ในที่สุดช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2023 ก็มาถึง ในช่วงปี 2022 นี้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายในโลกการทำงาน ทั้งการรักษา work-life balance เทรนด์การ quiet quitting หรือจะเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
การตั้งเป้าหมายในปีใหม่หรือ New Year’s Resolution เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้เราเห็นภาพรวมตลอดทั้งปี ว่าเราต้องการอะไร มีอะไรที่ยังต้องพัฒนาตัวเองได้บ้าง และทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จไปพร้อมกับดีต่อสุขภาพและสุขภาพจิตของเรา ตัวอย่างของการตั้งเป้าหมายก็อย่างเช่น
- สร้าง 5 กิจวัตรประจำวันที่ช่วยให้การทำงานดีขึ้นเราสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมและไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น การตั้งเป้าทำอาหารกลางวันที่ดีต่อสุขภาพไปรับประทานที่ทำงาน การเปลี่ยนท่าและขยับตัวทุก ๆ ชั่วโมงในระหว่างการทำงาน การขึ้นบันไดแทนการขึ้นลิฟต์ หรือการลองใช้โต๊ะทำงานแบบยืน
- เรียนรู้ทักษะใหม่แน่นอนว่าไม่ว่าเราจะทำงานในสายงานไหน ย่อมต้องมีทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน ดังนั้น การเรียนรู้ทักษะใหม่นอกจากจะมีประโยชน์กับการทำงานแล้ว ยังช่วยให้เรามีความมั่นใจในการทำงานมากขึ้นด้วย
- อ่านหนังสือที่เกี่ยวกับการทำงานหรือหนังสือที่สร้างแรงจูงใจหนังสือที่อ่านจะเป็นหนังสือวิชาการที่ช่วยพัฒนาการทำงานแบบเข้มข้นก็ได้ หรือจะเป็นหนังสือที่ปรับเปลี่ยนมุมมองหรือนิสัยที่ทำให้การทำงานของเราดีต่อสุขภาพจิตมากขึ้นก็ได้
- อัปเดตเรซูเม่การคอยอัปเดตเรซูเม่อยู่เสมอแม้ไม่ได้เปลี่ยนงานจะช่วยให้เราสามารถจดจำข้อมูลความก้าวหน้าในการทำงานที่ผ่านมาได้ครบถ้วน เวลาที่จะใช้ ก็จะมั่นใจได้ว่าเรซูเม่ของเราครอบคลุมประสบการณ์และความสำเร็จทุกอย่างที่ผ่านมา
- สร้างคอนเนคชันกับผู้คนใหม่ ๆ อย่างน้อยเดือนละ 1 คนอาจจะเป็นคนที่เรารู้จักอยู่แล้วแต่ไม่มีเวลาได้ใส่ใจว่าเขาคนนั้นมีลักษณะอย่างไร มีความสนใจเรื่องอะไร หรืออาจจะสร้างคอนเนคชั่นง่าย ๆ ผ่านทาง LinkedIn ก็ยังได้
- ทบทวนและอัปเดตโปรไฟล์ใน LinkedInอันที่จริงแล้วอาจไม่จำเป็นต้องเป็น LinkedIn แต่เป็นเว็บไซต์อะไรก็ได้ที่เราใช้ในการสมัครงาน การอัปเดต LinkedIn ก็คล้ายกับการอัปเดตเรซูเม่ คนที่เข้ามาเห็นจะได้ทราบประวัติที่เราที่เป็นปัจจุบัน
- จัดการเอกสารทั้งที่เป็นกระดาษและไฟล์ที่ส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยเอกสารเก่าที่ไม่ต้องใช้แล้ว หากเอกสารไหนไม่ได้ใช้แล้วก็ลบทิ้ง ส่วนเอกสารที่เหลือก็จัดระเบียบให้ค้นหาได้ง่ายและสะดวกเวลาที่จะใช้งาน
- ติดตามบล็อกสักบล็อกหรือเพจซักเพจการติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานจะช่วยให้เรามีไอเดียใหม่ ๆ เกี่ยวกับงาน จะได้ดูว่าคนที่อยู่สายงานเดียวกับเรามีความสนใจอะไรอีกบ้าง หากไม่รู้จะเริ่มหาอย่างไร ก็ลองถามเพื่อนร่วมงานดูก็ได้
- หาที่ปรึกษาในที่ทำงานอาจจะเป็นหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงาน เมื่อหาได้แล้วจะได้แชร์เป้าหมายในการทำงานร่วมกันและจะได้ให้คำแนะนำกันในการทำงานได้
- เปลี่ยนรูปทำงานใหม่พอเวลาผ่านไปก็อาจจะรู้สึกเขิน ๆ กับรูปโปรไฟล์ตัวเองใน LinkedIn การเปลี่ยนรูปใหม่เลยเป็นความคิดที่ดี รูปควรจะนำเสนอตัวเราออกมาทั้งในด้านบุคลิกภาพและด้านสายงาน
- ส่งข้อความขอบคุณคนอื่นอย่างน้อยเดือนละครั้งเริ่มต้นจากการคิดว่าในเดือนที่ผ่านมา ใครที่ได้ช่วยเหลือเราในการทำงานบ้างซึ่งอาจจะเป็นเรื่องเล็กน้อยอย่างการเลี้ยงอาหารกลางวัน หรือเรื่องที่สำคัญอย่างการแนะนำให้รู้จักคนสำคัญ และส่งข้อความขอบคุณคน ๆ นั้น
- เข้าร่วมองค์กรทางด้านวิชาชีพแน่นอนว่าการเข้าร่วมองค์กรเหล่านี้มักจะต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ก็แลกมาด้วยทักษะที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติมและได้รู้จักคนมากขึ้นเพื่อเพิ่มคอนเนคชัน
- ประเมินระดับ work-life balance ของตัวเองโดยเริ่มจากการคิดว่าสิ่งที่เราเป็นอยู่ตอนนี้เป็นสิ่งที่เราต้องการในการทำงานไหม อาจจะขอความเห็นจากคนที่สำคัญกับชีวิตส่วนตัวของเราอย่างครอบครัวหรือเพื่อน
- เป็นอาสาสมัครอาจจะช่วยคนอื่นทำงานหรือทำประโยชน์ให้สังคมในรูปแบบอื่น ๆ การอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือคนอื่นจะทำให้รู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้นด้วย
- เก็บใบประกาศอีกสักใบการเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ และนำใบประกาศมาใส่ไว้ในเรซูเม่จะช่วยให้เรามีโอกาสในหน้าที่การงานมากยิ่งขึ้นอีก แม้บางคอร์สจะต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ก็ถือเป็นการลงทุนกับอนาคต
- ลบอีเมลเหมือนกับการจัดการเอกสาร หากอีเมลไหนที่เป็นงานที่สำเร็จลุล่วงไปแล้วก็อาจจะลบทิ้ง ส่วนอีเมลที่เหลือก็จัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ การทยอยลบข้อความออกบ้างจะทำให้เราหางานที่จะต้องใช้ได้ง่ายขึ้นด้วย
- เข้าร่วมกิจกรรมสร้างคอนเนคชันการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อกังการทำงานช่วยเพิ่มโอกาสให้เรารู้จักคนใหม่ ๆ มากขึ้น และมีโอกาสพบคนที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าเราและได้รับคะแนะนำที่เป็นประโยชน์
ส่วนใครที่กำลังมองหางานประจำด้านเทคโนโลยีดี ๆ เข้ามาดูงานที่แหล่งรวมงานสายเทคฯ และไอทีได้ที่ Blognone Jobs
ที่มา: TopResume
Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ