ขนส่งทางบกสิงคโปร์ (Land Transport Authority - LTA) ประกาศเพิ่มโควต้าการครอบครองรถยนต์ (Certificate of Entitlement - COE) โดยระบุเหตุผลว่าพบอัตราการการใช้งานรถยนต์ต่อใบอนุญาตน้อยลง และระบบจ่ายค่าใช้งานทางพิเศษแบบใหม่ทำให้ติดตามรถได้ดีขึ้น
COE เป็นใบอนุญาตครอบครองรถที่ทำให้ขนส่งทางบกสิงคโปร์สามารถล็อกจำนวนรถยนต์บนท้องถนนได้เนื่องจากปล่อยใบอนุญาตจำกัด และผู้ต้องการซื้อรถยนต์จะต้องประมูลใบอนุญาตนี้ตามรอบ ทำให้ราคาขึ้นลงตามช่วงเวลา ในช่วงหลังมานี้ความต้องการใช้งานรถยนต์สูงขึ้นมาก ทำให้ราคา COE พุ่งสูง
กูเกิลเปิดตัว Project Green Light โครงการนำ AI มาช่วยวิเคราะห์จังหวะไฟเขียว-ไฟแดง เพื่อลดปัญหาจราจรติดขัด และลดมลพิษจากการที่รถยนต์ต้องจอดติดไฟแดงนานๆ ไปด้วยในตัว
โครงการนี้เริ่มมาจาก Google Research ที่พบปัญหาว่า การควบคุมไฟเขียวไฟแดงให้มีประสิทธิภาพ ต้องใช้ฮาร์ดแวร์ราคาแพง หรือใช้คนมานั่งนับจำนวนรถเอา ปัญหาลักษณะนี้สามารถใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลสภาพจราจร โดยดึงจากข้อมูลใน Google Maps แล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟที่เหมาะสมได้
รัฐบาลแห่งกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ประกาศเตรียมนำโดรนมาช่วยตรวจสอบสภาพการจราจรแบบเรียลไทม์ เริ่มต้นในปี 2024 เป็นต้นไป โดยโดรนจะบินสูงที่ระดับ 200 เมตร เหนือพื้น แล้วส่งข้อมูลมาให้ AI ประมวลผลเพื่อดูรูปแบบและคาดการณ์สภาพการจราจร
ทางการของโซลบอกว่าได้ทดสอบการใช้งานโดรนเพื่อช่วยประเมินสภาพการจราจรมาก่อนหน้านี้แล้วในเดือนกันยายน-ตุลาคม เพื่อใช้ในช่วงเทศกาลวันหยุด ซึ่งมีการจราจรคับคั่งในบางพื้นที่ซึ่งมีการจัดงาน และในบางเส้นทางที่ไม่มีกล้องวงจรปิดคอยตรวจสอบบนถนน
เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์รถติดหนักในบริเวณ Kutuzovsky ของ Moscow จากสาเหตุมีรถแท็กซี่จำนวนมากหลายสิบันมุ่งหน้าไปรับผู้โดยสารในบริเวณดังกล่าวในเวลาเดียวกัน
ในเวลาต่อมา Yandex Taxi ผู้ให้บริการแอปเรียกแท็กซี่ออกแถลงการณ์ผ่าน TASS สื่อของรัสเซีย อธิบายว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากการที่ระบบโดนแฮค โดยแฮคเกอร์ได้ทำการเรียกรถแท็กซี่ในระบบที่สามารถเรียกได้ขณะนั้นให้ไปรับผู้โดยสารที่จุดเดียวกันในเวลาเดียวกัน โดย Yandex Taxi ระบุว่าตอนนี้บริษัทได้ปรับปรุงระบบเพื่อป้องกันการโจมตีในลักษณะคล้ายกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคตแล้ว
ขนส่งทางบกสิงคโปร์ (Land Transport Authority - LTA) ประกาศอัพเกรดระบบคิดค่าใช้ทางพิเศษและที่จอดรถจากเดิมคิดตามจุดเก็บค่าผ่านทางและสภาพจราจรมาเป็นระบบคิดค่าใช้งานตามจริงจากกล่องจ่ายค่าผ่านทางที่สามารถบันทึกตำแหน่งรถด้วยสัญญาณดาวเทียมนำทางเช่น GPS ได้ ในชื่อระบบ nexgen ERP
ระบบ ERP เดิมของสิงคโปร์เป็น RFID ที่เรียกเก็บค่าผ่านทางจากบัตรเครดิตที่เสียบอยู่กล่อง ERP ในรถคล้าย EasyPass/M-Pass ในไทย แต่กล่อง on-board unit (OBU) ของ nexgen ERP สามารถบันทึกพิกัดจากดาวเทียมนำทางได้ทำให้ทาง LTA สามารถกำหนดค่าผ่านทางได้อย่างละเอียด และจะได้รับข้อมูลสภาพการจราจรอย่างชัดเจน
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย หรือ iTIC ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่แสวงผลกำไรที่มีภารกิจรวบรวมข้อมูลสภาพจราจรในกรุงเทพและประเทศไทยจากแหล่งต่างๆ แล้วนำมาประมวลผลและเผยแพร่ เช่นส่งออกจากคลื่นวิทยุ FM RDS-TMC สู่อุปกรณ์นำทางในรถยนต์ หรือเผยแพร่ทางเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น (ตัวอย่างเว็บไซต์ที่แสดงผลข้อมูลสภาพจราจรจาก iTIC คือ Longdo Traffic ) ได้เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพจราจรในกรุงเทพฯและประเทศไทยหลายชุดข้อมูล
สหราชอาณาจักรเริ่มทดสอบใช้อุปกรณ์ตรวจจับการใช้งานมือถือขณะที่รถวิ่ง โดยอุปกรณ์นี้จะถูกติดตั้งไว้ข้างถนนและคอยตรวจจับสัญญาณมือถือจากรถที่วิ่งผ่านมัน
อุปกรณ์ที่ว่านี้พัฒนาโดยบริษัท Wescotec ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอุปกรณ์เซ็นเซอร์และป้ายสัญญาณเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน มันมีเซ็นเซอร์ตรวจจับสัญญาณมือถือของรถที่วิ่งผ่านมัน ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อ 2G, 3G หรือ 4G หากมันพบว่ามีการใช้งานมือถืออยู่ ไม่ว่าจะเพื่อการสนทนา, การส่งข้อความ หรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในจังหวะที่ผ่านเซ็นเซอร์ ระบบป้ายสัญญาณไฟ LED จะแสดงเครื่องหมายเพื่อเตือนคนขับรถว่างดใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ
Los Angeles เป็นเมืองใหญ่ในสหรัฐอเมริกาและมีประวัติศาสตร์การก่อตัวของชุมชนเมืองมานานหลายร้อยปี ซึ่ง Baxter Street ก็เป็นหนึ่งในถนนเส้นเก่าแก่ที่ตัดขึ้นใช้งานครั้งแรกตั้งแต่ปี 1872 แม้จะผ่านมานานกว่า 100 ปีแล้ว แต่ถนนยาวเกือบ 1 กิโลเมตรเส้นนี้ก็ยังคงใช้งานได้ มีผู้คนตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่เรียงราย
แต่ความพิเศษของ Baxter Street ไม่ใช่อายุหรือประวัติศาสตร์ของมัน หากแต่เป็นความชัน ด้วยความที่มันถูกก่อสร้างเริ่มใช้งานเมื่อนานมาแล้ว ในยุคสมัยที่กฎหมายด้านวิศวกรรมการก่อสร้างยังไม่บังคับใช้เข้มงวดเท่าทุกวันนี้ Baxter Street จึงถูกตัดใช้งานผ่านเนินชัน 2 ลูก ซึ่งส่วนที่ชันที่สุดของถนนเส้นนี้ชันถึง 32% หรือก็คือ 17.7 องศา ชันระดับที่ว่าเมื่อขับรถเคลื่ีอนไปอยู่ตรงยอดเนินแล้ว ผู้ขับไม่มีทางมองเห็นถนนที่อยู่ถัดจากฝากระโปรงหน้ารถได้เลย (ลองเข้าไปดู ภาพจาก Google Street View กันได้ )
ในขณะที่ Facebook กำลังอยู่ในช่วงภาวะสั่นไหว และมีเสียงวิจารณ์เรื่อง reach เพจข่าวสารต่ำเตี้ยเรี่ยดิน Google กลับมีตัวเลขทราฟิกที่ส่งไปยังเว็บไซต์ต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ
Chartbeat บริษัทวิเคราะห์สำหรับผู้เผยแพร่โฆษณามีลูกค้า ได้แก่ New York Times, CNN, Washington Post และ ESPN เผยตัวเลขทราฟิก ระบุว่าสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ Google ส่งทราฟิกการเข้าชมหน้าเว็บไปยังเว็บไซต์ต่างๆ กว่า 466 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นเกือบ 40% เทียบกับมกราคม 2017 โดยทราฟิกส่วนใหญ่มาจากมือถือ ในขณะเดียวกัน Facebook ส่งทราฟิก 200 ล้านครั้ง น้อยกว่าเดิม 20% ด้านยอดทราฟิกโดยรวมเพิ่มขึ้น 47% ในปีนี้ Google และ Facebook เป็นสองเจ้าที่ครองตัวเลขส่วนใหญ่
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา บริษัท Denso และบริษัท Toyota Tsusho ประกาศจะร่วมกันทดสอบการประมวลผลข้อมูลสภาพการจราจรในไทย โดยใช้ข้อมูลตำแหน่งและการเดินทางของรถแท็กซี่และรถบรรทุกกว่า 130,000 คันทั่วประเทศ ประมวลผลผ่านระบบคลาวด์คอมพิวเตอร์ควอนตัมของบริษัท D-Wave Systems
กระบวนการทดสอบโดยคร่าวๆ คือ บริษัท Denso จะพัฒนาอัลกอริทึมบนคอมพิวเตอร์ควอนตัมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล และจะส่งผลการวิเคราะห์ไปยังแอพพลิเคชันบนแพลตฟอร์ม TSquare ของบริษัท Toyota Tsusho Nexty Eletronics (ประเทศไทย) ต่อไป ( ข่าวเก่า: สัมภาษณ์บริษัท TTET ผู้สร้างแอพจราจร TSquare จากข้อมูล GPS จริงกว่า 6 หมื่นตัวทั่วไทย )
Parse.ly บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลเว็บไซต์ออนไลน์ เปิดเผยข้อมูลการสำรวจสัดส่วนทราฟฟิคเข้าเว็บไซต์ต่างๆ ตลอด 10 เดือนของปี 2017 ที่ผ่านมา พบว่าทราฟฟิคจากเฟสบุ๊คสูงกว่ากูเกิลในช่วงครึ่งปีแรก ก่อนที่ช่วงครึ่งปีหลัง ทราฟฟิคจากกูเกิลจะแซงและและสูงกว่าเฟซบุ๊กถึงเกือบเท่าตัว
ช่วงเดือนมกราคา เฟซบุ๊กเป็นช่องทางการเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆ ที่ราว 40% ส่วนกูเกิลอยู่ที่ 34% ขณะที่เดือนตุลาคมซึ่งเป็นเดือนที่สุดที่มีการเก็บข้อมูล ทราฟฟิคจากกูเกิลขึ้นสูงที่ราว 44% ส่วนเฟสบุ๊คตกลงไปที่ 26% เท่านั้น โดยเว็บไซต์ที่ถูกสำรวจก็เป็นเว็บไซต์ใหญ่ๆ อย่าง Wall Street Journal, Time, Mashable และ Huffington Post เป็นต้น
ชีวิต jaywalker (คนที่ข้ามถนนอย่างผิดกฎหมาย) จะไม่ง่ายอีกต่อไป เพราะหน่วยงานจราจรในเซี่ยงไฮ้ใช้ระบบจดจำใบหน้าตามทางม้าลาย ป้องกันไม่ให้คนข้ามถนนโดยไม่รอสัญญาณไฟ จากที่ทดลองระบบนำร่องมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่า ทันทีที่ไฟสัญญาณเป็นสีแดง ระบบจะเริ่มบันทึก และจากการทดลองนำร่อง ระบบได้บันทึกใบหน้าและข้อมูลผู้กระทำผิดแล้ว 300 ราย
แค่บันทึกข้อมูลและตามเก็บค่าปรับ ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้คนกลัวการกระทำผิด เจ้าหน้าที่จึงเตรียมปรินท์รูปคนผิด พร้อมระบุชื่อไปติดตามป้ายรถเมล์ และยังมีค่าปรับตามกฎหมายอีก 20 หยวน
เรามาถึงจุดนี้แล้วจริงๆ จุดที่ทุกคนเดินก้มดูมือถือขณะเดินบนทางเท้า ไม่เว้นแม้แต่ตอนจะข้ามถนน เมือง Bodegraven ในเนเธอร์แลนด์ จึงทำ Lightlines ไฟสัญญาณให้ข้ามฉายลงพื้น เพื่อดึงสายตาคนเดินเท้าออกจากจอมือถือ เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน
Lightlines ซิงค์กับสัญญาณไฟตรงทางข้าม ช่วงแรกจะทำให้ใช้ตามถนนใกล้โรงเรียนก่อน บริษัทผู้จัดทำ HIG Traffic Systems ระบุว่าจะพยายามเร่งทำให้กระจายถนนอื่นๆ มากขึ้น แม้องค์กรความปลอดภัย WN จะออกมาบอกว่านี่เป็นการสนับสนุนพฤติกรรมที่แย่ก็ตาม
หลังเป็นไม้เบื่อไม้เมากับทั้งภาครัฐและผู้ใช้บริการแท็กซี่มานาน ล่าสุด Uber ดูเหมือนจะต้องการคืนกำไร (?) ให้กับส่วนรวมบ้าง ด้วยการเปิดเว็บไซต์ Uber Movement สำหรับตรวจสอบ ค้นหาและอ้างอิงข้อมูลการจราจรในเมืองต่างๆ โดยอาศัยรถ Uber ที่ให้บริการอยู่บนท้องถนนเป็นแหล่งอ้างอิงการจราจร
Uber วางตัว Movement นี้ไว้ในระดับเดียวกับ Google Trends คือเป็นแหล่งอ้างอิงสาธารณะ และระบุด้วยว่า Movement จะช่วยให้ภาครัฐส่วนท้องถิ่น สามารถวางแผนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยอิงจากการคมนาคมและจราจรภายในเมืองได้ง่ายมากขึ้น โดยเบื้องต้นจะเปิดให้นักวิจัยและเอเจนซีด้านการวางแผนเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ ก่อนที่จะเปิดให้เป็นสาธารณะ
ปัญหารถติดเป็นหนึ่งในปัญหาที่คนทั่วโลกเบื่อเหมือนๆ กัน ไม่เว้นกระทั่ง Elon Musk ซีอีโอของ Tesla และ SpaceX ซึ่งจู่ๆ ก็ทวีตออกมาเป็นชุดว่า "การจราจรกำลังทำให้ผมบ้า ผมจะสร้างเครื่องขุดอุโมงค์แล้วเริ่มขุดทันที" จากนั้นก็ทวีตตามมาว่า "มันจะถูกเรียกว่า 'The Boring Company'" (คำกริยา bore แปลว่าขุดหรือเจาะให้เป็นรู ซึ่ง boring สามารถแปลว่า "น่าเบื่อ" ได้ด้วย เป็นการเล่นคำในภาษาอังกฤษว่า "บริษัทที่น่าเบื่อ")
จากนั้นในทวีตที่สามก็บอกต่อว่า "การขุด นั่นล่ะคือสิ่งที่เราจะทำ" และสุดท้ายเว้นช่วงไปสองชั่วโมงแล้วก็ทวีตว่า "ผมจะลงมือทำจริงๆ นะเนี่ย"
ไม่มีใครรู้ว่า Elon Musk จริงจังแค่ไหนกับไอเดียเปิดบริษัทสร้างเครื่องขุดอุโมงค์ใต้ถนนนี้ แต่หากดูประวัติย่อ (bio) ของบัญชีทวิตเตอร์ Elon จะเห็นว่าเขาเพิ่มวลี "Tunnels (yes, tunnels)" (อุโมงค์ ใช่แล้ว อุโมงค์) เข้าไปในรายชื่อบริษัทที่เขาทำอยู่ซะแล้ว
ที่มา - @elonmusk
ในเมื่อสี่เท้ายังรู้พลาด คอมพิวเตอร์ก็อาจจะรู้พลั้งได้เหมือนกัน ดังเช่นเหตุการณ์ในประเทศรัสเซีย ที่หน่วยงานตำรวจจราจรได้ออกใบสั่งปรับเงินชายชาวรัสเซียคนหนึ่ง พร้อมแนบภาพถ่ายหลักฐานการกระทำผิดไปด้วย ซึ่งภาพก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นเพราะเขาขับรถแล้วเงาพาดทับเส้นทึบกลางถนน
อ่านไม่ผิดหรอก ภาพประกอบใบสั่งที่ชายคนดังกล่าวได้รับ แสดงภาพรถที่เขาขับเมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมาบนถนนวงแหวนของ Moscow จากในภาพตัวรถก็วิ่งอยู่ในช่องทางเดินรถตามปกติมิได้ล้ำออกนอกเส้นทึบแต่อย่างใด ทว่าเงาของตัวรถในขณะนั้นซึ่งเกิดจากแสงแดดได้ทอดผ่านทับข้ามเส้นทึบล้ำไปยังช่องทางเดินรถข้างๆ ที่อยู่ติดกัน
ปัญหาสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนเวลากลางวันแดดจ้าจนมองป้ายตามทางไม่ค่อยเห็นเริ่มมีคนหาวิธีแก้ไขแล้ว หลังจากออสเตรเลียเพิ่งประกาศใช้ป้ายจราจรแบบใหม่ที่ใช้หน้าจอ E Ink มาช่วยแสดงผล หลังจากผ่านช่วงทดลองมาได้ระยะหนึ่ง
ตัวป้ายจราจรพร้อมหน้าจอ e-paper ได้รับการพัฒนาโดย Roads and Maritime Services (RMS) ของออสเตรเลีย ซึ่งจับมือกับบริษัทผู้พัฒนาหน้าจอ e-paper ในสหรัฐฯ ซึ่งนอกจากจะสามารถเห็นได้ชัดเจนช่วงกลางแจ้งแล้ว ยังแสดงผลข้อมูลแบบแก้ไขได้อีกด้วย โดยในปัจจุบันใช้แสดงผลข้อมูลความหนาแน่นท้องถนนในช่วงงานอีเวนท์
นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ทาง สจส. ได้พัฒนาแอพพลิเคชัน "BMA Traffic" และเว็บไซต์ www.bmatraffic.com ขึ้นตามโครงการ "ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ตรวจวัดและรายงานสภาพการจราจร" โดยได้นำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และนำข้อมูลที่ได้มาให้บริการประชาชน เพื่อให้ประชาชนชาวกรุงเทพมหานครตรวจสอบสภาพการจราจรแบบเรียลไทม์ ผู้ที่ใช้แอพพลิเคชันหรือเว็บไซต์ จะเห็นสภาพการจราจรในเส้นทางต่างๆ ช่วยให้หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีสภาพการจราจรติดขัดได้
บริการออนไลน์สัญชาติไทย Longdo.COM ซึ่งมีบริการ เช่น Longdo Dict , Longdo Map ได้ปล่อยของหลายอย่างในช่วงปลายปี สรุปรวมได้ดังนี้
สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยสำหรับผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองคือปัญหารถติดจากจำนวนผู้ใช้รถที่นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และในเมื่อผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างเราๆ ไม่สามารถลงไปแก้ปัญหารถติดด้วยตัวเอง ทางเลือกที่ดีกว่าคือการวางแผนเดินทางเพื่อเลี่ยงเส้นทางรถติดนั่นเอง
แน่นอนว่าวิธีการวางแผนการเดินทางไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะหลายบริการที่เราใช้งานกันเป็นประจำทั้งแผนที่ออนไลน์ และแอพนำทาง ต่างก็พ่วงบริการข้อมูลสภาพจราจรมาด้วยทั้งนั้น แต่เคราะห์ร้ายคือเมื่อครั้งใช้งานจริง บริการที่ว่ากลับไม่แม่นยำอย่างคาด อีกทั้งข้อมูลยังครอบคลุมเฉพาะถนนใหญ่เท่านั้น
งานจราจรนครบาล (น.3) โดยคำสั่งจากพล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร รอง ผบช.น. ได้สั่งการให้ตำรวจจราจรทุกสน. รวมถึงจราจรของ บก.จร. เข้ามาตรวจสอบเรื่องร้องเรียนที่ร้องเรียนผ่านระบบของ โครงการจราจรตาเพชร โดยตำรวจต้องรายงานผลการติดตามเรื่องร้องเรียนภายในสามวันหลังการร้องเรียน
ก่อนหน้านี้โครงการนี้เคยมีการเปิดตัวไปก่อนแล้วแต่การส่งต่อเรื่องไปยังสน. ท้องที่นั้นใช้เวลานาน โดยรวมจะมีการรายงานผลภายใน 30 วัน นอกจากนี้ยังมีปัญหาเซิร์ฟเวอร์และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ตลอดจนปัญหาน้ำท่วมทำให้โครงการต้องหยุดไป
เทคโนโลยี GPS แม้จะมีมานาน และไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับทุกวันนี้ แต่การนำเทคโนโลยีนี้มาต่อยอดดูเหมือนจะไม่มีวันสิ้นสุด และล่าสุดบริษัทยักษ์ใหญ่ IBM นำเทคโนโลยีทำนายการจราจรออกแสดงสู่สาธารณะ โดยเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า "Smarter Traveler"
ทั้งหมดเป็นจริงได้จากความร่วมมือของ IBM, UC Berkeley และหน่วยงานควบคุมการคมนาคมแห่งแคลิฟอร์เนีย ซึ่งอาศัยการทำงานร่วมกันของซอฟต์แวร์วิเคราะห์, เทคโนโลยี GPS และสุดท้ายคือเซนเซอร์ที่ถูกติดตั้งไว้บนท้องถนนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีนี้ เซนเซอร์เหล่านี้ไม่ได้มีหน้าที่แจ้งเตือนเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่ในการจดจำและสร้างรูปแบบการเดินทางของแต่ละบุคคลอีกด้วย! นั่นหมายความว่าระบบสามารถ "เรียนรู้" ได้นั่นเอง
- Read more about แกะกล่องเครื่องทำนายจราจรอัจฉริยะ จาก IBM
- 3 comments
- Log in or register to post comments
วันนี้ได้ยินข่าวในโทรทัศน์ว่า กำลังจะมีการนำเอากล้องอัตโนมัติสำหรับตรวจจับการขับรถฝ่าไฟแดง (Red Light Camera) แบบที่ใช้ในต่างประเทศมาใช้ในสี่แยกหลาย ๆ จุดทั่วกรุงเทพฯ แล้วก็ทำการส่งภาพถ่ายทะเบียนรถที่ฝ่าไฟแดงไปยังเจ้าของรถเพื่อเก็บค่าปรับครับ
ดู ๆ ไปก็น่าจะมีประโยชน์ดี ทำให้คนฝ่าไฟแดงน้อยลง มิใช่หรือ???
เมื่อไม่นานมานี้ได้มีงานวิจัยของ Florida Public Health Review ที่เพิ่งออกมาใหม่ เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการใช้ Red Light Camera ในรัฐฟลอริด้า รวมทั้งในที่อื่น ๆ ด้วย
ผลสรุปออกมาค่อนข้างน่าตกใจว่า การใช้ Red Light Camera นั้นมีผลทำให้ เกิดอุบัติเหตุมากขึ้นโดย