แม้คำว่า Digital Transformation จะได้รับการพูดถึงมายาวนาน แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีองค์กรเพียงไม่กี่แห่งที่เริ่มลงมือนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจของตนเอง จนก้าวล้ำหน้าและยืนหยัดท่ามกลางสมรภูมิแห่งความไม่แน่นอน
จนเมื่อทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากการเผชิญหน้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด หรือว่ากำลังมีความต้องการพัฒนาองค์กร ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งนี้จึงทำให้คำว่า Digital Transformation ได้รับการพูดถึงอย่างมากอีกครั้ง และหลายบริษัทต่างเห็นพ้องต้องกันว่า นี่คือเวลาของความท้าทาย ที่ต้องเร่งปรับตัวเปลี่ยนแปลงนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาขับเคลื่อนธุรกิจอย่างจริงจังเสียที
คุณศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร CEO บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC ผู้เป็นหัวเรือใหญ่ในการทำ Digital-First Strategy ให้ทั้งองค์กรตนเองและกลุ่มลูกค้า ได้คอยเน้นย้ำเสมอถึงความสำคัญของการTransformation ว่าการเตรียมตัวที่จะเปลี่ยนแปลงที่ดี ต้องมีทีมงานที่ถูกต้อง มีแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน แล้วจึงเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาช่วยเสริมให้การ Transform นั้นสำเร็จ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา MFEC พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องเพราะต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและโอกาสการแข่งขันในตลาดให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น การปรับองค์กรโดยนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อแก้ไขกระบวนการธุรกิจ (Business Process) จะช่วยเสริมประสบการณ์ให้กับผู้ใช้และลูกค้า และยังช่วยให้การปรับการทำงานของพนักงาน (Workforce) ให้ต้นทุนต่ำลง เพื่อสามารถสร้างธุรกิจใหม่ หรือแพลตฟอร์มใหม่ในการต่อยอด ขยายไปยังธุรกิจอื่นต่อไปได้อีก แม้แต่ผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง Cisco เองก็ตระหนัก และมุ่งเน้นการทำ Digital Transformation อยู่ตลอดเวลาเช่นกัน
คุณทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย ได้แสดงความเห็นว่า ผลกระทบของวิกฤตการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมาทำให้การดำเนินธุรกิจของแทบทุกองค์กรเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง การศึกษานำเอาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาเพิ่ม เพื่อขับเคลื่อนการปฏิบัติงาน และดำเนินธุรกิจ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และอาจสังเกตเห็นได้ว่าในช่วงวิกฤตการณ์ที่ผ่านมา การพัฒนาของเทคโนโลยี และการนำเอาเทคโนโลยีไปใช้งาน จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วขึ้นมาก องค์กรใดที่มีเทคโนโลยีที่พร้อม มีความรวดเร็วในการตัดสินใจ และมีความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ พนักงานก็สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิผล และรับมือกับการเปลี่ยนแปลง เช่นทาง Cisco เองที่มีเทคโนโลยีต่างๆ ให้สามารถทำงานในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานจากบ้าน 100% หรือทำงานแบบผสม (Hybrid) โดยมี WebEx ช่วยให้พนักงานสามารถสื่อสารกันหลากหลายรูปแบบ ทั้งการแชร์ไฟล์ และข้อความ แบบส่วนตัวและกลุ่ม รองรับการทำประชุมผ่าน Video Conferencing ทั้งส่วนตัวและจากห้องประชุม มีระบบ Security เพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหล เพื่อความมั่นใจของผู้ใช้ โดยเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นระบบพื้นฐานที่ทาง Cisco มีให้ทุกคนอยู่ก่อนที่จะเกิด COVID-19 ดังนั้นจึงไม่ต้องมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงมากนัก ทุกคนสามารถขอระบบ CVO (Cisco Virtual Office) เพื่อทำงานที่บ้านได้ การเปลี่ยนแปลงของบริษัท Cisco มีอยู่ตลอดเวลา รวมถึงทางด้านผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมากขึ้น มาถึงทุกวันนี้ Cisco ได้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในบริษัทซอฟท์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดของโลกไปแล้ว
หนึ่งในซอฟท์แวร์ที่ MFEC และ Cisco มีวิสัยทัศน์ในการทำงานร่วมกันคือโซลูชัน Full-Stack Observability ที่สามารถตอบโจทย์ขององค์กรคือต้องมีเครื่องมือที่ช่วยทั้งการพัฒนา ตรวจสอบ สเกล ตลอดจนดีไซน์แอปพลิเคชันอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ทีมงานที่เคยแยกกันทำงานหลายๆ ทีม ทั้ง AppOps, InfraOps, NetOps และ SecOps สามารถมีเครื่องมือในการติดตามตรวจสอบและวิเคราะห์การทำงานของแอปพลิเคชันที่มีความซับซ้อน ทั้งระบบโครงสร้างของโปรแกรม การกระจายตัวของแอปพลิเคชันที่อยู่หลายระบบ Cloud การมี Security ที่ต้องดูแลหลายระดับ การมี resources ทั้ง CPU, Memory, Storage ที่เพียงพอ แต่ไม่มากเกินไป เพื่อให้ผู้ใช้แอปพลิเคชันมีความพึงพอใจในประสบการณ์ในการใช้ดีที่สุด โดย Full-Stack Observability ประกอบไปด้วย 3 ผลิตภัณฑ์ได้แก่
- AppDynamics: ระบบตรวจสอบและติดตามประสิทธิภาพการทำงานของโมบายและเว็บแอปพลิเคชัน พร้อมระบบ Machine Learning ในการแจ้งเตือนจุดที่อาจทำให้เกิดปัญหากับผู้ใช้
- ThousandEyes: ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ประสิทธิผลการเชื่อมต่อและการทำงานของแอปพลิเคชันในส่วนงานต่างๆ ของเครือข่าย LAN, WAN และอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถรู้ได้ทันทีว่าปัญหาเกิดจากระบบ Network ภายในบริษัท เกิดจาก Internet Service Provider หรือเกิดจาก Cloud ที่ Application ของเราติดตั้งอยู่
- Cisco Workload Optimization Manager (CWOM): สมองที่ช่วยจัดสมดุล เพิ่มสมรรถนะการทำงานของแอปพลิเคชัน และควบคุมค่าใช้จ่ายในการจัดสรรทรัพยากรในระบบให้อัตโนมัติ เป็นโชลูชันที่จะช่วยให้องค์กรทราบถึงประสิทธิภาพการทำงานในทุกๆ ส่วนของแอปพลิเคชัน เช่น Container, Network และ Security เป็นเครื่องมือตรวจสอบที่สามารถเข้าถึงการเชื่อมโยงข้อมูลได้ในทุกจุด
ด้วยวิสัยทัศน์ในการทำงานร่วมกันของทั้ง MFEC และ Cisco ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับองค์กรเข้ามาเป็นบทบาทสำคัญในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงนั้น จะทำให้ขั้นตอนการทำงาน (Workflow) มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จนเกิดเป็นความสำเร็จมากมาย อาทิ การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Cyber Security Operation Center (CSOC) และการทำ CSR ช่วยเหลือสังคม โดยการได้มีการใช้หนึ่งในโซลูชัน Full-Stack Observability อย่างการนำเอา AppDynamics เข้าไปช่วยเหลือกระทรวงสาธารณสุข เช่น นำมาตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบ Co-Vaccine กล่าวคือ ระบบบันทึกข้อมูลการฉีดวัคซีน ที่ส่งข้อมูลทันทีเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกลางการฉีดวัคซีนของประเทศไทย ซึ่งมีหน่วยงานรัฐและเอกชนใช้บริการทั่วประเทศกว่า 500 หน่วยงาน รองรับการใช้งานมากกว่า 3,700 ผู้ใช้ต่อนาที เป็นต้น
MFEC ในฐานะบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในงานวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายงานสารสนเทศอย่างครบวงจรได้ผนึกกำลังร่วมกับ Cisco ผลักดัน Software ในหลากหลายมิติโดยเฉพาะด้านโซลูชัน Full-Stack Observability ซึ่ง MFEC ถือเป็นพาร์ทเนอร์รายแรกที่มีบุคลากรที่ผ่านการสอบระดับสูงอย่าง 'Cisco Black Belt - AppDynamics Presales Stage 3'การันตีความสามารถในการนำเสนอสินค้าและให้บริการลูกค้าได้อย่างเชี่ยวชาญและมีสมรรถภาพอย่างสูงสุดสอดรับกับหลักการทำงานจาก Cisco Customer Experience ในการดูแลและให้บริการลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม
ท้ายที่สุด ท่ามกลางการแข่งขันในสภาวะวิกฤตเช่นนี้ คงต้องตั้งคำถามว่า “วันนี้เทคโนโลยีดิจิทัลในองค์กรของคุณดำเนินงานได้เต็มประสิทธิภาพ พร้อมตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ New Era, New Challenge.แล้วหรือยัง ?”
สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชันของ Cisco สามารถติดต่อทีมงาน MFEC เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอคำปรึกษาได้ทันทีผ่านช่องทาง ดังนี้
Email : Channel@mfec.co.th
Tel : 02-821-7999
ข้อมูลเพิ่มเติม www.mfec.co.th
Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ