Tim Bray ผู้ร่วมออกแบบ XML และวิศวกรซอฟต์แวร์ระดับตำนานเขียนบล็อกเล่าประสบการณ์การทำงานใน AWS ช่วงปี 2016 ว่าตอนนั้น Andy Jessy ซีอีโอของ AWS (เลื่อนตำแหน่งเป็นซีอีโอของ Amazon ภายหลัง) คุยกับเขาและเล่าว่าลูกค้าจำนวนมากพยายามถามว่า AWS มีแผนการบล็อคเชนอย่างไรบ้าง และลูกค้าเหล่านี้พยายามบอกกับ Jessy ว่าบล็อคเชนเป็นเทคโนโลยีที่ดีมากแต่ Jessy ไม่เข้าใจ Jessy จึงมอบหมายให้ Bray ไปศึกษาเพิ่มเติม
Bray พยายามไปหาข้อมูล และไปพูดคุยกับสตาร์ตอัพหลายรายในสหรัฐฯ โดยถามคำถามหลักเพียงสองคำถาม คือ "บริษัทกำลังพยายามทำอะไร" และ "บล็อคเข้ามาช่วยอย่างไร" และมักได้คำตอบที่น่าผิดหวังคือเอาเข้าจริงบริการเหล่านี้ไม่ต้องใช้บล็อคเชนก็ได้ นอกจากนี้บริษัทจำนวนมากก็อ้างอิงกรณีที่ ตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียพยายามเปลี่ยนระบบมาใช้บล็อคเชน ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีว่าบล็อคเชนมีประโยชน์จริง
บทสรุปของ Tim Bray คือประโยชน์ที่แท้จริงของบล็อคเชนนั้นหายากมากๆ (เขาไม่พูดในบล็อกเลยว่าเจอสักอันหรือไม่) ระบบที่พัฒนาขึ้นมาได้สิ้นเปลือง และเมื่อไปดูรายละเอียดของรายงานความสำเร็จของระบบที่ใช้งานแล้วก็มักมีแต่คำพูดเปล่าๆ อย่างนั้นก็ตามนักลงทุนจำนวนมากก็แห่กันลงเงินให้บริษัทเหล่านี้ และสุดท้ายบริษัทเหล่านี้ก็เอาเงินมาใช้บริการคลาวด์อย่าง AWS อยู่ดี
Tim Bray ทำงานกับ AWS ตั้งแต่ปี 2014 จนถึงปี 2020 เขาลาออกประท้วงการจัดการแรงงานของ Amazon ในช่วง COVID-19
ที่มา - Tim Bray
แปลจากข้อความในบล็อก
one of my fellow engineers asked the key question: “All these systems, are there any that wouldn’t work without blockchain?” The guy didn’t even hesitate: “No, not really.”
Comments
ตื้นตันใจตรงที่ "Bray พูดไทยได้" จากรูปประกอบนี่แหละครับ 😂
มีคนเอาเงินเข้าไปฝาก FTX เจ้าของ SBF เอาเหรียญที่เขาสร้างขึ้นมาเองไปแลกเงินใน Exchange แล้วเอาเงินไปใช้
หรือมีคนเอาเงินไปแลกเงิน UST แล้วไปฝากเพื่อจะได้รับดอกเบี้ยปีละ 20% ต่อมาระบบเกิดปัญหาทำให้เงินหายไปหมด
ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดเกิดจากเราไปเชื่อใจคนอื่นนี้แหละ แชร์แม่ชม้อย forex-3d พวกนี้มีอยู่ในโลกการเงินปกติเมื่อมีทรัพย์สินใหม่ รูปแบบการโกงใหม่ ๆ ก็เข้ามาในโลกของทรัพย์สินใหม่ ๆ
ข้อดีของ BlockChain ทำให้เราไม่ต้องเชื่อใจไว้ใจคนอืน/ทำให้เก็บทรัพย์สินดิจิตอลของเราไว้กับตัวเราเอง
ทุกวันนี้ TLS ทั้งหมดก็ "ไม่ต้องไว้ใจคนอื่น" นะครับ ค้นได้ทุกใบว่าใครออกใบไหนให้ใคร
ลำพังแนวคิดว่า ไม่อยากไว้ใจใคร อยากให้เปิดข้อมูลให้ตรวจสอบนี่เริ่มทำเว็บด้วย SQL ได้เลย บ้านเราโกงเงินสหกรณ์ก็เจอกันเพราะเปิดแอปให้ผู้ใช้เข้ามาใช้งาน
เหมือน Tim Bray บอกเลยครับ use case แบบนี้ ใช้ฐานข้อมูลธรรมดาก็พอ จะไปอวดว่าเป็นข้อดีของ blockchain ทำไม
lewcpe.com , @wasonliw
ก็ตามที่ตาทิมว่านั่นแหละครับ ว่าของแบบนั้นไม่จำเป็นใช้บล็อคเชนให้สิ้นเปลือง
Blockchain มันอนุญาตให้คนที่ไม่มีหัวนอนปลายเท้ามาทำธุรกรรมร่วมกันได้ ซึ่งมันก็เหมาะ ในโลกที่คุณตาบอด หูหนวก ปราศจากความเชื่อใจกับคู่ค้าอย่างสมบูรณ์
แต่มันเหนื่อยและไร้ประสิทธิภาพอย่างมากในการจะทำอะไรสักอย่าง
ผมเห็นด้วยกับบทความนะ ทุกวันนี้ผมก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่าทำไมต้อง "Blockchain"
ก็เข้าใจนะว่า Blockchain มันก็มีดีของมันในแง่เทคนิค แต่อะไรล่ะที่มันต้องใช้ Blockchain "เท่านั้น" ในการทำงาน จึงจะสำเร็จ หมายถึงสำเร็จแบบครบลูปตาม business plan นะไม่ใช่ show case (และไม่ใช่ปั่นเหรียญ)
หลายๆเคสผมก็ยังมองว่าก็ implment ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันมันก็ทำได้หรือเปล่านะ
เท่ากับว่า ตอนที่ Blockchain เริ่มบูมตาม Bitcoin ก็เป็นแค่กระแสอย่างเดียวเลยนะสิ ส่วนคนที่รู้เรื่อง Blockchain แบบจริงๆ จังๆ และสามารถเอาไปใช้งานได้จริง อาจจะมีแต่มีแค่หยิบมือ หรือไม่มีเลยหละเนี่ย
ส่วนเรื่องข้อมูลโปรงใส่ที่เคยใช้เป็นตัวโปรโมท Blockchain เนี่ย ก็น่าจะทำได้ด้วย Database ธรรมดาที่กำหนดสิทธิ์เป็นสาธารณะและแก้ไขไม่ได้ก็น่าจะจบแล้วนะผมว่า
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ผมมองว่า
Blockchain ตัวที่จะเกิดขึ้นมาได้ ก็ต่อเมื่อคนสร้าง สร้างขึ้นมาแล้วคนสร้าง kill ตัวเองทิ้ง ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยว แล้วปล่อยให้ระบบทำงานของมันไป
ซึ่งจะมีใครจะทำแบบนั้น นอกจาก bitcoin
ระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันการมีเจ้าของเหมือนเป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันจากความโลภ
กลายเป็นถูกสร้างด้วยความโลภ เพื่อ ความโลภกว่า แทน
used case มันน่าจะคือ ระบบที่ปลอดภัยสำหรับส่งข้อมูลต่อกับคนที่ไว้ใจไม่ได้หรือคนที่ไม่รู้ตัวตน เพราะไม่รู้จักกันเลย มันเลยใช้งานจริงในวงการสีเทาๆซะมากกว่า?
เพราะพูดตรงๆระบบDBรวมศูนย์ สมัยนี้มันรวดเร็วมหาศาล โดยที่ใช้พลังงานในการประมวลผลน้อยกว่าblockchainเยอะ จะบอกว่าblock chainไม่มีศูนย์กลาง แต่อย่างน้อยก็ต้องมีvalidator nodeอยู่ดีไหม?(ถ้าเทียบกับแบบรวมศูนย์ก็พวก DC/DR หรือnode ต่างๆก็กระจายได้เช่นกัน) แล้วยังต้องมีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างnodeไม่ใช่ว่าทำแล้วไม่ต้องใช้network connectionอะไรเลย
อย่างพวกระบบโอนเงินที่บอกว่า blockchain ทำให้เร็วขึ้นนี่จำเป็นมั้ยครับ คือผมยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้อง blockchain สำหรับระบบโอนเงิน
เมื่อก่อนการโอนเงินข้ามประเทศ มันต้องมีclearing house เป็นตัวกลาง ทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการครับ 1-3 วันครับ blockchain มันมาทำตัวเป็นตัวกลางแทน clearing house หรือระบบ interface แบบเก่านั่นแหละ
ทั้งที่จริง ถ้ามองในเรื่องของระบบพื้นฐานในปัจจุบันเราโอนเงินผ่านระบบได้ทันที ถ้าทำข้อตกลงตรงกับ bank ปลายทางได้แล้ว เช่นเคสที่โอนผ่าน QR code(promptpay) ไปสิงคโปร์ หรือk-plusญี่ปุ่น แต่ก็ยังมีปัญหาคือจะส่งให้ธนาคารอื่นๆหรือระบบของประเทศอื่นๆ มันต้องตกลงความร่วมมือเป็นครั้งๆไป ไม่ได้มีระบบกลางเหมือนแบบเก่า
ซึ่งถ้าที่จริงสมาคมธนาคารระดับประเทศ ร่วมมือกันสร้างมาตรฐานกลางใหม่วิ่งผ่านระบบnetworkทั่วไป มันก็ใช้แทนและไวกว่าเช่นกัน
ผมยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่าถ้าเชื่อใจ blockchain ได้ แล้วทำไมไม่ใช้วิธีอื่นสร้างความเชื่อใจต่อกัน
เพราะถ้าต้นทางกับปลายทางไม่ได้ตกลงว่าจะใช้ blockchain มาก่อน มันก็ไร้ความหมายอยู่ดี
จริงๆมาตรฐานที่ว่านี่คล้ายๆกับเรื่องบัตรเครดิตที่เคยได้ยินเลย คือพอกฏหมายหลายๆอันสั่งให้ธนาคารใช้ท่อร่วมกันแล้วปรากฏว่าค่าใช้จ่ายลดลงฮวบๆ
ผมเคย dev และ ตั้งข้อสงสัยระหว่างการ dev ว่า blockchain มันแตกต่างจาก database ปกติยังไง มันอาจจะแตกต่าง ในด้านเทคนิคบ้าง แต่ โดยรวมแล้ว เราสามารถใช้ database แบบปกติ ได้ นี้น่า และสะดวกกว่าด้วย และ ยังตั้งคำถามอีกว่า ณ ปัจจุบันมันจำเป็นต้องมี blockchain ไหมมันจะเหมือน อินเทอร์เน็ต ไหมที่ทุกที่ต้องใช้ ก็ไม่ เอ๊ะ แล้วมันถูกสร้างไว้เฉยๆ คนดันไปให้ค่ามันเองหรือป่าว เพื่อสร้างผลตอบแทนเหมือนแชร์ลูกโซ่ คุณค่าจริงๆ ก็ยังสู้ อินเทอร์เน็ต ไม่ได้
เห็นด้วยนะว่า blockchain แทบไม่มีความจำเป็นอะไรเลยกับการทำงานในหลาย ๆ เรื่อง และตอนนี้ use case scenario ยังไม่มีอันไหนที่จำเป็นต้องใช้ blockchain ขนาดนั้น
ทำ distributed system ดี ๆ ก็น่าจะพอ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
Blockchain จะมีประโยชน์จริงๆในวันที่เราไว้ใจใครไม่ได้นั่นแหละครับ ในวันที่ treasury ต่างๆไม่เคยให้ความโปร่งใสแต่พวกเราก็ยังเชื่อและให้เป็นตัวกลางจัดการให้เราอยู่ blockchain ก็ไม่ได้จำเป็นเลย แต่ถ้าวันใดระบบมีความไม่แน่นอนคนหมดความเชื่อวันนั้นมันถึงจะเฉิดฉายได้จริง ถ้ามีวันนั้นนะ
USE CASE ตอนนี้ที่พอนึกออกก็คือตัวอย่างเช่น คุณโดน PAYPAL FACEBOOK YOUTUBE รังแกจนไม่มีที่ยืนที่จะอยู่บนนั้น คุณก็ไปหวังกับ web3 ที่เป็น wallet base account ในการสร้างโปรดักติวิตี้ของคุณและเรียกเก็บเงินตรงกับผู้ใช้งาน ส่วนนี้ระบบปรกติปัจจุบันก็ทำได้แต่มันต้องมีตัวกลางมีความเชื่อ ก็นั่นแหละ การสร้างความเชื่อน่าจะง่ายกว่าการมาใช้ระบบที่สิ้นเปลืองยุ่งยากในยุคนี้ แต่ในยุคหน้าก็ไม่แน่ไม่อาจรู้ได้เหมือนกัน
นาทีนี้คนที่ได้ประโยชน์จริงๆจาก blockchain คือใคร ?
1. คนที่ไม่ไว้ใจระบบการเงินแบบเก่าที่รัฐต่างๆผูกกันไว้
2. คนที่กลัวโดนอายัดทรัพย์ กลัวย้ายเงินไม่ได้ กลัวเงินที่มีถอนไม่ได้จริง
3. คนที่กลัวการดึงทรานแซกชั่นย้อนหลัง
4. คนที่ไม่ต้องการให้รัฐสามารถตรวจสอบการใช้เงินได้
ซึ่งมันน่าขันตรงที่นอกจาก bitcoin แล้ว ตัวอื่นอาการหนักกว่าธุรกรรมดั้งเดิมเสียอีก
มันกลายเป็นธุรกิจสีเทาๆ ที่ไม่สามารถไปยืนยันตัวตนบนระบบบนบกได้หรือเปล่า ที่ต้องหนีมาใช้ blockchain?
ถ้ามองสุดโต่งบ.ในอนาคตเป็นevil กันหมด(อาจจะโดนรัฐเผด็จการครอบงำ) แล้วเราจะมั่นใจได้ไงว่า validator nodeทั้งหลายของblock chain ไม่ได้เป็นหนึ่งในนั้นด้วย โดยเฉพาะ 50% attack ? หรือแม้แต่ decentralized exchanged ที่เต็มไปด้วยข่าวลือถึงการบริหารแบบไม่โปร่งใสหรือปล่อยให้hackกันบ่อยๆ? (อย่าบอกว่าไม่ต้องมีexchange แล้วแลกกันแบบOTC กันหมดล่ะ?)
หรือล่าสุดการ reverse transaction ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว แม้จะเป็นการขอร่วมมือร่วมใจเพื่อหยุดการโอนออกของhacker แต่มันก็น่าคิดว่า มันไม่ได้อิสระจริงๆสิ?
อยากหนีการกำกับดูแล เพื่อไปไม่มีการกำกับดูแล แล้วจะคาดหวังว่ามันจะโปร่งใสกว่าเดิม ก็เหมือนบอกว่า ถ้าทุกคนเป็นคนดีก็ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายนั่นแหละ?
ใช่เลยครับ มันยังย้อนแย้งอยู่ ตอนนี้มีแต่สีเทาและดำที่ได้ประโยชน์ dex ที่ดีโปร่งใสก็ไม่โต พวกที่โตก็เลเวอเลจสูงไม่โปร่งใส
ต้องเข้าใจด้วยว่ามันกำลังอยู่ในจุดเริ่มต้น ปลายทางยังลางๆมาก จะไปต่อหรือเจ๊ง ฟันธงยาก
ส่วนกรณี 50% attack ต้องไปอ่านให้ลึกกว่านั้นครับในเคสนั้นทำไม่คุ้มกับ bitcoin คือรีดพลังสร้างบล็อก50+% เพื่อย้อนธุรกรรมเดียว มันไม่คุ้มเลย ส่วนกับตัวอื่นต้องไปดูกันอีกที่ว่ายังไง
ท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทองเลยนะครับเรื่อง 51% attack เนี่ย
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
ตอบสองท่านรวมๆนะ
เอ ที่ผมยกตัวอย่างมา มันผิดตรงไหนล่ะครับ?
ที่ผมพูดมาเป็นเคสที่เกิดขึ้นจริงแล้วทั้งนั้น ไม่ได้บอกว่าเฉพาะ bitcoin นะ เพราะ bitcoin เป็นส่วนหนึ่งของblockchain เรากำลังพูดถึงเทคโนโลยีโดยรวม ว่ามันมีข้อด้อย หรือช่องโหว่อะไรบ้าง
ต่อให้วันนี้ไม่คุ้ม แต่ความเสี่ยงก็ยังมี โดยเฉพาะกลุ่มmining ที่กินกำลังขุดหลายสิบ% แสดงว่า มันไม่ได้distributed กระจายตัวอย่างสมบูรณ์ แต่มี"รายใหญ่" ที่อาจจะ manipulated ได้? แม้ว่ามันจะยากสำหรับbitcoinในปัจจุบัน แต่ก็เกิดขึ้นกับคริปโตตัวอื่นๆไปแล้ว
เคสreverse txล่าสุดก็ของCZ ทำเอง แม้จะดูเป็นเจตนาดี แต่อนาคตเราจะรู้ได้อย่างไรว่านั้่นคือเจตนา"ดี"? แสดงว่าตัวระบบเองเปิดช่องโหว่ไว้ให้ใช้?
ถ้าคุณกลัว"รัฐ"หรือองค์กรที่ควบคุมโดยรัฐ แล้วทำไมคุณไม่กลัวคนที่รวบรวมvalidator node "ส่วนใหญ่"ได้ในอนาคต? ถ้าบอกว่าเสียงส่วนใหญ่(validator)ถือว่าถูกต้อง การควบคุมโดยรัฐที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ก็ย่อมถูกต้องด้วยเช่นกัน? แล้วจะหนีไปทำไม
อย่างที่ผมยกตัวอย่างไป คนหนีการควบคุม เพราะบอกเราจะคุมกันเอง ไม่ให้ใครแทรกแซง? แต่จริงๆแล้วก็แค่อยากจะสร้างระบบที่เราแทรกแซงได้เองแทนรัฐหรือเปล่า?
DeFi เป็นสิ่งที่จะล่มสลายต่อไป ยกเว้นจะเข้าร่วมการกำกับดูแลที่ดีมากพอ ซึ่งถ้าแบบนั้นมันต่างอะไรกับระบบfinancial ตามปกติในปัจจุบัน? อันที่จริงผมชอบจุดเด่นที่มันสะดวกมันง่ายใครๆก็เข้าถึงได้ แต่มันก็fraud ได้ง่ายๆเช่นกัน ง่ายกว่าสมัยทำทรัสต์เถื่อนที๋ฮิตๆกันเมื่อสักยี่สิบปีที่แล้วเลย
หรือจะยกตัวอย่าง FTX ที่สุดท้ายล้มทั้งที่เป็นรายใหญ่มากๆ พอมีคนตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ยอมใช้ระบบบัญชีคู่ที่เราพัฒนามาเป็นร้อยปี เอกสารแย่ยิ่งกว่าร้านข้าวแกงเพิงหมาแหงนข้างถนน เหมือนย้อนยุคไปสมัยยุคหิน :P
คนยกตัวอย่างด้านดีเยอะแล้ว ผมก็แค่ยกตัวอย่างด้านร้ายที่เกิดขึ้นจริงไปแล้วเท่านั้นเอง
ขาวๆก็ใช้ได้ครับ
- แต่ก่อนใช้ paypal แล้วรำคาญความฟรีสแอคฯ laแอคฯ ของมันมาก โอนกลับไทยก็รอหลายวัน โดนฟันค่าเรทซ้ำซ้ำซ้อนตั้งแต่ลูกค้ายันได้รับเงินบาท //ถ้าระบบ p2p ดีๆแบบ binance ใช้ง่้ายจบได้เงินแทบไม่มีโกงจากระบบ
- เพิ่งจ่ายเงิน usdc คนตปท.ไปด้วยระบบ inurl:commerce.coinbase.com/charges/ แล้วว้าวดี ดูเงินออก-เงินเข้าได้สดๆเลย แถมเราตรวจ tx ด้วยด้วยว่าเงินวิ่งไปถึงไหนแล้ว (โดนค่าfee1$ ถ้าวงการมันpublicมากๆมีโมเดลนี้แข่งกันหลายๆแพลตฟอร์ม ก็อาจจะมีตัวเลือกให้ใช้เชนอื่นได้งี้ ค่าfee0ยังมีให้ใช้เลยอย่างbusd)
ข้อดีจริงๆของ blockchain คือเราดูได้นี่ล่ะว่าเงินวิ่งถึงไหนแล้ว ถ้าไปใช้ผ่านพวกที่ผ่านๆมาๆ โครตหมอก ไม่รู้เลยว่าเงินเราไปโดนดองไว้ที่ไหนบ้าง โดนชาร์จหนักๆเจ็บๆบ้าง //ส่วนจะกาว1btc=1btcหรือmoonอย่างแชร์ลูกโซ่ก็ว่ากันไปตามtrustละกัน
ส่วนเรื่อง 51% attk ก็ถึงต้องพยายามแพร่หลายให้วงกว้างไงจะได้ไม่มีใครควบคุมบิดเบือนมันได้อ่ะ .. ส่วน ftx มัน cefi ถ้ามันเปิดเผยงบ(เผยงบจริงๆก็หลอกได้มีแต่คนในที่รู้คนนอกได้แต่เชื่อauditเอา ..แต่เจอ tx explorerระบบbcแบบที่ตามเก็บกวาดหลังล่มคนนอกรู้กันได้หมดทุกคนแถมตรวจยอดจากwalletได้ไง)แบบพวก defi แต่แรก ก็ไม่ต้องลากฟองมาใหญ่ขนาดนี้แล้ว
ตัวอย่างที่คุณทำ มันก็ไม่ขาวสักเท่าไรนะครับ
โดยข้อกฎหมายปกติเงินเข้าออกประเทศ ต้องมีการmonitor จากธปท.
แต่คุณใช้ช่องทางลัดp2p ซึ่งจริงๆมันสีเทา เพราะคุณใช้เหรียญเป็นตัวกลาง แต่เงินจริงๆมันไม่ได้วิ่งตามเส้นทางปกติ(เช่นโอนเหรียญจากตปท.มาขายเอาเงินเข้าไทยผ่าน p2p)
การที่คุณรับหรือส่งเงินจากต่างชาติเป็น USDC ก็เช่นกัน ถ้าน้อยๆอาจจะยังไม่ผิด แต่ถ้าสะสมเยอะๆจนเกินเงื่อนไข คุณก็กำลังทำผิดกฎหมาย
ระบบปัจจุบันมันทำได้หมดครับ ดูเงินเข้าออกแบบrealtimeทำได้โดยไม่ต้องใช้blockchain(ผมยกตัวอย่าง การใช้เงินสดข้ามประเทศ เช่นQR ที่สิงคโปร์หรือแอพธนาคารเจ้านึงที่ญี่ปุ่น) หรือแม้แต่การรูดบัตรเครดิตเขาก็ทำtxได้ทั่วโลกมากี่สิบปีแล้ว? แต่ที่บางอย่างช้าเพราะมันติดขัดข้อกฏหมาย และprotocolกลาง ที่เราคิดว่ามันยุ่งยาก และซับซ้อน เพราะเขาทำไปเพื่อควบคุมดูแลการไหลของเงินนี่แหละ
ถ้าอยากโยกเงินโดยที่ไม่ผ่านการดูแลของธปท. มันเลยกลายเป็นสีเทาๆไง
ผมมองว่าทุกอย่างมันไม่เคยมีอะไรที่ขาวบริสุทธิ์ผุดผ่องอยู่แล้ว ซึ่งนั่นไม่ใช่ตัวที่จะใช้ชี้วัดว่าเราจะเลือกหรือไม่เลือกสิ่งนั้นมาใช้งาน วิธีการที่เราทำๆ กันอยู่คือ การชั่งน้ำหนักว่าระหว่างประโยชน์กับโทษมันมีมากน้อยต่างกันแค่ไหน ถ้าประโยชน์มีมากมายมหาศาลมันก็พร้อมที่จะถูกนำมาพิจารณา
เราจึงต้องแยกจากกันครับ ระหว่างความได้เปรียบในเชิงกระบวนการ หรือในเชิงกฎหมายที่หน่วยงานควบคุมยังงงๆ ไม่บังคับกฎให้เท่ากับระบบเดิม กับความได้เปรียบเชิงเทคโนโลยีที่ทำให้ประสิทธิภาพมันดีขึ้นจนได้เปรียบ
ตัวอย่างคือสมัยนึง อีคอมเมิร์ชในสหรัฐฯ ไม่เสียภาษา GST (คล้าย VAT บ้านเรา) ของเลยถูกกว่า มันก็ได้เปรียบ แต่เราคงไม่อวยว่าการค้าออนไลน์ทำให้ของถูก
lewcpe.com , @wasonliw
ผมก็ยกตัวอย่างตรงประเด็นแล้วนะครับ
คือที่คุณคิดว่าblockchain ทำให้โอนเงินจากตปท.ไว เพราะมันเลี่ยงข้อบังคับและกฎหมายหลายๆอย่างไง บางอย่างหมิ่นเหม่ผิดกฎหมายด้วยซ้ำ
ซื้อขายp2p เหรียญมาจากตปท. แต่โอนเงินในไทยให้กัน กลายเป็นเสมือนว่า เงินไม่ได้มาจากนอกประเทศ เป็นการโอนในประเทศกันเฉยๆ ทั้งๆที่จริงแล้วคุณได้ทรัพย์จากตปท.?
เวลายกตัวอย่างพวกนี้ มันทำได้ดีกว่าระบบเดิม เพราะมันเลี่ยงหรือแม้แต่ผิดกฎหมายหลายๆตัวไงครับ ไม่ใช่ว่าตัวระบบblockchain มันดีกว่าระบบโอนเงินแบบศูนย์กลางแบบเก่า ดังตัวอย่างที่ผมยกมาหลายๆตัว ว่าโอนเงิน จ่ายเงินข้ามประเทศทันทีได้เช่นกัน แต่ยังจำกัดเพราะกฎข้อบังคับและข้อตกลงหลายๆอย่าง
สรุปให้ประโยชน์ของblockchain ที่ยกมาว่าเป็นจุดเด่น จริงๆแล้วเพราะไม่ได้ทำตามกฎระเบียบข้อบังคับที่ควรต้องทำแบบระบบเก่าตะหาก ไม่ใช่จุดเด่นจากตัวระบบมันเอง
อันนี้คือเจตนาหลักของ Blockchain ครับ
ทำให้ Regulator ควบคุมกำกับไม่ได้ หรือควบคุมกำกับได้ยาก ส่งผลให้ได้ข้อดีเรื่องการโอน Coin ได้ง่าย ได้ไว
ลดความเสี่ยงการโดน Regulator ยึด,อายัด โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม "เช่น กฎหมายไม่ให้ครอบครองทองจำนวนมาก USA"
ผมขอ counterattack เรื่องที่หลายคนบอกว่าไม่ให้ Regulator ตรวจสอบ หรือไม่ให้เก็บค่าคุ้มครองไม่ขาวเป็นเรื่องเทา
ผมจะบอกว่า Regulator ที่มาบังคับตรวจสอบอะมันขาวไหมครับ
การอนุญาตขายเหล้า เบียร์ อนุญาตให้ฆ่าสัตว์ไม่สงวนขาวไหม
จับคนต่างด้าวที่แค่ไม่ได้ขออนุญาตอยู่ในประเทศขาวไหมครับ
บางทีไม่ใช่คนต่างด้าว แค่เป็นลูกคนต่างด้าวที่เกิดในไทย
แต่ทำบัตรไม่ได้
รัฏฐาธิปัตย์สมัยใหม่ ได้อำนาจอธิปไตยจากระบอบการปกครองครับ ถ้ายกตัวอย่าง USA นี่เขาให้สิทธิ์ของประชาชนน่าจะมากเป็นอันดับต้นๆของโลกแล้วล่ะ มีสิทธิ์แม้กระทั่งปกป้องชีวิตและทรัพย์สินด้วยอาวุธจากรัฐ ด้วยซ้ำ ข้อห้ามและกฎหมายหลายเรื่องก็ต่อสู้ถกเถียงกันมาเยอะ และพัฒนาไปโดยตลอด
ส่วนblockchain? ได้อำนาจจาก distributed network ที่มี"ขาใหญ่"แบบ mining group ที่มีอำนาจมากพอจะโน้มน้าว ในการfork/upgrade หรือแม้แต่ reverse tx?
ในทางทฤษฎีตั้งต้น ผมคิดว่าพอเข้าใจนะครับ ระบบไร้ศูนย์กลาง(?) ที่สร้าง trust จาก algorithmที่แข็งแรง โดยไม่ต้องเสียเวลายืนยันตัวแบบระบบเก่า ลดred tape และสุดท้ายเลี่ยงการแทรกแซงจากรัฐเผื่อกรณีที่รัฐกลายเป็นรัฐโจร ในเชิงอุดมคติมันสวยหรูมาก
เพียงแต่ว่าสุดท้ายแล้ว ระบบมันก็มีช่องโหว่ที่มีใครมาmanipulated แทนรัฐได้เหมือนที่คุณสงสัยรัฐนั่นแหละ และจุดเด่นจริงๆที่นิยมใช้กัน มันก็คือการเลี่ยงข้อกฎหมายหรือเปล่า?
เพราะจุดเด่นอื่นๆ ระบบเดิมถ้าให้ทำโดยไม่สนใจกฎหมายหรือข้อบังคับใดๆ มันทำได้อยู่แล้วและทำได้ดีกว่าด้วยซ้ำ คลิกส่งข้อความ update tx บนdistributed DB สมัยใหม่ปกติข้ามโลกนี่เร็วกว่า block chain ทุกตัวอยู่แล้วนะ ที่มันทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะกฎหมายมันห้าม ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆนานา
เลยมีคำถามไง ว่าถ้าให้block chainทำถูกต้องตามกฎหมายแฟร์ๆแบบระบบอื่น แล้วจุดเด่นที่เหลือคืออะไร? ไม่เห็นมีใครตอบได้ตรงๆ?
ตอนนี้หลายเจ้ายังทำอยู่ได้ เพราะกฎหมายในรัฐนั้นๆยังตามไม่ทัน เราก็เลยเห็นการ fraud เต็มไปหมดนี่แหละ มีใครรับผิดชอบ? หรือเราจะย้อนยุคไปสมัยป่าเถื่อนไม่ต้องมีกฎหมาย โดนหลอกถือว่าโง่เอง? ต้องพูดอีกว่า วิธีฉ้แโกงในคริปโต นี่เป็นสิ่งที่เคยทำกันมานานจนเป็นข้อห้าม ในระบบfinancialพื้นฐานกันหมดแล้ว แต่มามีช่องโหว่ เพราะระบบใหม่มันอยู่นอกกฎหมาย นอกข้อห้ามไง
คำถามที่หลายคนไม่อยากฟัง คุณไม่อยากโดนตรวจสอบ อายัด เพราะรู้สึกไม่ปลอดภัยจากรัฐที่เป็น rogue state หรือแค่อยากเลี่ยงภาษีเฉยๆ? อยากได้กำไรจากการเก็งกำไรเหรียญ แต่ไม่อยากเสียภาษี อยากโอนเงินก้อนใหญ่เข้าประเทศ แต่ไม่อยากรายงานการฟอกเงิน?
ไม่ต้องอ้างว่าเพราะมี rogue state เราเลยเป็นโจรเองได้ไม่ผิดนะครับ
คุณยังเข้าใจผิดเรื่องภาษีเหมือนคนส่วนใหญ่อยู่ คุณจึงคิดว่าการบังคับเก็บภาษีไม่ได้คือคนนั้นเป็นโจรจริง ๆ การลงโทษคนไม่จ่ายภาษีมันคือ rogue state แล้ว
เรื่องภาษี หรือค่าคุ้มครอง หรือส่วย
ผมเคยให้ความเห็นไว้ในโพสเมื่อนานมาแล้วด้วย
คุณเคยจอดรถบนที่สาธารณะที่ไม่ต้องเสียค่าจอดไหม
แต่มีคนมาคุมเรียกเก็บค่าจอด บอกใครๆก็จ่าย ถ้าไม่จ่ายคุณคือคนผิด
แล้วหากเราไม่จ่าย รถคุณมีโอกาสมีความเสียหาย
🙄
การเก็บภาษีคือการใช้อำนาจบังคับให้ได้มา
มีการบอกว่าไม่จ่ายจะเล่นงานคนไม่จ่าย
แล้วสำคัญคือเล่นงานจริงด้วย
แต่ผมไม่ได้บอกว่า อย่าไปจ่ายนะ
มันไม่คุ้มกับการเอาชีวิตไปให้เขากระทำความรุนแรงอย่างอื่น
การยอมเสียเงินไปให้รัฐ น่าจะมีชีวิตที่ดีกว่าขัดขืนเขาครับ
การจ่ายภาษีเป็นหน้าที่พลเมืองครับ
รัฐปัจจุบันเก็บภาษี แทนส่วย หรือการใช้แรงงานในสมัยก่อนใช่ครับ
แต่ถ้าคุณไม่อยากจ่ายภาษี ก็ไม่สมควรมีสิทธิ์ใช้สาธาณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ดำเนินการด้วยเงินจากภาษีเช่นกัน
ผมว่าหลายคนสับสน ระหว่างสิทธิ์ในการมีชีวิต/สิทธิมนุษยชน กับสิทธิ์ในการใช้ชีวิตในฐานะพลเมือง มันแตกต่างกัน
คุณมีสิทธิ์ของตัวเองตั้งแต่เกิด แต่การใช้ชีวิตถ้าคุณต้องการการรับรองความปลอดภัย สาธารณูปโภคต่างๆ คุณต้องจ่ายภาษีเพื่อให้มันดำเนินต่อไปได้
ถ้าคุณไม่จ่าย โดยอ้างสิทธิเสรีภาพและความพึงพอใจ(?) นั่นแปลว่าคุณกำลังละเมิดคนอื่นที่เขาจ่ายเพื่อให้ระบบมันดำเนินต่อไปได้ เหมือนคุณไปอยู่บ้านเช่า แล้ววันนึงบอกไม่จ่ายแต่ขออยู่เหมือนเดิมนั่นแหละ
รัฐไม่ได้มีสิทธิ์ทุกอย่าง อะไรที่รัฐทำผิดคุณแย้งได้ แม้แต่กฎหมายก็แก้ไขได้ เป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่บอกว่า ฉันไม่อยากจ่ายภาษี เพราะไม่ชอบรัฐ แต่ก็ยังใช้ประโยชน์จากภาษีอยู่ทุกวัน? (อาจจะยกเว้นถ้าคุณไม่ได้โพสจากในประเทศไทยนะครับ แต่คุณก็ต้องจ่ายภาษีให้ในรัฐที่คุณมีรายได้เช่นกัน คงไม่ได้อยู่เกาะร้าง?)
ผมยกไปแล้วนะ อย่าอ้างว่าrogue state เลยทำตัวเป็นโจรได้ มันคนละเรื่องกัน
ป.ล. อย่ายกคานธีนะครับ ตอนนั้นเขาประท้วงเจ้าอาณานิคมที่ยึดด้วยกำลังป.ล.2 คุณจอดรถในที่สาธารณะได้ ถ้ากฎหมายกำหนดให้เป็นจุดจอดรถ ไม่จำเป็นต้องเสียค่าคุ้มครองให้ใคร(ยกเว้นเทศบาลกำหนดให้จัดเก็บค่าจอดรถ หรือถ้าคนนอกมาจัดเก็บโดยที่ไม่มีอำนาจ อันนั้นเรียกว่ามิจฉาชีพ) แต่ทุกคนไม่จ่ายภาษี ถนนมันก็จะพัง ไม่มีงบมาดูแล และอาจมีโจรตามท้องถนน ผมเข้าใจเรื่องนี้ตั้งแต่เล่น simcityภาคแรกสุดเมื่อสามสิบปีก่อนแล้วครับ
ภาษีเป็นสิ่งที่บังคับพลเมืองแล้วกล่อมให้พลเมืองเชื่อว่าคือหน้าที่ครับ
ถ้าพูดถึงสวัสดิการ ถ้าไปต่างประเทศแบบ ฟรีวีซ่า
รัฐประเทศนั้นมีสวัสดิการหลายๆอย่างให้ไหม
เราไปใช้สวัสดิการเขานี่เป็นใจรไหม?
หรือให้เด็กที่พึ่งเกิด หรืออายุยังน้อยเป็นโจรด้วยไหม
ซึ่งมีนะเด็กที่เสียชีวิตก่อนไม่ได้โตเป็นผู้ใหญ่จนสามารถเสียภาษีเงินได้ๆ ยังไงล่ะที่นี้ตามไปเก็บชาติต่อไปไหม?
อย่าอ้างว่าใครเป็นโจรเพราะคนๆนั้นไม่จ่าย
คนจ่ายไม่ใช่คนดีกว่าคนไม่จ่าย
เราจ่ายได้ก็จ่ายไปไม่ต้องมากังวลว่าจะโดนรัฐหาเรื่อง
เขาไม่จ่ายก็ต้องรับความเสี่ยงโดนเล่นงานจากรัฐ
ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นก็แค่นั้น ตามที่รัฐอยากจะกำหนด
ยกตัวอย่างเรื่องบรรณาการ
ที่เมืองเล็กต้องส่งให้เมืองใหญ่ที่ตีชนะเมืองเล็ก
ไม่อยากโดนตีอีกก็ต้องส่งบรรณาการตามที่เมืองใหญ่อยากได้เรื่อยๆ
จริงๆบรรณาการก็มีสวัสดิการ คืออาจได้รับการปกป้องจากเมืองใหญ่ "อาจนะอาจ"
สมัยก่อนใช้ระบบไพร คือทุกคนที่ไม่ใช่ชนชั้นขุนนางต้องโดนเกณฑ์ไปใช้แรงงาน 6 เดือน หรือประมาณ 180 วัน ทุกคน
ต่อมามีแนวคิดจ่ายภาษีแทนการโดนเกณฑ์ไปใช้แรงงาน
จะเห็นได้ว่าแต่ก่อนภาษีเป็นทางเลือก ไม่ใช่บอกว่าคือหน้าที่อย่างทุกวันนี้ เขาอยากจ่ายเพราะมันส่งผลดีกับผู้จ่ายเองก็แค่นั้นครับ
ภาษี = ส่วย !?!แนวคิดอนาธิปไตยแบบหลุดโลกจนไม่รู้จะพูดอะไรต่อ 😱
ภาษีเกิดจากการวิวัฒนาการแล้วคนจำนวนมากเห็นตรงกันว่ามันเวิร์คครับ
คนเราตัวเดี่ยวๆ ทำอะไรได้น้อยมากครับ มันมีการรวมกลุ่มกันเรื่อยๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพตรงนั้นให้ดีขึ้นมา ซึ่งการรวมกลุ่มมันมีหลายระดับหลายรูปแบบ แต่รูปแบบนึงก็คือการรวมกันเป็นรัฐ ที่เก็บภาษีจากคนในรัฐมาเพื่อพัฒนารัฐ
ถ้าไม่รวมกลุ่มกันขนาดนั้น การจะมีถนนทั่วประเทศ มีรถไฟเชื่อมทั่วประเทศมันเกิดขึ้นยากครับ โทรศัพท์/อินเทอร์เน็ตก็รวนไปหมดแหละ
ทั้งรูปแบบของรัฐและรูปแบบการเก็บภาษีมันก็วิวัฒมาหลายรูปแบบไปหมดครับ ถึงตอนนี้ก็ยังปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพราะมันไม่มีคำตอบสุดท้ายหรอก
(ในอุดมคติ) รัฐเอาภาษีไปใช้เพื่อทำให้รัฐพัฒนา แน่นอนว่ายิ่งได้มามากก็ยิ่งดี วิธีทำให้ได้มามากมันก็มีหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการทำให้คนในรัฐมีกำลังจ่ายในหมวดที่ตรงกับเสียภาษีมากขึ้น ทั้งภาษีรายรับและภาษีรายจ่าย ที่มันโยงกันอีกเต็มไปหมด รัฐก็ต้องปั้นให้คนอยากมาอยู่มาเสียภาษีกับตัวรัฐเพื่อทั้งดึงคนมาจ่ายภาษีและยื้อไม่ให้คนไปจ่ายภาษีที่อื่นแทน
ไม่ครับ เพราะรัฐเค้าตั้งใจให้เราไปเสียเงินเข้าระบบเค้า สุดท้ายเค้าก็เป็นฝ่ายได้ประโยชน์แม้จะทำแบบเค้าไม่ได้อะไรเลย แต่ค่าเฉลี่ยที่เกิดขึ้นของทุกคนที่ไป เค้าก็ได้ประโยชน์มากกว่าเสียนั่นแหละ
ก็ไม่อีกครับ เพราะเด็กที่เพิ่งเกิดจะเอาอะไรไปจ่ายภาษีล่ะ และการไม่เสียภาษีหรือกระทั่งการที่ลดหย่อนภาษีให้คนที่มีเด็กนั้นมันเป็นไปเพื่อการจูงใจให้คนมีเด็ก การที่เด็กไม่เกิดใหม่มาสุดท้ายรัฐก็จะเละเพราะอนาคตคนที่จะเสียภาษีมันน้อยลงนั่นแหละครับ
ทั้งสองข้อที่ว่ามามันมีที่มาที่ไปที่ผ่านการขบคิดกันมาระดับนึงแล้วว่ามันเวิร์ค ตรงไหนควรเก็บตรงไหนไม่ควรเก็บ แล้วก็ยังวิวัฒต่อๆ ไปอีก
การที่บังคับและมีการลงโทษก็เช่นกันครับ
คุณคิดว่าคุณตกอยู่ในข้อไหนที่คนคิดว่างดเว้นภาษีให้คุณแล้วส่งผลดีต่อตัวเค้าครับ?
ถ้าบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยเต็มที่ คุณก็แค่เอาเหตุผลไปชักจูงให้เสียงข้างมากกว่าเปลี่ยนนโยบายภาษีไปรูปแบบที่คิดว่าดีกว่า แค่นั้นเอง
เรื่องบรรณาการ ก็ประมาณนั้นแหละครับ แต่มันก็มีข้อดีข้อเสียที่ไม่จ่ายเหมือนกันไง ถ้าไม่จ่ายแล้วเมืองนั้นไม่ได้มาตีด้วยซ้ำ แต่เมืองอื่นมาตีเมืองนั้นก็ไม่ช่วย (ซึ่งมันก็มีรูปแบบนั้นอยู่ อย่าไปนับแต่ถ้าไม่จ่ายแล้วเมืองนั้นจะมาตีเองสิครับ)
เรื่องจ่ายแทนการโดนเกณฑ์ไปใช้แรงงานมันหายไปเพราะเค้าคิดกันแล้วว่ามันไม่เวิร์คครับ ถ้าคิดว่าเวิร์คก็ไปหาทางเปลี่ยนกลับเอา
แล้วการที่เลือกระหว่างไปใช้แรงงานให้รัฐกับจ่ายเงินให้รัฐนี่ผมไม่เรียกว่าทางเลือกว่าจะจ่ายหรือไม่จ่ายนะ มันคือจ่ายด้วยแรงงานหรือจ่ายด้วยเงินนั่นแหละ
สิ่งที่คุณคิด อาจเป็นจริงถ้าคุณไปสร้างโลกใหม่อ่ะครับ หรืออาจจะจริงในโลกก็นี้ได้
แต่คุณไม่สามารถใช้ทฤษฎีตามที่คุณกล่าวมาได้ตราบใดที่คุณยังอาศัย และพึ่งพาโครงสร้างระบบภาษี และอยู่ในระบบโครงสร้างระบบภาษีครับ แค่นั้นแหละ
ที่ผมแสดงความเห็น ก็ใช้ทฤษฎีนี้แหละครับ การเก็บภาษีคืออะไร ต้องอยู่กับมันยังไง(ตามน้ำไงครับ จ่ายไปสิ จ่ายสบายกว่า ขัดขืนสู้เขาก็ได้เจอความเจ็บปวดที่เขาจะเอามาประเคนมอบให้)
ก่อนอื่นระบบภาษีของรัฐปัจจุบัน มันก้าวหน้าเกินกว่ายุคฟิวดัลหรือยุคกลางไปเยอะแล้วนะครับ อย่าได้ยกตัวอย่างสมัยนั้นมาเลยครับ รัฐปัจจุบันก็สร้างสาธารณูปโภคตอบแทนผู้เสียภาษีตั้งแต่เกิด ตั้งแต่ยังไม่เสียภาษีอยู่แล้ว ไม่ใช่แค่ค่าคุ้มครองกะลาหัวแบบสมัยโบราณ ที่เงินจะเข้าส่วนตัวผู้ครองรัฐมากกว่าจะมาบริหารรัฐเพื่อประชาชน แบบรัฐยุคใหม่ ที่ต้องบริหารอย่างโปร่งใส(เราไม่พูดถึงกรณีcorruptionนะครับมันคนละเรื่อง)
ภาษีขั้นพื้นฐานในปัจจุบัน คือจ่ายเมื่อมีรายได้หรือเมื่อเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจครับ(อาจมีข้อยกเว้นบางกรณีแต่ผมพูดถึงส่วนใหญ่แล้วกัน) เด็กเกิดใหม่ยังไม่มีรายได้ก็ไม่ต้องจ่ายครับ แต่เด็กเกิดใหม่ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ระบบภาษีสร้างตั้งแต่เกิด เช่นโรงพยาบาล โรงเรียน หรือแม้แต่เงินสนับสนุนจากรัฐที่ให้แม่เด็ก ฯลฯ ถึงวันใดที่มีรายได้ก็ต้องเสียภาษีแม้จะยังเด็กก็ตาม(นึกถึงสมัยดราม่าดาราเด็กโดนสรรพากรเรียกภาษีนานมาแล้ว)
ประเทศฟรีวีซ่า เขาก็หวังรายได้จากการใช้เงินของนักท่องเที่ยวไงครับ เมื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเขาก็ได้ภาษีทางอ้อมมาเองจาห้างร้านที่ขายของให้นักท่องเที่ยว รวมไปถึงภาษีvatที่นักท่องเทียวซื้อของในระบบ
สมัยก่อนมีทางเลือก? ดูละครย้อนเวลาโลกสวยมากไปไหมครับ ไพร่ในอดีตก็ดีกว่าทาสนิดเดียว ใช้แรงงานครึ่งปีนี่ไม่ได้เงินเดือนนะครับใช้แรงงานฟรีเลยล่ะ ระบบจ่ายภาษีแทนแรงงานนี่เกิดเพราะคนต่างด้าวอพยพ เช่นพ่อค้าจีนอพยพมาทีหลัง ไม่โดนบังคับเกณฑ์แรงงาน เลยมีระบบเลือกจ่ายภาษีแทนได้ ไพร่ธรรมดาว่างหลังจากเกณฑ์แรงงานครึ่งปีก็ไปทำนาเลี้ยงลูกเมียก็แทบแย่ จะไปทำรายได้หาเงินจากไหน? หรือถ้าคุณไม่อยากใช้แรงงานไม่อยากจ่าย หนีข้ามเมืองยังไม่ได้เลย(เมืองใครเมืองมันนะครับโยกย้ายถิ่นฐานแบบปัจจุบันไม่ได้) แถมเกิดสงครามก็เทครัว โยกย้ายไปตามผู้มีอำนาจกวาดต้อนไป ยกเว้นจะหนีเข้าไปเป็นคนป่าลึกไม่พบเจอผู้คน แบบนี้หรือที่เรียกว่าทางเลือก?
คนสมัยนี้ผมว่ายิ่งเห็นว่าภาษีตัวเองทำอะไรได้ ก็จะยิ่งเข้าใจ ใกล้ๆตัวก็โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ถ้าใครคิดว่ามันลอยมาจากอากาศก็ไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว ถ้าพลเมืองไม่เชื่อในระบบภาษี รัฐก็กลายเป็นรัฐล้มเหลวครับ เพราะไม่มีเงินมาบริหารอะไรเลย ที่มีบทลงโทษก็เพราะแบบนี้
ไม่มีใครอยากเสียเงินหรอกครับ เพียงแต่ระบบมันทำให้คุณต้องแฟร์กับทุกคนจึงเป็นหน้าที่ ไม่ใช่หนีไม่ยอมจ่ายภาษี แต่ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างของรัฐที่เกิดจากภาษี มันเอาเปรียบคนอื่น
ถ้าคุณบอกเสรีภาพคือการเลือกที่จะไม่จ่ายภาษี เแนวคิดนี้คือ anarchy ครับ คือกลับไปสู่ยุคคนป่า
ป.ล.นอกเรื่องblock chain ไปไกลละ เอาเป็นว่าผมก็ยังคิดว่าทางผลลัพธ์ในแง่เทคนิคแล้ว มันแทบไม่ได้มีจุดเด่นเหนือระบบเก่า เพียงแต่ด้วยช่องโหว่เงื่อนไขข้อกฎหมาย มันทำให้กลายเป็นจุดเด่นขึ้นมาดูเหนือกว่าได้เพราะได้เปรียบตรงที่ไม่สนกฎหมาย ซึ่งก็กลายเป็นจุดอ่อนในตัว ทำให้เกิดการfraud ฉ้อโกงในแบบยุคเก่าย้อนกลับมาเช่นกัน
ผมก็มีได้แค่ 6 comment นะถ้าจำไม่ผิด
ใช่ครับ การที่ไม่มีรัฐกำกับมันมีข้อเสียเรื่องการฉ้อโกงเยอะจริง
ผมก็ไม่ได้จะบอกว่า blockchain มันดีในทางเทคนิค ถ้ายกเรื่องกฎหมาย หรือการกำกับควบคุมออกผมบอกว่าเจตนามันมีจุดประสงค์หลักมันทำเพื่ออย่างนั้นคือเพื่อไม่ให้ถูกรัฐควบคุมหรือถูกควบคุมได้ยาก
มีคนเลวจริงๆที่ใช้ blockchain เยอะมากผมเห็นด้วย ส่วนคนที่คุณและรัฐบอกว่าเลวก็มีใช้พอสมควร
เรื่องภาษีมันก็คือข้อบังคับที่รัฐจะต้องคิดพัฒนาวิธีทำให้ได้มาซึ่งเงินจากคนที่ถูกปกครอง จะวิธีที่ชอบธรรม ไม่ชอบธรรมก็ตาม ไม่ต้องไปกังวลแทนรัฐ คุณไม่ต้องกลัวว่าคนจะพากันไม่เสียภาษีเพราะความเห็นผม ผมไม่ได้มีความเห็นให้คนต่อต้าน +ไม่ใช่คนที่ชอบเป็นแกนนำไปผลักดันอะไร ผมชอบอยู่แบบชีวิตไม่ตึงเครียดในยุคที่เรายังโอเคกับรัฐ พึ่งรัฐได้พอสมควรผมแค่อธิบาย "มันเป็นเรื่องหน้าที่ ,หรืออำนาจ+คำลวงโฆษณาชวนเชื่อกันแน่"
โลกนี้มันไม่ได้เสรีภาพ มีการกดดันให้ยอม มีการทำร้ายกัน มีการให้การคุ้มครอง มีการประณามโดยเข้าใจถูกทางหรือผิดทาง
อะไรที่มันดูแล้วมันทำให้ผมหรือคุณมีชีวิตได้ดีในทางที่ดี ยังพอรับได้กับราคาที่จ่ายก็จ่ายไปครับผมสนับสนุน
ที่แสดงความเห็นแค่บอกว่าผมไม่เชื่อคำกล่อม ไม่ตราหน้าคนที่ไม่ได้ทำร้ายคนอื่นว่าโจร เขาแค่หัวแข็ง
เข้าใจว่าที่ไปประนามเพราะเชื่อว่าคนหัวแข็งเป็นคนเลวไม่ดี ซึ่งผมเห็นว่าไม่ใช่
หากคนหัวแข็งเยอะมากมันส่งผลเสียต่อรัฐและคนในสังคมทั้งคุณและผมก็ใช่
แต่ก็ไม่เกี่ยวกับเขาเป็นคนไม่ดี หรือเป็นโจรอยู่ดี การส่งผลกระทบในทางไม่ดี ยังบอกไม่ได้ว่าเขาคนนั้นเป็นคนเลว
คนที่ส่งผลกระทบในทางไม่ดี ถ้าจะบอกว่าเป็นคนที่ไม่น่าคบก็ได้ แต่จะเป็นคนเลวไหม ต้องดูเรื่องว่าเขาคุกคาม หรือทำร้ายเราไหมด้วยครับ
ผมเข้าใจเรื่องการบังคับใช้ของอำนาจคู่กับรายจ่ายประจำรัฐ +สวัสดิการประชาชน +การพัฒนาต่างๆนะ (สร้าง ปรับปรุง ดูแล)ว่าทั้งรัฐ คุณและผมเองก็ยังมองไม่ออกว่าหากไม่ใช่อำนาจบังคับเก็บเงินจะทำยังไง
แล้ว fee ที่ใช้ในการโอนหรือทำธุรกรรมด้วย blockchain ไม่นับเป็นภาษี/ค่าธรรมเนียม/ส่วยดิจิตอล ที่ต้องจ่ายหรอครับ?
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ค่า Fee คือค่าจ้างเป็นรายครั้งครับ
คือจะมองว่าค่าจ้าง หรือค่าบริการเป็นรายครั้งเป็นเสมือนภาษีอย่างหนึ่งก็ได้เช่น Vat ,การเสียภาษีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
Vat เองก็ไม่ได้เสียแค่คนในรัฐนะ ถ้าคนต่างรัฐไม่ทำเรื่องขอคืน
แต่ที่คุยกันมีประเด็นมุ่งหมายถึงภาษีรายได้เป็นหลัก
ที่เมื่อเรามีรายได้มากตามที่รัฐกำหนดเราจะโดนรัฐบีบเก็บแม้เราไม่ได้เรียกร้องอะไรกับรัฐครับ
ต่างกับค่า Fee ของ Blockchain ที่เราอยู่นิ่งๆ หรือเป็นฝ่ายรับเท่านั้นจะไม่ต้องเสียค่า Fee ครับ
คุณกำลังหลงประเด็นนะครับ
คุณพยายามอ้างว่ารัฐกล่อมคนอื่นให้เชื่อว่าคนไม่จ่ายภาษีเป็นโจร แต่พอบอกว่า blockchain ก็มี tx fee ไม่ต่างจากภาษีการโอน ภาษีvat คุณบอกว่าไม่เป็นไร ยอมรับได้เป็นธรรม?
เรื่องชนิดภาษีมันคนละเรื่องกันเลย และต้องถกเถียงกันอีกยาว ว่าทำไมถึงยอมรับภาษีที่เกิดจากการโอน แต่ไม่ยอมเสียภาษีที่เกิดจากรายได้? ทั้งๆที่มองตามจริง คุณโอนให้คนอื่นแม้จะขาดทุน ก็ต้องเสียภาษี แต่ภาษีเงินได้ ถ้าเป็นการค้าและขาดทุน ไม่ต้องเสียนะครับ
อย่ายกตัวอย่างว่าคุณจะเป็นฝ่าย"รับ"โอน เลยไม่ต้องเสียเลยสิ ชีวิตนี้ไม่คิดจะโอนจ่ายค่าอะไรเลย หรือคิดว่า ก็ฟอกเงินผ่านการขายคริปโตแบบ p2p ก็เลยไม่เสียภาษีใดๆเพิ่มอีกแล้ว?
ก่อนอื่นคุณต้องยอมรับนะครับว่า ตั้งแต่เกิดยันตาย ถ้าคุณอาศัยอยู่ในประเทศนี้ คุณได้รับผลประโยชน์จากงบประมาณที่มาจากภาษี แม้คุณจะพยายามอ้างว่าไม่เห็นคุ้มค่าหรือไม่ได้อยากจ่ายสักหน่อยก็ตาม
ถ้าไม่ยอมรับเรื่องนี้ร่วมกัน มันก็คงคุยต่อกันไม่ได้ คุณพยายามอ้างคำว่าเสรีภาพ การโกงภาษีนี่คือโจรแบบเสรีหรือเปล่า?
ไม่ต้องอ้างรัฐหรอกครับ สมมติตัวอย่างใกล้ตัวสุดๆ คนข้างบ้านไม่ยอมจ่ายค่าทิ้งขยะกับเทศบาล แต่แอบเอาขยะมาทิ้งถังขยะหน้าบ้านคุณที่คุณจ่ายค่าเก็บขยะเป็นประจำ หรือแย่กว่านั้นกองทิ้งไว้บนถนนให้สกปรกเต็มไปหมด คุณจะบอกว่าเทศบาลเป็นเผด็จการ ออกกฎรังแกประชาชน บีบบังคับให้ประชาชนต้องจ่ายเงิน ไม่ให้เสรีภาพในการทิ้งขยะเกลื่อนกลาด? กล่อมให้เพื่อนบ้านกล่าวหาคนไม่ยอมจ่ายค่าขยะว่าเป็นโจร?
แต่สำหรับผมคนที่ทำแบบนี้คือใช้ประโยชน์จากงบประมาณที่เกิดจากภาษี แล้วไม่ยอมจ่าย ผมเรียกว่าโจรครับ ถ้าคุณไม่ทำตัวเป็นโจร ก็คงไม่มีใครว่าคุณเป็นโจรครับ พื้นฐานง่ายๆ การละเมิดคนอื่น=โจร ไม่ต้องยกกฎหมายอะไรมาเลย กฎธรรมชาติล้วนๆ
ส่วนเรื่องความคุ้มค่า การcorupptionเป็นคนละเรื่องกัน รวมถึงภาษีแบบไหนไม่เป็นธรรม ถกเถียงกันได้ แต่ไม่ใช่ชูแนวคิดanarchy ว่าฉันไม่อยากจ่ายภาษีเพราะฉันมีเสรีภาพ รัฐจะมาว่าฉันไม่ได้ คนละเรื่องกันสุดๆ
ถ้าไม่อยากจ่ายภาษี ก็อย่าเบียดเบียนคนอื่นด้วยภาระทางภาษี
สุดท้ายที่คุณพยายามยกมา ก็คืออยากใช้blockchain เพื่อเลี่ยงภาษีเท่านั้นเอง ไม่ได้ยกตัวอย่างการใช้งานจริง ที่มีประโยชน์โดดเด่นกว่าระบบเก่าตรงไหนเลย ระบบเก่าก็เลี่ยงภาษีได้ ทำserverโอนเงินเถื่อน เข้าถึงผ่านVPN บัญชีใช้บัญชีม้าก็ทำอยู่เยอะแยะได้(blockchain แค่สร้างtrustเพิ่มเท่านั้น)
คุยกันไม่ถูกล่ะ ถ้าจะกันรัฐออกไป
เชื่อคำกล่อมอย่างสมบูรณ์ไปแล้ว
รัฐบอกไงก็เชื่อหมด
มีคนมากมายที่ได้เงินภาษีจากที่รัฐอยากให้
เอาเรื่องทุนให้เปล่าของต่างประเทศ
แล้วถ้าคนได้ไม่อยากทำงานให้ประเทศนั้นก็ชวนสงสัยแล้ว
ว่าอ้าวเอาเงินของคนรัฐนั้นไปให้ฟรีทำไม
อาจจากภาษีหรือเงินมหาวิทยาลัย
อย่างที่คุณบอกว่ารัฐจะคอรัปชั่นเป็นคนละเรื่องกัน
ผมบอกได้แบบเดียวกันว่าการได้ประโยชน์ก็เรื่องหนึ่ง
การบังคับจ่ายก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
มุมมองคุณว่าใครเป็นโจรผมก็ไม่ขัดแล้ว
เชื่อแบบนั้นคุณมีชีวิตดี ไม่ทำร้ายใครให้ใครเจ็บตัวผมก็ไม่ติดอะไรแล้วครับ
การเชื่อแบบนั้นมันไม่มีปัญหาก็ตามนั้นดีแล้วครับ
แต่จะบอกว่าผมหลงประเด็น ผมก็ไม่สะดวกรับคำบอกนั้นครับ
ผมได้ยกคำอธิบายไว้ข้างบนแล้ว
(ผมเคยขายบ้านขาดทุน ขายถูกกว่าราคาซื้อเสียภาษีเยอะด้วย ภาษีธุรกิจเฉพาะ เพราะไม่ได้เอาชื่อเข้าในทะเบียนบ้านและซื้อไม่ถึง 5 ปี ยังงี้ขาดทุนผมไม่ต้องเสียเหรอครับ)
ผมบอกแล้วครับ ใครที่"ละเมิด"คนอื่น คือโจรครับ ไม่ต้องอ้างรัฐที่ไหน เพียงแต่เรื่องการใช้ภาษีมันกว้าง จนอาจมองภาพไม่ออก ผมเลยยกตัวอย่างใกล้ตัวสุดๆของคนมีบ้าน คือการจ่ายค่าขนขยะ แล้วมีบางบ้านไม่ยอมจ่ายแถมยังแอบมาทิ้งในถังหน้าบ้านคุณให้เลอะเทอะ คุณไม่เดือดร้อน? คือบางทีมันไม่ได้เดือดร้อนโดยตรงเลยคิดเข้าข้างตัวเองว่า การที่คนนึงจะโกงภาษีหรือหนีภาษี ไม่ได้กระทบคนอื่นๆ แต่ในความเป็นจริงมันก็กระทบหมดนั่นแหละ ผมขำที่คุณพยายามบอกว่ารัฐกล่อมว่าทำแบบนี้เป็นโจร แต่คุณไม่แย้งในประเด็นที่ว่ามันกระทบคนอื่นจริงๆ
อ้าว คุณยอมรับtx fee ของblockchain ได้ แต่มาบอกว่าไม่ยอมรับค่าโอนที่ขายบ้านขาดทุนได้ยังไง? คุณพูดขัดแย้งกันเองหรือเปล่า? ภาษีก็มีทั้งชนิดตามการทำรายการ หรือภาษีเงินได้ มันก็คนละส่วนกัน คงไม่ต้องบรรยายว่าชนิดภาษีมีที่มา และแนวคิดแตกต่างกันอย่างไรนะครับ
ของใหม่ก็ภาษีหุ้นจะขาดทุนกำไรก็เก็บถ้าไม่ใช่กองทุนที่รัฐบอกยกเว้น
ผมพยายามบอกนะว่าไม่ว่าภาษี สวัสดิการ สาธารณูปโภค บริการรัฐ มันเกิดจากอำนาจที่มีต่อกันทั้งนั้น
รัฐเก็บภาษีเรื่องนั้นได้ไหม เพราะเขาดูแล้วว่าเขาบังคับไปแล้วคนโดนบังคับแล้วคนโดนไม่คิดต่อต้านหรือไม่สามารถร่วมมือกันจนมีพลังต่อต้านที่มากกว่ารัฐได้
ยกเรื่องการเก็บภาษีจากรถไฟฟ้ายี่ห้ออื่นที่ไม่ได้ผลิตจีนได้สามารถเก็บภาษีได้เยอะกว่ารถไฟฟ้าผลิตจีนเพราะรัฐอำนาจต่อรองสู้จีนไม่ได้ไปยอมเรื่องภาษีเขามากกว่าประเทศอื่น
ในทางตรงกันข้ามในเรื่อง สวัสดิการ สาธารณูปโภค บริการรัฐจะนำเงินไปใช้ได้ดีไหมแค่ไหนก็ต้องดูว่าประชาชนในรัฐทั้งหมดหรือบางส่วนกลุ่มไหนมีอำนาจอะไรไปกดดันให้รัฐเอาเงินมาใช้อะไร และมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน
เรื่องของภาษีและผลที่ได้รับจากภาษีล้วนเป็นไปตามอำนาจที่มีต่อกันไปมาทั้งหมด(ผู้ปกครองต่อผู้ถูกปกครอง | ผู้ปกครองต่อผู้ปกครอง)
การกล่อมโฆษณาชวนเชื่อก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนรับสารลดความเข้าใจในพลังอำนาจ ให้มองไม่เห็นอำนาจ จะได้ไม่ต่อต้านในอำนาจ หรือลดการทำให้อยากหาทางมามีอำนาจมาต่อรองกับรัฐครับ
พอยกตัวอย่างมาแย้งคุณก็ยัดว่าผมไม่ยอมรับกับการโดนเก็บภาษีนั้นผมล่ะมึน
ทั้งที่มันก็มีโดนเหมือนกันไม่ว่าจะขาดทุนกำไร
ก็อ้างว่ามันคนละส่วนได้ตลอดนะครับ
ภาษีหุ้น เป็นtx fee ครับ เหมือนblockchain นั่นแหละ
เขาออกแบบมาเพื่อลดการเก็งกำไรหุ้นระยะสั้น
จะดีไม่ดีก็ไปเรียกร้องกันครับ
ใช่ครับรัฐต้องบริหารผลประโยชน์ของพลเมือง(ใครบอกว่ารัฐเป็นผู้ถือคุณธรรมนี่สงสัยยังหลงยุค) ผู้ปกครองก็มาจากที่ทุกคนเลือกมา(อาจจะยกเว้นรัฐบาลจากคณะรัฐประหาร)
ถ้าใครไม่เรียกร้องก็โดนเอาเปรียบ แต่เขาก็ไม่ได้ห้ามคุณเรียกร้องหรือคัดค้าน ตรงนี้เป็นเสรีภาพ และมีผลต่อคะแนนเสียงต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองที่อำนาจมาจากประชาชน(ยกเว้นคณะรัฐประหาร)
แนวคิดที่คุณพยายามบอกว่ารัฐกล่อมคนอื่นทุกคนต้องต่อต้าน คุณก็กำลังโดนกล่อมจากแนวคิดAnarchy นี่แหละ ลองไปค้นดูนะครับ เชือกมีสองด้านครับ
แม้แต่ซ้ายสุดโต่ง ก็ยังต้องเก็บภาษี ยกเว้นว่าจะเป็นคอมมูนฯ ทำนารวมกันไปเลย ซ้ายแบบรัฐสวัสดิการเข้มๆนี่จัดเก็บภาษีหนักกว่าUSA ซะอีก
หลังๆนี่คุณเปลี่ยนประเด็นไปว่าภาษีชนิดไหนไม่สมเหตุสมผลนะครับ
ป.ล.ผมงงที่คุณพยายามบอกว่า tx fee ในblockchain ต่างจากภาษีค่าโอนอื่นๆหรือภาษีหุ้น ทั้งๆที่มันก็เก็บทุกครั้งโดยไม่สนใจกำไรขาดทุนเช่นกัน?
ภาษี สวัสดิการ สาธารณูปโภค ล้วนต้องใช้อำนาจเข้าใส่กันทั้งนั้น
แล้วการเก็บขยะที่เสียเพราะเป็นบริการที่ตกลงกันไหมครับ
ไม่ได้อยู่ดีๆโดนมาเก็บมันยกเทียบกับภาษีเงินได้ที่บังคับเก็บไป
รวมกองกลางไปใช้กับทุกอย่างได้เหรอครับ
"Tx Fee ผมบอกว่าต่างกับภาษีค่าโอนตรงไหน"ผมเอามาแย้งคุณที่บอกผมว่ากำไรขาดทุนไม่ต้องเสียภาษีแบบ Tx fee Blockchain
ประชาชนจะโดนเก็บเรื่องไหน แค่ไหนก็เป็นเรื่องอำนาจที่เขามีว่าประชาชนทั้งหมดหรือบางส่วนมีพลังต่อแย้งมากพอไหม
ประชาชนจะได้รับสวัสดิการ เรื่องไหน แค่ไหน
ไม่โดนหรือโดนคอรัปชั่นมากน้อยแค่ไหนก็เป็นเรื่องที่ประชาชนมีอำนาจทำให้เขาต้องให้ไหม
แล้วถ้าให้เรื่องนั้นจะให้แค่ไหน
ถ้าคุณเข้ามาอยู่ในเขตเทศบาล(ถ้ากทม.ก็พื้นที่ในเขต) ต้องจ่ายครับเป็นข้อกำหนดในเทศบัญญัติเลย แต่ปกติไม่จ่าย เขาก็ไม่ได้ลงโทษอะไร แค่ไม่เก็บขยะบ้านนั้น
แต่ร้อยละร้อยของคนที่ไม่ยอมจ่าย ละเมิดคนอื่นต่อ ด้วยการแอบไปทิ้งถังบ้านคนอื่นครับ เพราะในความเป็นจริง คุณจะกำจัดขยะอย่างไร ถ้าไม่ฝากเทศบาลกำจัดไม่ว่าทางตรงหรืออ้อม(อย่าบอกว่าเผาเองหมดนะ ผิดกฎหมายอีกตะหาก หรือแอบเอาไปทิ้งถังขยะข้างถนน ก็ไม่ต่างกันคือใช้ประโยชน์จากเทศบาล)
ยังไม่นับว่าภาษีชนิดอื่นๆที่จ่ายให้เทศบาล (จริงๆยังมีภาษีหรือค่าบริการอื่นๆที่ต้องจ่ายให้เทศบาลอีก เช่นภาษีที่ดินในปัจจุบันจ่ายให้เขต/เทศบาล แต่อันนี้มีการลงโทษชัดเจน เพราะมูลค่าสูง) ก็มาดูแลถนนหน้าบ้านคุณ ไฟส่องสว่างอีกที มีหมู่บ้านเอกชนนึงคิดแบบคุณเลย มีลูกบ้านจำนวนหนึ่งไม่อยากจ่ายค่านิติบุคคล จนเงินไม่พอบริหารก็ล้มไป แถมเจ้าของหมู่บ้านไม่ยอมโอนถนนให้เป็นสาธารณะ(หมู่บ้านก่อนกฎหมายบังคับ) เทศบาลก็มาดูแลไม่ได้ ไฟถนนมืดสนิท ถนนพัง ไม่มีคนซ่อม กลายเป็นคุณภาพชีวิตลดลง แต่อันนี้เป็นสิทธิ์ในการเลือก เพราะไม่ได้โอนให้สาธารณะ เทศบาลก็มายุ่งไม่ได้ครับ และผลลัพธ์ก็เห็นๆกันตามนั้น แม้ว่าลูกบ้านคนที่จ่ายค่านิติฯประจำ จะไม่ได้เลือกแต่โดนผลกระทบจากคนที่ไม่ยอมจ่ายก็ตาม
tx fee ผมก็งงๆกับคุณนะครับ เพราะคุณบอกblockchain ไม่บังคับ แต่"ต้อง"เสีย tx fee ผมก็เลยบอกว่ามันต่างจากภาษีชนิดที่คิดตามรายการแบบค่าโอนที่ดิน ฯลฯ ตรงไหน? ก็คือblockchain ก็"บังคับ"ให้จ่ายภาษีชนิดหนึ่งเช่นกัน และคุณก็เลือกไม่ได้ด้วย ว่าจะไม่ยอมจ่าย ไม่งั้นก็โอนไม่ได้ แต่คุณอ้างแค่ว่าถ้าเป็นฝ่ายรับโอน ก็ไม่ต้องจ่าย(จริงๆการโอนที่ดินฝ่ายรับโอนก็ไม่ต้องจ่ายนะครับ แล้วแต่การตกลงซื้อขาย ว่าจะหารครึ่ง หรือฝั่งไหนออกหมด เพราะเขาเก็บจากเจ้าของโฉนดที่โอนออก)
ภาษีที่คุณไม่อยากจ่าย คือภาษีเงินได้มากกว่า เพราะblockchain ช่วยให้เลี่ยงภาษีเงินได้ และไม่บังคับจ่ายภาษีกำไร(คิดแต่ tx fee)
ก็เห็นตรงกันนะครับ ผมว่าเราคุยกันยืดยาว สรุปได้ว่า blockchainไม่ได้มีเทคโนโลยีอะไรเหนือกว่าระบบ DBแบบเก่า แต่มันมีจุดเด่นทำให้การตรวจจับการไหลของเงิน เพื่อโยงไปถึงภาษีเงินได้(ที่คุณบอกว่าเป็นเสรีภาพที่จะไม่จ่าย) ได้ยากขึ้น เท่านั้นเอง
เรื่องเสรีภาพทางภาษีอะไรพวกนี้ ผมว่าไม่เกี่ยวกับblockchain โดยตรงแล้ว
คุณคิดว่าชีวิตนี้คุณอยู่ได้โดยไม่ต้องมีถนนและการคมนาคม การศึกษา ความปลอดภัย การสารธารณสุขหรือเปล่าครับ?
ถ้าอยู่ไม่ได้แปลว่าคุณต้องมีรัฐและอำนาจรัฐเข้ามาเกี่ยวครับ ภาษีที่คุณจ่ายเป็นสิ่งที่ต้องจ่ายเพื่อให้รัฐดำเนินงานครับ ไม่มีใครทำอะไรให้คุณฟรีๆ แนะนำลองหาอ่านเรื่อง taxation as social contract ดูครับ เผื่อจะเข้าใจอะไรมากขึ้น
อันนี้เป็นคำด่านะครับ - ขนาดอยู่ในประเทศ vat 7% ยังเป็นเอามากขนาดนี้เลยนะเนี่ย คนเห็นแก่ตัวบางทีก็เห็นแก่ตัวแบบไม่มีเหตุผลจริงๆ รวยแล้วทำนู่นทำนี่อะไรเองได้นิดหน่อยแล้วก็คิดเอาเองว่าไม่ต้องพึ่งรัฐ ไม่ต้องพึ่งคนอื่นไม่ต้องช่วยเหลือคนอื่น เห็นเศษเงินตัวเองที่ต้องคืนสังคมนิดๆหน่อยๆเป็นการถูกปล้น เหอะๆ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมเคยบอกไหมว่าไม่ต้องมีรัฐ เคยบอกไหมภาษีไม่ควรเก็บ
ที่บอกคือเรื่องอำนาจระหว่างกันครับและคุยว่าจุดประสงค์การทำ Blockchain มาเพื่ออะไร
เข้าใจกันไปคนล่ะทาง
เพราะคุณไม่เข้าใจว่ารัฐจะดำเนินงานได้ต้องเก็บภาษีไงครับ
ไม่ใช่เข้าใจไปคนละทางครับ เค้าเข้าใจกันหมดสิ่งที่คุณจะสื่อ เพียงแต่คุณต่างหากที่ไม่เข้าใจอะไรเลย
อ้อคำด่าผมยัง stand อยู่นะครับ :)
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เข้าใจครับถึงบอกในข้อความข้างบนคำด่าอันนั้นตามใจครับ
เข้าใจแน่เหรอครับ?
งั้นบอกใจความหลักของ taxation as social contract มาครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมไม่ได้เห็นด้วยกับหลักนี้
จะให้อธิบายในเรื่องที่ไม่เห็นด้วย ผมไม่ทำครับ
ผมบอกเรื่องการใช้อำนาจต่อกันมาตลอด เพื่อให้ได้มาซึ่งภาษี และผลประโยชน์จากภาษีมาตลอดครับ
ซึ่งก็สามารถเป็นรัฐ มีการเก็บภาษีได้ และมีผลประโยชน์จากภาษีที่เป็นอยู่ได้ตามที่เห็นกันอยู่แล้ว
การเก็บภาษีเป็นเรื่องแรงการกดดันของสังคม
(สังคมอยากให้บังคับ)นอกจากรัฐจะลงโทษยังโดนสังคมประนาม
ผมจึงไม่แปลกใจที่คุณด่าออกมากับเขาด้วย
สรุปว่าคุณไม่ได้บอกว่ารัฐไม่ได้เป็นสิ่งไม่จำเป็น
แต่บอกว่าคนไม่ควรต้องจ่ายภาษี?
หึๆ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
อันนี้บอกก่อนว่าไม่เกี่ยวกับ Blockchain เลย
จริงๆที่ผ่านก็คือแทบจะคุยเรื่องการเมืองทั้งหมดแล้ว
ผลประโยชน์ด้านภาษี มันมาจากภาษีตามที่คุณอยากบอก
ผมเข้าใจที่แต่ล่ะคนบอกมาตลอด
แต่เรื่องการใช้อำนาจต่อรองแล้วทำให้เสียมาก เสียน้อย หรือไม่เสีย
ไม่โดนคนบริหารเงินโกง โดนฯโกงน้อย ได้ผลประโยชน์คืนมาก ได้ผลฯคืนน้อยมันเกี่ยวพันกับพลังอำนาจของแต่ล่ะฝ่ายทั้งนั้น
แค่ให้มองเรื่องอำนาจบังคับต่อกัน
มีทั้งการบังคับได้เลยแบบไร้การต่อต้าน มีทั้งจะบังคับแล้วโดนต่อต้านจนต้องแก้ไขหรือยกเลิก หรือถูกเรียกร้องยังไงก็ไม่ให้
หรือถูกเรียกร้องจนต้องให้
ขณะนั้นผลสรุปออกมาแล้วยังไง
อยากอยู่ดีๆในสังคม
ต้องทำตาม จะได้บ้างแค่ไหนตามสภาพไปก็แค่นั้น
ผมไม่ไปอยากไปหาอำนาจบังคับฝ่ายใด หรืออยากต่อรอง ต่อต้านอะไร
ไม่ได้ไม่ยอมจ่ายไม่ชวนคนให้ไม่จ่ายอะไรทั้งนั้น
บอกให้จ่ายกันไปตามสภาพบังคับด้วยซ้ำ
สิ่งที่เป็นผมสัมผัสได้แบบนี้ ก็อธิบายให้ฟังตามที่เห็นตามนี้แค่นั้นเอง
หึๆ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
คุณแค่เอาเรื่องที่ไม่เกี่ยวกันมาผูกโยงกันจนเป็นเงื่อนไขและออกมาเป็นทฤษฎีในแบบของคุณครับ
ิblockchain ไม่ได้มีส่วนในการแก้ไข เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงปัญหาใดๆ ที่คุณกล่าวมาเลย มันแค่สร้างมิติคู่ขนานอีกมิติขึ้นมาแล้วก็สมมติตามกันไปโดยที่ร่างต้นของคุณก็ยังอยู่ในอีกมิตินึงที่เป็นมิติแห่งความเป็นจริงอ่ะ
คำประมาณนี้อย่าไปยุ่งการเมือง คำที่เคยได้ยินสมัยก่อน
จะดีจะร้ายอยู่ที่เราทำมาหากินเองเท่านั้น
แต่จริงๆหลังๆมันเริ่มไม่ค่อยเกี่ยวกับ Blockchain จริงๆนั้นแหละ
สิ่งผมทราบโปรเจคคริปโต หรือ Blockchain หน่วยงานรัฐมีเข้าร่วมหรือให้การสนับสนุนก็มี
(มักเป็น Blockchain แบบ centralized)ไม่ได้บอกว่าเทคโนโลยี Blockchain ดี
ผมก็ไม่เคยไปถามเขาว่ามาสนับสนุนโปรเจค Blockchain ทำไมด้วย
Blockchain แก้ไขปัญหาอะไรอย่างคุ้มค่าได้ไหม
ผมก็ยังไม่แน่ใจ
ผมก็ยังต้องรอดูเรื่อยๆ
ซึ่งต่อไป Blockchain อาจล่มสลายหายไป
หรืออาจพัฒนาดีขึ้นๆ หรือมีเทคโนโลยีดีๆไหม่ๆมาแทน
มาแก้ปัญหาชีวิตผู้คน
เทคโนโลยีนั้นจะมาจากรัฐหรือจากใคร ผมก็เห็นดีด้วยทั้งหมด
ผมว่า พอถึงจุดที่ต้องมี governance มากำกับ มันก็จะกลับมาช้าเหมือนเดิมครับ (ฮา)
ที่จริง TX มันช้า มันไม่ได้ช้าเพราะไอ้การอัพเดตข้อมูลหรอก ลำพังการเขียน DB สองที่ ที่นึงบอกเงินเข้า อีกที่บอกเงินออก มันไม่ได้ช้าอะไรขนาดนั้น แต่มันมีขั้นตอนการตรวจสอบอะไรมากมายพอสมควร คิดว่าคนที่เคยทำด้าน fintech น่าจะเข้าใจ pain ตรงนี้ดี เพราะกฎหมายบางประเทศกำกับไว้เลยว่าทุกคนที่ทำงานกับระบบต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อธุรกรรมทั้งหลาย ทุกคนจะต้องตรวจสอบธุรกรรมที่วิ่งผ่านมือตัวเอง และมีหน้าที่รายงานต่อผู้ที่รับผิดชอบด้านอาชญากรรมทางการเงินในองค์กรณ์ ที่จะไปรายงานต่อองค์กรของรัฐที่เป็นผู้กำกับอีกทีนึง
เอาจริง ๆ อย่าง btc นี่ ถ้าพูดตามหลักการ คนที่อยู่ในสาย คนที่ขุด น่าจะเข้าข่ายเป็นผู้ให้บริการด้านการเงินหมดทุกคน (เพราะ transaction มันวิ่งไปหาทุกคน เลยกลายเป็น transaction processor) ถ้ามีคนสักคนนึงเกิดทำ laundering ขึ้นมาแล้วไม่มีใครรายงาน ทั้งเชนน่าจะเข้าข่ายละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ได้หมดเลย แต่คิดว่าถ้าปรับจริงจังก็อาจจะดูไม่เป็นธรรมเท่าไหร่
ที่จริงผมว่า btc ในแง่นึงก็เหมือนเอาคนใช้มาเป็นตัวประกัน/ต่อรองต่อฝ่ายผู้กำกับดูแลทางการเงินของรัฐอยู่นะครับ
ไม่ต้องใช้ blockchain มันก็ยังใช้ cryptographic ธรรมดาเข้ารหัสได้ครับ
cryptographic ใครเก็บ key ครับ ? ข้อดีของ bitcoin blockchain คือ ใครก็ไม่รู้ช่วยกันเก็บ key ครับไม่ต้องไว้ใจใครให้เก็บให้
เก็บไว้เองไงครับ ถ้าไม่ไว้ใจใครแล้วจะให้คนอื่นช่วยเก็บทำไมล่ะครับ
ถ้ายังไว้ใจตัวเองไม่ได้อีกก็ เอาไป save ใว้ใน storage สักที่ไม่เขาไม่ยุ่งกับ data ของเรา หรือสร้าง protocol คล้ายๆ FIDO ก็ได้ ให้มันใช้ได้ไม่ใช่แค่ web
คือผมดูการ implement ของ blockchain มันซับซ้อนฟุ่มเฟือย ตั้งแต่การพัฒนา, ดูแล, ยันพลังงานผมคิดว่ามันมีวิธีการ design แบบอื่นที่ใช้ได้เหมือนกันแต่ cost น้อยกว่าครับ
เก็บเองสิครับ
ไอ้ใครไม่รู้ช่วยเก็บเนี่ยแหละครับ ไม่น่าไว้ใจสุด
ใครก็ไม่รู้นี่มันเก็บของใครของมันหรือเปล่าครับ ไม่ใช่ของเรา?
ใครก็ไม่รุ้ ไว้ใจได้แค่ไหน
ปัญหามันคือ ประโยชน์ในการเก็บข้อมูลมันไม่ต่างจาก DB เท่าไหร่
แต่ต้นทุนสูงกว่ามากแถมสถาปัตย์มันคือดินพอกหางหมู ตัดทิ้งรายการเก่าๆไม่ได้
ขณะที่ DB ตัดรายการเก่าๆเข้า backup แล้วจะทำงานได้เร็วกว่าเยอะ
แล้วที่ว่ากระจายศูนย์ = โกงไม่ได้
จริงๆ DB ก็ทำได้แบบพวก ตลาดหุ้น ที่มีตัวสำรองข้อมูล 2-3ตัว
ใครพยายามแฮกแก้ที่นึง ที่อื่นก็บอกว่าต่าง ได้เหมือนกัน
สรุป เชิงเทคนิค blockchain เป็นสถาปัตย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพแบบสุดๆ
การเก็บและส่งข้อมูลในรูปแบบ blockchain มีประโยชน์ในเรื่องการทำ replication database ในหลายเครื่อง (เจ้าของเดียวกันก็ยังมีประโยชน์ใช้ได้) ให้สามารถตรวจสอบได้ง่ายว่าแต่ละเครื่องได้รับข้อมูลตรงกัน ตรวจพบความไม่ต่อเนื่องไม่สอดคล้องของ block ใหม่กับ block ก่อนหน้าได้ง่าย โดยใช้การประมวลผลน้อยกว่าการเปรียบเทียบข้อมูลก่อนหน้าทั้งหมด วิธีอื่นก็มี blockchain เป็นวิธีหนึ่งที่อาจเลือกใช้
อันนี้เป็นคำถามที่ผมสงสัยมาตลอดตั้งแต่ blockchain มันโด่งดังเลยครับ
เห็นบริษัทหลาย ๆ บริษัทพยายามนำเสนอว่าใช้ blockchain มาใช้ในการทำนู่นทำนี่
ผมก็ได้แต่สงสัยว่างานพวกนั้นใช้ DB ทำไม่ได้เหรอ (แบบที่ทำมาตลอดก่อน blockchain จะดัง)
หรือว่าถ้าใช้ blockchain แต่ node ที่ทำ chain มันเป็นแค่เครื่องในบริษัทจะมีประโยชน์อะไร
มองกำปั้นทุบดินทากครับ
blockchain = ฐานข้อมูลธรรมดาbanknote = กระดาษธรรมดา (มั้ยหล่ะครับ)
ที่มันพิเศษ เพราะทุกคนยอมรับว่ามันมี " มูลค่า " ไงครับพี่
อันนี้ก็จริงนะ อยู่ที่คนให้มูลค่ามัน แม้แต่ขี้ก็มีมูลค่าเอาไปทำปุ๋ยได้ ส่วน blockchain รอให้คนให้มูลค่ามันต่อไปแล้วกัน มีหรือไม่มีมันก็ไม่ต่างกันนะ เหมือนเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาเพื่อรอคนเห็นด้วย ว่าจะต้องใช้มันจริงๆ รอต่อไปแล้วกัน
มองแบบนี้ผิดแน่ๆ ครับ ตัวเทคโนโลยีไม่ใช่แค่ทุกคนยอมรับว่ามันมีมูลค่า แต่มัน "สร้างประโยชน์บางอย่างได้"
กรณีของธนบัตร เทคโนโลยีที่สร้างมันคือเทคโนโลยีการพิมพ์แบบป้องกันการปลอมแปลงทั้งหลาย ลำพังตัวเทคโนโลยีไม่ได้ทำให้กระดาษหนึ่งใบมีมูลค่าพันบาท แต่ธนาคารกลางไม่สามารถออกธนบัตรใบละพันได้ถ้าไม่มีเทคโนโลยีนี้
คำถามกลับไปเหมือนเดิม ถ้าทุกคนยอมรับว่าเลขใบฐานข้อมูลมันมีมูลค่า ซึ่งเราก็ยอมรับเลขในฐานข้อมูล SQL ที่เราโอนเงินจ่ายกันอยู่ทุกวันว่ามันมีมูลค่า แล้ว "blockchain มีประโยชน์อะไร" มันแก้ปัญหาอะไรเคสไหน
เคสของ Satoshi Nakamoto นำเสนอคือมองรัฐเป็นศัตรู และพยายามต่อต้านการควบคุม แต่ use case ที่นำเสนอกันจำนวนมากกลับบอกว่านำ blockchain มาช่วยควบคุม (track logistic ติดตามเอกสาร ฯลฯ นี่เจอกันเยอะมาก) คำถามของ Tim Bray คือมันจำเป็นเหรอที่เราต้องทำอะไรเปลืองๆ แบบนี้ วุ่นวาย และใช้ฐานข้อมูลธรรมดาก็ได้
lewcpe.com , @wasonliw
อื่มก็จริงนะ แต่มันหน้าจะอยู่ที่คนให้ค่ามันด้วย นะ เพราะมันจะเกิดมาเฉยๆ โดยไม่ทำอะไรเลยก็ยังได้ หรือคนไม่ใช้มันก็ยังได้ สุดท้ายมันจะกลายเป็นอะไร เอาง่ายๆ มันไม่ได้มีประโยชน์ขนาดนั้นในปัจจุบัน
"อยู่ที่คนให้ค่า" ถ้าทำได้แค่นี้แสดงว่ามันไม่มีประโยชน์ครับไม่สามารถอธิบายได้ว่าใช้ทำอะไร
ถ้าจะมองเป็นแบบเครื่องราง ไม่ต้องการคำอธิบาย แบบนั้นก็ไม่ว่ากันแต่อย่าเรียกมันว่าเทคโนโลยี อย่าหลอกตัวเองหรือคนอื่นว่ามันจะเปลี่ยนโลกโน่นนี่
lewcpe.com , @wasonliw
อื่มก็จริงนะ อยู่ที่ คนให้ค่าและ จะเอามาทำประโยชน์ได้ไหมอยู่ดี
Blockchain มันก็แค่ ฐานข้อมูลอีกอย่างรึป่าวนะ
นึกออกที่บอกว่า Blockchain ดีโน้นนี่ เขาหมายถึงการไม่มีศูนย์กลางรึป่าว แต่ปัญหาคือ จะให้ใครไม่รู้มาเก็บข้อมูลให้อะเหรอ คือจะให้ผู้ใช้งานเก็บข้อมูลให้งั้นเหรอ
Blockchain ที่สมบูรณ์ยังไม่ถูกสร้างขึ้นเพราะความจำเป็นที่ต้องใช้มันไม่มี จึงไม่มีใครเสียเวลาพัฒนา
ที่มีอยู่ทุกวันนี้ผมให้คุณค่าว่าเป็นแค่ "ตัวอย่าง" เท่านั้นflaws จึงมากมาย
เป็นประโยชน์กับมิจฉาชีพซะมากกว่า ทั้ง Ransomware พ่อค้ายา Hacker แชร์ลูกโซ่สาวไปไม่ถึง เงินไปไหนมาไหนบ้าง จับตัวไม่ค่อยได้
ผมว่าประโยชน์ของมันคือการแบคอัพไม่รู้จบ เหมาะกับการนำมาใช้รักษาข้อมูลบางอย่างที่ต้องการความมั่นคงมากๆ ในอนาคตอาจจะเข้ามาเป็นแบคให้ค่าเงินกลางที่ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนทั่วโลกแทนการให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นผู้ดูแล
แต่ด้วยความช้าของมัน มันเลยไม่ตอบโจทย์ความเร็วในการใช้ชีวิตในปัจจุบันที่อยู่ในยุคสมัยที่ทุกอย่างต้องเร็วอยู่เสมอ โดยเฉพาะต้องรวยเร็วๆ มันหมดยุคของการเกษียณยามแก่เฒ่าแล้ว แทบทุกคนมุ่งแต่จะเกษียณที่อายุน้อยๆทั้งนั้น
บล็อกเชนถ้าในเชิงอุตสาหกรรมชอบยกตัวอย่างเรื่อง”กระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ” ซึ่งมันก็ใช้dbปกติได้นะ และเอาจริงๆที่ว่าตรวจสอบย้อนกลับน่าเชื่อถือแค่ไหน ถ้าผมเป็นต้นน้ำแล้วไม่มีใครตรวจสอบผมอาจจะปลอมแปลงข้อมูลก็ได้เช่นเอาของค้างสต๊อกมาเป็นบันทึกเป็นของสด
เอามาทำระบบเครดิทบูโรน่าจะได้อยู่มั้ง จะได้ตามได้ตั้งแต่ต้นเลย
SQL ก็เก็บแต่ต้นได้นี่ครับ มันขาดตรงไหน
lewcpe.com , @wasonliw
ใช้ได้ครับถ้าทุกฝ่ายปล่อยให้ดูข้อมูลเป็นสถานะสามารถดูย้อนหลังได้ตั้งแต่ต้น หรือมีเจ้าภาพที่เก็บข้อมูลส่วนกลางครับ แต่ปัจจุบันมันติดตรงเวลาตรวจข้อมูลข้ามหน่อยสถาบันแล้วมันตรวจสอบย้อนหลังได้แค่ 3 ปี แถมข้อมูลระหว่าง ส่วนสหกรณ์กับสถาบันการเงินก็เช็คข้ามกันไม่ได้อีก
ครับ แปลว่า blockchain ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร เป็นแค่หน่วยงานที่รวบรวมตั้งข้อจำกัดไว้เอง
lewcpe.com , @wasonliw
ก็คือแก้ความ Private ระหว่างกัน ให้ Public นี่ล่ะครับแต่ราคาที่ต้องจ่ายก็สูงได้แก่ ข้อมูลบวมกว่า ช้ากว่า เปลืองไฟกว่า
ถ้าคนมองว่าดีกว่าเสียก็ได้ไปต่อ
แต่หากเมื่อไหรมาคิดแล้วได้ไม่คุ้มเสีย
เดี๋ยวสักพักเขาก็เลิกใช้หรือพังล่มสลายไปเองครับ
อนาคตถ้าฝั่งใดแก้จุดด้อย
เสริมจุดเด่นจนดีกว่าอีกฝั่ง
ก็ต้องมาตัดสินใจเลือกใช้อีกที
ธนาคารเก็บทุกเม็ดแถมตามง่ายกว่าด้วยครับ ด้วยฐานขอมูลทั่วไป
ขอยกคำพูดของ Mark Venturelli ที่พูดถึง NFT จาก "ข่าวนี้" มา
less trust = more energy
จุดแข็งของ Blockchain คือ มักจะอ้างเรื่องการหลุดออกจากการยก Trust ให้ใครบางคนหรือบางกระบวนการแล้วมา Trust กันเองจุดอ่อนคือ ต้องใช้กระบวนการและพลังงานมากในการพิสูจน์ Trust กันเองของคนเก็บ Data
จึงสรุปได้ว่า
ถ้าโลกนี้ยังมี Trust กันอยู่โดยทั่วไปไม่ว่า จะวงการการเก็บ Data ที่ยังมีกระบวนการอื่นๆที่สามารถสร้าง Trust ได้ หรือในวงการการเงินที่ผู้คนยังมี Trust อยู่ในระบบหรือองค์กรใด Blockchain ก็จะไม่เกิด เพราะไม่มีความจำเป็น (ด้วยเหตุนี้คนเชื่อใน Blockchain ก็จะพยายามโจมตีเรื่อง Trust ต่างๆ)
อีกทางคือ ถ้ากระบวนการการทำ Blockchain ยังซับซ้อนและใช้พลังงานมากอยู่เช่นนี้ Blockchain ก็จะไม่เกิดเช่นกัน เพราะคนยังมองว่า กระบวนการอื่นๆนั้นง่ายกว่าใช้พลังงานน้อยกว่า ถ้าบาลานซ์ กับ Trust ที่ไม่น่าเชื่อถือบ้างเล็กๆน้อยๆแล้วมันโอเค เค้าก็จะไม่เลือกใช้เพราะไม่จำเป็น (ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาระบบ Blockchain เรื่อยๆ)
ดังนั้น ถ้า Blockchain อยากจะเกิดคือ ต้องรอวันให้ Trust ในสิ่งนั้นๆเสื่อมหมดลงหรือไปอยู่ในจุดที่ผู้ใช้ไม่มี Trust ต่อกัน หรือไม่ก็พัฒนาระบบให้ Practical มากกว่านี้อย่างน้อยก็ต้องมากกว่าระบบเดิมที่มีอยู่ ถึงจะดึงความสนใจได้อย่างจริงจัง
ผมมองในมุมการพัฒนาซอฟต์แวร์นะครับ ถ้าถึงจุดนั้น ไม่มี Trust ต่อกัน แล้วซอฟต์แวร์ที่จะใช้ในกระบวนการการทำ Blockchain จะพัฒนากันอย่างไรถ้าไม่มี Trust ต่อกัน แสดงว่าอาจเป็นทีมงานหนึ่ง แต่ภายนอกก็อาจจะไม่ Trust ได้เช่นกัน ทำให้ตั้ง Node น้อยไปอีก
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
มุมมองการเงินนะครับ
ถ้าเราไม่มีทรัสต์ต่อกันแล้ว เราจะยังควรซื้อขายแลกเปลี่ยนกันอีกหรือเปล่า ?
นึงถึง window blinds... https://youtu.be/TLysAkFM4cA
วิศวกรซอฟต์แวร์ระดับตำนานเขียนนี่ซ่อมแอร์ได้เปล่าครับ
ผมเห็นประโยชน์ทางเดียวเลย เหมือน Network ก็จะเป็น BGP ที่ทุกคนไม่อยากให้คนอื่นมายุ่งกับข้อมูลในองค์กรของตัวเอง และประโยชน์อย่างเดียวที่คิดได้คือ logistic ที่ทุกคนจะใส่ข้อมูลและชื่อถือข้อมูลที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ดูข้อมูลได้จากต้นทางถึงปลายทาง โดยที่ข้อมูลมีความสัมพันธ์กันมาเพื่อเป็นการยืนยันข้อมูลก่อนหน้า เช่นผัก ทำโดย นาย A นาย A มีเลข... ตามนี้ สามารถดูได้ว่า นาย A เป็นเกษตรกรจริงไหม และส่งขายให้ บริษัท B บริษัท B ส่งขายไปแปรรูปให้ C บริษัท C ส่งไปขายเพื่อจำหนายให้ บริษัท D ส่วนเราก็สามารถที่จะ Check บริษัทต้นทางได้ โดยคิด เสมอว่าเชื่อใจระบบได้ เพราไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ อันนี้ที่ผมนึกออกอย่างเดียวนะ
จริงคอนเซปของบล็อกเชนไม่ใช่แค่แก้ไขข้อมูลไม่ได้แต่ต้องไร้ศูนย์กลางด้วย ถ้าไม่อยากให้คนมายุ่งกับข้อมูลในองค์กรผมว่ามันก็ไม่ต่างกับdbธรรมดา แล้วถ้าเกษตรAส่งให้บริษัทB แต่บริษัทBสลับเอาผักในสต๊อกมาลงบันทึกเป็นผักสดก็ได้ไม่มีใครรู้ ระบบตรวจย้อนกลับแบบนี้ในบางเคสผมว่าใช้excelแทนยังได้เลยครับกำหนดpermissionเอา
ที่อ่านๆ มา เหมือน db ปกติจะทำได้หมด วนมาที่ db ได้เสมอเลยแสดงว่า db ปกติมันก็ทำได้