รัฐบาลอินโดนีเซีย นำโดยกระทรวงสื่อสารและสารสนเทศ (Communications and Information Ministry หรือ Kominfo) บล็อกบริการออนไลน์ยอดนิยม 8 รายการ ได้แก่ Yahoo, PayPal, Xandr และบริการเกมออนไลน์ยอดนิยมคือ Steam, Epic Games, Origin, Dota, Counter-Strike เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ electronic services providers (ESPs) ตามกฎกระทรวงปี 2020 ของอินโดนีเซีย
Semuel Abrijani Pangerapan ผู้อำนวยการฝ่ายจดทะเบียนผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ ออกมายืนยันข่าวการแบนนี้ โดยให้ข้อมูลว่ามีผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์จากอินโดนีเซีย 8,000 ราย และต่างประเทศ 200 รายมาจดทะเบียนเรียบร้อยตามกำหนด
กฎกระทรวงฉบับนี้กำหนดให้แพลตฟอร์มออนไลน์ต้องลบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการ
ที่มา - The Jakarta Post
Comments
เห็นด้วยนะ เพื่อความมั่นคงทาง digital
แผลบๆๆ ชอบเผด็จการก็ไม่บอก 👅👢
เกี่ยวไรครับ ยุโรปเค้าก็มีกฏหมายลักษณะนี้
เลอะเทอะมาก เหอ ๆ
กฏหมายเขาขอให้มาลงทะเบียนตามหลักประชาธิไตยมาลงทะเบียนก็เปิดได้ปกติ ไม่มาลงก็เปิดไม่ได้
น่าเบื่อพวกคลั่งประชาธิปไตยจริงๆ
ลงทะเบียนและต้องลบเนื้อหาที่ "ไม่เหมาะสม" ด้วยนั่นเหรอครับคำว่าไม่เหมาะสมก็ขึ้นกับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่อีกต่างหาก
สวัสดีฮะ สมาชิกสมรมคนชอบ Woke
Preventing authoritarianism isn't the same thing as woke stuff
งวดนี้แปลกตรงพวกโซเชี่ยวแบบ twitter,fb ก็เข้าไปจดทะเบียนตามกฏปรกติแฮะ
กลุ่มที่โดนบล็อคน่าจะคิดว่าตัวเองไม่เกี่ยวมั้งเลยไม่ได้ไปจดทะเบียน
ผู้ให้บริกาาร --> ผู้ให้บริการ (2 ที่เลยครับ)
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
สมกับเป็นประเทศสมาชิก ASEAN ดินแดนแห่ง authoritarian
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
นึกถึงคำขวัญ AEC เลยครับ "อาเซียนร่วมใจ"
ร่วมใจย้อนยุคกันจริงๆ
ทำไมตอนยุโรปทำเราถึงสนับสนุน ทำไมพออาเซียนทำเราถึงหาว่าเป็นพวกล้าหลังครับ รบกวนอธิบายเพื่อเบิกเนตรผมที
มีความย้อนแย้งแหละครับ
US & EU ออกกฎอะไรก็เฮโลเชียร์อัพกันทั้งสิ้นแต่ Asia, Asean หรือไทยทำอะไร ก็เผด็จการทั้งหมด
ก็มีมาตรฐานดีครับ :)
+1
+1024
วิเคราะห์แบบจริงจัง... น่าจะเป็นความเชื่อใจที่มีต่อรัฐบาลอาเซียนละมั้งครับ? ก็คือกลัวว่ารัฐบาลในอาเซียนจะใช้มันในทางที่ไม่ชอบนั่นแหละ
จะเรียกว่าอคติก็ไม่ผิดซะทีเดียว แต่ถ้าบางรัฐบาลในอาเซียนก็อาจจะเคยมีประวัติแบบนั้นจริงๆ (ผมไม่รู้นะว่าประเทศไหนมีประวัติแบบนั้นบ้าง) ก็ไม่แปลกใจที่คนจะกลัวกัน
ปล แต่ EU มีกฎให้ลบเนื้อหาไม่เหมาะสมจากรัฐหรืออะไรทำนองนี้ด้วยเหรอครับ? ผมไม่ได้อ่านละเอียด
"ในกรณีที่เป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ (very large online platforms หรือ VLOP) ยังมีหน้าที่ต้องนำเนื้อหาที่อันตราย (harmful ซึ่งอาจไม่ผิดกฎหมาย) และข่าวปลอมออกจากแพลตฟอร์ม รวมถึงต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานอิสระ และเปิดเผยอัลกอริทึมที่ใช้คัดเลือกเนื้อหามาแสดงด้วย"
ยกจากข่าวเก่าของEUนะครับ
มันไม่เห็นจะเหมือนกับกฎหมายของเพื่อนบ้านอาเซียนเราเลย ที่มีหน้าที่ลบข้อมูล ถ้าได้รับคำสั่งจากรัฐภายในเวลาจำกัด
ของEU นี่มีองค์กรอิสระตรวจสอบและไม่ได้พูดถึงการทำหน้าที่ลบตามคำสั่งรัฐสักนิดเดียว
https://www.blognone.com/node/126857
ขอบคุณที่ลงlinkครับ ซึ่งก็ไม่ได้ขัดแย้งกับที่ผมพูดเลย เพราะผมก็ยกข้อความจากในนั้นมานี่แหละ
ประเด็นสำคัญคือ EU ไม่ได้ออกกฎหมายที่มีคำสั่งให้ลบเนื้อหาตามคำสั่งของรัฐ แบบเดียวกับอินโดฯ ไงครับ
ส่วนการจะตีความว่าหน้าที่การลบข่าวปลอม ก็คือคำสั่งรัฐ เข้าใจว่าเขาก็ต้องมีองค์กรอิสระ เข้ามาตรวจสอบ ไม่ใช่ด้วยคำสั่งของรัฐชี้ว่าอันไหนคือข่าวปลอม
ความน่าเชื่อถือของรัฐบาลกับความโปร่งใสนี่แหละที่เป็นตัวตัดสิน ซึ่งผมว่าไม่ว่าจะของประเทศไหนทำก็ควรค้านหมดแหละ
หลายคนน่าจะพลาดอ่านข่าวนี้นะ รัฐสภายุโรปผ่านกฎหมายบริการดิจิทัล มีหน้าที่ต้องลบเนื้อหาผิดกฎหมาย-ข่าวปลอม
เคสนี้น่าจะเรียกว่า allies paradox มั้งนะ พอเป็นพวกที่มีความคิดคล้ายๆกับตนก็บอกว่าให้หยวนๆหน่อย แต่พอเป็นพวกที่อยู่ตรงข้ามก็มักจะค้น (ซึ่งมันก็ควรจะค้านไอพวกกฏหมายที่ให้สิทธิในการควบคุมข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะมาจาก liberal regime or authoritarian regime ด้วยซ้ำ)
อ้าว แล้วจะด่า anjing กับใครล่ะ มาเลย์?
Paypal ไม่มี feed นี่ครับ ผมงงเขามีเนื้อหาอะไรที่ไม่เหมาะสมครับ? หรือผมพลาดอะไรไปเลยไม่รู้ว่าเขามี content อยู่ด้วย?
electronic services providers
เดี๋ยวนะ กฎหมายอันนี้มันไปเหมือนกับของ EU ยังไง อันนี้คือเรียกให้ content provider มาลงทะเบียนกับรัฐ ถ้ารัฐเจอ content ที่เห็นว่า "ไม่เหมาะสม" จะต้องลบออกภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งโคตรกว้าง
ผมก็ว่าแบบนั้นเหมือนกัน ขอคัดบางส่วนจากในข่าวมาอธิบายก็แล้วกัน
"ในกรณีที่เป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ (very large online platforms หรือ VLOP) ยังมีหน้าที่ต้องนำเนื้อหาที่อันตราย (harmful ซึ่งอาจไม่ผิดกฎหมาย) และข่าวปลอมออกจากแพลตฟอร์ม รวมถึงต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานอิสระ และเปิดเผยอัลกอริทึมที่ใช้คัดเลือกเนื้อหามาแสดงด้วย"
ซึ่งตรงนี้ทาง Social Media ต้องเป็นคนดำเนินการคัดกรองข่าวเอง แล้วลบข่าวปลอมหรือข่าวที่ไม่เหมาะสมออกในระยะเวลาที่กฎ EU ระบุ, แสดงขั้นตอนการเลือกนำเสนอข่าวให้ทาง EU เห็น แล้วต้องมีการตรวจสอบข่าวจากหน่วยงานอิสระ ที่ไม่ขึ้นกับภาครัฐใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงในข่าวที่นำเสนอ
แต่ของอินโดฯ ที่เป็นปัญหาในข่าว คือทางหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจะเป็นคนติดสินเองว่าข่าวไหน "ไม่เหมาะสม" ในอินโดนีเซีย และต้องถูกลบตามกฎหมายที่ระบุ โดยไม่สนว่าข่าวที่ว่านั้นจะจริงเท็จแค่ไหน และขอบเขตค่อนข้างกว่างอย่างที่บอกเลย
มันจะต่างกันตรงนี้ครับ แค่ว่าการลงทะเบียนเพื่อให้เข้าไปบริการในประเทศนั้นเป็นเรื่องหนึ่งที่ทุกบริษัทต้องทำในทุกประเทศ แต่ดันมีกฎหมายตัวนิ้พ่วงมาด้วย เลยเกิดปัญหาตรงนี้ครับ แล้วความเห็นในนี้บางส่วนก็น่าจะติดใจที่ตรงนี้ด้วย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
อ่านจบแล้วผมถึงกับกุมขมับเลยครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ของEU นี่มันคือต้องตรวจสอบแล้วสอบอีก กับมีหลายด่านที่ต้องฝ่า แต่ไอ้กฏหมายนี้มันกว้างเกินจนน่าห่วงจริงๆ
จะมีพรรคประชาธิปไตยพรรคไหนบ้างนะที่เสนอ THEXIT หรืออะไรที่คล้ายๆBrexit ซักที เจอสภาพอาเซียนนี่อยากออกให้พ้นๆเลย
เห็นหลายคนมีความเห็นแตกต่างกันไป แต่อยากให้แยกแยะระหว่างความมั่นคงทาง digital ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการต่างชาติอยู่ภายใต้กฏหมายเดียวกันกับผู้ให้บริการภายในประเทศ แยกกับเสรีภาพการแสดงออก
กฏหมายออกมายังไงมันต้องไม่ขัดรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศนั้นๆอยู่แล้ว แต่รัฐธรรมนูญแต่ละประเทศมันไม่เท่ากัน ส่วนรัฐธรรมนูญจะมีความเสรีมากแค่ใหนก็ต้องเป็นเรื่องของคนในประเทศนั้นๆที่ต้องช่วยกันกำหนดกฏเกณฑ์กันไป แต่ในที่นี้ไม่อยากต่อประเด็นทางการเมือง เพราะจะยาว
ส่วนตัวเห็นด้วยกับการควรมีกฏหมายให้ผู้ให้บริการต่างชาติอยู่ภายใต้กฏหมายเดียวกันกับผู้ให้บริการภายในประเทศ ส่วนเรื่องขอบเขตของกฏหมายไม่ว่าผู้ให้บริการต่างชาติหรือในประเทศก็ต้องอยู่ในขอบเขตเดียวกัน ส่วนเรื่องการใช้อำนาจเกินขอบเขตของรัฐธรรมนูญ ผิดถูกก็คงต้องเป็นหน้าที่ฝ่ายกฏหมายและประชาชนของประเทศนั้นๆ
ปล. ถึงแม้ไม่เห็นด้วยยังไงก็ไม่ควรว่าผู้อื่นเผด็จการ หรือยัดเยียดข้อหาต่างๆ ซึ่งไม่ไช่แนวทางประชาธิปไตยแน่นอน ไม่เห็นด้วยยังไงก็แค่โต้แย้ง ให้เหตุผลมาแค่นั้น admin ก็ควรทำหน้าที่ให้ดีกว่านี้
ผมคิดว่าคงไม่มีเพื่อนสมาชิกคนไหน ไปกล่าวหาว่าสมาชิกคนใดเป็นผู้นำเผด็จการหรอกมั๊ง
แต่การกระทำที่เป็นเผด็จการ ผมว่ามันวิจารณ์ได้ โต้แย้งได้ ถ้าคิดว่าไม่ใช่เผด็จการก็อภิปรายกลับมา
ส่วนกฎหมายใดๆ เป็นอธิปไตยของแต่ละชาติก็ใช่ครับ แต่อย่างกฎหมายปาหินจนตายของการที่เด็กผู้หญิงเปิดหน้าให้ชายคนอื่นเห็นหรือแอบหนีไปเที่ยวกับแฟน ของบางประเทศใช้กฎหมายศาสนาเป็นหลักของประเทศ คุณคิดว่ามันสมเหตุสมผลแค่ไหน และจำเป็นต้อง"เห็นด้วย"เพียงเพราะเป็น"สิทธิ์"ของผู้นำประเทศนั้นๆในการออกกฎหมาย?
อาจไม่ตรงเรื่อง แต่จะยกมาเพื่อให้เห็นว่า เราสามารถวิจารณ์"กฎหมาย"ที่ดูไม่สมเหตุสมผล ในมุมของยุคสมัยใหม่ได้ครับ โดยไม่จำเป็นต้องยอมรับเพียงเพราะเราไม่ใช่ผู้นำของเขา
"ผมคิดว่าคงไม่มีเพื่อนสมาชิกคนไหน ไปกล่าวหาว่าสมาชิกคนใดเป็นผู้นำเผด็จการหรอกมั๊ง" มีแน่นอนครับ อาจจะไม่แบบตรงๆ แต่เฉียดๆ มันก็ไม่ดีทั้งนั้นแหละครับ ต้องยอมรับว่ามีคนพวกนี้จริงๆ
ส่วนเรื่องอื่นๆผมคงไม่มีอะไรโต้แย้ง เพราะผมก็ไม่ได้เห็นด้วยกับกฏหมายลิดลอนสิทธิ์ แต่ผมก็สนับสนุนกฏหมายที่ปกป้องสิทธิ์ของพลเมืองนั้นๆ(ต่างชาติกับคนในชาติอยู่ภายใต้กฏเดียวกัน) จริงๆเราอาจจะคุยเรื่องเดียวกัน แต่มุมมองไม่ตรงกัน ผมมองว่าถ้ามันลิดลอนสิทธ์มันเป็นมีปัญหาตั้งแต่รัฐธรรมนูญแล้ว ถ้ากฏหมายมันละเมิดรัฐธรรมนูญ มันก็ต้องเข้ากระบวณการตามกลไลของรัฐนั้นๆ แต่ถ้ามันผ่านแสดงว่ารัฐธรรมนูญยอมให้ทำ เราก็วิจารย์ผิดที่แล้วหละ ผมถึงได้บอกให้แยกแยะ
ลองเปลี่ยนจากมุมมอง "นักกฎหมาย" เป็น "ประชาชน" ดูก่อนนะครับ
ลิดรอนสิทธิ์หรือไม่ ก็ลองสมมติตัวเองเป็นประชาชนในประเทศนั้นแล้วโดนบังคับใช้กฎหมายนั้นดูครับว่ารู้สึกยังไง มองแค่นี้ก็พอ ไม่จำเป็นต้องมองไปลึกถึงกฎหมายอื่นๆหรือรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ว่ากฎหมายที่เหนือกว่านั้นหรือรัฐธรรมนูญจะดีหรือไม่ดีหรือเขียนไว้ว่าอย่างไร มันก็ไม่ได้ทำให้ความรู้สึกที่มีต่อกฎหมายตัวนี้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใดครับ
พูดง่ายๆ กฎหมายที่ไม่ดี ไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร มันก็ยังเป็นกฎหมายที่ไม่ดีอยู่วันยังค่ำครับ ไม่มีทางเปลี่ยนให้มันเป็นกฎหมายที่ดีได้ (ย้ำอีกทีว่าในมุมมองของประชาชนที่ถูกบังคับใช้กฎหมายนะ ไม่ใช่ในมุมมองของนักกฎหมาย) เพราะงั้นการที่วิจารณ์กฎหมายนั้นๆมันก็ถูกที่แล้วครับ
ผมไม่คิดว่าจะมีคนแบบว่า "ไม่ชอบกฎหมายนี้เลย อ๊ะ แต่รัฐธรรมนูญเขาว่าแบบนี้นี่นา งั้นชอบกฎหมายนี่ละ" หรอกครับ
คงต้องดูคุณภาพปชก.ด้วย
ตัวอย่าง กม.จราจร
ขี่มอเตอร์ไซต์บนทางเท้า
ขับ&ขี่ย้อนศร
ขับเร็วเกิน กม.กำหนด
ขับบนไหล่ทาง(ตอนรถติด)
ขี่แทรกมุดระหว่างเลน
ขี่ชูนิ้วกลางใส่รถคันอื่น
รถแต่งซิ่ง รถควันดำ รถเสียงมลพิษ รถไฟแสบตา
กม.พยายามดี ก็อ้างไม่ดีได้
แถมอ้าง สิทธิ์กู กูจะแหก lol
ส่วนตัวผมเชื่อว่าคุณภาพประชากรมันไม่ได้เกี่ยวกับ DNA แต่มันเกี่ยวกับสังคมที่ประชากรนั้นๆอยู่ทำให้กลายเป็นแบบนี้ ซึ่งกฎหมาย(และการบังคับใช้กฎหมาย)ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่กำหนดทิศทางของสังคมดังกล่าวครับ เพราะงั้นเรื่องคุณภาพประชากรผมมองว่ามันอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลครับ
ถ้าหากจะแก้ไข... ตราบใดที่ยังอำนวยความสะดวกให้อภิสิทธิ์ชนผู้มีเงินมีอำนาจหรือทายาทหรือผู้มีเส้นสายต่างๆอย่างโจ่งแจ้ง ยังไงก็แก้ไม่ได้หรอกครับ เพราะหลายๆเคสคนทั่วไปก็เห็นตัวอย่างแหกกฎจากคนเหล่านั้นนั่นแหละ และมันก็ทำต่อๆกันมาจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา คนบังคับใช้กฎหมายก็ทำอะไรมากไม่ได้เพราะเดี๋ยวไปเตะตาใครเข้า
ปัญหามี วิธีแก้มี แต่คนเรามักเลือกโทษไปที่คนกลุ่มอื่น มันเลยกลายเป็นแก้ไม่เคยจบ
ไอ้ตย.ที่ยกนี้ บางเคส ไม่ได้ เป็นกลุ่มอภิสิทธิ์ชนเลยนะ เห็นกันปกติด้วยซ้ำ lol
"และมันก็ทำต่อๆกันมาจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา" ไงครับ
ถ้าคนธรรมดาส่วนใหญ่กล้าแหกกฎกันไปทั่วจนเป็นเรื่องปกติ ป่านนี้สังคมวุ่นวายกว่านี้อีกเยอะครับ
ลองสังเกตดูครับ เรื่องทำผิดกฎหมายทั้งหลายแหล่ที่คนมักแหกกันเนี่ย มักจะเป็นอะไรกลุ่มอภิสิทธิ์ชนชอบทำกันทั้งนั้น ที่คนธรรมดาส่วนใหญ่กล้าแหกเรื่องพวกนี้เพราะเห็นเขาทำกันนั่นแหละ และในทำนองเดียวกัน เรื่องแหกกฎอื่นๆที่กลุ่มอภิสิทธิ์ชนไม่ได้ทำกัน เราก็ไม่ค่อยเห็นคนส่วนใหญ่ทำเช่นกัน
แล้วก็... มันมีวิธีแก้อะไรที่ประชาชนธรรมดาหนึ่งคนทำได้ด้วยเหรอครับ? อย่าบอกว่าให้ทำตัวเองให้ดีนะ เพราะการที่เราทำดีคนเดียว มันไม่สามารถแก้อะไรได้เลย ต้องให้ทุกคนทำต่างหาก ซึ่งการทำให้ทุกคนทำ มันก็ไม่ใช่อะไรที่ประชาชนธรรมดาหนึ่งคนจะทำได้ครับ
อภิสิทธิ์ชนเขามาขี่แว้นท์ปั้มสก๊อยด้วยเหรอ
"มักจะ" ครับ
และผมว่าผมก็เคยเห็นข่าวเด็กแว้นท์เป็นลูกคนใหญ่คนโตนะครับ
การที่ประชาชนจำนวนมากขี่รถผิดกฎจราจรกัน แต่เรากลับโทษไปที่เอาคนไม่กี่คน(แถมไม่ได้เป็นคนเริ่ม) มาชี้นำว่าคือตัวการนี้มันแปลกๆอยู่นะ
มันเลยวกกลับไปที่คุณภาพประชากร
ตัวอย่างเกาหลี เคยมีลูกคนรวยทำพฤติกรรมแย่ๆจนเป็นข่าวปุ๊บ โดนเล่นทั้งบนยันล่างขณะที่ของเรากลับมีเสียงแตก ถ้าคนที่ทำนั้นเป็นพรรคพวกตัวเอง
ก่อนอื่น... ต้องเอาความคิดที่ว่า "คนผิดมีแค่คนเดียว" หรือ "ต้องโทษคนใดคนหนึ่งเท่านั้น" ออกก่อนครับ
คนแหกกฎยังไงก็ผิดครับ จะอ้างอะไรยังไงก็ผิด โทษเขาได้เลยเต็มที่ ผมไม่ได้บอกเลยว่าคนเหล่านั้นไม่ผิดและไม่ต้องโทษคนเหล่านั้น และไม่ได้บอกเลยว่าคุณภาพประชากรมันไม่ได้ต่ำอย่างที่คุณว่า (แค่บอกว่ามันไม่เกี่ยวกับ DNA แค่นั้นเอง)
แต่นอกจากคนแหกกฎแล้วมันก็มีคนอีกกลุ่มนึงที่เขามีอำนาจและมีความรับผิดชอบต่อการควบคุมสังคม การที่สังคมมันออกมาเป็นแบบนี้ก็โทษเขาด้วยเช่นกัน พูดง่ายๆก็คือผิดทุกฝ่ายนั่นแหละ
แล้วทำไมผมพูดถึงแค่รัฐ? เพราะผมไม่ได้พูดถึงเรื่อง "ต้องโทษใคร/ใครผิด" แต่ผมพูดถึงเรื่อง "เรื่องนี้มันอยู่ในความรับผิดชอบของใครและใครที่สามารถดำเดินการแก้ไขได้" เพราะงั้นผมถึงพูดถึงแค่กลุ่มรัฐที่มีอำนาจในเรื่องนี้แต่ไม่ทำให้ดีครับ
ปล. "ขณะที่ของเรากลับมีเสียงแตก ถ้าคนที่ทำนั้นเป็นพรรคพวกตัวเอง" => คิดว่าเรื่องการเล่นพรรคเล่นพวกทำนองนี้มันมีต้นแบบมาจากคนกลุ่มไหนล่ะครับ?
ใช่ครับ เด็กแว๊นที่เป็นลูกเจ้าของเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดัง เชื่อว่าคุณน่าจะพอเคยเห็นข่าวบ้าง
พฤติกรรมที่ไม่เม้นต์ก่อนหน้าไม่ว่าจะยกตัวอย่างอะไร คุณจะสามารถเห็นได้ในอภิสิทธิ์ชนครับ ขอ +1 กับความเห็นของคุณ iqsk ครับ
เรื่องขี่แทรกมุดระหว่างเลนนี่อาจจะต้องดูสภาพการจราจร ณ ตอนนั้นด้วย เพราะถ้ารถติด ไม่เคลื่อนที่ แต่มีช่องให้รถมอเตอร์ไซค์มุดไปได้ มอเตอร์ไซค์ก็ควรจะมุดออกไปแบบช้าๆ เพื่อลดความหนาแน่น แต่ถ้ารถไหลด้วยความเร็วตั้งแต่ 30 กม./ชม. ขึ้นไปได้ การมุดแทรกเลนนี่จะสร้างปัญหามากกว่าประโยชน์ครับ
เหมือนคนไทยจะถูกบิดให้เข้าใจคำว่า
เสรีภาพ กับ เผด็จการ ให้มันโอเวอร์
โดยไม่ได้เข้าใจมันจริง ๆ เลยนะครับ
เอะอะก็อ้าง เพราะไม่เชื่อใจผู้นำบ้าง อะไรบ้างทั้ง ๆ ที่ทั้งหมดก็เกิดจากการที่ เขาบอกให้เชื่อว่ามันเป็นแบบนั้น ทั้งนั้น
เสรีภาพที่แท้จริง ต้องแลกอะไรหลายอย่างมากเลยนะ
แล้วเผด็จการที่แท้จริง มันเป็นอะไรที่หนักหน่วงมาก ๆ เลยเหมือนกันขนาดประเทศจีน ผมยังมองว่า ไม่ได้เป็นเผด็จการอะไรขนาดนั้นเลย
เพราะภาษีครับ