เมื่อช่วงตีห้าที่ผ่านมาของวันที่ 15 พฤศจิกายน เป็นวินาทีครบรอบ Unix Time 1,700,000,000 หรือ 1.7 พันล้านวินาทีนับจากวันที่ 1 มกราคม 1970 ตามโซนเวลา UTC
Unix Time มีใช้งานมานานในการเก็บเวลาในข้อมูลต่างๆ แม้หลายระบบอาจจะแสดงเป็นวันที่และเวลาแต่ภายในก็มักจะเก็บเป็นเลขจำนวนเต็มที่เป็น Unix Time อยู่ดี [โดยค่านี้ออกมาเป็นมาตรฐาน POSIX.1 เมื่อปี 1988 ในชนิดตัวแปร time_t ซึ่งมักเป็นเลข 32 บิต ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถเก็บค่าเวลาเกินปี 2038 ได้
ที่มา - Epoch Converter
Get latest news from Blognone
Follow @twitterapi
Comments
1.7 ล้านล้านวินาที
อ่านแล้วรู้สึกแก่แปลกๆ
เขียนผิดด้วยครับ ที่จริงต้อง 1.7 พันล้านวินาที
ถ้าปี 2038 แล้วทำยังไงต่อครับ
ถ้ายังไม่ได้ย้ายไป INT64 ก็จะวนไป Y2K ครับ แต่บางระบบก็ย้ายไปรอแล้ว
lewcpe.com , @wasonliw
int64 นี่เป็นชนิดข้อมูล native support ใน CPU สมัยใหม่ใช่รึเปล่าครับ
..: เรื่อยไป
ใช่ครับ แต่จริงๆ มันไม่จำเป็นต้อง native หลักๆ คือ compile โดยระบุ time_t เป็น 64 bit (ซึ่งถ้า CPU ไม่มี operation 64 bit ก็จะช้าลง) แต่มันคอนฟิกได้มาพักใหญ่แล้ว 32 bit ก็น่าจะทำได้
lewcpe.com , @wasonliw
👍👍👍
..: เรื่อยไป
ของเมืองไทยเดี๋ยวจะเจอ 2057 อีก เคยเห็นบางหน่วยงานยังมีส่งข้อมูล api ปี พศ. 2 หลักท้ายอยู่เลย โดยเฉพาะพวก bank นี่เตรียมตัว
ต่างจากปี 2056 หรือ 2058 ยังไงครับ
2057 = พ.ศ. 2600 ครับ ถ้าใช้ พ.ศ. สองหลักท้ายก็คือโดนเต็มๆ
ขอบคุณครับ
เผื่อใคร convert epoch count บน Win32 เป็นวันที่แล้วผิดepoch Win32 เริ่ม 1601-01-01
Oracle db ตันที่ปี 9999 🥲