เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา SpaceX จัดการแข่งขัน Hyperloop Pod Competition ที่จัดปีละครั้งมาจนถึงครั้งที่ 4 แล้ว โดยการตัดสินยังคงเหมือนครั้งก่อนๆ คือผู้ชนะต้องเป็นทีมที่ทำความเร็วได้สูงที่สุด ซึ่ง 3 ครั้งที่ผ่านมา ทีม WARR Hyperloop จากมหาวิทยาลัยเทคนิคมิวนิก (Technische Universität München) ประเทศเยอรมนี เป็นผู้ชนะมาโดยตลอด
สำหรับการแข่งขันปีนี้ กติกาก็ยังคล้ายเดิมคือโฟกัสที่ความเร็วเป็นหลัก แต่คราวนี้แต่ละทีมต้องใช้ระบบสื่อสารของตัวเอง (ครั้งก่อน SpaceX เป็นผู้จัดหาระบบสื่อสารให้) และ pod ของแต่ละทีมต้องวิ่งได้จนถึงระยะ 30 เมตรก่อนถึงเส้นชัย กล่าวคึอถึงระหว่างทางจะวิ่งได้เร็วมาก แต่หยุดวิ่งก่อนถึงระยะที่กำหนดก็ถือว่าแพ้
ปีนี้ทีม WARR Hyperloop เปลี่ยนชื่อทีมเป็น TUM Hyperloop ตามชื่อมหาวิทยาลัยและคว้าชัยชนะไปได้อีกครั้ง โดยทำความเร็วได้สูงสุดถึง 463 กม./ชม. อย่างไรก็ตาม ระหว่างการวิ่งช่วงใกล้ถึงเส้นชัย ตัว pod ได้เกิดประกายไฟขึ้นและมีชิ้นส่วนหลุดออกไปบางชิ้น แต่ยังสามารถจบการแข่งขันได้ กรรมการเลยตัดสินให้เป็นผู้ชนะ
Team TUM achieved 299mph (482km/h) in the Hyperloop prior to the pod rapid unplanned disassembly. The brakes stopped it immediately, they’re designed to work even if loss of power. The crowd and team were ecstatic! @SuperclusterHQ @TUM_Hyperloop @elonmusk pic.twitter.com/hTJPgFyTTx
— TomCross (@_TomCross_) July 21, 2019
ผู้เข้าแข่งขันทีมอื่นก็ยังคงเป็นหน้าเดิมๆ เช่น Delft Hyperloop จากมหาวิทยาลัยเทคนิค Delft ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่แข่งไม่จบอย่างน่าเสียดายเนื่องจากมีปัญหาขัดข้องด้านการสื่อสารหลังจากออกตัวไปได้เพียง 200 เมตรเท่านั้น ต่อมาเป็นทีม Swissloop จากมหาวิทยาลัย ETH Zürich ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่ทำความเร็วได้ 257 กม./ชม. สุดท้ายเป็นทีม EPFLoop จากเมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก็แข่งจบ ทำความเร็วได้ 238 กม./ชม.
Today we tested our Pod in the small sub-track and we got the approval from the responsible engineers from @SpaceX ! Tomorrow we will go inside the tube without vacuum to test our pod on a longer distance. This will then be the last test we have to pass to compete on Sunday. pic.twitter.com/OSxhmEfjHX
— TUM Hyperloop (@TUM_Hyperloop) July 20, 2019
แต่ละทีมก็ได้รับประกาศนียบัตรที่มีลายเซ็นของ Elon Musk ด้วย
สำหรับการแข่งขันปีหน้า Elon Musk ระบุว่าจะเพิ่มระยะทางเป็น 10 กิโลเมตรและมีทางโค้งด้วย
Next year’s @Hyperloop competition will be in a 10km vacuum tunnel with a curve
— Elon Musk (@elonmusk) July 22, 2019
ทั้งนี้ SpaceX ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับทีมหรือบริษัทใดๆ ที่เข้าแข่งขันหรือพัฒนา Hyperloop อยู่ทั้งสิ้น แต่ละเจ้าก็พัฒนาของตนเองโดยใช้ไอเดียของ Elon Musk เป็นพื้นฐานเท่านั้น และการแข่งขันนี้ก็มีขึ้นเพื่อกระตุ้นการพัฒนาเฉยๆ
ที่มา - TechCrunch
, SpaceX
ภาพทั้งหมดโดย TUM Hyperloop
Comments
ระยะทาง 30เมตร หรือ 300 เมตรครับ งง ตรงที่บอก
ระยะทางเกือบ 1.6 กิโลเมตรครับ
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
ขอบคุณครับ
30 เมตรกับ 200 เมตร คนละจุดกันเลยครับ
ระยะทางวิ่งทั้งหมด 1 ไมล์ (ประมาณ 1,600 เมตร)
มีกติกาข้อนึงกำหนดไว้ว่า พอดที่แข่งต้องวิ่งตลอดเส้นทางและยังต้องวิ่งได้อยู่จนถึง "30 เมตรก่อนเข้าเส้นชัย" (หมายถึง 1,600 เมตรของระยะทาง พอดต้องวิ่งได้อย่างน้อย 1,570 เมตร)
ส่วนทีม Delft ของเนเธอร์แลนด์ พอดมีปัญหา "ออกตัวไปได้แค่ 200 เมตร" (จากทั้งหมด 1,600 เมตร) การสื่อสารก็ขาดหาย ซึ่งถือว่าฟาล์ว เพราะกติกากำหนดไว้ว่า ตลอดระยะทางการสื่อสารต้องต่อเชื่อมตลอดเวลา
ขอโทษคับ พอดีผมอ่านไม่เจอ ระยะทางทั้งหมด ผมเลยงงครับว่า 30 เมตร(เข้าใจว่าระยะแค่นี้) ทำไมไปหลุดที่ 200 เมตร เม้นบนมาชี้แจงแล้วครับว่า ระยะทางทั้งหมดคือ 1.6 Km
ทีมอื่นหายไปไหนหมดครับ เห็นเหลือแค่ 4 ทีมที่ได้แข่ง
แค่รายงานผลของอันดับ 1 ถึง 4 (ที่ทำความเร็วสูงสุด)ครับ จริงๆมี 21 ทีมที่แข่ง ดูรายชื่อได้จากลิ้งค์ที่มา
21 ทีมคือที่สมัครเข้าแข่งครับ แต่ก่อนหน้านี้ต้องแสดงให้ทีมงาน SpaceX และ The Boring Company เห็นว่า pod ของแต่ละทีมนั้น qualify ที่จะได้วิ่งในอุโมงค์ทดสอบครับ ไม่ใช่ว่ามาแล้วลงวิ่งได้เลย โดยทีมงานมีข้อกำหนดต่างๆ อยู่ครับว่าต้องผ่านอะไรบ้าง สุดท้ายแล้วเหลือแค่ 4 ทีมที่ได้วิ่งจริงครับ
ส่วนทีมที่ไม่ได้วิ่งก็ยังมีบางทีมเช่น UPV จากสเปนได้รับรางวัล Innovation Award ด้วยครับ
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
5G loop..made in china
แข่งขันปีหน้าน่าสนใจมาก เพิ่มทางโค้งเข้ามา จะทำกันยังไง
นอกเรื่องหน่อยนะครับ จนกระทั่งทุกวันนี้ยังไม่รู้ว่า hyperloop ต่างจาก maglev ยังไง พอถามกลไกที่ทำให้ยกตัว ก็อ้างถึง air-bearing ซึ่งถ้าใช้ air-bearing จริงผมจะจัดให้เหมือนเครื่องบินที่บินในท่อ ถ้าแนวคิดการเคลื่อนไหวเป็น aeroplane จริง สุดท้ายจะไปมีปัญหากับกลไก steering และความปลอดภัยรึเปล่าครับ
ปล. รู้สึกว่า hyperloop ชอบทำตัวลักษณะ point organization คล้ายจุดหลาย ๆ จุดผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดหวังผล crowdfunding ที่ประกาศตัวเบื้องหน้าว่าไม่มีความเชื่อมโยงกัน หากส่วนไหน fail ภาพใหญ่ก็ยังคงเดินต่อไปได้ สำหรับผมมันผิดปกติที่จะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่แต่ไม่ยอมประกาศความร่วมมือหลายภาคส่วนสักที แต่ละที่ชอบอ้างอยู่นั่นว่าแข่งกันสร้าง hyperloop
กรณีที่แข่งกันสร้างมันต้องเป็นอะไรที่ใช้งานได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ไม่ใช่แข่งกันพัฒนาสิ่งที่มันยังใช้งานไม่ได้จริงและเป็น concept ซึ่งผมทะแม่งตรงนี้มาก ๆ
กลไกยกตัวคิดว่าเหมือนกันครับ แต่ก็คิดว่ามันต่างตรงที่ Hyperloop มันวิ่งในท่อความดันต่ำ ทำให้ลดแรงเสียดทานอากาศได้มากกว่า และอาจจะใส่ระบบขับเร่งที่เป็นไอพ่นหรือ cold gas ได้ เพราะสามารถสร้างแรงขับได้มากกว่าใช้นอกท่อ
ก็มีตัวอย่างอยู่เยอะแยะ การแข่งกันสร้างทั้งๆที่ยังทำ proof of concept ไม่ได้ เช่น โรงงานไฟฟ้าฟิวชั่น ที่แข่งกันระดับมีรัฐบาลร่วม support ด้วย
ใช้ล้อเหมือนรถรางทั่วไปนั่นแหละครับ
ถ้าเอาจรวด falcon heavy ติดท้ายได้ ความเร็วไม่ต้องพูดถึงครับ
ราคาถูกกว่ารถไฟฟ้ามั่ง เร็วกว่า maglev มั่ง จริงๆผมเหม็นกลิ่นมูลกระทิงมากๆครับ แฟนบอยผลไม้วิตามินซีสูงในข่าวเก่าก็ด้วย
ผมว่าถึงมันจะทะแม่งๆ มันก็ยัง ok อยู่นะครับ
ทีม araone hyperloop จากประเทศไทยกำลังพยายามพัฒนา hyperloop เข้าร่วมแข่งขัน http://www.araonehyperloop.com/