ตามที่กูเกิลได้ เตรียมเรียกเก็บเงิน จากผู้ผลิตอุปกรณ์ Android ในยุโรป เพื่อชดเชยรายได้จาก คำสั่ง EU ที่ทำให้ไม่สามารถบังคับให้ลงแอปกูเกิลพื้นฐานได้แบบอดีต แต่ตอนนั้นยังไม่มีข้อมูลว่าราคาที่ผู้ผลิตต้องจ่ายอยู่ที่เท่าใดกันแน่
ล่าสุด The Verge อ้างว่าได้รับเอกสารที่กูเกิลแจ้งกับผู้ผลิตอุปกรณ์ Android เกี่ยวกับราคาสำหรับการลงแอปบริการของกูเกิลในอุปกรณ์ ซึ่งรวมทั้ง Google Play Store โดยราคาแตกต่างกันไปตามประเทศ และชนิดอุปกรณ์ ซึ่งจะมีผลกับอุปกรณ์ที่เปิดใช้งานตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2019 เป็นต้นไป
ข้อมูลที่ได้มานั้น ราคาสูงสุดอยู่ที่เครื่องละ 40 ดอลลาร์ หรือประมาณ 1,300 บาท สำหรับประเทศ Tier-1 (อังกฤษ, สวีเดน, เยอรมัน, นอร์เวย์ และเนเธอร์แลนด์) และอุปกรณ์หน้าจอความละเอียดสูงกว่า 500 ppi ส่วนต่ำสุดอยู่ที่ 2.5 ดอลลาร์ สำหรับประเทศ Tier-3 และเป็นสมาร์ทโฟนที่สเป็กไม่สูง
แหล่งข่าวบอกว่ากูเกิลเองมีข้อเสนอเพิ่มเติมสำหรับผู้ผลิต ถ้าหากยอมลง Chrome และเสิร์ชกูเกิล ก็อาจจะลดราคาให้พิเศษ หรือไม่คิดค่าใช้จ่ายส่วนนี้เลย ซึ่งจากนี้ต้องดูกันว่าราคา Android ในยุโรปจะปรับเพิ่มสูงขึ้นหรือไม่ หรือผู้ผลิตอาจเปลี่ยนมาใช้ Android fork กันแทน
ที่มา: The Verge
Comments
ถ้าใช้ Lineageos miui ต้องจ่ายรึเปล่า
ราคาขนาดนี้ แล้วถ้าไม่ใช้ android จาก Google ในยุโรปจะโดนบีบในส่วนอื่นของโลกมั้ย
ดีๆเพิ่มการแข่งขันบ้าง
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ถ้าไม่ไช้ Gapps เลย ตอนนี้ไม่มีปัญหาครับ จีนไช้อยู่ amazon ก็ทำอยู่ nokia x ก็เคยทำ
Gapps เป็น app เริ่มต้นของ Google เช่น Play store, Youtube, Google map, Google search เป็นต้น ถ้าไม่มีจะวุ่นวายมาก
ถ้า Google โดนบีบมากๆ Google ก็สามารถเปลี่ยน License type เพื่อเก็บเงินใด้
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ก็ดีนะ ถ้าใช้ Android fork อาจจะได้เห็นอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ บ้าง
เห็นด้วยอย่างแรง
อย่างเช่นแพด้วยไหมครับ
ก็คงมีแหละครับ เราก็จะได้เห็นแพแปลกๆแต่ตัวไหนไปรอดก็คงมีแพน้อยหน่อย
don't be evil
ในแง่กฎหมายยุโรป อย่างนี้ล่ะครับ "ไม่ Devil" บอกว่าให้ฟรีแต่บังคับลงสินค้าของตัวเองอื่นๆ โดยที่คู่แข่ง เช่น search อยากลงเป็น default เท่ากันแต่ทำไม่ได้ เพราะสัญญาพันกันไปหมด
นึกภาพในอนาคตถ้ามันปรับได้ มือถือบางรุ่นอาจจะแพงขึ้น 2-5 ดอลลาร์แต่ใช้ duckduckgo เป็นตัว search เริ่มต้น (ดีไม่ดีราคาที่่ผู้ใช้จ่ายไม่ต่างกันเลย เพราะบริการ search เป็นคนจ่ายให้)
การบังคับเก็บเงินแบบนี้คือให้กูเกิลเปิดราคาออกมาเสีย ว่าไม่อยากใช้อะไรต้องจ่ายเท่าไหร่ คู่แข่งจะได้เข้ามาได้
lewcpe.com , @wasonliw
สงสัยอยู่อย่างนึงครับ คือ android มันเป็น open source อยู่แล้วไม่ใช่หรือ ผู้ผลิตก็มีทางเลือกที่จะไปลง AOSP ได้โดยไม่ต้องติดสัญญากับ Google แล้วไปผลักดันภูมิภาคตัวเองให้สร้างบริการขึ้นมาเองแบบจีนก็ได้ ทำไมต้องไปบังคับให้ Google เปลี่ยนวิธีขายของ อย่างกรณีของ Microsoft พอจะเข้าใจที่โดนเรื่อง IE แต่อันนั้นมันไม่ใช่ open source ซึ่งเราเสียตังแต่เลือกไม่ได้
เพราะว่า EU พิจารณาว่า Google เป็นการขายพ่วงครับ คือตัวเองครองตลาดแล้วพ่วงไปเรื่อยๆ อันนี้เป็น คำตัดสินข้อแรกเลย ว่า
คือบริการของกูเกิลบางส่วน (เช่น Google Play) นั้นครองตลาดแบบแข่งขันได้ยากจริง แต่กูเกิลกลับพ่วงตัวอื่นๆ เช่น บริการค้นหา และเบราว์เซอร์ นอกจากนั้นยังจ่ายเงินเพื่อผู้ผลิตเพื่อไม่ให้ติดตั้งบริการค้นหาของคู่แข่งมาจากโรงงาน (อันนี้คำตัดสินข้อสอง)
ลำพังการครองตลาดส่วนใหญ่ไม่ได้ผิดในตัวเอง แต่ส่วนมากแล้วพอมีส่วนแบ่งตลาดสูงมากๆ กระบวนการกำกับดูแลจะต่างไป ห้ามพ่วงแบบนี้ ถ้าไปอ่านคำตัดสินจึงต้องอธิบายเรื่องส่วนแบ่งตลาดก่อน ว่ากูเกิลมีส่วนแบ่งตลาดด้านไหนบ้าง (อัตราการดาวน์โหลด Google Play เกิน 90%) แล้วค่อยไปบอกว่ากูเกิลใช้ความได้เปรียบนั้นสร้างความได้เปรียบอื่นอย่างไร
อย่างเคสนี้ไม่เชิงบังคับเปลี่ยนนะครับ แต่แยกส่วน (de-couple) ออกมา ค่า Google Play Services มัน 40 ดอลลาร์แล้วถ้าลงบริการอื่นที่เคยพ่วงจะได้เงินสนับสนุนเท่าไหร่ เช่นลง Google Search ลด 20 ดอลลาร์ ไมโครซอฟท์อาจจะบอกว่าช่วยจ่าย 21 ดอลลาร์ก็ได้
lewcpe.com , @wasonliw
ชัดเจนเลย ขอบคุณครับ
เป็นเพราะกูเกิลมีสัญญาบังคับกับผู้ผลิตครับ ว่าถ้าอยากใช้ Google Android ห้ามไปทำเครื่องเวอร์ชัน AOSP ขายแยกเอง
อ่า ... รู้สึกว่าจะไม่มีสัญญาแบบนั้นนะครับ
ตัวที่มีปัญหาคือ google จะไม่ให้ Play store, Google map, Youtube เป็นต้น ถ้าไม่ลง app ทั้งหมดของ Google ที่เรียกว่า gapps (ซึ่งผิดกตหมาย antitrust หัวข้อ bundling ครับ)
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
แล้ว อันนี้คืออะไรครับ? (เพิ่งเห็นคอมเมนต์ด้านบน หลังจากตามอ่านข่าว Google โดนปรับจาก EC)
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
ลูกเข้าตีน.
สรุปนี่คือราคาประมาณของมูลค่าที่แท้จริงที่ google เคยได้ในความรู้สึกว่าฟรีสินะ
มองอีกมุมหนึ่งจะเห็นว่า กูเกิ้ลซื้อข้อมูลของเราไปในราคาที่ถูกมากครับ
ใช่ กูเกิ้ลเห็นแก่ตัว เราควรไปสนับสนุนฝั่งแอปเปิ้ล เพราะถึงจะแพงกว่าแต่ก็เลือกไม่ได้