Pearson สำนักพิมพ์ผู้จัดจำหน่ายตำราเรียน (textbook) รายใหญ่ของโลก เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ Pearson+ แอปรวมตำราเรียนแบบดิจิทัล (e-textbook) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาล่าสุดแบบดิจิทัลได้สมบูรณ์แบบมากขึ้น ในราคาแบบเหมาจ่าย
โมเดลราคาของ Pearson+ มีสองแบบคือ 9.99 ดอลลาร์ต่อเดือน สามารถเลือกในหนึ่งตำราเรียนดิจิทัล และแบบราคา 14.99 ดอลลาร์ต่อเดือน เข้าถึงได้ทุกตำราดิจิทัลของ Pearson ที่มีมากกว่า 1,500 รายการ
ก่อนหน้านี้ Pearson ประกาศ ลดการพึ่งพารายได้จากตำราเรียนแบบกระดาษ มาเน้นการขายตำราเรียนแบบดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ Pearson มีรายได้จากการขายแบบดิจิทัล 70% ของรายได้รวม บริษัทยังคาดว่า Pearson+ นอกจากจะเพิ่มรายได้ส่วนนี้ให้มากขึ้นแล้ว จะสามารถแย่งลูกค้าจากตลาดตำราเรียนมือสองได้อีกด้วย
ที่มา: Pearson
Comments
เดี๋ยวนี้ตำราเรียนยังมี subscription
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
Oreilly เขาทำ Safari book นำไปก่อนแล้วไง
มันดีนะ เวลาทำงานกลับไปเปิดพวกนี้เป็น reference ได้ แล้วเราไม่ได้ต้องการอ่านมันทั้งเล่ม
เดี๋ยวนะ ตำราเรียนแบบ subscription ?
Orielly ก็ทำ Safari Book มาก่อนแล้วไงยิ่งถ้าองค์กรหรือมหาวิทยาลัยจัดหาให้นี่ยิ่งดีมาก มีหลายองค์กรที่สมัคร Safari Book ระดับองค์กรณ์ให้พนักงาน
Pearson นี้ นอกจากทำหนังสือเรียนแล้ว ยังทำกิจการจัดสอบประเมินความรู้นักศึกษาทุกกลุ่มด้วย ตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ และแตนาดาถ้านึกไม่ออก ให้นึกถึง GAT-PAT หรือ ONET แต่เป็นบริการของเอกชนที่จัดสอบให้นักศึกษาทั้งประเทศ
ตอนนี้พอมาทำบริการตำราแบบ Subscription นี้ ซึ่งตำราเรียนกับธุรกิจจัดสอบก็ทำเงินได้มหาศาลอยู่แล้ว กลายเป็นรวยสองต่อเลยทีเดียว
ปล. แม้แต่บริการสอบ Certified ของแต่ละผลิตภัณฑ์ในวงการ IT ของยี่ห้อดังๆ ก็ใช้บริการของ Pearson นะครับ บ้านเราก็มีศูนย์สอบที่ใช้บริการของเขาอยู่นะ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
โอ้ ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ
..: เรื่อยไป
เล่มซ้ายมือในนรูปนี่ส่งผมจบ ป. ตรีเลยครับ
แอบโม้ ว่าผมใช้ทั้ง 2 เล่มในรูปเลย ฮิตมากก ?
นอกจากเป็นโอกาสหารายได้แล้ว ในอนาคตถ้ามีตำราใหม่ ๆ ก็คงจะลงใน Pearson+ เป็นที่แรก
จริงๆ Pearson พยายามจะหนีจากตลาดหนังสือมือสองต่างหาก
เนื่องจากปกติแล้ว แกนเนื้อหามันจะไม่เปลี่ยนไปมากนักในแต่ละปี และประกอบกับตำราเรียนทางอเมริการาคาสูง จึงมีเอาการขายมือสองกันอยู่ ซึ่ง Pearson ก็พยายามปิดช่องด้วยการขยันออกฉบับปรับปรุง แล้วก็ส่งหนังสือฉบับ'ใหม่'มาให้ครูผู้สอน ก็กลายๆให้นักเรียนต้องซื้อหนังสือใหม่
พอมาเป็นตลาดตำราเรียน สำนักพิมพ์เห็นว่าการเปลี่ยนโมเดลทำธุรกิจมาเป็น 'เช่า' ตำราเรียน ทำให้ได้กำไรเต็มเม็ดเต็มหน่วยกว่า (แน่นอนว่าราคาไม่ได้ถูกกว่าแบบเล่ม เพราะตัวเองผูกขาดตำราเรียนอยู่ จะขายสิทธิ์เช่าใช้งานให้ถูกไปทำไม) แถมสิทธิ์การใช้งานก็โอนกันเองไม่ได้เหมือนตำราเป็นเล่มๆ เรียกว่าได้เต็มๆ ทุกปี หนีไม่ได้อีกด้วย