เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คณะกรรมการยุโรป (European Commission หรือ EC) หน่วยงานรัฐบาลของสหภาพยุโรป (EU) ประกาศเริ่มสอบสวนแอปเปิลอย่างเป็นทางการ ในข้อหา "ผูกขาด" แยกเป็น 2 กรณีคือ App Store และ Apple Pay
กรณีของ App Store เริ่มมาจากเรื่องร้องเรียนของ Spotify และผู้ให้บริการอีบุ๊กอีกราย (ที่ EC ไม่ได้ระบุชื่อ) ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงกับแอปเปิลในบริการ Apple Music และ Apple Books
ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ เงื่อนไขการหักส่วนแบ่งรายได้ 30% เมื่อจ่ายเงินสมัครบริการผ่าน in-app purchase (IAP) และเงื่อนไขที่แอปเปิลห้ามไม่ให้มีลิงก์หรือข้อความชวนไปจ่ายเงินนอกแอพ
EC ระบุว่าสอบสวนเบื้องต้นแล้ว เป็นไปได้ที่กฎของแอปเปิลจะมีผลต่อการแข่งขันในธุรกิจสตรีมมิ่งเพลง เพราะแอปเปิลเป็นทั้งเจ้าของ App Store และ Apple Music ในขณะที่คู่แข่งอย่าง Spotify เสียเปรียบกว่าตั้งแต่แรก
ส่วนกรณี Apple Pay เป็นเรื่องการผูกขาดวิธีจ่ายเงินด้วย NFC บนอุปกรณ์ iOS ที่แอปเปิลไม่ยอมให้บริการจ่ายเงินรายอื่นๆ เข้ามาใช้งาน NFC สำหรับ "แตะเพื่อจ่าย" ได้เลย จึงอาจถือเป็นการกีดกันไม่ให้บริการจ่ายเงินบนมือถือรายอื่นๆ ได้เกิด ทำให้ผู้บริโภคไม่มีตัวเลือกอื่นเลย
ขั้นถัดไป EC จะสอบสวนในเชิงลึกว่าแอปเปิลทำผิดตามกฎหมายด้านต่อต้านการผูกขาดของ EU หรือไม่ (ประกาศนี้เป็นการบอกให้ทั้งแอปเปิลและสาธารณะทราบว่า EC กำลังสอบสวนเรื่องนี้อยู่)
ที่มา - EC (App Store) , EC (Apple Pay) ภาพจาก European Commission
Comments
ถ้าไม่หักส่วนแบ่งจาก Spotify แล้ว Apple จะได้อะไรจากการอนุญาตให้ Spotify ใช้ platform และสินค้าอื่น ๆ ของ Apple ในการเข้าถึงฐานผู้ใช้งานจำนวนมากทั่วโลก กรณีนี้ส่วนตัวผมคิดว่าไม่ว่าอย่างไร Spotify ก็ต้องจ่ายเงินให้กับ Apple เป็นสัดส่วนแปรผันตรงกับรายได้ที่ Spotify หาได้ แต่ควรจะถึง 30% หรือไม่ อันนั้นน่าจะเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องกลับไปคิด
ในทางกลับกันเรื่อง NFC ผมกลับคิดว่า Apple น่าจะมีความพยายามในการผูกขาดอยู่จริง เว้นเสียแต่ว่ามีเหตุผลเชิงเทคนิคอื่นมาหักล้าง ผมว่าผู้บริโภคควรมีสิทธิ์เข้าถึงบริการด้านการเงินจากตัวเลือกอื่น ๆ ในตลาดอย่างเหมาะสม
That is the way things are.
เรื่อง Spotify นี่ Apple เก็บ 30% เฉพาะที่จ่ายค่าบริการผ่าน in-app เท่านั้นนะครับ ถ้าหากไปสมัครจากช่องทางอื่นก็ไม่เสียตรงนี้ แต่น่าจะมีประเด็นที่ว่าไม่สามารถแปะ Link ให้ไปจ่ายช่องทางอื่นใน app ได้นั่นแหละครับ
หลาย ๆ ค่ายก็มีจ่ายช่องทางอื่นเหมือนกัน อย่าง Adobe CC, PS, LR นี่ก็โหลดฟรีจาก App Store และใน App ก็มีให้ Login ถ้ามี Account ที่สมัครสมาชิกอยู่แล้ว หรือไม่ก็สามารถเลือกจ่ายผ่าน in-app ได้เช่นกัน
ส่วนเรื่องช่องทางจ่ายเงินผ่าน NFC ฝั่ง Android ผมเข้าใจว่าน่าจะเปิดให้ใช้ NFC API ได้ แต่เรื่องความปลอดภัยในการนำมาใช้ทำธุรกรรมต่าง ๆ มีรองรับหรือยังครับ (นอกจากเจ้าของค่ายหรือเจ้าของ OS ทำเอง อย่าง Samsung Pay, Google Pay) ถ้าจะทำให้ใช้งานได้จริง ควรจะเป็น Payment API เฉพาะเลยมากกว่าที่จะมีเปิดให้ใช้งาน NFC API แบบกลาง ๆ ครับ อย่างการลงทะเบียนครั้งแรก จะติดต่อกับ Server ฝั่ง Payment ยังไงว่า NFC ของเครื่องนี้เป็น ID ไหน, การจ่ายจะต้องผ่านการยืนยันรหัสผ่านหรือการยืนยันตัวตนอย่างไรว่าเจ้าของเครื่องเป็นคนทำธุรกรรมจริง อันนี้ผมไม่แน่ใจว่ามีแล้วหรือยังเพราะผมก็ไม่ได้ตามตรงนี้ด้วย
ฝั่งดรอย ก็ใช้ แบบ QR ไป ใครมีแบบ nfc ก็ใช้ไป
NFC นอกจาก Samsung Pay และ Google Pay มี app ไหนใช้อีกไหมครับ
ถ้า QR ไม่น่าใช่ประเด็นเรื่องผูกขาด เพราะหลาย app ด้านการเงินและ e-Wallet ก็ใช้ QR กันหมดครับ
ทำไม Apple ต้องมีรายได้จาก Spotify ที่ใช้ Platformในขณะที่ Windows / Android Spotify เสียเงินให้ไหม
เรื่องขาย App ต้องหักส่วนแบ่งรายได้อันนี้เห็นด้วย แต่ถ้าเป็น Service นอก Apple นี่เริ่มลังเล แต่ถ้ามีการใช้ Cloud service ของ Apple เพิ่มเติมก็เก็บเพิ่มคล้ายๆ Firebase ก็ได้นะ
ประเด็นมันเกิดจากความไม่เป็นธรรมเพราะ Apple เปิดบริการแข่งแต่ตัวเองไม่ต้องเสีย 30% ครับ ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมในต้นทุน แถมไม่ให้คู่แข่งจ่ายทางอื่นด้วย ผมว่าถ้าจะเอาแบบแฟร์สุดโดย Apple ไม่ต้องเปลี่ยนกฏ ก็ต้องให้ออกกฏ Apple กำหนดราคาขั้นต่ำสินค้าของตัวเองได้ที่ราคาที่ถูกสุดในอุตสาหกรรม + 30%
แอปเปิล (โดยทิมคุก) อ้างว่าธุรกิจของแอปเปิลคือการขายอุปกรณ์ ไม่ใช่ขาย "ผู้ใช้" มาตลอดนะครับ
กรณีแบบนี้ถ้ามีการบังคับออกมาก็สามารถคิดค่าบริการการ host แอป, ค่าธรรมเนียมตรวจสอบแอป ฯลฯ ได้ครับ จ่ายแล้วไม่ต้องไปโดนบังคับค่า In-App เช่นเดียวกับ Android ที่กูเกิลต้องแยก ค่าใช้แอนดรอยด์ออกมาชัดเจน เพื่อให้ผู้ผลิตมีทางเลือกอื่นๆ
lewcpe.com , @wasonliw
เขาก็แจ้งไว้เรียบร้อยแล้วนะครับ