ในปัจจุบัน Digital Transformation กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกองค์กร แต่ด้วยข้อจำกัดของการเขียนโค้ดแบบดั้งเดิม (traditional-coding) ต้องอาศัยทั้งเวลา และทรัพยากรในการพัฒนาจำนวนมาก ดรงกันข้ามกับความรวดเร็วที่เปลี่ยนแปลงในยุคนี้ การพัฒนาแบบเก่าจึงมีอุปสรรคในทุกด้าน ทำให้เกิดความต้องการในการพัฒนาแอปพลิเคชันอย่างไม่หยุดหย่อน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าจำนวนนักพัฒนา (software developer) ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดที่กำลังเติบโต องค์กรที่ต้องการปรับตัวให้เข้ากับยุค digital ปัจจุบันจึงต้องหาวิธีและเครื่องมือในการพัฒนาซอฟท์แวร์และแอปพลิเคชั่นได้เร็วยิ่งขึ้น
MENDIX เป็นแพลตฟอร์ม Low-Code ที่เข้ามาตอบโจทย์องค์กรที่ต้องการจะก้าวไปตาม Digital Transformation ให้ทัน ด้วยแพลตฟอร์มที่สามารถช่วยเหลือให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ ไม่ว่าจะเป็น แอปพลิเคชัน, เว็บไซต์, หรือ ดิจิจอลโซลูชัน กลายเป็นเรื่องง่ายดาย แบบที่ไม่ต้องเขียนโค้ดแบบดั้งเดิม (traditional-coding) อีกต่อไป ด้วยการออกแบบของ MENDIX Low-Code platform ซึ่งใช้ระบบ drag drop และ microflow จะทำให้คนที่ทำงานสายธุรกิจทั่วไปก็สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องไปพึ่งพานักพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ ส่งผลให้องค์กรสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงจาก Digital Disruption ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถนำเทคโนโลยีหรือโซลูชันที่สร้างเปลี่ยนแปลงองค์กรได้
ทำความรู้จักเพิ่มเติมกับ MENDIX และ Low-Coding Platform
แพลตฟอร์ม Low-Code คือแพลตฟอร์มสำหรับการดิจิตอลโซลูชัน หรือ การพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน ที่สามารถช่วยลดกระบวนการพัฒนาโปรแกรมให้ง่ายขึ้น โดยจะมุ่งเน้นที่การลดกระบวนการการเขียนโค้ดแบบดั้งเดิมลง ทำให้คนที่ไม่มีความรู้ในการเขียนโค้ด แต่มีกระบวนการคิดที่เป็นขั้นเป็นตอน มีไอเดียสร้างสรรค์ หรือที่เรียกว่า citizen developer ก็สามารถสร้างแอปพลิเคชันขึ้นมาได้
โดยฝั่งของนักพัฒนามืออาชีพ หรือที่เรียกว่า Professional Developer นั้นก็ยังสามารถใช้แพลตฟอร์ม Low-Code ช่วยย่นระยะเวลาสำหรับการพัฒนา เพื่อให้ time to market สั้นลงได้ ทำให้การพัฒนาแอปฯ ที่ไม่ต้องการความซับซ้อนมากนัก พัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ช่วยตอบโจทย์ภาคธุรกิจ โดยไม่ว่าจะเป็นดิจิตอลโซลูชันที่ช่วยในการบริหารจัดการภายในองค์กร หรือที่องค์กรใช้สื่อสารกับผู้บริโภคก็ตาม ก็สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ลดข้อผิดพลาดมากกขึ้น อีกทั้งยังใช้ทรัพยากรบุคคลที่น้อยลงอีกด้วย
MENDIX เป็นสตาร์ทอัพจากเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งเมื่อปี 2005 โดยมีวิสัยทัศน์ว่าการพัฒนาซอฟท์แวร์จะเพิ่มขึ้นอย่างมากทำให้บุคคลากรไม่เพียงพอ และต้องมีเครื่องมือช่วยพัฒนาได้เร็วยิ่งขึ้น จึงกำเนิด low-code platform เป็นเจ้าแรกๆของโลก ต่อมา Siemens ได้เข้าซื้อกิจการเมื่อปี 2018 โดย MENDIX เข้ามาให้บริการในไทยตั้งแต่ปี 2008 และมีพาร์ทเนอร์ธุรกิจอย่างเป็นทางการในประเทศคือ บริษัท ทีบีเอ็น ซอฟต์แวร์ จำกัด (TBN Software Co., Ltd.)
ในการจัดอันดับ 2020 Magic Quadrant for Enterprise Low Code Application Platforms โดย Gartner ได้มีการให้ MENDIX อยู่ในกลุ่มผู้นำแนวหน้าของเหล่าผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Low-Code ทั้งหมด ทำให้ในปัจจุบัน MENDIX ได้กลายมาเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Low-Code แถวหน้าในอุตสาหกรรมนี้
ใช้งานได้ง่าย, ร่นระยะเวลาการพัฒนา, ยืดหยุ่น และลดข้อผิดพลาด 4 จุดเด่นที่ทำให้ MENDIX อยู่เหนือกว่าใคร
เครื่องมือภายในแพลตฟอร์ม MENDIX ที่นำมาใช้พัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันจะถูกออกแบบมาในรูปแบบ Visualize ซึ่งเป็นการสร้างบล็อคชุดคำสั่งแล้วอาศัยการ Drag & Drop เพื่อเชื่อมโยงคำสั่งต่างๆ เข้าด้วยกันจนออกมาเป็น Flowchart ด้วยวิธีการที่เข้าใจง่าย และ ลดกระบวนการที่ไม่จำเป็น ทำให้ผู้ใช้งาน สามารถลดการเขียนโค้ดแบบดั้งเดิมลง (Low-coding) หรือในบางกรณีก็ไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดได้ (No-Coding)
นอกเหนือจากความง่ายในการใช้งานแล้ว MENDIX ยังมีเครื่องมือขั้นสูงไว้สำหรับลูกค้าระดับองค์กรเพื่อให้สามารถควบคุม และดูแลระบบความมั่นคงปลอดภัยของซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันที่กำลังพัฒนาอยู่ได้ โดยมีเครื่องมือสำหรับการทำ Automated Testing เพื่อทดสอบว่าแอปฯ สามารถใช้งานได้จริง สามารถทดสอบได้ทันทีภายในตัวแอปฯ ทำให้การทำงานเป็นในรูปแบบระบบเดียว ส่งผลให้การพัฒนาภายใน MENDIX สามารถมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยของข้อมูล และไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาข้อผิดพลาดในแอปฯ ได้อีกด้วย
นอกจากนี้ MENDIX ยังมีระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) ด้วย AI ซึ่งช่วยให้การพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ โดย AI ที่ MENDIX นำมาช่วยในกระบวนการพัฒนามีอยู่ 2 กรณีหลัก ๆ
- Consistency Checking เป็นการตรวจสอบความสอดคล้องกันของโมเดล หรือชุดบล็อค เช่น หากมีผู้ใช้มีการลบฟิลด์ออกไป 1 ฟิลด์ AI ก็จะตรวจสอบว่าฟิลด์นั้นถูกใช้ในชุดคำสั่งไหนบ้าง โลจิคไหนบ้าง มี Security Setting ที่เชื่อมโยงกับอะไรบ้าง พร้อมนำเสนอข้อแนะนำ และการแก้ไขเพื่อลบช่องโหว่ และบี๊กในตัวระบบออกไป
- AI Assisted Development เป็นการใช้โมเดล Deep Learning เข้ามาช่วยแนะนำเวลาสร้างบล็อคว่าตัวเลือกถัดไปที่ดีที่สุดคืออะไร ตอนนี้โมเดล Deep Learning เรียนรู้ไปแล้วกว่า 88 ล้านความเป็นไปได้ของชุดคำสั่ง และยังคงมีการเรียนรู้ชุดคำสั่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
ระบบวิเคราะห์ด้วย AI นี้ ช่วยทำให้ MENDIX Platform สามารถช่วยเหลือผู้ใช้งานได้อย่างที่ซอฟท์แวร์อื่นๆทำไม่ได้ แถมธรรมชาติการ Deep Learning ของ AI ทำให้การทำงานภายใน Platform มีความยืดหยุ่น ผู้ใช้สามารถออกแบบ ซอฟท์แวร์, แอปพลิเคชัน, เว็บไซต์ หรือ ดิจิตอลโซลูชัน ที่ต้องการได้หลากหลายโดยที่ MENDIX Platform สามารถสนับสนุนการพัฒนาทุกรูปแบบออกมาได้อย่างดีที่สุด
คุณปนายุ ศิริกระจ่างศรี CEO และ Co-Founder บริษัท TBN Softwareตัวแทนจำหน่าย MENDIX อย่างเป็นทางการในประเทศไทยเล่าว่า แพลตฟอร์ม Low-Code อาจถูกมองจากกลุ่มนักพัฒนาซอฟท์แวร์ว่ามันจะถูกนำมาแทนที่ตัวเอง หรือเป็นเครื่องมือที่ทำให้ทักษะการเขียนโค้ดลดบทบาทความสำคัญลง แต่ในความเป็นจริงแล้ว Low-Code ไม่สามารถเข้ามาแทนที่นักพัฒนาได้ทั้งหมด เพราะในกรณีที่ต้อง customize ซอฟท์แวร์ก็ยังจำเป็นต้องใช้การเขียนโปรแกรมอยู่ดี (Traditional coding) และยังมี process อีกมากมายที่การเขียนโปรแกรมเหมาะกว่า ในขณะเดียวกันนักพัฒนาซอฟท์แวร์ที่เก่งก็สามารถใช้ประสบการณ์เพื่อออกแบบโครงสร้างแอปพลิเคชันได้ (Architecture)
ทั้งนี้ Low-Code จะมาช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของทีมพัฒนา และองค์กรต่าง ๆ มากกว่า โดยงานหลายส่วน สามารถใช้ Low-Code มาช่วยพัฒนางานนั้น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว อาทิเช่น Web App, Mobile App, PWA, Microservice, API service หรือ service composition เป็นต้น ช่วยลดระยะเวลาการพัฒนา เปิดโอกาสให้นักพัฒนาซอร์ฟแวร์ให้โฟกัสกับงานที่ต้อง customize ได้มากขึ้น
คุณปนายุเล่าเพิ่มเติมด้วยว่า เคยมีลูกค้าทำการทดสอบ ทำโปรเจ็คหนึ่งขึ้นมาแล้วแบ่งกระบวนการพัฒนาเป็นการเขียนโค้ดแบบเดิม จับแข่งคู่กับอีกทีมที่ใช้ Low-Code สิ่งที่พบก็คือ Low-Code ช่วยร่นระยะเวลาการทำงานของทีมพัฒนาได้จริง เปรียบเทียบง่าย ๆ อย่างเช่นการเขียน Web App ที่เดิมใช้เวลาราว 1-2 สัปดาห์ แต่เมื่อใช้ Low-Code กลับสามารถลดเวลาลงเหลือเพียง 2-3 วันได้
MENDIX มีความยืดหยุ่นสูง เพราะได้ทำการพัฒนาบน Java เป็นหลัก ทำให้สามารถใช้งานได้หลากหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะบนลินุกซ์ หรือวินโดวส์ และยังสามารถทำงานแอปได้หลากหลายภาษาไม่ว่าจะทำแอปลง Apple หรือ Android ก็ได้
แถมตัวแพลตฟอร์มก็เป็น Cloud Native รองรับสถาปัตยกรรมอย่าง Microservice และ Container Technology มาตั้งแต่แรก สามารถนำไปรันได้ทุกที่ไม่ว่าจะ On-Prem, Private Cloud, Public Cloud หรือถ้าต้องการ Cloud ของ MENDIX เองก็มีให้ใช้ แถม MENDIX ยังสามารถรองรับฐานข้อมูลหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น DD2, Oracle, SQL Server, PostgreSQL, MySQL, SAP HANA ฯลฯ ทำให้ไม่ว่าองค์กรจะใช้ฐานข้อมูลตัวไหน MENDIX ก็สามารถนำมาใช้งานต่อได้ ไม่ต้องย้ายฐานข้อมูลใหม่
Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ