Central Bank Digital Currency
อดีตประธานาธิบดี Donald Trump ประกาศระหว่างการหาเสียงในเมือง Portsmouth ว่าเขาไม่เห็นด้วยกับ CBDC หรือเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางที่อาจจะมาแทนเงินสด โดยระบุเหตุผลว่า CBDC จะเปิดทางให้รัฐบาลสามารถควบคุมเงินได้อย่างสมบูรณ์
Trump มีท่าทีไม่เห็นด้วยกับเงินคริปโตโดยรวมมานาน และ เคยแสดงความไม่เห็นด้วยกับการที่ Facebook จะออกเงิน Libra
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ได้แสดงท่าทีสนใจจะออกเงินดิจิทัลทัก แม้จะมีการศึกษาอยู่บ้าง โดยที่ผ่านมาผู้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ เคยยืนยันว่าการออก CBDC นั้นต้องผ่านรัฐสภาสหรัฐฯ ก่อน
พรรคเพื่อไทยได้ประกาศ นโยบายแจกเงินดิจิทัลจำนวน 10,000 บาท ให้คนไทยอายุ 16 ปีขึ้นไปทุกคนที่มีอยู่ราว 50 ล้านคน โดยระบุว่าจะพัฒนาระบบกระเป๋าเงินดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ด้วยเหตุผลเรื่องการกำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเงินตามนโยบายที่วางไว้
บทความนี้เป็นการตั้งข้อสังเกตต่อแนวนโยบาย โดยจำกัดขอบเขตแค่ประเด็นทางเทคโนโลยีเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงประเด็นอื่นๆ ในแง่ความเหมาะสมของนโยบายในทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
พรรคเพื่อไทย ประกาศนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ให้ประชาชนทุกคนที่มีอายุเกิน 16 ปีขึ้นไป เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามนโยบายที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้
วันนี้ (7 เมษายน) พรรคเพื่อไทยได้แถลงรายละเอียดเพิ่มเติมของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต โดยมี นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี, นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานคณะทำงานนโยบายและประธานกรรมการด้านเศรษฐกิจ, นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรค, นายจักรพงษ์ แสงมณี นายทะเบียนพรรค เป็นผู้ร่วมแถลง
ธนาคารกลางออสเตรเลีย (Reserve Bank of Australia - RBA) และศูนย์วิจัยความร่วมมือทางการเงินดิจิทัล (Digital Finance Cooperative Research Centre - DFCRC) ประกาศเลือกแนวทางการใช้งานเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (central bank digital currency - CBDC) มาเตรียมการทดสอบจริงทั้งหมด 14 รูปแบบการใช้งาน จากที่มีการส่งแนวคิดเข้าไป 140 รูปแบบ
ธนาคารแห่งประเทศลาวเริ่มทดสอบเงินดิจิทัลของธนาคารกลางในชื่อ DLak หรือลาวกีบดิจิทัล หลังศึกษาความเป็นไปได้มาตั้งแต่ปลายปี 2021 ร่วมกับบริษัท Soramitsu จากประเทศญี่ปุ่น
Soramitsu นั้นเป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Hyperledger Iroha แพลตฟอร์มบล็อคเชนสำหรับการเก็บบันทึกความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่ทดแทนกันได้ (fungible asset) เช่น เงินตรา, ทองคำ, หรือแร่ต่างๆ แม้ว่าประกาศทดสอบกีบดิจิทัลครั้งนี้ไม่ได้ระบุเทคโนโลยีโดยตรงแต่ชื่อบัญชีใน QR ของเงินกีบดิจิทัลระหว่างสาธิตก็ระบุชื่อบัญชีลงท้ายด้วย @iroha อยู่ ตัว QR ที่ใช้สาธิตนั้นก็อยู่ในรูปแบบเดียวกับ มาตรฐาน QR ของ EMVco ที่ใช้งานในหลายประเทศ
Tony Yates นักเศรษฐศาสตร์อิสระและอดีตที่ปรึกษาธนาคารกลางอังกฤษในช่วงปี 1992-2013 แสดงความเห็นลง Financial Times ว่าธนาคารกลางไม่ควรพยายามผลักดันโครงการเงินดิจิทัล แม้ว่าธนาคารกลางหลายชาติจะแสดงความสนใจและพากันสร้างโครงการทดสอบใหญ่น้อยกันออกมาต่อเนื่อง
Yates ระบุว่าในความเป็นจริงธนาคารกลางชาติต่างๆ ก็มีเงินสำรองอิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้วเป็นฐานข้อมูลการให้ยืมและการยืมเงินกับสถาบันทางการเงินต่างๆ แต่การทำโครงการเงินดิจิทัล (CBDC) นั้นจะเป็นการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์เช่นนี้ในวงกว้างขึ้น ซึ่งก็จะมีคำถามว่าใครสามารถใช้งานได้บ้าง ตั้งแต่หน่วยตัวกลางที่ไม่ใช่ธนาคาร, ครัวเรือนทั่วไป, ภาคธุรกิจ, ประชาชนบุคคลธรรมดา, หรือแม้แต่ชาวต่างชาติ
พรรคเพื่อไทย นำโดย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย แถลงนโยบายหาเสียงเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในปี 2566 โดยมีส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายด้านดิจิทัล-เทคโนโลยีดังนี้
- ใช้ NFT มาช่วยในการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
- สร้าง Blockchain ของประเทศไทยเอง เพื่อใช้ซื้อขายสินค้าเกษตร และสินค้าที่เกิดจากนโยบาย softpower ของพรรค
- ผลักดันการใช้เงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency หรือ CBDC) เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชัน
- ผลักดันนโยบายรัฐบาลดิจิทัลเพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบงบประมาณได้
การแถลงนโยบายรอบนี้ยังไม่มีการลงรายละเอียดของแต่ละนโยบายแต่ละข้อมากนัก ยังเป็นการเปิดตัวว่ามีนโยบายอะไรบ้างเท่านั้น
ธนาคารกลางสิงคโปร์ออกรายงานโครงการ Orchid ที่เป็นโครงการเงินดิจิทัลจากธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency - CBDC) โดยมุ่งทดสอบการใช้งานเงินดิจิทัลที่จำกัดวัตถุประสงค์การใช้งาน (purpose bound money - PBM) ตอนนี้พบว่ายังไม่จูงใจพอที่จะเปิดใช้งานจริงในตอนนี้แต่ก็จะเดินหน้าสำรวจการใช้งานที่เหมาะสมต่อไป พร้อมกับเตรียมความพร้อมในกรณีที่มีความต้องการใช้งานในอนาคต
PBM เป็นเหมือนคูปองทั้งของภาครัฐและเอกชน ที่จำกัดว่าผู้ใช้งานสามารถใช้ที่ใดได้บ้าง เช่น ร้านค้าที่ร่วมโครงการ, อาหารในโรงเรียน, หรือโครงการสนับสนุนต่างๆ ของภาครัฐ ความได้เปรียบคือการออกคูปองไม่ต้องวางโครงสร้างใหม่ทั้งหมดทุกรอบในแต่ละโครงการแต่อาศัยโครงสร้าง CBDC เป็นระบบกลางแล้วกำหนดเงื่อนไขของแต่ละโครงการได้ทันที
ธนาคารกลางยุโรป หรือ European Central Bank (ECB) ประกาศความร่วมมือกับบริษัท 5 แห่ง พัฒนาต้นแบบ UI ที่เป็นไปได้ของการใช้ สกุลเงิน "ยูโรดิจิทัล" (digital euro) ที่มีระยะเวลาทดสอบนาน 2 ปี
ECB กำลังพัฒนาระบบหลังบ้าน (back-end infrastructure) ของการชำระเงินเป็นยูโรแบบดิจิทัล และจะให้บริษัทเหล่านี้สร้างต้นแบบของระบบหน้าบ้าน (front-end) มาเชื่อมกับระบบของ ECB ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป 5 กรณี ได้แก่
Fan Yifei รองผู้อำนวยการธนาคารกลางจีน บรรยายในงาน China Digital Forum 2022 โดยบรรยายถึงความก้าวหน้าของหยวนดิจิทัลว่ามีพัฒนาการไปมาก แต่การจ่ายเงินผ่านโทรศัพท์มือถือในตอนนี้ก็ก้าวหน้าขนานกันไป จึงมีความจำเป็นต้องทำลายกำแพงและสร้างมาตรฐานที่ใช้งานร่วมกันกับหยวนดิจิทัล
Yifei ระบุถึงมาตรฐานกลางของระบบจ่ายเงินทุกส่วน ตั้งแต่ มาตรฐาน QR, การระบุตัวตนผู้ใช้, ระบบส่งข้อความระหว่างหน่วยงาน, การเชื่อมต่อผ่าน NFC และ Bluetooth โดยเป้าหมายสุดท้ายคือให้ผู้จ่ายสามารถสแกน QR ของผู้ให้บริการรายใดก็ได้ ขณะที่ผู้ค้าไม่มีต้นทุนเพิ่มเติมเพื่อรับเงินจากผู้ให้บริการค่ายต่างๆ
เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเตรียมเริ่มทดสอบเงินบาทดิจิทัล (Retail CBDC) ในวงจำกัดกับประชาชนราวหนึ่งหมื่นคน นับเป็นครั้งแรกที่คนไทยทั่วไปจะได้สัมผัสเงินบาทดิจิทัลกันจริงๆ ผมพูดคุยกับคุณกษิดิศ ตันสงวน ผู้อำนวยการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงการทดสอบในครั้งนี้ ว่าเรากำลังทดสอบอะไร และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเลือกใช้งานจะเป็นอย่างไรหากมีการใช้งาน CBDC เป็นการทั่วไปจริงๆ
ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศแผนการทดสอบสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency หรือ CBDC) สำหรับการทำธุรกรรมรายย่อยของประชาชนทั่วไป (Retail CBDC) ถัดจากที่เคยทดสอบ CBDC ในกลุ่มสถาบันการเงินมาช่วงก่อนหน้านี้ (Wholesale CBDC หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อโครงการอินทนนท์ ใครที่สับสนว่ามันคืออะไร ใช่เงินคริปโตหรือไม่ แนะนำให้อ่าน FAQ )
หมายเหตุ:หยวนดิจิทัลของรัฐบาลจีน ไม่ได้เป็นคริปโต และไม่ได้รันบนบล็อกเชน แต่เป็นโครงการจ่ายเงินออนไลน์แบบผูกกับบัญชีธนาคาร ลักษณะเหมือนพร้อมเพย์ของบ้านเรา
Nikkei Asia มีบทความติตดามความคืบหน้าของโครงการ "หยวนดิจิทัล" (e-CNY) สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (central bank digital currency หรือ CBDC) ที่ออกโดยธนาคารกลางของจีน (People's Bank of China)
โครงการหยวนดิจิทัล เริ่มศึกษามาตั้งแต่ปี 2014 และทดลองใช้งานจริงในปี 2020 ที่เมืองเซินเจิ้น จากนั้นขยายผลมาเป็น 23 เมืองในปัจจุบัน ครอบคลุมประชากรจีน 216 ล้านคน หรือคิดเป็น 20% ของประชากรจีนทั้งหมด
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เซ็นคำสั่งบริหาร (Executive Order) ให้หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐเร่งพัฒนาเงินดิจิทัล ซึ่งในที่นี้คือเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (central bank digital currencies หรือ CBDC)
คำสั่งนี้มีเนื้อหากว้างๆ คือต้องการพัฒนา CBDC เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภค มีความปลอดภัย ช่วยเสถียรภาพทางการเงิน นำไปใช้ในทางที่ผิดยาก คำสั่งนี้ระบุชื่อหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง ให้ทำแผนการพัฒนาและวิจัย CBDC แบบต่างๆ แล้วกลับมารายงานประธานาธิบดีใน 180-210 วัน (ระยะเวลาขึ้นกับว่าหน่วยไหน)
Mairead McGuinness กรรมการยุโรปด้านการเงิน ประกาศแผนเสนอกฎหมาย "ยูโรดิจิทัล" โดยจะเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะในเร็วๆ นี้ และตั้งเป้าผ่านกฎหมายในรัฐสภายุโรปช่วงต้นปี 2023
ร่างกฎหมายที่ McGuinness กล่าวถึง จะให้อำนาจกับธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank หรือ ECB) ในการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency หรือ CBDC)
ฝั่งของ ECB ก็เริ่มงานพัฒนาต้นแบบ "ยูโรดิจิทัล" ไปบ้างแล้ว โดยยังไม่ฟันธงว่าจะเลือกโซลูชันทางเทคนิคแบบใด (มีทางเลือกทั้งแบบ centralized/decentralized ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารกลาง) และคาดว่าจะออกต้นแบบได้ช่วงปลายปี 2023
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประจำบอสตัน (The Federal Reserve Bank of Boston) ร่วมกับศูนย์เงินดิจิทัลของ MIT เปิดรายงานการวิจัยเงินดิจิทัลธนาคารกลาง โดยนำเสนอสถาปัตยกรรมเงินดิจิทัลที่เป็นไปได้ 2 รูปแบบ พร้อมปล่อยซอร์สโค้ดเป็นโครงการ OpenCBDC ให้ทดสอบได้
OpenCBDC ทดสอบรูปแบบของเงินดิจิทัลโดยธนาคารกลางที่เป็นระบบรวมศูนย์ ธนาคารกลางเป็นผู้ดูแลระบบทั้งหมด แต่ระบบต้องกระจายตัว (distributed) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ล่ม สามารถรันระบบกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ และหากมีศูนย์ข้อมูลใดล่มไปก็กู้กลับมาได้ภายในเวลาต่ำกว่า 10 วินาที
สถาปัตยกรรมที่ OpenCBDC นำเสนอมี 2 แบบ ได้แก่
รัฐสภาอินเดียเตรียมนำกฎหมายคริปโต Cryptocurrency and Regulation of Official Digital Currency Bill เข้าหารือในการเปิดสภารอบใหม่ ที่จะเริ่มในวันที่ 29 พฤศจิกายนนี้
ร่างกฎหมายฉบับนี้เสนอให้แบนเงินคริปโตทุกประเภท ด้วยเหตุผลด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนการก่อการร้าย ยกเว้นเงินสกุลดิจิทัลอย่างเป็นทางการ (Central Bank Digital Currency หรือ CBDC) ที่ออกโดยธนาคารกลางของอินเดีย (Reserve Bank of India)
ร่างกฎหมายนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะ รัฐสภาอินเดียเคยพูดถึงมารอบหนึ่งแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 และตัวนายกรัฐมนตรี Narendra Modi ที่เป็นประธานคณะกรรมการศึกษาด้านคริปโต ก็มีท่าทีแข็งกร้าวในเรื่องนี้
เงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (central bank digital currency - CBDC) เป็นข่าวอย่างต่อเนื่องนับแต่ธนาคารกลางของจีนผลักดันหยวนดิจิทัล และทดลองไปแล้วหลายต่อหลายครั้ง ธนาคารกลางของชาติต่างๆ ทั่วโลกเริ่มเข้ามาศึกษาความเป็นไปได้ และประโยชน์ของการสร้าง CBDC ขึ้นมา แม้จะมีเอกสารจำนวนมากแต่ก็มักเป็นการกำหนดกรอบการออกแบบคร่าวๆ ของ CBDC เท่านั้น ที่ผ่านมามีการเปิดเผยน้อยมากว่า CBDC มีการทำงานภายในเป็นอย่างไร แต่สัปดาห์ที่ผ่านมาธนาคารกลางฮ่องกง (Hong Kong Monetary Authority - HKMA) ก็ออก รายงานด้านเทคนิคของ e-HKD เงินฮ่องกงดอลลาร์แบบดิจิทัล โดยเอกสารระบุถึงทางเลือกต่างๆ ของการอ
เดือนเมษายนที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงข่าวเปิดรับฟังแนวทางการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับการใช้งานในภาคประชาชน หรือ Retail Central Bank Digital Currency: Retail CBDC วันนี้ (19 ส.ค.) ธปท. เผยจะเริ่มทดสอบใช้ Retail CBDC ในการรับแลก ชำระค่าสินค้าหรือบริการในวงจำกัด คาดได้เริ่มทดสอบในไตรมาส 2 ปี 2565
ในระยะถัดไปจะเป็นการทดสอบระดับนวัตกรรม (Innovation Track) ศึกษาแนวทางการพัฒนาต่อยอดการใช้งาน Retail CBDC ในกรณีอื่นๆ โดย ธปท. จะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนหรือนักพัฒนาเข้าร่วมทดสอบด้วย ตอนนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารูปแบบและหลักเกณฑ์ในการเข้าร่วมทดสอบ
ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank หรือ ECB) ประกาศเริ่มโครงการทดสอบ "เงินยูโรดิจิทัล" (digital euro) เป็นระยะเวลานาน 24 เดือน เพื่อทดสอบและแก้ปัญหาต่างๆ ก่อนตัดสินใจว่าจะใช้งานจริงๆ หรือไม่หลังโครงการทดสอบเสร็จแล้ว
โครงการยูโรดิจิทัล เป็นการสร้างเครือข่ายจ่ายเงิน-โอนเงินแบบดิจิทัล ลักษณะคล้ายๆ พร้อมเพย์ของบ้านเรา (และไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเงินคริปโต) เงินยูโรที่วิ่งผ่านระบบเป็นเงินที่ออกโดยธนาคารกลาง เหมือนกับเงินยูโรปกติ แต่อยู่ในรูปดิจิทัลเท่านั้น (ใน เอกสารแนวคิดของ ECB บอกว่าดิจิทัลในที่นี้ เป็นได้ทั้งผ่านอินเทอร์เน็ต และผ่านสมาร์ทการ์ด)
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงข่าวให้ความเห็นว่าการนำสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น Bitcoin, Ethereum ที่ไม่ถือเป็นเงินตราตามกฎหมายมาใช้เป็นสื่อในการชำระค่าสินค้าและบริการ ยังมีลักษณะเป็นเพียงการแลกเปลี่ยน (barter trade) ระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลกับสินค้าและบริการที่ผู้ให้และผู้รับตกลงยอมรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องระหว่างกันเท่านั้น
รวมถึงการแลกเปลี่ยนนี้อาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัล การโจรกรรมทางไซเบอร์ และถูกใช้ในกระบวนการฟอกเงินได้การฟอกเงิน ธปท. จึงยังไม่สนับสนุนการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางการชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ
Jerome H. Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve หรือ Fed) แถลงทิศทางการใช้งานเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currencies หรือ CBD) โดยบอกว่าตอนนี้ Fed กำลังศึกษาการออกเงินดิจิทัลที่อาจเปิดให้คนทั่วไปใช้งานได้ด้วย (general public)
Fed บอกว่า CBDC ที่ดีต้องเป็นส่วนเสริมของเงินสด ไม่ใช่มาแทนเงินสด และต้องมีคุณสมบัติ 4 ด้านคือ safe, effective, dynamic, efficient ที่ดีกว่าระบบจ่ายเงินในปัจจุบัน โดย Fed จะออกรายงานศึกษา CBDC ในช่วงกลางปีนี้ และจะเปิดรับความเห็นให้รอบด้านต่อไป
ธนาคารแห่งอังกฤษ หรือ Bank of England กับกระทรวงการคลัง HM Treasury ร่วมกันเปิดตัวหน่วยงานใหม่เพื่อสำรวจความเสี่ยง ความเป็นไปได้ของสกุลเงินดิจิทัลที่จะออกโดยธนาคารกลาง หรือ CBDC (Central Bank Digital Currency)
มุมมองของทางธนาคารเชื่อว่า CBDC จะเป็นเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่สำหรับใช้ในครัวเรือนและธุรกิจ และมันจะอยู่ควบคู่ไปกับเงินสดและเงินฝากธนาคาร ไม่ได้มาแทนที่ โดยหน่วยงานใหม่จะสำรวจประเด็นต่างๆ ดังนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงข่าวการรับฟังแนวทางการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับการใช้งานในภาคประชาชน (Retail Central Bank Digital Currency: Retail CBDC) จากเดิมที่การใช้เงินดิจิทัลของธนาคารกลางนั้นใช้ระหว่างธนาคารเป็นหลัก พร้อมกับออก รายงานสรุปภาพรวมแนวทางและความจำเป็นในการออก Retail CBDC
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศทดสอบการใช้เงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางเอง (Central Bank Digital Currency - CBDC) จากเดิมที่เคยทดสอบระหว่างธนาคารเท่านั้นมาเป็นการทดสอบในภาคเอกชนเพิ่มเติม โดยมีบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จะทดสอบระบบร่วมกับคู่ค้า
เมื่อปีที่แล้วธนาคารแห่งประเทศไทยทดสอบ CBDC นี้โดย พัฒนาบนแพลตฟอร์ม Corda ของบริษัท R3 แต่ยังไม่มีข้อมูลทางเทคนิคว่ารอบนี้จะใช้แพลตฟอร์มเดิมต่อไปหรือจะพัฒนาใหม่ด้วยเทคโนโลยีอื่น
ทางธนาคารแห่งประเทศไทยคาดหวังว่าการทดสอบนี้จะทำให้มีความยืดหยุ่นในการโอนเงินทั้งความเร็วและความคล่องตัวในการชำระเงิน