ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในจีนยังบูมขึ้นเรื่อยๆ และไม่อาจมีใครที่ทำเองคนเดียวชนะทั้งตลาด ทำให้ยักษ์ใหญ่เริ่มหาพาร์ทเนอร์จับมือกันผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว
ล่าสุด Alibaba ได้ประกาศจับมือกับ SAIC Motor ผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของจีนที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ และ Shanghai Zhangjiang Hi-Tech Park Development ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ เปิดตัวแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าใหม่ในชื่อ IM ย่อมาจาก Intelligence in Motion โดย SAIC ถือหุ้นมากที่สุดคือ 54% และ Alibaba กับ Shanghai Zhangjiang ถือหุ้นคนละ 18%
รถยนต์รุ่นแรกเป็นรถซีดาน ใช้แบตเตอรี่จาก Contemporary Amperex Technology ผู้ผลิตแบตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดของจีน และใช้ชิปจาก NVIDIA โดยรถสามารถเข้าจอดเองได้ มีฟีเจอร์คล้ายสมาร์ทโฟนคือถ่ายรูปและแชร์ลงโซเชียลได้ ข่าวระบุว่า IM จะเริ่มเปิดรับจองในเดือนเมษายนนี้ที่งาน Shanghai Auto Show ส่วนในปี 2022 จะเปิดตัวรถรุ่นที่สองแบบ SUV
ภาพโดย SAIC
นอกจากนี้ยักษ์ใหญ่อีกฝั่งคือ Geely บริษัทรถยนต์เอกชนที่ใหญ่ที่สุด (ขณะนี้เป็นเจ้าของ Volvo) และ Foxconn จากไต้หวันก็ประกาศจับมือผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน ถือหุ้นคนละ 50% โดย Geely ก็เป็นผู้ผลิตรถยนต์อยู่แล้ว ในขณะที่ Foxconn แม้จะไม่เคยผลิตรถยนต์ทั้งคัน แต่ก็ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในรถส่งให้ Tesla และ BMW มาแล้วหลายปี
ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่าบริษัทเหล่านี้จะจับมือกับพาร์ทเนอร์เพียงรายเดียว เพราะก่อนหน้านี้ Baidu ก็ทำงานร่วมกับ Geely ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน หรือ Foxconn ก็เพิ่งเป็นพาร์ทเนอร์กับ Byton สตาร์ทอัพรถยนต์ไฟฟ้าที่สถานการณ์บริษัทไม่ค่อยสู้ดีนัก
ทางการปักกิ่งประเมินไว้ว่ายอดขายรถไฟฟ้าจะอยู่ที่ 20% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2025
ที่มา - Nikkei Asia
Comments
ฝั่งผู้ผลิตใหญ่ๆ ที่ไม่รีบเปลี่ยนเป็น EV นี่เข้าใจได้ ส่วนนึงเพราะ supply chain ที่ลงทุนไว้มันเยอะพอควร
แต่รัฐบาลไทยที่ไม่สนับสนุนรถ EV นี่เพราะอะไรนะครับ?
เรื่องของพลังงาน ผลประโยชน์มันเยอะครับ
พูดตรงๆว่าไม่กล้าซื้อรถในช่วงรอยต่อนี้เลย กลัวซื้อแล้วประกาศสนับสนุนขึ้นมาแล้วราคาจะร่วงรถเดียวที่พออุ่นใจใช้งานอยู่คือ e-Power ของ Nissan ที่อนาคตมีโอกาสได้โมดิฟายเป็นรถพลังงานไฟฟ้าล้วนได้อยู่
ผมยังมอง e-Power เป็นแค่รถ Hybrid เหมือนของ Toyota Honda นะครับ เพราะมันก็ยังเติมน้ำมันอยู่ดี
ถ้าเหตุผลที่ รบ. ไทยพูดนะครับ ไทยเป็นฐานผลิตรถยนต์ระดับโลกมายาวนาน (top 3 นะครับ) เลยไม่ได้แค่ผลิตรถยนต์ แต่มีบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์อยู่มากมาย การจะหันไปสนับสนุนรถไฟฟ้าทันที ทำให้บริษัทเหล่านี้ปรับตัวไม่ทัน (ทั้งผู้ผลิตรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วน) เลยยังไม่สนับสนุนครับ
.
ซึ่งก็พูดงี้มา 4-5 ปีละ ผมก็ไม่รู้ว่าแล้วเมื่อไหร่ไอ้บริษัทพวกนั้นจะปรับตัวได้ซักที ไม่เข้าใจว่าจะรอไปถึงเมื่อไหร่ กลัวเขาปรับตัวไม่ได้แล้วเช้าไปช่วยเขาปรับหรือบังคับทางอ้อมให้เขาปรับไหม? เห็นเงี๊ยบเงียบ....
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
น่าจะเหมือน Toyota ดีเลให้ยาวนานที่สุด ปรับตัวคงไม่ได้หรอก เพราะจากผลิดชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ไปผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า เทคโนโลยีการผลิตมันคนละเทคโนโลยีเลย
แต่ของ Toyota เค้าดีเลยาวนาน แต่เค้าก็ซุ่มทำได้ แปปเดียวออกไฟฟ้าได้เลย(ล่าสุดเตรียมเปิดตัว Solid state Battery แล้ว ก่อนบริษัทอื่น) แต่บ้านเรานี่ไม่รู้ยังไง พวกประกอบตัวถังคงไม่ได้รับผลกระทบเท่าไร แต่พวกไส้ในนี่นะ
นั่นสิครับ คือผมถึงพูดเรื่องที่บ.ผู้ผลิตใหญ่ๆ ลงทุนเรื่อง supply chain เอาไว้ เลยไม่สามารถกระโจนเข้าธุรกิจ EV ได้
แต่ในฐานะของรบ. สามารถงอกโรงงาน EV ใหม่ หรือสนับสนุนเป็นฐานการผลิต EV โดยที่คงฐานการผลิตเดิมเอาไว้ก็ได้นี่ครับ
แหล่งงานเพิ่มเป็นผลดีกับรบ. มุมที่กระทบกับฐานเก่าคือมุมของการแข่งขันในตลาดซึ่งการที่รบ.อุ้มแบบนี้กลายเป็นรบ.ช่วยกีดกันการแข่งขันอ่ะนะ
หรือว่ามันมีมุมอื่นๆ ที่จะกระทบกับเศรษฐกิจของประเทศอีกมั้ยครับ?
เหมือนที่ชอบพูดกันว่าประเทศเรายังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตยรึเปล่านะครับ บอกไม่พร้อมแต่ไม่ทำให้พร้อมขึ้นอะไรงี้
เหมือนที่บอกว่าชาวเขาไม่พร้อมกับแผงโซลาเซลล์อ่ะครับ
ถ้ารอให้ปรับตัวผมว่าชาตินี้คงไม่ปรับหรอกครับ
เพราะชิ้นส่วนรถไฟฟ้ามันน้อยกว่ารถสันดาปอยู่มาก และชิ้นส่วนที่ยังคงต้องใช้อยู่ในรถBEV(เช่น ระบบช่วงล่าง)ก็มีเจ้าเดิมทำอยู่แล้ว
เจ้าที่ผลิตชิ้นส่วนที่ไม่มีในEV ก็มีแต่ตัวเลือกในการนับ 1 ใหม่ หรือ หายไปจากตลาดซึ่งผมว่าเค้าเลือกแบบหลัง แค่รอให้หมดวัยที่ทำงาน(กอบโกย)ไหวก่อนจากนั้นค่อยปิดกิจการ
ปรับตัวช้า ระวังเป็นเหมือน nokia
ชาวบ้านไปลงฐานผลิตที่อื่นกันหมด
สรุป คนไทยตกงาน เพราะรถน้ำมันขายไม่ออก
ป.ล.
รอ good catt หวังว่าจะราคาดี และเปิดตัวตั้งแต่ต้นปี
อยากเห็นคนใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันเยอะๆ ไม่ไหวกับฝุ่นแล้ว