หลายคนอาจลืมชื่อบริษัทไต้หวัน VIA Technologies ในฐานะผู้สร้างซีพียู x86 อีกค่ายกันไปแล้ว แต่จริงๆ แล้ว VIA ยังอยู่ในตลาดซีพียู x86 แต่เน้นซีพียูประหยัดพลังงานสำหรับอุปกรณ์ฝังตัว เช่น ตระกูล C7, Nano, Eden (ธุรกิจอื่นๆ ของ VIA เน้นไปที่บอร์ด ชุดพัฒนาสำหรับรถยนต์ เครื่องจักร กล้องติดรถยนต์)
รากเหง้าของ VIA ในโลกซีพียู มีที่มาจากการซื้อกิจการบริษัทอเมริกันสองครั้งคือ Cyrix และ Centaur Technology ในปี 1999 เหมือนกัน ปัจจุบัน Centaur ยังเป็นแกนกลางในการพัฒนาซีพียู x86 รุ่นใหม่ๆ ของ VIA
ล่าสุดธุรกิจซีพียูของ VIA เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อ VIA ประกาศว่าจะขายธุรกิจ Centaur ให้กับอินเทลในราคา 125 ล้านดอลลาร์ โดยอินเทลจะได้พนักงานของ Centaur ไปจำนวนหนึ่ง แต่ไม่รวมทรัพย์สินอื่นๆ ของ VIA ไปด้วย (ลักษณะคล้ายๆ กูเกิลซื้อทีมออกแบบมือถือของ HTC ในปี 2017 คือซื้อแต่คน ไม่เอาทรัพย์สิน) แต่ VIA เองก็ยังไม่ได้ประกาศชัดว่าจะทำอย่างไรต่อกับธุรกิจซีพียู จะยังทำต่อหรือออกจากตลาดไปเลย
ฝั่งอินเทลยังไม่แถลงข่าวใดๆ ในเรื่องนี้ แต่ถ้าดูจากทิศทางแล้วก็น่าจะอยากได้วิศวกรไปเสริมทีมพัฒนาซีพียู เพื่อให้กลับมายิ่งใหญ่ในวงการซีพียูได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง
Comments
ดูแล้ว VIA อาจไม่ทำ CPU ต่อแล้วขายทุกอย่างให้บริษัทอื่นไปทำต่อแทนมากกว่า หากว่าหลังจากนี้ไม่สามารถพัฒนา CPU ตามแผนได้ จากที่ทีมงานบางส่วนถูกขายให้ Intel เนี่ย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ไม่ค่อยเห็น CPU จากค่ายนี้เท่าไร ปกติใช้ที่ไหนกันหว่า
Embedded board ครับ ในโรงงานอุตสาหกรรมใช้กันเยอะ (มากกว่า Intel และไม่มี AMD เลย)เรื่องทนสภาพแวดล้อมโหดๆ นี่ Intel สู้ VIA ไม่ได้ครับ
ฝั่ง Intel ไม่มีพวก industry grade ไรงี้ด้วยเปล่าครับ ตลาดเลยมีช่องให้ via มาขาย
มีครับ เป็นเคสโง่ๆ บอร์ดดูธรรมดาๆ เลย ราคาโหดเอาเรื่องเลยเพราะมันต้องทนร้อนทนฝุ่น
I need healing.
intel เยอะอยู่นะ
Intel จะผลักดัน Atom ไปลงตลาดคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมหรือเปล่า
I need healing.
Intel ผมเห็น Atom และ Celeron นะตอนนี้
เคยใช้ VIA ราวๆปี 2000 ร้อนนิดเดียว ดับเฉยยย ตั้งแต่นั้นคือ บายยยย
ขอถามหน่อยครับ Intel เป็นเจ้าของสิทธิบัตร x86 แต่เพียงผู้เดียวหรือเปล่าครับ ใครจะผลิต x86 ต้องซื้อสิทธิ์จากแก ผมเข้าใจถูกมั๊ย
ใช่ ตอนนี้ไม่ต้องซื้อละเพราะไม่ได้ขาย (แต่อนาคตไม่แน่) ตอนที่ให้ amd ไปเพราะกันเรื่องการผูกขาดดูคลิปนี้ ประวัติ https://www.youtube.com/watch?v=e0r0QpzWITQ&t=26s
ขอบคุณครับ
ไม่ใช่ครับ ตอนเริ่มต้นนั้นไอบีเอ็มเจรจาให้อินเทลขายไลเซนซ์ x86 ให้ผู้ผลิตเจ้าอื่นเพื่อเป็นซัพพลายเออร์แหล่งที่ 2 มีหลายบ.เลยที่ได้สิทธิไป หนึ่งในนั้นก็คือเอเอ็มดี ที่ต่อมาทำชิป 386 ออกมาขายแข่งจนมีเรื่องฟ้องร้องกัน อินเทลตอนนั้นดังแล้วและมีอิทธิพลมากกว่าไอบีเอ็มจึงตั้งใจว่าจะไม่ให้ใครทำชิป 386 แต่เอเอ็มดีดันทำจึงถูกฟ้อง ผลเอเอ็มดีชนะแต่ก็สามารถชะลอเอเอ็มดีไปได้เยอะเหมือนกัน Cyrix ก็ถูกฟ้องเหมือนกัน Cyrix สู้ว่าผลิตจากโรงงานของบ.ที่เคยได้ไลเซนแล้วก็ฟ้องกลับว่าอินเทลละเมิดสิทธิบัตร ผลอินเทลแพ้ แต่ก็ชะลอโมเมนตั้มของ Cyrix ไปได้เหมือนกัน cpu รุ่นต่อๆมาของ cyrix ก็ไม่ฮิตก็เลยต้องขายบ.ให้ via ที่หันไปเน้นทำชิปสำหรับตลาดเฉพาะด้าน