Tags:
Forums: 

บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด หรือ MFEC ผู้นำด้านไอทีครบวงจรที่มีความเชี่ยวชาญด้านโซลูชันไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ตั้งเป้าไว้ว่าในปี 2567 ภาพรวมกลุ่มธุรกิจ MFEC จะมีรายได้เติบโตเฉลี่ยทบต้นต่อปี (CAGR) 11.4% จากปีที่ผ่านมา หรือมีรายได้ 6,734 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนแนวโน้มการเติบโตของกลุ่มไซเบอร์ซิเคียวริตี้ประมาณ 25%

alt=

แม้เศรษฐกิจไทยจะอยู่ในช่วงฟื้นตัว แต่ภาพรวมตลาดไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในประเทศไทยในปี 2567 กลับพุ่งทะยานเติบโต 1.4 หมื่นล้านบาท หรือมีอัตราเติบโตทบต้นต่อปี (CAGR) 14.10% จากอัตราภัยไซเบอร์และความท้าทายรูปแบบใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสร้างความเสียหายรุนแรงขึ้นอย่างทวีคูณ ผนวกกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคเศรษกิจและสังคมดิจิทัล ซึ่งผลักดันให้องค์กรจำต้องหาโซลูชันที่มีประสิทธิภาพ และเปลี่ยนมาใช้กลยุทธ์การตอบโต้เชิงรุกในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์อย่างเทคโนโลยี AI อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อัตราการเติบโตของตลาดไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ตัวบ่งชี้ความท้าทายจากภัยไซเบอร์ที่หลายองค์กรต้องเผชิญในโลกที่เปลี่ยนแปลงสู่ “เศรษฐกิจดิจิทัล” ผู้คนถูกรายล้อมด้วยสิ่งแวดล้อมดิจิทัล และมีความสัมพันธ์ทางสังคมและเศรษฐกิจระหว่างกันผ่านสื่อทางเทคโนโลยีมากขึ้น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้การใช้ชีวิตสะดวกสบาย และช่วยลดขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจมากขึ้น แต่ท่ามกลางเทคโนโลยีที่ก้าวหน้านี้ยังตามมาด้วยความท้าทายจากภัยไซเบอร์ที่สูงขึ้นเช่นกัน โดยจากข้อมูลการวิจัยของ Cybersecurity Ventures องค์กรชั้นนำด้านการวิจัยและเก็บรวบรวมสถิติด้านเศรษฐกิจและไซเบอร์ซีเคียวริตี้โลก คาดการณ์ว่าความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมทางไซเบอร์อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกถึง 9.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีในปี 2567 และอาจสูงขึ้นถึง 10.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปี 2568 ในขณะที่ข้อมูลจาก Krungthai COMPASS เผยว่าการประเมินมูลค่าการลงทุนด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของไทยจากปี 2565 คาดว่าจะเติบโตทบต้นต่อปี (CAGR) 13% ไปอยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านบาทในปี 2568 ทำให้รายได้รวมของอุตสาหกรรมระบบไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของไทยเพิ่มขึ้นจาก 4.4 พันล้านบาทในปี 2565 พุ่งขึ้นเป็น 6.3 พันล้านบาทในปี 2568 หรือมีอัตราเติบโตเฉลี่ยทบต้นต่อปี (CAGR) 12.3% และธุรกิจให้บริการติดตั้งระบบไซเบอร์ซีเคียวริตี้มีอัตราการเติบโตที่โดดเด่น ซึ่งคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยทบต้นต่อปี (CAGR) ของรายได้อยู่ที่ปีละ 14.5% ทั้งนี้อัตราการเติบโตของตลาดและมูลค่าการลงทุนด้านไซเบอร์ ซีเคียวริตี้สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ และการตระหนักถึงความสำคัญของการลงทุนด้าน ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ในยุคที่ความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

นายศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ผู้ก่อตั้ง และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในปัจจุบันทิศทางแนวโน้มการลงทุนจะมาจาก Integration Solution ในลักษณะการเป็น Single Partner, Enterprise Agreement, และธุรกิจ Security Managed Services โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดของโลกเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งรวมถึงตลาดไซเบอร์ซิเคียวริตี้มีความสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ การหดตัวของการลงทุนในประเทศไทยทำให้ลูกค้าของ MFEC เองก็ต้องปรับตัวตาม แต่ธุรกิจไซเบอร์ซิเคียวริตี้ของ MFEC ยังคงเติบโตได้ดี และเป็นไปตามเป้าที่ได้วางไว้ เราใช้กลยุทธ์ Tech with Propose สร้างความมั่นใจและรักษาฐานลูกค้า และนำ เทรนด์ AI มาต่อยอดเป็นบริการโซลูชันใหม่เพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้นจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน”

Generative AI เป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนและชาญฉลาด และมีบทบาทสำคัญในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ถือเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพทั้งในด้านการโจมตีและการป้องกันภัยไซเบอร์ การเข้าใจบทบาทและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรในการเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต เพราะหากถูกนำมาใช้โจมตีทางไซเบอร์อาจยากจะรับมือ แต่ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้นำความสามารถของ Generative AI มาใช้เพิ่มความสามารถในการดำเนินงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ทำให้องค์กรต้องพึ่งพาโซลูชันความปลอดภัยบนพื้นฐาน AI มากขึ้นเพื่อตอบโต้เชิงรุกต่อภัยคุกคามที่ขับเคลื่อนด้วย AI และในฐานะเครื่องมือต่อต้านภัยคุกคามไซเบอร์ AI สามารถช่วยให้องค์กรวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล ตรวจจับและจัดการกับภัยคุกคาม รวมทั้งแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ ในขณะเดียวกันองค์กรจำต้องวางแผนกลยุทธ์ในการยกระดับแรงงานดิจิทัล (Digital workforce) และลงทุนในทักษะและความรู้ของทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มเสถียรภาพความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้มีประสิทธิภาพ และก้าวนำหน้าอาชญากรไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

นายดำรงศักดิ์ รีตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เทคโนโลยีและระบบ Gen AI เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค้นหาความผิดปกติในระบบ และปรับรูปแบบการใช้งานให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการโจมตี ในขณะเดียวกัน องค์กรจำต้องวางกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรแรงงานดิจิทัลให้พร้อมใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน การนำ Gen AI มาใช้เพื่อต่อกรกับภัย ไซเบอร์เป็นการช่วยผ่อนแรงมากกว่าการมาแทนที่ เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย ซึ่งต้องอาศัยการตัดสินใจในหลากหลายมิติ ทั้งความถูกต้อง จริยธรรม ข้อบังคับ และผลเสียหายทางธุรกิจ ยังจำเป็นต้องใช้มนุษย์ในการตัดสินใจอยู่ การใช้เทคโนโลยีไซเบอร์ซิเคียวริตี้ และ Gen AI เพื่อการป้องกันภัยเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการลงทุนในทักษะและความรู้ของบุคลากรทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง คือวิธีที่จะก้าวนำหน้าอาชญากรไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น”

alt=

นายดำรงศักดิ์ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบัน MFEC มี Cybersecurity Engineer กว่า 120 คนที่พร้อมให้บริการ โดยบริษัทฯ วางแผนที่จะขยายตลาดและเติบโตในธุรกิจนี้อย่างก้าวกระโดดผ่านการเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มองค์กรขนาดกลาง (Mid-size) มากขึ้น รวมถึงการให้บริการแบบ Managed Service ครบวงจร เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากภาครัฐและเอกชน เรามุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพของบุคลากร ไม่เพียงแค่การเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยี แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการรับรองจาก Certificate มาตรฐานสากลต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความเชี่ยวชาญและ ความพร้อมในการให้บริการด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ครบวงจรและมีคุณภาพสูงสุด การพัฒนาบุคลากรเหล่านี้คือการสร้างฐานรากที่แข็งแกร่งในการรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ของธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้และเป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน”

ที่มา: ข่าวประชาสัมพันธ์

Get latest news from Blognone