พรรคเพื่อไทยได้ประกาศ นโยบายแจกเงินดิจิทัลจำนวน 10,000 บาท ให้คนไทยอายุ 16 ปีขึ้นไปทุกคนที่มีอยู่ราว 50 ล้านคน โดยระบุว่าจะพัฒนาระบบกระเป๋าเงินดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ด้วยเหตุผลเรื่องการกำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเงินตามนโยบายที่วางไว้
บทความนี้เป็นการตั้งข้อสังเกตต่อแนวนโยบาย โดยจำกัดขอบเขตแค่ประเด็นทางเทคโนโลยีเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงประเด็นอื่นๆ ในแง่ความเหมาะสมของนโยบายในทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
ข้อจำกัดของการใช้เงินดิจิทัลของพรรคเพื่อไทย
หากอ้างอิงการแถลงรายละเอียดของโครงการ ณ วันที่ 7 เมษายน 2566 โดยแกนนำของพรรค (คลิปแถลงฉบับเต็มด้านล่าง) การแจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจมีข้อจำกัดการใช้จ่ายเงินใน 3 มิติ ได้แก่
- จำกัดระยะทางกำหนดไว้ที่รัศมี 4 กิโลเมตรจากที่อยู่ตามบัตรประชาชน โดยสามารถขยายรัศมีเพิ่มได้ หากบริเวณนั้นไม่มีร้านค้า
- จำกัดระยะเวลากำหนดไว้ว่าเงินดิจิทัลมีอายุ 6 เดือน เพราะเป็นนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น
- จำกัดประเภทของการใช้จ่ายยกเว้นการซื้อบุหรี่ การพนัน การใช้หนี้นอกระบบ การซื้อของที่ผิดกฎหมาย
แกนนำของพรรคเพื่อไทยอธิบายว่าต้องใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพราะ "เขียนเงื่อนไข" ลงในตัวเงินดิจิทัลได้ จึงสามารถจำกัดการใช้งานเหล่านี้ได้ ซึ่งคำกล่าวนี้ห่างไกลจากข้อเท็จจริงในทางเทคนิคอยู่มาก
บล็อกเชน ไม่สามารถใช้จำกัดสิทธิได้ด้วยตัวเอง
ผู้ที่เคยศึกษาเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นพร้อมกับเงินดิจิทัล Bitcoin คงทราบข้อมูลกันดีว่า หลักการสำคัญคือนำการประมวลผลไปอยู่บน "เชน" หรือสายโซ่ข้อมูล เพื่อให้ประมวลผลธุรกรรมแบบกระจายศูนย์โดยไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางได้
แต่จริงๆ แล้ว ตัวบล็อกเชนมีหน้าที่ประมวลผลเฉพาะธุรกรรมที่อยู่บนสายโซ่ (on-chain) เท่านั้น ซึ่งครอบคลุมถึงแค่ว่า "ใครโอนเงินให้ใคร" (who pays whom) เปรียบได้กับระบบหลังบ้านเพียงอย่างเดียว โค้ดบนบล็อกเชนนั้นไม่รับรู้ถึงข้อมูลนอกโลกบล็อกเชน เช่น สภาพอากาศ, ราคาหุ้น, หรือเงื่อนไขอื่นๆ ที่ผ่านมาโครงการบล็อกเชนต่างๆ ก็จะมีตัวกลางเรียกว่า Oracle นำข้อมูลเข้ามาสู่บล็อกเชนให้อีกทีหนึ่ง
แต่ในการนำไปใช้งานจริง เรายังต้องมีระบบอื่นที่อยู่นอกบล็อกเชน (off-chain) เข้ามาเชื่อมต่อด้วย ตัวอย่างคือระบบกระเป๋าเงิน (วอลเล็ต) ที่ช่วยให้ผู้ใช้จัดการวงเงิน การใช้จ่ายเงินแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นระบบภายนอกที่มาเชื่อมต่อกับบล็อกเชนอีกที หรือถ้าใครติดตามเรื่อง NFT ก็จะทราบว่าตัวไฟล์สินทรัพย์ดิจิทัล ถูกเก็บอยู่ในระบบสตอเรจแบบอื่นนอกบล็อกเชน เช่น ระบบ HTTP แบบดั้งเดิม หรือระบบไฟล์กระจายศูนย์ IPFS
การระบุว่าเลือกใช้บล็อกเชนเพราะเป็นเทคโนโลยีที่จำกัดสิทธิการใช้เงิน ไม่ให้ใช้นอกกรอบนโยบายได้ จึงไม่ถูกต้องในทางเทคนิค และในทางตรงข้ามคือ เทคโนโลยีบล็อกเชนกลับไม่สามารถทำสิ่งที่พรรคเพื่อไทยต้องการได้
- จำกัดระยะทางเป็นสิ่งที่อยู่นอกบล็อกเชน ต้องการแอปพลิเคชั่นรายงานว่าผู้รับและผู้จ่ายอยู่ที่พิกัดใด
- จำกัดระยะเวลาอาจทำได้หากกำหนดเงื่อนไขเวลาเพิ่มเติมในซอฟต์แวร์ที่รันบล็อกเชน เพียงแต่ซอฟต์แวร์บล็อกเชนที่นิยมในปัจจุบัน ออกแบบมาให้ใช้เงินดิจิทัลได้ตลอดไปในอนาคต และไม่ได้กำหนดเงื่อนไขเรื่องอายุของเงินไว้ ที่ผ่านมา Smart Contract บนแพลตฟอร์มอย่าง Ethereum มักกำหนดเวลาโดยใช้หมายเลขบล็อกแทนค่าเวลาจริงๆ ซึ่งคนทั่วไปเข้าใจยากกว่ามาก และเวลาที่กำหนดก็ไม่สามารถกำหนดแน่นอน เช่น บอกว่าให้ใช้ถึงเที่ยงคืนเป๊ะวันที่ 31 ธันวาคม แบบนี้ทำไม่ได้
- จำกัดประเภทของการใช้จ่ายตัวบล็อกเชนเห็นแค่ยอดธุรกรรมระหว่างใครกับใคร (who pays whom) เท่านั้น ไม่รู้ว่าใช้จ่ายเพื่ออะไร (what) สุดท้ายแล้วการจำกัดประเภทต้องไปทำที่ระบบนอกเชน เช่น ตัวแอพฝั่งผู้ขาย อยู่ดี
นอกจากนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชนยังมีข้อจำกัดอื่นๆ ซึ่งเป็นที่ทราบกันทั่วไป เช่น ไม่สามารถรองรับปริมาณธุรกรรมจำนวนมากๆ ได้ และต้องอาศัยเวลาในการประมวลผลแต่ละบล็อกนานกว่าระบบธุรกรรมออนไลน์ในปัจจุบัน
เงินดิจิทัล CBDC ไม่จำเป็นต้องใช้บล็อกเชนเสมอไป
ในการแถลงของพรรคเพื่อไทย ได้อ้างถึงแนวคิดเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency หรือ CBDC) โดยพยายามบอกว่าเงินแบบ CBDC ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งไม่จริงเสมอไป
แนวคิดของเงินดิจิทัล CBDC เป็นแค่การแปลงเงินตรา (currency) แบบดั้งเดิมให้อยู่ในรูปดิจิทัลเท่านั้น ตัวเทคโนโลยีจะเป็นบล็อกเชนหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างคือ โครงการทดสอบ CBDC รอบล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่าใช้ ระบบจากบริษัท Giesecke+Devrient ของเยอรมนี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีรวมศูนย์ (centralized) ที่ไม่ใช่บล็อกเชน ด้วยเหตุผลว่าต้องการทดสอบระบบที่รองรับธุรกรรมจำนวนมากๆ ที่เป็นข้อจำกัดของบล็อกเชน
ระบบเงินดิจิทัล CBDC ของหลายประเทศเองก็ไม่ได้ใช้บล็อกเชนมาตั้งแต่แรก เช่น
- หยวนดิจิทัล (e-CNY) ของประเทศจีน มีลักษณะคล้ายกับพร้อมเพย์ของประเทศไทย
- ข้อเสนอของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีความกระจายตัวเพื่อป้องกันไม่ให้ล่มยาก แต่ก็ไม่ใช่บล็อกเชน
- สหภาพยุโรปอยู่ระหว่างการสร้างต้นแบบเงิน CBDC ที่ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ 5 รูปแบบ
- ธนาคารกลางออสเตรเลีย ทดลอง CBDC ทั้งหมด 14 รูปแบบ
ในช่วงหลัง ตัวแนวคิด CBDC เอง (ไม่ว่าเป็นเทคโนโลยีแบบใด) ยังถูกตั้งคำถามถึงความคุ้มค่าและความจำเป็นว่าต้องมีจริงๆ หรือไม่ ตัวอย่างคือ รายงานของธนาคารกลางสิงคโปร์หลังทดสอบ CBDC แล้ว และพบว่ายังไม่จำเป็นในตอนนี้ และ อดีตที่ปรึกษาธนาคารกลางของอังกฤษ ที่มีมุมมองว่า CBDC ซ้ำซ้อนกับเงินสำรองอิเล็กทรอนิกส์ที่ธนาคารกลางทั่วโลกมีอยู่แล้ว และไม่มีประโยชน์ชัดเจน
การเงินโลกเก่า "เป๋าตัง" สามารถทำสิ่งที่พรรคเพื่อไทยต้องการได้
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทยชูประเด็นเรื่องการใช้บล็อกเชนว่า ต้องการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินใน "โลกยุคใหม่" ซึ่งแตกต่างจากแอพพลิเคชันเป๋าตัง ที่เป็นเงินใน "โลกยุคเก่า"
อย่างไรก็ตาม ระบบเป๋าตังที่พรรคเพื่อไทยระบุว่าเป็นการเงินโลกยุคเก่า ใช้เทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบปกติร่วมกับการพัฒนาแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนทั่วไป (ไม่มีบล็อกเชนเลย) กลับสามารถทำเงื่อนไข 3 ข้อที่พรรคเพื่อไทยต้องการได้ และมีอยู่แล้วในโครงการคนละครึ่งที่ผ่านมา
- จำกัดระยะทางเป๋าตังกำหนดให้ต้องสแกนจ่ายแบบพบหน้าอยู่แล้ว และในทางเทคนิคสามารถกำหนด geofencing กำหนดรัศมีระยะทางระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายได้
- จำกัดระยะเวลาวงเงินของเป๋าตังมีหมดอายุตามระยะเวลาของโครงการอยู่แล้ว และจำกัดวงเงินรายวัน วันละไม่เกิน 150 บาทอยู่แล้ว
- จำกัดประเภทของการใช้จ่ายใช้วิธีจำกัดประเภทผู้ขาย (merchants) เช่น ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ไม่ใช่ร้านสะดวกซื้อที่เป็นแฟรนไชส์ บริการขนส่งสาธารณะบางประเภท ซึ่งใช้วิธีการตรวจสอบจากเอกสาร ณ จุดลงทะเบียน
ส่วนเงื่อนไขการใช้งานอื่นๆ เช่น แนวคิดเรื่องการให้เงินดิจิทัลหมุนอยู่ในระบบเพื่อให้เกิดการหมุนของเงินกระตุ้นเศรษฐกิจหลายรอบ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้บล็อกเชนอยู่ดี เพียงแค่กำหนดเงื่อนไขในแอพเป๋าตัง ให้วงเงินในแอพไม่สามารถแลกคืนเป็นเงินสดได้ (อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาของโครงการ) สามารถจ่ายออกเพื่อซื้อสินค้าอื่นๆ ในระบบได้เพียงอย่างเดียว ก็แก้ปัญหานี้ได้
โครงสร้างพื้นฐานมีอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทุนใหม่ให้ซ้ำซ้อน แต่ต้องเป็นของทุกคน
ในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศ ระบบที่มีอยู่แล้วอย่างเป๋าตัง สามารถตอบโจทย์นโยบายเรื่องการจำกัดสิทธิการใช้เงินของพรรคเพื่อไทยได้ทั้งหมด ไม่ต้องลงทุนพัฒนา "โครงสร้างพื้นฐานใหม่" ให้ซ้ำซ้อน โดยที่ไม่เห็นประโยชน์ที่จับต้องได้จากเทคโนโลยีบล็อกเชนตามที่กล่าวอ้าง
ในแง่ของระยะเวลาโครงการ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานคณะทำงานนโยบายพรรคเพื่อไทย บอกว่าจะใช้โครงการเงินดิจิทัลกระตุ้นเศรษฐกิจเพียง 6 เดือนเท่านั้น และไม่ได้ระบุว่าหลังจากหมดโครงการ 6 เดือนนี้จะมีโครงการเกี่ยวกับเงินดิจิทัลอีกหรือไม่ หากไม่มีแผนต่อเนื่องอีก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่มาเพียงเพื่อโครงการเดียว ก็คงไม่คุ้มค่างบประมาณที่เสียไปเท่าไรนัก
ในแง่ของเวลาเริ่มดำเนินโครงการ นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย ประเมินว่าจะจัดตั้งรัฐบาลในช่วงไตรมาส 3 และเริ่มโครงการเงินดิจิทัลได้ในวันที่ 1 มกราคม 2567 เท่ากับว่ามีเวลาในการริเริ่มโครงการ พัฒนา และทดสอบระบบเพียงไม่กี่เดือน การพัฒนาระบบไอทีแบบใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนในระยะเวลาเพียงเท่านี้ ย่อมไม่ง่ายในทางปฏิบัติ และมีโอกาสล้มเหลวสูง ดังที่ ตลาดหุ้นออสเตรเลียล้มเลิกโครงการเปลี่ยนระบบเป็นบล็อกเชน สูญเสียทั้งเวลาและงบประมาณที่ใช้ไป
อย่างไรก็ตาม ระบบที่มีอยู่แล้วอย่างเป๋าตัง ยังมีจุดอ่อนในแง่ความเป็นเจ้าของที่ไม่ชัดเจน เพราะโครงการเป๋าตังพัฒนาโดยธนาคารกรุงไทย (ในฐานะรัฐวิสาหกิจ) ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง การที่ธนาคารรายเดียวได้สิทธิในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศ จึงควรถูกตั้งคำถามในแง่การแข่งขันในอุตสาหกรรม เพราะถือว่าได้เปรียบธนาคารหรือสถาบันการเงินรายอื่น (รวมถึงธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจรายอื่นด้วย เช่น ธนาคารออมสิน หรือ ธกส.) เป็นอย่างมาก
หากเรามองย้อนดูจุดเริ่มต้นของโครงการเป๋าตัง ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาพิเศษคือระหว่างวิกฤต COVID-19 ที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน ก็พอเข้าใจได้ว่า ธนาคารกรุงไทยอาจมีความพร้อมในการพัฒนาระบบไอทีมากกว่าหน่วยงานอื่น และสามารถสร้างระบบขึ้นมาตอบสนองนโยบายภาครัฐได้ในเวลาที่จำกัดมาก
แต่ในปี 2566 วิกฤต COVID-19 คลี่คลายไปมากแล้ว รัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาหลังการเลือกตั้ง ควรต้องหยิบประเด็นนี้มาพิจารณา และหารือกันว่าความเป็นเจ้าของ "โครงสร้างพื้นฐานการเงิน" ของประเทศไทยควรเป็นของใครกันแน่ ภารกิจในอนาคตระยะยาวของเป๋าตังควรเป็นอย่างไร และทำอย่างไรจึงจะเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจอื่นๆ เข้ามาแข่งขันบนโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ได้อย่างเป็นธรรมและเสรี
Comments
ส่วนตัวคิดว่าควรมีกฏหมายบังคับหรือจำกัด การเอานโยบายแจกเงินมาล่อประชาชนได้แล้วนะ เพราะสุดท้ายเงินปลายทางก็ไหลย้อนไปเข้ากระเป๋านายทุนใหญ่อยู่ดี แทนที่จะแข่งกันออกนโยบายโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยกระจายความเจริญออกจากเมืองใหญ่ๆ (แล้วจะไปวก คนในเมืองเอาเงินไปเที่ยวต่างจังหวัดอีก)
+1 ควรจะมีกฎหมายควบคุมพรรคที่หากินจากนโยบายแจกเงิน
ถึงจะมีกฎหมายห้ามแจกเงินก็แก้กฎหมายห้ามแจกเงินออกได้ครับ แต่ถ้าคิดว่าควรมีอำนาจที่เหนือกว่ารัฐสภาเพื่อไม่ให้แก้กฎหมายบางข้อได้ก็แสดงว่าเห็นด้วยว่าถ้ามีความ "จำเป็น" ก็ยอมให้ทำรัฐประหารได้ ก็คือแบบที่ผ่าน ๆ มาทั้งหมด
ผมไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายบังคับ หรือจำกัดนโยบายเพราะบางสถานการณ์มันจำเป็นต้องใช้แต่เรายังไม่รู้ และสิ่งที่คนเลือกควรมีอำนาจสูงสุด
ผมก็ไม่เห็นด้วยกับการแจกเงิน และเห็นด้วยเรื่องการออกนโยบายโครงสร้างพื้นฐานตามที่ว่ามาเลย
ส่วนคำถามของผมคือ ประเทศที่ประชากรสามารถเอาเงินซื้อได้มากพอที่จะส่งผลต่อคะแนนเสียง และสามารถซื้อสส.ได้ ประเทศนั้นเหมาะกับประชาธิปไตยรึเปล่า?
คำถามคือ ถ้าประชาธิปไตยไม่เหมาะแล้วแบบไหนจะเหมาะครับ
จะเป็นการปกครองด้วยระบบอบคนดีย์ แล้วใครจะเป็นคนเลือกคนดีย์ เข้ามาปกครอง
จะให้ปกครองด้วยการสืบทายาท จากชาติตระกูลเลยมั้ย จะได้สม ๆ กับที่ยกย่องเชิดชูว่าเป็นคนดีย์ มีบุญคุณล้นเหลือต่อประเทศจนหาที่สุดมิได้
หรือจะเป็นให้ทหารเป็นใหญ่ ไม่พอใจใครก็ปฏิวัติ ใครมีอาวุธมากกว่า มีลูกน้องมากกว่า ก็รัฐประหารยึดอำนาจกันได้เลย
พอได้เป็นแล้วก็บอกว่าฉันเป็นคนดีย์ เข้ามาปราบคนโกง ตั้งน้องตัวเองเป็นสว. ตั้งญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงให้มาบริหารจัดการบ้านเมือง แบบนี้ได้หรือเปล่า
ประชาธิปไตยมันไม่ได้เป็นยาวิเศษที่จะทำให้ประเทศเจริญทันตา ไม่มีคนโกงกินได้ทันใจ และมันก็ไม่ได้การันตีว่าจะได้คนดีย์เข้่าไปบริหารบ้านเมืองครับ
แต่ประชาธิปไตยมีสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเมื่อครบวาระแล้วมันก็ไป และคุณ ๆ เองก็สามารถที่จะด่าพวกชั่วโกงกินได้โดยที่ไม่ต้องโดนจับขังคุก ไม่ต้องโดนข้อหาความมั่นคง ไม่ต้องโดนข้อหาทำให้บางตระกูลเสื่อมเสีย
และมันก็มีวิวัฒนาการของมัน ตราบเท่าที่ไม่มีคนหรืออำนาจพิเศษใด ๆ ไปตัดดอน
ในยุคหนึ่งสมัยหนึ่งนักการเมืองไม่เคยทำอย่างที่หาเสียงได้ ต่างก็แข่งกันเข้าไปมีอำนาจโดยไม่ต้องสนใจสิ่งที่หาเสียงเอาไว้ แต่ตั้งแต่มี รธน. 40 คนไทยก็เห็นตัวอย่างว่าถ้าคุณมีนโยบายดี และทำตามนโยบายที่หาเสียงเอาไว้ได้ สุดท้ายประชาชนก็จะยังเลือกคุณเข้ามา
เพราะงั้นถ้าคุณเห็นว่านโยยายพรรคนี้มันขายฝัน มันเอาแต่แจกเงิน มันจะพาชาติลงเหว คุณก็แค่ไม่เลือก คุณก็บอกญาติพี่น้องเพื่อนฝูงคุณไม่ให้เลือก คุณก็ช่วยก่นด่า วิจารณ์ในสื่อต่าง ๆ แล้วก็รวมเสียงให้มากพอ แสดงเหตุผลให้คนอื่นเห็นว่านโยบายนี้ไม่ดียังไง แล้วก็เอาชนะกันในกติกา จริงอยู่ว่าคราวนี้อาจไม่ชนะ แต่ไม่ว่ายังไงก็ไม่มีทางที่พรรคเดิม ๆ จะชนะได้จลอดไป โลกมันเปลี่ยน เทคโนโลยีมันเปลี่ยน คนรุ่นใหม่ ๆ ที่เติบโตมาก็จะต้องเปลี่ยนในสักวันเลือกพรรคนี้แล้วทำตามที่หาเสียงไม่ได้ เลือกพรรคนี้แล้วประเทศเสียหาย สุดท้ายประชาชนก็จะได้บทเรียน และเป็นคนตัดสินใจเองว่าจะยังเลือกพรรคนี้ต่อไปหรือเปล่า
ในประเทศอย่างอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เขาก็เคยเจอกับนักการเมืองขายฝัน นักการเมืองโกงกินกันทั้งนั้นแต่ประเทศเหล่านั้นก็ผ่านมาได้เพราะไม่ต้องมีคุณพ่อรู้ดี ไม่ต้องมีเทวดา ไม่ต้องมีคนเก่งคนดีย์ออกมาตัดสินใจแทนพวกเขา เขาให้ประชาชนตัดสินใจเอง ไม่ใช่พอล้มลุกคลุกคลานหน่อยก็ต้องคอยให้เทวดา คอยคนดีย์ คอยคนที่มีปืนมีรถถังเข้ามาตัดสินใจให้
ถ้าประชาธิปไตยไม่ดี คุณจะหวังเทวดามาจากไหน คุณจะหวังให้ใครเป็นคนคัดเลือกคนดีย์มีความสามารถมาให้กันแล้วถ้าเทวดาเกิดเป็นปีศาจจำแลงมา หรือคนที่คุณคิดว่าเป็นคนดีย์ แล้วเกิดเป็นคนไม่ดีย์ หรือว่าเป็นคนดีย์แต่ไม่มีความสามารถ ถึงตอนนั้นคุณจะสามารถไล่คนเหล่านั้นออกไปแล้วหาคนอื่นมาแทนได้หรือเปล่า ถามใจคุณดู
เรื่องนี้ถ้าให้ผมตอบก็ยาวครับ เอาสั้นๆคือผมคิดว่าประชาชนไม่ควรเลือกผู้นำประเทศโดยตรง แต่ประชาชนที่อยู่ในแวดวงนั้นๆ เช่น การแพทย์ การศึกษา ควรมีหน้าที่เลือกรัฐมนตรีกระทรวงนั้นๆ ส่วนนายกก็คัดสรรจากสภาซึ่งตัวแทนมาจากแต่ละกระทรวง เป็นนายกที่เป็นแค่ตรายาง ไม่ได้มีอำนาจมากนัก เป็นวิธีที่แบ่ง function ของสังคมออกเป็นส่วนๆ ไม่ใช่เลือกแค่หัวเปรี้ยงเดียวจบ คราวนี้คอนเซ็ปต์ของการลงมติเลือกผู้นำจะไม่ใช่การพยายามให้ทุกคนออกไปใช้สิทธิ์ให้มากที่สุด แต่จะเป็นการบอกให้ใครที่ไม่รู้เรื่องหรือไม่สนใจก็นอนอยู่บ้านเฉยๆ คนที่ลงมติคือคนที่มีบทบาทขับเคลื่อนประเทศจริงๆเท่านั้น ผมเคยคุยกับคนบางพื้นที่แล้วกลุ้มครับ เลือกเพราะหล่อ บอกว่าจะเลือกตามผมเพราะผมมีการศึกษาก็เคยเจอมาแล้ว
ลองนึกภาพ ถ้าให้เลือกนายกสมาคมฟุตบอลแบบปัจจุบัน คือคนในอุตสาหกรรมฟุตบอลลงเสียง หรือเลือกตั้งทั่วประเทศ ทุกคนมี 1 เสียงเท่ากันหมด แบบไหนจะได้คนที่รู้เรื่องฟุตบอลมากกว่ากัน? ใช่ครับ ความคิดผมคือทุกคนไม่ควรมี 1 เสียงเท่ากัน ถ้าผมพูดลอยๆขึ้นมาทุกคนจะคิดว่าไม่แฟร์ แต่ถ้าผมถามกลับว่า แล้วคุณรู้เรื่องฟุตบอลรึเปล่าล่ะ? แทบทุกคนคงจะเห็นภาพว่าเขาไม่ควรตัดสินใจเรื่องที่เขาไม่ได้สนใจ ทีนี้สำหรับคนที่สนใจเรื่องอะไรสักเรื่อง ก็ต้องสนใจมากพอที่จะพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสายอาชีพนั้น แวดวงนั้น จึงจะมีหนึ่งเสียงในสภานั้นๆ ผมขอเรียกว่าการปกครองแบบปัญญาธิปไตยครับ ผมรู้ว่ามันต้องเปลี่ยนเยอะมาก และถ้าเอามาคุยกันจะเจอช่องโหว่เต็มไปหมด แต่ผมอยากให้หลายๆคนช่วยกันคิด คนที่ฉลาดกว่าผมอาจเจอวิธีที่คนยอมรับก็ได้ครับ
ยกตัวอย่างวงการฟุตบอลมานี่คิดดีแล้วใช่มั้ยครับ 555
เอาจริง ๆ แอบเห็นด้วยกับคุณนิดหน่อยนะ แต่ในขณะเดียวกันก็มองเห็นช่องโหว่อยู่พอสมควรที่คิดออกเร็ว ๆ เลยมี 2 อย่าง
ในวงการหนึ่ง ๆ คนเก่งเรื่องในวงการนั้น ไม่จำเป็นต้องเก่งบริหาร (ในความเป็นจริงคือส่วนใหญ่ไม่เก่งบริหารเลย ยกตัวอย่างนะ อยู่ ๆ วันนึงให้ณเดช ยาย่า มาริโอ้ ไปตั้งบริษัทแข่งกับ Workpoint หรือ Senario ผมว่าเจ๊งยับ เพราะเค้าแสดงเก่ง ไม่ได้บริหารเก่ง หรืออย่างโรงพยาบาล หมอเก่ง ๆ มีต้น ๆ ของประเทศ ไม่ได้แปลว่าจะเป็น ผอ.โรงพยาบาลแล้วจะดี ดูได้จากตัวเลขบัญชีโรงพยาบาลทั่วประเทศ ติดตัวแดงกันเกินครึ่ง และดูเหตุการณ์ "หนีคนไข้มาไล่อีปู" ยังจำฝังใจผมอยู่เลย)
เมื่อให้เลือกกันในวงการ ข้อเสียอย่างนึงคือมันโกงง่ายขึ้น (ถึงแม้จะมีข้อดีคือรู้จักกันหมดหรือเกือบหมดก็เถอะ) คือไป lobby ง่าย ซื้อง่าย ใช้อิทธิพลง่าย เหมือนสมาคมฟุตบอลที่ยกตัวอย่างมานั้นแหละ สาวไส้กันไปมา เน่าแล้วเน่าอีก
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ข้อ 1. ผมไม่ห่วงครับ ในแต่ละกระทรวงต้องเป็นศูนย์รวมของหัวกะทิอยู่แล้ว ถ้าคนทั้งวงการไม่มีใครเหมาะกับงานบริหารเลย หรืองี่เง่าจนไม่สามารถเลือกเขาออกมาได้ ก็สิ้นหวังเกินไปแล้วครับ
ข้อ 2. การตรวจสอบการทุจริตต้องเข้มข้น เพราะตรวจสอบโดยคนที่รู้เรื่องนั้นจริงๆ นี่คือชั้นแรก ฝ่ายค้านเองก็อยากเข้ามาบริหาร ต้องหาจุดอ่อนเพื่อล้มรัฐมนตรีไม่ต่างจากระบบเดิม (เพื่อเอาพรรคพวกของตัวเองเข้ามาแทน ก็ว่ากันไป) และชั้นสองคือ หากจะมีการร่างหรือแก้ไขกฎหมายอะไรก็ตาม ต้องผ่านสภาซึ่งตรวจสอบโดยตัวแทนจากทุกกระทรวง ซึ่งผมเชื่อว่าจะเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถมากกว่าสส.ในปัจจุบันครับ ดาราก็เป็นสส. มีเงินก็เป็นสส. เจ้าพ่อก็เป็นสส. เป็นกันได้หมด
ข้อดีที่ชัดเจนที่สุดคือ การสรรหาผู้นำจะไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างคนในชาติอีกต่อไป แทนที่จะเป็นสงครามใหญ่ที่เอาคนมาตาย ก็กลายเป็นศึกเล็กๆในวงการนั้นๆ และทุกคนมีอาชีพของตัวเองเป็นตัวประกัน สภาของกระทรวงสามารถขับออกได้ แบนได้ คงไม่มีใครใช้วิธีรุนแรงเหมือนระบบเดิมครับ
ไม่จำเป็นเสมอไปครับ
ถ้าเอาตัวอย่างเรื่องฟุตบอล แม้กระทั่งโค้ชเองบางครั้งก็อาจจะตัดสินใจเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ ในขณะที่คนดูที่มีความรู้ด้านฟุตบอลน้อยกว่ากลับดูออกและคิดต่างจากโค้ชคนนั้น
แม้กระทั่งนักฟุตบอลที่ผันตัวมาเป็นโค้ช ทั้ง ๆ ที่ตัวเองเล่นฟุตบอลอาชีพมาตั้งแต่เป็นเยาวชน ลงเล่นกับสโมสรระดับโลก ผ่านการบ่มเพาะอบรมจากกุนซือชั้นนำของโลก แต่พอตัวเองมาทำหน้าที่โค้ชก็ง่อย ทีมเจ๊งไม่เป็นท่า ... ใช่แล้วครับ ผมหมายถึงทีมอะไรแดง ๆ นั่นแหละ
อีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องหนึ่ง ๆ มันมีผลกระทบต่อชีวิตคนหลายมิติ เช่น ผลผลิตทางการเกษตร ถ้าเอาเฉพาะคนในวงการเกษตรกรรมมาเป็นคนเลือก แล้วคนพวกนี้จะถนัดด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคไหม การนำเข้าส่งออก เงินอ่อนเงินแข็ง การวางผังเมือง การกำจัดกากเหลือใช้เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อะไรทำนองนั้น
เมื่อไม่มีใครรู้ทุกเรื่องและคุมผลกระทบได้หมด ดังนั้นการใช้ประชาชนซึ่งเป็นหน่วยย่อยที่สุดที่ได้รับผลกระทบชั้นสุดท้าย เป็นคนตัดสินใจ จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่าสมเหตุสมผลกว่า อีกทั้งการที่ใช้หน่วยย่อยที่มีจำนวนมากกว่านั้นย่อมหมายความว่ามีการคานอำนาจ การคานความคิด การใช้เหตุผลที่หลากหลายมิติมากกว่าตามไปด้วย ในทางกลับกันถ้าใช้คำวิชาชีพเดียวกันเป็นคนเลือก กรอบความคิดมันจะถูกจำกัดโดยสิ่งที่เล่าเรียนมาแน่นอน
That is the way things are.
เป็นไปได้ครับ แต่สำหรับปัจจุบันเราให้คนที่เลือกโดยไม่มีความรู้เลยอย่างสิ้นเชิง มีหนึ่งเสียงเท่าคนที่ทำอาชีพนั้นโดยตรง ซึ่งผมไม่คิดว่าได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการให้คนทำอาชีพนั้นตัดสินใจ การทดลองทำแล้วแก้ไขและเรียนรู้เมื่อเกิดปัญหาเป็นเรื่องปกติของอารยธรรมมนุษย์อยู่แล้ว แม้แต่เรื่องการปกครองด้วย ซึ่งผมก็พยายามคิดเพื่อแก้ไขปัญหาของระบบเดิมเนี่ยครับ
สำหรับเรื่องที่ต้องพิจารณาหลายมิติก็ไม่น่าห่วง เพราะการลงมติในสภาใหญ่สำหรับงานนิติบัญญัติ ตั้งแต่รธน.ยันกฎหมายย่อยทุกฉบับ ต้องผ่านความเห็นของสส.ซึ่งเป็นตัวแทนจากสภาย่อย และผมแน่ใจว่าตัวแทนที่ได้มาด้วยระบบที่ผมเสนอจะมีคุณภาพดีกว่าสส.จากระบบปัจจุบันครับ การจะได้คนที่ไม่มีคุณภาพเข้ามาอยู่ในสภาใหญ่มากจนส่งผลเสียกว่าระบบเดิมผมคิดว่าแทบเป็นไปไม่ได้ นอกจากล่อด้วยผลประโยชน์ ซึ่งก็เป็นช่องโหว่ แต่ระบบเดิมก็ไม่ได้เหนือกว่าในแง่นี้ และมีปัญหานี้กันทั้งโลกอยู่แล้ว
ระบบเดิมมันสวยงามในอุดมคติครับ แต่ในความเป็นจริงเราได้คนที่ทำนโยบายกัญชาซึ่งผิดกฎหมายเดิมมาเป็นรัฐมนตรี แล้วต้องตามแก้กฎหมายเพื่อเปิดช่อง กลายเป็นละทิ้งเจตนารมณ์ของกฎหมายเดิมที่เขาทำเพื่อป้องกันปัญหา มันไม่ใช่แค่หยุดพัฒนา แต่มันถอยหลังเลย ผมไม่ศรัทธาในสติปัญญาของมนุษย์ครับ เลือกตั้งคราวหน้าเขาก็มาอีก โอเคว่าในสามร้อยปีคนอาจเรียนรู้และพัฒนาจนไม่เลือกนโยบายพวกนี้ แต่ลองหาทางลัดไว้ก็ไม่เสียหายครับ
สว ไงครับ :D
ประชาธิปไตยมันคือการลองผิดลองถูกด้วยตัวประชาชนเอง ไม่ว่าจะพากันขึ้นสวรรค์หรือพากันลงนรกก็สุดแล้วแต่ ผมเห็นเป็นแบบนี้นะ
แต่จริงๆ แล้วมันก็มีองค์ประกอบอื่นๆ ที่ชาวบ้านเขาก็ทำกันมาแล้วคือมีคนถ่วงดุล คอยทัดทาน นี่ก็เป็นหลักที่สำคัญในประชาธิปไตย
สิ่งที่ประชาชนควรทำคือพยายามรักษาหลักการนี้ไว้ให้ได้ก่อน
ส่วนจะเหมาะสมหรือไม่ก็สุดแล้วแต่ แต่มันก็มีตัวอย่างจากทั่วโลกอยู่แล้วว่าระบอบไหนนิยมกว่า ทำให้เจริญได้มากกว่า แล้วทำไมเราไม่ดูตัวอย่างเขาล่ะ
ถ้าตัดสินใจด้วยวิธีประชาธิปไตยในโรงเรียนประถม ก็ไม่ต้องเรียนครับ เล่นกัน กินขนม เละเทะ ประชาธิปไตยจึงต้องการประชากรที่เข้าใจถึงข้อดีข้อเสียจากการตัดสินใจนั้นๆ เพราะแบบนี้เราจึงจำกัดไม่ให้คนอายุต่ำกว่า 18 เลือกตั้ง เพราะเราไม่เชื่อว่าเขาเข้าใจ คนที่สติไม่ปกติเราก็ไม่ให้เลือก ยิ่งจำกัดได้ตรงประเด็นยิ่งได้คะแนนเสียงที่มีคุณภาพขึ้น ผมว่าเรื่องนี้ทุกคนเห็นด้วย และสิ่งที่ผมเสนอคือการจำกัดให้แคบลงไปอีก ถ้าการจำกัดมันผิดงั้นเราก็ไม่ควรจำกัดอายุคนเลือกตั้งครับ ซึ่งทุกคนไม่เห็นด้วยแน่นอน โจทย์คือ ในเมื่อการจำกัดน่ะดี งั้นเราจะจำกัดอย่างไรให้กรองเสียงไร้คุณภาพออกไปให้ได้มากกว่าวิธีเดิม และผมเสนอหนึ่งวิธีไปแล้วครับ ผมได้ยินบางคนเสนอว่า ให้คนที่มีความสามารถพอจะประกอบอาชีพและเสียภาษีเท่านั้นที่เลือกตั้งได้ หรือจบป.ตรีขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งผมเห็นด้วยทั้งสองวิธีเลย เชื่อว่าได้เสียงที่คุณภาพดีขึ้นแน่นอน แต่ "ความสวยงาม" มันน้อยลง และดูเหมือนหลายคนจะสนใจแค่เรื่องความสวยงามนั้น
ผมไม่เห็นด้วยครับ
คนที่อายุไม่ถึงคือประสบการณ์ชีวิตยังไม่มากพอที่จะเข้าใจโลก ส่วนมากยังไม่เคยประกอบอาชีพ ดังนั้นการจำกัดไว้จึงสมเหตุสมผล
คนที่ไม่สมประกอบ อันนี้ชัดเจนตรงตัวคงไม่ต้องอธิบายว่าทำไมถึงไม่ให้เลือก
ส่วนคนอื่น ๆ ที่ถูกต้องตามเกณฑ์แต่คุณมองว่า "เสียงไร้คุณภาพ" ผมไม่เห็นด้วยครับ คุณจะเอาเกณฑ์อะไรมาวัดว่าใครไร้คุณภาพครับ ? อาชีพ ? รายได้ ? วุฒิการศึกษา ?
คนงานก่อสร้างก็มีหน้าที่ของตัวเอง ไม่มีพวกเขา คุณก็ไม่มีบ้าน
คนเก็บขยะก็มีหน้าที่ของตัวเอง ไม่มีพวกเขา บ้านพวกคุณก็สกปรกจนอยู่ไม่ได้ช่างประปาก็มีหน้าที่ของตัวเอง ไม่มีพวกเขา ส้วมคุณตันคุณซ่อมเองได้เหรอ ?
เกษตรกร ไม่มีพวกเขา คุณก็ปลูกผักทำสวนเองไม่เป็น ไม่มีผลผลิตมากิน
ปริญญาตรีแค่เศษกระดาษสำหรับคนที่เกิดมามี DNA ดี มีสมองดีพอประมาณ มีเีงิน และมีโอกาสทางการศึกษา โดยรวม ๆ ก็คือแค่ "เกิดมาโชคดี" แต่ไม่ได้มีคุณภาพมากกว่าคนอื่นอะไรขนาดนั้นครับ
เรียนจบปริญญาตรีประเทศไทยง่ายจะตายครับ ดูอัตราคนเข้าไปเรียนแล้วไม่จบต่ำมาก (ต่ำกว่าอัตราการสอบไม่ผ่านข้อสอบกลางภาควิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมปลายของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาอีกครับ) อยากให้ยากต้องปริญญาโทปริญญาเอกครับ ต้องทำงานวิจัยวิทยานิพนธ์
แล้วสมมติว่าวันหนึ่งคนจบปริญญาโทออกมาบอกว่า พวกจบปริญญาตรีเนี่ย "เสียงไร้คุณภาพ" ไม่ต้องไปเลือกตั้งหรอก ทำงานแล้วก็เสียภาษีไปวัน ๆ พอ เรื่องการกำหนดนโยบายไม่ต้องยุ่ง พวกคุณที่ส่วนใหญ่จบแค่ปริญญาตรีมารับได้ไหมครับ ?
หรือถ้าวันหนึ่งยิ่งไปกว่านั้น คนจบปริญญาเอกออกมาบอกว่า โอ๊ย ปริญญาโทก็ยังเป็นพวก "เสียงไร้คุณภาพ" อยู่ ปริญญาเอกเท่านั้นที่คู่ควร คนที่เรียนจบน้อยกว่ารับได้ไหม ?
คุณมองว่าวิธีการปกติของวิถีประชาธิปไตยมันอุดมคติ แต่คุณรู้ไหมครับ แนวคิดแบบคุณต่างหากที่มันยังตื้นอยู่ พวก elite สมัยก่อนก็คิดมานานก่อนคุณแล้วครับ แต่ถกเถียงกันไปมา มันมีช่องโหว่เยอะ ปัญหาที่ตามมาเยอะ จนสุดท้ายเขาค้นพบแล้วว่ามันไม่ work เขาก็เลยเลือกวิธีที่เป็นอย่างปัจจุบัน
ผมเดาว่าคุณอายุน่าจะยังไม่เยอะนะ ลองไปเจอคนนอกสังคมนอกอาชีพตัวเอง ลองไปเจอคนพื้นที่อื่น ๆ เช่น บนเขาบนดอยบนเกาะดูครับ ความคิดน่าจะเปลี่ยนไป
That is the way things are.
ใช่ครับ มันอาจจะมีปัญหา ผมถึงได้เสนอวิธีที่คนยอมรับมากกว่าเงินเดือนและการศึกษาไงครับ
และถูกต้อง คนไม่จบปริญญาตรีมีคุณภาพก็เยอะไป แต่คุณบอกว่า "คนที่อายุไม่ถึงคือประสบการณ์ชีวิตยังไม่มากพอที่จะเข้าใจโลก" ถ้าคุณใช้ตรรกะเดียวกันโดยไม่หลายมาตรฐาน งั้นคุณเอาอะไรมาตัดสินว่าคนอายุต่ำกว่า 18 ปีไม่เข้าใจโลกเท่าคนอายุ 18? สรุปแล้วอายุคือ "เกณฑ์โดยคร่าวๆ" ซึ่งถ้าจะไม่ใช้เลยก็ให้ทุกคนเลือกตั้งไปสิครับ แต่ถ้าจะใช้เกณฑ์โดยคร่าวแบบนี้ เรื่องภาษีและเรื่องการศึกษาเป็นตัวชี้วัดที่ดีกว่าอายุแน่นอน และคนไม่จบตรีมีคุณภาพก็เยอะ คนอายุน้อยมีคุณภาพก็เยอะ ต่างกันตรงไหน? แล้วเสียงนักบวชไม่มีคุณภาพหรือ? นักบวชที่สนใจทางโลกก็มี แต่เราใช้ "เกณฑ์โดยคร่าว" เพื่อกรองคนส่วนใหญ่ไง ผมว่าคุณไม่เก็ทประเด็นที่ผมเขียนโพสต์ก่อนหน้านี้ครับ
เอาใหม่ เรื่องรายละเอียดยังไม่ต้องไปสนใจครับ อาจใช้ ranking สถาบันการศึกษาหรืออัตราภาษีมากำหนดน้ำหนักของคะแนนเสียงก็ได้ คนฉลาดกว่าผมอาจมีวิธีที่ทุกคนยอมรับ แต่เอาเรื่อง Concept ก่อน ว่าการให้ทุกคนมี 1 เสียงเท่ากันมันเป็นวิธีที่ดีที่สุดจริงหรือ? คนที่เขาเคยคิดเรื่องนี้มาทำไม่ได้เพราะมันไม่เวิร์คหรือเพราะหาวิธีทำให้คนยอมรับไม่ได้? หรือเพราะกลัวพรรคพวกตัวเองเข้ามายากกันแน่? ถ้าระบบนี้ดีที่สุดอย่างแน่นอน ก็ต้องสามารถอธิบายด้วยเหตุผลที่ชัดเจนได้ครับ ไม่ใช่บอกว่าให้ผมเลิกคิดเถอะเพราะอื่นเขาคิดกันมาแล้ว และช่องโหว่อะไรก็ตามที่คุณคิด มันยังมีอยู่ในยุคปัจจุบันรึเปล่า? ประชาธิปไตยมีมาเป็นพันปี และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเรื่อยๆ สิ่งที่ผมเสนอก็ยังสามารถมองว่าเป็นประชาธิปไตยแบบหนึ่งได้อยู่ครับ เพียงแต่เงื่อนไขในการลงเสียงคือสายอาชีพ ไม่ใช่เงื่อนไขคือหยิบปากกาได้ก็มีหนึ่งเสียงเท่าคนที่จบด้านนั้นโดยตรง
ถ้าเราใช้ประชาธิปไตยโดยไม่จำกัดคุณสมบัติมาตัดสินทุกเรื่อง ตอนนี้ฟิล์ม รัฐภูมิ อยู่ในคุกไปแล้วครับ ทุกสังคมมีขอบเขตที่ผู้มีความรู้เท่านั้นที่มีสิทธิ์ตัดสินใจ ผมกำลังเสนอให้ขยับขอบเขตนั้นให้ครอบคลุมถึงการเลือกผู้ที่จะขับเคลื่อนกระทรวงด้วย เท่านั้นเองครับ
ถ้าทุกอย่าง "เป็นไปตามกติกา" มันก็จะค่อยๆดีขึ้นไปเองครับ ประเทศประชาธิปไตยที่เจริญแล้วหลายๆประเทศก็ผ่านเรื่องราวทำนองนี้มาเหมือนกัน
เรื่องประชานิยมหรือการเอาเงินซื้อความนิยมนั้น ถ้าประชาชนส่วนใหญ่มีชีวิตมั่นคงและดีขึ้น มันก็จะหมดไปเองครับ เพราะคนเหล่านั้นจะมีเวลาคิดถึงประเทศชาติหลังคิดถึงความอยู่รอดของตัวเอง และไม่จำเป็นต้องคว้าเงินฟรีทุกก้อนเพื่อต่อชีวิตตัวเองครับ
เพราะงั้นอุปสรรคของประเทศนี้ มันไม่ใช่ประชาชนหรือประชาธิปไตย แต่เป็นกลุ่มที่พยายามเล่นนอกกติกาต่างหากครับ และคนกลุ่มนั้นก็กำลังทำทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะใช้กำลัง ความเชื่อ กฎหมาย รวมไปถึงการศึกษา เพื่อกดไม่ให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้นไปกว่านี้อยู่ครับ
ซึ่งผมมองว่าสิ่งที่ยากที่สุดคือความเชื่อนี่แหละ เพราะมันสามารถทำให้ประชาชนสามารถยอมรับเรื่องใดๆได้จากใจแม้แต่การกระทำนอกกติกาก็ตาม ส่วนจะเป็นความเชื่อเรื่องอะไรนั้นผมขอไม่เอ่ยละกัน แต่มันมีความเชื่ออยู่ไม่กี่อย่างหรอกครับที่ถูกใช้ประโยชน์ทางการเมือง
ปล. กติกาในที่นี้สำหรับผมไม่ได้หมายถึงกฎหมาย แต่หมายถึงหลักประชาธิปไตยครับ การแก้หรือใช้ช่องให้โหว่เพื่อให้ถูกกฎหมาย แต่ผิดหลักประชาธิปไตย สำหรับผมก็คือนอกกติกาเช่นกัน
จริง ๆ มันก็ต้องปล่อยให้ประชาชนลองให้สุดครับ
ถ้าทำแล้วไม่ดี หรือเมื่อก่อนเคยดีแต่ตอนนี้ไม่ดีแล้ว ก็มีโอกาสที่คนจะเปลี่ยนกันเอง ดูตัวอย่าง กทม.ที่ ปชป.เคยครองอยู่หลายสมัยติดแถมนำเยอะด้วย ปัจจุบันก็ไม่ได้แล้ว ถ้าตัดชัชชาติออก ถึงได้ที่ 2 แต่ก็สูสีกับก้าวไกลมาก ๆ (ถ้าดูแค่ ส.ก.ก็แพ้)
ระดับประเทศก็เหมือนกันปล่อยเค้าทำไปก่อน ถ้าไม่ดีอีก 4 ปี ก็เลือกกันใหม่ ไม่ใช่ปล่อยเค้าทำได้ไม่กี่ปีล้มกระดานเริ่มใหม่ตลอด
ถ้าปล่อยให้ พท.บรืหารนานเหมือนลุง ก็อาจจะมีคนเปลี่ยนใจก็ได้ เหมือนลุงแรก ๆ คนก็เชียร์เยอะ ผ่านไป 8 ปี ปัจจุบันก็เสื่อมแล้ว
แต่นี่ปัจจุบันคนที่ชอบ พท.ยังไม่มีความรู้สึกว่า พท.ไม่ดีไม่เก่งเลย เพราะบริหารไม่ทันไรก็โดนล้มตลอด คือ ไม่ทันจะเริ่มเสื่อมก็โดนคู่แข่งเตะตัดขาแล้ว สร้งภาพลักษณ์ผู้ถูกกระทำให้ พท. ได้คะแนนความน่าสงสารเข้าไปอีก
A smooth sea never made a skillful sailor.
เห็นด้วยเลยชาติที่ไม่มีพื้นฐานสำนึกที่ดี แล้วโยนประชาธิปไตยโครมลงมาให้ลองผิดลองถูก
กว่าจะลองผิดลองถูกจนรู้ว่าต้องมีสำนึกที่ดี อาจสิ้นชาติไปก่อนจะได้เรียนรู้
เห็นด้วยครับ ประชาชนยังไม่เข้าใจประชาธิปไตย ยังไม่ใช้สิทธิ์อย่างที่ควร ก็อาจจะไม่เหมาะกับประชาธิปไตยสังคมนิยมแบบจีน ถ้าได้ผู้นำดีก็เจริญได้เหมือนกัน แต่ต้องโชคดีได้ผู้นำดีจริงๆนะ
แล้วจะเอาระบบไหนดี ครับ สังคมนิยม ไม่พอใจใครก็ถูกส่งไป ใช้แรงงาน ส่งทำนารวม ? ประชาธิปไตย มันไม่ดีที่สุดหรอกครับ แต่มันเป็น ระบบที่ไม่พอใจ ก็ออกมาเรียกร้องลงถนน มีอายุการปกคครอง หลักการคิดระบบ ปชต มันเอาคัดกรองคนได้ระบบดับนึง ถ้า ปชช ไม่พอใจมากๆ บางคนก็ลาออก หรือแย่ที่สุดรอครบวาระมันก็หมดอำนาจ แถมยังมีอีกฝ่ายคอยถ่วงดุลในระบบ รัฐสภา นายก หลายๆคนก็ชิงยุบสภาก่อนอภิปรายไม่ไว้วางใจเยอะแยะ ที่มันแย่เพราะ คนมาตัดต่อทำ รปห นั้นละที่พร่ำบอก คนดีย์ บลาๆ นักการเมืองโกง บลาๆ วิถีทาง ปชคที่คอยแทรกแซง เป็นรัฐซ้อนรัฐ รัฐบาลไม่มีอำนาจเต็มในการจัดการ อย่างพวก กอรมน งี้ ควรยุบไปได้แล้ว ประเทศไม่จำเป็นต้องต่อสู้พวก ลัทธิคอมมี่ แล้วจะเอาอยู่ไว้ทำไม ผบชการทหารต่างๆพวกนี้ ควรเอากลับไปเป็นนายพล 1 ดาว พอใช้ระบบเสนาธิการร่วมแทน
สังคมนิยมเกี่ยวอะไรกับ
นะครับ? คือผมเข้าใจว่าประชาธิปไตยกับสังคมนิยมมันคนละแกนกันไม่น่าเอามาปนกันในหัวข้อนี้ได้ แบบ ไม่งั้นแล้วสังคมนิยมประชาธิปไตยนี่จะจัดอยู่ในหมวดไหนยังไงนะครับ
ก็รูปแบบการปกครอง ไงครับ เห็นบอกไม่เอา ปชต แล้วจะเอาระบบอะไรละครับ เอาสังคมนิยม หรอครับ มีปชช ออกมาประท้วงก็จับส่งเข้าค่ายแรงงาน ก็เห็นบอกไม่เอา ปชต
สังคมนิยมไม่ใช่รูปแบบการปกครองครับ และสังคมนิยมไม่ได้จับคนออกมาประท้วงส่งเข้าค่ายแรงงานครับ
ไม่งั้นเราคงไม่เห็นคำว่าประชาธิปไตยสังคมนิยม (เอ๊ะ หรือสังคมนิยมประชาธิปไตยนะ ผมชอบสับสนสองอันนี้)
สังคมนิยมนั่นแหละ แค่ใส่ประชาธิปไตยให้สวยหรูเฉย ๆ ตัวระบบจริง ๆ ไม่มีที่ไหนในโลกปรับใช้ได้จริง ใด ๆ ล้วนออกมาในแนวเผด็จการรัฐสภาทั้งนั้น
เรื่องนั้นผมไม่ขัดนะครับ แต่ถ้าจะมีประเด็นก็ควรเป็นเผด็จการไม่ใช่สังคมนิยมน่ะครับ
จริงครับ คนส่วนใหญ่แยกไม่ออกระหว่าง
ระบบการเมือง (ประชาธิปไตย, คณาธิปไตย, เผด็จการ)กับ
ระบบเศรษฐกิจ (ทุนนิยม-สังคมนิยม)
สังคมนิยมประชาธิปไตย เข้าใจว่า คือ พวกสแกนดิเนเวียที่ฝั่งนิยมประชาธิปไตยบ้านเราเอามา เชิดชูโปรโมทโฆษณา โดยเฉพาะเรื่องรัฐสวัสดิการ นี่แหละ
แต่ดันจะเดินตาม ทุนนิยมประชาธิปไตยแบบอเมริกาซึ่งผิดฝาผิดตัวเอามากๆ มันจะเป็นรัฐสวัสดิการได้ยังไงถ้าทำตามอเมริกา 😑
+1024
+1
Coder | Designer | Thinker | Blogger
+1
แต่คนที่ออกกฎ ก็คือคนที่ ตัวประชานิยม คือประโยชน์ของพวกเขาทั้งการได้คะแนนเสียง และการทุจริตคอร์รัปชันจากโครงการประชานิยม
และแน่นอนว่าคนทีต้องการจะแก้ไขเรื่อง ประชานิยมก็จะไม่ถูกเลือกเช้าไป เพราะผู้คนชื่นชอบมัน
คิดว่าเราทำได้แค่ หาช่องทางออกให้ตัวเองแล้วรอดูสิ้นสุดของประเทศ ตอนที่ การเงิน ไม่สามารถแบกต่อไหว
แต่อย่างไง เราก็ต้องรอด
ควรมีกฏหมายครับแต่สภาก็มีอำนาจในการแก้กฏหมายได้ด้วยเหมือนกัน
เมืองไทยกฏหมายหลายๆอย่างมีนะ แต่มันไม่ได้ถูกบังคับใช้จริงจัง
(ทฤษฎีสมคบคิด ไม่มีความน่าเชื่อถือ แต่อ่านเล่นได้)
เพราะโครงสร้างพื้นฐาน นายทุนใหญ่ควบคุมอยู่ทั้งหมดยังไงล่ะ ลองให้รัฐบาลที่เด็ก ๆ อยากให้เข้ามาบริหารเข้ามาปรับโครงสร้างพื้นฐานดูสิ เหล่าบรรดาพ่อค้าคนกลาง และบริษัทผูกขาดรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยไม่อยู่เฉยแน่ เผลอ ๆ เอาถึงชีวิตด้วย แจกเงินเนี่ยแหละง่ายสุด 55555
บอกเลย เอาแค่ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพและราคาถูก ไม่ว่าจะเป็นระบบขนส่งมวลชนในต่างจังหวัด ทำให้คนเดินทางไปทำงานสะดวกขึ้นและลดการใช้พาหนะส่วนตัว และที่สำคัญอย่างยิ่งคือระบบขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพทั่วประเทศ เอาแค่นี้พ่อค้าคนกลางก็ออกมาประท้วงแล้ว เพราะประเทศนี้เป็นประเทศแห่งพ่อค้าคนกลางยังไงล่ะ ลองออกไปถามเหล่าบรรดาพ่อค้าแม่ขายก่อนก็ได้ ผมพนันได้เลยว่าคุณต้องได้เจอกับคนที่บอกว่า "รับของเขามาขายอีกที" เพียบ
+1
-- ^_^ --
แต่ละพรรคมีแต่นโยบาลแจกเงิน แจกของ สัญญาว่าจะให้ งงมากว่านี้ไม่ถือเป็นการซื้อเสียงเหรอ
ถ้าซื้อเสียงคือต้องจ่ายแล้วต้องไปเลือกครับ อันนี้ยังไม่ใช่เพราะมันยังไม่มีการจ่าย มันเป็นนโยบายแนวสวัสดิการ(แต่ดีไม่ดีไหมอีกประเด็น)
ถ้าตีความแบบนี้มันจะประกาศนโยบายอะไรได้บ้างครับ รถไฟฟ้าผ่านหน้าบ้านผมจะโดนไหม? โอนเงินฟรี? ลดภาษี?
lewcpe.com , @wasonliw
จะเข้าเงื่อนไขจะต้องเป็นการแจกเงิน แจกของ สัญญาว่าจะให้ จากเงิน,ของ ของ สส หรือพรรคการเมืองครับ
พวกผ้าอนามัยฟรีในโรงเรียน นมโรงเรียน อาหารกลางวันฟรีในโรงเรียน ฯลฯ โดนหมดเลยนะครับ
หลายพรรค มีแจกเงิน ผู้สูงอายุ 700-3000 บาทต่อเดือนด้วยนะ เป็นรัฐสวัสดิการ
กฏหมายบังคับให้ต้องแจงว่าจำนวนเงินที่ใช้ทำตามนโยบายหาเสียงจะจัดหามาได้จากไหนด้วยวิธีการไหน
แล้วผมจะหาเสียงยังไงได้ครับ ถ้าคิดแบบนั้น
เลือกผมเถอะ แล้วผมจะไม่เข้าไปทำอะไรเลย แบบนั้นรึครับ?
ถ้าหาเสียงว่าจะมีสวัสดิการรักษาฟรีกับประชาชนทุกคน มันก็เข้าข่ายสัญญาว่าจะให้นะถ้าตีความแบบที่คุณว่ามา
เส้นแบ่งระหว่างรัฐสวัสดิการ ซื้อเสียง กับ ประชานิยม นี่เอาจริงๆมันบางมากๆนะครับ
เอาแบบนโยบายเดิมของ พท. รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย (ตอนนี้ก็มีพูดบ้างแต่เบ๊าเบา)เราจะมองเป็นรัฐสวัสดิการ ซื้อเสียง หรือประชานิยบม หละครับ
เพราะ ตจว.ไม่มีรถไฟฟ้าครับ
+1
ขอบคุณที่พูดแทนใจ
.
ประชาธิปไตยก็คือประชานิยม ได้เก่งกว่าได้มากกว่า ผิดถูกให้ประชาชนตัดสิน ควรยอมรับกันได้แล้ว
ใช่ครับ คนที่ออกบ่นกันได้ก็ไม่ผิดครับ สุดท้ายวัดกันที่ผลเลือกตั้ง ถ้าแจกเงินก็ออกประท้วงกันได้ ตามที่กฏหมายกำหนด
ออกมาเผาได้ตามกฏหมาย
กฎหมายฉบับไหนครับ
?
ทั้งใช่และไม่ใช่ ปชช ออกมาประท้วงได้ ออกมาเผาได้ ใช่ แต่ก็โดนจับ เรื่อง เปา ไม่ใช่ออกมาประท้วง
ผมว่าไปทำแอพเป๋าตังให้ลองรับเงื่อนไขการใช้งานก็น่าจะจะได้อยู่นะ
นั่นสิ แอปเป๋าตังก็มี gps อยู่แล้ว อยู่ห่างจากร้านค้าจะใช้ไม่ได้ แค่เปลี่ยนเงื่อนไขจากที่อยู่ร้านค้าเป็นปักหมุดที่บ้าน
ทำระบบใหม่ดีกว่าในแง่ของเงินทอนได้เต็มเม็ดเค็มหน่วยมั้งครับ เอาระบบเดิมมาต่อยอดได้เงินทอนน้อย
+1
น่าเบื่อการเมืองไทย เอือมระอา ลงทุนแล้วเข้าไปถอนทุนภายหลังแทบทั้งหมด
แทบไม่ต่างกันสักพรรค หาได้มีคนทำเพื่อคนไทยทั้งชาติโดยแท้
ถ้าคนทำการเมืองแล้ว ครบวาระ รัฐมีสวัดิการใหัตลอดชีพ
โดยไม่ต้องมีสมบัติ เพราะรัฐเลี้ยงแล้ว เงินทองสมบัติก่อนหน้า
ให้ตกเป็นของรัฐทั้งหมดญาติพี่น้องด้วย
คิดว่า คงไม่เห็นนักการเมืองปัจจุบันสักคนคงมีแต่นักการเมืองเสียสละเพื่อส่วนรวม ทั้งหมด
ผมเห็นว่าปัญหาอะไรเหล่านี้มันอยู่ที่ระบบมันทำงานได้อย่างที่ควรเป็นหรือเปล่า ผมเลิกหวังหาคนดีมาตั้งนานแล้ว
ผมหาคนที่พัฒนาระบบที่ป้องกันให้ทำไม่ดีได้ยาก เพราะคนไปแล้วระบบยังอยู่
เป๋าตังค์เกิดในยุค 3ลุง ถ้าเพื่อไทยเอาเป๋าตังค์ไปใช้อาจจะมีคนเคลมว่าต่อยอดจากสิ่งที่ ลุงๆ ทำไว้ก็ได้มั้งนะ
ถ้ามีดีเบทอีก อยากให้มีคนถามคำถามนี้ ว่าทำไมต้องบล็อกเชนอยากรู้ว่าเข้าใจสิ่งที่ตัวเองพูดกันไหม
ปลายทางก็คือประชาชนที่เอาไปใช้จ่าย ไม่เห็นว่าจะต่างจากเป๋าตังค์ตรงไหน
แจกด้วยเงินตัวเองก่อนเลือกตั้ง เรียกว่า ซื้อเสียง
แจกด้วยเงินคนอื่นหลังเลือกตั้ง เรียกว่า นโยบาย
😅😅😅
อยากจะเลือกเพื่อไทยและชอบคุณเศรษฐานะ แต่ตะหงิดไอ้ Blockchain กะ CBDC จริงๆ จะทำจริงเหรอ สงสาร dev และสิ้นเปลืองเงินเปล่าๆ หวังว่าจะพูดเอาเท่เฉยๆและแจกเงินธรรมดาก็พอ
วาทะกรรมล้วนๆ พูดให้นโยบายดูดีขึ้นมากๆ สร้างภาพให้ชาวบ้านธรรมดา นโยบายดูล้ำสมัยกว่าคนอื่น ทำให้ดูไม่ซ้ำกับเป๋าตังค์ สร้างความชอบทำให้ตัวเเองมากขึ้น สุดท้ายเงินดิจิตอลมูลค่าเท่ากับหนึ่งบาท ซื้อเสียงโดยไม่เสียเงินสักบาท นโยบายทุกคนร่วมจ่าย เก็บภาษีย้อนหลัง เพราะรัฐกู้แทนแล้วนำมาแจกให้ประชาชน
นโยบายประชาไม่นิยม เช่น เสริมสร้างศักยภาพของกองทัพโดยไม่คำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ แบบนี้น่าจะเป็นที่นิยมมากกว่าหรือเปล่านะ ?
เขาอาจจะอยากได้นโยบาย รถถังนิยม เรือดำน้ำนิยมก็ได้นะครับ
ตอนนี้มาแนวนี้ทั้งโลกเลยเศรษฐกิจไม่ดี แทนที่จะเอาเงินมาแก้เศรษฐกิจ กลายเป็นซื้ออาวุธเพิ่มขึ้นหนักมาก
อาวุธเป็นปัจจัยหลักในการเสริมสร้างเศรษฐกิจแหละครับ
เช่นเอาเรือรบไปปิดเพื่อบังคับให้เพิ่มค่าเงิน จะได้ส่งออกไม่ได้
เรื่องนั้นผมมองว่ามันเป็นเรื่องความมั่นคงนะ
การซื้ออาวุธ มันไม่ใช่แค่ได้อาวุธ
แต่มันหมายถึงการมีดีลลับระหว่างประเทศ
ทั้งเรื่องการค้า โควต้าสิ่งต่าง ๆรวมถึงการไม่ให้เขาเข้ามาแทรกแทรงประเทศตัวเองเยอะ
อารมณ์ ประมาณ การมีอาวุธ เพื่อไม่ให้เกิดสงคราม
ยิ่งช่วงเวลาที่โลกพร้อมเกิดสงครามได้ตลอดเวลาแบบวันนี้
มันยิ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะเพิ่มความมั่นคงให้มากขึ้น
แต่มันก็มีหลาย ๆ ครั้ง (หรือบอกว่าทุกครั้งดี) ที่เกิดทุจริตในการจัดซื้อมันเลยกลายเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ และ โดนมองว่าไม่จำเป็นไป
มันเลยเป็นนโยบายประชาไม่นิยมไงครับ
นั่นสินะครับ
แอบเหนื่อยใจจริง ๆ
จริง ๆ ตอนนี้ประเทศต้องการผู้นำที่ทำให้ประเทศเข็มแข็งแต่ที่ผ่านมา การโจมตีกันทางการเมือง แล้วแข่งกันที่การแจกเงิน
เหมือนขุดหลุมฝังประเทศลงไปเรื่อย ๆ
บทความดีมากๆ ครับถ้าเห็นแก่ผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ การต่อยอดจากสิ่งเดิมที่มันโอเคอยู่แล้ว ก็ไม่ได้เสียหายอะไร อย่างโครงการ 30 บาทที่ใช้กันมายาวนาน ก็เป็นคุณูปการ ที่เริ่มไว้ได้ดี และไม่ต้องไปล้มเลิก เพียงเพราะผลงานพรรคอื่นอะไร
เป๋าตังค์ ถ้ามันใช้ได้ดี และประชาชนคุ้นเคยอยู่แล้ว เหตุผล ณ ปัจจุบัน ส่วนตัวยังไม่เห็นว่าเพียงพอให้ล้มเป๋าตังค์เลย เริ่มใหม่จาก 0 กับทุกอย่าง มันเสียเวลา เสียงบประมาณ โดยไม่จำเป็น ผมเห็นด้วยกับบทความนี้ทุกประการ
WE ARE THE 99%
บทความดีครับ
แจกเงินไม่เท่ากับประชานิยมเสมอไป (ย้ำคำว่า "เสมอไป" นะ)
นโยบายแจกเงินเพื่อจุดประสงค์อย่างอื่นนอกจากเรียกความนิยมเฉยๆ มันก็อาจจะเป็นนโยบายที่ดีได้
แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูด้วยนะว่าจุดประสงค์ที่ว่าเนี่ย มันถูกคิดขึ้นมาก่อนหรือหลังนโยบาย มีหลายๆนโยบายที่คิดขึ้นมาก่อนว่าอยากทำอันนี้ จากนั้นก็คิดจุดประสงค์ขึ้นมาโป๊ะๆให้มันดูสวยหรู (หรือก็คือคิดตอบก่อนตั้งคำถาม) ทั้งที่ในความเป็นจริงอาจจะมีนโยบายที่ดีกว่านี้ในการตอบจุดประสงค์แบบเดียวกันก็ได้
อย่างนโยบายนี้ รู้สึกเหมือนคิดคำตอบขึ้นมาก่อนว่าอยากแจกเงินอยากทำบล๊อคเชน จากนั้นก็ค่อยตั้งคำถามกำหนดรายละเอียดกำหนดจุดประสงค์ตามมาทีหลัง มันเลยดูขาดๆเกินๆแบบนี้เนี่ยแหละ
พรรคเพื่อไทยเองต้องทำตัวอย่างทดลองให้ดูก่อน แต่ไม่รู้จะผิดกฎหมายไหม...สุดท้าย ทุกคน 1 สิทธิ์ 1 เสียง
ประชานิยมสำหรับเรา คือ เฉพาะกลุ่มคน อย่างคนละครึ่ง หรือบัตรสวัสดิการที่ไม่ได้ทุกคน
สำหรับเรานโยบายนี้ เป็นสวัสดิการมากกว่า เพราะได้ทุกคน
คิดให้ลึกและมองให้กว้างครับ..เงินดิจิตอล 10,000 แท้จริงแล้วมันคือเครดิตค่าใช้จ่ายการดำรงชีวิตที่รัฐบาลรับรอง ดังนั้นการซื้อสินค้าหรือบริการ รัฐไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินจริงให้ผู้ประกอบการเต็ม 10,000 บาท เพราะผู้ประกอบการเองก็สามารถเป็นผู้ใช้เครดิตได้เช่นเดียวกัน เปรียบดั่งการแลกสินค้ากันเองในอดีต ซึ่งตรงกับสุภาษิตหมูไปไก่มา
หลักคิดคือประชาชนส่วนใหญ่มีซัพพลายอยู่แล้ว เช่น เกษตรกร โรงงาน โชห่วย โปรแกรมเมอร์ ฟรีแลนซ์ มอไซรับจ้างฯลฯ ซึ่งพวกเขาเหล่านี้จำเป็นต้องซื้อสินค้าและบริการเช่นเดียวกัน ดังนั้นเครดิตระหว่างประชาชนจึงเกิดการหมุนเวียนแลกเปลี่ยน โดยท้ายที่สุดแล้ว เงินจริงที่รัฐต้องจ่ายต่อหัวจะเหลือไม่ถึง 10,000 หรือไม่ต้องจ่ายซักบาทเลยก็ได้ แต่จะเกิดผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจในมูลค่าหลายแสนล้านแน่นอน
ผมเสริมนะครับมัน คือทางบัญชีสุดท้าย
มันก็ต้องตั้งสำรองให้บัญชีสมดุลหละครับ
ปล่อยเครดิต 5 แสนล้าน มันก็ต้องตั้งสำรองก่อน 5 แสนล้านครับ
ผลจจากการเก็บภาษีได้มากขึ้นถือว่าเป็นกำไรบรรทัดนึง
เหมือนเวลาลดภาษีมันก็ต้องตั้งสำรองชดเชยรายได้ให้
สรรพกรหนะหละครับ
มันก็ต้องมานั่งถกเถียงทางความคิดกับวิธีการกันอีกทีครับ
ถูกต้องเลยครับ รัฐเป็นหนี้ทางบัญชีเต็มจำนวน แต่เงินจ่ายจริงบรรทัดสุดท้ายไม่จำเป็นต้องจ่ายก้อนเดียวและจะจ่ายในมูลค่าที่น้อยกว่ามูลค่าทางบัญชี
ประเด็นของบทความคือเราสามารถทำเงินดิจิตอลได้โดยไม่ต้องใช้บล็อคเชน สิ่งที่ท่านพูดมาสามารถต่อยอดจากแอพเป๋าตังค์ได้เลย การเริ่มใหม่หมดนอกเสียเงินเสียเวลายังมีโอกาสล้มเหลวในทางเทคนิค
ผมเห็นด้วยกับเจ้าของบทความครับ คือรัฐบาลใหม่ควรเน้นการต่อยอดเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันครับ แต่ที่เขียนมาข้างต้น มาตอบเม้นด้านบนที่ไม่เข้าใจระบบคิดการแจกเงินดิจิตอล 10,000 บาทครับ
เขาไม่ได้มีปัญหาที่การแจกเงินครับ เขามีปัญหาที่ทำไมต้อง blockchain คือต้องหาเหตุผลให้ได้ว่า blockchain มันดีกว่ายังไง
ผมก็มองประมาณนี้มันเหมือนเป็นการพิมพ์เงินบาทขึ้นมาเองเพื่อใช้ในกลุ่ม เฉพาะกลุ่ม การใช้คำว่าบล็อกเชนเป็นคำเลียงความผิดจากการเติมเงินเข้าระบบเองโดยไม่มีการสำรองทองคำ
การที่อยู่ดี ๆ ทุกคนมีเงินเพิ่มขึ้น 10,000 บาท ก็ทำให้มูลค่าเงินของทุกคนลดลงครับ
อันนี้อาจจะไม่เกี่ยวซะทีเดียว แต่ตอนที่ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจาก 150 (ถ้าจำไม่ผิด) เป็น 300 บาท คนที่ได้รับผลกระทบคือคนที่ได้ค่าแรงมากกว่า 300 บาทอยู่แล้ว ที่อยู่ดี ๆ เงินตัวเองก็มีมูลค่าลดลงเฉยเลย คนที่ได้เงิน 300 บาทอยู่แล้วก็โดนลดขั้นจากเกือบ ๆ ขั้นต่ำลงมาเป็นขั้นต่ำรวดเดียวเลย แล้วราคาสินค้าทุกอย่างก็ขึ้นเพราะต้นทุนค่าแรงมันสูงขึ้น
OMG นี่เพจเทคโนโลยีจริงหรือนี่
อันนี้เป็นเว็บครับ ไม่ใช่เพจ
ถกเถียงกันด้วยเหตุผล ก็สมกับเป็นฝั่งเทคโนโลยีดีนี่ครับ ดูไม่เหมือนยังไงนะ
ก๊เพราะที่นี่เข้าใจข้อจำกัดและความเป็นจริงครับ ไม่ได้หลับตาลงเพ้อฝันตาม buzzword
WE ARE THE 99%
ตอบคำถามให้ได้ก่อนเหอะว่าทำไมต้องใช้บล็อกเชน ทั้งที่มันไม่ได้พิสูจน์ตัวในการใช้งานจริงระดับรัฐเลย ประเด็นหลักของนโยบายนี้คือการแจกเงินนั่นแหล่ะ แต่จ่ายเป็นเครดิตเพื่อเอาไปซื้อของเพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาษีที่รัฐจะได้จากผู้ประกอบการ เอาแค่บอกแจกเงิน 10,000 ผ่านเป๋าตังค์ผมว่ามันก็ได้เหมือนกันแหล่ะ เพราะเขาแค่ต้องการสร้างแรงกระเพื่อม และสร้างการรับรู้วงกว้างโดยให้สื่อช่วยกระพือข่าวแค่นั้น ไม่ได้ต้องการบล็อกเชนจริงๆ หรอก อีตา candidate เขาเก่งการตลาดพวกนี้สนเรื่องสร้างจุดสนใจอย่างเดียว ไม่สนวิธีการหรอก เพราะถ้าไม่มีจุดสนใจใครจะอยากทำข่าว
คุณลองตัดคำว่าบล็อกเชน แล้วใส่คำว่าแจกเงินดิจิทัลผ่านเป๋าตังค์เข้าไปแทนสิ ผมว่าชาวบ้านอาจเข้าใจและเข้าถึงง่ายกว่าอีกเพราะเขาคุ้นเคยอยู่แล้ว แถมไม่ต้องผลาญภาษีกับระบบที่ไม่รู้ว่าจะต้องใช้งบอีกเท่าไหร่ รองรับมาตรฐานอะไรบ้างก็ไม่ได้บอกมา ถ้ามัน implement แล้วดันล็อกสเปคให้เชื่อมได้จำกัดทำไงต่อ แล้ววันนึงคุณก็ต้องมาบ่นว่าทำไมต้องมีกระเป๋าเงินดิจิทัล 2 ใบ แล้วครั้งถัดไปหากพรรคเพื่อไทยไม่ได้รับเลือก อีกฝ่ายได้รับเลือกทำไงต่อ
หน้าที่ของที่ปรึกษาด้านไอทีคือ การให้คำแนะนำที่ในการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีเสถียรภาพ มีความปลอดภัยเพียงพอ และสามารถใช้งานได้จริง คุ้มค่ากับงบประมาณที่จ่ายไป ไม่ใช่เลือกเทคโนโลยีใหม่สุดที่ยังไม่ได้พิสูจน์ตัวตน ถามจริงคุณจะเอาประชาชนในประเทศไปลองกับเทคโนโลยีที่แม้แต่คนไอทีที่ทำงานกับคอมฯ ทั้งวันยังส่ายหัว แล้ววันนึงเกิดปัญหาขึ้นมาแก้ไขไม่ได้ ก็มานั่งร้องไห้ออกสื่อ บอกว่าไม่คิดว่ามันจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอย่างนั้นหรือ ?
+1
WE ARE THE 99%
คนไทย (ไม่ทุกคน) มักจะมีนิสัยเสียอยู่อย่างหนึ่ง
คือไม่ค่อยชอบเอาอะไรที่มีคนทำไว้แล้วมาต่อยอด เพราะมันจะรู้สึกว่าไม่ใช่ของตัวเองเต็มร้อย เวลาอยากจะทำอะไร ก็มักจะสร้างใหม่ไปเรื่อยๆ รวมถึงคนที่ทำเอาไว้แล้ว เวลามีคนอื่นๆ เอาของตัวเองไปต่อยอด ก็มักจะยื่นหูชูคอว่าพวกไม่มีความคิด สุดท้ายก็มาเอาของข้าไปทำต่อ
ทั้งที่บางอย่าง ถ้าของเก่ามันยังสร้างประโยชน์ได้ ยังหาทางใช้ได้ เอามาปรับใช้ได้ ก็เอามาใช้เถอะ ส่วนคนต้นแบบที่ทำเอาไว้ ก็ไม่ต้องไปต่อว่า หรือยกตนข่มท่าน ก็แค่แสดงความยินดี และดีใจ ที่อย่างน้อยๆ ก็มีคนเอาสิ่งที่ตนทำ ไปทำอะไรใหม่ๆ ได้
เรื่องเงินดิจิทัล ผมว่าไม่ต้องไปเริ่มทำระบบใหม่หรอก ประยุกต์ใช้ของเดิมที่มีอยู่จะดีกว่า อีกอย่างพูดว่า จะเอาบล็อกเชนมาทำอย่างงั้นอย่างงี้ ทั้งที่ตัวเองก็ไม่ได้รู้รายละเอียดเชิงลึก ว่าตัวเทคโนโลยีมันมีข้อจำกัดอะไรบ้าง ผมว่ามันเหมือนเป็นการขายฝันซะเปล่าๆ มันเหมือนคนที่พูดอะไรไปเรื่อยเปื่อย ขาดความน่าเชื่อถือ มีประโยชน์อย่างเดียวคือดูล้ำ ดูทันสมัยก็แค่นั้น
ถ้าพูดเรื่องเงินดิจิทัล แล้วเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้งาน แบบนั้นจะน่าเลือกกว่ามากครับ
+1
WE ARE THE 99%
+1
+1
อันนี้เหนด้วยแฮะ
หลายๆโครงการ ทมาแล้ว ปล่อยร้าง ไม่มีงบดูแลต่อผอ รายใหม่เข้ามาตามวาระ ก็จะมีโครงการใหม่ๆ เสริมเข้าไป
จริงครับ ที่ยังพอเห็นกาสานต่อนโยบายมาจนทุกวันนี้ก็มี 30 บาท
แต่ต้องยอมรับว่าหลายๆโครงการ ทำขึ้นมาเพื่อเบิกงบประมาณมาใช้ เท่านั้นจริงๆ
..: เรื่อยไป
blockchain โดยกำเนิดของมัน โดยฟังก์ชันหลักของมัน คืออะไร ลองอ่านดู
https://www.ibm.com/topics/blockchain
หลักๆแล้วคือมันทำให้เรารู้ทั้งหมดเลยว่าเงินก้อนนั้นผ่านมือใครมาบ้าง รู้ถึงที่มาที่ไปชัดเจน โกงได้ยากมาก รู้ถึงพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึกด้วย รู้ถึงกลไกตลาดในขณะนั้นว่ามีวงจรยังไง เมื่อคุณมี big data ขนาด50ล้านคน ลองจินตนาการดูว่า มันจะมีประโยชน์กับการมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนพัฒนาประทศขนาดไหน เป็นการลงทุนโครงสร้างที่คุ้มค่ามากมายมหาศาลขนาดนี้แล้ว จะไม่ทำก็แปลกแล้วหรือเปล่าครับ
คิดว่าเวลาโอนเงินผ่านธนาคารหรือจ่ายผ่านบัตรเครดิตนี่มันไม่มีข้อมูลเก็บอยู่หรือครับว่าใครจ่ายให้ใคร
lewcpe.com , @wasonliw
ที่คุณอธิบายมันก็ถูกนะครับ แต่เหมือนจะยังขาดนิดนึง
คือ blockchain มันมีประโยชน์สำหรับสกุลเงินที่ต้องการ Decentralized หรือไม่ให้มีใครมีอำนาจเหนือ currency นั้น blockchain จะเป็นหลักฐานรับรองว่าเงินที่มีอยู่เป็นความจริง ไม่ได้เสกตัวเลขขึ้นมาตามใจตัวเอง ฉะนั้นถ้าเงินดิจิทัล 10,000 ที่ว่ายังผูกค่ากับเงินบาท มันก็ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ blockchain เลย ตราบใดที่รัฐบาลไทยรับรองว่าเป็นเงินบาทเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
หรือจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ไปเลยก็ได้ว่า รัฐบาลก็ทำตัวเป็น blockchain อยู่แล้วนี่ แล้วจะสร้าง blockchain ให้ซ้ำซ้อนทำไม
อันนี้สงสัยครับ
เงินหนึ่งก้อน สมมติ 10BTC มันสามารถผ่านมือคนสิบคนโดยที่ยังคงสภาพเป็นเงิน 10BTC ไม่เพิ่มไม่ลดเลยได้ไหมครับ ? แล้วมันจะเป็น 10BTC เดิมที่คนแรกถือหรือเปล่า ?
นโยบายของเด็กมหาวิทยาลัยรัฐบาลมันจะไปมีประโยชน์อะไร คิดเองไม่ได้ก็ต้องลอกคิดว่าแค่ว่าแจก ก็สมแล้วเป็นลูกจนเคยจนมันก็ต้องแจกอยู่แล้วนี่น่า 😂😂😂😂 คนจบมหาวิทยาลัยของรัฐ
ก็ว่าจะไม่คอมเม้นแล้ว แต่ขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวหน่อยครับ
ถ้าเป็นเงินจริง ต้องใช้เงินตีว่า 500000 ล้าน ลงในระบบทันที
แต่ถ้าเป็น crypto ก็เป็นเงิน mint ไม่ต้องมีเงินลงไปจริงๆ ตามจำนวน
ยังไม่มีประเทศอื่นใช้งานในระดับประเทศ ถ้าประเทศไทยทำจะเป็นประเทศแรกๆของโลกเลย ที่มีคนส่วนใหญ่ของประเทศใช้ block chain wallet มากขนาดนี้ และอาจจะต่อยอดได้ เพราะเป็น new market
ถามว่าอย่างอื่นใช้ได้มั้ย ได้ ลงทะเบียน โอนเงินเข้า wallet จบ จับพิกัด 4 กม.
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ทุกวันนี้ประเทศใหญ่ๆก็ mint เงินขึ้นจากอากาศธาตุจนเป็นเรื่องปกติไปแล้วหนิครับไม่เห็นจำเป็นต้องใช้ cryto เลย
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
แต่เราเป็นประเทศเล็กๆครับ mint เพิ่มค่าเงินก็ร่วง
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
แย้งในบทความนิดนึง ตรงที่ " เงินดิจิทัลกระตุ้นเศรษฐกิจเพียง 6 เดือนเท่านั้น และไม่ได้ระบุว่าหลังจากหมดโครงการ 6 เดือนนี้จะมีโครงการเกี่ยวกับเงินดิจิทัลอีกหรือไม่ และไม่ได้ระบุว่าหลังจากหมดโครงการ 6 เดือนนี้จะมีโครงการเกี่ยวกับเงินดิจิทัลอีกหรือไม่ "ในคลิปแถลงข่าวในบทความมีคำพูดชัดเจนว่า มีแผนจะจ่ายเงินเดือน และจัดซื้อ จัดจ้างของภาครัฐแบบเงินดิจิตอลชัดเจน ไม่ใช่ว่าไม่มีแผนดำเนินการต่อ
เห็นด้วยอย่างมากเรื่อง เป๋าตัง ครับ
ส่วนตัวมองว่า สาเหตุที่ทุกวันนี้ธนาคารกรุงไทยอยู่ใน spotlight ได้ เพราะชอบไปขอโปรเจกต์จากภาครัฐมาทำเอง ตั้งแต่ คนละครึ่ง บนแอป เป๋าตัง (ที่ทำเอง), ไทยชนะ ที่เรียกได้ว่าไม่ได้ช่วยอะไรมาก หรือแม้แต่ความพยายามในการจะทำระบบคลาวด์ภาคแข่งกับ GDCC ของกระทรวงดิจิทัลฯ ในชื่อ วายุภัคดิ์คลาวด์ ทั้งที่ระบบแอปบางส่วนยังล่มเป็นว่าเล่น
แต่การที่จะทำระบบพวกนี้ สิ่งที่ต้องพร้อมที่สุดคือเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน และทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งที่ผ่านมาก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า กรุงไทยยังอ่อนด้อยกับเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นระบบคิวในธนาคารที่ยาวกว่าธนาคารอื่น ๆ จนต้องตั้งเก้าอี้มาให้ลูกค้ารอหน้าธนาคาร, บริการที่ช้าอืดอาด, ระบบล่มหรือตอบสนองช้าเป็นประจำ (โดยเฉพาะตอนช่วงอาสาไปทำระบบจองหวยในแอปเป๋าตังให้) หรือแม้แต่ระบบที่บางทีทำงานไม่เป็นประสิทธิภาพ
ส่วนตัวเจอมาหมดแล้วครับกับระบบธนาคารพาณิชย์ที่ทำงานสไตล์ราชการ (เพราะเป็นรัฐวิสาหกิจ) และคิดว่า แอปเป๋าตัง ไม่ควรให้กรุงไทยทำคนเดียว และได้รับผลประโยชน์รายเดียว มันควรกระจายให้คนอื่นบ้าง เพื่อไม่มองว่ามี bias กับธนาคารเจ้าเดียว ผูกขาดทุกอย่างที่เกี่ยวกับภาครัฐ
ผมเข้าใจนะครับว่า ข้อความนี้อาจจะแรงสำหรับหลายคน (และคนที่ผมรู้จักเป็นการส่วนตัว รวมถึงญาติผมก็ทำงานที่กรุงไทยเช่นกัน) แต่อันนี้ผมมองว่ามันคือความจริงที่เป็นอยู่ของธนาคารกรุงไทย
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ได้ยินมาเหมือนกันครับ หัวๆ ชอบเสนอตัวไปทำให้ เพราะ data และวิ่งไล่ให้ทัน k ที่เป็นผู้นำไอทีมานาน
ส่วนระดับมดงาน น่าสงสารมาก งานหนักไม่ได้หยุดหย่อน งานตัวเองแทบจะไม่รอด ยังต้องไปช่วยทำ(จำใจ)งานชาวบ้านอีก
WE ARE THE 99%
เอาจริง ๆ ทั้งกรุงไทยทั้ง S ก็พยายามดันทางนี้ เพราะ K ไปไกลมากแล้ว
Coder | Designer | Thinker | Blogger
จริง ๆ การจำกัดเวลาของตัวเงินมันก็บ่งบอกให้รู้แล้วนะครับ ว่าความต้องการจริง ๆ คืออะไร
คุณคิดว่าพอหมดเวลาแล้วเงินที่เหลือจะไปอยู่ที่ไหนเหรอ ?
การใช้ข้อมูลที่ไม่ใช่ เงินจริง มันย่อมง่ายกว่าอยู่แล้ว
ผมแอบสงสัยเหมือนกันครับคือแบบ สุดท้ายนี่มันเงินหรือมอญซ่อนผ้า คนที่ถือตอนเวลาหมดคือจะเป็นอย่างไร 😅
ก็ถ้าเป็นการให้เงินสกุลดิจิตอล ที่เสกขึ้นมาให้ใช่ก่อน แล้วค่อยไปหาเงินมาคืนทีหลัง
ยังไงก็ต้องใช้ blockchain แหละ
ไม่ใช่ข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยี แต่เป็นข้อจำกัดทางด้านการเสกเงิน 555+
แต่ผมว่าคงไม่ต้องถกกันหรอกมั้ง ถ้าเขาจะแจกเงิน(สกุล)ดิจิตอล กันจริงๆ ยังไงก็ไม่น่าจะผ่านด่าน ธปท. ไปได้หรอกถ้าจะแจก ก็ต้องแจกเงินบาทเท่านั้น แต่จะอยู่บน platform ไหน กระเป๋าไหน ก็ว่ากันอีกเรื่อง
การแจกเงินไม่ใช่เรื่องแปลก ใครๆเค้าก็ทำกัน มันก็มีวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดูฉลาดกว่านี้หลายรูปแบบนะ
แต่การแจกเงินเปนการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ง่ายที่สุด และใช้กึ๋นน้อยที่สุด แต่คนชอบมากที่สุด
ที่ประชาชนต้องติดคือ ใช้เท่าไร เงินมาจากใหน ทำอย่างไร แจกเพื่อจุดประสงค์อะไร อันนี้คือสิ่งที่แสดงกึ๋นของแต่ละพรรคการเมือง
เช่น อย่าง พท แจกเงิน แต่อยากให้กระจายทั่วถึง ไม่ไหลเข้าบางประเภท ก็ต้องมีกฏการใช้ มีรัศมี (ซึ่งในเมืองพอเข้าใจได้ แต่ถ้าสมมุติ อยู่สถานที่ธุรกันดาร ไกลปืนเที่ยง จะใช้ยังไง มันก็มีข้อจำกัด)
คนละครึ่ง ก็มีจำกัดว่า ต้องเปนร้านค้าที่ลงทะเบียน และใช้ได้แค่ ครึ่งเดียวของมูลค่า
เราเที่ยวด้วยกัน/ชอปช่วยชาติ และอื่นๆ ล้วนเปนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งสิ้น
ถ้าประชาชนไม่ค่อยมี critical thinking ก็จะไม่เข้าใจว่า เงินมาจากใหน และ แจกเพื่อจุดประสงค์อะไร ทำอย่างไร สนใจแค่ว่าใครให้เงินเยอะสุด ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องที่ไม่ดีเท่าไร
ซึ่งค่าเฉลี่ยจะมีมากน้อยขนาดไหนก็อยู่ที่ภาครัฐกระทำกันมา 🤔