นอร์เวย์เป็นหนึ่งในประเทศที่ก้าวหน้าที่สุดในแง่กฎหมายและโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า (ไล่ดูข่าวเก่าได้จากแท็ก Norway ) ซึ่งก็สอดคล้องกับจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนที่มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างล่าสุดกรมการขนส่งนอร์เวย์ (Norwegian Road Federation - NRF) เปิดเผยว่า เดือนมีนาคมที่ผ่านมา รถยนต์ที่ออกใหม่เป็นรถไฟฟ้าถึง 58%
NRF ระบุด้วยว่า Tesla Model 3 เป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมที่สุด คิดเป็น 30% ขอรถยนต์ที่ถูกซื้อเมื่อเดือนที่แล้ว ขณะที่ยี่ห้ออื่นๆ มีสัดส่วนไม่ถึง 10% ขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าแบบ full electric มีส่วนแบ่งตลาดรถยนต์นอร์เวย์ในปี 2018 ที่ 31.2% ขึ้นจากปี 2017 ที่อยู่ที่ 20.8%
ขณะที่ข้อมูล Global EV Outlook จากทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency - IEA) เผยสัด่ส่วนรถยนต์ไฟฟ้า (รวมปลั๊กอินไฮบริด) ระหว่างประเทศต่างๆ ที่ขายได้เมื่อปี 2017 โดยนอร์เวย์มีส่วนแบ่งสูงสุดที่ 39% นำไอซ์แลนด์ที่นำมาห่างๆ ที่ 12% และสวีเดน 6% ขณะที่จีนที่ก็ดูจริงจังเรื่องนี้มีสัดส่วนแค่ 2.2% และสหรัฐที่ 1.2% เท่านั้น (ส่วนของ 2018 น่าจะออกราวเดือนพฤษภาคม)
ที่มา - Rueters
Comments
ไปไกลละ
นโยบายดี มีคนสนับสนุน ประชากรก็น้อย เงินหนา และระบบสาธารณูปรโภคบ้านเขาพร้อม ไหฟ้าก็เหลือ มันถึงเกิดง่ายและไวไง
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ถ้าวันนึง รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น น้ำมันจะถูกหรือแพงขึ้นครับ
ควรจะถูกลง เพราะ demand ลดครับ
ฝั่ง supply ที่มักจะลดกำลังการผลิตตามเพื่อให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นคงต้องยอมเพราะมันเป็นการแข่ง
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
เขาลดกันทั้งสมาคมการค้าผมว่าลดการผลิตจน ราคาน่าจะเท่าๆเดิม
มันไม่ได้พร้อมใจกันลดจริงๆ นี่ครับ ที่ผ่านๆ มา มีคนแหกคอกไม่ยอมลดกำลังการผลิตอยู่เรื่อย บางประเทศรายได้หลักมาจากการขายน้ำมันอย่างเดียว ลดกำลังการผลิตก็ได้เงินน้อยลง จะให้รอราคาน้ำมันขึ้นมันไม่ทันใจ เงินไม่พอใชจ่ายก็ดื้อขายมันซะเลย
ช่วง 4-5 ปีหลังจากนี้ demand มันจะค่อยๆ ร่วง ฝั่งประเทศผู้ผลิตน้ำมันก็ลด supply ตามเพื่อให้ราคามันสู่สมดุล แต่เป็นไปในทางลดลงเรื่อยๆ แถมลดแบบลดแล้วลดเลยเสียด้วย
จำได้ว่าเรียนมหาลัยปี 51 เติมน้ำมันรถมอไซค์เต็มถัง 120 บาท เป็นครั้งเดียวที่เคยเห็น
และเป็นช่วงจุดจบของข้าวราดแกงจานละ 20 บาทด้วย แล้วก็ขึ้นแม่มทะลุ 40 บาทในอีกสามปีหลัง
น่าจะปี 2007 เคยเติมเบนซิน 95 ลิตรละ 40 กว่าบาท ดีเซลก็ราคาประมาณนี้
ตอนนั้นรถเบนซินที่บ้าน จับติดแก๊สหมดเลย
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
นอร์เวย์เป็นผู้ส่งออกน้ำมัน ในประเทศใช้รถไฟฟ้าเยอะ แต่ถ้าจำไม่ผิด น้ำมันแพง :D
ถึงวันนั้น น้ำมันจะถูกหรือแพง ผู้บริโภคคงไม่สนใจเท่าไร เพราะไม่ได้เติม ^^
มันไม่หนีไปไหนครับ โรงงานต่างๆ ยังใช้น้ำมันอยู่ดี ภาคเกษตรกรรมก็ยังใช้น้ำมัน
แถมโรงไฟฟ้าด้วยครับ
อ้าวเหรอ ผมนึกว่าใช้แก๊สธรรมชาติครับ
ผมเขียนไม่เคลียร์เอง ไม่ได้หมายถึงโรงไฟฟ้าใช้น้ำมันโดยตรงครับ แต่ในภาพใหญ่ ราคาแก๊สธรรมชาติมันก็สัมพันธ์กับราคาน้ำมัน ซึ่งก็จะส่งผลไปถึงต้นทุนของไฟฟ้าอยู่ดีครับ
อ้อ ขอบคุณมากครับที่มาอธิบาย
คิดว่าไม่น่ามีแล้วมั้งครับ เพราะตอนนี้แพงมาก เชื้อเพลิงดึกดำบรรพ์ที่ยังใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าจะเป็นถ่านหินและแก๊สธรรมชาติ เพราะถูกกว่า
อ้อ ผมอาจจะพูดไม่เคลีย ผมหมายถึงคนที่ใช้น้ำมันเติมรถยนต์เพื่อวิ่งครับ คงไม่ได้สนใจราคาน้ำมันเท่าไร ถ้าเค้าเปลี่ยนไปใช้ไฟฟ้าแล้ว ไปสนใจค่าไฟฟ้ามากกว่า
ส่วนน้ำมันจะถูกจะแพงแล้วมันไปกระทบกับอะไรบ้างอันนั้นก็สุดแล้วแต่กลไกทางการตลาด ส่วนตัวผมก็ไม่ค่อยเชื่อว่า ถ้าน้ำมันถูกลงแล้วสินค้าเกษตรก็จะถูกลงไปด้วยนะ
เทียบเป็นจำนวนคัน จีน 2.2% นี่มากกว่านอร์เวย์ที่ 39% หรือเปล่าครับ
ไม่ได้เทียบแบบ per capita ครับ มันคือส่วนแบ่งจากยอดขายรวมกันทั่วโลก
คือเทียบแบบ per capita นอร์เวย์ก็เหมือนจะสูงที่สุดในโลกอยู่ดีครับ
Norway ส่งออกน้ำมันไปประเทศที่ล้าหลังกว่าในประเทศตัวเอง ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนของรัฐบาลทำให้รถไฟฟ้าได้ข้อเสนอดีกว่า เช่น ชาร์จไฟฟรี รวมไปถึงที่จอดและราคาที่รัฐช่วยอุดหนุน เพราะมันส่งผลดีต่อภาพรวมของสภาพสิ่งแวดล้อมในประเทศ ประเทศเค้าฉลาดคิดได้ทำได้จริง
ถ้าไทยจะเริ่มควรเริ่มยังไงดี? ผมเข้าใจว่าไทยมีบ่วงของการเป็นฐานผลิตรถยนต์อยู่ด้วย น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลไม่อยากสนับสนุนรถไฟฟ้ารึเปล่าครับ?
มีอีกหลายปัจจัย ทั้งราคา ค่าซ่อมบำรุง สภาพแวดล้อม กำลังการผลิตไฟฟ้า และการสนับสนุนคนงานในประเทศที่อยู่ในโรงงานรถยนต์อีก
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เรื่องสนับสนุนคนงานน่าจะรวมๆ เกี่ยวกับเรื่องฐานการผลิตนะครับ
ผมว่าที่รัฐบาลไม่ผลักดันมาก เพราะมันมีงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสันดาบเยอะ คนงานตามโรงงานผลิตชิ้นส่วนเยอะ ถ้าย้ายไปไฟฟ้าเลย คนจำนวนมากก็จะตกงาน เพราะรถไฟฟ้านี่ใช้ชิ้นส่วนน้อยกว่ารถสันดาบเยอะ
ผมคิดว่าถ้ารัฐฯ สนับสนุน มันน่าจะเป็นการเพิ่มโรงงานสำหรับรถไฟฟ้ารึเปล่าครับ แบบว่าสร้างโรงงานใหม่ ประชากรก็มีงานเพิ่ม
เพิ่มโรงงานสำหรับรถไฟฟ้าไป มันก็ชดเชยกับจำนวนคนที่ตกงานจากรถสันดาป ไม่พออยู่ดีครับเพราะรถสันดาปมันมีชิ้นส่วนเยอะกว่ามากๆ
ที่ควรจะโยกย้ายได้ก็คือ โยกไปลงโรงงานไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟเพิ่ม แต่ก็นั่นแหละ ประเทศเรามันคงสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าไม่ได้อีกแล้วละ
อันนี้ถามด้วยความไม่รู้
ถ้าเปิดโรงงานสำหรับรถไฟฟ้าแล้วต้องปิดโรงงานรถยนต์และโรงงานผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องเหรอครับ? คือผมถาม เพราะอ่านตรงที่บอกว่า "มันก็ชดเชยกับจำนวนคนที่ตกงานจากรถสันดาป ไม่พออยู่ดี" แล้วผมตีความได้แบบนั้นครับ
เข้าใจว่าแล้วแต่ดีไซด์พวกช่วงล่างอย่างโชค์ก็ยังเลี่ยงไม่พ้นที่ต้องใช้ในรถไฟฟ้า
แต่ส่วนประกอบหลักของเครื่องสันดาป ตั้งแต่ส่งน้ำมันยันไอเสีย และส่วนส่งแรงไปตามล้อ จะหายไปหมดเพราะเค้าเอามอเตอร์หลายๆตัวไปส่งแรงที่ล้อโดยตรง
ชิ้นส่วนยิบย่อยในระบบสันดาป
จากเดิม 100 ชนิดชิ้น × จำนวนโรงงาน × คนทำงานอาจกลายเป็นแค่ 30 ชนิดชิ้น ในรถไฟฟ้า
อีก 70ชนิดชิ้น × จำนวนโรงงาน × คนทำงาน คือตำแหน่งงานที่จะหายไป
ถ้า assume จำนวนรถยนต์ในถนนมีเท่าเดิม แปลว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ชิ้นส่วนน้อยกว่ามาก จะกินตลาดของรถยนต์สันดาปที่ใช้ชิ้นส่วนเยอะ ดังนั้นคำตอบคือใช่ครับ
ลองไล่ดูเท่าที่ผมทราบนะครับ บ้านผมทำคว้านเสื้อสูบรถมอเตอร์ไซค์อยู่
รถยนต์สันดาป มันมีทั้ง หัวฉีดน้ำมัน วาล์วไอดี วาล์วไอเสีย แคลมป์คุมจังหวะวาล์ว บ่าวาล์ว ฝาวาล์ว บูชขาวาล์ว สปริงขาวาล์ว หัวเทียน ลูกสูบ แหวนลูกสูบ เสื้อสูบ โซ่ราวลิ้น ข้อเหวี่ยง จานไฟ คลัช อันนี้คือไล่เท่าที่ผมนึกออกนะครับ เพราะบ้านผมไม่ได้เป็นคนรื้อ ช่างซ่อมเค้าจะรื้อมาทำที่บ้านผมอีกที
นี่ขนาดยังไม่ไล่ถึงส่วนที่ใช้ส่งกำลังให้ล้อเลยนะครับ ไหนจะพวกระบบอากาศ เช่น พวกท่อไอเสีย ตัวควบคุมการป้อนอากาศ กรองอากาศ อีก หรือพวกหม้อน้ำต่างๆที่คอยระบายความร้อนในห้องเครื่อง ผมก็เข้าใจว่ารถไฟฟ้าก็ไม่น่าจะมีส่วนนี้เหมือนกัน เพราะมันไม่มีการจุดระเบิดที่คอยสร้างความร้อนสูงภายในห้องเครื่องเลย
เยอะไม่เยอะก็ลองพิจารณาดูละกันครับ ข้างบนนี่ผมพยายามไล่สิ่งที่มันไม่น่าจะมีในรถไฟฟ้าแล้ว มาให้ดูครับ ซึ่งชิ้นส่วนที่ว่ามานี่ มันมีโรงงานผลิตกันเป็นล่ำเป็นสัน แยกยี่ห้อแยกเกรด กันเพียบเลยนะครับ ไม่ได้มีขายแต่ของแท้จากผู้ผลิตรถอย่างเดียว
ปล.อะไหล่บางยี่ห้อทนกว่าของแท้ก็มีนะครับปล2.อะไหล่แท้เหมือนกันก็ใช่ว่าจะออกจากโรงงานเดียวกันเสมอไปนะครับ
ความคิดเห็นส่วนตัว จากที่เคยอ่านๆข้อมูลความรู้มาตามเว็บนานแล้ว
เอาตามที่ผมเข้าใจมีอย่างหนึ่งคือ เรื่องแบตเตอร์รี่ ใช้ในเมืองร้อนจะมีปัญหามาก อายุสั้นเพราะร้อนไวพังง่าย เหมือนเซลพลังงานแสงอาทิตย์ที่พอร้อนแล้วกำลังการจ่ายไฟจะตกลงอีกต่างหาก แบตทนร้อนหน่ะมีผมเคยเห็นแล้วแต่แพงมาก
ของนอร์เวย์อยู่ในเขตโครตหนาวแบตจะมีอายุอยู่นานแต่จะเก็บพลังงานได้น้อยหรือสตาร์ทรถติดยากเพราะแบตเย็นจัด ต้องทำให้อุ่นๆก่อนไม่ก็ต้องกระตุ้น(ส่วนนี้หมายถึงแบตที่ใช้ในรถทั่วไปด้วย)
แบตปกติอยู่ได้เป็นสิบปี แต่อายุการใช้งานจะหาร 2 ทุกๆความร้อนที่เพิ่มขึ้น 7 องศา จากอุณหภูมิ 25 องศา(อุณหภูมิของแบตเตอร์รี่นะไม่ใช่อุณหภูมิรอบๆมัน) ส่วนถ้าเย็นลงทุกๆ 7 องศา การเก็บประจุไฟจะทำได้น้อยลง(อันนี้ไม่แน่ใจแต่หาร 2 ลงไปเรื่อยๆเหมือนกันมั้ง)
สรุปผมคิดว่ารถยนต์บุคคลธรรมดาในไทยใช้ battery เป็นพลังงานหลักไม่น่าจะรอดเพราะต้องคอยเปลี่ยนแบตถี่มากบางทีอาจสั้นกว่า 2 ปีด้วยซ้ำ เหมือนโซล่าเซลล์ของบ้านคนทั่วไปที่ไม่ค่อยอยากจะใช้แบบ off grid เพราะต้องใช้ battery แต่จะอยากต่อแบบ on grid เพราะเป้าหมายจริงๆคือต้องการลดค่าไฟที่เป็นค่าใช้จ่าย แต่ถ้าต้องเอามาลงกับ battery ที่ใช้ในไทยที่เป็นเมืองร้อนแล้วอายุแสนสั้น มันก็ไม่คุ้มกับส่วนต่างค่าไฟที่ประหยัดได้มาด้วยซ้ำ
คงจะมีแต่รัฐหล่ะที่ทำได้เพราะคงจะลงทุนกับระบบระบายความร้อนได้อยู่แล้ว หรือเอกชนที่รวยๆหน่อยและสามารถหารายรับมาชดเชยตรงส่วนนี้ได้ แบบสนามกอล์ฟนั่นไง มีค่าบริการอื่นที่กำไรเยอะๆมาชดเชยตรงส่วนของการเปลี่ยน battery ได้ แต่ธุรกิจอื่นอาจจะหายากเอาที่แบบใช้รถไฟฟ้าแล้วธุรกิจยังอยู่ได้ยาวๆนะ
+1 นอกจากเรื่อง economic ก็มีเรื่องนี้แหละครับ
เพิ่มเติม
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมไม่เคยคิดเรื่องนี้มาก่อนเลยแฮะ โมเดลที่ขายในไทยต้องมีระบบ cooling พิเศษรึเปล่าครับ นี่แยกออกมาเป็นอีกไลน์สินค้าแบบวงการ PC เลยนะ อันนี้ผมคิดจริงนะคิดได้ตะกี้ไม่ได้พูดเอาฮา
ฟังเรื่องเมืองร้อนกับแบตแล้วรู้สึกว่าประเทศไทยความหวังน้อยลงแฮะ ภาษีก็แพงทำให้รถแพงมาก ถ้าต้องเปลี่ยนแบตบ่อยๆ อีกก็เละเลย
รู้สึกว่าการเป็นคนรักษ์สิ่งแวดล้อมนี่ค่าใช้จ่ายสูงกว่าเป็นคนไหลไปตามกระแสแฮะ ผักออแกนิคก็แพงระยับ
2020(หรือ2025 จำไม่ได้) นอร์เวย์ไม่สามารถซื้อขายรถที่ใช้น้ำมันได้ละครับ
รอบนี้ไม่มีใครใช้คำว่า ecosystem -o-?
อยากเห็นสภาพการใช้ไฟฟ้าของประเทศนอร์เวย์จัง
ขอรถยนต์ => ของรถยนต์
สัด่ส่วน => สัดส่วน