ประเด็นเรื่องบริการส่งอาหารเดลิเวอรี คิดค่าคอมมิชชันหรือส่วนแบ่งรายได้ (GP) จากร้านอาหาร ไม่ได้มีเฉพาะในไทย บริการแบบเดียวกันในต่างประเทศก็มีโมเดลธุรกิจที่คิดค่าคอมมิชชัน 10-30% เช่นเดียวกัน (ตัวเลขของ Uber Eats คือ 25%)
ล่าสุด นายกเทศมนตรีนครซานฟรานซิสโก ออกมาประกาศบังคับไม่ให้บริการเดลิเวอรีเก็บค่าคอมมิชชันแพงกว่า 15% เพื่อไม่ให้กระทบรายได้ของร้านอาหาร โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ร้านอาหารต้องปิด และรายได้ส่วนใหญ่ของร้านมาจากการส่งเดลิเวอรีด้วย
ประกาศนี้มีผลในวันนี้ (13 เมษายน ตามเวลาสหรัฐ) และบังคับใช้ไปจนกว่าสถานการณ์ฉุกเฉินจะสิ้นสุด ร้านอาหารกลับมาเปิดให้นั่งกินในร้านได้
ตัวอย่างบริการเดลิเวอรีในสหรัฐที่ได้รับผลกระทบจากประกาศนี้คือ Uber Eats, Postmates, Grubhub, DoorDash ซึ่งผู้ประกอบการบางรายอย่าง DoorDash ก็ออกมาประกาศลดค่าคอมมิชชันลงครึ่งหนึ่งไปก่อนแล้ว
ที่มา - Eater
ภาพจาก DoorDash
Comments
ไทยแลนด์พลีส
ไทยนี่ช่วงกอบโกยด้วยซ้ำ
ของไทยได้ข่าวว่า 35% แล้วเดี๋ยวนี้
อย่าให้มีในไทยเลย สงสารบริษัท - -* ทำธุรกิจต้องมีกำไรบ้าง ไม่ใช่ขาดทุนตลอดแบบนี้ บ้านเราไม่เหมือนเมืองนอก ออเดอร์นึงราคาต่ำมาก 30% นี่ ถ้าออเดอร์ 100 บาทยังแค่เท่าทุน (100 ได้คอม 30 ค่าส่ง 10 บาท เป็น 40 เท่าทุนพอดี ยังไม่รวมสวัสดิการอื่นของคนขับ) แต่บ้านเรายังไม่ได้จำกัดราคาสั่งซื้อ ยอด 40 บาทก็สั่งได้ค่าส่ง 10 บาท ร้านเอาไป 28 คนขับ 40 ค่าส่ง เท่ากับออเดอร์นี้ขาดทุน 18 บาท แล้วคนสั่งแบบนี้ไม่น้อยเลย ถ้าโดนบังคับให้คอม 15% นี่ยิ่งขาดทุนหนักไปอีก อาจจะต้องเพิ่มค่าส่ง หรือจำกัดขั้นต่ำในการสั่งของ แต่ก็จะทำให้คนไม่สั่งอีก
+1 ครับ ตลาดควรมีการแข่งขันมากกว่ากำหนดเพดานราคา ไม่งั้นมันไม่มี flexibility
-1 ครับ ช่วงเวลาแบบนี้คนจำเป็นต้องใช้บริการ ถ้าไม่กำหนดเพดานไว้ ถ้าทุกรายพร้อมใจกันฮั้วยิ่งเป็นการซ้ำเติมกันชัดๆ ถ้าเวลาปกติก็ไม่ได้มีใครมากำหนดอยู่แล้ว อย่างบ้านเรา 30-35% ไม่เกี่ยวกับค่าส่ง ร้านค้าแทบไม่ได้กำไร กำไรไปตกกับผู้ให้บริการเกือบหมด
กับเรื่องหน้ากากอนามัย และเจลLกฮ. พี่เค้าจะอยากได้กลไกตลาดบ้างมั้ยน้าาาา…
บ้านเรามีคิดค่าส่งด้วยต่างหาก ออนท๊อปจากคอมมิชชั่นนี่ครับ
ค่าส่งที่ฝั่งแอพเก็บลูกค้า เหมือนแค่เก็บพอเป็นพิธีครับ
จริงๆคนขับได้เยอะกว่านั้นมากกกกกกกกกกกกกกกกก
ผมเข้าใจว่าที่โดนคอมมิชชันจะไม่โดนค่าส่งนะครับ แยกเป็นคิดค่าส่งหรือค่าส่งคงที่ (ฟรีหรือสิบบาทอะไรแบบนั้น)
แต่ผมก็ไม่มั่นใจนะ
35 เปอร์เซ็นต์ นี่แทบเอากำไรร้านค้าไปหมดเลยนะครับแถมยังได้ค่าส่งอีก
หลายร้านตั้งราคาเมนูที่ขายในแกร๊บเพิ่ม 30% นี่ครับ
ใช่ครับหลายร้าน แต่ไม่ใช่ทุกร้าน
บางร้านก็ถือโอกาสตั้งราคาหน้าร้านเท่ากับขายในแอพ
เลยก็มี
ส่วนร้านไหนคนซื้อเยอะอยู่แล้ว ไม่ง้อก็บวกเพิ่มไป
ครั้นจะบวกเพิ่มเยอะ ก็ดูหน้าเกลียดเกินไปครับ
ต้องยอมกำไรลดลง
อย่างเช่นร้านไก่ย่างแถวบ้านครับ
ครึ่งตัว ปกติ 75 บาท ก็บวกเพิ่มไปเป็นครึ่งตัว 90 บาท
ค่าส่งอีกต่างหาก
ไม่เห็นด้วยครับ ต่อให้เป็นบริษัท ไม่ใช่การกุศลแบบที่คุณว่ามา แต่การทำเงินและกำไรก็ควรทำตามความเหมาะสมกับสถานการณ์และสภาวะของลูกค้าด้วยครับ และบริษัทพวกนี้ทุนหนา พอเกิดเรื่องแบบนี้ยิ่งได้เปรียบ ได้กำไรมากกว่าเดิมอีกครับ
ยิ่งช่วงนี้ บางส่วนไม่มีรายได้จากที่กิจการโดนปิดและมี Curfew อีก การใช้ชีวิตมันลำบากนะครับ และบริการขนส่งพวกนี้ คนขับได้กำไรมากกว่าที่คุณคิดเสียอีกนะ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
บริการนี้แบ่งเป็นสามฝั่งครับ ฝั่ง Platform ฝั่งคนขับ ฝั่งร้านอาหาร ทุกฝ่ายอยากได้รายได้มากที่สุด คุณบอกว่าคนขับได้กำไร อันนั้นใช่ครับ แต่ผมไม่ได้พูดถึงตรงนั้นนะข่าวนี้เค้าบังคับ Platform ให้เก็บคอม 15% และผมพูดถึงฝั่ง Platform ครับ
มันมีโปรค่าส่ง 10 บาท และส่วนนี้ที่เหลือจากค่าส่ง Platform เป็นคนจ่ายตามจริงให้คนขับ และคนขับได้มากกว่าที่ผมพูด อันนี้จริงครับ มีทั้งโบนัสและอื่น ๆ เราไม่พูดถึงร้านที่ไม่มีโปรค่าส่งครับ อันนั้นคนแทบไม่สั่งอยู่แล้วถ้าไม่ใช่ร้านดังพวกนี้ทุนหนาจริง แต่การทำธุรกิจต้องมีกำไรครับไม่งั้นอยู่ไม่ได้จะให้ขาดทุนไปตลอดมันไม่ยั่งยืนครับ อย่างเช่น Uber ที่หายไปจากบ้านเราสุดท้ายแล้วก็ไม่เกิดการแข่งขัน เหลืออยู่ไม่กี่เจ้าที่ทุนหนา ถึงตอนนั้นจะกดขี่ข่มเหงอะไรผู้บริโภคก็ได้
ตอนนี้มันมีโปรค่าส่ง 10 บาทและทุกเจ้าก็ขยันออกโปรค่าส่งกัน ทุกเจ้ายอมควักเนื้อตัวเองเพื่อแย่งลูกค้า เราจึงมีโปรนี้ขึ้นมาได้ มันกลายเป็นว่าตอนนี้ใครทุนหนาก็อยู่ได้ไป (แล้วไปลุ้นเอากับยอดซื้อเพื่อให้เกิดกำไร)
แต่ถ้าทุกเจ้าโดนบังคับคอม 15% ภาระพวกนี้สุดท้ายแล้วก็ต้องไปตกกับลูกค้า จะช้าจะเร็วก็ตาม (อย่างเร็วคือ ทุกเจ้าขึ้นค่าส่งพร้อมกันหมด เพื่อให้อยู่รอด อย่างช้าคือ ใครไม่ไหว ไปก่อนเลย เหลือแค่เจ้าที่ทุนหนา แล้วพอเหลือหนึ่งหรือสองเจ้า ก็ค่อยขึ้นค่าส่งตอนนั้น) หลายท่านอาจจะยินดีที่ร้านค้าได้กำไรเยอะขึ้น ผมก็อยากให้ได้เยอะนะครับ แต่ว่าถ้ามันทำให้ค่าส่งมันแพงขึ้น เพราะ Platform มันอยู่ไม่ได้ ถามว่า จะมีสักกี่คนที่สั่งกันครับ ก๋วยเตี๋ยว 50 ค่าส่งตามจริง 40 บาท เท่ากับก๋วยเตี๋ยว 90 บาทห่อนึงลองสังเกตุตัวเองนะครับ ถ้าโดนค่าส่งสัก 40-50 บาทอันนี้คือใกล้ ๆ นะครับระยะ 3-5 กิโล มีใครบ้างที่กดสั่งจริง ๆ ครับ ผมคนนึงจะเลือกทางอื่นนะ (ถ้ามันมี)
ผมชอบในโปรโมชั่นนะครับ ชอบที่มีการทุ่มตลาด แต่ถ้าสุดท้ายแล้วการทุ่มตลาดแล้วทำให้เค้าอยู่ไม่รอดผมไม่ค่อยชอบเท่าไรนะ (พูดตรง ๆ คิดถึง Uber บริการดีมาก) และการมีหลาย ๆ เจ้าทั้งเล็กและใหญ่มันดีกว่าการที่มีเจ้าใหญ่ ๆ เจ้าเดียวและจะทำอะไรก็ได้กับเรานะครับ (คิดถึง CP เป็นตัวอย่าง)
รายเล็กที่เป็น local เขายังอยู่ได้ แฟร์ทุกทางด้วย
ซื้อที่ร้าน ร้านไม่โดนชาร์จ ลูกค้าได้ราคาหน้าร้านแพลตฟอร์มได้ค่าส่งจากลูกค้า
คนส่งได้ค่าส่งตามระยะทาง
grab สั่งน้อยกว่า 70 บาท มีบวกค่า small order fee อีกครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ว่าแต่เคสนี้นี่จำกัดคอมมิชชันแล้วสามารถไปเพิ่มการเก็บเงินจากฝั่งลูกค้าได้รึเปล่านะครับ?
ผมว่าได้นะครับ แต่สุดท้ายก็น่าจะอยู่ที่ลูกค้าจะยอมจ่ายรึเปล่า คือผมว่าไอ Delivery platform นี่ก็มีมานานแล้ว แต่มันมาบูมตรงค่าส่งที่มันไม่แพงมากเนี่ยแหละครับ ค่าส่ง 10-20 มันพอจ่ายได้นะ และถ้าราคาอาหารเท่า ๆ กับไปซื้อหน้าร้านมันเลยง่ายที่จะกดสั่ง สำหรับผมนะ
แต่จริง ๆ พวกที่ไม่มีโปรค่าส่ง เค้าก็ไม่ได้เก็บคอมนะครับเท่าที่ทราบมา แต่ค่าส่งนี่โหดเหมือนโกรธกัน >< ร้านหน้าปากซอยที่ทำงานผม ระยะ 500 เมตร ค่าส่ง 81 บาท คือเข้าใจว่ารถต้องขับมารับแหละครับ แต่มันไม่ชวนกดสั่งเลยเนี่ยสิ ><
แต่ผมก็คิดว่ายังงั้นนะครับ ถ้าจำกัดคอมน้อยลง ยังไงก้ต้องไปบวกค่าส่งหรือไม่ก็จำกัดยอดซื้อขั้นต่ำไม่งั้นน่าอยู่ไม่ได้ สุดท้ายก็ความซวยก็ตกกับผู้บริโภคอย่างเรา ๆ เนี่ยแหละครับ
ไลน์แมนที่คิดค่าส่งตามจริงถึงไม่ได้รับความนิยมเท่ากับแกร๊บอ่ะครับ
ตามนี้เลยครับ เคยสั่งแล้วโดนค่าส่งเท่ากับราคาค่าอาหาร จากนั้นก็เลิกสั่งเลย มาสั่งอีกทีก็ตอนที่ค่าส่งลดลงมาที่ไม่เกิน 25 บาท
คือถ้ารัฐออกกฎมาให้มันก็ต้องแพงทุกเจ้า ยิ่งสถานการณ์ตอนนี้ก็คงต้องยอมจ่ายแหละครับ
ในไทยก็เหมือนคนขับได้ค่าส่งเยอะนะ จนมีดราม่าว่าจะให้ออกจากงานประจำเลยไม่ใช่หรอในกระทู้พันทิปแต่มันก็เป็นค่าเสี่ยงภัยด้วย ในช่วงเวลาแบบนี้
https://www.youtube.com/watch?v=xoDrq7cg1EQตามมาครับ ใครสั่งแกรป ก็แย่ลงอีก
คนไทยบางจำพวกก็แปลก ไม่ปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง
ความเห็นไหนไม่ปกป้องผลประโยชน์ครับยกมานิดนึง
ในมุมนักลงทุนที่นู่นมอง่วาเป็นการตัดสินใจที่แย่ด้วยสามเหตุผลครับ
ส่วนตัวนับถือผู้ว่าเมือง SF ที่ตัดสินใจเรื่อง COVID-19 ดีมาก (ช่วงนั้นผมอยู่ SF พอดี) แต่เรื่องนี้น่าจะทำให้ระบบลำบากอยู่ครับ ถ้ารัฐไม่ออกออกช่วยเหลือส่วนนึงด้วย
[S]
กลับมาจาก SF สดๆ ร้อนๆ เลยเหรอครับ ตอนก่อนออกมาสถานการณ์ดูชิลขนาดไหนครับ สมมติว่าเบอร์ 10 คือชิลสุดๆ
ผมออกมาวันที 18 มีนาครับ ก่อนบังคับ fit-to-fly พอดี ตอนนั้นเริ่มมี awareness จากภาครัฐออกมาให้ทุกคนเตรียมตัวระดับนึง ผมว่าความชิลอยู่ที่ 7/10 หักคะแนนเรื่อง ตุนของ(ทิชชู่หายเรียบ) คนเริ่มรักษาระยะห่าง และก็บริษัท tech ใหญ่ๆ ประกาศ wfh หมดแล้วครับ แต่คนยังออกมาวิ่งอะไรกันปกติ
[S]
ดีใจมั้ยครับที่กลับมา หรืออยากอยู่ต่อ?
ดีใจมากครับ 5555555555555555555555555555555
เทียบกับสถานการณ์ตอนนี้แล้ว อยู่ไทยดีกว่าครับ ที่นู่น cost of wfh สูงกว่าไทยเยอะครับ ค่าสั่งอาหารก็จุกแล้ว
[S]
ในมุมร้านผมก็ไม่เห็นเค้าจะบ่นอะไรกันมากนะ ยังไงมันก็ถูกกว่าจ้างคนส่งเองและมันก็ยังดีที่ขายได้ในช่วงนี้ จะขึ้นราคาบวกไปฝั่งคนซื้อก็ไม่เห็นจะงอแงอะไร ยังรู้สึกว่าคุ้มกว่าออกไปซื้อเองอยู่ ณ ตอนนี้มันไม่ได้มีปัญหาอะไรผมว่าก็ไม่ควรจะต้องมาถกกันเรื่องว่าควรจะมีเพดานหรือไม่อ่ะนะ
เพิ่มเติม หมายถึงในไทยนะครับ เห็นข้างบนถกกันยาวไม่รู้จะรีพลายใครดี