เว็บไซต์รับข้อร้องเรียนของอังกฤษประสบปัญหาล่ม ไม่สามารถใช้บริการได้ชั่วคราว หลังจากที่มีผู้เสนอให้มีญัตติที่ขอให้รัฐสภาและรัฐบาล ยกเลิกกระบวนการ Brexit หรือการถอนตัวของประเทศอังกฤษ (สหราชอาณาจักร) ออกจากสหภาพยุโรป ด้วยการยกเลิกการใช้มาตรา 50 ของสนธิสัญญาสหภาพยุโรป และมีผู้ลงชื่อทะลุเกิน 1 ล้านคนแล้ว
คณะกรรมาธิการพิจารณาข้อร้องเรียน (Petitions Commitee) ของรัฐสภาและรัฐบาลอังกฤษ ระบุในทวิตว่า เว็บไซต์ประสบปัญหาการให้บริการ เนื่องจากมีการเข้าชมข้อร้องเรียนในประเด็นนี้เป็นจำนวนมาก ประมาณ 8 หมื่น - 1 แสนคน และมีผู้ลงชื่อกว่านาทีละเกือบ 2,000 ราย ซึ่งสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทำให้คณะกรรมาธิการ จำเป็นต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงเว็บไซต์ชั่วคราว เพื่อให้รองรับกับความเปลี่ยนแปลงนี้
ขณะที่กำลังเขียนข่าวนี้ ข้อร้องเรียนดังกล่าวมีผู้ลงชื่อไปแล้วกว่า 1.1 ล้านคน และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตามระเบียบแล้ว รัฐสภาจะพิจารณาหยิบข้อร้องเรียนนี้ขึ้นมาพิจารณาให้เป็นญัตติในการประชุมภายใน 1 วัน เมื่อมีผู้ลงชื่อเกินกว่า 1 แสนคน และรัฐบาลจะต้องมีคำตอบภายใน 3 วัน หากมีผู้ลงชื่อเกินกว่า 1 หมื่นคน
อย่างไรก็ตาม ระเบียบนี้ไม่บังคับ และข้อร้องเรียนอาจถูกตีตกไปหากพิจารณาว่ารัฐบาลหรือรัฐสภา ไม่สามารถทำอะไรได้
สำหรับ Brexit คือกระบวนการของประเทศอังกฤษที่จะออกจากสหภาพยุโรป โดยมีการลงมติกันไปเมื่อปี 2016 ว่าให้ออกจากสหภาพยุโรป แต่ระหว่างทางกลับเจอปัญหามากมาย จนกำลังเดินเข้าสู่ทางตัน และดูเหมือน ท่าทีจากบางประเทศในสหภาพยุโรป ก็ไม่ได้เป็นบวกเท่าใดนัก (อ่าน บทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้จาก Brand Inside )
The rate of signing is the highest the site has ever had to deal with and we have had to make some changes to ensure the site remains stable and open for signatures and new petitions. Thanks for bearing with us.
— Petitions Committee (@HoCpetitions) March 21, 2019
Comments
ได้ยินว่าตอนลงมติ Brexit จำนวน % ผู้ลงคะแนนไม่เยอะ และคนรุ่นใหม่ที่ไม่ต้องการ Brexit กลับไม่ได้ไปใช้สิทธิตอนลงประชามติอยู่พอสมควร
หวังว่าพี่ไทยคงไม่ซ้ำรอย UK นะ
ได้คุยกับคน UK บอกว่าการลงประชามติ Brexit ไม่ใช่ข้อผูกพันทางกฎหมายที่รัฐบาลต้อง Brexit ให้ได้ แต่รัฐบาลก็ดูมีความพยายามดีแม้จะเห็นความยุ่งยากและผลตอบรับที่เป็นลบมาเยอะ
คนไทยเป็นแบบนี้ครับ ถึงเวลาไม่ยอมไปใช้สิทธิ์ แต่ชอบไปแสดงพลังนอกวิถีประชาธิปไตย
เลือกตั้งแต่ละครั้งคนไปใช้สิทธิ์ไม่ถึง 50% อย่าไปว่าใครจูงจมูกใครเลย ประชาชนคนไทยนี่เองแหละที่ไม่ศรัทธาระบอบประชาธิปไตยมากพอ (หรือไม่เข้าใจ) เลือกปกป้องสิทธิ์ตัวเองด้วยการปิดถนนประท้วง แต่ไม่ใช้สิทธิ์ด้วยการหย่อนบัตรเลือกตั้ง ทั้งที่แบบหลังมันง่ายกว่าตั้งแยะ
ข้อมูลจากไหนครับ? ตั้งแต่ปี 2529 เราไม่เคยต่ำกว่า 60% เลยนะ แถมเยอะขึ้นเรื่อยๆด้วย
อันที่จริงต่อให้ใช้สิทธิ์ ก็ไม่ได้แปลว่าทางเลือกจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมเสมอไปอยู่ดีครับ
brexit เป็นตัวอย่างหายนะทางเลือกแบบหนึ่ง เพราะตอนเลือก "รู้เห็นแบบนึง" หลังเลือก "เป็นอีกแบบ"
ต่างกันที่บ้านเราเล่นไม่มีเบรค ดิ่งลงฟูลสปีดท่าเดียว
+1
มีตัวเลือก "ไม่เลือกใคร" อยู่ครับ ซึ่งต่างจากการไม่ออกไปใช้สิทธิ์เลย
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เดี๋ยวนะครับ...
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
https://www.nytimes.com/interactive/2016/06/24/world/europe/how-britain-voted-brexit-referendum.html
Scotland, Ireland ได้แยกประเทศแน่
ตอนนั้น Vote จะแยกประเทศไทีนึง เพราะเห็นว่ายังอยู่ EU เลยอยู่ต่อ
แต่ดันเจอ England Vote ออกเต็ม ๆ เคลียดเลย