NTSB (National Transportation Safety Board)คณะกรรมการความปลอดภัยด้านการคมนาคมแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ได้ออกแถลงการณ์เพื่อผลักดันให้มีการออกกฎหมายบังคับผู้ผลิตรถยนต์ทำการติดตั้งระบบตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ของคนขับมาในตัวรถยตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจากโรงงาน
ทว่าทาง NTSB ไม่มีอำนาจในการออกกฎหมายดังกล่าวได้ด้วยตนเอง การผลักดันจึงเกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องให้ NHTSA (National Highway Traffic Safety Administration)อันเป็นหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจในการออกกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์และการจราจรให้เป็นผู้ทำหน้าที่ดำเนินการดังกล่าว
หากมีการออกกฎหมายนี้จริงรถยนต์ทุกคันทีถูกนำมาวิ่งบนถนนในสหรัฐอเมริกาจะต้องมีระบบตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจรวมถึงระบบตรวจสอบสมรรถภาพการขับขี่ยานพาหนะของคนขับด้วยระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดชนิดอื่น เพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรืออยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมต่อการขับขี่ด้วยสาเหตุอื่น (เช่นการเจ็บป่วย หรืออาการจากการใช้ยาหรือสารเสพติด) ทำการขับรถยนต์ได้
ไม่เพียงแต่ NTSB เท่านั้นที่ต้องการให้ NHTSA เร่งดำเนินการออกกฎหมายที่ว่านี้ ด้านรัฐสภาของสหรัฐฯ เองยังก็มีบทบาทช่วยผลักดันกฎหมายนี้ด้วยเช่นกัน โดยบทหนึ่งของ กฎหมาย Bipartisan Infrastructure ซึ่งเป็นการออกกฎหมายโดยรัฐสภาเมื่อปี 2021 ว่าด้วยเรื่องการอนุมัติงบลงทุนเพื่อพัฒนาระบบพื้นฐานและปรับปรุงความปลอดภัยการคมนาคมบนถนน ได้ระบุให้ NHTSA เร่งออกกฎหมายนี้ให้ได้ภายในเดือนพฤศจิกายนปี 2024 โดยมีกรอบเวลาให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องปฏิบัติตามภายในระยะเวลา 2-3 ปีหลังออกกฎหมาย
ไม่แน่ว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าหากสหรัฐอเมริกามีการประกาศบังคับใช้กฎหมายนี้จริง อุตสาหกรรมรถยนต์ทุกค่ายทั่วโลกก็อาจทยอยรับเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้กับการผลิตรถยนต์ของตนเอง และอาจมีการประกาศกฎหมายลักษณะคล้ายกันในประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
ที่มา - Ars Technica
Comments
เจอระดับสูงดับเครื่องเลย
กฏหมายไม่แข็งเอง จริงๆเจอดื่ม ติดคุก 20 ปีสถานเดียวก็จบโทษพอๆกับฆ่าคนตายไปเลย เพราะโอากาศสูง
คนไม่ดื่มต้องเสียเงินให้กับอุปกรณ์นี้ด้วยนะเนี่ย
เดี๋ยวมันก็มีพวก Dummy เป่าลมออกมาขายแน่นอน
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
สงสัยต่อไปจะมีฟังก์ชั่น แอลกอฮอล์สูง รถขับไม่ได้ เปิดแอร์นอนได้อย่างเดียว ก็ดีเหมือนกันนะ
ผมว่าเกินเหตุ บางครั้งในชีวิต เราก็จำเป็นต้องแหกกฏเพื่อแก้ปัญหาบางอย่าง ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นก็รับโทษกันไป แต่การเอาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาบงการว่าเราต้องทำอะไร มันก็มากไปนิด
จริงครับ ลองยกตัวอย่างอยู่บ้านที่ห่างจากบ้านคนอื่น นั่งกินเหล้ากัน 2 คน คนนึงเกิดล้มหัวฟาดพื้น แต่อีกคนขึ้นไปขับรถส่งคนเจ็บเข้าโรงพยาบาลไม่ได้จะเป็นยังไง
กรณีนี้ผมว่า ที่น่ากลัวกว่าเรื่องที่คนเจ็บคนแรกไปโรงพยาบาลไม่ทัน คือไอ้คนที่สองพาคนแรกไปคว่ำตายทั้งคู่ครับ
จริง ๆ ได้ยินว่า การกู้ภัยเอง สิ่งที่สำคัญมากคือการที่ตัวคนกู้ภัยต้องไม่เป็นผู้ประสบภัยซะเอง แน่นอนว่า การใช้ระยะเวลาที่สั้นที่สุดเพื่อให้ถึงโรงพยาบาลเป็นเรื่องสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าเรื่องแรกคือต้องไปให้ถึงก่อน ซึ่งผมมองว่าคนขับรถพยาบาลบ้านเราขาดความเข้าใจเรื่องนี้นะ (ขับยังกับรถถูกวางระเบิดเวลา)
นอกเรื่องไปไกล เอาเป็นว่า ถ้าคุณดื่มแอลกอฮอลล์ คุณควรเข้าทำความเข้าใจก่อนว่า ณ.จุดนั้นคุณไม่มีความสามารถในการขับรถแล้วครับ (แน่นอนว่าถ้ามีที่เป่าด้วยก็ดีแหละจะได้วัดกันได้ชัด ๆ)
หรือ + คนอื่นระหว่างทางเข้าไปอีก
ฉุกเฉินแบบนั้นควรเรียกรถพยาบาลครับ
หัวฟาดพื้นคุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่าคุณสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ (สังเกตนักกีฬาเวลา concussion กว่าเค้าจะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้เค้าต้องแน่ใจว่ามันจะไม่กระทบ)จะแน่ใจอย่างไรว่าขับไปเองคุณจะไม่เจอรถติดและไปทัน
รถพยาบาลสามารถเปิดไซเรน และปฐมพยาบาลผู้ป่วยเบื้องต้นได้
ผมมองว่าถ้ามันเป็นเคสฉุกเฉินขนาดที่ต้องขับทั้งๆที่ยังเมาขนาดนั้น... ควรเรียกรถพยาบาลดีกว่านะครับ
ถึงมันจะเป็นขาไปขากลับ แต่คนขับที่เชี่ยวชาญ มีสติครบ และยังสามารถเปิดไซเรนได้ ก็น่าจะเร็วและปลอดภัย(ทั้งตัวเรา ผู้ป่วย และผู้ร่วมใช้ถนน)กว่าเราขับไปเองนะครับ
แน่นอนว่าเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของการเรียกรถฉุกเฉินก็เป็นอีกเรื่องนึงที่ต้องพัฒนาแยกไป
กรณีเรียกรถพยาบาลผมก็คิดเผื่อไว้แล้วครับ แต่ผมหมายถึงกรณีที่คุณอยู่กันแค่ 2 คน เช่นไปเที่ยวกับเพื่อน 2 คน กางเต้นท์ หรือเอาใกล้ๆ ตัวเลยอยู่บ้านนอกตามทุ่งนา โทรหาจะบอกทางอธิบายกันยังไง ที่ผมจะสื่อคือไม่ใช่ทุกที่จะเข้าถึงรถฉุกเฉินได้ หรือได้เร็วพอ
รวมถึงกรณีไม่มีมือหือ หาย แบตหมด บลาๆ ยังไงแล้วผมก็ยืนยันว่าเกินกว่าเหตุครับปล. ไม่ได้เข้าข้างคนกินแล้วขับนะครับ ส่วนตัวผมไม่กิน
ถ้าแบบนั้นมันเข้าข่าย drink responsibly ครับ การดื่มไม่ใช่เรื่องจำเป็น ถ้าดื่มแล้วมีโอกาสทำคนอื่นเดือดร้อนอันนั้นก็ผิดแล้ว
ถ้าบอกว่าแค่คิดเผื่อว่าจะขับรถยังไง ก็คงต้องให้คิดถึง designated driver มากกว่าที่จะคิดว่าถ้าดื่มแล้วจะขับยังไง
ปัญหาสุดวิสัยที่ว่านี่แบบไหนบ้างนะครับ คลื่นยักษ์ถล่มโลกเลยต้องรีบขับรถขึ้นเขาไปแบบเมาๆ จะได้ชนคนอื่นจนถนนขยับไม่ได้หรือเปล่านะ
สมมุตินั่งดื่มอยู่คนเดียว อยู่พ่อแม่เป็นอะไรขึ้นมากลางดึก จำเป็นต้องไปหาทันที แล้วค่าแอลกอฮอล์มันเกินมานิดเดียว รถเลยไปไม่ได้ ผมว่ามันเสียเวลาโดยไม่จำเป็นนะครับ
เหตุการณ์แบบนี้มันเกิดได้สารพัดรูปแบบแหละครับ มันถึงเรียกว่าเหตุสุดวิสัย
มีหลายเหตุการณ์ในชีวิตผม ที่ผมรู้สึกโชคดีว่า ผู้คุมกฎของพวกเราเป็นคนไม่ใช่หุ่นยนต์
ผมเคยจอดมอไซต์และโดนขโมยหมวกกันน็อค ตอนนั้นสามทุ่ม ตจว ไม่มีรถเมล์ เพื่อนสนิทก็ทำงาน กทม กันหมด ไม่รู้มีใครกลับบ้านบ้าง ที่สำคัญคือจอดไม่กี่ชั่วโมงหมวกหาย ปล่อยไว้ทั้งคืนไม่รู้จะเหลือแต่ล้อหรือเปล่า เลยขับกลับไปแบบนั้น เจอตำรวจตั้งด่าน เขาถามว่าหมวกไปไหน ผมบอกว่าโดนขโมย วันนี้เลย เขายืนมองพักนึงก็ปล่อยไป นึกภาพว่ามอไซต์ผมมีกล้องอัจฉริยะตรวจจับได้ว่าผมไม่มีหมวก เลยออกรถไม่ได้ ผมว่าไร้สาระมาก
ปล. ผมไม่ดื่มนะครับ
ถ้าแบบตัวอย่างแรก
พ่อแม่ก็ตายเพราะลูกดื่มเหล้า ไม่ใช่เพราะรถไม่ยอมให้ขับ
เพราะถ้าปล่อยให้ขับ พ่อแม่คนอื่นอีกหลายคนอาจจะต้องตายตามไปอีก
ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ห้ามขับมันเกิดจากสถิติและงานวิจัย แต่คนที่เมานิดหน่อยแล้วขับได้ มันคือประสบการณ์ส่วนบุคคล มันเอามาเทียบกันไม่ได้
ก็รับโทษไปตามกฎหมายครับ ทำอะไรต้องรับผิดชอบ
แต่ผมไม่เห็นด้วยที่จะเอาอุปกรณ์แบบนี้มาบงการเรา
นี่แหละที่ผมจะสื่อ
อย่าเรียกดื่มเลยครับ เหมือนจะเท่เลยนะ ผมก็ดื่ม น้ำเปล่าอ่ะ 5555 คนชอบกินเหล้าก็แค่คนโง่ครับ
การยกตัวอย่าง extreme case แบมโนมาขัดแย้งกับกฎหมายที่จะเป็นประโยชน์กับคนทั้งประเทศแบบนี้ผมว่าไม่ค่อยมีประโยชน์นะครับ เพราะปกติตอนร่างกฏหมายเค้านับจากสถิติอยู่แล้ว ลองคิดในมุมกลับนะครับ ถ้าไม่มีกฏหมายนี้ แล้วคนที่เมาแต่ขับรถไปส่งคนเจ็บที่บ้านแล้วรอดปลอดภัยไม่เกิดอุบัติเหตุ(ซึ่งไม่รู้ว่ามันเคยเกิดขึ้นมาก่อนรึเปล่าบนโลกใบนี้) เทียบกับถ้ามีแล้วจะช่วยคนที่เมาแล้วขับ, คนเดินถนน, ผู้ใช้รถคนอื่น ผมบอกเลยครับ มันเทียบกันไม่ได้ แล้วเคสพวกนี้มีการเกิดขึ้นจริงแล้วด้วยที่มีการเสียชีวิต บาดเจ็บ พิการ บางบ้านขาดหัวหน้าครอบครัว ลูกบางคนต้องเป็นกำพร้า พ่อแม่บางคนต้องเสียลูกสุดที่รักของตัวเองไป คนพวกนี้ไม่มีสิทธิ์ถูกปกป้องด้วยกฏหมายเหรอครับ (ผมใช้คำว่าปกป้องนะ เพราะห้ามก่อนเกิดเหตุ) จากความเห็นแก่ตัวของคนเมาแล้วคิดว่า "ไม่เป็นไร" "นิดเดียวเอง" "มันจำเป็น" "ครั้งที่แล้วไม่เห็นเป็นไร"
อย่าว่าแต่เมาเลยครับ ต่อให้ไม่เมา แต่เกิดการตื่นเต้นตกใจที่จะต้องขับรถไปส่งพ่อแม่ที่ต้องไปโรงพยาบาลด่วนกลางดึก แล้วไม่เกิดอุบัติเหตุได้นี่ก็เก่งแล้วครับ
คนเมาแล้วขับได้รับโทษแล้วคนที่ถูกรถชนตายก็ไม่ฟื้นนะ
รับโทษเป็นเยี่ยงอย่าง ลดคนเลียนแบบ
ลดคนเลียนแบบแต่ครอบครัวคนที่ตายเค้าคงคิด แล้วทำไมฉันต้องเป็นตัวอย่าง
ผมก็ไม่รู้จะพูดอะไรแล้วคนอื่นก็ตอบไปหมดละ*แบบนี้สินะที่คนชอบพูดกัน หมดคำจะพูด
อันนี้ ตรงตาม ethic ที่เขากำลังถกเถียงกันเลย
เพราะยังไง AI มันไม่มีสำนึกรู้ แต่คนมีการมีสำนึกรู้ จึงมีความรับผิดชอบเมื่อต้องเลือกแหกกฎ
ที่อาจนำมาซึ่งสิ่งที่ดีกว่ากฎหรือแย่กว่ากฎ และรับผลนั้นด้วยตัวเอง
กำลังคิดว่าทำระบบแบบไหน ที่มันจะให้คนเลี่ยงระบบตรวจสอบได้ยากขึ้น?
ดูเรื่องเทสล่าบังคับให้คนจับพวงมาลัยตลอดตอนเปิดระบบช่วยขับ ก็เอาอะไรไปมัดไปบีบsensor หลอกแทนได้
นี่ถ้าบังคับเป่าลม ก็เอาที่เป่าลมยางมาเป่าแทนได้ไหม?(หรือเอาคนนั่งที่ไม่ได้ดื่มมาเป่าแทน แล้วสลับกันขับก็ยังได้?) นอกจากบังคับเจาะเลือดซึ่งดูแล้วเทคโนโลยียังไปไม่ถึง(แต่ก็ยังพอจะหลอกได้นะ เตรียมสารอะไรมาหลอกมันแทน)
หรือถ้าใช้sensor หลายๆอย่างประกอบ เหมือนรถยุโรปที่มีเตือนให้พัก กันหลับใน มันก็แค่ได้แค่ช่วยเตือน และอาจจะมีfalse alarmได้ง่ายๆด้วย
ทำแบบรถไฟน่าจะได้อยู่ เพราะจำได้ว่าคนขับรถไฟจะต้องเหยียบหรือกดแป้นอะไรซักอย่างตลอดเวลา เพื่อให้รถไฟยังเดินหน้าไปตามรางได้ครับ
เคสรถไฟชนหัวลำโพงสักสามสิบปีมาแล้ว ก็เกิดเพราะคนขับ เอาอะไรไปทับแป้นที่ว่า แล้วลงจากรถไปทำอย่างอื่น แล้ววิ่งกลับมาขึ้นไม่ทันนี่แหละครับ
มันหลอกระบบง่ายเกิน เหมือนกับระบบช่วยขับของtesla ที่ใช้การ"จับ"พวงมาลัย ก็หาอะไรมารัดsensor หลอกว่าจับ
ก็เลยคิดว่าถ้าจะออกเป็นกฎหมาย ก็ต้องมีวิธีที่รัดกุมกว่านี้ เลยสงสัยและชวนคิดว่าทำแบบไหนได้บ้าง?
ที่จำได้ แป้นแบบใหม่จะไม่ให้กดค้างไว้ แต่จะให้กดปล่อยตามที่มันเตือน แถมระยะเวลาที่ต้องกดหรือปล่อยก็เป็นแบบสุ่ม แต่ไม่นานเกินไป ไม่สั้นเกินไปครับ
จะมีกรณี คนขับไม่ได้ดื่ม แต่คนนั่งด้วยดื่มหนักมีกลิ่นคละคลุ้ง จนทำให้รถไม่ทำงาน มั๊ย? 🤔
คนอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคนเมาตายมาเยอะแล้วครับ การลงโทษเพื่อปรามให้เป็นเยี่ยงอย่างไม่ได้ผลจริงและเหมือนต้องได้รับรับความยินยอมด้วย ไม่ยอมก็แค่เงียบๆรับโทษไม่มีข่าว คนทั่วไม่ได้เห็นหรอกว่าจำนวนคนเจ็บคนตายที่แท้จริงเพราะคนเมากระทำบนท้องถนนต่อปีมีอยู่มากมายแค่ไหน ยกเว้นรัฐประประกาศออกสื่อแบบ การติดโควิดทุกวันว่าแต่ละวันมีคนเมาขับรถแล้วทำให้มีผู้คนบาดเจ็บกี่คนเสียชีวิตกี่คนทั่วทั้งประเทศแบ่งเป็นรายจังหวัด แบบนั้นทุกคนถึงจะเรื่องตระหนักจริงจังดูปัจจุบันนี้ก็ได้ คนรับโทษก็รับโทษก็ก้มหน้าก้มตาสลดกันไป คนรุ่นใหม่ไม่ได้รู้จักไม่ได้เกี่ยวข้องก็มาทำต่อ ไม่ได้รับรู้ เพราะสื่อดื่มสุรา ภาพจริงข้างทาง ภาพกลุ่มเพื่อน ภาพญาติตัวเอง หรือแม้แต่ข้างบ้านที่เห็นกับตา มันพบเห็นง่ายกว่าคนดื่มแล้วขับ ชนกดตายหน้าสลดมาเล่าเรื่องผ่านสื่อครับ คนก็ไม่ได้กลัวกันหรอกจะรู้คือเจอกับตัวแล้วก็สายไปแล้วทั้งนั้นล่ะ แบบนักๆคือคนไม่ได้เกี่ยวข้องไม่ได้รู้จักเลยมาตายเพราะคนเมา
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ต้นตอของ เมาแล้วขับ มีตัวแปรอยู่สามอย่าง มีคน มีเมา มีขับ ตัดอย่างใดอย่างนึงออกวงจรก็จะไม่เกิด
ในเพื่อพยายามตัดคนกับตัดเมาออกยากนัก
ตัดขับออกไปเลย
เอาให้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานเหมือน เข็มขัดนิรภัย, ถุงลมนิรภัย ไปเลย
เห็นด้วยเช่นกัน ควรป้องกันทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ไม่ใช่เกิดอุบัติเหตุแล้วให้คนทำผิดมารับโทษ คนทำผิดรับโทษแล้วไง คนตาย (จากอุบัติเหตุ) ก็ฟื้นขึ้นมาไม่ได้ครับ
ถ้า...แล้ว... พันหมื่นเหตุผลมาค้านกฎหมายฉบับนี้ ผมว่ามันฟังไม่ขึ้นนะครับ ถ้าคุณมีใครให้ห่วงคุณก็ต้องพร้อมจะดูแลเค้าอยู่เสมอครับ
** ลบออก เพราะข้อความซ้ำ **