ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดรายงานถึงการทดลองตรวจภูมิในผู้รับวัคซีน ChAdOx1 nCoV-19 หรือวัคซีน Oxford-AstraZeneca ในกรณีที่มีการดึงเวลารับเข็มที่สองเอาไว้ พบว่าการดึงเวลาเอาไว้นานขึ้นแม้จะส่งผลให้ภูมิลดลงในช่วงที่รอเข็มสอง แต่เมื่อกระตุ้นภูมิในเข็มที่สองแล้วกลับมีภูมิสูงกว่าการฉีดตามกำหนดปกติ
ทีมวิจัยทดสอบโดยแบ่งตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มรับเข็มสองภายใน 8-12 สัปดาห์หลังเข็มแรก, กลุ่มรับเข็มสองภายใน 15-25 สัปดาห์หลังเข็มแรก, และกลุ่มรับเข็มสอง 44-45 สัปดาห์หลังเข็มแรก ผลพบว่ายิ่งรอนานภูมิหลังกระตุ้นเข็มสองนั้นยิ่งสูงขึ้น อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันโรคต่อไป
งานวิจัยนี้น่าจะเป็นหลักฐานสนับสนุนต่อแนวทางการหน่วงเวลาสำหรับการรับวัคซีนเข็มที่ 2 ในหลายประเทศเนื่องจากไม่สามารถจัดหาวัคซีนได้เพียงพอ
นอกจากรายงานถึงการหน่วงเวลาเข็มที่สองแล้ว รายงานฉบับนี้ยังแสดงผลการทดสอบฉีดกระตุ้นภูมิในเข็มที่สามหลังได้รับเข็มที่สองไปนาน 6 เดือน พบว่ากระตุ้นแอนตี้บอดีได้ดีเช่นกัน แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าจำเป็นต้องมีการกระตุ้นภูมิตามรอบเวลาหรือไม่ แต่หากในอนาคตจำเป็นต้องกระตุ้นจริง รายงานนี้ก็บ่งชี้ว่าการกระตุ้นเข็มสามสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นได้จริง
รายงาน "Tolerability and Immunogenicity After a Late Second Dose or a Third Dose of ChAdOx1 nCoV-19 (AZD1222)" ยังอยู่ในสถานะ pre-print
ที่มา - Oxford
กราฟแสดงระดับแอนติบอดีจากวันที่ฉีดวัคซีนเข็มแรก และหลังฉีดวัคซีนเข็มสองแยกตามช่วงเวลาทิ้งระยะระหว่างสองเข็ม
Comments
ก็ว่าอยู่ว่าใครกันคือคนที่ได้วัคซีนตั้งแต่ 11-12 เดือนก่อน ที่แท้คือกลุ่มที่ไปทดสอบวัคซีน phase 1 - 2 นั้นเอง
เข้าทางรัฐบาลตอนนี้เลย
ช่วงรอถ้าติดก่อนก็ตัวใครตัวมัน
อันนี้ทีมวิจัยเขาเน้นหลายรอบมาก (ทั้งในตัวแถลงและตัวรายงาน) ว่า ในกรณีที่วัคซีนไม่พอการรอไม่ได้มีผลเสีย ข้อที่กลัวกันประเภทว่ารอนานไปกระตุ้นภูมิไม่ขึ้นเลยกลายเป็นไม่ป้องกันโรคไปอย่างน้อยเราก็ปลดข้อนี้ไปได้แล้ว
แต่ถ้ามีวัคซีนพอเขาก็บอกว่าถ้ากลัวภูมิมันลดแล้วประสิทธิภาพการป้องกันโรคต่ำลงก็น่าจะกระตุ้นเข็มสามได้เหมือนกัน
ในเคสที่ดีที่สุด ถ้าเราจัดหาได้ดีพอ ฉีดกันครบทั้งประเทศภายในปีนี้ ก็ไปรอเข็มสามกันปลายปีหน้า (ถ้าต้องฉีด บางทีอาจจะไม่ต้อง รอไปอีกหลายๆ ปีก็ได้)
ในเคสที่แย่ที่สุดปีนี้ยังได้เข็มแรกกันไม่ครบเลย ก็รอไปปีนึงทุกคนไปรับเข็มสองกันกลางปีหน้าเป็นต้นไป
lewcpe.com , @wasonliw
ผมขอถามความเข้าใจของผมหน่อยครับ
ในมุมของวัคซีน การรอนานไม่ได้มีผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน แต่ในมุมความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ถือว่าลดความเสี่ยงไปได้นิดนึง
สำหรับคนที่ยังฉีดไม่ครบโดส (ในกรณีที่ 1 โดสมากกว่า 1 เข็ม) ในทางปฏิบัติก็ยังคงต้องระวังตัวให้มากเท่าเดิมใช่มั้ยครับ
แพนเค้กกับแม่ ฉีดแอสตร้าเข็มแรก คนอื่นฉีดซิโนแวค 2 เข็มแล้ว คนใกล้ชิดติดกัน 8 คนแล้วตามข่าว
ผมว่าฉีดตามกำหนดดีกว่า เพราะทิ้งระยะ ภูมิก็ตกลง ความเสี่ยงก็จะสูงกว่าฉีดเข็มสองตามปกติ
อันนี้น่าจะหมายถึงในกรณีที่วัคซีนมันไม่พอจริงๆแล้วกำลังระบาดหนักๆ การที่จะยืดเข็ม 2 ออกไปเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ แต่ถ้าวัคซีนมันเหลือๆอันนี้ก็ควรฉีดตามกำหนดเดิม
จริงๆ ช่วงแรกในยุโรป ก็ Priority เข็มแรกไว้ก่อนนะครับ ตอนวัคซีนไม่พอ
ฉีดแอสตร้าเข็มเดียวติดโควิดกันแบบนี้ แบบนี้อีกกี่ปีจะเปิดประเทศได้ เหนื่อยใจไม่ได้เจอครอบครัวมาปีกว่าแล้ว ทำไมไม่เอาตัวอื่นมาใช้บ้าง
เท่าที่ทราบตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนตัวไหนป้องกันการติดเชื้อได้ 100% นะครับ ไม่ว่าจะกี่เข็มก็ตาม
พูดคลุมเครืออีกแล้วครับ ต้องเลิกนะครับ ให้ข้อมูลให้่มันชัดเจนแทนการให้ข้อมูลคลุมเครือแบบเหมารวมจะดีกว่าครับ
คลุมเครือยังไงครับ ข้อมมันก็บอกอยู่แล้วว่าฉีดเข็มเดียวมันกันได้น้อยมาก
ใจเย็น ผมว่าน่าจะดู reply ผิดนะ
อ๋อครับ เข้าใจละไม่มีตัวไหน 100% จริง แต่มันมีตัวกันได้เยอะมากกว่า 90% กับตัวห่วยมากอยู่ และการฉีดเข็มเดียวกับสองเข็มมันกันได้ต่างกันมากอยู่
แบบที่คุณพูดถูกเป๊ะเลยครับ การบอกว่าไม่มีตัวไหน 100% เป็นการพูดคลุมเครือ คนที่ไม่ได้ติดตามก็เข้าใจว่าวัคซีนทุกตัวแย่เหมือนกันหมด หรือประสิทธิภาพพอกันหมด
สมมติผมพูดให้คนที่ไม่ได้คิดตามฟังว่าการฉีดวัคซีนเข็มเดียวมันไม่ได้ประสิทธิภาพ 100% ซึ่งไฟเซอร์มันไม่ได้ป้องกันได้ 100% นะ คนฟังก็อาจเข้าใจว่ามันก็เหมือนๆ กัน
ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงประสิทธิภาพแม้จะไม่ถึง 100% แต่ก็มากกว่า 90% และต่อให้ใครจะมาบอกว่าวัคซีนเชื้อตายอื่นๆ ก็อาจจะได้ผลใกล้เคียงกัน คือมากกว่า 90% หรืออาจจะบอกว่าไฟเซอร์ และ mRNA ตัวอื่นๆ อาจมีประสิทธิภาพต่ำพอๆ กับวัคซีนเชื้อตาย เพราะใช้มีปัจจัยในการเก็บตัวอย่างต่างกัน
แต่มันก็ยังต่างอยู่ครับ และการมาตีขลุมบอกว่่าเพราะปัจจัยต่างกัน ถ้าทดลองด้วยปัจจัยเดียวกันอาจได้ผลเหมือนกันก็เป็นแค่ข้อสินนิษฐานเท่านั้น ถ้าจะให้เชื่อก็ต้องมีผลการทดสอบยืนยันแบบที่หลายๆ เจ้า และหลายๆ ประเทศประกาศออกมาแล้วว่าวัคซีนแต่ละตัวมีความสามารถป้องกันการติดเชื้อได้เท่าไร มากน้อยแค่ไหน
ผมว่าการสื่อสารของคนในเน็ตหลายๆ ครั้งพูดแบบคลุมเครือ พูดแบบข้อมูลไม่ครบถ้วน พอเอาไปสื่อสารกันต่อๆทำให้ข้อมูลยิ่งเพี้ยนไปเรื่อยๆ ส่วนนึงเพราะคนที่เป็นคนส่งสาส์น อีกส่วนนึงก็มาจากคนที่รับสาส์นอ่ะครับ
อันนี้ไม่ได้โกรธหรือหงุดหงิดใครนะครับ แต่พิมพ์ยาวๆ เพราะไม่อยากให้เข้าใจผิดกันครับ แล้วก็อยากให้เห็นความสำคัญของการส่งสาส์นเพื่อให้ทุกคนที่รับสาส์นเข้าใจตรงกันด้วยครับ
ถ้าจะกรุณาตอบตอมเม้นผมแบบนี้ จะดีมากเลยครับ เพราะเขียนว่ามาสั้น ๆ แบบนั้นก็คลุมเครือเช่นกัน แต่คุณทำให้ผมหงุดหงิดมากครับ บอกตรง ๆ มีการมาว่าว่าเหมือนผมพูดจาเลอะเทอะเป็นประจำอีก
คุณทำให้วันนี้ของผมเป็นวันแย่ ๆ วันนึงเลย ผิดถูกว่ากันด้วยเหตุผลไม่ได้เหรอครับ ทำไมต้องมาใส่อารมณ์ใส่กัน ผมตั้งใจให้ข้อมูลผิด ๆ ที่ไหน ผมแค่บอกเท่าที่ผมทราบ ผมคาดหวังคำขอโทษนะ แต่สำหรับคุณผมอาจจะหวังมากไป
ผลวิจัยเปรียบประสิทธิภาพการสร้างภูมิคุ้มกัน ระหว่างวัคซีนชนิด mRNA(Pfizer) กับวัคซีนเชื้อตาย(Sinivac)
โดยใช้วิธีวัสามวิธี จะเห็นว่าหลังฉีด mRNA เข็มแรกก็ยังมีภูมิสูงกว่าเข็มที่สองของวัคซีนเชื้อตาย
https://www.hkmj.org/earlyrelease/hkmj219605.htm
งานถนัดเขาครับ เห็นเงียบไปพักนึงเพราะโดนจำกัดคอมเมนท์ สักพักก็กลับมาแนวๆ เดิมอีก
ทำใจปล่อยผ่านเลย ของคนนี้
ใครเมนท์อะไรมีช่องโหว่ เตรียมตัวโดนไว้ได้เลย เขาพร้อมมา reply
ผมขอโทษครับ ผมไม่ได้ตั้งใจจะทำให้หงุดหงิด หลายครั้งเวลาที่คุณเลอะเทอะ คือคุณเลอะเทอะจริงๆ เหมือนคุณไม่ได้ศึกษาข้อมูลมาก่อนเลย ผมมั่นใจว่าคุณไม่ได้ตั้งใจให้ข้อมูลผิด แต่ที่ผมเห็นคือคุณไม่ได้ตั้งใจศึกษาก่อนให้คำตอบคนอื่นครับ ยกเว้นเรื่องเทคโนโลยีนะครับ เพราะคุณถนัดเรื่องเทคโนโลยี
แต่ผมจะปรับปรุงให้ข้อความของผมเป็นมิตรมากขึ้นครับ ขอโทษอีกครั้ง
ปล. ผมว่ามันลำบากเพราะคุณเองก็ไม่รู้ว่าบางเรื่องคุณไม่แม่นนี่แหละครับ
ขอเพิ่มอีกข้อครับ(อันนี้โควต้าเม้นสุดท้ายของผมแล้ว) ... ที่ผมเม้นสั้นลงเรื่อยๆกับเม้นคุณ เพราะคุณไม่เคยตอบเม้นผมครับ ผมไม่รู้ว่าคุณไม่อ่าน หรือไม่สนใจ หรือไม่แคร์ หรือไม่เห็นด้วย หรือเห็นด้วย คุณจะเห็นว่าถ้ามีคนถามผม ผมก็ไม่มีปัญหาที่จะเม้นยาวๆ นะครับ ผมชอบซะอีกที่ได้รู้ว่าคนคิดยังไงกับเม้นผม
ครั้งหน้า ถ้าผมเม้นอะไรให้คุณหงุดหงิดหรือคลุมเครือ ผมจะยินดีมากครับถ้าคุณจะ feedback เม้นผมแบบนี้ ผมยินดีจะปรับปรุงครับ
และถ้าคุณไม่ตอบเม้นนี้ของผม ผมก็ไม่รู้เช่นกันว่าคุณได้อ่านรึยัง
รบกวนช่วยยกตัวอย่างสัก 2-3 ตัวได้มั้ยครับ ว่ามีเม้นที่เลอะเทอะอันไหนบ้าง แล้วคุณตอบผมแล้วผมไม่เม้นกลับ
คือผมอาจจะตกหล่นไป เพราะมันอาจจะนานแล้ว แล้วบางทีโควต้ามันเต็มจริง ๆ ตอบกลับไม่ได้ ผมพยายามย้อนกลับไปดู 100 คอมเม้นย้อนหลังแล้วมันไม่เจอ มีเจออันเดียวที่ผมตอบคุณเรื่องโน๊ตบุ๊ค F15 ที่ผมซื้อ
ส่วนเรื่องที่ผมไม่ได้มีความรู้แล้วเม้นตอบอะไรที่นอกเหนือเทคโนโลยีอันนี้ จริงเลยครับ ขอบคุณครับที่แนะนำจะพยายามปรับปรุงและพยายามไม่เม้นเรื่องที่ผมไม่มีความรู้ครับ
จริง ๆ ผมเกือบจะไม่เข้ามาอ่านอันนี้แล้วนะครับ เพราะเมื่อวานผมหัวเสียมาก และอะไรที่มันเป็นเรื่องแย่ ๆ ของเมื่อวานผมจะไม่เอามาเป็นประเด็นของวันนี้ และมันคงทำให้คุณโมโหผมอีก @_@
ยังไงก็ขอบคุณอีกครั้งครับที่เข้ามาตอบ ขอโทษด้วยครับที่เม้นแบบไม่มีความรู้
ขอไม่ยกตัวอย่างมาละกันครับ แค่ทำให้คุณหัวเสียก็แย่พออยู่แล้ว
คืออันนี้ไม่ทราบข้อมูลจริง ๆ ครับว่ามันมีวัคซีนตัวไหนบ้างที่ป้องกันการติดเชื้อได้ 100% เลยบอกว่าเท่าที่ทราบ ต้องขอโทษด้วยครับ
ถ้าท่านพอมีข้อมูลว่ามีวัคซีนตัวไหนป้องกันการติดเชื้อได้ 100% รบกวนแนะนำหน่อยครับ
ว่าแต่ผมพูดคลุมเครือบ่อยขนาดนั้นเลยเหรอครับ เลยใช้คำว่า อีกแล้ว รบกวนยกตัวอย่างอีกสัก 2-3 คอมเม้นได้มั้ยครับ ผมจะได้ปรับปรุงตัว
มันมีตัวฉีดแล้วป้องกันติดได้เยอะมากกว่า 90% กับตัวห่วยมากอยู่กันได้น้อยมากและการฉีดเข็มเดียว กับ สองเข็ม % ป้องกันได้ต่างกันมากครับ
อ่อ ครับ ขอบคุณครับ ป้องกันติดได้มากก่า 90% ก็เยอะมากจริงครับ น่าใช้อยู่ อันนี้ Pfizer รึเปล่าครับ ถ้าตัวที่ฉีดบ้านเรามันเท่าไรเหรอครับ 30% นี่ถึงมั้ย หรือยังไม่มีรายงานออกมาเลยสำหรับบ้านเรา
ปล ผมยังรอคำแนะนำของคุณ whitebigbird อยู่นะครับว่าคอมเม้นผมมันคลุมเครือยังไง แล้วทำไมต้องใช้คำว่า "อีกแล้ว" นี่ผมกลับไปไล่อ่านคอมเม้นตัวเองย้อนหลัง 100 คอมเม้นเลยนะ ว่ามันแย่ยังไง แต่ก็ไม่เจออะไรที่มันแปลก ๆ หรือคลุมเครือ ถึงส่วนใหญ่จะไม่ได้มีประโยชน์สาระอะไรถ้าเทียบกันผู้มีความรู้ท่านอื่นเพราะคอมเม้นความความเห็น หรือมุกแป๊ก ๆ แต่ก็ไม่ถึงกับจะต้องเลิกคอมเม้นไปซะทีเดียว
วัคซีนตัวที่บ้านเราฉีด(ตัวที่ประสิทธิภาพต่ำสุดในจำนวนที่ WHO รับรอง)มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ 50-60% ครัยแต่ถ้าติดเชื้อ ก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรงถึงตายได้ครับ แต่ติดแล้วแพร่คนอื่นได้ครับ
ใช่ครับเข็มเดียวกันได้น้อยมาก 30% พันธุ์เดลต้า ถ้าจะเว้น 11 เดือนยิ่งชิปหายแน่ ถ้าพันธุ์เบต้าก็ไม่กันเลย แม้จะฉีดสองเข็มจนแอฟริกาต้องยกเลิกการซื้อวัคซีนแอสตร้าไปตามข่าวเมือต้นปี
ผมเข้าใจว่าที่บอก "ไม่มีวัคซีนไหนป้องกันได้ 100%" มันก็ถูก แต่ถ้าตีความคือ AstraZeneca Pfizer sinovac มันประสิทธิภาพเท่ากัน ซึ่งคำพูดค่อนข้างคลุมเครือ และคนปกติที่เห็นว่า sinovac มันห่วยกว่า อ่านแล้วจะทำใจยอมรับคำพูดนี้ไม่ได้ ซึ่งผมก็ทำใจรับไม่ได้ ก็บอกไปตรงๆว่าไม่มีอะไรกันได้ 100% แต่ sinovac ที่ รบ หามาให้ฉีดตอนนี้ แย่กว่าทุกๆตัวในตลาดเลยยิ่งทำให้เปิดประเทศไม่ได้ คนติดมากขึ้นทุกวัน และคงไม่ได้กลับไปหาครอบครัวในเร็ววัน
อ่อ ผมเข้าใจละ ขอบคุณสำหรับคำอธิบายครับ เห็นด้วย 100% ครับ ส่วนตัวผมก็คิดว่า Sinovac มันห่วยนะฉีดไปแล้วครบสองเข็ม แต่ก็ระวังตัวเหมือนเดิม เพราะไม่อยากติด (ที่บ้านมีเด็กเล็ก) ไปข้างนอกใส่หน้ากากตลอด จับทุกอย่างฉีดเสปรแอลกอฮอล กลับบ้านอาบน้ำเลยทุกครั้ง และไม่จำเป็นไม่ออกไปข้างนอกเด็ดขาด
จริง ๆ แล้ว ที่ผมบอกว่าไม่มีวัคซีนตัวไหนกันได้ 100% ผมหมายถึงว่า ต้อให้คุณฉีด Pfizer คุณก็ต้องระวังตัวเหมือนเดิม พยายามไม่ไปที่คนเยอะ ๆใส่หน้ากาก และไม่ไว้ใจคนรู้จักโดยที่คิดว่าเค้าคงไม่ติด เพราะมันก็ยังมีโอกาสติดได้ทุกตัว สิ่งที่ป้องกันคุณได้จริง ๆ คือการระวังตัวเองมากกว่า
ป.ล. นี่สิคอมเม้นคุณภาพ ตรงไหนไม่ถูกต้องก็แก้ไขให้อธิบายให้เข้าใจ ไม่ใช่ว่าคนอื่นคลุมเครือแต่ไม่อธิบายว่าคนอื่นเค้าผิดตรงไหน - -
ปัญหาคือเชื้อเดลต้า หรือเบต้า แค่"ระวังตัว"อาจจะป้องกันได้ไม่หมดเช่นกันครับ
บุคลากรทางการแพทย์ ในรพ.คุณว่าเขาระวังตัวดีไหม? ใส่PPE ทั้งวัน ใส่N95 ตลอด ก็ยังติดแม้จะฉีดวัคซีนSv มาสองเข็มแล้ว พอติดแล้วมีคนหาว่าเขาติดเพราะไม่ระวังตัว มันก็คงไม่ใช่แล้ว
ผมกลับมองว่า วัคซีนดีๆมันเป็นเกราะที่ดีที่สุดครับ การป้องกันภายนอกมันทำได้แค่ลดการรับเชื้อ แต่ก็ไม่ได้100% อยู่ดี นอกเสียจากอยู่บ้านไม่ออกไปไหน แต่อาหารคุณก็ต้องสั่งเขา ถ้าคนทำ คนส่งติดล่ะ? บางทีก็เหมือนปลอบใจตัวเองว่าตัวเองทำดีพอแล้ว
นี่ได้ยินเคสใกล้ๆ มีช่างไปเสริมสวยนอกสถานที่ ช่างติดเชื้อ(รู้ผลภายหลัง)แต่ตอนทำงานใส่หน้ากากตลอด ลูกค้าและคนอื่นในบ้านก็ใส่หน้ากาก(แต่ใส่ๆถอดๆ) ผลคือบ้านลูกค้าติดทั้งบ้าน ทั้งที่ไม่ใช่ห้องแอร์ บ้านพัดลม และไม่ได้แออัด(บ้านตจว.) เกิดเป็นclusterจะสิบกว่าคนแล้ว จากช่างเสริมสวยคนเดียว บางทีมันก็น่ากลัวกว่าที่คิดนะ
อันนี้ผมว่าคุณมโนไปเอง อ่านแล้วดันเอาความไบแอสของตัวเองไปใส่
"ไม่มีวัคซีนไหนป้องกันได้ 100%" ก็แปลตรงตัวได้แค่นั้น ไม่ว่าจะตีความยังไง
อ่านยังไงถึงไปตีความประโยคนี้ได้ว่า AstraZeneca Pfizer sinovac มันประสิทธิภาพเท่ากัน
ถ้าคุณตีความได้แบบนั้น แสดงว่าคุณมีปัญหาในการอ่านจับใจความแล้ว
"คนปกติที่เห็นว่า sinovac มันห่วยกว่า อ่านแล้วจะทำใจยอมรับคำพูดนี้ไม่ได้"ผมก็เป็นคนที่เห็นว่า sinovac มันห่วยกว่า ถ้าผมเจอคนที่คุยด้วยพูดประโยคนี้ ผมก็แค่ตอบกลับว่า "ไม่มีวัคซีนไหนป้องกันได้ 100% ได้ก็จริง แต่วัคซีนแต่ละยี่ห้อประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไม่เท่ากัน บางตัว 30 บางตัว 50 บางตัว 90" ก็ว่าไป
การละเว้นสาระสำคัญบางอย่าง เป็นการ Misleading (โดยมากจะตีความว่าเจตนา ในสังคมที่โดน mislead ได้ง่าย) ในบริบทของการสื่อสารแล้ว ก็ควร เฉพาะเจาะจงระดับหนึ่ง
เหมือนเวลาใน SnS ที่เปิดด่าลอยๆ แล้วชอบมีคนมาร้อนตัวแทน นี่แหล่ะครับ
เราอยู่ในยุคของสงครามข่าวสารที่ "แทบทุกฝ่าย ต่างพูดกันเพียงแค่ บางส่วน" และประโยคที่ว่ามันสามารถทำให้คนจำนวนมาก imply ได้โดยเอาค่าที่เป็น extreme boundary มาพูดแหล่ะครับ
เรื่องพวกนี้มันเป็นวิธี/กระบวนการ manipulate ผู้รับสาสน์ผ่านตัวเลข ที่ค่อนข้างใช้ได้ผลดี
ณ จุดนี้ มีวัคซีนระดับ 80-90% เยอะเราจึงใช้คำว่า "ไม่มีวัคซีนไหนป้องกันได้ 100%"
สมมติถ้าวันนี้พวก AZ/PF/MO ได้แค่ระดับ 65% แล้ว Sino ได้ 50 .. ลักษณะของข่าวก็จะเป็นว่า
"แม้วัคซีนที่ดีที่สุดก็กันได้เพียง 75% เท่านั้น"
"ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนไหนป้องกันได้ถึง 70% เลย"
เราเอา Extreme border มาพูดโดย (อาจจะมีหรือไม่มี) เจตนาที่จะ "ซ่อน/หรือสร้างความเข้าใจผิด" ในตัวเลขที่ซ่อนอยู่หลังขอบ เพื่อปิดบัง "ความห่าง" ของข้อมูลอยู่แล้ว
แม้กระทั่งในพาร์ทการเมือง การตัดบาร์กราฟยังถูกใช้เพื่อให้ ข้อมูลบางอย่างดูปริมาณลดลงอย่างมีนัยยะได้เลย
Intention ในการปิดบังข้อมูลนั้นอาจจะมีหรือไม่มีอยู่ อันนี้ยากจะรู้ แต่ว่า comprehension ของผู้อ่านจะถูก "ชี้นำ" ด้วยรูปแบบประโยคที่ใช้ ดังนั้นแล้วในบริบทของการสนทนาที่ดี จึงควรเลี่ยงการชี้นำแบบนี้ครับ และผลของความไม่เคลียร์ของข้อความนั้น ต่อให้ไม่มี intention ก็จะไปทำให้คนจำนวนนึงเกิดความรู้สึกว่า โดนคนพยายามชี้นำ หรือมีคนพยายามชี้นำคนกลุ่มที่สามารถตีความได้น้อยกว่า เชื่อไปตามนั้น
ซึ่งมันปฏิเสธไม่ได้ว่า คนที่อ่านประโยคในเชิง "ไม่มีวัคซีนไหนป้องกันได้ 100%" จะให้น้ำหนักกับประโยคว่า "ฉีดดีกว่าไม่ฉีด" โดยลดน้ำหนักในการพิจารณาทางเลือกลง ...... แต่ถ้าบอกกลับกันว่า "วัคซีนที่ดีมากๆ ป้องกันได้ถึง 80-90 เปอร์เซนต์ ในขณะที่ sin ป้องกันได้เกิน 50เปอร์เซนต์มานิดๆ" คนจะเพิ่มน้ำหนักในการพิจารณาทางเลือก
และเอาจริงๆ ไม่ใช่คนส่วนใหญ่หรอกครับที่อ่านแล้วจะตอบแบบที่คุณเลือกตอบ
** และส่วนตัว ผมก็ตีความแค่เท่านั้นแหล่ะ เพราะว่าตั้งไว้แต่แรกแล้วว่ายังไงก็ต้องมีทางเลือก
ทำไมผมเขียนดีๆ แบบนี้ไม่ได้บ้าง ขอจำวิธีอธิบายไปฝึกใช้นะครับ
ได้รอยาวๆ ไป จนกว่าจะผลิตได้ทัน หรืออาจจะได้มียาเม็ดออกมาทดแทนการฉีดไปเลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
แต่Azเข็มเดียวป้องกันdelta ไม่ได้ ฉะนั้นไม่มีประโยชน์เท่าไร ถ้าสองเข็มยังกันได้แถวๆ 60%
ผมว่านะ จะคุยกันเรื่องวัคซีนนี่ควรบอกประเภทน่าจะดีเนอะกันการเข้าใจผิด
ป้องกันติดเชื้อได้กี่เปอป้องกันแบบมีอาการเบาได้กี่เปอ
ป้องกันอาการหนักได้กี่เปอ
จะได้รู้เท่าทันรัฐบาลด้วย
good news
อย่าให้ รัฐบาล เห็นข่าวนี้
11 เดือนนี่ เหมือนฉีดรอบปีถัดไปเลยนะครับน่าจะเหมือนฉีดใหม่อีกครั้ง อย่าหาทำำำำ
น่าจะเพราะร่างกายสร้างภูมิกับ AdenoVirusพอฉีดติดๆกัน ร่างกายเลย ฆ่า AdenoVirus เร็วเกิน ภูมิเลยขึ้นน้อย
ขณะที่ Sputnik ของรัสเซียรู้ตรงนี้เลยให้เข็ม 1 กะ 2 ใช้ AdenoVirus ต่างชนิดกัน
อันนี้มันข่าวดีของรัฐบาลไทยเลยนะครับ