กูเกิลออก Android Studio Dolphin (2021.3.1) รุ่นเสถียร ตามแนวทางโค้ดเนมชื่อสัตว์เรียงตามตัวอักษร ( รุ่นก่อนหน้านี้คือ Chipmunk (2021.2.1) ออกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2022 ) ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
- ใช้ฐานเป็น Intellij 2021.3 (เลขเวอร์ชันของ Android Studio อิงจาก IntelliJ ที่ใช้งาน แล้วเพิ่ม .x ต่อท้าย)
- Gradle Managed Virtual Devices ให้ Gradle ช่วยจัดการอุปกรณ์เสมือนสำหรับทดสอบ ประหยัดแรงการเซ็ตอัพ, เพิ่มอุปกรณ์เสมือนประเภท Automated Test Device ที่ลดซีพียู-แรมระหว่างรันเทสต์
- Jetpack Compose รองรับ Animation Preview Inspector แล้ว แต่ยังรองรับเฉพาะแอนิเมชันบางอย่าง
- Compose Multipreview Annotations สามารถกำหนดค่าคลาสที่นิยมการพรีวิวตัวอย่าง แล้วนำไปใช้งานหลายๆ ที่ได้เลย ไม่ต้องมานั่งไล่ทำทีละอัน
- Layout Inspector รองรับ Compose Recomposition Counts ดูได้ว่า UI ของแอพเราอัพเดตบ่อยเกินไปไหม
- Wear OS Emulator Pairing Assistant ใช้ทดสอบการเชื่อม (pair) อุปกรณ์เสมือน โดยมือถือเสมือนหนึ่งเครื่อง เชื่อมต่อกับนาฬิกาเสมือนได้หลายเครื่อง
- Wear OS Direct Surface Launch ทดสอบอุปกรณ์ Wear OS ได้เร็วขึ้น เรียกได้จาก Android Studio โดยตรง
Android Studio รุ่นหน้าจะใช้ชื่อว่า Electric Eel เลขเวอร์ชันเป็น 2022.1.1 อัพเกรดไปใช้ IntelliJ 2022.1 ที่ใหม่ขึ้นกว่าเดิม
ที่มา - Android Developers Blog
Get latest news from Blognone
Follow @twitterapi
Comments
compose ทำให้ android เขียนง่ายขึ้นมาก แต่ก็ยังชอบ flutter มากกว่า
สอบถามมุมมอง คนเขียน kotlin หรือ flutter หน่อยครับ ในมุมมองผม kotlin การเขียนแบบเดิม แยก user interface กับ coding(.kt) ออกจากก่อน มันทำให้ง่ายต่อการพัฒนาและง่ายต่อการ integrate ระบบหรือเพิ่ม feature ต่างๆในอนาคตครับ แต่ jetpack compose ที่กำลังจะดันขึ้นมาในปัจจุบัน รูปแบบการเขียนเหมือน flutter เข้าใจครับว่ามันเป็นนวัตกรรมและการปรับปรุงพัฒนาให้มันดีขึ้น แต่... คือ มันมีหลายปีกกา(bracket)ซ้อนกันเป็นชั้น เหมือน flutter เลย {{{{{{{}}}}}}} นี่หรือครับคือการพัฒนา ผมมองว่ามันไม่ได้ friendly กับ developer เลย เวลาจะ integrate หรือ เพิ่ม feature ต่างๆเข้าไปนี่จะไม่นรกเลยหรอครับ ปล.....ส่งสัย คงจะได้ย้ายไปเขียน .net maui ก็ตอนนี้แหละครับ ท่านอื่นๆคิดว่ายังไงบ้างครับ
เรื่อง วงเล็บซ้อนๆ นี่เป็นเรื่องที่ ต้องลดความซับซ้อนด้วยการทำเป็น Component แยกกันออกไปจัดการด้วยวิธีการแบบเดียวกับที่ React, Vue, Angular เป็นอยู่
ส่วนเรื่อง วิธีการเขียนที่เปลี่ยนไปเป็นแบบ Reactive นี่สำหรับผมยังไม่ใช่สิ่งที่จะมาเปลี่ยนการตัดสินใจเท่าไหร่
แต่ถ้าถามว่า จะใช้ไหม ก็ต้องมาดูว่า สิ่งที่ได้คืออะไร
เช่น แบบว่า ถ้าต้องทำแอพ ที่ไปลง TV ด้วย รถยนต์ด้วยการใช้ Compose ลดงานลงได้แค่ไหน
อนาคต Compose จะเปิดประตูโอกาส อะไรให้เราบ้าง