยครับ (สงสัยคนที่กดมาเป็นแค่ความอยากลองชั่วครั้งชั่วคราว)
การศึกษาอันนี้เดินข้อมูลจากการรายงานความผิดปกติจาก Apple Watch
ถ้าไม่มีการรายงาน ก็จะไม่มีข้อมูลต่อจากนั้นว่าตกลงผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นผิดดจังหวะชนิด atrial fibrillation/flutter หรือไม่
การรายงานจึงมีเพียง positive predictive value ไม่มี negative predictive value นั่นแปลว่าไม่มีข้อมูลบอกเราว่าถ้า Apple Watch ไม่รายงานค่าผิดปกติ ผู้สวมใส่จะยังอยู่ในภาวะปกติ
ผมมองว่าการวิจัยขั้นต่อไปคือออกแบบการเก็บข้อมูลเพื่อให้เห็น sensitivity กับ specificity และ negative predictive value แน่นอนว่าควรทำแบบ two arm ครับ