หนึ่งในสินค้าที่ NVIDIA เปิดตัวเมื่อวานนี้และได้รับความสนใจคือคอมพิวเตอร์ Project DIGITS ที่เป็นชิป GB10 Superchip พร้อมจีพียูสถาปัตยกรรม Blackwell สำหรับงานประมวลผล AI ทำให้ภาพของ NVIDIA ที่จะ บุกตลาดชิปของพีซี ตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ ดูใกล้ความจริงมากขึ้น
Project DIGITS มีส่วนที่เป็นซีพียู NVIDIA Grace 20 คอร์ด้วย ซีอีโอ Jensen Huang บอกในคีย์โน้ตว่าเป็นความร่วมมือกับ MediaTek ในการออกแบบ ทาง MediaTek ก็สามารถขายซีพียูที่ร่วมกันออกแบบนี้ได้เองด้วย จึงเป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย
AMD เปิดตัวซีพียูโน้ตบุ๊กธรรมดาที่ไม่ใช่เกมมิ่ง โดยเป็นการเพิ่มรุ่นย่อยของ Ryzen AI 300 (Zen 5) ที่เปิดตัวชุดแรกไปเมื่อกลางปี 2024 และแตกไลน์ซีรีส์ใหม่ Ryzen 200 (Zen 4 อย่าเรียกว่าย้อมแมว) มาจับตลาดโน้ตบุ๊กราคาย่อมเยาลง
Ryzen AI 300ซีพียูชุดใหม่รอบนี้เป็น Ryzen 7 และ Ryzen 5 ที่ราคาลดหลั่นลงมาจาก Ryzen 9 ที่เปิดตัวไปก่อนแล้ว โดยทั้งหมดเป็นซีพียูแกน Zen 5, จีพียู RDNA 3.5, NPU เป็น XDNA 2 สมรรถนะ 50 TOPS และมีรุ่นย่อยเป็น Ryzen Pro สำหรับโน้ตบุ๊กธุรกิจด้วย สินค้าจะเริ่มวางขายไตรมาส 1/2025
AMD เปิดตัวซีพียูเดสก์ท็อปรุ่นสูงสุดเวอร์ชัน X3D สำหรับกลุ่มเกมเมอร์ ตามข่าวหลุดก่อนหน้านี้ โดยมีทั้งรุ่นท็อปสุด 9950X3D และรองท็อป 9900X3D สเปกดังนี้
- Ryzen 9 9950X3D16 คอร์ 32 เธร็ด, คล็อค 5.7/4.3GHz, แคชรวม 144MB, TDP 170W
- Ryzen 9 9900X3D12 คอร์ 24 เธร็ด, คล็อค 5.5/4.4GHz, แคชรวม 140MB, TDP 120W
สเปกโดยรวมเทียบเท่ากับ Ryzen 9950/9900 ตัวปกติไม่ X3D โดยเพิ่มแคชแนวตั้ง 3D V-Cache เข้ามา
AMD เปิดตัวซีพียูสำหรับเครื่องเกมพกพา Ryzen Z2 Series ตามความคาดหมาย รุ่นสูงสุด Z2 Extreme อัพเกรดมาใช้ซีพียูแกน Zen 5 และจีพียูเป็น RDNA 3.5 เทียบเท่ากับ ซีพียูฝั่งโน้ตบุ๊ก Ryzen AI Max
Ryzen Z2 แบ่งออกเป็น 3 รุ่นย่อย (เพิ่มจากตอน Z1 มี 2 รุ่นย่อย) แต่เป็นลูกผสมกันระหว่างซีพียู-จีพียูข้าม 3 สถาปัตยกรรม (อย่าเรียกว่าย้อมแมว) ดังนี้
AMD เปิดตัวชิปสำหรับโน้ตบุ๊กสายเกมมิ่งและ AI ตัวใหม่ Ryzen AI Maxโค้ดเนม Strix Halo ในงาน CES 2025 ตาม ข่าวที่ออกมา ก่อนหน้านี้
สเป็กของ Ryzen AI Max มีซีพียูสถาปัตยกรรม Zen 5 เริ่มต้น 6 คอร์ สูงสุด 16 คอร์ กราฟิกคอร์เริ่มต้น 16 คอร์ สูงสุด 40 คอร์ และ NPU สูงสุด 50 TOPS
นอกจากนี้ยังมีซีพียูตระกูล Ryzen AI Max PROที่เสริมด้วยเทคโนโลยี AMD PRO รองรับการเรนเดอร์และงานประมวลผล AI ที่ซับซ้อนมากขึ้น
ประสิทธิภาพการทำงาน AMD เปรียบเทียบการแสดงกราฟิกกับ Core Ultra 9 เร็วกว่า 1.4 เท่า การเรนเดอร์ 3D เทียบกับ MacBook M4 Pro ก็เร็วกว่าเช่นกัน
สินค้าเริ่มขายในไตรมาสที่ 1-2 ของปีนี้
อินเทลเปิดตัวซีพียูซีรีส์ 200 ที่งาน CES 2025 ชุดใหญ่ รวมทั้งหมด 4 ซีรีส์ดังนี้
มีเบนช์มาร์คหลุดของ Intel Core Ultra 200H หรือ Arrow Lake-H ซีพียูโน้ตบุ๊กตัวแรงสำหรับตลาดเกมมิ่ง ออกมาบน Geekbench โดยมีเบนช์มาร์คของซีพียู 3 รุ่นย่อยคือ
เริ่มมีข้อมูลหลุดของ Ryzen 9 9950X3D ซีพียูตัวท็อปสุดสายเกมมิ่งของ AMD ที่เตรียมเปิดตัวในงาน CES 2025 ช่วงหลังปีใหม่
AMD เปิดตัว Ryzen 7 9800X3D ซึ่งเป็นตระกูล X3D ตัวแรกในซีรีส์ Zen 5 มาก่อนแล้ว คราวนี้เป็นคิวของ X3D ตัวท็อปคือ 9950X3D บ้าง ข้อมูลเท่าที่เราทราบกันคือใช้ 16 คอร์ 32 เธร็ด เท่ากับ 9950X ตัวปกติ แล้วเพิ่ม 3D V-Cache L3 มาอีก 64MB รวมเป็น 96MB
จุดที่น่าสนใจในรอบนี้คือ 9950X3D มีคล็อค 4.3/5.7GHZ (Base/Boost) เท่ากับ 9950X ตัวปกติด้วย ตรงนี้แตกต่างจากแนวทางที่แล้วๆ มาของซีพียูรุ่น X3D ที่ปรับลดคล็อคลงจากรุ่นปกติเล็กน้อย ด้วยเหตุผลเรื่องความร้อน
ที่ผ่านมาชิปทั้งตระกูล A ใน iPhone และตระกูล M บน Mac, iPad ของแอปเปิล ใช้การออกแบบเป็น SoC ที่รวมซีพียูและจีพียูไว้ด้วยกัน แต่มีรายงานว่าในชิป M5 รุ่นถัดไปของแอปเปิล จะเปลี่ยนแนวทางโดยแยกซีพียูและจีพียูจากกัน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อมูลนี้มาจาก Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สินค้าใหม่แอปเปิลสายซัพพลายเชนคนเดิม เขาบอกว่า TSMC มีกระบวนการผลิตชิปแบบใหม่เรียกว่า SoIC-mH (System-on-Integrated-Chips-Molding-Horizontal) เป็นการแพ็คเกจจิ้งชิปที่แตกต่างกันไว้ด้วยกัน โดยข้อดีคือการระบายความร้อนแยกส่วน เพราะไม่ได้อยู่บนชิปเดียวกัน และทำให้การผลิตชิปที่แยกส่วนมียิลด์ (yield) ที่ดีขึ้น
ใกล้งาน CES 2025 เข้ามาเรื่อยๆ ฝั่งของค่าย AMD ก็เริ่มมีข่าวหลุดข่าวลือของ ชิป Ryzen AI MAX 300 หรือที่รู้จักกันในโค้ดเนม Strix Halo สำหรับโน้ตบุ๊กสายเกมมิ่งออกมา
ตามข่าวบอกว่า Ryzen AI MAX จะมีรุ่น Pro สำหรับงานเวิร์คสเตชันมืออาชีพ และรุ่น non-Pro สำหรับเกมมิ่ง โดยชิปตัวแรงสุดจะใช้ชื่อ Ryzen AI MAX+ (มี +) ทำตลาด สถาปัตยกรรมซีพียูเป็น Zen 5 และสถาปัตยกรรมจีพียู RDNA 3.5
ข้อมูลเบนช์มาร์คบน PassMark ที่หลุดออกมาเป็นของชิปสองตัวคือ
เมื่อปี 2023 อินเทลเสนอสถาปัตยกรรม x86S เป็น 64 บิตล้วน ถอดส่วนที่เป็น 32 บิตออก เพื่อเป็นแนวทางผลักดันสถาปัตยกรรม x86 ต่อไปในอนาคต ประหยัดภาระในการดูแลโค้ดส่วน 32 บิตที่แทบไม่มีใครใช้แล้ว
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดโฆษกของอินเทลยืนยันกับ Tom's Hardware ว่าโครงการ X86S ไม่ได้เดินหน้าต่อแล้ว โดยไม่ระบุเหตุผลว่าเพราะอะไร
อินเทลเพิ่งจับมือกับ AMD และพาร์ทเนอร์รายอื่นๆ ก่อตั้งกลุ่ม x86 Ecosystem Advisory Group วางมาตรฐาน x86 ในยุคถัดไป กลุ่มนี้ยังทำงานกันต่อไป เพียงแต่จะไม่เดินหน้าในแนวทาง X86S อีกแล้ว
หลังอินเทลเปิดตัว Core Ultra 200S สำหรับเดสก์ท็อป (Arrow Lake-S) แล้ว เจอปัญหาประสิทธิภาพไม่เป็นไปตามที่โฆษณาไว้ อินเทลหายไปเดือนกว่าๆ และกลับมาพร้อมคำแถลงว่าปัญหาคืออะไร
หลังสอบสวนแล้ว อินเทลบอกว่าพบปัญหาถึง 5 อย่างที่แตกต่างกัน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของซีพียู (แล้วพี่ปล่อยมาได้ไงแต่แรก)
ใกล้งาน CES 2025 ก็เริ่มมีข่าวหลุดของซีพียูชุดใหม่อินเทลที่จะเปิดตัวในงานออกมา ก่อนหน้านี้อินเทลได้เปิดตัวซีพียูในซีรีส์ Core Ultra 200 มาแล้ว 2 ชุดคือ ซีพียูโน้ตบุ๊ก Core Ultra 200V Lunar Lake และ ซีพียูเดสก์ท็อป Core Ultra 200S Arrow Lake
ข่าวลือของซีพียูชุดถัดๆ ไปที่จะเปิดตัวในงาน CES 2025 ได้แก่
AMD เปิดตัวชิปประมวลผลประสิทธิภาพสูงภายในงาน Advancing AI 2024 ทั้งโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ 5th Gen AMD EPYC™, กราฟิกการ์ด AMD Instinct™ MI325X, ชิปหน่วยประมวลผลข้อมูล AMD Pensando™ Salina DPUs, AMD Pensando Pollara 400 NICs และโมบายโปรเซสเซอร์ AMD Ryzen™ AI PRO 300 series
โปรเซสเซอร์ AMD EPYC 9005 Seriesสร้างขึ้นบนสถาปัตยกรรม Zen 5 รุ่นล่าสุด มาพร้อมคอร์ประมวลผลสูงสุด 192 คอร์ จะวางจำหน่ายบนแพลตฟอร์มหลากหลายผ่าน OEM และ ODM ชั้นนำ
Qualcomm จัดงานพบปะนักลงทุน Qualcomm Investor Day มีข้อมูลที่น่าสนใจคือพูดถึง Snapdragon X Elite รุ่นที่สอง (น่าจะใช้ชื่อว่า Gen 2 ตามระบบของ Qualcomm ในปัจจุบัน) ว่าจะใช้ซีพียู Oryon รุ่นที่สอง ประสิทธิภาพแบบคอร์เดี่ยวดีขึ้นจากรุ่นแรก 30% (วัดจาก Geekbench Single-Core), ถ้าวัดจากชิปทั้งตัวลดการใช้พลังงานลง 57%
งานนี้เป็นการพูดภาพรวมธุรกิจของ Qualcomm ยังไม่ใช่งานแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเป็นทางการ คาดว่า Qualcomm น่าจะเปิดตัว Snapdragon X Elite Gen 2 ในเดือนธันวาคม (ตามธรรมเนียม Qualcomm) หรืออาจเปิดตัวในงาน CES 2025 ต้นเดือนมกราคมทีเดียวเลย
นักปล่อยข้อมูลฮาร์ดแวร์ชาวจีนที่ใช้ชื่อ Golden Pig Update ให้ข้อมูลของชิปโน้ตบุ๊ก AMD Ryzen รุ่นของปี 2025/2026 ดังนี้
โน้ตบุ๊กสายบางเบา (ultraslim) และสายทำงานทั่วไป
ตอนกลางปี 2024 เราเห็น AMD เปิดตัวชิปโน้ตบุ๊ก Ryzen AI 300 หรือโค้ดเนม Strix Point เปิดตัวและใช้แบรนด์ AI PC กันมาแล้ว ช่วงปี 2025 เราจะยังเห็น Strix Point จับตลาดบนเช่นเดิม ใช้สถาปัตยกรรมซีพียู Zen 5 สูงสุด 12 คอร์ และจีพียู RDNA 3.5 สูงสุด 16 CU เหมือนเดิม แต่อัพเกรดมาใช้แรมที่เร็วขึ้นเล็กน้อยคือ LPDDR5x-8000 และรองรับแรม DDR5 แบบปกติด้วย
แม้ AMD ทำผลงานได้ไม่ดีนักกับ Ryzen ซีรีส์ 9000 แต่เมื่อออก ซีพียูรุ่นย่อยสำหรับตลาดเกมมิ่ง Ryzen 9000X3D ที่เร่งประสิทธิภาพเกมมิ่งเพิ่มจากพลัง 3D V-Cache ก็ส่งผลให้ซีพียู Ryzen 7 9800X3D ขายดีมากจนสินค้าขาดตลาดในหลายประเทศ ทั้งในอเมริกาและยุโรป ส่วนร้านค้าในบางประเทศถึงกับมีการต่อคิวหน้าร้านด้วย
ผลการรีวิว Ryzen 7 9800X3D ออกมาดี ถือเป็นซีพียูเกมมิ่งที่แรงที่สุดในตลาดตอนนี้ โดย Tom's Hardware รีวิวได้ผลว่าเร็วกว่าซีพียูรุ่นก่อนหน้า 7800X3D ประมาณ 15%
Robert Hallock ผู้บริหารของอินเทลให้สัมภาษณ์กับช่อง HotHardware ยอมรับปัญหาของ ซีพียู Core Ultra 200S หรือ Arrow Lake ที่ให้ประสิทธิภาพของการเล่นเกมไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับซีพียูเจ็นก่อนหน้า Raptor Lake
Hallock บอกว่าสาเหตุของปัญหาเกิดจากทั้ง BIOS และการตั้งค่าระดับ OS ผสมผสานกัน และอินเทลกำลังเตรียมออกแพตช์แก้ปัญหาให้ประสิทธิภาพของซีพียูออกมาดีขึ้น แต่ยังไม่บอกว่าจะออกแพตช์มาเมื่อไร
ที่มา - Tom's Hardware
ของใหม่อย่างหนึ่งของ Core Ultra 200V หรือโค้ดเนม Lunar Lake คือการฝังหน่วยความจำลงในตัวแพ็กเกจชิปเลย (on-package memory) แบบเดียวกับชิปตระกูล M ของแอปเปิล ข้อดีของแนวทางนี้คือลดการใช้พื้นที่ลง และลดระยะการส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับหน่วยความจำลงได้
อย่างไรก็ตาม Pat Gelsinger ซีอีโอของอินเทล กล่าวในงานแถลงผลประกอบการว่า สถาปัตยกรรมแบบนี้จะใช้ครั้งเดียวใน Lunar Lake เท่านั้น โดยชิปโน้ตบุ๊กรุ่นถัดๆ ไปอย่าง Panther Lake, Nova Lake จะกลับไปใช้หน่วยความจำแยกจากตัวชิปเหมือนเดิม (off-package memory)
AMD เผยรายละเอียดของ Ryzen 9000X3D ซึ่งเป็นซีพียูเกมมิ่งแกน Zen 5 ที่ใช้แคชแนวตั้ง 3D V-Cache ตามที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ โดยชูว่า "the king of gaming processors is back"
ซีพียูตัวแรกที่เปิดตัวออกมาคือ AMD Ryzen 7 9800X3D มีจำนวนคอร์ 8 คอร์ 16 เธร็ด ( เท่ากับ Ryzen 7 9700X แต่ต่ำกว่า 9900X ที่มี 12 คอร์ ) คล็อค 4.7/5.2GHz, แคช L2+L3 104MB, ใช้กระบวนการผลิต TSMC 4nm
ตัวเลขเบนช์มาร์คของ AMD โชว์ว่า 9800X3D มีประสิทธิภาพเล่นเกมดีกว่า 7800X3D รุ่นก่อนหน้า สูงสุด 26% ในเกม Hogwarts Legacy ในขณะที่บางเกมอย่าง Cyberpunk 2077 มีประสิทธิภาพดีขึ้นเพียง 1%
กูเกิลเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ตระกูล C4A ใช้ ซีพียู Axion ที่เปิดตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยชูประเด็นความคุ้มราคาดีกว่า x86 ที่ขนาดเท่ากันสูงสุดถึง 65% และยังระบุว่าดีกว่าชิป Arm ของคู่แข่งอยู่ 10% แม้จะไม่ระบุว่าเป็นของคลาวด์รายใด
เมื่อแยกตามประเภทงาน C4A ดีกว่า x86 แตกต่างกันไป เช่น SPEC 2017 ทดสอบการประมวลผลเลขจำนวนเต็มประสิทธิภาพดีกว่ามาก แต่ดีกว่า 30% เมื่อเป็น MySQL และ 35% เมื่อเป็น Redis
เครื่องมีให้เลือก 3 กลุ่ม ได้แก่ Standard 1 คอร์ต่อแรม 4GB, High CPU 1 คอร์ต่อแรม 2GB, และ High Memory 1 คอร์ต่อแรม 8GB อัดสุดได้ 72 คอร์ แรม 576GB พร้อมเน็ตเวิร์ค 100 Gbps
มีให้ใช้งานทั้งสหรัฐฯ, ยุโรป, และสิงคโปร์แล้ววันนี้
ปี 2024 เดินทางเข้ามาใกล้สิ้นปี ในปีนี้เราเห็นการมาถึงของสถาปัตยกรรม Zen 5 ทั้งฝั่งเดสก์ท็อป Ryzen 9000 และฝั่งโน้ตบุ๊ก Ryzen AI 300 แต่ก็มิวาย AMD ยังรักมั่นกับซีพียูสถาปัตยกรรม Zen 3 ที่ออกครั้งแรกในปี 2020 โดยเมื่อกลางปีได้ออก Ryzen 5900XT และ 5800XT รุ่นอัพเกรดคล็อคเล็กน้อยสำหรับคนที่ยังมีเมนบอร์ดซ็อคเก็ต AM4
แม้ว่า Intel และ AMD เพิ่งจับมือตั้งกลุ่มพัฒนาสถาปัตยกรรม x86 แต่นอกจากนั้นแล้ว ทั้งสองยังเป็นคู่แข่งกันโดยตรง
ในโอกาสที่ Intel เตรียมวางขาย Core Ultra 200 Arrow Lake ซีพียูเดสก์ท็อปตัวใหม่ในวันที่ 24 ตุลาคม ฝั่ง AMD ก็โต้กลับทันที ด้วยการลดราคา ซีพียู Ryzen 9000 Series ที่เริ่มวางขายตั้งแต่เดือนสิงหาคม ลงจากเดิม โดยซีพียูรุ่นเรือธง Ryzen 9 9950X ลดราคาลง 50 ดอลลาร์ ส่วนรุ่นรองลงไปคือ 9900X, 9700X, 9600X ลดราคาลง 30 ดอลลาร์
ตำนานการพัฒนาชุดคำสั่งแบบ 64 บิตของซีพียูตระกูล x86 นั้น เราเข้าใจกันว่าอินเทลเลือกแทงข้างสถาปัตยกรรมใหม่ IA-64 ในซีพียู Itanium ซึ่งพ่ายแพ้ให้กับ AMD64 ที่เป็นส่วนต่อขยายของชุดคำสั่ง 32 บิตดั้งเดิม จนภายหลังอินเทลต้องซื้อไลเซนส์ AMD64 มาใช้งานภายใต้ชื่อ x86-64 แทน
อย่างไรก็ตาม ตำนานเล่าขานนี้อาจต้องเขียนใหม่ เพราะ Bob Colwell อดีตหัวหน้าทีมสถาปัตยกรรม x86 ของอินเทลในยุค Pentium 4 ไปตอบกระทู้ใน Quora เปิดเผยว่า Pentium 4 มีชุดคำสั่ง x86-64 ของตัวเอง แต่ถูกปิดการทำงานเอาไว้ เพราะฝ่ายบริหารของอินเทล (ยุคนั้น) ต้องการผลักดัน Itanium มากกว่า