ตำนานการพัฒนาชุดคำสั่งแบบ 64 บิตของซีพียูตระกูล x86 นั้น เราเข้าใจกันว่าอินเทลเลือกแทงข้างสถาปัตยกรรมใหม่ IA-64 ในซีพียู Itanium ซึ่งพ่ายแพ้ให้กับ AMD64 ที่เป็นส่วนต่อขยายของชุดคำสั่ง 32 บิตดั้งเดิม จนภายหลังอินเทลต้องซื้อไลเซนส์ AMD64 มาใช้งานภายใต้ชื่อ x86-64 แทน
อย่างไรก็ตาม ตำนานเล่าขานนี้อาจต้องเขียนใหม่ เพราะ Bob Colwell อดีตหัวหน้าทีมสถาปัตยกรรม x86 ของอินเทลในยุค Pentium 4 ไปตอบกระทู้ใน Quora เปิดเผยว่า Pentium 4 มีชุดคำสั่ง x86-64 ของตัวเอง แต่ถูกปิดการทำงานเอาไว้ เพราะฝ่ายบริหารของอินเทล (ยุคนั้น) ต้องการผลักดัน Itanium มากกว่า
Colwell บอกว่าเหตุผลที่อินเทลเลือกปิด x86-64 ใน Pentium 4 เป็นการตลาดล้วนๆ และฝ่ายบริหารของอินเทลมองว่าหาก Pentium 4 มีชุดคำสั่ง 64 บิตของตัวเอง จะเป็นการชนกับ IA-64 ของ Itanium และพลอยทำให้โอกาสผลักดัน Itanium หมดไป ซึ่งตัวเขาเองก็ได้รับคำสั่งจากฝ่ายบริหารว่า ไม่ให้พูดเรื่องความสำคัญของการผลักดัน x86 เป็น 64 บิต และหากพูดมากในเรื่องนี้เขาจะโดนไล่ออก
ในกระทู้ Quora ที่ Colwell ไปตอบนั้นตั้งคำถามว่า เพราะเหตุใด AMD ถึงเอาชนะอินเทลได้ในการออกซีพียู x86-64 ได้เป็นรายแรก ทั้งที่อินเทลมีทรัพยากรเยอะกว่ามาก ตอนนี้เรารู้คำตอบแล้วว่าเป็นเพราะเหตุนี้นั่นเอง
ที่มา - Quora , Tom's Hardware
I was looking up some history behind the x86-64 transition, particularly around the Pentium 4 time frame, and I found out that Bob Colwell (Pentium Pro chief architect) has been posting on Quora.Pentium 4 had a version of x86-64 that was fused off. pic.twitter.com/eYWLpD0qoW
— Phil Park (@philparkbot) October 18, 2024
Comments
พวกนี้ต้นทุนแทบไม่เพิ่มเลยถ้าใส่เข้ามา แต่ไม่ใส่เพราะมันจะกินตลาดซีพียูเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น
lewcpe.com , @wasonliw
Core Ultra 9 285K, 7 265K และ 5 245K ใช้ร่วมกับ Z890 รองรับแรมแบบ ECC
แต่ผู้ผลิต M/B ยังไม่ผลิตออกมาเลย 😅
นี่อ่านแล้วแล้ว จำสลับกับ EDO
แล้วก็มโนไปไกลว่า โห เขาใส่คอมแพททิเบิลย้อนหลังไปนานจัง
แล้วก็อ่านวนอีกสองสามรอบ ถึงรู้ว่าอ่านผิดเข้าใจผิดว่า ECC เป็น EDO
มี "x86-64" ก่อนแต่ต้องไปซื้อไลเซนส์ AMD64 มาใช้ก็ยังจัดว่าแพ้อยู่ดี แถมแพ้เพราะตัวเองด้วยครับ
เป็นที่มาของการจับมือกันเมื่อหลายวันก่อนเพื่อ x86S (รุ่นตัด 32bit เหลือ 64bit ล้วน) เพื่อแลกเปลี่ยนอะไรหลายๆ อย่างระหว่าง Intel และ AMD
เลือกผิดชีวิตเปลี่ยน
..: เรื่อยไป
มี แต่ ปิด .. ต้องแบก พื้นที่/clock/ความร้อน เพิ่มเปล่าๆ มั้ยนี่
แยกไลน์ไปซิ ฝั่ง Server ก็ไป Itanium ไปทำให้แรงๆ ไป
ว่าแต่ไปแกะ CPU P4 นี่จะเห็นไรเปล่านะ ที่บอกว่าเป็นเรื่องจริง 55+
แล้วฝั่ง development จะใช้เครื่องอะไรพัฒนาหล่ะแบบนั้น
คือที่ Intel ค่อยๆ ชนะในฝั่ง server เพราะ client เป็น x86 ที่ตัวเองผลิตน่ะแหละครับ (ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ขายเรื่องความเข้ากันได้)
และเอาจริงๆ ฝั่ง Server ที่เริ่มเป็น ARM ก็เพราะ development client เป็น ARM มากขึ้น (จากฝั่ง Apple)
สมัยก่อน IA-64 ที่อยู่ในเฉพาะ CPU Itanium ก็ไม่มี client นี่ครับ เหมือนกับพวก Server เช่น AS/400 , System P ที่ใช้ IBM Power ทำไรทีก็ต้องโยนขึ้น Server ไปทดสอบกันงี้หรือเปล่าครับ
สุดท้าย IA-64 ก็แพ้เพราะตัวเองนั่นแหละครับ เพราะไม่มี client มารัน (dev ไม่สะดวก)
คือทำให้ตลาดมัน nice เกิน แบบเดียวกับพวก AS/400 หรือพวก Power น่ะ แล้วพอไปสู้กับ AS/400 หรือ Power ตัวเองก็ไม่มี oem ที่แข็งแรงพอ มีแค่ HP ที่สนับสนุน
ประกอบกับ AMD64 มาเป็นทางเลือกของตลาดอีก แถมเป็นทางสายกลาง ไม่สุดโต่งเกินไป รันของเก่าได้ไม่ต้องแก้ตั้งแต่ day-1 จะดันทุรังไปก็โดน AMD ตีฝั่ง server ที่พร้อมกับ client ก็จะเสียโอกาสเอาอีก (เจอย้อนแบบเดียวกับที่ตัวเองทำกับ IBM)
Itanium มันก็มีแต่เซิร์ฟเวอร์อยู่แล้วนะครับ
ก็ถ้า IA-64 ของ Itanium ขายดีชนะเข้าใจว่าคงตามมาใช้ ถึง Client นะครับ แต่สุดท้ายก็แพ้ไปเลย ใช้ตาม AMD ไปงี้
พอ Microsoft ดัน AMD64 ให้กับตลาด Consumer ทาง Intel ถึงกับเป๋กันเลยทีเดียว 😆
เห็นแล้วนึกถึง ตอนประกอบคอมเองเครื่องแรกๆจังแก่แล้วซินะ
คอมเครื่องแรกผม ปี 47
คอมเครื่องแรกผมก็ Pentium 4 เหมือนกันครับ
..: เรื่อยไป