วัคซีน COVID-19 ของ AstraZeneca ต่างจากผู้ผลิตรายอื่นเนื่องจากทางบริษัทพยายามจับมือกับพันธมิตรทั่วโลกเพื่อร่วมผลิตวัคซีนกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ โดยมีเป้าหมายถึง 3,000 ล้านโดสต่อปี สัปดาห์นี้ทาง CSL Behring ผู้ผลิตจากออสเตรเลียออกมาเปิดเผยกระบวนการผลิตอย่างละเอียดกับสำนักข่าว ABC ทำให้เรารู้ว่ากว่าจะเป็นวัคซีนจาก AstraZeneca นั้นต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง และความยากของการผลิตวัคซีนตัวนี้เป็นอย่างไร
Adenovirus เป้าหมายของการผลิตวัคซีน
ภาพตัวอย่างวัคซีนของ AstraZeneca จาก มหาวิทยาลัย Oxford
วัคซีน ChAdOx1 nCoV-2019 พัฒนาโดย Oxford นั้นเป็นวัคซีนชีวภาพทำให้กระบวนการผลิตต้องอาศัยเซลล์มีชีวิตจริงเพื่อผลิตตัววัคซีนออกมา ทาง AstraZeneca ผลิตวัคซีนโดยใช้เซลล์ไตของเอ็มบริโอมนุษย์ (human embryo kidney) ที่ชื่อว่า HEK 293 ที่ดัดแปลงมาเฉพาะเพื่อการผลิตวัคซีน ร่วมกับไวรัส adenovirus ที่ดัดแปลงมาเพื่อผลิตวัคซีนเช่นกัน โดยไวรัสที่ดัดแปลงมานี้ไม่สามารถแพร่พันธุ์ในเซลล์มนุษย์ปกติได้ ต้องอาศัยเซลล์ HEK ดัดแปลงนี้เท่านั้น
แผนที่กำลังผลิตของพันธมิตร AstraZeneca แถบเอเชียแปซิฟิก
ทาง AstraZeneca ส่งมอบเซลล์ HEK 293 ให้กับโรงงานผู้ผลิตคือ CSL Behring ประมาณ 1 มิลลิลิตรเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา จากนั้นทางโรงงานจึงนำเซลล์มาเพาะจากหลอดทดลองขนาด 10 มิลลิลิตรและค่อยๆ ขยายขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงการเพาะในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ (bioreactor) ขนาด 2,000 ลิตร
เมื่อได้เซลล์ HEK จนเต็มเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพแล้ว ทางโรงงานจะเติม adenovirus ที่ AstraZeneca ส่งมอบให้ลงไป แล้วรออีก 6 วันเพื่อให้ adenovirus แพร่ไปยังเซลล์ HEK ที่มีอยู่เต็มเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ เมื่อครบเวลาที่กำหนดแล้วโรงงานจะแยก adenovirus ออกจากสารอื่นๆ ในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพด้วยเทคนิค capture chromatography ทำให้ได้ไวรัสในของเหลวออกมา เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตวัคซีนนำไปแช่แข็งไว้
เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ Biostat STR (นำมาประกอบเป็นตัวอย่าง)
หลังจากนั้นโรงงานบรรจุจะนำวัคซีนแช่แข็งออกมาละลายกับสาร buffer เพื่อรักษาระดับค่ากรดด่าง แบ่งบรรจุขวดทีละ 6.5 มิลลิลิตร (10 โดส) เมื่อปิดขวดปิดฉลากแล้วเป็นอันเสร็จได้วัคซีน
กระบวนการแต่ละขั้นถูกตรวจสอบอย่างหนัก ตั้งแต่การรับวัตถุดิบต่างๆ เช่น เคมีสำหรับเลี้ยงเซลล์ HEK คุณภาพและความบริสุทธิ์ของผลการผลิตในขั้นตอนต่างๆ แม้กระทั่งเมื่อบรรจุขวดเรียบร้อยแล้ว ขวดวัคซีนก็ต้องผ่านการตรวจสอบสุดท้ายอีกครั้ง ซึ่งอาจจะมีวัคซีนถูกทำลายในขั้นตอนสุดท้าย 2-5% ทีเดียว
ทางโรงงาน CSL นั้นมีกำลังผลิตเต็มที่อยู่ที่ 53.8 ล้านโดสต่อปี แต่หลังจากผลิตวัคซีนได้สองรอบ (batch) แล้วทางโรงงานยอมรับว่าวัคซีนที่ได้รับจริง (yield) นั้นต่ำกว่าที่คาดแต่กำลังเร่งกำลังผลิตเต็มที่ ปัญหาเช่นนี้เหมือนกับในยุโรปที่โรงงานมีกำลังผลิตถึง 400 ล้านโดสต่อปี แต่กลับได้ผลผลิตต่ำจนกระทั่ง เกิดปัญหาส่งมอบล่าช้า
ตามรายงานของ AstraZeneca ทางบริษัทยังไม่ระบุกำลังผลิตที่ชัดเจน แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขของไทยจะยืนยันว่ามีกำลังผลิต 200 ล้านโดสต่อปีก็ตาม
ที่มา - ABC
Comments
Bio reactorนึกถึงโรงไฟฟ้าของ Yuri
SBS มีชื่อในแผนที่ถือว่าธรรมดา
แต่ SCG นี่ เก่งทุกด้านจริงๆ
ตามที่ผบห.SCGเล่า คือมีกลุ่มนักลงทุน(ถ้าตามที่ลือก็อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่คือกองทุนล...)แนะนำให้ไปคุยกับ oxford เรื่องวัคซีน แล้ว oxfordแนะนำ แอสตร้าฯ ทางผบห.เลยไปติดต่อ SBSและก.ต่างประเทศ ให้ไปติดต่อแอสตร้าฯอีกหน
ทางแอสตร้าฯ ก็ตอบผ่านBBC ที่ถามว่าดีลว่าเป็นความร่วมมือระหว่าSCG,SBS และรบ.ไทย เป็นการเซ็นสัญญาความร่วมมือจากทางไทยสามฝ่าย ไม่ใช่ดีลตรงกับSBSฝ่ายเดียว
อ้างอิง คำบอกเล่าของผบห.SCGhttps://www.prachachat.net/politics/news-601010
อ้างอิง bbc เรื่องดีล
"สำหรับประเทศไทย แอสตร้าเซนเนก้าได้รับความร่วมมือจากกระทรวงสาธารณสุข เอสซีจี และสยามไบโอไซเอนซ์"
https://www.bbc.com/thai/thailand-55810764
เห็นขั้นตอนการผลิตนี่รู้เลย ต้องฝีมือและความชำนาญล้วนๆ
ฝั่งที่บอก SBS ทำอะไรไม่เป็น เอาหัวเชื้อจากคิวบา มาใส่ขวดแปะชื่อตัวเอง แล้วส่งขาย ... ถ้ามาอ่านบทความนี้จะยังเชื่อแบบเดิมอีกไหม
แต่ก็เพราะมีทุนใหญ่หนุนหลังถึงได้ซื้อเครื่องจักรใหม่ และเครื่องมือใหม่ๆมาทำอยู่ดีหรือเปล่า ปกติ Hema Plus, Leuco plus สเกลการผลิตมันไม่เหมือนวัคซีนนะครับ มันไม่ได้ใช้เยอะขนาดนั้น
มันต้องมีองค์ความรู้ด้วยครับ
ถ้าคิดว่ามีเงินแล้วทำอะไรก็ได้ ไทยซัมมิต คงผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขายได้แล้ว
ไม่รู้คุณจะเปรียบเทียบอะไรอะนะ แต่อยากบอกว่ารถไฟฟ้าผลิตง่ายกว่ารถน้ำมันเยอะ ถ้าไทยซัมมิทอยากผลิตเขาทำได้อยู่ละ แต่เขาไม่มีเครือข่ายดีลเลอร์ ฯลฯทีนี้ถ้ารัฐบาลอัจฉริยะเนี้ยสั่งซื้อล่วงหน้าจากพี่ทอน 26 ล้านคันมัดจำล่วงหน้าครึ่งหนึ่งพร้อมออกค่าติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์และค่าถ่ายทอดเทคโนโลยี เขาทำได้อยู่แล้ว
ดังนั้นถ้าอยากจะนำมาเปรียบทียบเพื่อโชว์ว่าบริษัทในตำนานนั้น ทอดตาทั่วแผ่นดินมีฝากความหวังให้ผลิตวัคซีนได้บริษัทเดียว ก็ต้องบอกว่าเลือกตัวอย่างผิดแล้ว
ถ้าอยากแซะตาทอนเฉยๆ ก็โอเค เข้าใจได้
มัดจำ 26ล้านคัน คือจะอัตราเดียวกับวัคซีนใช่ไหม
งั้นผมเพิ่มจากราคาคันละ 150 บาท เป็น คันละ 1,500 บาท เลย
และเพิ่มเป็น 67 ล้านคน แจกคนไทยทั่วประเทศ
เอาจริง ๆ รถไฟฟ้านี่ ความซับซ้อนระดับเดียวกับรถทามิย่าเลยล่ะครับ จุดที่ยากและมีปัญหามาตลอดจริง ๆ อยู่ที่แบตเตอรี่มากกว่า (จะทำอย่างไรให้ปลอดภัย มีความจุสูงพอ ฯลฯ)
เค้าถึงกลัวว่าถ้ารถไฟฟ้าเกิดจริงพวกโรงงานที่ผลิตชิ้นส่วนน่าจะตายหมด เพราะว่าชิ้นส่วนที่ซับซ้อนพวกนั้นไม่จำเป็นสำหรับรถไฟฟ้าน่ะครับ
โลกยังไงก็ต้องเปลี่ยน รถใช้น้ำมันจะหายไปจากโลกในเวลา 15-20ปี
แบบนี้ นายกธนาธร จะต้องกลายเป็นบุคคลล้มละลายในเวลาดังกล่าวซิ เพราะพยายามรั้งไม่เปลี่ยนแปลง
ไทยซัมมิตทำไม่ได้คงแปลก เพราะเขาใช้หุ่นยนต์ในระบบมานาน ภายในเห็นบอกว่ามีการเขียนโปรแกรมกันเองด้วย แสดงว่า มีความรู้เยอะน่าจะสามารถปรับแต่งจูนไม่ยาก โดยเฉพาะการผลิต part ต่างๆ ไทยซัมมิต ออกแบบ ผลิตตัวถังรถ Tesla ด้วยอลูมิเนียมชุดแรกๆ มั้ง เคยเห็นใน Youtube มีข่าวด้วย ผมว่าน่าจะเป็นบริษัทเดียวที่ครบเครื่องที่สุด ติดที่!!! ไทยซัมมิต มีพันธมิตรในประเทศ ที่มีภาระทางใจต้องส่งสินค้าให้ เช่น Honda Toyota พวกนี้มากกว่า ถ้ามาทำเองมันก็เหมือนหักหลังกัน เพราะอยู่กันมานาน จนกว่า รัฐจะขอให้ทำนั่นละ หรือพันธมิตรญี่ปุ่นจะเปลี่ยนสายการผลิต หรือไม่ก็ย้ายออกจากไทย เขาก็คงทำเอง
https://www.prachachat.net/motoring/news-20714
องค์ความรู้นี่ตัวการผลิต vector vaccine นี่ตัวบริษัทนี้ไม่ได้มีแต่แรกนะครับ แถมสินค้าที่ผลิตขายพวก EPO ก็ไม่ได้มีสเกลใหญ่ขนาดนั้น ยอดขายของ apexcela นี่ก็ไม่ได้มีชื่อเสียงโด่งดังขนาดนั้นด้วย ยาบางตัวขนาดเป็นยาสัตว์ยอดขายยังเยอะกว่า apexcela ทั้งบริษัทเลย ในตลาดถ้าเปิด MIMs ดูจะเจอคู่แข่งเยอะมาก แต่การผลิตสินค้าใหม่ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมา มันไม่เร็วขนาดนั้นสิครับคุณ และถ้ายิ่งไม่มีเงินก้อนใหญ่มารันระบบก็ไม่น่าสำเร็จ
CSL นี่ผลิตยา rare disease สเกลระดับโลก immunoglobulin ไปยัน blood clotting factor ยังบ่นว่า yield ไม่ถึงที่ตั้ง และผลิตได้แค่นั้นแสดงว่าแค่องค์ความรู้อย่างเดียวไม่พอหรอกครับ
ได้ไปตั้ง1400ล้านจากรบ.นิ
ได้ยินมาแค่ 600 ล้าน แต่ถึงจะ 1,400 ล้านจริงก็คงไม่ใช่เรื่องใหญ่มั้งครับ เพราะสิงคโปร์ใช้เงินจองไฟเซอร์เป็นหมื่นล้าน คนไทยยังด่าเลยว่าทำไมไม่ใช้เงินแบบเค้าบ้าง
ผมว่า
รัฐ->บ.ยา
กับ
รัฐ->บ.ยา->บ.ยา
มันมีความต่างพอสมควรอยู่นะครับ โดยเฉพาะตัวบ.ตรงกลางเป็นlock sprecด้วยแล้ว
ตกลง SBS ทำเป็นไหมนี่ผมอยากรู้เหมือนกันครับ เพราะทดสอบไปแล้ว 2 รอบยังไม่รายงานออกมาเลยว่า yield เป็นอย่างไร
ข่าวนี้ทาง CSL พา ABC เข้าไปทำข่าวโรงงานผมก็เข้าใจได้ว่าทาง CSL พยายามอธิบายสังคมว่าเขาจะทำได้ช้าแน่นอน (แต่จะพยายามเต็มที่) เพราะ yield มันต่ำ ต้องเตรียมรับแรงกระแทกจากสังคมแบบเดียวกับโรงงานในยุโรปแล้ว
โรงงานที่เพาะเซลล์ในเชิงอุตสาหกรรม ใช้ bioreactor นี่ผมเข้าใจว่ามีจำนวนไม่น้อยนะ แค่อาจจะไม่เคยเพาะ HEK 293 เพื่อไวรัสแบบนี้โดยตรงเท่านั้น กรณีนี้ Siam Bioscience มีประวัติว่าเคยผลิต adenovirus ในระดับวิจัยก็พอเข้าใจได้ (ส่วนมีห้องปฎิบัติการอื่นเคยเพาะไหมผมอยู่นอกวงการไม่แน่ใจเหมือนกัน) และความสามารถในการผลิตระดับวิจัยกับระดับอุตสาหกรรมแบบนี้มันต่างกันพอสมควร
lewcpe.com , @wasonliw
วัคซีน ยี่ห้อนี้ มีปัญหาการผลิตในแทบทุกประเทศที่ได้ทำการผลิตจริง
และผมเองก็คาดว่าของไทย ก็น่าจะมีปัญหาด้วยเมื่อผลิตจริงๆ เหมือนกัน
ไม่เป็นไร ที่USAที่ใช้ของPfizerและModerna ฉีดเป็นหลัก ตอนนี้ฉีดวัคซีนสำเร็จในอัตราต่อสัดส่วนประชากรทั้งประเทศได้เร็วเป็นอันดับ4ของโลก บวกกับวัคซีนของ Johnson&Johnson ที่ น่าจะได้รับการอนุมัติภายในสัปดาห์นี้ จะทำให้อัตราการฉีดเร็วขึ้นไปอีกจนน่าฉีดครอบคลุมประมาณ75%ของประเทศUSAภายในเดือน7ของปีนี้วัคซีนน่าจะเหลือพอมาขายชาวโลกประเทศอื่นๆรวมทั้งในไทยด้วย
สมมุติ ถึงแม้ AstraZeneca จะผลิตได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์อย่างน่าตกใจ คือผลิตได้เพียง 50% ของที่ประมาณการไว้
แต่ก็ยังเยอะกว่าของความสามารถในการผลิตของยี่ห้ออื่นอยู่ดี
เพราะ...
ทั้งไบโอเอ็นเทคและไฟเซอร์วางแผนว่าจะผลิตวัคซีนให้ได้ปริมาณกว่า 1.3 พันล้านโดสในปีหน้า (ซึ่งหมายถึงปีนี้ 2564)Ref https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/912107
ในขณะที่ประชาการโลก มีมากว่า 7,594 ล้านคน หรือมีความต้องการวัคซีน 15,188 ล้านโดส
กลัวมันจะน้อยกว่า 50% เนี่ยละครับจากข่าวเก่า ยุโรปจอง 80 ได้ 31 ต่ำครึ่งชัด ๆ เลยนะครับแล้วอย่าลืมนะครับว่า partner หลายรายของ AZ ยังไม่เริ่มเดินเครื่องกันเลยในขณะที่ฝั่ง Pfizer เครื่องติดไปแล้ว
ก็หวังว่าจะผลิตได้นะครับ เพราะตอนนี้รบ.ไทยทุ่มแทงสั่งซื้ออยู่เจ้าเดียว ไม่ยอมเจรจาซื้อเจ้าอื่นที่มาติดต่อเลย(ซิโนแวคนี่ก็น่าจะผ่านเจ้าสัวแค่lotนี้ไม่ได้สั่งเพิ่ม) ไม่ว่า johnson&jonhnson ที่ตัวแทนมาเสนอถึงรบ.ไทย อนุทินก็อ้างว่าสั่งตอนนี้ได้เดือน6 (ซึ่งจะได้ของแอสตร้าฯพอดี)เลยไม่สั่ง
แต่ถ้าผลิตไม่ได้ หรือผลผลิตต่ำกว่าคาดมากๆ ไทยก็จะกระทบมากที่สุด เพราะประเทศอื่นรอบๆ เช่นมาเลเซีย หรือสิงคโปร์ เขาสั่งหลายๆเจ้ากระจายความเสี่ยงกัน
ที่บอกว่าจะมีวัคซีนเหลือจากชาวโลก ในปีหน้า แต่ก็หมายถึงว่าไทยได้ฉีดวัคซีนช้ากว่าประเทศอื่นๆในโลก จนกระทบเศรษฐกิจ ตามตัวเลขที่รบ.พูดเองว่าเดือนละ 2.5แสนล้านบาทหากฉีดวัคซีนล่าช้าออกไป
ราคาวัคซีนไฟเซอร์ที่อิสราเอลซื้อแพงๆกลายเป็นถูกไปเลยถ้าเทียบกับความเสียหาย
ป.ล. บางคนอาจไม่ทราบว่า EUเตรียมเรื่องวัคซีนพาสปอร์ตกันไว้แล้ว จะทำให้สามารถเปิดประเทศทางอ้อมได้ แม้จะไม่เสรีเหมือนก่อนหน้า แต่ก็ดีกว่า การกักตัวซ้ำไปมาไม่รู้จบตอนนี้แน่นอน
คิดว่าแต่ละประเทศน่าจะสำรองวัคซีนไว้ต่อถึงจะฉีดครบทั้งประเทศแล้ว
เพราะระยะหวังผลของวัคซีน มีโอกาสที่จะออกมาสั้นกว่าบ.ยาขาดการไว้ แล้วถึงจะได่ตามที่บ.ยาว่าไว้
ถ้าไวรัสจะอยู่ยาวไปอีก6ปีตามงานวิจัยที่พึ่งออกมา แต่ละประเทศคงต้องการวัคซีนจริงๆ3-6เท่า
หลายๆ ประเทศก็จองวัคซีนไว้ที่ปริมาณระดับนั้นเพื่อการนั้นแหละครับ
วัคซี => วัคซีน
ก็จะขวดวัคซีน ?