ปัจจุบัน การให้บริการด้านสุขภาพของประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนสู่การเป็น Smart Hospital หรือโรงพยาบาลอัจฉริยะ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลภาครัฐ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ เพื่อสนับสนุนการจัดระบบบริการภายในโรงพยาบาล ลดขั้นตอนการปฏิบัติ และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการที่มีคุณภาพดี มีความปลอดภัย และทันสมัยอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์โรงพยาบาลอัจฉริยะ มีเป้าหมายเพื่อให้สามารถจัดการต้นทุนได้มีประสิทธิภาพ บริหารจัดการได้คล่องตัว และลดความเสี่ยง เพื่อให้คุณภาพของการให้บริการที่ดีในทุกด้าน ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ดังนั้น Smart Hospital จึงให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในหลายมิติ อาทิ
- Smart Place/Infrastructureวางมาตรฐานการจัดสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลที่ทันสมัย (Digital Look) และได้เกณฑ์ด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อม
- Smart Toolsการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ให้มีความถูกต้องแม่นยำ สะดวกรวดเร็ว ลดความเสี่ยง ลดระยะเวลา เพิ่มความปลอดภัย และเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการ - Smart Servicesด้วยการบริหารจัดการกระบวนงานที่มีประสิทธิภาพ เช่น การจัดเก็บข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยด้วยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (EMR : Electronic Medical Records) การกดรับบัตรคิวผ่านแอปพลิเคชัน การแจ้งลำดับคิวผ่านแอป การลดระยะเวลารอคอยรับบริการ การมีบริการนัดหมายแบบเหลื่อมเวลา หรือมีการจัดกลุ่มผู้รับบริการ ได้รับบริการตรงเวลาหรือแตกต่างเล็กน้อยอย่างเหมาะสม
- Smart Outcomeโดยการเชื่อมโยงระบบบริหารจัดการงานและระบบสารสนเทศอย่างอัตโนมัติ โดยนำระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) มาใช้ในระบบหลักของโรงพยาบาล
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมาทำให้ระบบสาธารณสุขเป็นแกนกลางสำคัญของการฝ่าวิกฤติ COVID-19 บุคลากรในโรงพยาบาลต้องทำงานอย่างหนักเพื่อให้บริการเดินหน้าไปได้ จึงยิ่งทำให้การให้บริการด้านสุขภาพแบบ Smart Hospital ต้องเร่งพัฒนาอย่างรวดเร็ว
“แอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อระหว่างโรงพยาบาลและคนไข้” จึงกลายเป็นเครื่องมือดิจิทัล ที่มีความสำคัญสำหรับโรงพยาบาลในช่วงโควิด-19 เช่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโรงพยาบาลรัฐที่มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เพราะนอกจากให้ความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้บริการแล้ว ยังสามารถช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ได้ จากการลดงานเอกสารที่ไม่จำเป็น เพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยด้วยการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นได้รวดเร็วและแม่นยำ และยังเพิ่มประสบการณ์ที่ดีต่อการรักษาให้กับผู้ป่วย รวมทั้งลดระยะเวลาที่ผู้ป่วยต้องใช้รอคิวหรืออยู่ที่โรงพยาบาล ที่จะลดความแออัดที่โรงพยาบาล จึงทำให้ลดความเสี่ยงของโควิด-19 อีกด้วย
ทางธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นทั้งผู้นำด้านดิจิทัลแบงก์กิ้งอย่างแอป K PLUS รวมทั้งมี KBTG ซึ่งเป็น Tech Company ของตนเอง จึงตั้งใจที่จะนำศักยภาพด้านดิจิทัลเทคโนโลยีของตนเองไปช่วยพัฒนาด้านต่างๆ ให้กับสังคมไทย โดยธนาคารได้เข้าไปร่วมมือและให้การสนับสนุนโรงพยาบาลต่างๆ ในการให้คำแนะนำการวางโครงสร้างของแพลตฟอร์ม Digital Healthcare อีกทั้งยังมีส่วนช่วยสนับสุนการพัฒนาแอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อการให้บริการระหว่างคนไข้และโรงพยาบาลให้ทุกคนที่อยู่ในระบบการให้บริการ ได้รับความสะดวก รวดเร็ว
ปัจจุบัน ธนาคารกสิกรไทยได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลรัฐ 5 แห่ง ได้แก่ รพ. จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, รพ. ชลบุรี,รพ. ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, รพ. ราชวิถี, และสถาบันประสาทวิทยา พัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อให้คนไข้ของโรงพยาบาล ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยนอกรวม 4 ล้านราย สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพในรูปแบบดิจิทัล และช่วยขับเคลื่อนให้โรงพยาบาลได้ก้าวสู่การเป็น Smart Hospital สามารถจัดการบริการให้คนไข้สามารถเข้ารับบริการได้สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น
แอปพลิเคชั่นที่ธนาคารกสิกรไทยได้ร่วมมือพัฒนากับโรงพยาบาลทั้ง 5 แห่ง ประกอบด้วย
- Chula Care โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- CBH PLUS โรงพยาบาลชลบุรี
- TUH for All โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
- RJ Connect โรงพยาบาลราชวิถี
- NIT PLUS สถาบันประสาทวิทยา
โจทย์หลักที่ทางธนาคารกสิกรไทยได้อาศัยความเชี่ยวชาญในการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลของตัวเองและนำมาร่วมแนะนำการพัฒนาแอปฯ ของโรงพยาบาล คือการสร้างประสบการณ์การใช้งานให้ง่าย ไม่สับสน ผู้ป่วยสามารถจัดการขั้นตอนต่างๆ ได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังต่อยอด Ecosystem ด้านการเงินของธนาคารฯ มาพัฒนาฟีเจอร์ที่เชื่อมกับบริการด้านการชำระเงินผ่านแอปหรือบัตรเครดิตและบัตรเดบิตได้ในตัว รวมถึงการบริจาคเงินให้กับโรงพยาบาลก็ทำได้ผ่านแอปฯ ได้โดยตรงเช่นกัน*
ฟีเจอร์ที่มีในแอปพลิเคชันเหล่านี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ธนาคารกสิกรไทยทำงานร่วมกับโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงบริการเป็นรูปแบบดิจิทัล ในอนาคตจะมีการเพิ่มฟีเจอร์เพื่อให้การรับบริการผ่านแอปพลิเคชันทำได้เต็มรูปแบบยิ่งขึ้น เช่น บริการพบแพทย์ผ่านแอปพลิเคชันโดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล, การบริการลงทะเบียนผู้ป่วยจากในแอปพลิเคชันได้โดยตรง ฯลฯ
แนวทางเช่นนี้ไม่ได้หยุดแค่ 5 โรงพยาบาลและคนไข้ 4 ล้านรายเท่านั้น แต่ทางธนาคารกสิกรไทยยังขยายความร่วมมือกับโรงพยาบาลต่างๆ เพิ่มเติม โดยเตรียมร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ร่วมกันพัฒนาแอปพลิเคชันให้กับ 11 โรงพยาบาลภายใต้สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครต่อไป การขยายความร่วมมือต่อเนื่องเช่นนี้ทำให้ธนาคารกสิกรไทยมีส่วนร่วมที่ทำให้ระบบสาธารณสุขเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ และที่สำคัญคือการนำความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลของธนาคารกสิกรไทย มาสร้างประโยชน์ให้ประชาชนในวงกว้างโดยสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้สะดวก รวดเร็ว ลดเสี่ยงโควิดในยุคนิวนอร์มอล
*บางฟีเจอร์ใช้กับเฉพาะกับแอปพลิเคชันของบางโรงพยาบาล อยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อนำไปใช้กับแอปพลิเคชันของทุกโรงพยาบาล
ที่มาข้อมูล Smart Hospital : จากเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข
Comments
เห็น ศิริราชใช้ app ที่เขียน โดย SCB อยู่
เจ้านั้นเหมือนเขียนครอบครับ จะมีปัญหาฐานข้อมูลบัตรผู้ป่วยบางส่วนไม่ซิงค์กัน ประมาณว่าใน app บอกใช้ได้ แต่ตู้กดบัตรคิวบอกว่าไม่มี แล้วโดนไล่ไปทำบัตรที่ชั้นล่างใหม่
กสิกรไทยทำชักเสียวๆ แฮะ เพราะขนาดวันนี้ระบบ payment online บัตรเครดิทล่ม ก็ยังงุบงิบไม่แจ้งอะไรเป็นทางการเลย - -'
Editลองเช็คดู สรุประบบชำระเงิน Verified by VISA, MasterCard SecureCode, J/Secure ของที่นี่ล่มมา 5 วันแล้วนี่นา orz
ควรทำระบบฐานข้อมูลให้ รพ. ทั่วประเทศใช้ด้วยครับ รพ.ไทยจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าไถ่แฮ็คอีก ?