ขนส่งทางบกสิงคโปร์ (Land Transport Authority - LTA) ประกาศอัพเกรดระบบคิดค่าใช้ทางพิเศษและที่จอดรถจากเดิมคิดตามจุดเก็บค่าผ่านทางและสภาพจราจรมาเป็นระบบคิดค่าใช้งานตามจริงจากกล่องจ่ายค่าผ่านทางที่สามารถบันทึกตำแหน่งรถด้วยสัญญาณดาวเทียมนำทางเช่น GPS ได้ ในชื่อระบบ nexgen ERP
ระบบ ERP เดิมของสิงคโปร์เป็น RFID ที่เรียกเก็บค่าผ่านทางจากบัตรเครดิตที่เสียบอยู่กล่อง ERP ในรถคล้าย EasyPass/M-Pass ในไทย แต่กล่อง on-board unit (OBU) ของ nexgen ERP สามารถบันทึกพิกัดจากดาวเทียมนำทางได้ทำให้ทาง LTA สามารถกำหนดค่าผ่านทางได้อย่างละเอียด และจะได้รับข้อมูลสภาพการจราจรอย่างชัดเจน
ทาง LTA จะบังคับรถใหม่ทั้งหมดต้องติดกล่อง OBU ในอนาคต โดยกล่องจะเริ่มภายในปลายปี 2021 สำหรับผู้ติดกล่อง ERP เดิมจะได้เปลี่ยนฟรี และการคิดค่าผ่านทางจะใช้ระบบ ERP เดิมไปก่อนจนถึงปี 2023
สำหรับประเด็นความเป็นส่วนตัว LTA ยืนยันว่าการเก็บข้อมูลพิกัดรถโดยทั่วไปจะไม่ระบุตัวตน ยกเว้นการบันทึกเพื่อเก็บค่าผ่านทางหรือบันทึกไม่ยอมจ่ายค่าผ่านทาง
ที่มา - LTA
กล่อง OBU สำหรับรถทั่วไป มีอุปกรณ์ 3 ชิ้น ได้แก่ เสารับสัญญาณ, จอสัมผัส, และกล่องประมวลผลที่รับบัตรเครดิต
Comments
ประเทศเค้า10.0 แล้วมั้ง ไทยควรจะบังคับติดมากับรถได้แล้วจะได้ไม่ต้องเสียเวลาที่ด่าน
ที่จริงมีประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัว แต่ผมแอบคิดว่าถ้ามีป้าย RFID แบบนี้แล้วถอดป้ายทะเบียนออกไปเลย อาจจะดีกับความเป็นส่วนตัวมากกว่าทุกวันนี้ (คนที่ต้องอ่านได้จำกัด มีระบบตรวจสอบว่าใครเข้าถึงข้อมูลบ้าง)
lewcpe.com , @wasonliw
ป้ายทะเบียนยังน่าจะต้องใช้เวลาพวก ride sharing นะครับ ไปอเมริกาบางรัฐไม่มีป้ายทะเบียนด้านหน้ายังเล็งลำบากเลย
สมมติว่า คนร้ายใช้รถในการหลบหนี พยานในที่เกิดเหตุ ก็จะบอกได้แค่ ลักษณะของรถ แต่ไม่สามารถบอกเลขทะเบียนรถได้ ได้อย่างเสียงอย่างเหมือนกันนะครับ
ถ้ารถทุกคันมี GPS แล้วรู้ข้อมูลจากพยานว่าเกิดเหตุกี่โมง ที่ไหน รถรุ่นอะไร อาจจะตามยันบ้านได้เลยนะครับนั่น
ถ้าระบุได้ว่ารถใคร ก็โดนด่าว่าละเมิดสิทธิ
รู้ข้อมูลแต่ระบุไม่ได้ครับ ห้ามระบุตัวตนเพราะผิดกฏหมาย
ตามข่าวก็เล่าว่าไม่เก็บข้อมูลอื่นๆ ที่ระบุตัวตนได้
ตกลง Privacy นี่เป็นเรื่องดีหรือแย่กันแน่? บางทีง่ายสุดก็คือถ้าไม่ทำผิด ก็ไม่ต้องกลัวอะไรเลยสักอย่าง แต่ถ้าทำผิด มันไม่ต่างจากใช้คำว่า Privacy มาคุ้มครองเพราพกลัวว่าความจะแดงเลย
อันนี้ไม่แน่ใจว่าถามสงสัยจริงๆ หรือเปล่า แต่โดยทั่วไปเราควร "ปกป้องความเป็นส่วนตัวให้มากที่สุดเท่าที่ยังให้บริการเท่าที่จำเป็นได้" ครับ เช่นเดียวกับบริการธนาคารเราต้องเปิดเผยตัวตนให้ธนาคาร อาจจะต้องเปิดเผยข้อมูลรายได้เวลากู้ แต่ไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลสุขภาพให้ธนาคารเพราะไม่จำเป็น กลับกันคือโรงพยาบาลก็ไม่ต้องรู้เงินเดือนเรา
อย่างกรณีรถ ผมว่ามาตรฐานโดยทั่วโลกคือรถยนต์เป็นสิ่งที่มีกำลังสูง ก่อความเสียหายได้มาก ก็ต้องเปิดเผยตัว (แปะป้ายทะเบียน) อันนี้เราเสียความเป็นส่วนตัวไปนานแล้วเพราะจำเป็น (ชนถึงตายได้) อันนี้น่าจะหลักการคล้ายกันหลายกรณี เจ้าหน้าที่ตำรวจถือปืนก็ต้องมีป้ายชื่อ แสดงตัว ฯลฯ
กรณีนี้เรามีเทคโนโลยีใหม่ซึ่งสามารถแสดงตัวรถต่อเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่แสดงตัวต่อคนอื่นๆ ผมเลยคิดว่าน่าสนใจว่าเราจะคืนความเป็นส่วนตัวบางส่วน (ไม่เปิดเผยตัวตนรถต่อคนทั่วไป) ให้เจ้าของรถได้ไหม บางทีเราอาจจะยอมเสียความเป็นส่วนตัวบางส่วนให้เจ้าหน้าที่เพิ่มเติม (เก็บข้อมูลพิกัดแบบระบุตัวตนเป็นเวลาสั้นๆ 2-3 ชั่วโมง?) ก็คิดว่าน่าสนใจว่าเราสร้างสมดุลใหม่ได้
อันนี้ไม่เกี่ยวกับกรณีสิงคโปร์ในข่าวโดยตรงนะครับ เพราะติดทั้งป้ายทะเบียนและติด RFID ซึ่งความเป็นส่วนตัวลดลงทุกกรณีไม่มีการคืนเลย LTA ถึงต้องออกมายืนยันว่าเก็บแบบไม่ระบุตัวตน เป็นการบอกว่าความเป็นส่วนตัวแย่ลง "นิดเดียว" แต่ LTA ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อจัดการถนนได้ดีขึ้น
lewcpe.com , @wasonliw
ถ้าเรียกให้ถูกก็คงเป็นความ"กังขา"ก็ได้ครับ แต่ถ้าตามที่คุณอธิบาย มันจะไปสู่ประเด็นเรื่องการ Lean ข้อมูล คือข้อมูลอันไหนต้องใช้ค่อยใช้อันนั้น ส่วนอันที่ไม่เกี่ยวข้องก็ไม่ต้องเอามาใช้
แต่อย่างในตัวอย่างที่ยกขึ้นมาว่า"เวลาจะกู้เงินธนาคาร ธนาคารไม่จำเป็นต้องรู้ข้อมูลสุขภาพของเรา" อันนี้เป็นเรื่องจริง แต่ในปัจจุบันมันก็มีเรื่องการ"บังคับทำประกันชีวิต"มาด้วย คนนอกอาจมองว่าเป็นภาระ ซึ่งมันก็ใช่น่ะแหละว่าเป็นภาระ และไม่มีใครอยากจะทำเพราะไม่คิดว่าตัวเองจะตายกันเร็วนัก แต่กลับกัน ทางธนาคารคิดถึงความเสี่ยงแทบทุกอย่างไปแล้วครับ ถ้าคนกู้ตาย ทางธนาคารก็จะได้เงินประกันส่วนนี้มาโปะหนี้ให้แทน
ซึ่งมันก็จะนำไปสู่ประเด็นที่ว่าอะไรคือ Privacy อะไรบ้างละที่จำเป็นและไม่จำเป็น
ปล.1 เอาจริงผมไม่ได้อะไรมากนะ แต่ก็อย่างที่พูดตอนแรก เดี๋ยวนี้คำว่า Privacy ดูจะเป็นปัญหาในตัวมันเองเสียด้วยซ้ำ
ปล.2 (ขอแตกประเด็น) ผมเคยดูรายการของอาจารย์ศุภเดช แกเคยพูดเรื่องการ Hack ข้อมูลของ IOT นะครับ คือสมมุติว่าเราโดนโจรกรรมข้อมูลการใช้งานเครื่องทำน้ำอุ่นในห้องน้ำ สำหรับคนทั่วไปคงไม่คิดว่าเป็นข้อมูลอะไรที่สำคัญแน่นอน แต่ในทางกลับกันถ้าคนโจรกรรมเอาข้อมูลพวกนี้ไปขายให้บริษัทที่ทำเครื่องทำน้ำอุ่นขายละ? อุณภูมิภายนอกปกติคือเท่าไหร่ อุณภูมิน้ำในแต่ละช่วงฤดูที่ส่งมาตามท่อจะเป็นยังไง อะไหล่ในเครื่องมีอะไรบ้าง สามารถปรับแต่งอะไรได้บ้างเพื่อให้ประหยัดต้นทุนในการผลิตที่สุด และในขณะเดียวกันก็สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพให้เหมาะกัยลูกค้าในแต่ละประเทศได้อีกด้วย
ประเด็นคือ ถ้าข้อมูลทั้งหมดที่ถูกเอาไป ไม่ได้กระทบต่อการใช้ชีวิตของเราเลยแถมมาพัฒนาความเป็นอยู่อีก Privacy ที่ต้องปกปิดจะยังจำเป็นอยู่ไหม? หรือถ้าจำเป็นอยู่ การ personalize ข้อมูลเพื่อให้ธุรกิจโฆษณาสินค้าได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด(อย่างของ Facebook) และทำให้ลูกค้า(คนจะซื้อ) ได้สินค้าตามที่ต้องการ ไม่จำเป็นต้องไปวิ่งหาข้อมูลเอาเอง จะถือว่าเป็นการละเมิดรึเปล่า?
ประเด็นเรื่องธนาคารกับประกันสุขภาพที่คุณยกมา มันคนละบริษัทกันในทางกฎหมาย แม้จะเป็นเครือเดียวกัน และถ้าคุณไม่คิดจะใช้ประกัน ก็ต้องจ่ายดอกในราคาที่แพงขึ้น หรือระยะผ่อนสั้นลง มันเป็นตัวเลือก ไม่ใช่ a must
และในทางกฎหมาย (ถ้าร่างมาดี) แต่ละบริษัทก็จะได้ข้อมูลเฉพาะส่วนที่ต้องใช้ไป ไม่เอามาปนกัน และต้องมีสัญญาให้เราเซ็นต์ยินยอมการแบ่งปันข้อมูลละหว่างบริษัทด้วยครับ
ถ้าให้ใช้รถฟรีตลอดชีพ พร้อมจ่ายค่าบำรุงให้ แต่ขอติดพวกนี้ จะโอเคไหมครับ
ปัญหา "ไม่ได้แย่ไปกว่า" การมีป้ายทะเบียนทุกวันนี้ครับ ป้ายปลอมก็ต้องไล่ตามกันเหมือนกันก็สอบสวนกันไป มี RFID แบบนี้ตำรวจสามารถคัดกรองว่ามีรถคันไหนไม่ติด RFID ตามจุดต่างๆ ได้ง่าย เทคโนโลยีพวกนี้ป้องกันการปลอมแปลงดีกว่าป้ายทะเบียนมหาศาลแน่นอน ป้องกันการ copy ได้ เทียบกับป้ายทุกวันนี้คนร้ายเดินหารถลักษณะเหมือนๆ กันแล้วเอาเลขไปทำป้ายปลอมก็เหมือนกันทุกอย่างแล้ว
ถ้ามีป้ายแบบนี้และไม่ปลอม ตำรวจสามารถติดตาามจากรถลักษะภายนอกเดียวกันทีผ่านบริเวณนั้นในเวลานั้น ต่อให้บอกว่าบันทึกเฉพาะจุดจ่ายเงินก็ตีวงได้แคบลงมากแล้ว
lewcpe.com , @wasonliw
ชนแล้วหนี ประกันไม่รับเคลม จบเห่ทุกวันนี้ทะเบียนปลอมก็เกลื่อนแล้ว
Privacy สำหรับข้อมูลส่วนตัวผมเห็นด้วยนะ แต่สำหรับรถนี่ผมคิดตรงข้ามกันเลย น่าแปะรูปคนขับพร้อมชื่อไว้หลังรถเลยด้วยซ้ำ เวลาเจอคันไหนขับเ....ยะ จะได้ด่าได้ถูกคน ทุกวันนี้ป้ายทะเบียน เจอกล้องหน้ารถถ่ายยังไม่แคร์กันเลยเท่าไหร่เลย นี่ถ้าไม่มีป้ายนะ... อือหือ... (ถ้าไม่มีตำรวจอยู่ใกล้ๆ นะ)ขับกันแบบไม่ต้องกลัวอะไรเลยแน่ๆ แถมถ้าชนหนีหายง่ายๆ เลยด้วย
RFID หรือ GPS นี่ผมเห็นด้วยครึ่งนึง คือถ้าโปร่งใส และมีการจัดการการเข้าถึงข้อมูลที่ดีและเคร่งครัด ผมเห็นด้วย 100% แต่ถ้าขาดอะไรไปซักอย่าง นี่มันจะน่ากลัวไปเลย
* GPS ถ้าจะติด ต้องฝังไว้คัสซีรถไปเลย ไม่งั้นแอบแกะออกง่ายไป
** เอา ai ศึกษาพฤติกรรมด้วย คันไหนนิ่งนานผิดจากปรกติ หรือไปพ่วงกับคันอื่นนานๆ แปลกๆ หรือฯลฯ ให้เจ้าหน้าที่สุ่มตรวจเป็นเคสๆ ไป
ระบบนี้มีปัญหากับเรื่องความเป้นส่วนตัว แต่ผมเชื่อว่ามันมาแน่ๆ แค่จะมาเมื่อไรแค่นั้นแหละ
อยากให้ไทยเป็นระบบหักผ่านบัตรแบบนี้บ้าง ทุกวันนี้ขึ้นทางด่วนต้องเติมเงินลงกล่อง พอเปลี่ยนขึ้นโทลเวย์จ่ายเงินสด
เคยสงสัยว่าทำไมบางคนขึ้นทางด่วนทุกวัน ไม่ยอมซื้อกล่อง easy pass ได้คำตอบว่า ไม่อยากเติมเงินลงไปเยอะๆ ทีละ 1-2 พัน ยอมจ่ายเป็นครั้งๆไป
ของ tollway รอปีหน้าครับ กำลังติดกันอยู่ ( ข่าวเก่า )
lewcpe.com , @wasonliw
ตอนนี้ขั้นต่ำอยู่ที่ 300 แล้วครับ
ผมไม่ติดเพราะเหตุผลเบิกไม่ได้ครับ หน่วยงานที่ทำอยู่ บังคับใช้ใบเสร็จมาเบิก....
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
มัน Print ออกมาจากระบบได้นะครับ
ถ้าอนาคตมีระบบที่เราเก็บเงินที่เดียว เช่น บัญชีธนาคารนึง แล้วเวลาใช้บัตรต่างๆ มันก็จะวิ่งมาตัดเงินที่เดียวกันหมด อย่างนี้คนจะใช้บัตรกันเยอะขึ้นหรือเปล่า เพราะเอาเงินทิ้งไว้ในบัญชีธนาคารก็ยังพอได้ดอกเบี้ยบ้าง
แต่ระบบพวกนี้การเชื่อมต่อต้องเร็วเหมือนกัน
ตามแนวคิดระบบแบบนี้ดีครับ แต่ของไทยอาจจะใช้ไม่ได้เพราะรัฐบาลจะอ้างว่ารถเชิงพานิชย์จะโดนมากกว่า(วิ่งทั้งวันทั้งคืน)ข้าวของจะแพง
ที่ถนนพังทุกวันนี้ไม่ใช่รถเก๋งที่เราจ่ายภาษีแพงๆ(ภาษีสรรพสามิต,ภาษีรายปีตามCC)แต่เป็นรถบรรทุกที่ได้รับการสนับสนุนด้านภาษีเพื่อมารีดภาษีคนทั่วไป
ปีปีนึงเราใช้งบประมาณซ่อมถนนไม่รู้เท่าไหร่
ไทยเรากำลังล้ำกว่า "กทพ.โละพนักงานเก็บค่าทางด่วนกว่า 2 พันคนใช้ระบบ”free-flow”แทนคนวาร์ปทะลุด่าน ผ่านก่อนจ่ายตังค์ทีหลังตั้งทีมทวงห้ามเบี้ยว เริ่มบริการปี65ทุกสายปิดตำนาน”อีซี่พาส” https://www.dailynews.co.th/economic/790640
ผมมองว่า "ไม่รอด" ครับ ป้ายทะเบียนไม่มีใครกล้าใช้แบบนี้กัน ทั้ง false positive/negative รวมถึงปัญหาสวมป้ายทะเบียนมั่ว ที่ไม่ได้น้อยเลยในบ้านเรา
ลำพังค่าปรับแต่ละวันไม่กี่พันใบยังมีปัญหา พวกค่าผ่านทางเป็นหมื่นเป็นแสนคันนี่พังเห็นๆ
lewcpe.com , @wasonliw
เอาน่าครับ ให้เค้าได้ลองปรับเปลี่ยนดู อยู่เหมือนเดิมก็ได้แบบเดิม ^^
ผมมองว่า "เปลือง" ครับ ถ้าคนตัดสินใจศึกษาข้อมูลและเข้าใจว่าเทคโนโลยีแต่ละตัวมีข้อจำกัดอะไร เขาจะไม่แถลงข่าว (และเดินหน้าโครงการทดสอบ) แบบนี้
แน่นอนการลงทุนแบบนี้ไม่ศูนย์เปล่า อย่างน้อยก็ได้รู้ว่าไม่เวิร์ค แต่ถ้าศึกษาดีๆ น่าจะรู้ได้โดยประหยัดกว่านี้
lewcpe.com , @wasonliw
สุดท้ายก็อาจจะเป็นระบบนี้ ควบคู่กับ easypass ก็ได้นะครับ บางเมืองในอเมริกา หรือ แคนาดาก็มีทำควบคู่ทั้งกล้องทั้งเครื่องรับส่งสัญญาณแบบนี้
จากข้อมูลใน link นี้ก็เหมือนเขาตั้งราคาให้จูงใจเพื่อใช้แบบเครื่อง transponder ไปเลย แต่จะให้กล้องตรวจจับเองก็ได้ https://www.407etr.com/en/tolls/tolls/rate-chart-light.html
แต่ยังไงก็ตาม เรื่องปลอมทะเบียนอันนี้คงต้องยอมรับและพยายามแก้ไขกันต่อไปอยู่ดี
เอาน่าครับ ให้เค้าได้ลองปรับเปลี่ยนดู อยู่เหมือนเดิมก็ได้แบบเดิม ^^
ผมว่าความเสียหายจากรถติดสูงกว่าถ้าไม่ทำ Freeflow ครับและถ้าจะทำด่านให้เก็บเงินได้เร็วเท่ากันด่านก็ต้องใหญ่ เสียพื้นที่เสียค่าเช่าเพิ่ม มันน่าจะไม่คุ้มนะ
กลับกันเรื่องป้ายทะเบียนปลอม การใช้ระบบนี้จะทำให้จับง่ายขึ้นรึเปล่า เพราะเราก็ปฏิเสธไม่จ่ายเค้าก็ไปหาตัวคนสวมทะเบียนแทน
เหมือนว่าจะมีให้มอลอง 2 แบบนะครับ แบ่งกันเทส ระหว่าง กรมทางหลวง กับ การทางพิเศษ
น่าจะต่างกันพอสมควร
ไม่แน่ใจว่าระบบนึงใช้ กล้องถ่ายภาพทะเบียน กับอีกแบบนึงเป็น Rfid ไหม (เคยอ่านแต่ผลการศึกษาของเก่า)ไม่รู้ว่าของใหม่ เลือกทดลองรูปแบบไหน ยังไง คงต้องรออัพเดทผลอีกทีครับ
https://www.beartai.com/news/it-thai-news/469538
ผมเห็นดกับคุณ lew นะ เพราะประเด็น “ป้ายปลอม” เนี่ยแหละคือมันทำง่ายถึงง่ายมากๆ คือแค่ประชุมศึกษาแรกๆ หัวข้อนี้มันควรถูกยกมาแต่แรก ไม่ต้องลงทุนทดลองให้เสียงบฟรีๆ
แต่ก็เข้าใจว่าควรมีระบบ freeflow จริงๆ แต่เป็นไปได้ไหมว่า
1. ปรับระบบ easy pass ให้อ่านง่ายขึ้น
2. ปรับไปใช้ระบบ credit (ผ่านก่อนจ่ายทีหลัง) ไม่ต้องกลัวโกง เพราะ easy pass บังคับลงทะเบียนอยู่แล้ว แต่อาจจะมี credit limit หรือให้ผูกบัตรเครดิตได้
3. ทำ website พิมพ์ใบเสร็จ ให้คนไปเบิกได้
4. พอมีระบบ credit อาจจะทำพวกสะสมแต้มไปด้วย ก็จะจูงใจให้คนใช้ easy pass มากขึ้น
5. เพิ่มช่อง easy pass ให้เยอะขึ้น
6. ออกกฎหมาย บังคับให้ทางด่วน ทางหลวงทั้งหมดรับ easy pass (ดอนเมืองโทลล์เวย์)
easypass อย่างเดียวครับ ต้องตั้งเป้าแบบนั้นเลย บัตรต้องฟรี, ค่าแรกเข้าต้องต่ำ, ซื้อต้องง่าย ผมไปซื้อ M-Pass เอกสารยาวเหมือนเปิดบัญชีธนาคารนี่ไร้สาระมาก กระบวนการซื้อเสียเวลาต่อคิวธนาคารครึ่งชั่วโมง ถ้าผมไม่ได้ขึ้นทางด่วนบ่อยๆ กี่เดือนถึงจะคุ้มเวลา?
ตัดให้ทุกอย่างง่ายเข้า ง่ายระดับที่ขายที่ช่องเก็บเงินได้เลยขึ้นครั้งนี้เสียเวลาต่อคิวสิบนาทีหงุดหงิดแล้วจ่ายห้าร้อยแปะใช้งานได้เลย ไม่ต้องตัดสินใจไปจอดซื้อตามสำนักงาน มีเวลาเปิดปิดบ้าบอ
จ่ายให้ง่าย แล้วค่อยๆ ปรับลดช่องจ่ายเงินสดไป สามสี่ปีจนอาจจะมีแค่ช่อง dual (ได้ทั้ง easypass/เงินสด) ไว้ช่องเดียว
lewcpe.com , @wasonliw
ผมเคยคิดว่ามันควรขายง่ายระดับ ขายผ่าน 7 ได้เลยนะครับ
เอาจริงๆ ก็ไม่รู้จะให้กรอกเอกสารทำไม ก็ขายแล้วให้ไปลงทะเบียนผ่าน net หรือ call center อะไรก็ว่าไป (ตรงนี้กระทรวงมหาดไทย ควรเริ่มทำระบบยืนยันตัวตนกลางได้แล้ว)แต่เรื่องเติมเงินตอนนี้มันง่ายมากแล้วนะครับ เติมผ่าน line pay ยังได้ แต่ตามที่เห็นในข่าวนี้ มันก็มีเหตุผลหลากหลาย เช่น “เบิกไม่ได้” กับ “ไม่อยากเติมเงินเยอะๆ” ผมเลยงอกเรื่องระบบ credit เข้ามา
ข้อจำกัดต่างๆ ต้องตัดลดให้น้อยที่สุด easy pass เป็นแค่ระบบ identification ว่า “เก็บเงินกับใคร” ที่เหลือเรื่องจะคิดเงินยังไง อะไร แบบไหน มัน adjust ได้หมดครับ แถมระบบ credit กับ website มันยังช่วยให้ตรวจสอบรายการได้ด้วย (โปร่งใส) แล้วการผูกกับบัตรเครดิตก็ช่วยลดความเสี่ยงได้อีก (ผลักความเสี่ยงให้ธนาคารเจ้าของบัตร)
ผมว่าช่วงหลังเราบังคับใช้กฎหมายฟอกเงินเกินขนาดด้วยครับ ไม่รู้ทำไม บัตรพวกนี้ถ้าเอาเงินออกไม่ได้เติมอย่างเดียว ควรใช้งานได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนอะไรทั้งนั้น
lewcpe.com , @wasonliw
ถ้ารัฐไทยทำจะโดนด่าว่าหาเรื่องขึ้นค่าครองชีพเพื่อเอาเงินเข้ากระเป๋าถ้ารัฐไทยไม่ทำจะโดนหาว่าด้วยพัฒนาไปดูประเทศอื่นบ้างเข้าไป 10.0 แล้ว
อย่ามีเลยรัฐบาล ประชาชนบริหารกันเองน่าจะเหมาะกว่า ประชาชนทุกคนแฮปปี้ อยากได้อะไรก็ทำเอง
พอทำ ก็จะหาว่า มาติดตามประชาชน
แบบนี้ดีแล้วครับ ดีกว่ามีรัฐบาลที่โดนด่าไม่ได้
ปกตินี่ครับที่รัฐจะต้องถูกประชาชนตรวจสอบและคัดค้านในจุดที่เค้าเสียผลประโยชน์ มันเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะทำอะไรอย่างนึงแล้วทุกคนเห็นดีเห็นงามไปหมด หน้าที่ของรัฐคือคุณต้องทำให้มันกระทบน้อยที่สุด มีการสื่อสารชัดเจนว่าทำแล้วได้อะไรบ้าง ทำให้มันโปร่งใสตรวจสอบได้
"ถ้ารัฐไทยทำจะโดนด่าว่าหาเรื่องขึ้นค่าครองชีพเพื่อเอาเงินเข้ากระเป๋า" ในประเทศที่คอรัปชั่นสูงขนาดนี้มันผิดเหรอครับที่ประชาชนบางคนไม่ไว้ใจรัฐบาล ซึ่งก็เป็นสิทธิของใครของมัน
"ถ้ารัฐไทยไม่ทำจะโดนหาว่าด้วยพัฒนาไปดูประเทศอื่นบ้างเข้าไป 10.0 แล้ว" ก็ไม่ผิดนี่ครับ ถ้าประเทศรอบข้างพัฒนากันหมดแต่เรายังเหมือนเดิมคือต้องเห็นดีเห็นงามด้วย?
จริงๆ มันก็เป็นแบบนั้นแหละครับ มันเรื่องจริงที่รัฐต้องการแบบนั้น แถมต้องการสอดแนมประชาชนด้วย
ถ้ามันโปร่งใสตรวจสอบได้ + มีมาตรการจัดการที่จริงจังเมื่อเกิดปัญหา ผมจะไม่มีปัญหาเลยนะ ผมหวงความเป็นส่วนตัวมาก นอกจากด่าคน ผมก็ไม่เคยลงเรื่องส่วนตัวเลย วันเกิดผมยังไม่เคยไปใส่ไว้ที่ไหนเลยครับ
อยากให้บังคับใช้ Easypass เหมือนกัน ตอนนี้ที่เจอคือขึ้นทางด่วนบางด่าน เราเข้ามาโผล่ด้านซ้ายสุด (ซึ่งเป็นช่องรถบรรทุก) แต่ช่อง Easypass อยู่ตรงกลาง ห่างไป 6 ช่อง....
ของผมขอแค่กล้องบนทางด่วนคุณภาพดี ถ่ายป้ายทะเบียนชัด ดีเท่ากับกล้องตรวจจับความเร็วในสหรัฐฯ แล้วใช้ในการจับทั้งขับเร็ว แช่ขวา และพวกขับรถผิดกฎหมาย+รถดัดแปลง รวมถึงหักเงินบัญชีหรือบัตรเมื่อขึ้นทางด่วนก็พอแล้วครับ
เป็นทางเลือกนอกจาก RFID และ GPS แบบที่ทางด่วนในต่างประเทศใช้ ที่สามารถเข้าและออกได้โดยไม่ต้องมีด่านเก็บเงิน หากไม่ได้สมัครสมาชิกก็แค่ส่งใบเสร็จค่าทางด่วนไปที่บ้านเจ้าของรถ แค่นั้นเอง
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว