เมื่อช่วงตีห้าที่ผ่านมาของวันที่ 15 พฤศจิกายน เป็นวินาทีครบรอบ Unix Time 1,700,000,000 หรือ 1.7 พันล้านวินาทีนับจากวันที่ 1 มกราคม 1970 ตามโซนเวลา UTC
Unix Time มีใช้งานมานานในการเก็บเวลาในข้อมูลต่างๆ แม้หลายระบบอาจจะแสดงเป็นวันที่และเวลาแต่ภายในก็มักจะเก็บเป็นเลขจำนวนเต็มที่เป็น Unix Time อยู่ดี [โดยค่านี้ออกมาเป็นมาตรฐาน POSIX.1 เมื่อปี 1988 ในชนิดตัวแปร time_t ซึ่งมักเป็นเลข 32 บิต ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถเก็บค่าเวลาเกินปี 2038 ได้
ที่มา - Epoch Converter
- Read more about วันนี้ครบรอบ Unix Time 1,700,000,000
- 13 comments
- Log in or register to post comments
Internet Security Research Group (ISRG) กลุ่มวิจัยด้านความปลอดภัยอินเทอร์เน็ต องค์กรแม่ของ Let's Encrypt มีโครงการย่อยอีกตัวชื่อ Prossimo ทำเรื่องความปลอดภัยของหน่วยความจำ (memory safety) ซึ่งเป็นช่องโหว่สำคัญของซอฟต์แวร์จำนวนมาก
ภารกิจของ Prossimo คือการเขียนซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำคัญๆ ที่ใช้กันแพร่หลายให้เป็น memory safe ตัวอย่างคือ mod_tsl ของ Apache Web Server ที่เขียนด้วยภาษา Rust , Rustls การเขียน OpenSSL ขึ้นมาใหม่ด้วยภาษา Rust รวมถึงการเขียนซอฟต์แวร์ DNS, NTP ขึ้นมาใหม่ด้วย Rust เป็นต้น
grep โปรแกรมค้นหาข้อความที่อยู่คู่กับยูนิกซ์มายาวนาน (สร้างโดย Ken Thompson ผู้สร้างยูนิกซ์ในปี 1973 อายุโปรแกรมตอนนี้ 48 ปี) ที่ผ่านมาเคยมีเวอร์ชันแยกย่อย เช่น egrep และ fgrep ที่มีพฤติกรรมการทำงานแตกต่างกันเล็กน้อย
grep เวอร์ชันที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันคือ GNU Grep ล่าสุดเพิ่งออกเวอร์ชัน 3.8 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือจะแจ้งเตือนผู้ใช้เวลาสั่ง egrep และ fgrep แล้ว ให้เปลี่ยนไปใช้คำสั่ง grep -E และ grep -F แทน
Brian Kernighan หนึ่งในผู้สร้างยูนิกซ์กลับมาส่ง โค้ดเข้าโครงการ AWK เพื่อให้รองรับ Unicode ได้ดีขึ้น ทั้งการนับความยาวตัวอักษรและการใช้ค้นหาข้อความใน regular expression
ตอนนี้ Kernighan อายุ 80 ปีแล้ว เขาร่วมกับ Ken Thompson, Dennis Ritchie, Douglas McIlroy, และ Joe Ossanna พัฒนายูนิกซ์ตั้งแต่ปี 1969 จนสำเร็จและใช้งานภายใน Bell Labs เมื่อปี 1971 หรือ 51 ปีที่แล้ว เขายังเป็นผู้ร่วมสร้างโปรแกรม AWK ภาษาโปรแกรมสำหรับประมวลไฟล์ข้อความในปี 1977
Lorinda Cherry นักวิจัย Bell Labs ตั้งแต่ปี 1972 และเป็นหนึ่งในผู้พัฒนายูนิกซ์ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น เสียชีวิตแล้วเมื่อไม่นานมานี้ โดย Douglas McIlroy หนึ่งในผู้บุกเบิกยูนิกซ์เป็นผู้ประกาศข่าวนี้ใน The Unix Heritage Society
Cherry เป็นผู้สร้างโปรแกรมยูนิกซ์ยุคเริ่มแรกหลายตัวที่ยังคงมีการใช้งานในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม bc, dc, และ eqn (ร่วมกับ Brian Kernighan) เธอยังเป็นผู้สร้าง libplot ที่กลายเป็นต้นแบบของ GNU plotutils นอกจากนี้เธอยังมีความสนใจในงานด้านการประมวลผลภาษา โดยพัฒนา Writer's Workbench สำหรับการตรวจแกรมม่าและคำผิด นอกจากนี้เธอยังทำงานวิจัยด้านภาษาอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์หัวข้อเอกสาร
The Hacker News รายงานการพบช่องโหว่ CVE-2019-14287 ที่ค่อนข้างร้ายแรง ในคำสั่ง sudo โดยกระทบกรณีที่ผู้ดูแลระบบให้สิทธิ์ผู้ใช้ในการรันคำสั่งแทนผู้ใช้อื่น แต่จำกัดไม่ให้รันในสิทธิ์ root
ช่องโหว่นี้มีผลเมื่อผู้ใช้ที่มุ่งร้าย ระบุเลข user id ให้กับคำสั่ง sudo เป็น -1 หรือ 4294967295 ระบบจะบั๊กแล้วตีความว่าเป็นคำสั่งจาก user 0 ซึ่งเป็นสิทธิระดับ root แม้ว่าไฟล์ sudoer จะระบุไว้ว่าไม่ให้สิทธิ์ก็ตาม
ช่องโหว่นี้กระทบ sudo เวอร์ชัน 1.8.28 ลงไป ซึ่งก็คาดว่าดิสโทรต่าง ๆ น่าจะปล่อยอัพเดตอุดช่องโหว่ให้เร็ว ๆ นี้ ผู้ใช้ลินุกซ์ควรติดตามและรีบอัพเดตเร็วที่สุด
ที่มา - The Hacker News
Ken Thompson เป็นหนึ่งในผู้สร้างระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ ที่เป็นต้นแบบของมาตรฐาน POSIX ที่ไลนัสนำมาสร้างลินุกซ์อีกที เป็นหนึ่งในผู้พัฒนา BSD 3.0 มาตั้งแต่ปี 1980 และซอร์สโค้ดก็อยู่รอดมาจนทุกวันนี้ โดยพบว่ามีไฟล์ /etc/passwd ที่เก็บค่าแฮชรหัสผ่านหลุดมาด้วย ล่าสุดรหัสผ่านของ Thompson ที่มีค่าแฮชเป็น ZghOT0eRm4U9s ก็ถูกถอดรหัสออกมาแล้ว
ไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์เอาใจนักพัฒนา โดย Windows 10 Build 17063 ส่วนของ Command Prompt (cmd.exe) รองรับคำสั่งจากฝั่งยูนิกซ์เพิ่ม 2 คำสั่งคือ
- tar (เป็น bsdtar)
- curl
ส่งผลให้เราสามารถเปิด cmd.exe แล้วดาวน์โหลดไฟล์ .tar.gz จากอินเทอร์เน็ตด้วย curl แล้วสั่งแตกไฟล์ด้วย tar xvfz ได้โดยตรง
ความสามารถเหล่านี้ PowerShell ทำได้มานานแล้ว แต่คนอาจไม่รู้กันมากนัก รอบนี้ไมโครซอฟท์จึงขยายมายัง cmd.exe ด้วย
ที่มา - Microsoft
โปรแกรมเมอร์จำนวนมากคงรู้จักค่าเวลา epoch ซึ่งเป็นตัวเลขจำนวนวินาที จากวันที่ 1 มกราคม 1970 ตอนนี้อีกไม่ถึงวันก็จะถึงเวลา epoch ที่ 1500000000 (1,500 ล้าน) นับเป็นเวลาเลขสวยที่เกิดขึ้นประมาณทุกสามปี โดยปีนี้ตามเวลาประเทศไทยคือ 9 โมง 40 นาทีของวันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคมนี้
Unix epoch เป็นค่าที่ใช้งานกันแพร่หลายทั้งในระบบปฎิบัติการตระกูล POSIX (ทำให้มีอีกชื่อว่า POSIX time), ภาษาโปรแกรมมิ่ง เช่น Python, PHP, Perl, Java, Ruby, Tcl ไปจนถึงการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลจากฟังก์ชั่น UNIX_TIMESTAMP()
- Read more about พรุ่งนี้ 9:40 ครบรอบ Unix epoch 1500000000
- 5 comments
- Log in or register to post comments
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้พบพฤติกรรมแปลกๆ ของ systemd ที่พบว่าหากผู้ใช้ชื่อขึ้นต้นด้วยตัวเลข เช่น 0day
จะทำให้ผู้ใช้นั้นมีสิทธิ์ในระดับ root
ชื่อผู้ใช้เช่นนี้ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน POSIX (มาตรฐานอินเทอร์เฟซของระบบปฎิบัติการที่ลินุกซ์สร้างตาม) ที่ระบุว่าชื่อผู้ใช้ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรเสมอ แต่เครื่องมือสร้างผู้ใช้หลายตัวกลับไม่บังคับตามมาตรฐานนี้ เช่น adduser
นั้นบังคับชื่อผู้ใช้ถูกต้อง ขณะที่ useradd
นั้นไม่บังคับ
Humble Bundle จัดชุดบันเดิลหนังสือจากค่าย O'Reilly เป็นชุดสำหรับผู้ใช้ยูนิกซ์และลินุกซ์ รวม 16 เล่ม ราคาสูงสุดเพียง 15 ดอลลาร์
หลังจากที่ออกรุ่น 10.0 เมื่อต้นปี ( ข่าวเก่า ) ต้นเดือนที่ผ่านมา ทีมวิศวกรของ FreeBSD ก็ได้ปล่อยรุ่น 10.3-RELEASE ที่เป็นรุ่นปรับปรุงตัวที่สามของสายการพัฒนา 10-STABLE ที่เน้นการเพิ่มความเสถียรของระบบปฏิบัติการ
- Read more about FreeBSD 10.3 ออกแล้ว
- 2 comments
- Log in or register to post comments
นับแต่ไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมาหลังมีการพบ ช่องโหว่ร้ายแรงใน Bash ที่เรียกกันเล่นๆ ว่า "ShellShock" ซึ่งว่ากันว่าร้ายแรงกว่า HeartBleed อันมีผลทำให้ผู้ใช้ UNIX ทุกรุ่นตกอยู่ในความเสี่ยง จนทำให้ หลายฝ่ายเร่งออกแพตช์มาแก้ไขปัญหา เว้นแต่ฝั่ง Apple ที่ยังคงสงวนท่าที (แม้ 2 ระบบปฏิบัติการของ Apple อย่าง iOS และ OS X ก็ตกอยู่ในข่ายมีความเสี่ยงด้วย)
ล่าสุด SlashGear ได้อ้างว่ามีอีเมลจากทาง Apple ถูกส่งมาเพื่อชี้แจงว่าผู้ใช้ OS X ไม่จำเป็นต้องหวั่นกลัวว่าจะเจอปัญหาจากวิกฤต Shellshock นี้ โดยมีใจความว่า
สำหรับคนที่คุ้นเคยกับ Unix คงคุ้นชินกับการใช้งานโดยป้อนคำสั่งเฉพาะเพื่อสั่งการระบบให้ทำงานต่างๆ แต่สำหรับ Jeff Pickhardt อดีตวิศวกรของ Google ผู้เบื่อหน่ายกับวิธีการเดิมๆ กับการใช้งานชุดคำสั่งดังกล่าว นั่นจึงเป็นที่มาของการพัฒนาซอฟต์แวร์ผู้ช่วยที่ชื่อ Bettyที่ยินดีจะทำงานตามคำสั่งในภาษาแบบที่มนุษย์ใช้กัน
หลังจากที่ออกรุ่น 9.1 เมื่อต้นปี ( ข่าวเก่า ) ปลายเดือนที่ผ่านมา ทีมวิศวกรของ FreeBSD ก็ได้ปล่อยรุ่น 9.2-RELEASE ที่เป็นรุ่นปรับปรุงตัวที่สองของสายการพัฒนา 9-STABLE ที่เน้นการเพิ่มความเสถียรของระบบปฏิบัติการ
โดยนอกจากความเสถียรแล้ว ในรุ่น 9.2 จะมีความสามารถใหม่ ๆ เช่น
- Read more about FreeBSD 9.2 ออกแล้ว
- 5 comments
- Log in or register to post comments
ตลาดองค์กรในสิบปีที่ผ่านมาส่วนมากมักตกในมือของวินโดวส์และลินุกซ์มากขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างนั้นก็ยังมีการใช้งานยูนิกซ์อยู่มาก ปีที่แล้วยูนิกซ์ยังมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ถึง 16% แต่รายงานคาดการณ์ของการ์ตเนอร์ระบุว่าส่วนแบ่งนี้น่าจะเหลือเพียง 9% ในปี 2017 หรืออีกสี่ปีข้างหน้า
ในโลกองค์กรนั้น x86 ยังคงกินตลาดเซิร์ฟเวอร์มากขึ้นเรื่อยๆ และลูกค้าจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยตลาดส่วนมากของยูนิกซ์นั้นครองโดยผู้ผลิตเพียงสามรายคือ ไอบีเอ็ม 56%, ออราเคิล 19.2%, และเอชพี 18.6%
อย่างไรก็ดี Richard Fichera รองประธานของ Forrester ระบุว่ายูนิกซ์จะไม่หายไปในเร็วๆ นี้ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์จะเริ่มรองรับลินุกซ์เพื่อให้ลูกค้าย้ายไปใช้งานได้ง่ายขึ้นแต่ลูกค้าจำนวนมากจะยังคงเลือกใช้ยูนิกซ์ต่อไป
- Read more about [Gartner] Unix จะมีส่วนแบ่งตลาดเหลือ 9% ในปี 2017
- 6 comments
- Log in or register to post comments
- Read more about FreeBSD 8.4 ออกแล้ว
- 5 comments
- Log in or register to post comments
เทปจากเครื่อง DEC ของ Paul Vixie และ Keith Bostic ถูกกู้สภาพให้อ่านขึ้นมาได้เมื่อหลายปีก่อนเพื่อเก็บรักษาในฐานะโค้ดโบราณของวงการคอมพิวเตอร์ แต่ไม่กี่วันมานี้ เพิ่งมีการพบคอมไพล์เลอร์ last1120c และ prestruct-c คอมไพล์เลอร์ภาษาซีตัวแรกๆ ในโลกที่สามารถคอมไพล์ตัวเองได้
คอมไพล์เลอร์ทั้งสองตัวถูกสร้างขึ้นในช่วงการเขียนยูนิกซ์ขึ้นใหม่เป็นภาษาซี ช่วงปี 1972-1973 โครงสร้างภาษาที่ใช้ยังต่างจากภาษาซีทุกวันนี้อย่างมาก มีการใช้วงเล็บ ()
แทนที่จะใช้ {}
แบบในปัจจุบัน สำหรับภาษาซีที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้ หรือที่เรียกว่าภาษาซีแบบ K&R ตามหนังสือ The C Programming Language นั้นสร้างขึ้นในช่วงการพัฒนายูนิกซ์รุ่นที่ 5 ถึงรุ่นที่ 6
- Read more about พบ C Compiler ตัวแรกๆ ของโลก
- 29 comments
- Log in or register to post comments
หลังจากที่ออกรุ่น 9.0 เมื่อต้นปี ( ข่าวเก่า ) ปลายปีที่ผ่านมา ทีมวิศวกรของ FreeBSD ก็ได้ปล่อยรุ่น 9.1-RELEASE ที่เป็นรุ่นปรับปรุงตัวแรกของสายการพัฒนา 9-STABLE
โดยในรุ่น 9.1 จะมีความสามารถใหม่ ๆ เช่น
- Read more about FreeBSD 9.1 ออกแล้ว
- 2 comments
- Log in or register to post comments
Common Desktop Environment (CDE) เป็นระบบ GUI สำหรับยูนิกซ์ที่ร่วมกันสร้างโดยผู้ผลิตยูนิกซ์รายใหญ่ เช่น ซัน, ไอบีเอ็ม, เอชพี, และ USL มาตั้งแต่ปี 1993 และกลายเป็นระบบ GUI มาตรฐานสำหรับยูนิกซ์ทุกตัวในช่วงสมัยหนึ่งของมันแม้จะเป็นซอฟต์แวร์ปิดก็ตาม แต่ช่วงหลัง KDE และ GNOME ที่เป็นโอเพนซอร์สก็ได้รับความนิยมเหนือกว่าจนะกระทั่งครองตลาดส่วนใหญ่ไปได้ CDE ก็ถูกลืมไปตามกาลเวลา
แต่กลุ่ม Open Group หน่วยงานกลางที่บริษัทที่ร่วมกันพัฒนาจัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนา CDE ก็ประกาศเปิดซอร์ส CDE ออกสู่สาธารณะในที่สุด
เวอร์ชั่นสุดท้ายที่ CDE ออกมาคือรุ่น 2.1 เมื่อปี 1997 ส่วนในซอร์สโค้ดที่เปิดออกมาคือรุ่น 2.2 alpha ที่ยังไม่เคยออกสู่ตลาดจริงๆ
- Read more about สัมผัสรสชาติแห่งวันวาน CDE โอเพนซอร์สแล้ว
- 38 comments
- Log in or register to post comments
ก่อนหน้านี้ FreeBSD เปลี่ยนคอมไพเลอร์ประกาศ เปลี่ยนคอมไพเลอร์เป็น LLVM/Clang
ถัดจากคอมไพเลอร์ ก็ถึงทีของไลบรารีมาตรฐาน โดยชุดของ G++ นั้นจะมาพร้อมกับ libstdc++
การพัฒนานั้นจะเป็นจังหวะเดียวกันที่ไม่เข้ากับ Clang ทำให้การพัฒนาไปไม่พร้อมกัน ตอนนี้ทาง FreeBSD จึงดึงโครงการ libc++
ที่พัฒนามาคู่กันกับ LLVM/Clang
ปัญหาสำคัญของ libstdc++
คือสัญญาอนุญาตที่เพิ่งเปลี่ยนเป็น GPLv3 ในด้านเทคนิคนั้นฟีเจอร์ต่างๆ ของ libc++
นั้นจะใช้ฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ C++11 ได้ครบถึง 98% แล้ว โดยตอนนี้ยังขาดอยู่เพียงฟีเจอร์ด้าน atomic เท่านั้น
- Read more about FreeBSD รับ libc++ เข้าโครงการแล้ว
- Log in or register to post comments
ช่วงอากาศร้อนๆ แบบนี้เรามักจะฝันว่าจะอยู่แถบเมืองหนาวจะได้ไม่ต้องมานั่งทรมานกับอากาศเมืองไทย ถ้าเบื่อจริงไม่ได้บ่นแก้เซ็งอาจจะได้เวลาเตรียมหลักฐานต่างๆ ไปยื่นสมัครงานกับโครงการ IceCube ที่เป็นศูนย์ทดสอบนิวตริโนที่ตั้งอยู่ "ขั้วโลกใต้"
Matthew Dillon นักพัฒนาในโครงการ Dragonfly BSD พบว่าซีพียูของเอเอ็มดีทำให้โปรแกรมแครชอย่างไม่มีสาเหตุในบางครั้ง หลังจากแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทางเอเอ็มดีหลายครั้ง ทางเอเอ็มดีก็ยืนยันว่าเป็นปัญหาในชิปตระกูล E (ตระกูล APU เช่น E-350)
การทำให้บั๊กนี้แสดงผลต้องใช้คำสั่ง pop ต่อเนื่องกันหลายๆ ครั้งใกล้กับคำสั่ง return จะทำให้พอยเตอร์ใน stack ชี้ไปยังจุดที่ผิดพลาด ทำให้โปรแกรมแครชไปในที่สุด
เอเอ็มดีจะออกแนวทางการแก้ปัญหา (revision guide) ออกมาในเร็วๆ นี้ เมื่อคอมไพล์เลอร์หลีกเลี่ยงการใช้ชุดคำสั่งในรูปแบบที่เจอปัญหานี้ก็คงไม่มีผลอีกต่อไป
ที่มา - GMane
- Read more about เอเอ็มดียืนยันบั๊กในซีพียู ทำให้โปรแกรมแครชในบางกรณี
- 9 comments
- Log in or register to post comments
คนที่เคยอ่านประวัติของ Linux คงทราบดีว่า ต้นกำเนิดของมันมาจาก Linus ลองเขียนโค้ดเลียนแบบ Minix ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ Unix เพื่อการศึกษาวิชาระบบปฏิบัติการ (ในขณะนั้น) แต่ภายหลังโครงการขยายใหญ่โตจนเกินระดับของ Minix ไปมาก
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ Minix จะโดน Linux กลบรัศมีไปเยอะ แต่ตัวระบบปฏิบัติการก็ยังคงอยู่และพัฒนาเรื่อยมาในฐานะซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส และภายหลังเมื่อ Minix เริ่มขยายตัวออกมาจากวงการการศึกษา มันก็ได้รับความนิยมในวงการอุปกรณ์ฝังตัว (เพราะออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก ไม่ค่อยมีอะไรซับซ้อน เดี๋ยวนักศึกษางง)
- Read more about Minix 3.2 ได้รับโค้ดบางส่วนจาก NetBSD
- 2 comments
- Log in or register to post comments
หลังจากที่ออกรุ่น 7.4 และ 8.2 พร้อมกัน( ข่าวเก่า ) เมื่อเกือบหนึ่งปีที่แล้ว ทีมวิศวกรของ FreeBSD ก็ได้ปล่อยรุ่น 9.0-RELEASE ที่เป็นรุ่นแรกของสายการพัฒนา 9-STABLE หลังจากที่ออก 8-STABLE มาเมื่อสามปีที่แล้ว
โดยในรุ่น 9.0 จะมีความสามารถใหม่ ๆ เช่น
- Read more about FreeBSD 9.0 ออกแล้ว
- 13 comments
- Log in or register to post comments